มหาธี
อาจารย์ ธีรวัส บำเพ็ญบุญบารมี

พุทธวจนะในมงคลสูตร


 

  โครงการธรรมศึกษาวิจัย

พุทธวจนะในมงคลสูตร

ธีรวัส  บำเพ็ญบุญบารมี

มหาบัณฑิตสาขาวิชาพุทธศาสน์ศึกษา

มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย

ธรรมศึกษาวิจัยนี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาค้นคว้าเพื่อเป็นหลักฐานทางวิชาการทางพระพุทธศาสนาตามหลักสูตรวิจัยคัมภีร์พระพุทธศาสนา มูลนิธิเบญจนิกาย พุทธศักราช  ๒๕๕๐  พิมพ์ครั้งที่ ๑  ๕๐๐ เล่ม

เพื่อเป็นธรรมทานไม่สงวนลิขสิทธิ์

คำนำ

  การศึกษา พุทธวจนะในมงคลสูตรช่วยให้ผู้ศึกษาได้ทราบถึงความจริงในหลักธรรมที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้แสดงไว้ สร้างความลึกซึ้งการจะเข้าถึงธรรมได้อย่างดี เพราะใน  มีการแสดงเปรียบเทียบความจริงกับสิ่งปรากฏให้รู้ได้  เพื่อให้พุทธวจนะในมงคลสูตรเป็นที่เข้าใจ ผู้เขียนจึงสกัดเนื้อธรรม และภาษาให้เข้าถึงธรรมได้อย่างง่ายๆและไม่เสียเนื้อความ อันที่ปรากฏอยู่ในคัมภีร์นี้ สามารถสร้างเข้าใจได้อย่างง่ายขึ้น

  หนังสือนี้เชื่อว่าจะยังคุณประโยชน์ให้แก่ผู้อ่าน ด้วยผลแห่งกุศลที่ประสงค์จะดำรงพระสัทธรรมให้ดำรงคงมั่นในอยู่จิตใจชาวพุทธ สร้างเสริมปัญญาเป็นบารมี จงเป็นบุญญาบารมีให้บิดามารดาครูอาจารย์ญาติพี่น้องตลอดจนสหายธรรมทุกท่านเป็นผู้ดำรงคงมั่น ในสัทธรรมที่พระพุทธเจ้าได้ตรัสรู้ และให้ศาสนาแห่งพระบรมศาสดาดำรงคงอยู่ตลอดกาลนาน เป็นแสงสว่างนำพาชีวิตของสรรพสัตว์ออกจากห้วงมหรรณพภพสงสารพ้นกองทุกข์กองโศกกองกิเลสเครื่องเศร้าหมองแห่งจิต ด้วยทั่วหน้ากันทุกท่านทุกคนเทอญ

  ธีรเมธี

  ธีรวัส บำเพ็ญบุญบารมี

  มหาบัณฑิตพุทธศาสนามหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย

บทที่ ๑

พุทธวจนะในมงคลสูตร

๑ หลักความประพฤติด้านสิ่งแวดล้อมที่มีผลต่อการพัฒนามนุษย์

ในมงคลสูตรแสดงให้เห็นว่า ความเจริญรุ่งเรืองของชีวิตเกิดขึ้นขึ้นอยู่กับอิทธิพลของปัจจัยแวดล้อมหรือสิ่งแวดล้อมไม่น้อย ดังที่ตรัสไว้ในตอนแรกของมลคลสูตร คือ

. การไม่คบคนพาล 

. การคบบัณฑิต 

. การบูชาบุคคลที่ควรบูชา 

. การอยู่ในถิ่นที่เหมาะสม[1] 

สิ่งแวดล้อมเป็นปัจจัยสำคัญในการพัฒนาสิ่งต่างๆ ตั้งแต่การพัฒนาทางด้านวัตถุจนถึงการพัฒนาคุณภาพชีวิต แม้กระทั่งการพัฒนาจิตวิญญาณ ย่อมล้วนมีสิ่งแวดล้อมเป็นปัจจัยทั้งสิ้น สิ่งแวดล้อมแบ่งได้เป็น ๒ ประเภท คือ สิ่งที่มีชีวิตกับสิ่งที่ไม่มีชีวิต ในฝ่ายของสิ่งที่มีชีวิตนั้นได้แก่สัตว์ทั้งหลาย ซึ่งในบรรดาสัตว์เหล่านั้น มนุษย์ถือว่าเป็นสัตว์ที่ประเสริฐที่สุด เพราะว่าเป็นผู้ที่สามารถจะพัฒนาคุณภาพชีวิตและจิตใจให้สูงขึ้นได้ด้วยคุณธรรมจริยธรรม เนื่องจากมนุษย์เป็นสัตว์สังคมมีความเป็นอยู่และดำเนินชีวิตอยู่ในสังคมของมนุษย์ด้วยกันเอง ดังนั้นปัจจัยอันเป็นสิ่งแวดล้อมที่สำคัญต่อการพัฒนาคุณภาพมนุษย์ก็คือมนุษย์ด้วยกันนั่นเอง ในอาทิจจสูตร พระพุทธองค์ตรัสถึงกัลยาณมิตรว่าเปรียบเสมือนแสงอรุณอันเป็นบุพนิมิตของดวงอาทิตย์อุทัย ดังข้อความที่ว่า

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อพระอาทิตย์จะขึ้นสิ่งที่ขึ้นก่อน สิ่งที่เป็นนิมิตมาก่อน คือ แสงเงินแสงทอง สิ่งที่เป็นเบื้องต้นเป็นนิมิตมาก่อน เพื่อความบังเกิดแห่งอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ ของภิกษุ คือ ความเป็นผู้มีมิตรดี ฉันนั้นเหมือนกัน ดูกรภิกษุทั้งหลาย อันภิกษุผู้มีมิตรดี พึงหวังข้อนี้ได้ว่า จักเจริญอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ จักทำให้มากซึ่งอริยมรรคอันประกอบด้วยมรรคมีองค์ ๘[2]

ปัจจัยอันเป็นเครื่องกระตุ้นหรือชักจูงให้มนุษย์ทำความดีและสามารถพัฒนาตนเองขึ้นไปถึงระดับที่สูงขึ้นไปได้นั้น องค์ประกอบภายนอกซึ่งได้แก่ปัจจัยทางสังคม โดยการได้รับคำแนะนำสั่งสอน การถ่ายทอดบอกเล่า ชี้แจง อธิบาย การเรียนรู้จากผู้อื่นในเฉพาะส่วนที่ถูกต้องดีงาม โดยเฉพาะอย่างยิ่งการได้รับความรู้หรือคำแนะนำจากบุคคลที่เป็นกัลยาณมิตร ซึ่งมีพุทธพจน์แสดงถึงความสำคัญของบุคคลผู้เป็นกัลยาณมิตรไว้ในสารีปุตตสูตร ดังข้อความที่ปรากฏว่า

ก็ภิกษุผู้มีมิตรดี มีสหายดี มีเพื่อนดี ย่อมเจริญอริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘ ย่อมกระทำให้มากซึ่งอริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘ อย่างไรเล่า? ดูกรสารีบุตร ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญสัมมาทิฏฐิ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ ฯลฯ ย่อมเจริญสัมมาสมาธิ อันอาศัยวิเวก อันอาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ ดูกรสารีบุตร ภิกษุผู้มีมิตรดี มีสหายดี มีเพื่อนดี ย่อมเจริญอริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘ ย่อมกระทำให้มากซึ่งอริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘ อย่างนี้แล[3]

๓.๑.๑การไม่คบคนพาล

สังคมมนุษย์ย่อมมีทั้งคนดีและคนไม่ดีปะปนกันไป การเลือกคบคนเป็นสิ่งจำเป็นและสำคัญต่อการดำเนินชีวิตเป็นอย่างมาก เพราะว่าการคบคนดีจะทำให้บุคคลที่คบมีความเจริญก้าวหน้า ทำให้ไม่ประมาทในชีวิต เนื่องจากคนดีจะคอยชี้แนะในทางที่ดีและตักเตือนเมื่อเห็นว่าจะกระทำผิดอยู่เสมอ ในทางตรงข้ามถ้าคบคนไม่ดีก็จะทำให้บุคคลผู้คบนั้นเสื่อมเสียกลับกลายเป็นคนไม่ดีไปด้วย ดังข้อความในพระคาถาว่า

บุคคลคบคนชนิดใดๆ เป็นคนสงบหรือไม่สงบ มีศีลหรือไร้ศีลก็ตาม เขาย่อมตกไปสู่อำนาจของคนชนิดนั้นแล บุคคลทำคนเช่นใดให้เป็นมิตร และเสพสนิทกับคนเช่นใด เขาก็เป็นคนเช่นนั้นแล เพราะการอยู่ร่วมกัน ย่อมเป็นเช่นนั้น คนชั่ว ใครคบเข้า ก็เปื้อนคนคบ ใครแตะต้องเข้า ก็เปื้อนผู้ ซึ่งเป็นผู้แตะต้องซึ่งมิได้เปื้อนมาแต่เดิม ดุจบุตรธิดาอันศรร้ายซึ่งกำซาบด้วยยาพิษ ก็พลอยติดแล่งไปด้วย เพราะกลัวจะพลอยเปื้อน ธีรชนจึงไม่ควรมีคนชั่วเป็นสหายเสียเลย คนห่อปลาเน่าด้วยใบหญ้าคา  แม้ใบหญ้าคาก็พลอยเหม็นฟุ้งไปด้วยฉันใด การคบกับคนพาลก็ฉันนั้น[4]

การไม่คบคนพาล หมายถึง การที่ไม่มีคนพาลเป็นเพื่อน ไม่สมาคม ไม่คบหา ไม่เข้าพวกกับคนพาล คำว่า พาล แปลว่า “อ่อน” ได้แก่คนอ่อนความคิด ไม่อาจที่จะคิดริเริ่มสร้างสรรค์หรือพัฒนาชีวิตให้ดีขึ้นกว่าภาวะที่เป็นอยู่เดิมได้ เป็นคนอ่อนสติ ไม่มีกำลังพอที่จะปลุกตนให้ตื่นตัวตื่นใจหรือสามารถอาจหาญในกิจการต่าง ๆ ได้ และอ่อนปัญญาไม่มีปัญญาสอดส่องพิจารณาใคร่ครวญไตร่ตรองให้รู้ดีรู้ชั่ว รู้เหตุรู้ผล เป็นคนมีชีวิตอยู่เพียงสักว่าลมหายใจเข้าออกเท่านั้น และเป็นคนที่ประกอบอกุศลกรรมบถ ๑๐ ประการ

)  ความหมายเกี่ยวกับคนพาล การไม่คบคนไม่ดีหรือคนพาล  ได้มีท่านผู้รู้ให้ความหมายไว้หลายนัยด้วยกัน คือพระสิริมังคลาจารย์กล่าวไว้ในมงคลทีปนีว่า

สัตว์เหล่าใดเหล่าหนึ่งผู้ประกอบด้วยอกุศลกรรมบถ ๑๐ มีปาณาติบาตเป็นต้น ชื่อว่า คนพาล  อีกประการหนึ่ง ครูทั้ง ๖ นี้ คือปูรณ กัสสป, มักขลิ โคสาล, นิครนถ นาฏบุตร, สญชัย เวลัฏฐบุตร, ปกุทธ กัจจายนะ, อชิต เกสกัมพล, และปาปบุคคลเหล่าอื่นจากครูทั้ง ๖ นั้น มีพระเทวทัตและโกกาลิกภิกษุเป็นต้น พึงทราบว่า คนพาลจริงอยู่ คนเหล่านั้น แม้ทั้งหมด ท่านเรียกว่าคนพาล เพราะไม่เป็นอยู่ด้วยความเป็นอยู่ด้วยปัญญา เป็นอยู่ด้วยสักว่าหายใจ[5]

พระอุบาลีคุณูปมาจารย์ (สิริจนฺโท จันทร์) ให้ความหมายว่า “คนพาลในที่นี้ท่านหมายปัญญาทรามปัญญาอ่อน มีปัญญารักษาตนให้พ้นจากกรรมอันเป็นบาปไม่ได้ ชื่อว่า คนพาล[6]

ปิ่น มุทุกันต์ กล่าวว่า คนพาลชอบชักนำในทางที่ผิด ทำสิ่งที่ไม่ใช่ธุระมีความคิดเห็นผิด พูดดีด้วยก็โกรธ ไม่รับรู้ระเบียบวินัย และมีนิสัยชอบคิดชั่ว พูดชั่ว และทำชั่ว[7]

) ลักษณะของคนพาล ในพาลบัณฑิตสูตรพระพุทธเจ้าแสดงลักษณะของคนพาลไว้ ดังนี้

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ลักษณะ เครื่องหมาย เครื่องอ้าง ว่าเป็นพาลของคนพาลนี้มี ๓ อย่าง ๓ อย่างเป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลาย คนพาลในโลกนี้มักคิดความคิดที่ชั่ว มักพูดคำพูดที่ชั่ว มักทำการทำที่ชั่ว ถ้าคนพาลจักไม่เป็นผู้คิดความคิดที่ชั่ว พูดคำพูดที่ชั่ว และทำการทำที่ชั่ว บัณฑิตพวกไหนจะพึงรู้จักเขาได้ว่า ผู้นี้เป็นคนพาล เป็นอสัตบุรุษ เพราะคนพาลมักคิดความคิดที่ชั่ว มักพูดคำพูดที่ชั่ว และมักทำการทำที่ชั่ว ฉะนั้น พวกบัณฑิตจึงรู้ได้ว่า นี่เป็นคนพาล เป็นอสัตบุรุษ ดูกรภิกษุทั้งหลาย คนพาลนั้นนั่นแล ย่อมเสวยทุกข์โทมนัส ๓ อย่างในปัจจุบัน[8]

ตามพุทธดำรัสนี้ แสดงให้เห็นว่าคนพาลมีลักษณะ ๓ อย่าง คือ

(๑)พาลลักษณะ หมายถึง ความคิดชั่วเป็นพาลลักษณะ เนื่องจากอัธยาศัยของคนพาลนั้นย่อมโน้มเอียงไปในมโนทุจริต คือ มีอัธยาศัยโลภ อยากได้ อยากมี อยากเป็นเกินความพอดีเกินขอบเขต เห็นแก่ตัว คิดเอาแต่จะได้จะมีจะเป็นโดยไม่เลือก มีอัธยาศัยโกรธ อารมณ์ฉุนเฉียว มีความขุ่นเคืองอยู่ในใจ และคิดพยาบาทปองร้ายผู้อื่น มีอัธยาศัยลุ่มหลงงมงายเข้าครอบงำจิตใจ มีอวิชชาเป็นตัวทำให้ไม่รู้ผิดชอบชั่วดี และมีมิจฉาทิฏฐิเข้าสนับสนุนให้เห็นผิดเป็นชอบ

(๒)พาลนิมิต หมายถึง การพูดชั่วเป็นพาลนิมิต เป็นเครื่องหมายให้ทราบได้ว่า คนพาลมีจิตใจโน้มเอียงไปในการประกอบวจีทุจริต คือ พูดเท็จ พูดเหลาะแหละหลอกลวงอำพราง ซึ่งเป็นการหักรานประโยชน์ของคนอื่น พูดส่อเสียดได้แก่พูดยุยงให้ผู้อื่นแตกร้าวกัน พูดแหย่และกระซิบกระซาบให้เกิดความเข้าใจผิด ทำลายความสามัคคีในหมู่คณะให้แตกแยกเป็นฝักเป็นฝ่าย พูดคำหยาบคาย ได้แก่ คำด่า คำแช่ง ประชด ค่อนขอด เหน็บแนมกระทบกระทั่ง ยั่วยุให้เจ็บใจ พูดเพ้อเจ้อเหลวไหล ได้แก่ พูดไม่มีหลักฐานอ้างอิง พูดพล่อยๆ พูดไม่ระวังปากคำ ทำให้ผู้อื่นเสียหาย

(๓)พาลาปทาน หมายถึง การกระทำอันไม่ขาดสายของคนพาลนั้นโน้มเอียงไปในกายทุจริต คือ การฆ่า ได้แก่ ฆ่าสิ่งมีชีวิตทั้งมนุษย์และสัตว์ตลอดจนถึงการทรมานด้วยวิธีต่าง ๆ การลักฉ้อ ได้แก่ ถือเอาทรัพย์สินของผู้อื่นด้วยการฉ้อโกง หลอกลวง ยักยอก เบียดบัง ลักลอบค้าของเถื่อน ปลอมแปลงสินค้า เป็นต้น ประพฤติผิดในกาม ได้แก่ ล่วงละเมิดทางกาม คบชู้กับคู่ครองของคนอื่น ฉุดคร่าอนาจาร เป็นต้น

สาเหตุที่พระพุทธเจ้าทรงสอนไม่ให้คบคนพาลนั้น เพราะว่าคนพาลมักนำภัยและความเสื่อมเสียมาให้แก่ผู้ที่คบหาสมาคม คนพาลมีสัญชาตญาณกลับกลอก รักง่ายหน่ายเร็ว เสแสร้ง ต่อหน้าสรรเสริญลับหลังนินทา ไม่มีความจริงใจต่อเพื่อน สิ่งที่เป็นอัปมงคล และความเสื่อมเสียน่าเกลียดชังทั้งหลายเป็นพฤติกรรมของคนพาล ซึ่งพอสรุปสาเหตุของการไม่คบคนพาล ๓ ประการดังนี้

๑) ภัยเกิดจากคนพาล คนพาลเป็นตัวร้าย หรือมีภัยที่น่ากลัวอยู่ในตัว เพราะสัญชาติพาลกลับกลอกวอกแวก เหมือนวานร รักง่ายหน่ายเร็วเหมือนขมิ้นคายสี แสร้งยกยอสรรเสริญต่อหน้า ลบหลู่คุณความดีลับหลัง ปากพล่อยชมเพื่อนให้หู แต่หัวใจมีน้ำพิษร้ายแรงหล่อเลี้ยง โดยไม่ตะขิดตะขวงใจเลย

๒)อุบาทว์เกิดจากคนพาล สิ่งที่เป็นอัปมงคล เสื่อมทราม อัปรีย์น่าเกลียดและสิ่งที่จัญไรชั่วร้ายเลวทราม เรียกว่า อุบาทว์ ซึ่งมีลักษณะ ๔ อย่าง คือ ๑ คนพาลชอบเผยโทษของคนอื่น ๒ คนพาลไม่ชอบเผยคุณงามความดีของคนอื่น ๓ คนพาลไม่ชอบเผยโทษของตน ๔ คนพาลชอบอวดคุณงามความดีของตน ซึ่งสอดคล้องกับพระพุทธพจน์ที่ปรากฏในจตุกกนิบาต อังคุตตรนิกาย ว่า

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการ พึงทราบว่าเป็นอสัตบุรุษ ธรรม ๔ ประการเป็นไฉน ? คือ อสัตบุรุษในโลกนี้ แม้ไม่ถูกถามก็เปิดเผยความเสียหายของผู้อื่นแม้ถูกถามก็ไม่เปิดเผยความดีของผู้อื่นแม้ถูกถามก็ไม่เปิดเผยความเสียหายของตนแม้ถูกถามก็เปิดเผยความดีของตนดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการนี้แล พึงทราบว่า เป็น อสัตบุรุษ[9]

๓)อุปสรรคเกิดจากคนพาล สิ่งที่เขาขัดขวางกีดกัน ทำให้กิจการทุกอย่างขัดข้อง  เรียกว่า อุปสรรค คนพาลเป็นอุปสรรคคอยเข้าขัดขวางตัดรอนผู้อื่นให้ไม่สามารถดำเนินกิจการต่าง ๆ ไปได้โดยปกติ

พฤติกรรมของคนพาลอันเป็นเหตุแห่งการไม่ควรคบมี  ๕ ประการ คือ

๑. คนพาลชอบแนะนำสิ่งที่มิควรแนะนำ

๒. คนพาลชอบประกอบในสิ่งที่มิใช่ธุระ

๓. คนพาลถือชั่วเป็นดี

๔. คนพาลแม้เราพูดดีๆ ก็โกรธ

๕. คนพาลไม่รู้จักอุบายแนะนำ

การไม่คบคนพาลนั้น คือการไม่ร่วมชีวิตจิตใจหรือมีนิสัยใจคอถูกต้องเข้ากันได้สนิท ไม่ร่วมคิดร่วมเห็นและตกลงกระทำการร่วมกัน ซึ่งการพิจารณาพฤติกรรมแห่งการไม่คบคนพาลนั้น มี ๗ ประการ คือ

๑. ไม่ไปมาหาสู่

๒. ไม่เข้าตีสนิทชิดชอบ

๓. ไม่จงรักหรือรักใคร่กันจริง

๔. ไม่ภักดีหรือเลื่อมใส นับถือซื่อตรงต่อกัน

๕. ไม่เป็นเพื่อนร่วมคิดร่วมเห็น

๖. ไม่เป็นเพื่อนร่วมกินร่วมอยู่

๗. ไม่ดำเนินตามหรือเอาเยี่ยงอย่าง

การไม่คบคนพาลเป็นมงคลแห่งชีวิต เพราะเป็นเหตุให้เจริญด้วยสรรพสมบัติ มีวัฒนธรรมเหมาะสมแก่สังคม เลื่อนฐานะของตนให้ดีขึ้นกว่าภาวะเดิม มีกิริยาวาจาใจดีงาม มีชีวิตสุขเกษมปลอดภัย ปราศจากอุบาทว์และอุปสรรค มีความสงบสุขสดชื่นแจ่มใสเบิกบานสำราญใจทำให้มีกำลังมุ่งมั่นปฏิบัติแต่สิ่งที่เป็นความเจริญก้าวหน้า สร้างบารมี ดำเนินชีวิตให้ก้าวขึ้นไปสู่คุณงามความดีต่อไป

..การคบบัณฑิต

บัณฑิต หมายถึง ธีรชนหรือนักปราชญ์, สัตบุรุษหรือปัญญาชน, ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๒๕ ให้ความหมายคำว่า “บัณฑิต” ไว้ว่า  ผู้ทรงความรู้  ผู้มีปัญญา  นักปราชญ์  ผู้สำเร็จการศึกษาขั้นปริญญาซึ่งมี ๓ ขั้น คือ ปริญญาตรี ปริญญาโท ปริญญาเอก เรียกว่าบัณฑิต มหาบัณฑิต ดุษฎีบัณฑิตผู้มีความสามารถเป็นพิเศษโดยกำเนิด เช่น คนนี้เป็นบัณฑิตในทางดนตรี[10] พระอุบาลีคุณูปมาจารย์ (สิริจนฺโท จันทร์) ให้ความหมายว่า  บัณฑิต หมายถึง ผู้ประพฤติสุจริตด้วยกายวาจาใจ มีไม่ฆ่าสัตว์ ไม่กล่าวเท็จ ไม่ละโมบโลภเอาของท่านผู้อื่น เป็นต้น ชื่อว่า บัณฑิต[11]

สรุปได้ว่า บัณฑิต คือคนที่มีจิตใจดีอยู่เป็นปกตินิสัย ทำให้มีความเห็นถูก ยึดถือค่านิยมที่ถูกต้อง สามารถดำเนินชีวิตอยู่ด้วยปัญญา คือเป็นคนที่รู้จักดี รู้จักชั่ว รู้จักทำดี สร้างความเจริญให้แก่ตนเองและสังคม รู้จักบาปบุญคุณโทษ ประโยชน์และมิใช่ประโยชน์ จึงทำแต่สิ่งดีที่เป็นบุญเป็นคุณและเป็นประโยชน์เกื้อกูลทั้งแก่ตนเองและสังคม ดังนั้น บัณฑิต คือผู้ดำเนินชีวิตอยู่ด้วยปัญญา

) ลักษณะของบัณฑิต คำว่า “บัณฑิต” ในทางศาสนาหมายถึง บุคคลผู้ดำเนินชีวิตไปในทางกุศล คือ คิดดี พูดดี ทำดีและดำเนินชีวิตด้วยปัญญา เป็นผู้ทรงความรู้ ใฝ่หาความรู้ มีใจผ่องใสเป็นปกติ รู้จักใช้ปัญญารอบรู้ในเหตุและผล บัณฑิตเป็นผู้รู้และมีใจใฝ่รู้ในสิ่งต่อไปนี้ คือ

๑)รู้จักลดละ ปล่อยวางในสิ่งที่ไม่ดีไม่งามอันเป็นมลทินด่างพร้อยออกจากตนทั้งทางกายและทางใจ ลดละความชั่ว กิเลสตัณหา อุปาทาน ปล่อยวางจากความโลภ ความโกรธ ความหลง มิจฉาทิฎฐิ อัตตามานะ ดำเนินชีวิตเป็นผู้รู้ตามสัมมาทิฏฐิ

๒)รู้จักรักและพอใจในสิ่งที่ดี แนวทางที่ถูกต้องดีงาม เป็นไปตามทำนองคลองธรรม พอใจในการศึกษาฝึกฝนวิชาการสืบสานงานสร้างสรรค์ มีเมตตาต่อสรรพสัตว์ รักความยุติธรรม มีความเสียสละ รู้รักสามัคคี ใฝ่ศึกษาหาความรู้ อุทิศเวลาให้กับหน้าที่ มีความรับผิดชอบสูง

๓)รู้จักเพียรพยายามในกิจการงานทุกอย่าง ขยันอดทน มุ่งมั่นบากบั่น ไม่ประพฤติเป็นคนเลื่อนลอยคอยเวลาหรือผัดวันประกันพรุ่ง เพียรทำความดี เพียรหนีอบาย เพียรหน่ายสังขาร เพียรการศึกษา เพียรหาความจริง เพียรถอดถอนอัตตามานะ เพียรละมิจฉาทิฏฐิ เพียรริทางที่ชอบ เพียรนำชีวิตให้พ้นภัย เพียรใฝ่ทางหลุดพ้น เพียรสร้างตนให้เป็นคนดี

๔)รู้จักอุบายในการชี้แนะแนวทางที่ถูกต้องดีงามให้แก่ผู้ไม่รู้ ผู้ไม่เข้าใจ เพื่อให้เขาเหล่านั้นได้รู้แนวทางแห่งการดำเนินชีวิต นำความรู้ที่ตนมีไปสร้างประโยชน์ให้แก่มวลมนุษย์และสังคมประเทศชาติ ให้ความรู้แก่มนุษย์ทุกคน ชี้ทางหลุดพ้นให้แก่เพื่อนร่วมทุกข์ เกิด แก่ เจ็บ ตาย ให้ถึงความสว่างเปรียบเหมือนประทีปส่องทางในยามค่ำคืนเดือนมืด

๕)รู้จักปบุตรธิดาฝังคุณธรรมให้แก่ตนเองและผู้อื่น โดยเบื้องต้นตนเองต้องมีคุณธรรม ศึกษาและนำมาปฏิบัติจนบรรลุผลได้ก่อนจึงมุ่งถ่ายทอดปบุตรธิดาฝังทางธรรมทางที่ดีงามให้แก่เพื่อนมนุษย์โดยไม่เลือกชั้นวรรณะ มีความกล้าและอาจหาญทางคุณธรรมนำพาผู้คนให้เดินไปในทางที่ถูกต้องตามครรลองคลองธรรม มีชีวิตที่สดใส เบิกบาน สงบเย็น

..๓ บูชาบุคคลที่ควรบูชา

การทำสักการะ เคารพ นบนอบและไหว้ ชื่อว่า บูชาการยกย่อง[12] การบูชาถือว่าเป็นกิจที่ดีงาม ผู้ฉลาดทั้งหลายควรรู้จักเลือกบูชาในทางที่ถูกให้เกิดคุณเหมือนคำที่ว่า  บูชาคนดีเป็นศรีแก่ตัว บูชาคนชั่วพาตัวจัญไร บูชาคนดีให้สำเร็จ บูชาคนโลภพาตัวให้ฉิบหาย หรือบูชาคนพาล พาลไปหาผิด บูชาบัณฑิต บัณฑิตพาไปหาผล[13]

การบูชา คือการเคารพเทอดทูนด้วยความบริสุทธิ์ใจ เป็นการแสดงออกทั้งทางกายวาจาและใจ การบูชาเป็นเอกลักษณ์ของบัณฑิตของคนดี ยอมรับนับถือเชื่อถือในคุณงามความดี ยอมรับนับถือคนดี การบูชาจึงบ่งบอกถึงความเป็นคนดีทั้งสองฝ่าย คือ ผู้ทำการบูชาและผู้รับการบูชา

)  ความหมายของการบูชาการบูชา คือการยกย่อง เชิดชู เลื่อมใส ด้วยความบริสุทธิ์ใจ มีความจริงใจ ไม่เสแสร้างแกล้งทำ ปิ่น มุทุกันต์ ได้อธิบายว่า การบูชา หมายถึงการปฏิบัติ ๓ อย่าง คือ

  . ปัคคัณหะ  การยกย่อง

  . สักการะ  บูชาด้วยสิ่งของ

  . สัมมานะ  นับถือ[14]

พระราชวรมุนี (..ปยุตฺโต) กล่าวว่า บูชาหมายถึงให้ด้วยความนับถือแสดงความเคารพเทิดทูน มี ๒ อย่าง คือ อามิสบูชา และ ปฏิบัติบูชา[15]

การบูชาผู้ที่ควรบูชา เป็นอุบายอย่างหนึ่ง สำหรับการฝึกจิตที่หยาบกระด้าง ไม่ยอมรับคุณความดีของผู้อื่น เพราะด้อยคุณธรรม ไม่เข้าใจในคุณความดีของผู้ที่ควรบูชา หากได้ปฏิบัติให้เกิดความเคยชินแล้ว ในที่สุดก็จะเห็นคุณงามความดีอย่างแจ่มชัด

การบูชา เป็นสิ่งที่มีคุณมาก เป็นการแสดงออกถึงคุณงามความดี การรู้ถึงคุณค่าของคนที่มีคุณงามความดีที่ควรแก่การบูชา บุคคลที่ทำการบูชาก็เป็นคนดี บุคคลที่ถูกบูชาก็เป็นคนดี คุณประโยชน์อันยิ่งใหญ่ก็จะเกิดขึ้น การบูชาคนดี การบูชาบัณฑิต จึงจัดเป็นมงคลอันสูงสุด

) การบูชา ๒ ประเภท เมื่อกล่าวโดยสรุปแล้ว การบูชาในพระพุทธศาสนามี ๒ ประเภท คือ

๑. อามิสบูชา ได้แก่ การบูชาบุคคลหรือสิ่งที่ควรบูชาด้วยเครื่องสักการะ เช่น ดอกไม้ ธูป เทียน และปัจจัยสี่หรือวัตถุอื่น ๆ

๒. ปฏิบัติบูชา ได้แก่ การบูชาด้วยการปฏิบัติธรรมตามกำลังศรัทธาตามเพศภูมิของตน เช่น การรักษาเบญจศีล การปฏิบัติเบญจธรรม และการบำเพ็ญกุศลกรรมบถ ๑๐ ประการ

) ลักษณะของการบูชา ๔ ประการ ชัยวัฒน์ อัตพัฒน์ได้กล่าวถึงลักษณะของการบูชาตามนัยแห่งมงคลสูตรไว้ ๔ ประการ[16]  คือ

. สักการะ หมายถึงกิริยาและวัตถุ ถ้าแปลสักการะว่า การทำดีก็หมายเอาเพื่อบูชาบุคคลและวัตถุควรบูชา ถ้าแปลสักการะว่า วัตถุที่จัดดีก็หมายเอาเครื่องสักการะที่จักดีเป็นระเบียบ มีดอกไม้ธูป เทียนและเครื่องอุปโภคบริโภคเป็นสำคัญเพื่อบูชาบุคคลและวัตถุควรบูชา

. ครุการะ แปลว่า ทำความรัก ความห่วงใยบุตรธิดาชายหญิงมีความรักความห่วงใยในบิดามารดา พยายามรักษาน้ำใจท่านทำตนให้เป็นที่เบาใจแก่ท่าน สานุศิษย์มีความเคารพรักในครูอาจารย์ ประพฤติตนให้เป็นคนว่าง่ายสอนง่าย จึงได้ชื่อว่า บูชาบุคคลที่ควรบูชาแบบครุการะ

. มานนา แปลว่า ความนับถือการกำหนดนับความดีของบุคคลว่า เขามีดีอย่างนั้นมีดีอย่างนี้ และถือว่าผู้มีดีนั้นเป็นคนควรเชื่อถือยึดมั่นยกย่องเชิดชูให้เป็นที่นับหน้าถือตา นี้คือความนับถือ ลักษณะของการนับถือนั้นอยู่ที่การมีกิริยาวาจาดีงามต่อกันประพฤติตนสม่ำเสมอต่อกัน ยกย่องเชิดชูกันและเอื้อเฟื้อเชื่อฟังกันเป็นสำคัญ

. วันทนา หมายถึง การกราบไหว้ และชมเชย ส่วนอภิวาทนะเป็นลักษณะของความเคารพ การชมเชยนี้ คือการยกย่องสรรเสริญ จัดเป็นมงคล

พระอรรถกถาจารย์อธิบายความหมายของลักษณะการบูชาที่เรียกว่า ปัคคัณหะ การยกย่อง ไว้ในมังคลัตถทีปนีว่า  ปคฺคณฺหาติ ความว่า ยกย่อง คือ ทำสักการะและความนับถือบรรพชิต ด้วยการมอบถวายปัจจัยมีจีวรเป็นต้น หรือคฤหัสถ์ด้วยการมอบตำแหน่งมีตำแหน่งอุปราชและเสนาบดีเป็นต้น[17]

บุคคลที่ควรบูชาหรือ ปูชนียบุคคล คือบุคคลที่ได้สร้างหรือเคยสร้างคุณงามความงามดีมาแล้ว รวมถึงบุคคลที่กำลังสร้างคุณงามความดีในปัจจุบัน บุคคลที่ควรบูชานั้นไม่ได้หมายเอาเฉพาะฐานะหรือตำแหน่งเท่านั้น แต่หมายถึงคุณงามความดี พฤติกรรมหรือจรรยามารยาทที่บุคคลนั้นๆ สั่งสมประพฤติปฏิบัติให้เป็นที่ประจักษ์ปรากฏแก่สังคม เช่น คนดีมีศีลธรรม นักเสียสละ นักสังคมสงเคราะห์ เป็นต้น

) บุคคลที่ควรบูชา ปูชนียบุคคลหรือบุคคลที่ควรบูชาที่รู้จักกันทั่วไปได้แก่บุคคลต่อไปนี้

. พระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระองค์เป็นปูชนียบุคคลของพุทธบริษัท ในฐานะทรงถึงพร้อมด้วยพระปัญญาคุณ พระบริสุทธิคุณ พระมหากรุณาธิคุณและทรงตั้งพระศาสนาประกาศสัจธรรมให้มวลมนุษยชาติทั่วโลกได้เกิดความรู้ความเข้าใจเกิดแสงสว่างทางปัญญาเว้นจากความชั่วกระทำแต่คุณงามความดีและทำใจให้บริสุทธิ์ หลุดพ้นจากความทุกข์ความเดือดร้อนได้

. พระอริยสงฆ์สาวก พระสงฆ์เป็นปูชนียบุคคลของพุทธศาสนิกชน ในฐานะเป็นผู้ปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ ปฏิบัติเป็นธรรม ปฏิบัติสมควร เป็นเนื้อนาบุญของปวงชนชาวโลก เป็นผู้มีคุณูปการต่อศาสนาและประกาศพระศาสนาสืบต่อกันมา

. บิดามารดาเป็นปูชนียบุคคลของบุตรธิดา ในฐานะเป็นผู้ให้กำเนิดและเลี้ยงดูมาตั้งแต่ถือกำเนิดเกิดออกมาจนเติบใหญ่ เป็นพระพรหมและบุรพาจารย์ของบุตรธิดาชายหญิง

. ครูอาจารย์เป็นปูชนียบุคคลของศิษยานุศิษย์ ในฐานะเป็นผู้อบรมสั่งสอนประสาธน์ศิลปวิทยาแนะนำดี ให้เรียนดีไม่ปิดบังอำพราง ยกย่องให้ปรากฏในหมู่เพื่อนฝูงและทำความปกป้องในทิศทั้งปวง

. พระมหากษัตริย์เป็นปูชนียบุคคลของพสกนิกร ในฐานะทรงเป็นพระประมุขของชาติ และทรงทศพิธราชธรรมบำบัดทุกข์บำรุงสุขแก่ปวงประชาราษฎร[18]

) วัตถุที่ควรบูชา ปูชนียวัตถุหรือวัตถุที่ควรบูชา หมายเอาปูชนียวัตถุที่นับเนื่องในพระศาสนา ซึ่งประมวลลงในพุทธเจดีย์ ๔ ประเภท ดังพุทธพจน์ที่ว่า 

ธาตุเจดีย์ เจดีย์คือพระบรมสารีริกธาตุ และพระธาตุของพระสาวก

บริโภคเจดีย์ เจดีย์คือสังเวชนียสถาน ๔ แห่ง ได้แก่ สถานที่ประสูติ สถานที่ตรัสรู้ สถานที่แสดงปฐมเทศนา และสถานที่ปรินิพพานตลอดจนถึงพุทธบริขารและต้นพระศรีมหาโพธิ์

ธรรมเจดีย์ เจดีย์คือพระไตรปิฏกอันได้แก่พระสุตันตปิฎก  พระวินัยปิฎกและพระอภิธรรมปิฎก ตลอดจนถึงคำสอนที่จารึกลงในแผ่นศิลาและใบลาน

อุทเทสิกเจดีย์ เจดีย์คือพระพุทธรูป รอยพระพุทธบาท และรูปพระสงฆ์สาวก

การบูชานี้เป็นหลักการปฏิบัติเพื่อความเจริญก้าวหน้าแห่งชีวิต และข้อสำคัญอยู่ที่รู้จักเลือกบูชาบุคคลหรือวัตถุที่ควรบูชา พระพุทธเจ้าจึงตรัสว่าเป็นมงคลอันสูงสุดประการหนึ่ง[19]

..๔ อยู่ในถิ่นที่เหมาะสม

การอยู่ในถิ่นที่เหมาะสม คำว่า “ถิ่นหรือประเทศที่เหมาะสม” หมายถึง ถิ่นหรือประเทศที่ดี ไม่มีเรื่องวุ่นวาย ไม่มีปัญหาร้ายแรง สภาพแวดล้อมอบอุ่นไม่มีพิษภัย ผู้คนอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุขร่มเย็น มีน้ำใจไมตรีโอบอ้อมอารีเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่สมัคสมานสามัคคีมีความเป็นพี่เป็นน้อง และผู้คนตั้งมั่นอยู่ในศีลธรรมอันดีงาม

) ความหมายของการอยู่ในถิ่นที่เหมาะสม สมเด็จพระสังฆราช (จวนอุฏฐายี) กล่าวว่า  ถิ่นเหมาะสมแก่ผู้ที่ต้องการความเจริญต้องเป็นถิ่นที่มีบัณฑิตมีสำนักบัณฑิต มีสถานศึกษาที่ดี เป็นถิ่นที่เจริญเหมาะแก่การศึกษาเล่าเรียน การทำมาหากินและเป็นที่อยู่อาศัย[20] 

ถิ่นที่อยู่ของบุคคล เป็นปัจจัยสำคัญประการหนึ่ง ถ้าอยู่ในถิ่นที่ไม่ดี ถิ่นที่ไม่เจริญเป็นเหตุให้ชีวิตไม่เจริญก้าวหน้า ถ้าอยู่ในถิ่นดี มีความเจริญ เป็นเหตุให้ชีวิตมีความเจริญ

การอยู่ในถิ่นที่เหมาะสม ถิ่นที่มีสิ่งแวดล้อมดี ไม่เป็นพิษไม่เป็นภัยแก่สุขภาพกายและจิตใจ ยิ่งกว่านั้น ช่วยสนับสนุนให้ผู้อยู่อาศัย สามารถประกอบกิจการงานในหน้าที่อันเป็นสัมมาอาชีพให้เจริญก้าวหน้าได้โดยง่ายและสร้างสมคุณงามความดีได้เต็มที่

ในพระพุทธศาสนากล่าวถึงสถานที่หรือถิ่นที่เหมาะสมเรียกว่า สัปปายะ [21]คือ อาวาสสัปปายะ หมายถึง ที่อยู่ที่อาศัยเป็นที่ที่มีสภาพทางภูมิศาสตร์ดี เช่น บ้านต้องเป็นบ้านที่มองดูสะอาด มีความเป็นระเบียบเรียบร้อย มีต้นไม้ร่มรื่น มีน้ำมีไฟฟ้าสะดวก โรงเรียนต้องเป็นสถานที่ที่ถูกสุขลักษณะ อากาศถ่ายเทไม่มีเสียงอึกทึก บริเวณกว้างขวาง มีสนามกีฬาและอุปกรณ์การศึกษาเพียบพร้อม ร้านค้าต้องเป็นสถานที่ที่มีบริเวณอยู่ไม่ห่างจากย่านชุมชน การคมนาคมสะดวกสบาย ถ้าเป็นพื้นที่จังหวัดหรือภูมิภาคต้องเป็นบริเวณที่มีสภาพภูมิศาสตร์ดี เช่น ไม่ลุ่มไม่ดอนเกินไป ไม่หนาวหรือร้อนจนเกินไป เป็นต้น

อาหารสัปปายะ หมายถึง อาหารเป็นที่สบายหาได้ง่ายมีความอุดมสมบูรณ์ เป็นสถานที่ที่มีอาณาบริเวณอยู่ใกล้ตลาด หรือมีการเกษตรกรรมสามารถผลิตอาหารได้เองอย่างพอเพียง

บุคคลสัปปายะ หมายถึง ผู้ที่อยู่ในบริเวณนั้นประกอบด้วยนักปราชญ์ คนดีมีศีลธรรม มีวินัย ใฝ่หาความรู้ ปราศจากโจรหรือแหล่งอบายมุข

ธรรมะสัปปายะ หมายถึง อยู่ในบริเวณที่ไม่ไกลจากวัดและสถานศึกษาเพื่อมีโอกาสได้ทำบุญ ฟังธรรม และศึกษาวิทยาการต่างๆ

สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (พิมพ์ ธมฺมธโร) กล่าวถึงลักษณะของถิ่นที่เหมาะสมไว้ในหนังสือมงคลยอดชีวิต เป็น๓ นัย[22]คือ

)ถิ่นที่มีบริษัท ๔ คือ ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา สัญจรไปมา มีการบำเพ็ญบุญดำเนินไปอยู่ และมีนวังคสัตถุศาสนา คือ พระพุทธศาสนาเจริญรุ่งเรืองอยู่ จัดเป็นถิ่นที่เหมาะสม ท่านเรียกการอยู่ในถิ่นที่เหมาะสมนี้ว่าเป็นมงคล เพราะเป็นถิ่นอำนวยให้ผู้อยู่ได้บำเพ็ญบุญกิริยาวัตถุ ๑๐ ประการ คือ

<

หมายเลขบันทึก: 512803เขียนเมื่อ 20 ธันวาคม 2012 13:20 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 ธันวาคม 2012 13:20 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (8)

 

สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (พิมพ์ ธมฺมธโร) กล่าวถึงลักษณะของถิ่นที่เหมาะสมไว้ในหนังสือมงคลยอดชีวิต เป็น๓ นัย[1]คือ

)ถิ่นที่มีบริษัท ๔ คือ ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา สัญจรไปมา มีการบำเพ็ญบุญดำเนินไปอยู่ และมีนวังคสัตถุศาสนา คือ พระพุทธศาสนาเจริญรุ่งเรืองอยู่ จัดเป็นถิ่นที่เหมาะสม ท่านเรียกการอยู่ในถิ่นที่เหมาะสมนี้ว่าเป็นมงคล เพราะเป็นถิ่นอำนวยให้ผู้อยู่ได้บำเพ็ญบุญกิริยาวัตถุ ๑๐ ประการ คือ

. บำเพ็ญทาน การให้ปันสิ่งของแก่ผู้ควรให้ปัน สำเร็จเป็นบุญ เรียก ทานมัย

. บำเพ็ญศีล รักษากายวาจาให้ไม่ละเมิดข้อห้าม และทำตามข้ออนุญาต สำเร็จเป็นบุญ เรียก สีลมัย

. รวมใจเข้าสู่ห้องสงบ และหยั่งรู้เหตุผลของสิ่งทั้งปวงชัดแจ้ง สำเร็จเป็นบุญ เรียก ภาวนามัย

. ประพฤติถ่อมตนต่อผู้ใหญ่หรือผู้เจริญโดยชาติวัยและคุณ สำเร็จเป็นบุญ เรียก อปจายนมัย

. ตั้งใจช่วยขวนขวายในกิจที่ชอบของกันและกัน สำเร็จเป็นบุญ เรียก เวยยาวัจจมัย

. ตั้งใจส่งส่วนบุญที่ตนบำเพ็ญแล้วให้ผู้อื่น สำเร็จเป็นบุญเรียก ปัตติทานมัย

. พลอยยินดีในส่วนบุญที่ผู้อื่นบำเพ็ญแล้ว สำเร็จเป็นบุญ เรียก ปัตตานุโมทนามัย

. ตั้งใจฟังและจดจำคำสั่งสอนของบัณฑิต แล้วถือปฏิบัติ สำเร็จเป็นบุญ เรียก ธรรมสวนมัย

. ตั้งใจชี้แจงคำสั่งสอนของบัณฑิตแก่คนอื่น สำเร็จเป็นบุญ เรียก ธรรมเทสนามัย

๑๐. ควบคุมความเห็นให้เข้าตรงเป้าหมาย สำเร็จเป็นบุญ เรียก ทิฏฐุชุกรรม

ถิ่นที่เหมาะสมเช่นนี้ ย่อมเป็นถิ่นอำนวยให้ผู้อยู่ได้บำเพ็ญกุศลกิจเหล่านี้ให้ดียิ่งขึ้นตามสติกำลังของตน ดังนั้น ท่านจึงเรียกการอยู่ในถิ่นที่เหมาะสมว่าเป็นมงคล

๒)สถานที่ตรัสรู้ สถานที่ทรงแสดงปฐมเทศนา สถานที่แสดงยมกปาฏิหาริย์ สถานที่เสด็จลงจากเทวโลก และสถานที่พระองค์ประทับอยู่ มีเมืองสาวัตถีและเมืองราชคฤห์เป็นตัวอย่าง จักเป็นถิ่นที่เหมาะสม ท่านเรียกการอยู่ในถิ่นที่เหมาะสมนี้ว่าเป็นมงคล เพราะเป็นถิ่นอำนวยให้ผู้อยู่ได้บำเพ็ญอนุตติยกิจ ๖ ประการ คือ

๑. ให้ผู้อยู่ได้เห็นพระพุทธเจ้า เห็นพระสาวกของพระองค์ หรือได้เห็นผู้ประพฤติดีปฏิบัติชอบ และหยั่งเห็นคุณของผู้ทรงคุณ เรียก ทัสสนานุตติยะ คือ การเห็นชั้นเยี่ยม

๒. ให้ผู้อยู่ได้ฟังโอวาทของพระพุทธเจ้า และของสาวกของพระองค์หรือได้ฟังคำสอนของนักปราชญ์ราชบัณฑิตอื่นอีก เรียก สวนานุตริยะ คือ การฟังชั้นเยี่ยม

๓. ให้ผู้อยู่ได้ศรัทธาเชื่อในคุณของพระรัตนตรัย และเชื่อกรรมเชื่อผลของกรรม เชื่อว่าสัตว์บุคคลมีกรรมทั้งดีและชั่วที่ตนทำแล้วต้องเป็นของตน เรียก ลาภานุตริยะ คือ การได้ชั้นเยี่ยม

๔. ให้ผู้อยู่ได้ศึกษาในศีลสมาธิปัญญา แล้วน้อมเข้ามาถือปฏิบัติ อบรมกายวาจาใจให้เป็นศีล ฝึกฝนใจให้เป็นสมาธิ ควบคุมความเห็นให้สอดส่องปัญญา เรียก สิกขานุตริยะ คือ การศึกษาชั้นเยี่ยม

๕. ให้ผู้อยู่ได้ปรนนิบัติพระรัตนตรัย หรือผู้ประพฤติดีปฏิบัติชอบ และผู้ทรงศีลทรงธรรมอื่นอีก เรียก ปาริจริยานุตตริยะ คือ การปรนนิบัติชั้นเยี่ยม

๖. ให้ผู้อยู่ได้ระลึกถึงคุณพระรัตนตรัย และคุณของผู้ทรงคุณอื่นอีกเป็นอารมณ์ เรียก อนุสสตานุตริยะ คือ การระลึกชั้นเยี่ยม

ถิ่นที่เหมาะสมเช่นนี้ ย่อมเป็นถิ่นอำนวยให้ผู้อยู่ได้เห็นพระผู้บริสุทธิ์ ได้ฟังโอวาทของท่านหรือของนักปราชญ์ราชบัณฑิตอื่นอีก ได้ศรัทธาปสาทะ ได้ศึกษาไตรสิกขา ได้ปรนนิบัติท่าน และได้ระลึกถึงคุณของท่าน ซึ่งแต่ละอย่าง ๆ เป็นสื่อนำให้ละโทษและบำเพ็ญคุณความดีอย่างนี้ ดังนั้น ท่านจึงเรียกการอยู่ในถิ่นที่เหมาะสมนี้ว่าเป็นมงคล

๓)มัชฌิมประเทศ ซึ่งเป็นที่อุบัติแห่งพระพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้า พระมหาสาวกพุทธอุปัฏฐาก พระพุทธมารดา พระพุทธบิดา และพระเจ้าจักรพรรดิ จัดเป็นถิ่นที่เหมาะสม มวลชนอยู่ในถิ่นเช่นนี้มีโอกาสได้รับโอวาทของพระปัจเจกพุทธเจ้าและพระจักรพรรดิ เมื่อตั้งอยู่ในศีล ๕ ก็มีสวรรค์เป็นเบื้องหน้า ถ้าผู้ได้รับโอวาทของพระพุทธเจ้าและพระพุทธสาวก ก็มีสวรรค์และนิพพานเป็นเบื้องหน้า ดังนั้น ท่านจึงเรียกการอยู่ในถิ่นเช่นนี้ว่าเป็นมงคล เพราะเป็นเหตุให้ผู้อยู่ได้สวรรค์สมบัติและนิพพานสมบัติ

) ลักษณะของถิ่นที่เหมาะสม พระอุบาลีคุณูปมาจารย์ (จันทร์ สิริจนฺโท) กล่าวถึงลักษณะของประเทศที่เหมาะสมว่า  การที่ได้อยู่ในประเทศอันสมควรนั้น หมายเอาประเทศที่มีพระพุทธศาสนาถาวร หรือประเทศที่มีนักปราชญ์เป็นยุติธรรมช่วยแนะนำสั่งสอน ถอนตนให้พ้นจากกองทุกข์ อยู่ในประเทศอันสมควร[2]

ถิ่นที่มีลักษณะสมบูรณ์นั้น กล่าวโดยสรุปมี๕ ประการ คือ ถิ่นที่เป็นศูนย์กลาง ถิ่นที่มีการประกอบอาชีพสะดวก ถิ่นที่มีการศึกษาสะดวก ถิ่นที่มีศาสนาประกาศสัจธรรม และถิ่นที่มีคนทรงศีลธรรม ทรงวิทยาคุณมาก ชื่อว่าถิ่นที่เหมาะสม เป็นมงคลสูงสุด เพราะเป็นปัจจัยให้ผู้อยู่ได้ตั้งตนเป็นหลักฐานทั้งในทางโลกและทางธรรม ดังที่สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (พิมพ์ ธมฺมธโร)ได้ให้คำอธิบายไว้ว่า

. ถิ่นที่เป็นศูนย์กลาง หมายถึง ถิ่นหรือสถานที่ซึ่งเป็นที่รวมระเบียบแบบแผน จารีตประเพณี ศีลปวัฒนธรรมอันถูกต้องดีงาม สร้างสรรค์และเป็นที่รวมของประชาชนจากทั่วสารทิศ ไม่มีปัญหาเรื่องการแบ่งแยกเชื้อชาติ ศาสนา ไม่แบ่งชั้นวรรณะผู้คนอยู่ร่วมกันอย่างสามัคคี สงบสุข

. ถิ่นที่มีสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติที่ดี อุดมสมบูรณ์ เช่น แม่น้ำ ป่าไม้ ภูเขา สภาพดินฟ้าอากาศ ฝนตกต้องตามฤดูกาล การประกอบอาชีพสะดวก หมายถึง ถิ่นที่มีทำเลดี ทำมาหาเลี้ยงชีพได้ง่าย มีแหล่งอาหารที่อุดมสมบูรณ์ ผู้คนไม่อดอยากยากจน การทำมาหากินสะดวกสบาย ไม่มีภัยทั้งทางธรรมชาติและภัยจากมนุษย์ด้วยกัน ไม่มีภัยสงครามจากรุกรานจากประเทศเพื่อนบ้าน

. ถิ่นที่มีการศึกษาสะดวก เช่น มีโรงเรียน โรงพยาบาล วิทยาลัยและมหาวิทยาลัย ตลอดถึงสถาบันการศึกษาอื่นๆ ซึ่งสะดวกสบายสำหรับผู้ที่จะศึกษาต่อ

. ถิ่นที่มีศาสนาประกาศสัจธรรม หมายถึง ถิ่นที่มีศาสนาสอนให้ละโทษ สอนให้อบรมความดี และสอนให้ชำระจิตใจให้สะอาดบริสุทธิ์

. ถิ่นที่มีคนทรงศีลธรรมและทรงวิทยาคุณมาก หมายถึง ถิ่นที่มีนักปฏิบัติธรรม มีจิตใจสูงส่ง มีคุณธรรมประจำใจ และถิ่นนั้นมีนักปราชญ์ราชบัณฑิตผู้ทรงวิทยาคุณและเป็นคนคงแก่เรียน[3]

การพัฒนาศักยภาพมนุษย์ต้องอาศัยปัจจัยภายนอกหรือสิ่งแวดล้อม ปัจจัยเชิงบวกจะช่วยให้เกิดการพัฒนาในแนวทางที่ดีขึ้น หลักธรรมในมงคลสูตร ๔ ประการ คือ การไม่คบคนพาล การคบบัณฑิต การบูชาบุคคลที่ควรบูชา และการอยู่ในถิ่นที่เหมาะสม คือปัจจัยภายนอกเชิงบวกที่ช่วยส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาศักยภาพของมนุษย์ให้ดีขึ้น คุณธรรมในมงคลสูตร ๔ ประการนี้ จัดอยู่ในจริยศาสตร์ขั้นพื้นฐาน เพราะเป็นการเตรียมมนุษย์ให้พร้อมเพื่อการพัฒนาตนเองในคุณธรรมที่สูงขึ้นต่อไป

.๒ หลักจริยศาสตร์ด้านการพัฒนาตนเอง

ความก้าวหน้าเจริญรุ่งเรืองของชีวิต นอกจากจะอาศัยปัจจัยภายนอกดังกล่าวมาแล้วจะต้องอาศัยปัจจัยภายด้วย นั่นคือรู้จักพัฒนายกระดับตนเองให้สูงขึ้นอยู่เสมอ และหลักของการพัฒนาหรือการยกระดับตนเองนั้น ได้แก่ หลักธรรมในมงคลสูตร ๖ ประการคือ 

๑. ความเป็นผู้มีบุญอันกระทำแล้วในกาลก่อน

๒. การตั้งตนไว้ชอบ

๓. พาหุสัจจะ 

๔. ศิลป 

๕. วินัยที่ศึกษาดีแล้ว 

๖. วาจาสุภาษิต

..๑ ความเป็นผู้มีบุญอันกระทำแล้วในกาลก่อน

การสร้างสมความดีไว้ก่อนหรือความเป็นผู้มีบุญที่ได้กระทำไว้แต่กาลก่อน มาจากคำภาษาบาลีว่า “ปุพฺเพกตปุญฺญตา” ความหมายของคำว่า บุญที่ทำไว้ก่อนนั้นตรงกับคำว่า บุญวาสนา[4] บุคคลผู้ที่ไม่ได้สั่งสมคุณความดีหรือบุญกุศลมาก่อน เมื่อประกอบกิจใด ๆ แม้ว่าจะมีความขยันอดทนเพียงใด ผลแห่งการกระทำนั้นกว่าจะปรากฏย่อมต้องใช้ความอุตสาหะพยายามอย่างหนักและต้องใช้เวลามาก ส่วนบุคคลผู้ที่ได้เคยสั่งสมบุญกุศลคุณงามความดีมาก่อน เมื่อทำความดี ผลแห่งการกระทำดีนั้นย่อมปรากฏเต็มที่ในปัจจุบันทันตาเห็น และส่งผลให้มีความสุขความเจริญก้าวหน้าเหนือกว่าบุคคลทั้งหลาย

)  ความหมายของการมีบุญอันได้กระทำไว้ในกาลก่อน  การเป็นผู้ได้ทำบุญไว้ในกาลก่อนหรือในอดีตนั้น ได้มีท่านผู้รู้ทั้งหลายกล่าวนิยามไว้ดังนี้ผู้มีกุศลอันสั่งสม คือมีอธิการอันทำไว้ปรารภพระพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้า และพระขีณาสพ ในชาติที่ล่วงมาแล้ว ชื่อว่า ผู้มีบุญอันทำไว้ในก่อน[5]  พระราชวรมุนี กล่าวว่า บุญ หมายถึง ความดี ความสุข ความประพฤติชอบทางกาย วาจาและใจ กุศลธรรม เครื่องชำระสันดาน[6]  บุญเมื่อเกิดขึ้นในจิตใจแล้ว ทำให้ใจใสสะอาดปราศจากความเศร้าหมอง ขุ่นมัว ก้าวขึ้นสู่ภูมิที่ดี เกิดขึ้นจากที่ได้เพื่อนคิดที่ดีคือพระธรรมทำให้เลือกคิดแต่สิ่งที่ควร ที่เป็นประโยชน์แล้วพูดดี ทำดี ตามที่คิดนั้น

) บุญในกาลก่อน ๒ ระยะ บุญวาสนา หมายถึง บุญเก่า ซึ่งได้แก่บุญหรือคุณงามความดีที่เคยได้สั่งสมไว้นานแล้ว บุญในกาลก่อนหรือความมีบุญได้ทำไว้ก่อน แบ่งออกเป็น ๒ ระยะ คือกาลก่อนระยะไกล กับกาลก่อนระยะใกล้[7]

  . กาลก่อนระยะไกล ได้แก่ คุณความดีที่แต่ละคนได้ทำไว้ในภพชาติก่อน ๆ

  . กาลก่อนระยะใกล้ ได้แก่ คุณความดีที่บุคคลได้กระทำในภพชาติปัจจุบัน ตั้งแต่เกิดมาพอรู้เดียงสาจนถึงวันนี้ เช่น เป็นคนว่าง่ายสอนง่าย เชื่อฟังคำสอนของบิดามารดา มีความกตัญญูรู้คุณ ตั้งใจบำเพ็ญทานรักษาศีลและเจริญภาวนา ตั้งใจศึกษาเล่าเรียน มีความอดทนขยันหมั่นเพียร คบคนดีเป็นมิตร  ผู้บำเพ็ญบุญเอาไว้ในกาลก่อน ย่อมได้สมบัติเหล่านี้ ดังที่ปรากฎในนิธิกัณฑ์ว่า

ขุมทรัพย์คือบุญ เป็นขุมทรัพย์อันผู้ใดเป็นหญิงก็ตาม เป็นชายก็ตาม ฝังไว้ดีแล้วด้วยทาน ศีลความสำรวม และความฝึกตน ในเจดีย์ก็ดี ในสงฆ์ก็ดี ในบุคคลก็ดีในแขกก็ดี ในมารดาก็ดี ในบิดาก็ดี ใน พี่ชายก็ดี ขุมทรัพย์นั้นชื่อว่าอันผู้นั้นฝังไว้ดีแล้ว ใครๆ ไม่อาจผจญได้ เป็นของติดตามตนไป บรรดาโภคะทั้งหลายเมื่อเขาจำต้องละไปเขาย่อมพาขุมทรัพย์คือบุญนั้นไป ขุมทรัพย์คือบุญ ไม่สาธารณะแก่ชนเหล่าอื่น โจรลักไปไม่ได้ บุญนิธิอันใดติดตนไปได้ ปราชญ์พึงทำบุญนิธิอันนั้นบุญนิธินี้ให้สมบัติที่พึงใคร่ทั้งปวงแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เทวดาและมนุษย์ทั้งหลายปรารถนานักซึ่งผลใดๆ ผลนั้นๆ ทั้งหมด อันเทวดาและมนุษย์เหล่านั้นย่อมได้ด้วยบุญนิธินี้ ความเป็นผู้มีผิวพรรณงาม ความ เป็นผู้มีเสียงไพเราะ ความเป็นผู้มีทรวดทรงดี ความเป็นผู้มีรูปสวย ความเป็นอธิบดี ความเป็นผู้มีบริวาร อิฐผลทั้งปวงนั้น อันเทวดาและมนุษย์ย่อมได้ด้วยบุญนิธินี้ ความเป็นพระราชาประเทศราช ความเป็นใหญ่สุขของพระเจ้าจักรพรรดิอันเป็นที่รัก แม้ความเป็นพระราชาแห่งเทวดาในทิพกาย อิฐผลทั้งปวงนั้น อันเทวดาและมนุษย์ย่อมได้ด้วยบุญนิธินี้ มนุษย์สมบัติ ความยินดีในเทวโลกและนิพพานสมบัติ อิฐผลทั้งปวงนี้ เทวดาและมนุษย์ย่อมได้ด้วยบุญนิธินี้ ความที่พระโยคาวจร ถ้าเมื่ออาศัยคุณเครื่องถึงพร้อมคือมิตร แล้วประกอบอยู่โดยอุบายอันแยบคายไซร้ เป็นผู้มีความชำนาญในวิชชาและวิมุตติ อิฐผลทั้งปวงนี้ อันเทวดาและมนุษย์ย่อมได้ด้วยบุญนิธินี้ ปฏิสัมภิทาวิโมกข์ สาวกบารมีญาณ ปัจเจกโพธิญาณ และพุทธภูมิอิฐผลทั้งปวงนี้ อันเทวดาและมนุษย์ย่อมได้ด้วยบุญนิธินี้คุณเครื่องถึงพร้อมคือบุญนี้ เป็นไปเพื่อประโยชน์มากอย่างนี้เพราะเหตุนั้น บัณฑิตผู้มีปัญญาจึงสรรเสริญความที่บุคคลมีบุญอันทำไว้แล้ว[8]

ชีวิตของคนเรา เกิดจากผลบุญและผลบาปที่เราได้ทำมาตั้งแต่ภพชาติก่อนๆ จนถึงภพชาติปัจจุบัน เป็นผลของบุญที่ชักนำให้เราได้รับสิ่งที่น่าปรารถนา ตอบสนองมาจากภายนอก เช่น ได้ลาภ ยศ สรรเสริญ สุข การที่เราทำดีแล้ววิถีชีวิตของเราจะดีเต็มที่หรือไม่นั้น ขึ้นอยู่กับบุญเก่าหรือบาปในอดีตที่เราเคยทำไว้ด้วย จึงเป็นเรื่องที่สลับซับซ้อน ทำให้บางคนเข้าใจผิด คิดว่าทำดีแล้วไม่ได้ดี เพราะบางครั้งขณะที่เราตั้งใจทำความดีอยู่ กลับถูกใส่ร้ายป้ายสีหรือประสบเคราะห์กรรม ทำให้หมดกำลังใจในการทำความดี แท้จริงแล้ว ที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะในขณะนั้นผลบาปที่เราเคยทำในอดีตกำลังส่งผลอยู่ แต่บุญที่กำลังทำอยู่ในปัจจุบันย่อมไม่ไร้ผล เมื่อเราตั้งใจทำบุญไปโดยไม่ย่อท้อ บุญย่อมจะส่งผลให้เคราะห์กรรมนั้นหมดสิ้นไปโดยเร็ว และได้รับความสุขความสำเร็จได้ในที่สุด เมื่อเราทำบุญคือความดีอย่างเต็มที่ ไม่ว่าจะอยู่สังคมใด บุญก็จะส่งผลให้เป็นบุคคลที่สังคมยอมรับนับถือ และจะเป็นผู้ชักนำสมาชิกในสังคมให้ทำความดี ทำให้เกิดความสงบร่มเย็น และความเจริญก้าวหน้าขึ้นในสังคมนั้นๆ

..การตั้งตนไว้ชอบ

การตั้งตนไว้ชอบ หมายถึง การดำรงตนให้อยู่ในศีลธรรมและดำเนินชีวิตที่ถูกต้อง ตั้งเป้าหมายชีวิตและการงานให้มั่นคง ดีงาม ก้าวหน้า ดำเนินชีวิตด้วยความระมัดระวังไม่ประมาท สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส ได้ทรงอธิบายแนวทางการตั้งตนไว้ชอบตามสมควรแก่ฐานะไว้ในสารานุกรมพระพุทธศาสนาว่า  วางตนให้เหมาะสมแก่ฐานะหน้าที่ของตน เป็นผู้ใหญ่ก็ประพฤติตนตัวอย่าง มีเมตตาอารีในผู้น้อย เป็นคนเสมอกันก็ให้ความเป็นมิตร ซื่อตรงและเผื่อแผ่แก่เขา เป็นผู้น้อยก็ประพฤติอ่อนน้อมให้ความเอื้อเฟื้อแก่ผู้ใหญ่ เช่นนี้ก็ชื่อว่าตั้งตนไว้ชอบ[9]

หลักปฏิบัติที่สำคัญของพระพุทธศาสนา คือ “การพัฒนาตน” การพัฒนางานคือการพัฒนาชีวิตและการพัฒนาที่ดีจะต้องปฏิบัติตามหลักอัตตสัมมาปณิธิ ซึ่งถือว่าเป็นมงคล คือเป็นความดี ความงามซึ่งเมื่อได้ปฏิบัติแล้วย่อมมีแต่ความเจริญก้าวหน้าไม่มีความเสื่อมในชีวิต ส่วนการตั้งตนไว้ผิดนั้นย่อมมีแต่ความเสื่อมเสีย และสิ่งที่สำคัญที่สุดของมนุษย์ก็คือจิตหรือใจ เพราะถ้าจิตใจดีคือมีความคิดดีก็จะเป็นเหตุให้บุคคลพูดดีและกระทำดีไปด้วย ดังที่พระพุทธองค์ตรัสไว้ว่า

โจรเห็นโจร หรือคนมีเวรเห็นคนมีเวร เขาจะทำความเสียหายย่อยยับพินาศ ให้แก่กันสักเพียงใด ก็ไม่ร้ายเท่ากับจิตของเราที่ตั้งไว้ผิด ย่อมจะทำความเสียหายเดือดร้อนให้แก่ตัวเรายิ่งกว่านั้น จิตของเรานี้ ถ้าตั้งไว้ถูกต้องแล้ว ย่อมจะทำความเจริญก้าวหน้าให้แก่ตัวเองอย่างมากมาย ยิ่งกว่าความเจริญที่บิดามารดาพี่น้องจะพึงทำให้แก่เราเป็นไหนๆ[10]

) ความหมายของการตั้งตนไว้ชอบ การตั้งตนไว้ชอบหรืออยู่ในภาวะปกติของสุภาพชนนั้น ได้มีท่านผู้รู้ทั้งหลายกล่าวนิยามไว้ดังนี้สมเด็จพระสังฆราช (จวนอุฏฐายี) กล่าวว่า

การตั้งตนไว้ชอบหมายถึงการตั้งตนไว้ในทางเจริญ ระมัดระวังตนให้เป็นไปในทางที่ชอบ ให้บรรลุผลสำเร็จตามที่ตนมุ่งหมายทั้งในปัจจุบันและอนาคตรู้สำนึกตนเองว่าการศึกษาเล่าเรียนไม่ทันเพื่อนยังไม่ฉลาดก็พยายามฝึกฝนตนเองหมั่นฟังท่านผู้รู้ หมั่นหาความรู้เพิ่มเติมด้วยการอ่าน เป็นต้น[11]

การตั้งตนไว้ชอบ คือการตั้งเป้าหมายชีวิตทั้งทางโลกและทางธรรมไว้ถูกต้องแล้วประคับประคองตนให้ดำเนินชีวิตไปตามเป้าหมายนั้นด้วยความระมัดระวัง เป็นการตั้งตนไว้ในศีลธรรมคุณธรรมหรือตั้งตนไว้ชอบตามทำนองคลองธรรม

)  เป้าหมายของการตั้งตนไว้ชอบ การตั้งตนไว้ชอบก็เพื่อบรรลุตามเป้าหมายของการพัฒนาชีวิต ตามหลักพระพุทธศาสนามีเป้าหมายของชีวิตที่เหมาะสมแก่สภาพของแต่ละบุคคลอยุ่ ๓ ระดับ[12]คือ

. ระดับต้น ได้แก่ การตั้งเป้าหมายชีวิตไว้เพื่อประโยชน์ในชาตินี้ เป็นการวางแผนชีวิต โดยตั้งเป้าหมายเอาไว้ว่า จะดำเนินชีวิตไม่ผิดศีลธรรมและกฎหมายของบ้านเมือง ประกอบอาชีพการงานที่สุจริต จะเป็นอาชีพอะไรก็แล้วแต่ความรู้ความสามารถ หรือความถนัดของแต่ละบุคคล

. ระดับกลาง ได้แก่ การตั้งเป้าหมายชีวิตไว้เพื่อประโยชน์ในชาติหน้าด้วยการสร้างบุญสร้างกุศล คุณงามความดี มีศีลธรรมประจำใจ

. ระดับสูงสุด ได้แก่ การตั้งเป้าหมายชีวิตไว้เพื่อประโยชน์อย่างยิ่ง คือ พระนิพพาน ด้วยการตั้งใจปฏิบัติธรรมอย่างเคร่งครัด เพื่อชำระกิเลส ความโลภ ความโกรธ ความหลงให้หมดสิ้นไปจากจิตใจของตัวเอง

การตั้งไว้ชอบเป็นสิ่งสำคัญ เป็นขั้นตอนแรกในการสร้างความเจริญก้าวแก่ชีวิต เพราะการดำเนินชีวิตของมนุษย์มี ๒ ทางด้วยกัน คือ ทางที่ถูกและทางที่ผิด ผู้ที่ดำเนินชีวิตในทางที่ถูกย่อมประสบแต่ความสุขความเจริญก้าวหน้า รุ่งเรืองมีหลักฐานมั่นคง มีเกียรติ มีศักดิ์ศรี มีคนเคารพนับถือยกย่องสรรเสริญ ไม่ประสบความเดือดร้อนและปัญหาใด ๆ ในชีวิต ส่วนผู้ที่ดำเนินชีวิตในทางที่ผิด ย่อมพบแต่ความผิดหวังเดือดร้อน ไม่พบความสุขความเจริญในชีวิต เป็นมูลเหตุแห่งความล้มเหลวตลอดทั้งชีวิต

..พาหุสัจจะ

การเรียนหรือการศึกษาหรือการเรียนมากรู้มากตามหลักพุทธจริยศาสตร์เรียกว่า “พาหุสัจจะ”ความเป็นผู้ได้ยินได้ฟังมาก หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ความคงแก่เรียน  ความคงแก่เรียน สอนให้คนรู้จักประมาณเป็นสำคัญ ความเป็นผู้รู้จักประมาณสอนให้คนรู้จักควบคุมชีวิต ให้ประพฤติในสิ่งที่ควรประพฤติ เว้นสิ่งที่ควรเว้นและไม่ให้มุ่งหมายอยู่แต่ความรู้อย่างเดียว แต่ให้มุ่งมั่นทำความเจริญก้าวหน้าแก่ชีวิตจิตใจเพราะตัวจักรสำคัญของคนเราคือจิตใจ เมื่อคนเรามีร่างกายแข็งแรง สมองว่องไว ประสาทคล่องแคล่วจิตใจเข้มแข็งแล้วย่อมสามารถประกอบสรรพกิจให้สำเร็จได้

) การเป็นพาหุสัจจะ ความหมายของการเป็นพาหุสัจจะคือ การเป็นผู้สดับตรับฟังสิ่งที่ดีๆ มามากนั้น ได้มีท่านผู้รู้ทั้งหลายกล่าวนิยามไว้ดังนี้ความเป็นผู้มีสุตะมาก ชื่อว่า พาหุสัจจะ ความเป็นผู้ฉลาดในหัตถกรรมอย่างใดอย่างหนึ่งชื่อว่า ศิลปะ

ความเป็นผู้มีสุตะมาก ชื่อพาหุสัจจะ โดยอรรถ พาหุสัจจะ ได้แก่ความเป็นผู้ฉลาดในกิจนั้นๆ อันเกิดขึ้นเพราะเรียนบ้าง เพราะฟังบ้าง ซึ่งพระพุทธวจนะหรือศิลปะภายนอก (พระพุทธศาสนา) ยกความเป็นผู้ฉลาดในหัตถกรรม ที่พระผู้มีพระภาคทรงถือเอาด้วยสิปปศัพท์[13]

พระราชวรมุนี กล่าวว่า พหูสูต หมายถึงผู้ได้ยินได้ฟังมามาก คือ ทรงจำธรรมและรู้ศิลปะวิทยามาก ผู้เล่าเรียนมาก ผู้ศึกษามาก ผู้คงแก่เรียน[14] 

โดยความหมายของพหูสูต จึงน่าจะหมายถึง คนที่ได้ฟังมามาก ได้อ่านมามาก ได้ศึกษามามาก เป็นคนคงแก่เรียน เป็นคลังแห่งวิชาการ ความเป็นผู้ฉลาดรู้ คือ ผู้ที่รู้จักเลือกเรียนในสิ่งที่ควรรู้ เป็นผู้ที่ได้ศึกษาเล่าเรียนมามากได้ยินได้ฟังมามากและเป็นคนช่างสังเกต

) ประเภทของพาหุสัจจะ พาหุสัจจะนั้นมี ๒ อย่าง คือ พาหุสัจจะของบรรพชิตและคฤหัสถ์[15]

ความเป็นพหูสูต คือความเป็นผู้คงแก่เรียน เป็นผู้ศึกษามามากมีประสบการณ์มาก ความเป็นผู้ศึกษาค้นคว้ามามาก ได้ฟังมามาก จำไว้ได้มากจนเป็นเหตุให้เกิดความรู้ความเข้าใจอย่างแจ่มแจ้ง รู้ดี รู้ชั่ว ดังนั้น จึงสามารถนำความรู้และประสบการณ์นั้นๆ ไปปฏิบัติได้อย่างถูกต้อง สามารถวิเคราะห์สงเคราะห์ได้อย่างชัดเจน

พาหุสัจจะคือความคงแก่เรียนแยกเป็นได้ ๒ ประเภท ดังนี้

.การศึกษาทางโลก คือการรับเอาความรู้มาไว้ในตัวเราและล้วงเอาสมรรถภาพที่มีอยู่ในตัวเราออกมาแสดงให้ปรากฏด้วยการกระทำและการปฏิบัติเรียกว่า การศึกษาประกอบด้วยลักษณะ ๔ ประการ

.. พุทธิศึกษา ฝึกหัดสมองเพื่อให้ความรู้ ความคิด สติปัญญามีความเฉลียวฉลาดว่องไว สามารถใช้ดุลยพินิจเกี่ยวกับงานทั่วไปได้

.. จริยศึกษา ฝึกหัดจิตใจให้สูง ขัดเกลากิริยามารยาทให้สุภาพ อบรมความประพฤติและอุปนิสัยให้ดีงาม และให้มีวัฒนธรรมของชุมชน เห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวมยิ่งกว่าประโยชน์ส่วนตน

.. พลศึกษา ฝึกหัดกำลังกายให้แข็งแรง และบำรุงสุขภาพอนามัยให้สมบูรณ์หรือฝึกหัดให้ร่างกายเจริญพร้อมกับจิตใจ เข้าหลักที่ว่าจิตใจเข้มแข็งย่อมอยู่ในร่างกายที่แข็งแรง

.. หัตถศึกษา ฝึกหัดให้มีความเคยชินและขยันหมั่นเพียรในการใช้มือปฏิบัติงานเพื่อเป็นรากฐานของการประกอบสัมมาชีพ

การสนใจเรียนหนังสือเช่นเรียนภาษาหรือวิชาอื่นๆ พร้อมกับสนใจฝึกปรือนิสัยให้เจริญควรแก่การงาน และปรับปรุงให้ดีงาม ควรแก่ความต้องการของสังคมซึ่งจะเป็นประโยชน์แก่ตน ให้รู้จักความเสื่อมความเจริญ และเอาตัวรอดในหมู่คนที่เบียดเสียดแย่งกันหาแย่งกันกินแล้วนำชีวิตของตนให้ดำเนินตลอดรอดฝั่ง นี่คือ การศึกษาที่แท้ ซึ่งชุบคนให้เป็นคนคงแก่เรียนนับว่าเป็นมงคล

๒. การศึกษาทางธรรม การศึกษาทางธรรมนั้นหมายถึงการศึกษาพระไตรปิฎก  การศึกษาทางธรรมมี ๓ ระดับ[16]คือ

๒.๑. การศึกษาชั้นปริยัติ หมายถึงการฝึกฝนอบรมตนให้เกิดความรู้ ความทรงจำให้เกิดความคล่องแคล่วและความชำนาญจัดเป็นการศึกษาขั้นปริยัติ แบ่งออกเป็น ๓ ประเภท

(๑) การเรียนเป็นดุจงูพิษ หมายถึง ผู้เรียนทำตนให้เป็นดุจงูพิษ คือเรียนแล้วไม่ปฏิบัติตาม ชื่อว่าเรียนแล้วทำลายศาสนา ไม่เป็นมงคลแก่ตนเอง

(๒) การเรียนเพื่อถอนตนให้พ้นทุกข์ หมายถึง ผู้เรียนจะเรียนน้อยแล้วปฏิบัติตาม

(๓) การเรียนเพื่อเป็นคลังศาสนา หมายถึง ผู้เรียนแล้ว รู้แล้ว ปฏิบัติแล้ว กระทำให้แจ้งแล้วซึ่งพระนิพพาน สอนคนอื่นให้รู้ตาม ปฏิบัติตาม จนกระทั่งบรรลุมรรคผล ดับทุกข์ในสังสารวัฏได้

๒.๒. การศึกษาขั้นปฏิบัติ หมายถึงการศึกษาอบรมไตรทวารให้ดำเนินไปในทางที่ชอบ เพื่ออบรมกาย วาจาให้มีมารยาทที่ดีงาม เพื่ออบรมใจให้สงบมั่นคง และเพื่อชำระทิฏฐิความเห็นให้บริสุทธิ์ผ่องใส

อนึ่ง การศึกษาขั้นปฏิบัตินี้มีอยู่ ๓ ขั้น [17]คือ

() การฝึกหัดกายวาจาให้ดีเป็นปกติ  เรียบร้อย ปราศจากโทษ รักษากายให้เป็นกายสุจริต และรักษาวาจาให้เป็นวจีสุจริต จัดเป็นศีลสิกขา

() การฝึกหัดจิตให้อยู่ในอำนาจ ควบคุมให้แน่วแน่ควรแก่การงาน ในคราวต้องการและรักษาจิตให้เป็นมโนสุจริต จัดเป็นจิตสิกขา

() การฝึกหัดใช้ปัญญา ให้รอบรู้ในกฏของธรรมชาติ ความเป็นเหตุและผลให้รู้จักเว้นทุจริตและประกอบสุจริต จัดเป็นปัญญาสิกขา

.. การศึกษาขั้นปฏิเวธ หมายถึง การศึกษาขั้นสูงสุดของพุทธศาสนา อันได้แก่ การปฏิบัติเพื่อการหลุดพ้นจากความทุกข์ทั้งปวง ซึ่งเรียกว่าวิมุตติ นับเป็นผลสุดในศาสนา ผู้บรรลุวิมุตติแล้ว ชื่อว่าอยู่จบพรหมจรรย์ เสร็จกิจที่ทำในศาสนา เป็นผู้ดับกิเลสโดยสิ้นเชิงไม่หวนกลับมาเกิดอีกในชาติต่อไป

วัตถุประสงค์ของการศึกษาทั้งทางโลกและทางธรรม อยู่ที่เมื่อผู้เรียนมาจะมากหรือน้อยแล้วปฏิบัติตามที่เรียนมานั้น เพื่อให้เกิดประโยชน์และความสุข ตลอดจนถึงความสำเร็จในชีวิตของตน เรียกว่า พาหุสัจจะ และพาหุสัจจะนี้ เมื่อผู้ศึกษาปฏิบัติอบรมให้เป็นคนดี จนกระทั่งเป็นคนบริสุทธิ์หลุดพ้นจากกองทุกข์ทั้งปวงแล้ว พระพุทธองค์ตรัสว่า เป็นมงคลสูงสุด เพราะเป็นเหตุให้เจริญด้วยมนุษย์สมบัติ สวรรค์สมบัติ และนิพพานสมบัติ



[1]สมเด็จพระมหาวีรวงศ์(พิมพ์ ธมฺมธโร),มงคลยอดชีวิต, (กรุงเทพฯ  : โรงพิมพ์ชวนพิมพ์, ๒๕๑๘), หน้า ๖๕–๖๘.

[2]พระอุบาลีคุณูปมาจารย์ (จันทร์ สิริจนฺโท), เรื่องเดียวกัน, หน้า๑๗.

[3] สมเด็จพระมหาวีรวงศ์(พิมพ์ ธมฺมธโร),เรื่องเดียวกัน, หน้า๗๙–๘๓.

[4]ปิ่นมุทุกันต์, เรื่องเดียวกัน, หน้า๒๕๘.

[5]มงฺคลตฺถทีปนี. ๑ / ๑๔๗.

[6]พระราชวรมุนี, เรื่องเดียวกัน, หน้า ๑๓๘.

[7] สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (พิมพ์ ธมฺมธโร), เรื่องเดียวกัน, หน้า ๘๘.

[8]ขุ. ธ. ๒๕ / ๙ / ๗.

[9]สมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระยาวชิรญาณวโรรส,สารานุกรมพระพุทธศาสนา, (กรุงเทพฯ  :โรงพิมพ์มหามกุฏราชวิทยาลัย, ๒๕๒๙), หน้า๕๑.

[10]ขุ. ธ. ๒๕/ ๑๓ / ๑๕.

[11]สมเด็จพระสังฆราช(จวน อุฏฐายี),เรื่องเดียวกัน, หน้า๓๐–๓๕.

[12]ขุ. จู. ๓๐ / ๖๗๓ / ๓๓๓.

[13] มงฺคลตฺถทีปนี. ๒ / ๑-๓.

[14]พระราชวรมุนี, เรื่องเดียวกัน, หน้า ๑๘๗.

[15]มงฺคลตฺถทีปนี. ๒ / ๓.

[16]องฺ. อ. ๓ / ๓๙๑.

[17]ที. ปา. ๑๑ / ๒๒๘ / ๒๓๑.

 

..  ศิลปะ (สิปปะ)

คนที่มีศิลปะเชี่ยวชาญในสาขาวิชาที่ได้ศึกษาหรืออบรมมาที่ได้รับสมญาว่าเป็นศิลปินหรือนักศิลปะนั้น เป็นคนช่างทำช่างพูดช่างคิด หรือทำเป็นพูดเป็นคิดเป็น สามารถเปลี่ยนแปลงวัตถุดิบที่มีมูลค่าเพียงเล็กน้อยให้มีมูลค่าเพิ่มมากขึ้นได้ คนมีศิลปะวิทยา คือคนที่มีความสามารถในการจัดแจง หรือกระทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งด้วยความละเอียดอ่อน งดงามเป็นที่ต้องตาต้องใจและต้องการของคนทั่วไป เรียกได้ว่าเป็นคนมีฝีมือทางการช่าง การแสดงอารมณ์ความรู้สึกออกมาให้ปรากฏได้อย่างน่าดูน่าชม และทำให้เกิดความซาบซึ้งตรึงใจ ตลอดจนความเชี่ยวชาญในการงานต่าง ๆ

) ความหมายของการมีศิลปะ การเป็นผู้ชำนาญหรือเชี่ยวชาญในศิลปะนี้ ได้มีท่านผู้รู้ทั้งหลายกล่าวนิยามไว้ดังนี้  คำว่าศิลปศาสตร์นั้น หมายวิชาที่เกี่ยวด้วยหัตถกรรม การช่างต่างๆ คือ การก่อสร้าง การถาก การตัด การวาด การเขียน การปั้น การปรุง การจัก การสาน การเย็บปักถักร้อย ตลอดจนการตัดผ่าบาดแผล เป็นอาทิ[1]

ปิ่น มุทุกันต์ กล่าวว่า คำว่าศิลปหมายถึงหัตถโกศลซึ่งมีความหมายเหมือนกับคำว่า ศิลป หมายถึง ฉลาดทำ คือ ทำเป็น[2]

ศิลปะแปลว่าฉลาดทำ คือ ทำเป็นนั่นเอง พหูสูตเป็นผู้ฉลาดรู้เรียนหลักวิชา ส่วนศิลปะเป็นความสามารถในทางปฏิบัติ  คือ สามารถนำความรู้นั้นมาใช้ให้บังเกิดผลได้ การมีศิลป คือการมีฝีมือทางการช่างหรือการแสดงออกให้ปรากฏขึ้นได้อย่างงดงามและทำให้ผู้พบเห็นเกิดอารมณ์ประทับใจ บุคคลผู้มีความเชี่ยวชาญหรือชำนาญการในการทำ การพูด การแสดง คือ ทำเป็นพูดเป็น แสดงเป็น หรือรู้จักใช้เทคโนโลยีการประกอบเครื่องจักรเครื่องยนต์กลไก เป็นอาทิ

) ประเภทของศิลปะ ในมังคลัตถทีปนีได้แก้คำว่า “ศิลปะ” ไว้ว่า หัตถโกศล คือ ความเป็นคนฉลาดในหัตถกรรม คือเป็นช่างฝีมือ ทำงานให้สำเร็จเป็นชิ้นเป็นอันและประณีตด้วยฝีมือของตน ชื่อว่า ศิลปะ และจำแนกศิลปะออกเป็น ๒ ประเภท คือ

๑. ศิลปะของบรรพชิตหมายถึง ความเป็นผู้ฉลาดในการตัดเย็บจีวรและความเป็นผู้ฉลาดในกิจจานุกิจ เช่น ฉลาดในการปฏิบัติอุปัชฌาย์และอาจารย์ ท่านได้กล่าวถึงกิจไว้ดังนี้

๑. ฉลาดเอาใจใส่ปฏิบัติอุปัชฌาย์อาจารย์ และช่วยทำกิจของท่านทุกอย่าง

๒. ฉลาดรักษาศีลให้บริสุทธิ์ ฝึกฝนอบรมจิตให้มั่นคงและธรรมปัญญาให้แก่กล้า

๓. ฉลาดระงับความเสื่อมเสีย อันจะพึงมีหรือมีแล้วแก่ท่าน

๔. ฉลาดรักษาน้ำใจท่านจะทำอะไรปรึกษาท่านก่อนไม่ทำตามลำพัง

๕. ฉลาดเคารพในท่าน รู้จักเสนอแนะความคิดเห็นในกาลอันสมควร

๖. ฉลาดระมัดระวังจะไปไหนต้องบอกลาท่านก่อน

๗. ฉลาดเอาใจใส่พยาบาลเมื่อท่านอาพาธ

ส่วนความเป็นช่างก่อสร้าง ฉลาดพัฒนาวัดและปฏิสังขรณ์ เสนาสนะ จัดเป็นศิลปะของบรรพชิตโดยตรง

๒. ศิลปะของคฤหัสถ์ ศิลปะทั้งของบรรพชิตและของคฤหัสถ์ เมื่อรวมลงก็อยู่ที่ช่างทำ ช่างพูด และช่างคิด หรือทำเป็นพูดเป็นและคิดเป็นนั่นเอง เพราะศิลปะแห่งศิลปะทั้งหลาย อยู่ที่การปรับปรุงตนเองให้เป็นช่างทำที่ชำนาญ เป็นช่างพูดที่ประกอบด้วยเหตุผล  และเป็นช่างคิดที่ละเอียดรอบคอบ ซึ่งให้สำเร็จประโยชน์ ๓ ประการ คือ อัตถะ เป็นที่ต้องการของตนและคนอื่น หิตะ เกื้อกูล แก่ตนและคนอื่น สุขะ อำนวยความสุขแก่ตนและคนอื่น อย่างนี้เป็นมงคล กล่าวโดยสรุปศิลปะคือ ช่างพูด ช่างคิด หรือทำเป็นพูดเป็นคิดเป็นนี้เป็นมงคลสูงสุด เพราะทำให้ผู้มีช่างทำ ช่างพูด ช่างคิด เจริญก้าวหน้า มีฐานะสูงขึ้น อุดมด้วยทรัพย์สมบัติสมบูรณ์ด้วยเกียรติยศและชื่อเสียง

..๕ วินัยที่ศึกษาดีแล้ว 

วินัยคือ ระเบียบ หรือกฏของหมู่คณะ หมู่คณะที่ไร้ระเบียบวินัยย่อมดูไม่งามส่วนที่มีระเบียบวินัยดี ย่อมดูมีสง่างามน่าเลื่อมใส เมื่อเราศึกษาแล้วจะเห็นได้ชัดว่า ชาติกับศาสนาจะมั่นคงต้องมีวินัยรักษาคุ้มครองป้องกัน ชนชาติที่เจริญแล้วย่อมมีวินัยเป็นเครื่องควบคุมชิวิตจิตใจของตนให้อยู่ในระเบียบอันดีงาม และให้สามัคคีพร้อมเพรียงเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน เมื่อจะทำอะไรให้ทำตามระเบียบไม่ละเมิดระเบียบ  ทำงานตามหน้าที่ของตน ไม่ก้าวก่ายงานของกันและกัน ซึ่งแสดงให้เห็นว่าศึกษามาดีแล้ว ในทางตรงกันข้าม ถ้าไม่ได้ศึกษาวินัยมาอย่างดีชีวิตก็จะประสบแต่ความเสื่อม เปรียบเหมือนคนตาบอด เดินในทางเปลี่ยวซึ่งมีอันตรายรอบด้าน

)  ความหมายของการมีวินัย การเป็นผู้มีความประพฤติเรียบร้อยหรือมีวินัยในตนเองนี้ ได้มีท่านผู้รู้ทั้งหลายกล่าวนิยามไว้ดังนี้

พระเทพปริยัติโมลี กล่าวว่า  วินัย คือกฏเกณฑ์หรือระเบียบสำหรับฝึกกาย วาจา ใจ ป้องกันกีดกันมิให้ล่วงละเมิดศีลหรือล่วงละเมิดกุศลธรรมเป็นแบบแผนหรือข้อบังคับที่บัญญัติไว้หรือกำหนดไว้ สำหรับกำกับความประพฤติของสมาชิกในหมู่คณะนั้น[3] 

วินัย คือ กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ และข้อปฏิบัติที่กำหนดไว้หรือคนในวงการหนึ่งๆ หรืออาชีพหนึ่งๆ วินัยคือการลงโทษผู้ไม่ประพฤติปฏิบัติตามกฏระเบียบหรือข้อบังคับที่กำหนดไว้ วินัยเป็นความคาดหวังของสังคมที่จะให้บุคคลมีความประพฤติในสิ่งที่ถูกที่ควรอันจะส่งผลให้เกิดความเจริญแก่ตนเองและสังคม วินัย หรือระเบียบ กฏเกณฑ์ ข้อบังคับมีไว้สำหรับควบคุมประพฤติทางกายของคนในสังคมให้เรียบร้อยดีงาม เป็นแบบแผนอันหนึ่งอันเดียวกัน จะได้อยู่ร่วมกันด้วยความสุขสบาย ไม่กระทบกระทั่งซึ่งกันและกัน ให้ห่างไกลจากความชั่วร้ายทั้งหลาย

) ประเภทของวินัย  วินัยมี ๒ อย่าง คือ วินัยของบรรพชิตและวินัยของคฤหัสถ์[4]

สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (พิมพ์ ธมฺมธโร) กล่าวว่า  วินัยนี้สามารถแบ่งออกเป็นวินัยของชาติและวินัยของศาสนา ดังนี้[5]

. วินัยของชาติ ได้แก่ ระเบียบควบคุมคนในสังคมต่าง ๆ โดยเป็นคำสั่งของสังคมให้ทำหรือไม่ให้ทำเป็นสิ่งควรดูหรือไม่ควรดู เป็นสิ่งควรฟังหรือไม่ควรฟัง เป็นสิ่งควรพูดหรือไม่ควรพูด ซึ่งมีชื่อเรียกหลายอย่างเช่น พระราชบัญญัติ พระราชกฤษฎีกา กฎหมาย กฎข้อบังคับ ระเบียบ แบบแผน ประเพณี คำสั่ง ประกาศ กติกา และอื่น ๆ เรียกว่าวินัยของชาติทั้งสิ้น ชาติที่มีระเบียบวินัยดีย่อมเป็นชาติที่เจริญ นักปราชญ์ทั่วโลกจึงเห็นสอดคล้องต้องกันว่า วินัยเป็นมูลสำคัญแห่งความเจริญของชาติ คนในชาติเกิดมาแล้วจำเป็นต้องมีระเบียบวินัยควบคุม

. วินัยของศาสนา ได้แก่ วินัยศาสนาหมายถึง กฎบทพุทธอาณาเป็นข้อห้ามบ้างเป็นข้ออนุญาตบ้าง มีอยู่ ๒ ประเภท คือ อาคาริยวินัย วินัยของคฤหัสถ์ผู้ครองเรือน และอนาคาริยวินัย  วินัยของบรรพชิตที่พระพุทธองค์ทรงบัญญัติขึ้น เพื่อนำความประพฤติของศาสนิกให้สม่ำเสมอกัน มีความสงบระงับ มีความผาสุก คู่ขนาบคนไม่มีศีล ส่งเสริมคนมีศีลธรรมให้อยู่สบายป้องกันโทษในปัจจุบัน กำจัดโทษในภาพหน้า เร้าใจคนไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส ส่งเสริมคนเลื่อมใสให้เลื่อมใสยิ่งขึ้น ให้พระศาสนิกเอื้อเฟื้อถือตามวินัยคฤหัสถ์คือ ชาวบ้านผู้ครองเรือนจำเป็นต้องมีที่พึ่งป้องกันเวรภัย โทษทุกข์ในปัจจุบันและอนาคต จึงต้องมีอาคาริยวินัยควบคุมชีวิตจิตใจ ให้ดำเนินไปในทางดีทางชอบ แบ่งออกเป็น ๔ คือ

. ไตรสรณคมน์ หมายถึงการปฏิญาณตนนับถือพระพุทธพระธรรม และพระสงฆ์ เป็นที่พึ่งทางใจ ไตรสรณคมน์นี้ เป็นวินัยเบื้องต้นของคฤหัสถ์ชายหญิง สำหรับควบคุมจิตใจของตนให้อยู่ในระเบียบอันดีงาม ยึดเอาคุณพระรัตนตรัยมาถือปฏิบัติ

. เบญจศีล คือ ศีล ๕ ประการ มีการเว้นจากการฆ่าและการเบียดเบียนมนุษย์และสัตว์เว้นจากการลักขโมยสิ่งของผู้อื่น เว้นจากการประพฤติผิดในกาม เว้นจากการพูดเท็จและเว้นจากการดื่มสุราและของมึนเมา

. อุโบสถศีลหรือศีล ๘

. กุศลกรรมบถ กรรมดีที่เป็นบุญ เป็นกุศล และเป็นให้เกิดความสุขทั้งในภพนี้และในภพหน้า มีอยู่ ๑๐ ประการ  โดยจำแนกเป็นกายกรรม ๓ วจีกรรม ๔ และมโนกรรม ๓ วินัยของคฤหัสถ์ทุกประการนั้น เมื่อชายหญิงชาวบ้านถือเป็นหน้าที่ของตน ตั้งใจศึกษาให้รู้ดี ให้เห็นว่ามีคุณควบคุมตน คู่ครองหมู่คณะให้เจริญก้าวหน้าและปฏิบัติทั่วกันแล้วเชื่อว่าเป็นมงคงสูงสุด เพราะเป็นเหตุทำความสงบสุขมาทั้งแก่ตนและแก่หมู่คณะอนาคาริยวินัย (วินัยของบรรพชิต)

อนึ่ง วินัยของนักบวชในพุทธศาสนามี ๒ ประเภท คือ สามเณรกับพระภิกษุ โดยวินัยของบรรพชิตทั้งสองประเภทนี้มีต่างกันดังนี้

วินัยของสามเณร ได้แก่ ศีล ๑๐ เรียกว่า สิกขาบท ๑๐ ประการ[6]คือ

. เว้นจากฆ่าสัตว์

. เว้นจากลักทรัพย์

. เว้นจากการเสพกาม

. เว้นจากการพูดเท็จ

. เว้นจากการดื่มน้ำเมา

. เว้นจากการฉันอาหารในยามวิกาล

. เว้นจากการฟ้อนรำขับร้อง ประโคมดนตรีและดูการเล่น

. เว้นจากเหตุเป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัดคือ ทัดทรง ประดับตกแต่งร่างกาย ด้วยดอกไม้ และของหอมเครื่องทาต่างๆ

. เว้นจากการนอนบนที่นอนสูงและที่นอนใหญ่

๑๐. เว้นจากการรับเงินและทอง ส่วนวินัยของพระภิกษุ ได้แก่ ศีลของพระภิกษุในพุทธศาสนาซึ่งเป็นมูลเหตุสำหรับชำระกาย วาจาให้บริสุทธิ์ผ่องใส ท่านเรียกว่า ปาริสุทธิศีล ๔[7] 

ปาริสุทธิศีลตามหลักแห่งวิสุทธิมรรคซึ่งเป็นพระคัมภีร์ที่ว่าด้วยการสำรวมระวังในเรื่ององคืแห่งศีลและข้อวัตรปฏิบัติท่านกล่าวว่า

. ปฏิโมกขสังเวรศีล ศีลเป็นเหตุสำรวมในพระปาฏิโมกข์ คอยระมัดระวังสกัดกั้นโทษที่จะพึงละเมิดอาบัติ ๗ ทาง ทางกาย ทางวาจา คือ ปาราชิก มีโทษอย่างหนัก สังฆาทิเสส มีโทษอย่างกลาง ถุลลัจจัย ปาจิตตียะ ทุกกฏ และทุพภาสิต มีโทษอย่างเบา เมื่อภิกษุตั้งใจสำรวมในวินัยบัญญัติเว้นจากข้อที่ทรงห้าม ปฏิบัติตามข้อที่ทรงอนุญาต ถ้าภิกษุต้องอาบัติอย่างหนักเข้าแล้ว ต้องขาดจากความเป็นภิกษุ พึงสละเพศเสียถ้าต้องอาบัติอย่างกลางแล้วพึงอยู่กรม ถ้าต้องอาบัติอย่างเบาแล้ว พึงประจานตนต่อหน้าภิกษุด้วยกันจึงจะพ้นโทษ

. อินทรียสังวรศีล  ศีลเป็นเหตุให้สำรวมอิทรีย์ ๕ คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ใช้อินทรียทั้ง ๖ ให้เกิดความฉลาด รู้เท่าทันอารมณ์ เพื่อไม่ให้เกิดความยินดี ยินร้าย  อันเป็นเหตุทำใจให้เศร้าหมองเสีย เมื่อภิกษุทำได้อย่างนี้ เรียกว่า มีอินทรียสังวร

. อาชีวปาริสุทธิศีล ศีลเป็นเครื่องบริสุทธิ์แห่งการเลี้ยงชีพ งดเว้นการเลี้ยงชีพที่ผิดเพศของนักบวชเสีย เช่น เป็นหมอเสน่ห์ยาแฝด เลี้ยงชีพตามสมณวิสัย ไม่สะสมทรัพย์สมบัติ ถือว่าพระจนทรัพย์และมั่งมีคุณธรรมเป็นผู้งามในพระศาสนานี้ เรียกว่า มีอาชีวปาริสุทธิศีล

. ปัจจัยสันนิสสิตศีล ศีลอาศัยการพิจารณาปัจจัยสี่ คือ บิณฑบาต จีวร เสนา สนะ คิลานเภสัชโดยพิจารณาทั้งในขณะรับและขณะบริโภค และภายหลังบริโภคแล้วให้เห็นประโยชน์ของการบริโภคเท่าที่จำเป็นเมื่อภิกษุพิจารณาเห็นเหตุผลข้อเท็จจริงในการบริโภคเช่นนี้แล้ว เรียกว่า มีปัจจัยสันนิสสิตศีล

)  ความสำคัญของวินัย วินัยที่ตนฝึกฝน รักษา ปฏิบัติ และศึกษาดีแล้ว ย่อมให้ประโยชน์ทั้งแก่บรรพชิตและคฤหัสถ์ กล่าวคือ บรรพชิตผู้มีศีลบริสุทธิ์ย่อมได้รับความสุข มีใจมั่นคงแน่วแน่ อันจะเป็นฐานของสมาธิและปัญญา ในส่วนของคฤหัสถ์นั้นจะดีได้เพราะกฎข้อบังคับและคนดี คือ คนอยู่ในกฎข้อบังคับ คนอยู่นอกกฎข้อบังคับนั้นคือ คนป่าและคนตายหรือไม่ปกติ ดังนั้น วินัยของคฤหัสถ์และของบรรพชิต จึงเป็นกฎข้อบังคับ คุ้มครองหมู่คณะให้ดีงาม คือมีอาญาเหนือคอยกำกับจะลงโทษแก่ผู้ฝ่าฝืน และมีระเบียบทำให้ผู้กระทำผิดได้กลับตัวกลับใจทำให้ถูกต้อง เมื่อคฤหัสถ์และบรรพชิตปฏิบัติวินัยถูกต้องแล้ว เชื่อว่าได้ศึกษาวินัยมาดี เป็นผู้มีระเบียบอันดีงามประพฤติสงบเสงี่ยมเรียบร้อย ชวนให้หมู่คณะเกิดศรัทธาเลื่อมใส ร่วมกันจรรโลงพระศาสนาให้เจริญรุ่งเรืองเป็นคุณประโยชน์แก่ชาวโลก มีชีวิตเจริญด้วยคุณธรรม

..วาจาสุภาษิต

สุภาษิต คือ คำพูดดี  คำพูดที่จริงอ่อนหวาน ประสานสามัคดี มีประโยชน์ ไม่เป็นคำพูดอันเป็นไปเพื่อเบียดเบียนตนและผู้อื่น เป็นคติเตือนใจมีประโยชน์ในการนำไปปฏิบัติตามในชีวิตประจำวันเรียกว่า “วาจาสุภาษิต” พระพุทธเจ้าได้ตรัสคุณลักษณะ ๕ ประการ ของวาจาสุภาษิตไว้ในสุภาษิตสูตร จตุตถปัณณาสก์ ปัญจกนิบาต อังคุตตรนิกายคือ

. กล่าวถูกกาล

. กล่าวคำจริง

. กล่าววาจาอ่อนหวาน

. วาจานี้ประกอบด้วยประโยชน์

. กล่าวด้วยมีเมตตาจิต ภิกษุทั้งหลาย วาจาอันประกอบด้วยองค์คุณ ๕ ประการนี้แล เป็นสุภาษิตไม่เป็นทุพภาษิตไม่มีโทษ วิญญูทั้งหลายติเตียนไม่ได้[8]

การที่พระพุทธองค์ตรัสว่า วาจาประกอบด้วยองค์ ๕ นี้ วิญญูชนฟังแล้วย่อมไม่ติเตียนเป็นการแสดงว่าไม่ทรงถือเอาคนพาลเป็นประมาณ ในบางแห่งแสดงองค์คุณของวาจาสุภาษิตไว้ ๔ ประการ เช่น ในสุภาษิต สังยุตตนิกาย สคาถวรรค ๑๕/๒๗๗ความว่า

ภิกษุทั้งหลาย วาจาประกอบด้วยองค์ ๔ เป็นสุภาษิตไม่เป็นทุพภาษิต ไม่มีโทษ วิญญูชนติเตียนไม่ได้คือ

. กล่าวแต่คำที่ดี

. กล่าวคือที่เป็นธรรม

. กล่าววาจาเป็นที่รัก

. กล่าววาจาสัตย์[9]

นอกจากนี้ท่านยังได้อธิบายว่า การเว้นจากวจีทุจริต ๔ มีมุสาวาทเป็นต้นเหตุแห่งคำสุภาษิต เมื่อเว้นวจีทุจริต ๔ แล้วก็ทรงสอนให้กล่าววจีสุจริต ๔ คือ คำพูดจริง พูดอ่อนหวาน พูดประสานสามัคดี และพูดมีประโยชน์

)  ความหมายของวาจาสุภาษิต เกี่ยวกับการเป็นผู้มีวาจาสุภาพหรือวาจาสุภาษิตนั้น ได้มีท่านผู้รู้ทั้งหลายกล่าวนิยามไว้ดังนี้

สมเด็จสังฆราช (จวนอุฏฐายี) กล่าวว่า

วาจาสุภาษิตมีลักษณะ ๕ ประการ คือ

๑) เป็นวาจาที่เหมาะแก่กาลเวลา

๒) เป็นวาจาจริง

๓) เป็นวาจาละเอียดอ่อนหวาน

๔) เป็นวาจาประกอบด้วยประโยชน์และ

๕) เป็นวาจาที่กล่าวด้วยเมตตา เป็นวาจาที่ปราศจากโทษ ไม่เป็นที่ติเตียนของวิญญูชนทั้งหลาย[10]

วาจาเป็นสุภาษิต ได้แก่ วจีสุจริต ๔ ประการ คือ พูดคำสัตย์จริงสมานสามัคคีและส่งเสริมความสามัคคี พูดสุภาพนุ่มนวล พูดไพเราะนิ่มนวล น่าฟังและพูดเป็นประโยชน์เป็นธรรม เป็นคำพูดที่ผู้พูดกลั่นกรองไว้ดีแล้ว มิใช่สักแต่พูด เป็นคำพูดที่พอเหมาะพอดี เป็นคุณทั้งแก่ตัวผู้พูดและผู้ฟัง

)  โทษของวจีทุจริต โทษของวจีทุจริต พระพุทธองค์ได้ตรัสไว้ในสัพพลหุสูตร อัฏฐกนิบาต อังคุตตรนิกาย ความว่า

มุสาวาทอันบุคคลนำมาส้องเสพมาเป็นเหตุให้ตกนรก หรือกำเนิดในสัตว์เดรัจฉาน หรือเปรตวิสัย วิบาก (โทษ) แห่งมุสาวาทที่เบาที่สุด เมื่อเขาเกิดมาเป็นมนุษย์ คือ ทำให้ถูกกล่าวตู่ด้วยคำไม่จริง วาจาส่อเสียด ฯลฯ ก็เหมือนกับวิบากที่เบาที่สุด เมื่อเขาเกิดเป็นมนุษย์คือ มักได้ยินเสียงอันไม่น่าพอใจ วาจาเหลวไหล ฯลฯ ก็เหมือนกัน วิบากอันเบาที่สุด เมื่อเขาเกิดเป็นมนุษย์คือทำให้วาจาของเขาไม่เป็นที่เชื่อถือของใครๆ[11]

การพูดปด การพูดส่อเสียด พูดคำหยาบ และพูดเพ้อเจ้อ จัดเป็นวาจาทุพภาษิตเป็นที่เกลียดชังของคนอื่น เป็นอัปมงคลแก่ผู้พูด การพูดคำจริงพูดสมานไมตรี พูดไพเราะ และพูดมีประโยชน์ จัดเป็นวาจาสุภาษิตเป็นที่รักใคร่นับถือของคนอื่น เป็นมงคลแก่ผู้พูดวาจาสุภาษิตนี้พระพุทธองค์จึงตรัสว่า เป็นมงคลสูงสุด เพราะเป็นเหตุให้ผู้พูดได้ประโยชน์ชาตินี้และประโยชน์ชาติหน้า

.  หลักจริยศาสตร์ด้านการทำหน้าที่ทางครอบครัว

สถาบันทางครอบครัวเป็นสถาบันเล็กๆ แต่มีความสำคัญเป็นอย่างมาก สังคมจะเจริญรุ่งเรืองได้ดีนั้น เราต้องยอมรับว่าส่วนหนึ่งก็มาจากการที่ครอบครัวแต่ละครอบครัวในสังคมอยู่กันอย่างสันติสุข ต่างไว้ใจซึ่งกันและกัน และต่างก็สงเคราะห์ต่อกันและกัน ฉะนั้น ในมงคลสูตรนี้พระพุทธองค์จึงเน้นที่หน้าที่ทางครอบครัวว่าหน้าที่สำคัญประการหนึ่งของชีวิตว่าจะปฏิบัติ ดังนี้

๑. การเลี้ยงดูบิดามารดา

๒. การเลี้ยงดูบุตรธิดา 

๓. การเลี้ยงดูภรรยา

๔. การทำงานไม่เหลาะแหละ ไม่จับจด ไม่ปล่อยให้คั่งค้าง

 

..  การบำรุงดูมารดาบิดา

ในมงคลข้อนี้ พระพุทธองค์ทรงสอนเราให้บำรุงเลี้ยงดูบิดามารดา เพราะบิดามารดาได้ทำหน้าที่ซึ่งเป้าหมายที่สำคัญแห่งหน้าที่ของท่านนั้นอยู่ที่การให้กำเนิดแก่เรา และการให้อุปการะเลี้ยงดูเรา ในหน้าที่ทั้งสองนี้ การให้กำเนิดแก่บุตรธิดาเป็นหน้าที่ธรรมดาซึ่งเป็นเองโดยธรรมชาติตามประเพณี ส่วนการให้อุปการะเลี้ยงดูบุตรธิดาเป็นหน้าที่ทางคุณธรรมซึ่งท่านปลูกฝังความดีลงในตัวท่านเองและแผ่ผลให้สำเร็จประโยชน์สุขแก่บุตรธิดาด้วย หน้าที่ทางคุณธรรมนั้น หมายถึง การปลูกฝังคุณงามความดีในจิตใจ เช่น ท่านสร้างชีวิตและเลี้ยงดูครอบครัวให้อยู่ดีกินดี สร้างฐานะ สร้างความผาสุก สร้างความดี สร้างความเป็นปึกแผ่นของครอบครัวและวงศ์ตระกูล การสร้างทั้งนี้ย่อมเป็นหน้าที่ของบิดามารดาทั้งสิ้น

) ความหมายของการบำรุงมารดาบิดา การนิยามหรือให้ความหมายเกี่ยวกับบิดามารดานี้ ท่านผู้รู้ทั้งหลายกล่าวไว้ดังนี้สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ กล่าวว่า

มารดากับบิดาท่านเป็นผู้ให้ชีวิตเลือดเนื้อทรัพย์สินคุณธรรมวิชาความรู้และหลักฐานแก่บุตร บุตรมีชีวิตรอดปลอดภัยและเจริญเติบโตช่วยตัวเองได้ ก็ด้วยความอุปการะเลี้ยงดู ฝึกฝนอบรมสั่งสอนท่านรักและหวังดี มีความห่วงใยบุตรตั้งแต่รู้ว่าบุตรเกิดในครรภ์ ช่วยกันทะนุถนอมด้วยความเอื้อเฟื้อ เมื่อบุตรคลอดจากครรภ์แล้ว ช่วยกันเลี้ยงบำรุงรักษาให้ปราศจากโรคภัยไข้เจ็บเมื่อไม่สบายก็ไม่เป็นอันกินอันนอน ก็เฝ้าพยาบาลรักษาตลอดคืนจนกว่าจะบุตรหายบุตรเจ็บบิดามารดาก็พลอยเจ็บไปด้วย ความรักของบิดามารดาเป็นความรักบริสุทธิ์และเสียสละเพื่อความสุขความเจริญของบุตร[12]

พระราชสิทธิมุนี กล่าวว่า

มารดาคือแม่บังเกิดเกล้า แม่เป็นผู้ให้ชีวิตและกำเนิดลูก แม่ดีใจเมื่อรู้ว่าตั้งครรภ์และบริหารครรภ์ด้วยภาระอันหนัก มีความกังวลใจและห่วงใยลูกในท้อง ต้องระมัดระวังการกิน การทำงาน การเคลื่อนไหวต่างๆ อยู่ตลอดเวลา คลอดลูกด้วยความเจ็บปวดแสนสาหัสแทบจะไม่มีชีวิตรอด สุขใจดีใจเมื่อรู้ว่าลูกมีชีวิตรอดและเมื่อเห็นหน้าลูกครั้งแรก แม่ให้น้ำนมเห่กล่อมยามหลับนอน ปกป้องคุ้มครองรักษา เลี้ยงดูด้วยความรัก เอ็นดูและสงสารห่วงใยเมื่ออยู่ไกลตาคอยแนะนำวิถีทางแห่งชีวิต ชี้ทางไปสวรรค์ และเป็นที่พึ่งของลูกไปตลอดชีวิต บิดาคือที่ตั้งแห่งความยินดีของสัตว์โลกทั้งมวล สัตว์โลกคือผู้เกิดมาทุกคนต้องมีพ่อ เมื่อเห็นพ่อก็ต้องพอใจ ดีใจ ชื่นใจด้วยกันทั้งนั้น พ่อเป็นผู้รักษาสัตว์โลกทั้งปวง พ่อของลูกทุกคนต้องรักษาคุ้มครองป้องกันลูกของตนทุกวิถีทาง เพื่อให้มีความสุขสบาย ปลอดภัยทุกประการ พ่อทุกคนต้องรักใคร่ นับถือ เอ็นดู สงสารลูกของตนทั้งนั้น[13]



[1]พระอุบาลีคุณูปมาจารย์, เรื่องเดียวกัน, หน้า๓๑.

[2]ปิ่นมุทุกันต์, เรื่องเดียวกัน, หน้า๓๔๒–๓๔๓.

[3]พระเทพปริยัติโมลี, หลักการพัฒนาคน, (กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์เลี่ยงเชี่ยง, ม.ป.ป.), หน้า๑๗.

[4]มงฺคลตฺถทีปนี. ๒ / ๔๘.

[5]สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (พิมพ์ธมฺมธโร), เรื่องเดียวกัน, หน้า๑๖๕–๑๖๗.

[6]ขุ. ขุ. ๒๕ / ๑ / ๑.

[7]วิสุทฺธิ. ๑ / ๑๙.

[8]องฺ. ปญฺจก. ๒๒ / ๑๙๘ / ๒๗๖.

[9]สํ. ส. ๑๕ / ๒๑๓ / ๓๐๑–๓๐๓.

[10]สมเด็จพระสังฆราช (จวน อุฏฐายี), เรื่องเดียวกัน, หน้า๗๒–๗๓.

[11]องฺ. อฏฺฐก. ๒๓ / ๔๐ / ๒๘๐–๒๘๒.

[12]สมเด็จพระมหาวีรวงศ์, เรื่องเดียวกัน, หน้า๗๗.

[13]พระราชสิทธิมุนี, มงคล๓๘ประการ, (กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์อาศรมอักษร, ๒๕๐๘),หน้า๘๗.

 

) บิดามารดาเป็นพรหมของบุตรธิดา บิดามารดานั้นท่านเรียกว่า เป็นพรหมบ้าง บุพพเทพบ้าง ปุพพาจารย์บ้าง อาหุไนยบุคคลบ้างของบุตรธิดา มีอธิบายว่า

๑. บิดามารดาเป็นพรหม ท้าวมหาพรหมย่อมมีพรหมวิหาร ๔  คือ เมตตา กรุณา มุทิตาและอุเบกขาต่อสรรพสัตว์ทั้งปวง ฉันใด บิดามารดาก็มีพรหมวิหาร ๔ นี้ เปี่ยมบริบูรณ์ต่อบุตรธิดาของตนฉันนั้น คือมีเมตตาปรารถนาดีต่อบุตรธิดาไม่มีที่สิ้นสุด มีกรุณาความหวั่นใจในความทุกข์ของบุตรธิดาอยากช่วยเหลือให้บุตรธิดา อยากช่วยเหลือให้บุตรธิดาพ้นทุกข์ เมื่อบุตรธิดาอยู่ดีสบายบิดามารดาก็มีมุทิตา คือพลอยปลาบปลื้มกับความสุขของบุตรธิดานั้น เมื่อใดบุตรธิดามีภรรยามีบุตรธิดาเลี้ยงตนเองได้อย่างดีแล้ว บิดามารดาก็มีอุเบกขาคือวางเฉย วางใจเป็นกลาง ขณะที่งวางใจเป็นกลางนั้นเองก็มี เมตตา กรุณา มุทิตาแฝงอยู่ด้วย เพราะฉะนั้น  บิดามารดา ท่านจึงเรียกว่า “ พรหม “ เพราะประพฤติดังพรหม

๒. เป็นบุพพเทพ บุพพเทพ แปลว่า เทวดาองค์แรกของบุตรธิดา เทพในที่นี้ท่านหมายถึงสุทธิเทพคือพระอรหันต์ ขีณาสพ ธรรมดาเรียกว่า พระวิสุทธิเทพคือพระอรหันต์ ไม่เคยถือเอาความผิดพลาดของคนทั้งหลายมาเป็นอารมณ์ ท่านหวังแต่ความเจริญสุขแก่คนทั้งหลาย นอกจากนี้ยังทำให้สักการะที่คนทั้งหลายนำมาบูชามีผลอานิสงส์มาก เพราะท่านเป็นทักขิเณยบุคคล ฉันใด บิดามารดาก็ฉันนั้น ไม่คำนึงถึงความผิดพลาดของบุตรธิดาทั้งหลายมุ่งปฏิบัติเพื่อประโยชน์สุขแก่ส่วนเดียว ท่านเป็นผู้สมควรแก่บูชา ทำสักการะที่บุตรธิดานำมาบูชาให้มีผลมีอานิสงส์มาก เพราะฉะนั้น ท่านจึงเป็นวิสุทธิเทพของบุตรธิดา

๓. เป็นบุพพาจารย์ ปุพพาจารย์แปลว่าอาจารย์คนแรกของบุตรธิดาๆ เพราะสอนให้ทำนั่นทำนี่ก่อนอาจารย์อื่น ๆ บิดามารดาสอนให้บุตรธิดาเว้นสิ่งที่ควรเว้น ประพฤติสิ่งที่ควรประพฤติก่อนคนอื่น ส่วนอาจารย์ที่สอนศิลปวิทยาสำหรับเลี้ยงชีพ อาจารย์ให้สรณะและศีล อาจารย์ให้บรรพชาอุปสมบท อาจารย์ให้เรียนพุทธพจน์และให้บรรลุมรรคผล นิพพาน ล้วนเป็นปัจฉาจารย์คืออาจารย์ในภายหลังทั้งสิ้น การสอนของบิดามารดาเป็นการสอนด้วยความดี มีเมตตากรุณาต่อบุตรธิดาจริง ๆ มิได้หวังสินจ้างรางวัลใด ๆ ทั้งสิ้น หากบุตรธิดาประพฤติปฏิบัติตามที่ตนสอนก็เป็นความปลาบปลื้มชื่นชมแก่บิดามารดาอย่างใหญ่หลวง

๔. เป็นอาหุไนยบุคคล แปลว่าบุคคลที่ควรได้รับการบูชาด้วยข้าวด้วยน้ำ บิดามารดาเป็นผู้สมควรแก่การบูชาสักการะของบุตรธิดา เพราะมีคุณควรแก่การบูชา เพราะฉะนั้น พระพุทธเจ้าจึงตรัสไว้ในพรหมสูตร ทั้งในติกนิบาต อังคุตตรนิกาย ความว่าภิกษุทั้งหลาย คำว่า พรหม บุพพเทพ บุพพาจารย์และ อาหุไนยบุคคลนั้นเป็นคำสำหรับเรียก บิดามารดาเพราะเหตุไร ? เพราะท่านเป็นผู้มีอุปการะมากบำรุงเลี้ยง แสดงโลกนี้แก่บุตร[1]

) การตอบแทนบุญคุณของบิดามารดา การที่จะตอบแทนบุญคุณของบิดามารดาให้เหมาะสมแก่อุปการะนั้น ไม่ใช่สิ่งที่ทำได้โดยง่าย เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า ถ้าบุตรธิดาจะพึงวางแม่ไว้บนบ่าข้างขวาของตนและวางพ่อไว้บนบ่าข้างซ้าย ประคับประคองท่านอยู่บนบ่านั้นให้ข้าวให้น้ำ ให้ท่านถ่ายอุจจาระปัสสาวะอยู่บนบ่านั้น บุตรธิดามีอายุ ๑๐๐ ปีและทำอย่างนั้นตลอด ๑๐๐ปี ก็ไม่เป็นอันตอบแทนบุญคุณของท่านได้เลย หรือจะสถาปนาพ่อให้เป็นจักรพรรดิ์ก็ไม่เป็นอันตอบแทนท่านไม่เหมือนกันพระพุทธองค์ทรงแนะนำว่า ทางที่ดีที่สุดในการตอบแทนบุญคุณของบิดามารดานั้น คือ การทำให้ท่านมีศรัทธา มีศีล มีการเสียสละและมีปัญญาอันเป็นสาระของชีวิตที่แท้จริงนี่คือการตอบแทนคุณบิดามารดาอย่างสูง

พระพุทธองค์ยังตรัสเรื่องการบำรุงบิดามารดา ไว้ในสิงคาลกสูตร๕ ประการ คือ

. ท่านเลี้ยงเรามาแล้วต้องเลี้ยงท่านตอบ

. ทำกิจของท่าน

.  ดำรงวงศ์สกุลของท่าน

. ทำตัวให้สมควรได้รับทรัพย์มรดก

. ทำตัวให้สมควรได้รับทรัพย์มรดก[2]

วิธีการตอบสนองคุณบิดามารดา ๕ ประการ เป็นการตอบสนองคุณบิดามารดาอย่างต่ำเมื่อบุตรธิดาได้ตอบสนองคุณบิดามารดาด้วยวิธีการทั้ง ๒ แล้ว จึงได้ชื่อว่าปลดเปลื้องหนี้ของตนหรือใช้บุญแทนคุณท่านแล้วโดยสิ้นเขิง นับเป็นศรีสง่าและมิ่งขวัญของวงศ์ตระกูล การบำรุงบิดามารดานี้ เมื่อบุตรธิดาได้ปฏิบัติให้ถูกต้องตามทำนองคลองธรรมแล้วพระพุทธองค์ทรงยกย่องสรรเสริญว่า เป็นมงคลสูงสุดเพราะเป็นเหตุให้ผู้ปฏิบัติได้บรรลุผลที่ต้องประสงค์ มีความสรรเสริญในโลกนี้

..๒ การสงเคราะห์บุตรธิดา

การสงเคราะห์บุตรธิดาเป็นภารกิจที่ยาก แม้บิดามารดามีสิทธิ์สงเคราะห์บุตรธิดาโดยหน้าที่จริง แต่สงเคราะห์บุตรธิดาด้วยความรักซึ่งยากนัก จะปรับความรักกับการสงเคราะห์ให้เข้ากลมกลืนกันได้ เพราะบางทีความรักนั่นเองคือ ศัตรูของการสงเคราะห์กลับเป็นเหตุให้บุตรธิดาต้องพลอยเสื่อมเสียไปด้วย แต่เมื่อบิดามารดาสงเคราะห์บุตรธิดาด้วยความรักอย่างเดียว ไม่อาศัยความเป็นธรรมเข้ากำกับด้วยอาจนำไปในทางเสีย หรือใจตามใจบุตรธิดาในทางเลวทรามเพราะความรักนั้นจะชักให้การสงเคราะห์ บุตรธิดานอกลู่นอกทาง  บุตรธิดาผู้ไม่ตั้งอยู่สุจริต ในความโอบอ้อมอารี ในความกล้าหาญในทางที่ได้ประโยชน์วิทยาก็เป็นแต่มูตรคูถของบิดามารดาแท้ ๆ จะนับว่าผู้มีบุตรธิดาหลายคนว่าเป็นโชคดีได้ไฉนถ้าบุตรธิดาเหล่านั้นเป็นเหมือนทะนานเปล่ามีเต็มอยู่ในยุ่ง มีบุตรธิดาผู้บำรุงสกุลเพียงคนเดียว ยังดีกว่าเพราะเขาเป็นศรีสง่าแก่บิดามารดาและวงศ์ตระกูล บุตรธิดาคนใดโง่แสนโง่ ขี้เกียจแสนเข็ญ เป็นคนอกตัญญู คนเนรคุณ ประพฤติในบิดามารดา ไม่น่าปลื้มใจ ขออย่าให้สตรีไรๆ คลอดบุตรธิดาผู้เช่นนั้นเลย ฉะนั้น เราจึงควรประพฤติตนเป็นคนดีของบิดามารดา

) ความหมายของการสงเคราะห์บุตรธิดาสมเด็จพระสังฆราช (จวนอุฏฐายี) ได้นิยามการสงเคราะห์บุตรธิดาของบิดามารดาไว้ว่า บุตรธิดาย่อมเป็นวัตถุที่ตั้งของมนุษย์ทั้งหลาย บุตรธิดาเป็นผู้สืบสายโลหิตให้วงศ์สกุลแพร่หลาย[3]คำว่าบุตร แปลว่า ลูก มีความหมาย ๒ ประการ คือ

. ผู้ทำสกุลให้บริสุทธิ์

๒ ผู้ยังหทัยของพ่อแม่ให้เต็มอิ่ม

บุตรเป็นผู้สืบทอดวงศ์ตระกูล สืบทอดเจตนารมณ์ของบิดามารดา บุตรจะดีหรือไม่ดีย่อมขึ้นอยู่กับบิดามารดาจะให้การศึกษาอบรม ดังนั้น การที่บิดามารดาได้สงเคราะห์เลี้ยงดูบุตรย่อมทำให้บุตรเป็นคนดีมีความเจริญก้าวหน้า สืบทอดสิ่งที่ดีงามตามที่บิดามารดาหรือญาติพี่น้องคาดหวัง หากไม่ได้รับการสงเคราะห์จากบิดามารดา และผู้เกี่ยวข้องแล้ว ก็เป็นสิ่งที่ยากนักที่บุตรจะเจริญรุ่งเรืองหรือประสบความสำเร็จตามที่พึงประสงค์ได้

) ประเภทของบุตรธิดา ตามทัศนะทางพุทธศาสนาการนับบุตรธิดาในชั้นชาดก ท่านแบ่งบุตรธิดาออกเป็น ๓ ประเภทมีชื่อในปันทรชาดก ติงสนิบาตว่า

. อันเตวาสี บุตรธิดาที่อยู่อาศัยเรียนศิลปวิทยา (บุตรธิดาศิษย์)

. ทินนทะ  บุตรธิดาที่เขามอบให้ (บุตรธิดาเลี้ยงหรือบุตรธิดาบุญธรรม)

. อัตรชะ  บุตรธิดาที่อาศัยตนเกิด (บุตรธิดาในไส้)

จากชั้นชาดกมาถึงชั้นพระสูตร การนับบุตรธิดาในชั้นพระสูตรนี้ ท่านแบ่งบุตรธิดาในไส้ออกเป็น ๓ ประเภท โดยยึดเอาภูมิธรรมของบุตรธิดาเป็นเกณฑ์ และเอาภูมิธรรมของบิดามารดาเป็นเครื่องบวกลบ ดังปรากฏในตโยปุตตสูตรว่า

. อภิชาตบุตร   บุตรธิดาผู้มีภูมิธรรมสูงยิ่งกว่าบิดามารดา

. อนุชาตบุตร   บุตรธิดาผู้มีภูมิธรรมเสมอด้วยบิดามารดา

. อวชาตบุตร บุตรธิดาผู้มีภูมิธรรมต่ำกว่าบิดามารดา[4]

..  การสงเคราะห์ภรรยา

การสงเคราะห์เลี้ยงดู คือ การสนับสนุน ให้กำลังใจ ช่วยเหลือเกื้อกูลให้เป็นอยู่อย่างมีความสุข ตามทัศนะทางพุทธศาสนากล่าวไว้ว่า สามีภรรยามีอยู่ด้วยกัน ๔ คู่ ดังนี้

๑. สามีผีอยู่ร่วมกับภรรยาผี

๒. สามีผีอยู่ร่วมกับภรรยาเทพธิดา

๓. สามีเทพบุตรอยู่ร่วมกับภรรยาผี

๔. สามีเทพบุตรอยู่ร่วมกับภรรยาเทพธิดา

โดยที่แต่ละคู่มีความประพฤติแตกต่างกันดังนี้

สามีคู่แรก เป็นคนไม่มีศีลธรรมทั้งคู่ มีอัธยาศัยคับแคบ ปากร้าย

สามีภรรยาคู่ที่สอง สำหรับสามีเป็นคนไม่มีศีลธรรม มีอัธยาศัยคับแคบ ปากร้าย แต่ภรรยาเป็นคนมีศีลธรรม รู้จักพูดคำไพเราะอ่อนหวาน คำสมัครสมานสามัคคี มีอัธยาศัยเผื่อแผ่

สามีภรรยาคู่ที่สาม สำหรับสามีเป็นคนมีศีลธรรม รู้จักพูดคำไพเราะอ่อนหวาน คำสมัครสมานสามัคคี มีอัธยาศัยเผื่อแผ่ แต่ภรรยาเป็นคนไม่มีศีลธรรม มีอัธยาศัยคับแคบ ปากร้าย

สามีภรรยาคู่ที่สี่ เป็นคนมีศีลธรรมเสมอกัน เชื่อว่าทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว มีสติครองตน ระมัดระวังกิริยาวาจา เลี้ยงดูกันโดยชอบธรรม รู้จักพูดคำไพเราะอ่อนหวาน คำสมัครสมานสามัคคี ไม่เป็นศัตรูจองล้างจองผลาญกัน ไม่ทำ พูด คิดให้ต้องเดือดร้อนใจกันในภายหลัง

) ความหมายของการสงเคราะห์ภรรยา การสงเคราะห์ภรรยาด้วยการให้เกียรติต่าง ๆ นี้ ได้มีท่านผู้รู้ทั้งหลายกล่าวนิยามไว้ดังนี้

สมเด็จพระสังฆราช (จวนอุฏฐายี) กล่าวว่า เมื่อชายหญิงที่ร่วมชีวิตกันแล้ว ฝ่ายชายเรียกว่า ภัสดา แปลว่า ผู้เลี้ยงดูภรรยา ฝ่ายหญิงเรียกว่า ภรรยา แปลว่า ผู้ควรเลี้ยงของภัสดา และภัสดาเป็นเครื่องปรากฏของสตรีและภรรยาเป็นเพื่อนสนิทของสามี[5] ภรรยา แปลว่า คนควรเลี้ยง สามี แปลว่า ผู้เลี้ยง คำสองคำนี้เป็นคำที่แฝงความหมายอยู่ในตัว และเป็นคำคู่กัน ผู้ชายที่ได้ชื่อว่าสามี ก็เพราะเลี้ยงดูภรรยา ผู้หญิงที่จะได้ชื่อว่าภรรยา ก็เพราะทำตัวเป็นคนน่าเลี้ยง ภรรยาคือหุ้นส่วนชีวิตเมื่อแต่งงานอยู่กันฉันท์ภรรยา-สามีแล้ว ทั้งสองต้องตั้งอยู่ในฆราวาสธรรม

) ประเภทของสามีภรรยา ในคัมภีร์สัตตกนิบาต อังคุตตรนิกายพระพุทธองค์ทรงแสดงประเภทของสามีและภรรยาไว้ ๗ จำพวก คือ

. ภรรยา ๗ จำพวก[6]

วธกาภริยา   ภรรยาเหมือนเพชฌฆาต

โจรีภริยา   ภรรยาเหมือนโจร

อัยยาภริยา   ภรรยาเหมือนนาย

มาตาภริยา   ภรรยาเหมือนแม่

ภคินีภริยา   ภรรยาเหมือนพี่สาว

สขีภริยา   ภรรยาเหมือนเพื่อน

ทาสีภริยา   ภรรยาเหมือนคนใช้

. สามี ๗ จำพวก

วธาภัสดา   สามีเหมือนเพชฌฆาต

โจรภัสดา   สามีเหมือนโจร

อัยยภัสดา     สามีเหมือนนาย

ปิตาภัสดา     สามีเหมือนพ่อ

ภาตาภัสดา   สามีเหมือนพี่ชาย

ทาสาภัสดา   สามีเหมือนคนใช้

โดยที่แต่ละประเภทมีความประพฤติมีอธิบายดังนี้

ประเภทที่ ๑ สามีภรรยาประเภทนี้เป็นคนใจขมิ้น คือใจง่ายหน่ายเร็ว เหมือนขมิ้นคลายสี สามีนอกใจภรรยาไปคบหญิงอื่น ภรรยานอกใจสามีไปสมัครรักใคร่ชายอื่น มุ่งร้ายต่อกันเป็นนิตย์ และชอบทำร้ายซึ่งกันและกันอยู่เสมอ ปากก็ร้าย

ประเภทที่ ๒ สามีภรรยาประเภทนี้เป็นสามีล้างภรรยาผลาญ คือล้างผลาญทรัพย์ที่ตนได้ช่วยกันเก็บหอมรอมริบเพื่อสร้างฐานะครอบครัวให้ดีขึ้น แต่ภายหลังต่างคนต่างใช้เล่ห์กะเท่ ลักเอาทรัพย์ในครอบครัวไปใช้ในในลักษณะปิดบัง เอาไปบำรุงบำเรอคนภายนอกครอบครัวบ้าง เอาไปซื้อความสนุกสนานส่วนตัวตามลำพังบ้าง

ประเภทที่ ๓ สามีภรรยาประเภทนี้เป็นสามีภรรยาที่ยกตนขึ้นเป็นนายของกันและกัน ต่างฝ่ายมีสิทธิเสรีภาพเท่าเทียมกันในครอบครัว ต่างฝ่ายคิดว่าตนเองเป็นหัวหน้าหรือผู้นำในครอบครัว ไม่มีความเคารพนับถือกัน ชอบต่อปากต่อคำกัน ไม่มีทางตกลงกันได้นับว่าเป็นสามีล้างภรรยาผลาญ คือล้างผลาญศักดิ์ศรีของกันและกัน

ประเภทที่ ๔ สามีภรรยาประเภทนี้ คือสามีภรรยาเป็นพ่อของสามีภรรยา และภรรยาเป็นเหมือนแม่ของสามี แต่ละฝ่ายรักกันเหมือนบิดามารดารักบุตรธิดา เมื่อยามเจ็บไข้และยามประสบวิบัติก็ไม่ทอดทิ้งกัน เพราะมีความรักสงสารไม่จืดจาง นี่คือ สามีภรรยารักกันอย่างบิดามารดารักบุตรธิดา

ประเภทที่ ๕ สามีภรรยาประเภทนี้สามีนับถือรักกันใคร่ภรรยาเสมอน้องสาว ภรรยานับถือรักใคร่สามีเหมือนพี่ชาย พากันสร้างความเจริญให้แก่ครอบครัว ทำความเข้าใจในกันและเห็นใจกัน รู้จักให้อภัยแก่กันในข้อผิดพลาดเล็กน้อย ปบุตรธิดาฝังความรักไว้มั่นคงเหมือนรักแรกเริ่มอยู่ด้วยกันเหมือนพี่ร่วมท้องน้องร่วมสายโลหิต

ประเภทที่ ๖ สามีภรรยาประเภทนี้เป็นสามีภรรยาที่รักและอยู่กินด้วยกันฐานะเพื่อนชอบนิสัยใจคอกัน ถือกันเป็นเพื่อนร่วมชีวิตไปจนวันตาย เมื่อมีก็มีด้วยกัน จนก็จนด้วยกัน

ประเภทที่ ๗ สามีภรรยาประเภทนี้เป็นสามีภรรยาที่ไม่ถือเนื้อถือตัว ไม่ทำความเหลื่อมล้ำต่ำสูงแก่กัน รู้จักวางตัวให้สม่ำเสมอ มีความรู้สึกประหนึ่งว่าเป็นคนรับใช้ของกันและกัน ต่างคนต่างขยันขันแข็งทำงานตามหน้าที่ของตนเหมือนคนใช้

ในบรรดาสามีภรรยา ๗ ประเภทนี้ สามีภรรยาประเภทที่ ๔,๕,๖, และ ๗ จัดเป็นสามีและภรรยาชั้นดี ส่วนประเภทที่ ๑,๒, และ ๓ จัดเป็นสามีและภรรยาชั้นเลว

) การสงเคราะห์สามีภรรยา คำว่าสงเคราะห์ แปลว่า การยึดเหนี่ยว คือ ยึดเหนี่ยวน้ำใจกัน การสงเคราะห์ภรรยาเป็นการยึดเหนี่ยวน้ำใจภรรยา แม้การสงเคราะห์สามีก็เป็นการยึดเหนี่ยวน้ำใจสามีนั่นเอง พึงทราบวิธีการที่สามีภรรยาสงเคราะห์กัน ตามที่พระพุทธองค์ทรงแสดงไว้ฝ่ายละ ๕ สถาน[7]คือ

สามีสงเคราะห์ภรรยา ๕ สถาน

. ยกย่องนับถือว่าเป็นภรรยา

. ไม่ดูหมิ่นดูแคลนภรรยา

. ไม่ประพฤตินอกใจภรรยา

. มอบความเป็นใหญ่ให้ภรรยา

. ให้เครื่องประดับตกแต่งแก่ภรรยาพอเหมาะพอดีกับกาลเทศะ

เมื่อภรรยาได้รับการสงเคราะห์จากสามีเช่นนี้แล้ว ตั้งใจตอบแทนคุณความดีของสามี ด้วยการปฏิบัติหน้าที่ ๕ ประการ[8]คือ

. จัดการงานดี

. สงเคราะห์คนข้างเคียง เช่น ญาติพี่น้องของสามี

. ไม่ประพฤตินอกใจสามี

. รักษาทรัพย์สมบัติที่สามีหามาไว้ได้ให้ดี

. ขยันไม่เกียจคร้านในกิจการทั้งปวง

สามีภรรยาผู้มีน้ำใจหวังดีต่อกัน ต่างสงเคราะห์ตามหน้าที่ของตนฝ่ายละ ๕ สถานให้บริบูรณ์ไม่บกพร่อง ย่อมสมบูรณ์ด้วยโภคทรัพย์ ยศ คือ ความนับถือจากมวลชนด้วยเกียรติ คือ ชื่อเสียงดีงามเลื่องลือระบือไป และด้วยความสุขกาย สุขใจ พร้อมทั้งความรักใคร่สนิทสนมกันไม่จืดจาง

..  การงานอันไม่อากูล

การงานเป็นสิ่งสำคัญของการพัฒนาชีวิตครอบครัวและพัฒนาชาติ เป็นทรัพยากร คือ บ่อเกิดแห่งทรัพย์สินเงินทอง เป็นเครื่องป้องกันความเสื่อมโทรมทั้งปวง และนำมาซึ่งความมั่งคั่ง ความอุดมสมบูรณ์ทุกอย่าง ความมั่งคั่งของคนประชาชนและประเทศชาตินั้น ก็อยู่ที่การงานทั้งสิ้น บุคคลมีชีวิตอยู่ได้ด้วยปัจจัย ๔ คือ อาหาร เสื้อผ้า ที่อยู่อาศัย และยารักษาโรค ซึ่งสิ่งเหล่านี้สามารถซื้อหามาได้ด้วยทรัพย์ และทรัพย์สินย่อมได้มาจากการงานอย่างใดอย่างหนึ่งที่เรียกว่า “อาชีพ” งานที่จะก่อให้เกิดรายได้ดีนั้นต้องเป็นงานที่ดี คืองานที่ประณีตและทำสำเร็จเรียบร้อยไม่คั่งค้าง เป็นมงคลเพราะก่อให้เกิดผลอันงามและทำลายอาสวะบางอย่าง เช่นความเกียจคร้าน เป็นต้น

) ความหมายของการงานไม่อากูล การทำงานไม่อากูล คือการทำงานด้วยความตั้งใจ ไม่เหลาะแหละนับว่าเป็นกิจที่ดี หมายถึงการไม่ละทิ้งการงานให้คั่งค้าง การงานไม่เสียหาย การงานไม่สับสน ด้วยความตั้งใจจริง เอาจริงเอาจังในการทำงาน มีความขยันหมั่นเพียรและทำงานตรงเวลา ไม่มีการผลัดวันประกันพรุ่ง การงานที่ไม่อากูล เป็นการงานที่ไม่ปล่อยหรือละเลยจนก่อความเสียหาย

) ลักษณะของงานที่อากูล งานที่คั่งค้างหรืออากูลนั้นได้แก่งานที่มีลักษณะดังนี้

๑. การทำไม่ถูกกาล คือ ยังไม่ถึงเวลาที่ควรทำ แล้วทำลงไปบ้าง เริ่มทำเมื่อล่วงเลยเวลาที่ควรทำแล้วบ้าง แปลว่า กานงานไม่เหมาะ เช่น เริ่มเรียนหนังสือเมื่อแก่ เป็นการยากที่จะให้สำเร็จด้วยดีอย่างเรียนเมื่อเด็กหรือวัยหนุ่ม

๒. ทำไม่สมควร หมายถึง ไม่ถูกลักษณะของงาน คืออย่างนี้ ต้องทำอย่างนี้ แต่ไพล่ไปทำเสียอีกอย่างหนึ่ง

๓. การไม่ทำ เมื่อไม่ทำงานก็ย่อมหาความสำเร็จไม่ได้ ทำนองเดียวกับถ้าไม่เรียนก็ไม่รู้ ถ้าไม่ดูก็ไม่เห็น ถ้าไม่ทำก็ไม่เป็น

๔. การทำย่อหย่อน คือทำเพียงแต่สักว่าทำ ไม่บากบั่นด้วยเรี่ยวแรงกำลัง และความสามารถทั้งหมดเท่าที่มีและใจมักยอมแพ้เสียก่อน วันหนึ่งควรทำงาน ๑๐ ชั่วโมง ก็ทำเพียง ๒ ชั่วโมง อย่างนี้เรียกว่าย่อหย่อน งานที่ย่อหย่อนนั้นจะหวังผลมากไม่ได้ ส่วนงานที่บุคคลทำงานตรงกันข้ามกับลักษณะไม่ดีทั้ง ๔ ประการนี้  คือ

๑. ทำถูกกาล 

๒. ทำสมควร

๓. ลงมือทำ

๔. ทำอย่างขยันขันแข็ง ถือว่าเป็นงานที่ไม่คั่งค้าง

ดังนั้น เมื่อเราทำงานครบองค์ ๔ ประการนี้แล้ว การงานย่อมสำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดี ไม่อากูล ดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ในอาฬวักสูตรว่า

“ปฏิรูปการี ธุรวา อุฏฺฐาตา วินฺทเต ธนํ” แปลว่า ผู้ขยัน ผู้มีธุระอยู่เสมอ ทำการงานได้เหมาะสม ย่อมหาทรัพย์ได้

คำว่า มีธุระอยู่เสมอนั้น หมายความว่า เป็นคนมีงานทำอยู่เสมอ ไม่ว่าง ไม่เป็นคนอยู่เฉยๆ ไม่กลุ้มใจ และไม่บ่นว่าไม่มีอะไรทำ คำว่า ทำงานได้เหมาะสม หมายความว่า งานที่ทำนั้นเหมาะสมกาลสมัย เหมาะแก่ภูมิประเทศ

การรู้จักกาลเวลาในการทำงาน การทำงานให้เหมาะสม การทำงานให้สำเร็จเรียบร้อยด้วยดี ไม่อากูลคั่งค้างให้เสื่อมเสียวุ่นวาย สับสน และยุ่งเหยิง เป็นเหตุให้เจริญด้วยทรัพย์สมบัติ นำความสุขสำราญมาให้ทั้งโลกนี้และโลกหน้า

.  หลักจริยศาสตร์ด้านการทำหน้าที่ทางสังคม

การอยู่ร่วมกันในสังคมนี้ เราต้องยอมรับว่าการไว้ใจซึ่งกันและกันและการสงเคราะห์ต่อกันและกันนั้น มีส่วนสำคัญเป็นอย่างมาก ตลอดจนการประพฤติที่ถูกต้องตามทำนองคลองธรรมก็มีส่วนสำคัญ ฉะนั้น ในมงคลสูตรส่วนนี้พระพุทธองค์จึงเน้นความสัมพันธ์ระหว่างกันและกันของมนุษย์ในสังคม ๔ ประการ ดังนี้ ๑. การบำเพ็ญทาน ๒. การประพฤติธรรม ๓. การสงเคราะห์ญาติ ๔. การทำงานไม่มีโทษ

..๑ ทาน

ทาน ได้แก่การให้ปันนี้ เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับสังคม  การให้สิ่งของที่ควรให้ของตนคนแก่คนอื่นที่ควรให้ เป็นการเฉลี่ยความสุขของตนแก่คนอื่น เป็นการแสดงให้เห็นถึงน้ำใจที่ดีงาม เป็นการเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ด้วยน้ำใจโอบอ้อมอารีเกื้อกูลสนับสนุนส่งเสริมกัน ทั้งยังเป็นการฝึกขจัดความตระหนี่อีกด้วย ดังนั้น ผู้ที่มีฐานะร่ำรวยควรช่วยเหลือเกื้อกูลคนจน และคนจนเมื่อได้รับการช่วยเหลือแล้ว ก็จะคอยคิดตอบแทนตามโอกาส การให้ หมายถึง การเสียสละสิ่งที่เป็นคุณประโยชน์ มีกริยาที่อ่อนโยนให้ด้วยถ้อยคำที่ไพเราะ เสียสละสิ่งของของตน เพื่อประโยชน์แก่ผู้อื่นด้วยความเต็มใจ การให้ทานเป็นพื้นฐานความดีของมนุษยชาติ และเป็นสิ่งที่ขาดมิได้ในการจรรโลงสันติสุข

) ความหมายของทาน การบริจาคหรือให้สิ่งของที่ควรให้นี้ ได้มีท่านผู้รู้ทั้งหลายกล่าวนิยามไว้ดังนี้

สมเด็จพระสังฆราชอุฏฐายี มหาเถร จวน กล่าวว่า บุคคลที่มีความเจริญด้านจิตใจย่อมมีความรู้สึกเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ให้ปัน[9] 

ทาน มี ๓ อย่าง ด้วยอำนาจจาคเจตนา วิรัติและไทยธรรม เจตนา ชื่อว่าทาน ในทานสูตรในอัฏฐกนิบาต อังคุตรนิกายว่า สัทธา๑ ความมีหิริ๑ ทานอันเป็นกุศล๑ ดังนี้เป็นต้น วิรัติชื่อว่าทาน ในอาคตสถาน (ที่มาแห่งทาน) ว่า อริยสาวก ย่อมให้อภัยไทยธรรมชื่อว่า ทาน ในอาคตสถานว่า อริยสาวก ย่อมให้ทาน คือข้าวและน้ำ[10]

) ประเภทของทาน ทานนั้น ท่านแบ่งออกเป็น ๒ ประเภท[11]คืออามิสทาน การให้วัตถุสิ่งของแก่คนอื่น ซึ่งทำให้ผุ้รับเกิดความยินดีและสุขกาย สุขใจ  ๒ธรรมทาน การให้คำสอนหรือความรู้แก่คนอื่น เพื่อเขาจะได้นำไปปฏิบัติแต่ในทางที่ดีงาม  บรรดาทานทั้ง ๒ นี้ ธรรมทานดีกว่า ประเสริฐกว่า อามิสทาน การให้ทานจะมีผลมากนั้นต้องเป็นทานที่ประกอบด้วยคุณลักษณะ ๖ ประการ แบ่งเป็นคุณลักษณะของทายกคือผู้ให้ ๓ ประการ และของปฏิคาหกคือผู้รับ ๓ ประการ

) คุณลักษณะของทายก

คุณลักษณะของทายกมี ๓ ประการ[12]คือ

. ปุพพเจตนา  ก่อนให้มีใจยินดี

. มุญจเจตนา   กำลังให้มีใจผ่องใส

. อปราปรเจตนา   ให้เสร็จแล้วมีใจชื่นบาน

) คุณลักษณะของปฏิคาหก

คุณลักษณะของผู้รับหรือปฏิคาหกมี ๓ ประการ[13]คือ

. เป็นผู้ปราศจากราคะ

. เป็นผู้ปราศจากโทสะ

. เป็นผู้ปราศจากโมหะ

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ทานอันประกอบด้วยคุณลักษณะ ๖ ประการนี้ย่อมมีผลมาก

) ลักษณะแห่งการให้ทาน ทานการให้ปันโดยลักษณะมีอยู่ ๓ อย่างคือ

. ให้ด้วยสงเคราะห์ เพื่อยึดเหนี่ยวน้ำใจของสามีภรรยา บุตรธิดาหลาน ญาติมิตรไว้ด้วยการให้ปัน

. ให้ด้วยอนุเคราะห์ เช่น ให้ด้วยเมตตา อยากให้ผู้รับมีความสุขความเจริญ หรืออยากให้ผู้ตกทุกข์ได้ยากพ้นทุกข์

. ให้ด้วยบูชาคุณ เช่น ให้ด้วยความเคารพนับถือ หรือตอบแทนท่านผู้มีพระคุณ เช่น บิดามารดา ครูอาจารย์ เป็นต้น

) การให้ปันของสัตบุรุษ สัตบุรุษคือ คนผู้สงบเรียบร้อย มีอัธยาศัยไม่โลภไม่โกรธ ไม่หลง มีนิสัยเลือกให้สิ่งที่ดีเลิศ ไม่ห่วงใยในสิ่งที่ให้แล้ว มีจิตใจสุขุม และเสียสละอย่างไม่มีใครจะเท่าเทียมได้ ทานการให้ปันของสัตบุรุษนั้นพระพุทธองค์ทรงแสดงไว้ ๕ ประการ คือ

๑. ให้ทานด้วยศรัทธา คือเชื่อว่า ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว ผลของกรรมดี กรรมชั่วเป็นของผู้กระทำ ต้องติดสอยห้อยตามผู้ทำไปเหมือนเงาตามตัว ผลของการให้ด้วยศรัทธาจะเป็นคนมั่งคั่ง มีทรัพย์สมบัติมาก

๒. ให้ทานโดยเคารพ คือ ให้ด้วยความนอบน้อมละมุนละม่อม  ให้วาจาไพเราะอ่อนหวาน ให้ด้วยน้ำใจไมตรีอันงาม ผลของการให้โดยเคารพ จะเป็นคนมั่งคั่งด้วยทรัพย์สมบัติมาก และบุตรธิดาหลานญาติมิตรก็เชื่อฟังถ้อยคำ

๓. ให้ทานตามกาล คือ ให้ในกาลอันสมควร เช่น ให้ในวันพระ วันเข้าพรรษา วันออกพรรษา และในงานมงคลต่าง ๆ

๔. ให้ทานด้วยจิตอนุเคราะห์ คือ ให้ด้วยเกื้อกูลโอบอ้อมอารีด้วยเมตตาจิตและให้อุดหนุนเอื้อเฟื้อช่วยเหลือด้วยกรุณา ผลของการให้ตามกาลจะเป็นคนมั่งคั่งมีสมบัติมาก มีความประสงค์เต็มเปี่ยม

๕. ให้ทานไม่กระทบกระทั่งตนและคนอื่น คือ ให้ตามกำลังของตนที่มีอยู่และไม่รบกวนสิ่งของผู้อื่นมาให้ ผลของการให้ข้อนี้ จะเป็นคนมั่งคั่งมีทรัพย์มาก และมีโภคทรัพย์ปราศจากโรคภัย

) ทานสมบัติ ทานหรือการให้นั้น  ในทางศาสนามีความมุ่งหมาย ๒ อย่าง คือ

. ให้เพื่อทำคุณ เช่น การแบ่งปันอาหารการกินให้แกคนในบ้านใกล้เรือนเคียง ให้ของขวัญ ตลอดจนถึงการเลี้ยงอาหารแก่มิตรสหาย

. ให้เพื่อทำบุญ เป็นการให้เพื่อเพิกถอนความเห็นแก่ตัวออกจากจิตใจให้บริสุทธิ์สะอาด ครบถ้วนด้วยทานสมบัติ ๓ อย่าง[14]คือ

. วัตถุบริสุทธิ์ หมายถึง สิ่งของทำบุญที่ได้มาโดยสุจริต

. เจตนาบริสุทธิ์ คือ เจตนาเต็มเปี่ยมด้วยความบริสุทธิ์ มุ่งเพิกถอนความเห็นแก่ตัวออกจากจิตใจ

. บุคคลบริสุทธิ์ หมายถึง ผู้ให้และผู้รับเป็นคนบริสุทธิ์ มีศีลธรรมตามชั้นภูมิของตน โดยเฉพาะผู้ที่จะรับไทยทานควรเลือกผู้มีภูมิธรรมสูงในทางพุทธศาสนา โดยทั่วไปสอนว่า พระภิกษุสงฆ์เป็นผู้ควรรับไทยทานเป็นนาบุญของชาวโลก แม้กระนั้น พระพุทธองค์ก็ทรงสอนให้เลือกทำบุญกับพระภิกษุสงฆ์ ผู้ปฏิบัติศึกษาวินัยเคร่งครัดน่าเลื่อมใส

ทานการให้ปันนี้ ย่อมทำให้เป็นที่รักที่ชอบใจของคนหมู่มาก บัณฑิตยกย่องสรรเสริญ ผู้ให้ย่อมรักษาไมตรีไว้ ผู้มีปัญญาให้ความสุขย่อมได้รับความสุข ผู้ให้ของเลิศย่อมได้ผลที่เลิศ ผู้ให้สิ่งประเสริฐย่อมได้ฐานะประเสริฐ การให้ทานทำให้จิตใจของผู้บำเพ็ญทานสะอาด จิตใจที่สะอาดบริสุทธิ์เป็นปัจจัยสนับสนุนให้ผู้บำเพ็ญทาน คิดอ่านทำมาหากินเก่ง เป็นผู้น้อยน่ารัก เป็นผู้ใหญ่น่าเคารพ เป็นผู้เสมอกันน่านับถือ



[1]  องฺ. ติก. ๒๐ / ๔๗๐ / ๑๕๐.

[2]ที. ปาฏิ. ๑๑ / ๑๙๘ / ๑๖๙.

[3]สมเด็จพระสังฆราช (จวนอุฏฐายี), เรื่องเดียวกัน, หน้า  ๘๕.

[4]ขุ. อิติ. ๒๕ / ๒๕๒ / ๒๗๘.

[5]สมเด็จพระสังฆราช(จวน อุฏฐายี),เรื่องเดียวกัน, หน้า๙๓–๙๔.

[6]องฺ. สตฺตก. ๒๓ / ๖๐ / ๙๒.

[7]ที. ปาฏิ. ๑๑ / ๒๐๑ / ๑๗๐–๑๗๑.

[8]ที. ปาฏิ. ๑๑ / ๒๐๑ / ๑๗๑.

[9]สมเด็จพระสังฆราช (จวนอุฏฐายี), เรื่องเดียวกัน, ๑๐๘–๑๐๙.

[10]มงฺคลตฺถทีปนี. ๓ / ๒.

[11]องฺ. ทุก. ๒๐ / ๓๘๖ / ๑๑๔.

[12]อุ. อ. ๒๕๑.

[13]อุ. อ. ๒๕๑.

[14]อุ. อ. ๒๕๑.

 

..๒ การประพฤติธรรม

ธรรมจริยาหรือการประพฤติธรรม หมายถึง การตั้งอยู่ในกุศลกรรมบถ ๑๐ ประการ อันประกอบด้วย กายสุจริต ๓ วจีสุจริต ๔ และมโนสุจริต ๓ การตั้งอยู่ในกุศลกรรมบถก็คือการประพฤติธรรม ซึ่งมีแนวปฏิบัติเป็น ๒ คือ

) ความหมายของการประพฤติธรรม การดำเนินชีวิตด้วยความถูกต้องตามหลักศีลธรรมนั้น ได้มีท่านผู้รู้ทั้งหลายกล่าวนิยามไว้ดังนี้  การประพฤติธรรมคือประพฤติตนให้อยู่ในกรอบของความถูกต้องและความดี ทั้งปรับปรุงพฤติกรรมของตนให้ดีสมกับที่เกิดมาเป็นคนและให้ความเที่ยงธรรม ไม่ลำเอียง สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ กล่าวว่า ประพฤติธรรม คือ การเว้นจากอกุศลกรรมบถ ตั้งอยู่ในกุศลกรรมบถ[1]  พระราชสิทธิมุนี กล่าวว่า  ธัมมจริยา แปลว่า ประพฤติธรรม หมายความว่าการปฏิบัติธรรม การทำตามธรรม ได้แก่ การประพฤติตามคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า[2] 

) ประเภทแห่งการประพฤติธรรมการประพฤติธรรมเป็นหน้าที่โดยตรงของชาวพุทธจำแนกเป็นลักษณะดังนี้

๑. ประพฤติเป็นยุติธรรม คือการยึดหลักรักษาหลักที่เที่ยงตรง แน่นอน ถูกชอบประกอบด้วยองค์ ๓ คือ ความสัตย์ ความเที่ยงธรรม และความหยั่งรู้ บุคคลผู้ประพฤติเป็นยุติธรรม คือผู้ยึดถือหลักเที่ยงตรง แน่นอน ถูกชอบธรรมในส่วนควรได้ควรมีควรเป็นของมนุษย์ ทำให้เป็นเสมอภาคทั่วหน้ากัน ไม่เป็นเหตุก่อให้เกิดน้อยเนื้อต่ำใจหรืออับอายขายหน้าแก่กันและกัน บุคคลผู้ประพฤติธรรมแม้จะอยู่ในตำแหน่งหน้าที่ใดๆ ก็มีใจเป็นยุติธรรมปฏิบัติถูกต้องตามคลองธรรม ตั้งใจเที่ยงตรงแน่นอน ถูกชอบ มีกิริยาวาจาสุภาพ โน้มน้าวจิตใจหมู่คณะให้ดึงดูดกัน กลมกลืนกัน รักใคร่เป็นไมตรีและหวังความสงบสุขอยู่ร่วมกัน

๒. ประพฤติเป็นสุจริตธรรม ได้แก่ประพฤติเป็นกุศลกรรมบถ เพราะสุจริตธรรมเป็นคำรวมแห่งความดี มีจุดสำคัญอยู่ที่ไม่ทำชั่ว ไม่พูดชั่ว และทำดี พูดดี คิดดี สุจริตธรรมเป็นความดีของมนุษย์ การอบรมให้มีสุจริตธรรมสำคัญเท่ากับการอบรมตนให้มีวิชาความรู้

..การสงเคราะห์ญาติ

ญาตินั้น โดยใจความได้แก่ ผู้มีความสัมพันธ์กันทางสายเลือดทั้งพ่อ-แม่ เท่าที่จะพอนับกันได้ คือ ทวด ปู่ ย่า ตา ยาย พ่อ แม่ ลุง ป้า น้า อา บุตรธิดา หลาน เหลน นับเป็นญาติทางสายเลือด ส่วนคนที่เรารู้จักคุ้นเคยกัน มีความสนิทสนมระหว่างเรากับเขาโดยตรงบ้าง เกิดแต่ความสนิทกับญาติทางสายเลือดของเราบ้าง นับเป็นญาติทางสายธรรม

)  ความหมายของการสงเคราะห์ญาติ การสงเคราะห์ญาติหรือผู้ที่ตนเองรู้จักคุ้นเคยนี้ ได้มีท่านผู้รู้ทั้งหลายกล่าวนิยามไว้ดังนี้

พระราชวรมุนี กล่าวว่า ญาติ หมายถึง พี่น้องที่นับกันรู้ได้ ผู้ร่วมสายโลหิตกันทางบิดาหรือมารดา ปัจุบันท่านให้นับญาติ ๗ ชั้น คือ

นับทางมารดาก็ได้ นับทางบิดาก็ดี ชั้นของตนเองเป็นชั้นที่ ๑ ข้างบนเป็น ๓ (ถึงทวด) ข้างล่าง ๓ (ถึงเหลน) เขย และสะใภ้ ไม่นับเป็นญาติ[3]

สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ กล่าวว่า

เครือญาติมี ๒ สาย คือ ทางสายโลหิตและสายทางธรรม ญาติทางสายโลหิต หมายถึง คนที่เรารู้จักกันว่าเป็นเชื้อสายหรือเหล่ากอเดียวกันกับเรา ชั้นกลาง คือ พี่น้องของเรา ชั้นเหนือเราคือพ่อ แม่ ปู่ ย่า ตา ยาย และ ปู่ทวด ตาทวด ยายทวด ส่วนญาติทางสายธรรม หมายถึง คนที่เรารู้จักกัน คุ้นกัน ซึ่งเกิดแต่การคุ้นเคยสนิทสนมระหว่างเรากับเขาโดยตรงบ้างเกิดความสนิทสนมกับญาติทางสายโลหิตของเราบ้าง[4]

พระราชสิทธิมุนี กล่าวว่า

ญาติ แปลว่า คุ้นเคย หมายความว่า บุคคลที่รู้จักกัน ข้างฝ่ายบิดา และฝ่ายมารดา หมายเอา ๗ ชั่วคน คือนับขึ้นไป ๓ นับลงมา ๓ ท่ามกลาง ๑ เรียกว่า ๗ ชั่วโคตร[5]

) วิธีการสงเคราะห์ญาติ การสงเคราะห์ คือการช่วยเหลือเกื้อกูลสนับสนุนส่งเสริม ไม่เอารัดเอาเปรียบ ไม่คิดร้ายไม่พูดร้าย และไม่ทำร้ายต่อกัน

พระพุทธองค์ทรงสอนให้เราสงเคราะห์ญาติ ซึ่งการสงเคราะห์ญาตินี้เอง คืออุบายเกาะเกี่ยวเหนี่ยวน้ำใจญาติให้เข้ารวมกลุ่มร่วมรัก เคารพนับถือกัน แต่วิธีสงเคราะห์ญาติท่านหมายเอาการสงเคราะห์ญาติด้วยญาติธรรมคือ การแสดงกิริยาวาจาสุภาพต่อกัน ประพฤติสม่ำเสมอยกย่องเชิดชูกันและเอื้อเฟื้อเชื่อฟังกัน แบ่งเป็น ๔ ประการ คือ[6]

. แสดงกิริยาสุภาพต่อกัน ญาติผู้น้อยควรแสดงความเคารพอ่อนน้อมต่อญาติผู้ใหญ่และผู้ใหญ่ก็ควรวางตัวให้เหมาะสมน่าเคารพนับถือ ในเรื่องถ้อยคำก็เช่นเดียวกันควรใช้ถ้อยคำสุภาพ แสดงความเคารพยำเกรงกระตุ้นใจผู้ใหญ่ให้เกิดความเอ็นดู กรุณาปราณี ญาติผู้ใหญ่เสมอกันควรพูดด้วยถ้อยคำสุภาพ แสดงอัธยาศัยเป็นกันเอง ให้เป็นที่สนิทสนมกลมเกลียวกัน ทั้งนี้เพื่อเป็นทางเจริญก้าวหน้าแห่งวงศ์ตระกูล

. ประพฤติตนสม่ำเสมอ ญาติพี่น้องทุกคนย่อมชอบความเป็นธรรมเสมอหน้ากัน ผู้มีญาติตระกูล ยศ ศักดิ์ อำนาจ ทรัพย์ บริวาร คุณวุฒิ และสติปัญญา ฯลฯ ย่อมรักหวงแหนคอยรักษาเกียรติของสิ่งที่รักนั้น ๆ ไม่อยากให้ใครมาดูหมิ่นของสิ่งที่รักนั้น ๆ  ทุกคนจึงควรประพฤติตนให้สม่ำเสมอ คือ วางตัวกับญาติให้สมฐานะ เคารพญาติผู้ใหญ่ เอ็นดูญาติผู้น้อย อย่าแสดงอาการเย่อหยิ่งและดูหมิ่นดูแคลน พึงเห็นว่า อาการเย่อหยิ่งและดูหมิ่นนั้นเป็นทางแห่งความเสื่อม ดังพระพุทธพจน์ในปราภวสูตรว่า ผู้ใดหยิ่งเพราะมีชาติตระกูลสูง หยิ่งเพราะมีทรัพย์มาก กลับดูหมิ่นญาติของตน นั่นคือทางแห่งความเสื่อมของผู้นั้น

. ยกย่องเชิดชูกัน เราควรยกย่องเชิดชูญาติให้เหมือนยกย่องเชิดชูตนเอง ควรสำนึกในความรู้สึกของญาติให้เหมือนสำนึกในความรู้สึกของตนเอง เมื่อญาติได้รับยกย่องเชิดชูแล้วก็จะยกย่องเชิดชูตอบแก่เราตรงข้าม ถ้าเราติเตียนเหยียดหยามญาติ ญาติก็จะตอบในอาการคล้ายคลึงกัน เข้าทำนองซักธุลีทวนลมถ่มน้ำลายรดฟ้า

. เอื้อเฟื้อเชื่อฟังกัน เพื่อความอยู่สงบเรียบร้อยแห่งพงศ์พันธุ์ ญาติผู้ใหญ่และญาติผู้น้อย ควรถ้อยทีถ้อยอาศัยกัน การที่ญาติผู้ใหญ่ทำหน้าที่เอื้อเฟื้อญาติผู้น้อย และญาติผู้น้อยตั้งใจทำหน้าที่เชื่อฟังเคารพยำเกรงต่อญาติผู้ใหญ่ ซึ่งแต่ละฝ่ายรู้จักสงบสติอารมณ์ ทำความดีแก่กันและกัน

การสงเคราะห์ญาติเป็นสิ่งสำคัญซึ่งจะทำให้ความเป็นญาติพี่น้องดำรงอยู่ได้ เป็นเหตุให้หมู่ญาติมีความรักสามัคคีเคารพนับถือกัน ทำให้เกิดความอบอุ่นในหมู่ญาติ การสงเคราะห์เป็นที่จะนำไปสู่ความสำเร็จในชีวิตและการงาน ดังนั้น การสงเคราะห์ญาติ พระองค์จึงตรัสว่า เป็นมงคลอันสูงสุด

..๔ การงานที่ไม่มีโทษ

คนทุกคนในโลกนี้ ต้องทำงาน ทำเพื่อดำรงชีวิตของตนเอง ให้อยู่เป็นสุขสำราญและทำเพื่อเผื่อแผ่ช่วยเหลือเพื่อนร่วมโลกให้อยู่ดีกินด้วยกัน แม้งานที่ต้องทำก็มี ๓ ทาง คือ กายกรรม งานที่ทำทางกาย วจีกรรม งานที่ทำทางวาจาและมโนกรรม งานที่ทำทางใจ

) ความหมายของการงานไม่มีโทษ  การงาน (การกระทำ) ที่ไม่ผิดกฎหมายหรือไม่ก่อให้เกิดโทษแก่ตนเองหรือสังคมนี้ ท่านผู้รู้ทั้งหลายกล่าวนิยามไว้ดังนี้พระราชสิทธิมุนี กล่าวว่า

งานไม่มีโทษได้แก่ งานสุจริตยุติธรรม งานไม่มีเวรงานไม่มีภัยกับใครๆ และงานที่ไม่เบียดเบียนใคร[7]การงานใดเมื่อทำลงไปแล้วก่อให้เกิดความเสียหาย ก่อให้เกิดทุกข์ ความเดือดร้อนทั้งแก่ตนเองและผู้อื่น การงานนั้นเป็นงานที่มีโทษ การงานใด เมื่อทำแล้วไม่มีภัย ไม่เบียดเบียนใครไม่ก่อให้เกิดความเสียหาย ไม่ก่อให้เกิดความทุกข์ยาก และไม่ก่อให้เกิดความเดือดร้อนทั้งแก่ตนเองและผู้อื่น การงานนั้นเป็นการงานที่ปราศจากโทษ

)  การงานที่ไม่มีโทษ  พระอรรถกถาจารย์ กล่าวไว้ในอรรถกถาแห่งมงคลสูตรว่า  กรรมคือการสมาทานอุโบสถ การขวนขวายในการปบุตรธิดาสร้างละเมาะไม้ให้เป็นที่รื่นรมย์และการสร้างสะพาน เป็นต้น ชื่อว่า การงานอันไม่มีโทษ(อนวัชชกรรม)[8]

อุโบสถกรรม คือ การรักษาศีลแปดอันเป็นข้อปฏิบัติของบุคคล ผู้มีความตั้งใจทำความดีให้สูงยิ่งขึ้นกว่าพื้นเพเดิมของตน และจะได้ปฏิบัติให้ถูกต้องตามข้อปฏิบัติที่สมบูรณ์แบบ คือ

. เว้นจากการฆ่าและการเบียดเบียนร่างกายของคนและสัตว์

. เว้นจากการลักขโมย

. เว้นจากการบริโภคกามคุณ

. เว้นจากการพูดผิดหลอกลวง

. เว้นจากการดื่มน้ำเมาคือสุราและของมึนเมา

. เว้นจากการบริโภคอาหารในเวลาวิกาล

. เว้นจากการฟ้อนรำ ขับร้องประโคมดนตรีและดูการเล่น

. เว้นจากการนอนบนที่นอนสูง  ที่นอนใหญ่ภายในยัดด้วยนุ่นหรือสำลี  ซึ่งเป็นเครื่องยวนใจให้ดน้มเอียงไปหากามคุณ[9]

อุโบสถศีล ๘ ประการนี้เป็นเครื่องป้องกันเวรภัยไม่ให้เกิดขึ้นแก่ตนและคนอื่น ช่วยคุ้มครองรักษาใจให้สงบผ่องใส ห่างไกลจากกิเลส เครื่องเศร้าหมองต่าง ๆ ชื่อว่า อนวัชชกรรม เพราะเป็นข้อปฏิบัติที่ไม่มีโทษ เสริมชีวิตให้เป็นสุข บริสุทธิ์ สะอาด และชีวิตมีโชคเหมาะปราศจากเคราะห์ร้าย ไวยาวัจจกรรม คือการขวนขวายช่วยเหลือในกิจการของคนอื่นที่เป็นบุญกุศลเป็นคุณประโยชน์ ดังนี้

๑.กิจการที่เป็นกุศลเมื่อเราทราบข่าวว่า เพื่อนบ้านย่านเดียวกันจะทำบุญกุศลต่างๆ ก็ตั้งใจขวนขวายช่วยงานบุญกุศลตามกำลังของตน ตลอดจนการขวนขวายอำนวยความสะดวกให้แก่พระภิกษุสงฆ์และอุบาสก อุบาสิกาผู้เข้าวัดปฏิบัติธรรม

๒.กิจการที่เป็นคุณ เช่น ขวนขวายช่วยปฏิบัติรักษาท่านผู้มีอุปการคุณ มีพ่อ แม่ อุปัชฌาย์ อาจารย์เป็นต้น ในเวลาท่านเจ็บไข้

๓.กิจกรรมที่เป็นประโยชน์ เมื่อเพื่อนบ้านญาติมิตรมีธุรกิจการงาน เราทำตนให้เป็นประโยชน์แก่เขาด้วยการแสดงความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่เขาตามกำลังของเขา

การสร้างสาธารณสถานมีเป็นจำนวนมาก เช่น สะพาน แหล่งเก็บน้ำ ศาลาที่พักของคนเดินทาง ศาลาการเปรียญ โรงพยาบาล สุขศาลา และโรงเรียน ที่ประชาชนต้องอาศัยร่วมกัน ได้รับความสุขความสะดวกและประโยชน์ร่วมกัน นับว่าเป็นประโยชน์ทั้งผู้สร้างและหมู่คณะในประเทศชาติ ส่วนอนวัชชกรรมนอกบาลีและอรรถกถายังมีอีกมาก ทั้งคดีโลกคดีธรรม กล่าวตามหลักการ ๔ อย่าง คือ กฎหมาย ประเพณี ศีล และธรรม

งานบางอย่างมีโทษทางกฎหมาย งานบางอย่างไม่มีโทษทางกฎหมาย แต่มีโทษทางประเพณี งานบางอย่างไม่มีโทษทั้งทางกฎหมายและทางประเพณี แต่มีโทษทางศีล งานบางอย่างไม่มีโทษทั้งทางกฎหมายทั้งทางประเพณีและทางศีล แต่มีโทษทางธรรม งานบางอย่างหาโทษไม่ได้ โดยตลอดทั้ง ๔ อย่าง นั่นคืองานอนวัชชกรรมอย่างยอดเยี่ยม

ส่วนงานที่ไม่มีโทษทางธรรมมีสัปปุริสธรรมเป็นตัวอย่าง คือ ความรู้จักเหตุ ความรู้จักผล ความรู้จักตนเอง ความรู้จักประมาณ ความรู้จักกาละ ความรู้จักชุมชน และความรู้จักเลือกคน ทำให้ผู้ประพฤติตามเป็นคนดี

โดยสรุป อนวัชชกรรมที่มาในบาลีและอรรถกถา คือ อุโบสถกรรม ไวยาวัจจกรรม บุตรธิดา ต้นไม้ การสร้างสาธารณสถาน และอนวัชชกรรมนอกบาลีและอรรถกถา คือ ทำถูกกฎหมาย ประเพณี ศีลและชอบธรรม ช่วยส่งเสริมผู้ปฏิบัติให้ปราศจากโทษและก้าวหน้าไปสู่ความสุขความเจริญ

.๕ จริยศาสตร์ด้านการสร้างเสริมศีลธรรม

ในมงคลสูตรส่วนนี้ พระพุทธองค์เน้นที่การปฏิบัติตนตามกฏระเบียบที่ทางสังคมได้วางไว้ ตลอดจนการรักษากาย วาจา ให้มีความเป็นระเบียบเรียบร้อย ไม่ไปประทุษร้ายผู้อื่น ดังนี้ ๑. การงดเว้นจากบาป ซึ่งเป็นการกระทำที่จะนำตนให้ตกต่ำ ๒. เว้นจากสิ่งเสพติดให้โทษอันเป็นบ่อเกิดแห่งการปราศจากสติ 

..  การงดเว้นจากบาป

มงคลข้อนี้ พระพุทธเจ้าทรงสอนให้งดเว้นจากบาป ได้แก่ งดเว้นอกุศล คือ ความชั่ว ความผิด สิ่งชั่วร้าย  สิ่งที่ทำให้มีผลที่จะรับคือความเดือดร้อน  ทุกข์ใจ เศร้าใจ 

ความเจริญก้าวหน้าของชีวิต ต้องเริ่มต้นด้วยการงดเว้นสิ่งที่ไม่ดีไม่งาม คือ ในเบื้องต้นของการสร้างชีวิต เริ่มต้นด้วยการเว้นจากการคบค้าสมาคมกับคนพาลก่อน สำหรับการสร้างความเจริญก้าวหน้าทางจิตใจนี้ท่านสอนให้งดเว้นจากบาป ข้อนี้เป็นเรื่องธรรมดา ในการตบแต่งทั้งหลายจะต้องคำนึงถึงสิ่งที่จะทำให้เสียหายก่อน เช่น จะแต่งตัวให้สวย แต่งหน้าให้สวย ก็ต้องเริ่มจากการกำจัดสิ่งสกปรกออกจากตัวก่อน มีการอาบน้ำล้างหน้าและเช็ดตัว เป็นต้น การแต่งจิตใจก็ใช้หลักเดียวกัน คือ ต้องชำระสิ่งสกปรกทางใจเสียก่อนซึ่งสิ่งสกปรกทางใจนี้ท่านเรียกว่า  “บาป”  ถ้าคนเรายังไม่เว้นจากบาปอยู่ตราบใด ความก้าวหน้าทางจิตใจก็จะมีไม่ได้ตราบนั้น เพราะฉะนั้น การงดเว้นจากบาปจึงเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับคนที่รักดี รักความก้าวหน้าทุกคน

) ความหมายของการงดเว้นจากบาป การงดเว้นจากความชั่วหรือบาปชนิดต่างๆ เช่น ความโลภ ความโกรธ เป็นต้น ได้มีท่านผู้รู้ทั้งหลายกล่าวไว้ดังต่อไปนี้

สมเด็จพระสังฆราช (จวนอุฏฐายี) กล่าวว่า  บาป แปลว่า สิ่งที่ทำให้จิตใจเศร้าหมองสกปรก เห็นผิดไม่เห็นชอบ อันได้แก่ ความโลภ ความโกรธ ความหลง ซึ่งเกิดขึ้นครอบงำจิตแล้วบันดาลให้คิดร้าย พูดร้าย ทำร้ายเบียดเบียน ก่อให้เกิดทุกข์แก่ตนเองและผู้อื่น[10]

พระราชวรมุนี กล่าวว่า “บาป หมายถึง ความชั่ว ความร้าย ความชั่วร้าย กรรมชั่ว กรรมที่ส่งให้ถึงความเดือดร้อน สภาพที่ทำให้ถึงคติอันชั่ว สิ่งที่ทำให้จิตตกไปสู่ที่ชั่ว”[11]

บาป คืออาการของจิตเศร้าหมอง เหลวไหล ต่ำทราม ร้ายกาจ มีคุณภาพต่ำ บาปคือความชั่ว ความเสีย ความไม่ดี ความชั่วความเสียตรงกันข้ามกับคำว่า ความดี คำว่า เสีย เป็นคำรวมคือบอกว่าไม่ดี ความเสียอาจจะมีได้แก่ของทุกอย่าง แต่เราเรียกไปต่างๆ กัน อาการเสียของจิตก็เหมือนกัน เราเรียกได้หลายอย่าง เช่น จิตเศร้าหมอง จิตเหลวไหล ใจต่ำ ใจร้าย ใจดำ ใจสกปรก เป็นต้น เป็นคำบอกว่า จิตเสีย ความเสียในทางจิตนี้ ทางศาสนาใช้คำสั้นๆ ว่า บาป คำว่า บาป จึงหมายถึงความเสียทางจิตใจ ไม่ว่าจะเสียในแง่ใด เรื่องของจิตใจเป็นเรื่องของคน เพราะฉะนั้น คนที่มีอาการของจิตเสีย จึงเรียกว่า คนบาป ได้แก่ คนชั่ว คนเสียหรือคนไม่ดีนั่นเอง ดังนั้น การงดเว้นจากบาปจึงเป็นพื้นฐานในการปรับสภาพจิตให้ว่างจากสิ่งชั่วและนำคุณความดีมาแทนที่

)  ทางแห่งการทำบาป ทางแห่งความชั่ว ทำให้เกิดความเสื่อม ไม่เจริญ เรียกว่า อกุศลกรรมบถ ๑๐ (อกุศล แปลว่า บาป ความชั่วช้า กรรม  แปลว่า การกระทำที่มีเจตนา บถ แปลว่า ทาง) อกุศลกรรมบถ หมายถึง ทางแห่งบาปหรือทางแห่งความชั่ว[12]มี ๑๐ ประการ ดังนี้

๑. การทำชีวิตสัตว์ให้ตกล่วง

๒. การลักทรัพย์ที่เจ้าของมิได้ให้

๓. การประพฤติผิดในกาม

๔. การพูดเท็จ

๕. พูดคำหยาบ

๖. พูดคำส่อเสียด

๗. พูดเพ้อเจ้อ

๘. การโลภอยากได้ของคนอื่น

๙. การพยาบาทปองร้ายคนอื่น

๑๐. การเห็นผิดจากทำนองคลองธรรม

) วิธีหยุดการทำบาป การงดเว้นจากบาป หมายถึง การเลิกหยุดการทำกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต อันเป็นหนทางแห่งความชั่วร้าย ทำให้จิตใจเศร้าหมอง ทำให้สภาพจิตลง ถ้าเคยทำบาปก็หยุด เลิกทำ ไม่ทำอีกต่อไป ถ้าไม่เคยทำบาป ก็มีเจตนางดเว้นไม่ทำอีกเช่นกัน

คำว่า วิรัต หรือคำว่า วิรัตเจตนา คือ ความตั้งใจงดเว้นบาปทั้งทางกาย วาจา และทางใจ แบ่งออกเป็น ๓ อย่าง[13]คือ

. สัมปัตตวิรัต คือ เจตนา เว้นบาปในขณะประจวบเหมาะกับโอกาสที่ควรจะละเมิดศีลแต่ไม่ละเมิด

. สมาทานวิรัติ คือ เจตนางดเว้นจากบาปด้วยการสมาทานศีลจากพระภิกษุสามเณร โดยพระภิกษุหรือสามเณรกล่าวนำ แล้วว่าตาม เป็นการสมาทานหรือปฏิญญาณตนถือศีล

. สมุจเฉทวิรัติ คือ เจตนางดเว้นจากบาปได้เด็ดขาด ด้วยได้สำเร็จอริยมรรคญาณและอริยผลญาณ

..  ความสำรวมจากการดื่มน้ำเมา

การสำรวมจากการดื่มน้ำเมา คือการงดเว้นจากสิ่งเสพติดให้โทษต่าง ๆ อันเป็นบ่อเกิดแห่งความประมาท การปราศจากสติ บุคคลผู้ปรารถนาความเจริญก้าวหน้าทางจิตใจ นอกจากจะต้องงดเว้นจากบาปชั่วร้ายต่างๆ ยังต้องงดเว้นจากสิ่งซึ่งบั่นทอนชีวิตด้วย อันได้แก่ ของมึนเมาออกฤทธิ์แก่ร่างกายและจิตใจ ทำให้สติฟั่นเฟือน บ้าคลั่งและเป็นเหตุให้ก่อความเลวร้ายแก่ชีวิต เพราะเมื่อบุคคลขาดสติสัมปชัญญะเสียแล้ว ก็สามารถจะทำความชั่วได้โดยง่าย ดังนั้น ท่านจึงสอนให้สำรวมจากการดื่มน้ำเมา

)  ความหมายของการสำรวมจากการดื่มน้ำเมา  การงดเว้นจากสิ่งเสพติดหรือของมึนเมาชนิดต่าง ๆ มีสุราเมรัย กัญชา เป็นต้น ได้มีท่านผู้รู้ทั้งหลายกล่าวไว้ดังต่อไปนี้

สมเด็จพระสังฆราช (จวนอุฏฐายี) กล่าวว่า

การดื่มน้ำเมาคือสุราเมรัยมีโทษมาก คนที่เมาย่อมประมาท ลืมตัว ย่อมทำบาปทำชั่วได้ทุกอย่าง ไร้ความสำนึก รู้ผิดชอบชั่วดี ทำให้กิเลสกำเริบ เมื่อความโกรธเกิดขึ้นก็ทำตามอำนาจของความโกรธ ความโลภอยากได้เกิดขึ้นก็ทำตามอำนาจความโลภ ความกำหนัดความใคร่เกิดขึ้นผิดทาง ก็ทำตามอำนาจความใคร่ ขาดสติยับยั้งเป็นเหตุให้ฆ่า ลักทรัพย์ ประพฤติผิดในกาม พูดเท็จ พูดหลอกลวง ตู่ใส่ความ สร้างเวรภัย[14]

น้ำเมาโดยทั่วไปหมายถึง เหล้า แต่ในที่นี้หมายถึงของมึนเมาให้โทษทุกชนิด ไม่ว่าจะเป็นน้ำหรือแห้ง รวมทั้งสิ่งเสพติดทุกชนิด ดื่ม หมายถึง การทำให้ซึมซาบเข้าไปในร่างกาย ไม่ว่าโดยวิธีดื่ม ดม อัด นัตถุ์ สูบ ฉีด การดื่มเหล้าทำให้เกิดความสุขบนความทุกข์ เป็นสุขหลอก ทำให้หลงเพลิดเพลินในเรื่องเศร้า เหล้าจึงล้างผลาญทุกสิ่งทุกอย่าง ผลาญทรัพย์ ผลาญไมตรี ผลาญสุขภาพ ผลาญเกียรติยศ ผลาญศักดิ์ศรี ผลาญสติปัญญาของเสพติดทุกอย่างเหล่านี้ต้องงดเว้นโดยเด็ดขาด โทษของการดื่มสุราเมายาทำให้คนประมาท ขาดสติสัมปชัญญะ ทำให้กิเลสกำเริบ ทำให้ทำความชั่วได้ง่าย ชักนำให้คบคนพาล เพลิดเพลินในอบายมุข

)  โทษแห่งการดื่มน้ำเมา สิ่งเสพติดที่ทางพระพุทธศาสนากล่าวถึงนี้หมายถึงสิ่งมึนเมาทุกอย่างที่บุคคลเสพหรือดื่มเข้าไปแล้วสามารถทำให้ขาดสติสัมปชัญญะ แต่ที่พระพุทธศาสนามักกล่าวอ้างถึงก็คือสุราเมรัย โดยกล่าวว่า สุราเมรัยมีโทษ ดังนี้

คฤหบดีบุตร การประกอบเนือง ๆ ซึ่งการดื่มน้ำเมาคือสุราและเมรัยอันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท เป็นทางเสื่อมแห่งโภคะทั้งหลายคฤหบดีบุตร โทษของการดื่มสุราและเมรัยอันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาทเหล่านี้มี ๖ ประการ คือ เป็นเหตุเสื่อมทรัพย์เห็นทันตา เห็นเหตุก่อการทะเลาะวิวาท เป็นบ่อเกิดของโรคทั้งหลาย เป็นเหตุก่อความเสียชื่อเสียง ก่อสิ่งอุดจาดขาดความละอาย ทำให้สติปัญญาเสื่อมถอย[15]

การพัฒนาคุณภาพชีวิตด้วยการสำรวมหรืองดเว้นการดื่มน้ำเมามีหลักปฏิบัติ คือ เลิกดื่มเหล้าโดยเด็ดขาด โดยตระหนักและคิดไตร่ตรองให้เห็นโทษของน้ำเมา ภายในบ้านก็ไม่สะสมขวดเหล้า สะสมเหล้าและภาพโฆษณาเกี่ยวกับสิงเสพติด ให้เลือกคบเพื่อนที่ดีไม่คบคนพาล ไม่คบคนขี้เหล้าขี้ยา และไม่สนับสนุนส่งเสริมให้มีการจัดงานในสถานศึกษา โดยมีการเลี้ยงเหล้า เบียร์ น้ำเมา ฯลฯ ซึ่งเป็นแบบอย่างที่ไม่ดี ควรนึกถึงเกียรติ์ศักดิ์ศรีของตนให้มากและมีความละอายแก่ใจตนเองให้มากก่อนที่จะไปร่วมกันดื่มเหล้าและของมึนเมา พยายามควบคุมตนเองบังคับจิตใจตนเองมีสติไม่ประมาท ไม่ให้ตกเป็นทาสของยาเสพติดโดยการหมั่นออกกำลังกาย เล่นกีฬา หางานทำ ใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ เช่น ค้นคว้าอ่านหนังสืออย่าอยู่เฉย หมั่นฝึกสมาธิ เจริญวิปัสสนา ยึดมั่นในศีล ทาน ภาวนา



[1]สมเด็จพระมหาวีรวงศ์, เรื่องเดียวกัน, หน้า๒๘๘–๒๙๕

[2]พระราชสิทธิมุนี, เรื่องเดียวกัน, หน้า๑๒๑.

[3]พระราชวรมุนี, เรื่องเดียวกัน, หน้า๖๒–๖๓.

[4]สมเด็จพระมหาวีรวงศ์, เรื่องเดียวกัน, หน้า๓๐๘–๓๐๙.

[5]พระราชสิทธิมุนี, เรื่องเดียวกัน, หน้า๑๒๘.

[6]สมเด็จพระมหาวีรวงศ์(พิมพ์ ธมฺมธโร), เรื่องเดียวกัน, หน้า๓๑๓.

[7]พระราชสิทธิมุนี, เรื่องเดียวกัน,หน้า๑๓๓.

[8]มงฺคลตฺถทีปนี. ๒ / ๑๒๒.

[9]องฺ. อฏฺฐก. ๒๓ / ๑๓๑ / ๒๕๓.

[10]สมเด็จพระสังฆราช(จวน อุฏฐายี), เรื่องเดียวกัน,หน้า๑๖๘.

[11]พระราชวรมุนี, เรื่องเดียวกัน, หน้า๑๓๖.

[12]ที. ปา. ๑๑ / ๓๕๙ / ๒๘๔.

[13]ที. อ. ๑ / ๓๗๗.

[14]สมเด็จพระสังฆราช(จวน อุฏฐายี),เรื่องเดียวกัน, หน้า๑๗๙-๑๘๑.

[15]ที. ปาฏิ. ๑๑ / ๑๗๙ / ๑๖๔.

 

.จริยศาสตร์ที่เกี่ยวกับการศึกษาธรรม

ในมงคลสูตรส่วนนี้ พระพุทธองค์เน้นที่ความเป็นผู้สามารถพัฒนาตนเองได้ต่อเนื่องจากระดับที่ผ่านมา คือ เป็นผู้มีคุณธรรมด้านดีเป็นพื้นฐานอยู่แล้ว ก่อนที่จะนำคุณธรรมระดับต่อไปไปปฏิบัติเพื่อคุณงามความดีที่สูง ๆ ขึ้นได้ โดยประกอบด้วย ๑. การฟังธรรมตามกาล ๒. ความอดทน ๓. ความเป็นผู้ว่าง่าย ๔. การคบหากับสมณะ ๕. การสนทนาธรรม 

 

..๑ การฟังธรรมตามกาล

การได้ยินได้ฟังทำให้เกิดความคิด เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมได้ ซึ่งอาจจะเป็นไปในทางที่ดีและไม่ดีหรือในทางบวกและทางลบแล้วแต่ว่าสิ่งที่ได้ยินได้ฟังนั้นมีคุณค่าหรือไม่มีคุณค่าแก่การฟังเพียงใด ในมงคลข้อนี้ท่านมุ่งเอาการฟังธรรมตามกาล หมายถึง การฟังสิ่งที่ดีมีคุณค่า มีประโยชน์ เป็นเสียงธรรมเสียงมงคล เสียงธรรมย่อมประกอบด้วยคุณความดี แสดงเหตุผลเข้าถึงจิตใจ จับใจ ถูกใจ เป็นเสียงสุภาษิต ชอบธรรม ชอบวินัย และชอบด้วยกฎหมาย ชักชวนให้ผู้ฟังมุ่งมั่นประพฤติปฏิบัติชอบตามกำลังความสามารถของตน

)  ความหมายของการฟังธรรมตามกาล การฟังธรรมตามกาลหรือการฟังธรรมะตามฤดูกาลที่มีท่านผู้รู้ประกาศธรรมนี้  ท่านผู้รู้ทั้งหลายกล่าวไว้ดังต่อไปนี้ในกาลใด จิตสหรคตด้วยอุทธัจจะหรือถูกอกุศลวิตกเป็นต้นอย่างใดอย่างหนึ่งครอบงำ การฟังธรรมเพื่อบรรเทาวิตกเหล่านั้น ชื่อว่า การฟังธรรมโดยกาล[1]

การฟังธรรมตามกาลนั้นมีสองลักษณะ คือ ลักษณะที่ ๑ ให้ขวนขวายฟังธรรมะตามที่พระพุทธเจ้ากำหนด คือ ฟังธรรมในวันพระ สัปดาห์ละ ๑ วัน วันพระตรงกับวันขึ้นแรม ๘ ค่ำ ๑๕ ค่ำ (แรม ๑๔ ค่ำ ถ้าเดือนขาด) ส่วนลักษณะที่ ๒ เป็นการฟังธรรมตามกาลเวลา ที่ผู้ฟังเกิดความวิตกกังวล ไม่สบายใจ จิตใจถูกกิเลสครอบงำมาก หรือมีปัญหาชีวิต แก้ปัญหาไม่ได้ ต้องรับไปฟังธรรมหรือปรึกษาธรรม โดยไม่ต้องรอวันพระ

) อานิสงส์ของการฟังธรรมตามกาล การฟังธรรมหรือการสดับตรับฟังคำสั่งสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้ามีประโยชน์หรือมีอานิสงส์อย่างมากดังที่พระองค์ตรัสไว้ใน ธัมมัสสวนสูตร ความว่าดูกรภิกษุทั้งหลาย อานิสงส์ในการฟังธรรม ๕ ประการนี้ ๕ ประการเป็นไฉนคือ ผู้ฟังย่อมได้ฟังสิ่งที่ยังไม่เคยฟัง ๑ ย่อมเข้าใจชัดสิ่งที่ได้ฟังแล้ว ๑ ย่อมบรรเทาความสงสัยเสียได้ ๑ ย่อมทำความเห็นให้ตรง ๑ จิตของผู้ฟังย่อมเลื่อมใส ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย อานิสงส์ในการฟังธรรม ๕ ประการนี้แล[2]

สรุปการฟังธรรมตามกาลข้อนี้ว่า การฟังธรรมตามกาล คือ การขวนขวายหาเวลาไปฟังธรรมคำสอนจากผู้ที่มีธรรมะ เพื่อยกระดับจิตและสติปัญญาให้สูงขึ้น โดยเมื่อฟังธรรมแล้วก็น้อมเอาคุณธรรมเหล่านั้นมาเป็นกระจกสะท้อนดูตนเองว่ามีคุณธรรมนั้นหรือไม่ จะปรับปรุงคุณธรรมที่มีอยู่ให้ดีขึ้นไปได้อย่างไร

การฟังธรรมตามกาล คือการฟังสิ่งที่ดีมีคุณค่า มีประโยชน์ เป็นเสียงธรรมเสียงมงคล เสียงธรรมย่อมประกอบด้วยคุณความดี แสดงเหตุผลเข้าถึงจิตใจ จับใจ ถูกใจ เป็นเสียงสุภาษิต ชอบธรรม ชอบวินัย และชอบด้วยกฎหมาย ชักชวนให้ผู้ฟังมุ่งมั่นประพฤติดีปฏิบัติชอบตามกำลังความสามารถของตน

การฟังธรรมตามกาลที่พระพุทธเจ้าบัญญัติ ได้แก่ ฟังคำสอนที่มีลักษณะเป็นข้อบังคับ เรียก วินัย และฟังคำสอนประเภทคำแนะนำให้ทำดี เรียก พุทโธวาท กาลตามพระพุทธบัญญัติ ได้แก่ วันขึ้น/แรม ๘ ค่ำ ๑๕ ค่ำ (หรือแรม ๑๔ ค่ำ) ของทุกเดือนเป็นวันที่พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติให้ฟังพระสัทธรรม เรียกว่า วันธรรมสวนะ หรือ วันพระ ส่วนกาลตามพระพุทธโอวาท คือ คำสอนเชิงแนะนำของพระพุทธเจ้า กาลฟังธรรม มิได้กำหนดวัน-คืน ไว้ตายตัวขึ้นอยู่กับผู้ฟังและผู้แสดงธรรม

..๒ ความอดทน

งานทั้งหลายไม่ว่าจะเป็นงานเล็กงานใหญ่ งานทางโลกหรืองานทางธรรมที่สำเร็จขึ้นมาได้ นอกจากจะอาศัยสติปัญญาเป็นตัวนำแล้วล้วนต้องอาศัยคุณธรรมอันหนึ่งเป็นพื้นฐานจึงจะสำเร็จลุล่วงได้ คุณธรรมอันนั้นก็คือ ขันติ ความอดทน เพราะขันติเป็นคุณธรรมช่วยบำรุงกำลังให้แข็งแกร่งแรงกล้า หันหน้าเข้าต่อสู้กับอุปสรรคทั้งหลายและสามารถเอาชนะงานที่ยาก งานหนักและงานใหญ่ได้เสมอ นอกจากนี้ยังพอใจริเริ่มงานชิ้นใหม่ขึ้นอีก ไม่ย่อท้อยอมแพ้ต่ออุปสรรคใดๆ คนที่มีขันติเป็นเครื่องประดับจิตใจ จึงเป็นคนเด่น เหมือนว่าวที่ลอยเด่นอยู่กลางอากาศเพราะสามารถต้านลมได้ฉะนั้น

) ความหมายของความอดทน  การมีขันติหรือมีความอดทน อดกลั้นต่อกิเลสต่างๆ เช่น ความโกรธ เป็นต้น ที่มากระทบเข้า ท่านผู้รู้ทั้งหลายกล่าวไว้ดังต่อไปนี้

ปิ่น มุทุกันต์ กล่าวว่า

ขันติ แปลว่า อดทน เป็นธรรมที่จำเป็นสำหรับคนทำงานทุกชนชั้น คนอดทนต่อถ้อยคำของคนที่สูงกว่าเพราะกลัว อดทนต่อคนเสมอกันเพราะชิงไหวชิงพริบ แต่ถ้าผู้ใดอดทนต่อคนที่ต่ำกว่าได้ สัตบุรุษกล่าวว่า เป็นความอดทนสูงสุด ขันติมีอยู่ ๒ ประเภท คือ  ๑. ขันติ หมายถึง ความอดทนในการทำงาน ต่อความลำบาก ความหิว ความกระหาย ความเจ็บปวด

. อธิวาสขันติ หมายถึง ความอดทนต่อล่วงเกินของคนที่ต่ำกว่า[3]

พระเทพปริยัติโมลี กล่าวว่า ขันติคือความอดทนได้เมื่อถูกกระทบด้วยสิ่งไม่พึงปรารถนาเป็นลักษณะของกายและใจที่พร้อมจะเผชิญเหตุการณ์ที่พึ่งพาหรือที่จะเกิดขึ้นทุกรูปแบบ ไม่มีความย่อท้อ เมื่อประสบสิ่งลำบากหรือไม่ต้องการต้องพยายามสงบใจ ทำใจให้เย็น ไม่เก็บเอาความลำบากความเจ็บปวด ความเจ็บใจ และความอยากนั้นๆ มาใส่ใจคิด เมื่อสงบใจได้แล้ว กิริยาท่าทางและคำพูดที่แสดงออกก็สงบเสงี่ยม เรียบร้อย เหมือนไม่มีอะไรเกิดขึ้น[4]

ความอดทน คือการรักษาความเป็นปกติของคนไว้ได้ ไม่ว่าจะถูกกระทบทกระทั่งด้วยสิ่งอันพึงปรารถนาหรือไม่พึงปรารถนาก็ตาม มีความมั่นคงหนักแน่นไม่หวั่นไหวต่อสิ่งใดเหมือนแผ่นดินไม่หวั่นไหวด้วยของเสียของหอม ของสกปรกหรือของสะอาดที่คนเทลงไปฉะนั้น ขันติ ความอดทนนี้ ท่านบรรจุไว้ในธรรมหมวดต่าง ๆ และมีคำอธิบายหลายนัยด้วยกัน แต่ที่ตรงกันก็คือท่านแปลว่า "ความอดทน" เหมือนกัน เป็นที่น่าสังเกตว่าขันติที่ท่านแสดงไว้ในมงคลนี้ จัดเป็นคุณธรรมขั้นสูงเหมือนกับคุณธรรมข้อกตัญญู เป็นคุณธรรมช่วยพัฒนาจิตใจให้เจริญก้าวหน้าสู่ความบริสุทธิ์สะอาด ความอดทนเป็นคุณธรรมสำคัญ เป็นเครื่องประคองจิตใจไม่ให้ท้อถอย เมื่อประสบความลำบาก ตรากตรำหรือความทุกข์ยาก ให้อดทนต่อสู้ความลำบากตรากตรำไปจนกว่าการงานที่ทำเกิดความสำเร็จ รู้รักษาจิตใจให้เป็นปกติ ไม่หงุดหงิดฉุนเฉียวในเมื่อประสบอารมณ์ร้ายยั่วให้เกิดโทสะ ต้องอดทนห้ามใจมิให้แสดงกิริยาวาจาหยาบคายออกมาให้คนอื่นเห็น ทำให้น่ารัก น่าเคารพนับถือ ไม่ยอมแพ้อุปสรรคทั้งภายในและภายนอก เป็นกำลังใจให้สามารถต่อสู้กับกิเลสทั้งหลาย ให้สงบคราบคาบหมดไป

) ประเภทของความอดทน ความอดทนมีประเภทต่าง ๆ ดังนี้

๑. อดทนต่อความลำบากตรากตรำ

๒. อดทนต่อความเจ็บไข้ได้ป่วย

๓. อดทนต่อความเจ็บใจ

๔. อดทนต่ออำนาจของกิเลส

ชัยวัฒน์ อัตพัฒน์ กล่าวถึงประเภทของขันติไว้ ดังนี้

“ตีติกขาขันติ ขันติอดออม อธิบายว่า ใจของเราธรรมดาย่อมหิวกระหายอยากเป็นกำลัง อยากในทางที่ชอบบ้าง อยากในทางที่ชั่วบ้าง ใจที่อยากในทางดีทางชอบเป็นใจสูง ใจที่หักห้ามในตนเองได้ไม่ให้โลภ โกรธ หลง เป็นต้น ซึ่งเป็นลักษณะของการอดเปรี้ยวไว้กินหวาน กรือไม่ชิงสุกก่อนห่าม

ธิติขันติ ขันติทนทาน ผู้มีใจทนทาน หรือมั่นคง คือทนตรากตรำในการทำงานทั่วไป เช่น ทนทานต่อความหิว กระหาย เหน็ดเหนื่อยเมื่อยล้า มุ่งมั่นประกอบการงานเป็นสำคัญ และทนลำบากต่อทุกข์เวทนา อันเกิดจากการเจ็บไข้ได้ป่วย ไม่กระวนกระวาย ดำรงมั่นอยู่ในาวะปกติ ชื่อว่า ผู้มีธิติขันติ

อธิวาสนขันติ ขันติอดกลั้น การอดกลั้น หรือยับยั้งใจไม่ให้โกรธเมื่อผู้อื่นแสดงกิริยาวาจาล่วงล้ำฐานสบประมาท ลบหลู่ซึ่งหน้าก็สู้อดทนเพื่อรักษาความเป็นผู้ดีของตน โดยไม่โต้ตอบด้วยกิริยาวาจาเลวร้ายและไม่รับเอากรรมชั่วร้ายของผู้อื่นมาใส่ใจ ชื่อว่า ผู้มีอธิวาสนขันติ”[5]

) การฝึกความอดทน  การฝึกความอดทนมีขั้นตอนดังนี้

๑. มีความอดกลั้น อดทนข่มใจไว้ เช่น ถูกคนพาลด่า กระทบกระแทก ก็ทำเป็นไม่รู้ไม่ชี้ ไม่ใส่ใจ ไม่ต่อปากต่อคำ

๒. ฝึกความอดทน ไม่กล่าวร้ายโต้ตอบเมื่อถูกว่าร้าย ถ้าจำเป็นก็พูดด้วยน้ำเสียงปรกติ ไม่โต้ตอบรักษาความสงบเสงี่ยมในการโต้ตอบ

๓. ไม่ก่อทุกข์ให้กับตนเองและผู้อื่น การกล่าวกระทบกระแทกคนอื่น ทำให้คนอื่นโกรธ เสียหน้า ก่อเวรภัยให้กับตนเอง ผู้ที่ถูกกล่าวหาก็เป็นทุกข์ ควรพูดด้วยจิตที่เมตตา

๔. มองโลกในแง่ดี คนที่มีความทุกข์ย่อมมีความโลภโกรธหลง ความทุกข์มากกว่า จึงเที่ยวมองเห็นว่าเลวร้าย ลบหลู่ดูหมิ่น และทำชั่วเพราะกิเลส เป็นคนที่ห่างไกลธรรมะ ดังนั้น ควรอดทนต่อคนเลวกว่าเรา เพราะเขามีความทุกข์มากกว่า ควรเพิ่มกำลังใจ และช่วยเขาให้พ้นทุกข์

๕. ทำจิตใจให้เบิกบาน ผ่องใสด้วยเมตตา จะคิดทำพูดสิ่งใด ตั้งจิตเมตตาให้ทุกคนที่มาติดต่อสัมพันธ์กับเรา จงมีความสุข ปราศจากความทุกข์

๖. ทำเป็นคนหูหนวกตาบอด ดังภาษิตโบราณว่า ปิดหูซ้ายขวา ปิดตาสองข้าง ปิดปากเสียบ้าง นั่งนอนสบาย

๗. หลีกห่างถอนตัวจากสิ่งชั่ว เช่น การดื่มน้ำเมากับเพื่อน เล่นการพนัน ฯลฯ

๘. อดทนเพื่อละสิ่งชั่ว พยายามทำความดี รักษากายสุจริต วจีสุจริต มโนสุจริต

๙. รักษาใจไม่ให้เศร้าหมอง สวดมนต์ไหว้พระ นั่งสมาธิ เจริญเมตตาเป็นประจำ

..  ความเป็นผู้ว่าง่าย

เมื่อบุคคลมีพลังขันติประจำใจ ก็สามารถรับเอาคุณธรรมความเป็นผู้ว่าง่ายนี้ได้ สังคมมนุษย์แต่ละสังคมมีทั้งผู้ใหญ่ ผู้เสมอกันและผู้น้อย ซึ่งจะต้องร่วมกันประพฤติปฏิบัติคุณธรรม คือ ความว่าง่าย เพราะทุกคนต่างก็หวังความดี อยากได้ดีด้วยกันทั้งนั้น และความดีก็รอคอยคนอยากได้ดีอยู่ข้างหน้า การที่จะรับเอาความดีเข้ามาในตนได้ ผู้อยากได้ดีต้องประพฤติธรรม คือ ความเป็นผู้ว่าง่าย ต้องมีคุณธรรมข้อนี้ไว้ในตัว มิฉะนั้นก็จะเหมือนคนเป็นโรคอัมพาต แม้ความดีจะอยู่ใกล้ตัวก็ไม่สามารถจะรับเอาความดีได้ คุณธรรมคือความว่าง่ายนี้จึงเหมาะแก่คนทุกวัย และทุกชั้น ทั้งผู้ใหญ่ ผู้เสมอกัน และผู้น้อย จะพึงยึดถือปฏิบัติให้เหมาะสมแก่ฐานะของตน

)  ความหมายของความเป็นผู้ว่าง่าย  การเป็นผู้ว่าง่ายสอนง่ายหรืออีกนัยหนึ่งก็คือความเป็นผู้มีความอ่อนน้อมนี้ ท่านผู้รู้ทั้งหลายกล่าวไว้ดังต่อไปนี้

ปิ่น มุทุกันต์ กล่าวว่า

คนว่าง่ายมีอยู่ ๒ พวก คือ พวกว่าง่ายเพราะเห็นแก่อามิสและว่าง่ายเพราะเห็นแก่ธรรมะ คือ ความดี พวกแรก พระพุทธเจ้าไม่ยอมรับว่าเป็นคนว่าง่าย เพราะใจมุ่งอามิส สินจ้าง รางวัล ค่าจ้าง ทำตนเป็นคนว่าง่าย เพราะเห็นแก่ได้ เช่น บุตรอยากได้ทรัพย์สมบัติของบิดามารดา จึงปฏิบัติตามคำสอนเพียงอุบายแสร้งทำ ฯลฯ ส่วนคนว่าง่ายเพราะเห็นธรรมะอยากเป็นคนดี มีคุณธรรม พระพุทธเจ้าทรงชมว่า เป็นคนว่าง่ายที่ถูกต้อง เพราะคุณธรรมความว่าง่ายเกิดขึ้นในจิตใจทำให้เกิดความรู้สึก ๓ ประการ คือ

. จิตน้อมรับคำสอน ด้วยจิตไม่มีกิเลส

. รับทำตามคำสอนโดยไม่มีสินจ้างรางวัล วุฒิบัตร และ

. รับรู้คุณความดีของผู้ให้คำสอน และตอบแทนคุณความดี ด้วยการศึกษาเล่าเรียนด้วยความเคารพ มีสุภาพอ่อนน้อมถ่อมตนและคอยปรนนิบัติรับใช้ช่วยเหลือตามโอกาส[6]

ความเป็นผู้ว่าง่ายมีความหมายเป็นไปในทางดี คือ เป็นไปในทางบวก เป็นเครื่องหมายของความเจริญ เพราะคนจะเป็นคนดีมีความรู้ และความประพฤติดีประพฤติชอบได้ก็ต้องอาศัย การอบรมฝึกฝน บุคคลที่ควรได้รับการฝึกฝนอบรมนั้น จะต้องเป็นคนที่มีคุณสมบัติที่ดี กล่าวคือ เป็นผู้ว่าง่ายสอนง่าย ไม่หัวดื้อ หัวรั้น ว่ายากสอนยาก ผู้ว่าง่ายสอนง่ายเป็นที่พึงปรารถนาของสังคม บุตร-ธิดาเป็นที่รักที่เอ็นดูและกรุณาปราณีของบิดามารดา ศิษย์เป็นที่รักเอ็นดูของครูอาจารย์ และผู้น้อยเป็นที่น่ารักที่เอ็นดูของผู้ใหญ่ เป็นต้น

คนว่าง่ายสอนง่าย คือ คนที่อดทนต่อสั่งสอนได้ เมื่อมีผู้แนะนำพร่ำสอน ตักเตือน โดยชอบธรรมแล้ว ย่อมปฏิบัติตามคำสอนนั้นโดยความเคารพ อ่อนน้อมถ่อมตน ไม่คัดค้าน ไม่ได้โต้ตอบ ไม่แก้ตัวโดยประการใดๆ ทั้งสิ้น คนบางคนทนได้สารพัด แต่ทนไม่ได้เมื่อมีใครมาแนะนำสั่งสอนตักเตือน เกิดความรู้สึกคับแค้น โต้ตอบหักล้างขึ้นมาทันที เพราะเขามีเชื้อหัวดื้อ ว่ายากสอนยากอยู่ในตัว ความว่าง่ายเป็นคนที่มีความอดทนต่อคำสอน การแนะนำ ว่ากล่าวตักเตือนและปฏิบัติตามคำสอนของบิดามารดา ครูอาจารย์ ด้วยความเคารพและไม่หวังสิ่งตอบแทน คนว่าง่ายที่สังคมต้องการคือคนว่าง่ายที่เห็นกับความถูกต้องและความชอบธรรม

)  ลักษณะของความเป็นผู้ว่าง่าย คนผู้ง่ายสอนง่ายมีลักษณะดังต่อไปนี้

๑.รับฟังคำสอนด้วยความสุภาพอ่อนน้อมถ่อมตน มีความเคารพและเกรงใจ ยินดีรับฟังคำแนะนำข้อเสนอแนะด้วยมารยาทอันงาม

๒.เมื่อได้รับคำแนะนำว่ากล่าวตักเตือนข้อเสนอแนะแล้ว ไม่อยู่เฉย พยายามปรับปรุงแก้ไข พัฒนาตนเองตามคำแนะนำนั้นๆ

๓.ไม่คอยจับผิดเพ่งโทษผู้ว่ากล่าวตักเตือนผู้สอนฯลฯไม่โต้ตอบอวดดี ตีตนเสมอท่าน

๔.เคารพต่อคำสอน และผู้สอนเป็นอย่างดียิ่ง โดยเชื่อฟังทำตาม ทำให้ผู้สอนมีกำลังสอน มีความเมตตาสงสาร เกิดความรักใคร่เอ็นดู

๕.ไม่ดื้อรั้น ไม่ดันทุรัน ทำอะไรตามใจชอบ ไม่ทำสักแต่ว่าขอไปที ต้องทำให้ถูกต้อง ไม่ใช่ถูกใจผู้ทำ

๖.ไม่ยินดีในการขัดคอ สอดแทรกในขณะที่ผู้สอนกำลังสอน ให้คำแนะนำตักเตือนหรือแกล้งพูดขัดคอให้ตลกขบขัน สนุกสนานเฮฮา เพ้อเจ้อไร้สาระ

๗.ปวารณาตัวเป็นศิษย์ ยินดีให้ว่ากล่าวตักเตือนแนะนำ สั่งสอนให้เป็นคนดี เมื่อถูกว่ากล่าวตักเตือนไม่โกรธ เพราะถือว่าผู้ชี้โทษของตนคือผู้ชี้ขุมทรัพย์

๘.มีความอดทนและสงบเสงี่ยมเจียมตน เมื่อถูกว่ากล่าวเตือนอย่างแรงก็ไม่โกรธ

๙.อโหสิกรรมแก่กัน ผู้สอนอาจพลาดพลั้ง ตักเตือนไปด้วยความโกรธ และผู้เรียนเกิดความโกรธอันจะเกิดเวรภัยในภายหน้าจึงขออโหสิกรรมต่อกัน

สรุปว่า คนว่าง่ายสอนง่ายนั้นมีลักษณะ ๓ ประการ คือ

๑.รับฟังคำสอนด้วยดี ไม่เถียงไม่ขัดคอ ไม่จับผิด

๒.รับทำตามคำสอนด้วยดี ไม่ดื้อรั้นดันทุรัน

๓.รับรู้ความดีของผู้สอนด้วยดี ไม่โกรธ ไม่คิดลบหลู่บุญคุณ อดทนได้

) ประเภทของคนว่าง่าย คนว่าง่ายมี ๒ ประเภท คือ คนว่าง่ายเพราะเห็นแก่ได้ และคนว่าง่ายเพราะเห็นแก่ความดี คือธรรมะ

๑.คนว่าง่ายเพราะเห็นแก่ได้ คนพวกนี้เป็นคนว่าง่าย เพราะเห็นแก่อามิสมีลาภผลในห้วงลึกรอคอยอยู่ข้างหน้าเพื่อให้บรรลุลาภผลดังกล่าวจึงแสร้งทำกิริยาท่าทีว่าเป็นผู้ว่าง่ายสอนง่าย พอได้ลาภตามที่ต้องการแล้ว ก็เลิกเป็นคนว่าง่ายเสีย ดังที่ตรัสไว้ในกกจูปมสูตรว่า  ภิกษุทั้งหลาย พระที่ทำตัวเป็นผู้ว่าง่ายสอนง่าย เพราะเห็นแก่อามิสต่างๆ มีปัจจัย ๔ คือ อาหารการกิน เป็นต้น ไม่เรียกว่าเป็นผู้ว่าง่าย เพราะเหตุใดจึงไม่เรียก เพราะว่าถ้าพระนั้นไม่ได้ปัจจัย ๔ ขึ้นมาแล้ว ก็จะเลิกเป็นผู้ว่าง่ายเสีย ส่วนพระรูปใดเคารพสักการะธรรม นอบน้อมต่อธรรมถึงความเป็นผู้ว่าง่าย เราเรียกพระรูปนั้นว่าเป็นผู้ว่าง่าย[7]

๒. คนว่าง่ายเพราะเห็นแก่ความดี คือ ผู้ที่มีความดี รอคอยอยู่ในส่วนลึกของจิตใจ มุ่งแต่จะไปรับเอาแต่ความดี ตั้งใจฟังคำตักเตือนคำสอนจากผู้อื่น ยินดีรับและทำตามคำตักเตือนและคำสอนตลอดจนรู้คุณของผู้ตักเตือนหรือผู้สอนด้วยดี

..  การได้เห็นสมณะทั้งหลาย

คนดีมีอยู่ ๒ จำพวก คือ คนดีทางโลกและคนดีทางธรรม มงคลข้อนี้มุ่งเน้นคนดีทางธรรมที่เราควรเข้าไปหาเพื่อถ่ายทอดคุณความดีจากท่าน เวลาที่เราจะเข้าไปถ่ายทอดเอาดีจากคนดีทางธรรม ก็จะต้องเตรียมความดีในตัวเราไว้เป็นสื่อด้วย นั่นก็คือคุณธรรมความดีเป็นผู้ว่าง่าย คนดีในทางธรรมนั้นเรียกว่า สมณะ การได้เห็นสมณะแล้วถ่ายทอดเอาคุณความดีจากท่านมาใส่ตน ท่านกล่าวว่าเป็นมงคล เพราะตามความเข้าใจและความรู้สึกของคนทั่วไปนั้น สมณะคือผู้ที่เป็นแบบ เป็นตัวอย่างที่ดี เป็นที่พึ่งพาอาศัยทางด้านจิตใจได้อย่างแท้จริง เด็ก ๆ ต้องการตัวอย่างที่ดีจากบิดามารดา ครู อาจารย์ฉันใด คนทั่วไปก็ต้องการตัวอย่างที่ดีจากสมณะฉันนั้น

)  ความหมายของการได้เห็นสมณะทั้งหลาย การสมาคมหรือการคบค้ากับสมณะท่านผู้ทรงศีลและมีความรู้นี้ ท่านผู้รู้ทั้งหลายกล่าวไว้ดังต่อไปนี้  การเข้าไปหา การบำรุง การระลึกถึง การได้ยินและการเห็น บรรพชิตผู้มีกิเลสอันสงบแล้ว ผู้มีกาย วาจา จิต และปัญญาอันอบรมแล้ว ผู้ประกอบด้วยการฝึกอย่างสูง ชื่อว่า การเห็นสมณะ[8]

สมเด็จพระสังฆราช (จวนอุฏฐายี) กล่าวว่า

สมณะคือบุคคลที่มีความเมตตาจิต ไม่ทำบาปด้วยกาย วาจา และใจ เป็นผู้มีจิตใจสงบสงัดจากกิเลส เป็นผู้บริสุทธิ์ เป็นผู้ปลอดภัยทั้งปวง คือ  ไม่เป็นอันตรายแก่คนและสัตว์ ใครเข้าใกล้ย่อมได้ความสงบและเย็นใจ ไม่ต้องเดือดร้อน การเห็นสมณะได้แก่การเข้าหาท่านการบำรุงรักษาท่าน การตามระลึกถึง การฟังเรื่องของท่านและการเห็นความประพฤติและคุณธรรมอันน่าเลื่อมใสนับถือท่าน[9]

การเห็นสมณะเป็นอุดมมงคล คำว่าสมณะ แปลว่าผู้สงบ ในที่นี้สมณะหมายถึงบรรพชิตหรือนักบวช ที่ได้รับการฝึกฝนอบรมกายวาจาใจ และปัญญา เพื่อดับกิเลสมาแล้วเป็นอย่างดี หรือ หมายถึงสมณะที่หมดจดจากกิเลส เป็นพระอรหันต์แล้ว การได้เห็น ได้เข้าใกล้ ได้ฟัง ได้ระลึกถึง ได้อุปัฏฐาก บำรุงบรรพชิตทั้งหลาย ผู้ถึงพร้อมด้วยความฝึกตนอย่างสูง ย่อมเป็นเพื่อความสงบระงับจากกิเลส ดังที่พระองค์ตรัสไว้ในโพชฌงคสังยุตว่า

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่าใดเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยศีล เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยสมาธิ เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยปัญญา เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวิมุติ เป็นผู้ถึงพร้อมด้วย วิมุตติญาณทัสสนะการได้เห็นภิกษุเหล่านั้นก็ดี การได้ฟังภิกษุเหล่านั้นก็ดี การเข้าไปหาภิกษุเหล่านั้นก็ดี การเข้าไปนั่งใกล้ภิกษุเหล่านั้นก็ดี การระลึกถึงภิกษุเหล่านั้นก็ดี การบวชตามภิกษุเหล่านั้นก็ดี แต่ละอย่างๆ เรากล่าวว่ามีอุปการะมาก ข้อนั้นเพราะเหตุไร? เพราะว่าผู้ที่ได้ฟังธรรมของภิกษุเห็นปานนั้นแล้ว ย่อมหลีกออกอยู่ด้วย ๒ วิธี คือ หลีกออกด้วยกาย ๑ หลีกออกด้วยจิต ๑เธอหลีกออกอยู่อย่างนั้นแล้วย่อมระลึกถึงย่อมตรึกถึงธรรมนั้น. ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมัยใด ภิกษุหลีกออกอยู่อย่างนั้นแล้ว ย่อมระลึกถึงย่อมตรึกถึงธรรมนั้น สมัยนั้น สติสัมโพชฌงค์ เป็นอันภิกษุปรารภแล้ว ภิกษุย่อมชื่อว่าเจริญสติสัมโพชฌงค์ สติสัมโพชฌงค์ของภิกษุย่อมถึงความเจริญบริบูรณ์ เธอมีสติอยู่อย่างนั้น ย่อมเลือกเฟ้น ตรวจตรา ถึงความพินิจพิจารณาธรรมนั้นด้วยปัญญา. ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมัยใด ภิกษุมีสติอยู่อย่างนั้น ย่อมเลือกเฟ้น ตรวจตราถึงความพินิจพิจารณาธรรมนั้นด้วยปัญญา สมัยนั้น ธรรมวิจยสัมโพชฌงค์ เป็นอันภิกษุปรารภแล้ว ภิกษุย่อมชื่อว่าเจริญธรรมวิจยสัมโพชฌงค์ ธรรมวิจยสัมโพชฌงค์ของภิกษุย่อมถึงความเจริญบริบูรณ์ เมื่อภิกษุเลือกเฟ้น ตรวจตรา พินิจพิจารณาธรรมนั้นด้วยปัญญา ความเพียรอันไม่ย่อหย่อนเป็นอันภิกษุปรารภแล้ว.ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมัยใด เมื่อภิกษุเลือกเฟ้น ตรวจตรา พินิจพิจารณาธรรมนั้นด้วยปัญญา ความเพียรอันไม่ย่อหย่อน อันภิกษุปรารภแล้วสมัยนั้น วิริยสัมโพชฌงค์เป็นอันภิกษุปรารภแล้ว ภิกษุย่อมชื่อว่าเจริญวิริยสัมโพชฌงค์ วิริยสัมโพชฌงค์ของภิกษุย่อมถึงความเจริญบริบูรณ์ ปีติที่ไม่มีอามิสย่อมเกิดแก่ภิกษุผู้ปรารภความเพียร. ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมัยใด ปีติที่ไม่มีอามิสย่อมเกิดแก่ภิกษุผู้ปรารภความเพียร สมัยนั้น ปีติสัมโพชฌงค์เป็นอันภิกษุปรารภแล้ว ภิกษุย่อมชื่อว่าเจริญปีติสัมโพชฌงค์ ปีติสัมโพชฌงค์ของภิกษุย่อมถึงความเจริญบริบูรณ์ กายก็ดี จิตก็ดี ของภิกษุผู้มีใจกอปรด้วยปีติย่อมสงบระงับ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมัยใด กายก็ดี จิตก็ดี ของภิกษุผู้มีใจกอปรด้วยปีติ ย่อมสงบระงับ สมัยนั้น ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์เป็นอันภิกษุปรารภแล้ว ภิกษุย่อมชื่อว่าเจริญปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ของภิกษุย่อมถึงความเจริญบริบูรณ์ จิตของภิกษุผู้มีกายสงบแล้ว มีความสุข ย่อมตั้งมั่น. ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมัยใด จิตของภิกษุผู้มีกายสงบแล้ว มีความสุข ย่อมตั้งมั่น สมัยนั้น สมาธิสัมโพชฌงค์เป็นอันภิกษุปรารภแล้ว ภิกษุย่อมชื่อว่าเจริญสมาธิสัมโพชฌงค์สมาธิสัมโพชฌงค์ของภิกษุย่อมถึงความเจริญบริบูรณ์ เธอย่อมเป็นผู้เพ่งดูจิตที่ตั้งมั่นแล้วอย่างนั้นด้วยดี. ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมัยใด ภิกษุย่อมเป็นผู้เพ่งดูจิตที่ตั้งมั่นแล้ว อย่างนั้นด้วยดี สมัยนั้น อุเบกขาสัมโพชฌงค์เป็นอันภิกษุปรารภแล้ว ภิกษุย่อมชื่อว่าเจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์ อุเบกขาสัมโพชฌงค์ของภิกษุย่อมถึงความเจริญบริบูรณ์.[10]

การเห็นสมณะเป็นมงคลเพราะเหตุว่าสมณะเป็นบุคคลที่มีเมตตาจิต ไม่ทำบาปด้วยกายวาจาและใจ มีใจสงบสงัดจากกิเลสเป็นผู้บริสุทธิ์ถึงพร้อมด้วยศีล สมาธิ ปัญญา เป็นผู้ปลอดภัยจากภัยทั้งปวง ไม่เป็นอันตรายแก่มนุษย์และสัตว์ การเห็นสมณะจึงเป็นมงคล ทำให้เกิดความเลื่อมใส ศรัทธาในการประพฤติธรรม



[1] มงฺคลตฺถทีปนี. ๔ / ๑๔๕.

[2] องฺ. ปญฺจก. ๒๒ / ๒๐๒ / ๒๗๖.

[3]ปิ่นมุทุกันต์, มงคลชีวิตภาค, (กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์มหามกุฎราชวิทยาลัย, ๒๕๓๕), หน้า๑๘๕–๑๙๕.

[4]พระเทพปริยัติโมลี, เรื่องเดียวกัน, หน้า๑๙-๒๑.

[5]ชัยวัฒน์ อัตพัฒน์, หลักพุทธศาสนา, (กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง,๒๕๓๔),หน้า ๒๗๐.

[6]ปิ่นมุทุกันต์, เรื่องเดียวกัน, หน้า๒๐๑–๒๐๙.

[7]ม. มู. ๑๒ / ๒๖๖ / ๒๖๐.

[8] มงฺคลตฺถทีปนี. ๔ / ๒๑๘.

[9]สมเด็จพระสังฆราช (จวนอุฏฐายี), เรื่องเดียวกัน, หน้า๒๕๙.

[10] สํ. มหา. ๑๙ / ๓๗๓ / ๙๕.

 

) ลักษณะของสมณะ

เมื่อรวมใจความตามพระพุทธวจนะแล้ว สามารถสรุปลักษณะของสมณะได้ดังนี้คือ

๑. สมณะย่อมไม่ทำอันตรายใคร เพราะถ้ายังมีการฆ่า ทำร้ายใครอยู่ หรือแม้แต่สนับสนุนคนอื่นให้ทำอย่างนั้น ก็ไม่เรียกว่าสมณะ

๒. สมณะย่อมไม่เห็นแก่ลาภสักการะ สมณะย่อมดำรงชีพอยู่เพียงเพื่อความเพียรเท่านั้น ไม่เห็นแก่ตัว ไม่เห็นแก่กิน ย่อมเว้นขาดจากมิจฉาชีพทุกชนิด

๓. สมณะต้องบำเพ็ญสมณธรรม สมณะย่อมไม่นั่งกินนอนกิน มีชีวิตเพียงไปวันหนึ่ง ๆ แต่ต้องฝึกตนให้เข้าถึงความเป็นสมณะที่ดียิ่งขึ้น

๔. สมณะต้องบำเพ็ญตบะ หมายถึง การทำความเพียรเพื่อละกิเลส ต้องทำทุกอย่างเพื่อเอาชนะกิเลสให้ได้ เช่น เดินจงกรม นั่งสมาธิ สมาทานธุดงค์ เป็นต้น

การได้พบเห็นสมณะหรือคบหาสมณะนี้ เป็นเหตุให้ได้พบเห็นตัวอย่างที่ดีจากการปฏิบัติ จากการศึกษาค้นคว้า จากการดำเนินชีวิตที่สันโดษ มักน้อย กินน้อย ใช้น้อย ใช้ชีวิตแบบเรียบง่ายของสมณะและทำให้ได้คุณค่าที่มีประโยชน์มากที่สุดให้แก่ชีวิต และย่อมได้รับการอนุเคราะห์จากท่าน ดังนี้ คือ

  ๑. ห้ามทำความชั่วทุกอย่าง

  ๒. ให้ตั้งอยู่แต่ในความดีความถูกต้อง

  ๓. อนุเคราะห์ด้วยน้ำใจที่บริสุทธิ์และดีงาม

  ๔. ให้ได้ฟังให้ได้ยินให้ได้รู้แต่ในสิ่งที่ไม่เคยได้ฟังไม่เคยได้รู้มาก่อน

  ๕.ได้มีโอกาสทำสิ่งที่ได้ฟังแล้วให้แจ่มแจ้งให้เข้าใจที่ถูกต้อง

  ๖. ได้บอกทางสวรรค์หรือทางแห่งความเจริญให้นำมาปฏิบัติ

..  การสนทนาธรรมตามกาล

เมื่อบุคคลได้เห็นสมณะผู้สงบแล้ว จิตใจย่อมน้อมไปสู่ความดีงาม ฝักใฝ่คุณความดีและแสวงหาคุณความดียิ่ง ๆ ขึ้นไป วิธีหนึ่งซึ่งจะช่วยพัฒนาจิตใจและพัฒนาปัญญาของตน ก็คือ การสนทนาธรรมตามกาลที่ควร เป็นอุบายประคับประคองจิตใจให้ดำเนินไปในทางที่ถูกต้อง

)  ความหมายของการสนทนาธรรมตามกาลการพูดคุยกันด้วยธรรมะหรือการสนทนาธรรมนี้ ท่านผู้รู้ทั้งหลายกล่าวไว้ดังต่อไปนี้

ในเวลาพลบค่ำหรือในเวลาใกล้รุ่ง ภิกษุผู้เรียนพระสูตร ๒ รูป ย่อมสนทนาพระสูตรกะกันและกันภิกษุผู้ทรงวินัย ย่อมสนทนาพระวินัยภิกษุผู้เรียนอภิธรรม ย่อมสนทนาพระอภิธรรมภิกษุผู้กล่าวชาดก ย่อมสนทนาชาดกภิกษุผู้เรียนอรรถกถา ย่อมสนทนาอรรถกถา, หรือภิกษุย่อมสนทนากันในกาลนั้นๆ เพื่อจะชำระจิตที่หดหู่ฟุ้งซ่าน และที่ถูกวิจิกิจฉาครอบงำ นี้ชื่อว่า การสนทนาธรรมตามกาล[1]พระอุบาลีคุณูปมาจารย์ กล่าวว่า  คำที่ว่าสนทนาก็คือไต่ถามพูดจากันในข้ออรรถข้อธรรมแก่กันและกัน นั่นแหละชื่อว่า ธมฺมสากจฺฉา[2]

การสนทนาธรรม ที่ใช้ในคำว่า ธรรมสากัจฉา หมายความว่า เราพูดเขาฟัง เขาพูดเราฟัง ผลัดกันฟังผลัดกันพูด ซึ่งมีความแตกต่างจากการฟังธรรม การฟังธรรมเป็นงานทางจิตใจที่หนัก เป็นการฝึกจิตใจที่ยาก การฟังธรรมต้องฟังด้วยใจ การควบคุมจิตใจให้หยิบเอาประโยชน์จากการฟังนั้นยากยิ่งกว่าการควบคุมจิตใจในการพูดให้คนอื่นฟัง โดยสรุปแล้ว การฟังธรรมจะต้องต่อสู้กับความยากอยู่ ๒ อย่าง คือ ยากที่จะควบคุมจิตใจให้ฟังธรรม และยากที่จะรับเอาธรรมะเข้าสู่จิตใจ แต่การสนทนาธรรมในมงคลข้อนี้ยิ่งยากกว่าการฟังธรรมอีก เพราะเป็นการพูดคุยซักถามธรรมะซึ่งกันและกันระหว่างคนตั้งแต่สองคนขึ้นไป การสนทนาธรรมตามกาล คือการสนทนาหลักธรรมคำสอนในพระพุทธศาสนา เป็นการสนทนาธรรมตามโอกาสและเวลาที่เหมาะสม โดยนำหลักธรรมที่ได้เล่าเรียนศึกษามาเพื่อให้รู้ว่าสิ่งใดเป็นความชั่วจะได้ละเว้นเสีย สิ่งใดเป็นกุศลจะได้ตั้งใจทำให้มาก ตลอดจนการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นหรือประสบการณ์เกี่ยวกับธรรมะ สามารถฟื้นฟูทบทวนและระลึกความจำถึงหัวข้อธรรม ทำให้มีความรู้แตกฉานในวิชาการ สามารถชำระ จิตให้สะอาดไม่หงอยเหงา มีจิตใจเบิกบาน เฉลียวฉลาดซึ่งจะเป็นประโยชน์ในการดำรงชีวิต

) กาลที่ควรสนทนาธรรม กาลที่ควรสนทนาธรรมพระพุทธเจ้าตรัสไว้ในปัญจมวรรค ตติยปัณณาสก์ ในจตุกกนิบาต อังคุตตรนิกายว่า

ภิกษุทั้งหลาย กาล ๔ อย่างนี้ เมื่อใครอบรมบ่มนิสัยของตน ประพฤติตนให้ดีถูกชอบ ก็จะให้เขาได้บรรลุถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลายโดยลำดับ กาล ๔ อย่าง คือ ฟังธรรมตามกาล สนทนาธรรมตามกาล แสดงธรรมตามกาล เจริญวิปัสสนาธรรมตามกาล ภิกษุทั้งหลาย กาล ๔ อย่างนี้แหละ เมื่อใครอบรมบ่มนิสัยของตน ประพฤติตนให้ดีถูกชอบ จะให้เขาได้บรรลุถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย[3]

.๗ หลักจริยศาสตร์ด้านคุณธรรม

ในมงคลสูตรส่วนนี้ พระพุทธองค์ต้องการเน้นหลักธรรมที่ช่วยเสริมศักยภาพภายในของมนุษย์ หรือหลักธรรมที่ช่วยเสริมบุคลิกภาพของมนุษย์ให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น ได้แก่ ๑. ความไม่ประมาทในธรรม ๒. การมีสัมมาคารวะ ๓. ความอ่อนน้อมถ่อมตัว ๔. ความสันโดษ ๕. ความกตัญญู

..๑ ความไม่ประมาทในธรรม

ผู้ที่จะสร้างความก้าวหน้าทางจิตใจ จะต้องเป็นผู้ไม่ประมาทในทุก ๆ เรื่อง ความไม่ประมาทเป็นหัวใจของการประพฤติปฏิบัติในชีวิตประจำวัน มีอุปการะมากในธรรมอันหาโทษมิได้ เพราะเป็นไปเพื่อก่อให้เกิดกุศลความดีงามเพียงฝ่ายเดียว เพราะพระพุทธเจ้าตรัสไว้ในอัปปมาทวรรค สังยุตตนิกายว่า  ภิกษุทั้งหลาย กุศลธรรมเหล่าใดเหล่าหนึ่งนั้นทั้งหมด มีความไม่ประมาทเป็นมูลประชุมลงในความไม่ประมาท ความไม่ประมาทบัณฑิตกล่าวว่าเป็นยอดแห่งกุศลทั้งหลาย[4]

ความไม่ประมาทเป็นเหตุให้บรรลุคุณธรรมขั้นสูงสุด ท่านอุปมาไว้ว่า รอยเท้าของสัตว์ทั้งหลายผู้เที่ยวไปบนพื้นปฐพีทุกจำพวก ย่อมถึงความรวมลงในรอยเท้าช้าง ชาวโลกย่อมกล่าวว่า รอยเท้าช้างเป็นยอดแห่งรอยเท้าของสรรพสัตว์เหล่านั้น เพราะเป็นรอยเท้าใหญ่โตฉันใด กุศลธรรมทั้งหลายทุกประเภท มีความไม่ประมาทเป็นมูล รวมลงในความไม่ประมาท ความไม่ประมาทบัณฑิตย่อมกล่าวว่าเป็นยอดแห่งกุศลธรรมทั้งหลายฉันนั้น เพราะฉะนั้น พระพุทธเจ้าจึงตรัสปัจฉิมโอวาทเตือนภิกษุทั้งหลายไม่ให้ประมาทว่า  ภิกษุทั้งหลาย บัดนี้ เราขอเตือนเธอทั้งหลายสังขารทั้งหลายเป็นของไม่เที่ยง มีความเสื่อมไปเป็นธรรมดา เธอทั้งหลายจงบำเพ็ญประโยชน์ตนและประโยชน์ท่านให้ถึงพร้อมด้วยความไม่ประมาทเถิด[5]

)  ความหมายของการไม่ประมาทในธรรม การไม่ประมาทในธรรม คือ การไม่ดูถูก ยอมรับ นับถือ และยกย่องพระธรรมคำสั่งสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้านี้  ท่านผู้รู้ทั้งหลายกล่าวไว้ดังต่อไปนี้

สมเด็จพระสังฆราช (จวนอุฏฐายี) กล่าวว่า

ความไม่ประมาทในธรรมทั้งหลาย ธรรมในที่นี้ หมายถึง ความชั่วและความดีทั้งปวง ในความชั่วก็ไม่ประมาท คือ ไม่ดูหมิ่นว่าไม่เป็นไร แม้เพียงเล็กน้อยก็รีบละเสีย ไม่ปล่อยให้ความชั่วสะสมเพิ่มขึ้น หมั่นขจัดเพียรละความชั่วให้หมดสิ้นไป ในด้านความดีก็ตั้งใจเพียรพยายามขะมักเขม้นกระทำ ไม่ดูหมิ่นว่าเล็กน้อย แล้วทอดธุระ ละเลยเสีย ขยันเพิ่มพูนสะสมความดี เมื่อความชั่วหมดไป ความดีเพิ่มพูนเต็มเปี่ยมก็บริบูรณ์ด้วยสันติสุข การมีสติสัมปชัญญะกำกับอยู่เสมอ ไม่เผลอตัวหลงลืม มีความตั้งใจที่จะเว้นสิ่งชั่วหยุดทำชั่ว มีความขยันหมั่นเพียรสร้างความดี สะสมความดี ความไม่ประมาทเป็นยอดธรรมประจำใจ เป็นมูลเหตุให้ความชั่วอกุศลธรรมเสื่อมหายไปและเพิ่มพูนความดีกุศลธรรมให้เกิดขึ้นในจิตใจ[6]

พระเทพปริยัติโมลี กล่าวว่า  ความไม่ประมาทคือการไม่ปล่อยสติสัมปชัญญะ จะทำกิจใดหน้าที่ใด มีสติสัมปชัญญะกำกับ มิเผลอไผลหลงลืม เตือนใจตนเอง ได้ตลอดเวลา ปลุกใจให้ตื่นตัวอยู่ทุกเมื่อ[7]

ความไม่ประมาทในธรรม คือการมีสติกำกับตัวเสมอ จะคิดจะทำจะพูดสิ่งใด ไม่ยอมถลำลงไปในความเสื่อมเสีย และไม่ยอมพลาดในโอกาสในการทำความดี ตระหนักดีถึงสิ่งที่ต้องทำถึงกิจกรรมที่ต้องเว้น ใส่ใจสำนึกอยู่เสมอในหน้าที่ ไม่ปล่อยปละละเลย กระทำด้วยความจริงจังและดำเนินรุดหน้าตลอดเวลาจิตมีสติกำกับอยู่ตลอดเวลา ทำให้คนไม่ลืมตัวไม่เผลอตัว ไม่เลินเล่อและไม่มัวเมา กล่าวสั้นๆ ความไม่ประมาทก็คือจิตมีสติ จิตคือธรรมชาติที่นึกคิดไปตามอารมณ์ที่ได้เห็น ได้ยิน ได้สัมผัส ได้รู้ ส่วนสติคือความระลึกได้ เป็นคุณธรรมที่ช่วยเตือนจิต ควบคุมจิตไม่ให้เผลอตัว ไม่ให้ประมาทในการกระทำ การพูดและการคิด ความไม่ประมาทนับเป็นคุณธรรมสำคัญที่สนับสนุนความดีให้งอกงาม และทำลายความชั่วร้ายให้หมดไป ตรงกันข้ามกับความประมาทซึ่งเป็นมูลเหตุสำคัญที่จะส่งเสริมความชั่วให้เพิ่มพูนและทำลายความดีให้สูญสิ้นไป

..  ความเคารพ

คารวะ ได้แก่ ความเคารพนับถือ การนอบน้อมต่อบุคคลหรือสิ่งที่ควรนอบน้อม สิ่งที่ควรเคารพนับถือ การทำความคารวะ ได้แก่ การทำความเคารพ ทำความนับถือ การทำจิตใจ ให้เข้มแข็ง ให้เด็ดเดี่ยว ให้หนักแน่น ให้เชื่อถือให้เชื่อฟัง ให้ยึดมั่นในพระพุทธเจ้า ในพระธรรม ในพระสงฆ์ ในมารดาบิดา และผู้ควรแก่การเคารพนับถือ  การเคารพเป็นคุณธรรมเฉพาะของมนุษย์ เป็นยอดดีของมนุษย์อย่างหนึ่ง มิใช่คุณธรรมพื้นหรือขั้นต่ำ แต่เป็นคุณธรรมชั้นสูงสูงจนกระทั่งคนใจต่ำปฏิบัติไม่ได้ พระบางรูปยอมต้องอาบัติ ทหารบางคนยอมถูกขัง คนบางคนบางพวกเสียสมบัติผู้ดี เพราะตัวต่ำไม่อาจทำคารวะซึ่งเป็นคุณธรรมขั้นสูงได้ เหมือนคนเตี้ยหยิบเอาของบนที่สูง ต้องฝืนตัวฝืนใจทำ ดังนั้น ท่านจึงจัดคารวธรรมไว้ในขั้นเกือบจะสูงสุดของมงคล

)  ความหมายของความเคารพ การแสดงความเคารพหรือแสดงความนับถือที่ตนเองมีแก่สิ่งต่าง ๆ เช่น การกราบไหว้พระรัตนตรัย เป็นต้น นี้ ท่านผู้รู้ทั้งหลายกล่าวไว้ดังต่อไปนี้สมเด็จพระสังฆราช (จวนอุฏฐายี) กล่าวว่า ความเคารพได้แก่กิริยาอาการยกย่องเชิดชูบุคคลหรือสิ่งที่ควรยกย่องเชิดชู ได้แก่ การกราบ การไหว้ อ่อนน้อม การต้อนรับ การสำรวมกิริยาให้สงบ และมีความเอื้อเฟื้อเอาใจใส่แสดงให้เห็นน้ำใจว่าตั้งใจยกย่องเชิดชูให้สมควรแก่ฐานะ[8] คารวะคือความเคารพนี้เป็นคุณธรรมอย่างหนึ่ง อยู่ในจิตใจของผู้ที่มีคารวะไม่ได้หมายเพียงการกระทำกราบๆ ไหว้ๆ ซึ่งเป็นเพียงกิริยาแสดงคารวะเท่านั้น ผู้ที่ไม่มีคารวธรรมในจิตใจเลยอาจจะแสร้งทำด้วยความจำใจก็ได้ การทำคารวะกับการมีคารวะจึงไม่เหมือนกันความเคารพเป็นมารยาททางสังคมที่แสดงออกโดยการไหว้ การคำนับ การยืนตรง ฯลฯ ซึ่งเราได้ปฏิบัติอยู่เป็นประจำ บางครั้งเห็นเขาทำเราก็ทำตาม บางครั้งคนอื่นสอนให้ทำ  ความเคารพ คือ การตระหนักในความดีของคนอื่นและสิ่งอื่น เราตระหนักในความดีของผู้ใดและสิ่งใด ก็หมายความว่าเรามีคารวะต่อผู้นั้นและสิ่งนั้น และคนที่จะตระหนักในความดีของผู้อื่นแลสิ่งอื่น ต้องมีของดีอย่างหนึ่งเป็นทุนอยู่ในใจก่อน คือ มีปัญญา ความรู้จักผิดชอบชั่วดีพอสมควร คนที่มีคารวะแล้วจะต้องมีปัญญาอยู่ด้วยเสมอ

)  สิ่งที่ควรเคารพ ในทางพระพุทธศาสนาได้แสดงถึงบุคคลและสิ่งของที่ควรเคารพไว้ ๖ ประการ[9]คือ

. พระพุทธเจ้า

. พระธรรม

. พระสงฆ์

. การศึกษา

. ความไม่ประมาท

. ปฏิสันถาร

)  วิธีแสดงความเคารพ ในทางพระพุทธศาสนาได้แสดงถึงวิธีการเคารพบุคคลและสิ่งของที่ควรเคารพไว้ด้งนี้

๑. พระพุทธเจ้า คือ ให้ตระหนักถึงคุณงามความดีอันมีอยู่ในพระองค์

๒. พระธรรม คือ ให้ตระหนักถึงคุณประโยชน์อันยิ่งใหญ่ของพระธรรมคำสั่งสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

๓. พระสงฆ์ คือ ให้ตระหนักถึงคุณงามความดีของพระสงฆ์ผู้ปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ ปฏิบัติตรง ปฏิบัติถูกต้องตามพระธรรมวินัย

๔. การศึกษา คือ ให้ตระหนักถึงคุณค่าของการศึกษาเล่าเรียน ไม่เกียจคร้าน

๕. ความไม่ประมาท คือ ให้ตระหนักถึงคุณประโยชน์ของการมีชีวิตที่ประกอบด้วยสติสัมปชัญญะ

๖. ปฏิสันถาร คือ ให้ตระหนักถึงคุณประโยชน์อันจะพึงเกิดขึ้นจากการต้อนรับแขก

..๓ ความประพฤติถ่อมตน

สำหรับมงคลข้อนี้คำว่า “นิวาตะ” แปลว่า ความถ่อมตัว ซึ่งต่างจากความเคารพหรือคารวะ คารวะหมายถึงการตระหนักในความดีของคนอื่นสิ่งอื่น นิวาตะ คือ ความถ่อมตัว หมายถึง การถ่อมใจของเราลง กล่าวอีกนัยหนึ่ง การบำเพ็ญคารวะต้องปรารภคนอื่น ส่วนการบำเพ็ญนิวาตะต้องปรารภตนเอง คารวะเรามองคุณความดีของคนอื่น ส่วนนิวาตะเรามองความบกพร่องของตัวเอง และปรับใจตัวเราเองให้เหมาะสมที่จะรับถ่ายทอดความดีจากคนอื่น คนที่มีคารวะแล้วไม่แน่ว่าจะมีนิวาตะ คือ คนถ่อมตัวหรือไม่ เพราะบางคนตระหนักในความดีของคนอื่นและสิ่งอื่น แต่ยังมีกิเลสหนาอยู่ในใจ คือ ความทะนงตัวอวดดื้อถือดี เอาตัวเข้าไปเทียบว่าข้านี้ก็แน่ ข้าก็คือผู้วิเศษ ไม่สามารถน้อมตัวเพื่อถ่ายทอดคุณความดีของผู้อื่นได้อย่างเต็มที่

๑ ความหมายของการประพฤติถ่อมตัวการอ่อนน้อมถ่อมตัวหรือการเป็นผู้ไม่มีความแข็งกระด้างนี้ ท่านผู้รู้ทั้งหลายกล่าวไว้ดังต่อไปนี้

ความเป็นมีใจอ่อนน้อม คือความเป็นผู้ประพฤติถ่อมตน ชื่อว่า นิวาตะ (ความประพฤติถ่อมตน) บุคคลผู้ประกอบแล้วด้วยความเป็นผู้ประพฤติถ่อมตนใด เป็นผู้ขจัดมานะเสียได้ ขจัดความกระด้างเสียได้ เป็นผู้เช่นกับด้วยท่อนผ้าสำหรับเช็ดเท้า เสมอด้วยโคผู้ตัวเขาหัก และเป็นผู้เสมอด้วยงูพิษที่ถูกถอนเขี้ยวแล้ว มีวาจาอ่อนหวาน มีวาจานิ่มนวล มีวาจาน่าปลื้มใจ นี้ชื่อว่า นิวาตะ[10]

สมเด็จพระสังฆราช (จวนอุฏฐายี) กล่าวว่า

ความถ่อมตัวหรือไม่เย่อหยิ่ง ความอ่อนน้อม อ่อนโยน ไม่ถือตัวดูหมิ่นผู้อื่นเป็นเหตุให้ผู้อื่นรักใคร่เอ็นดู มีเมตตาปรารถนาให้มีความสุข ความเจริญ ผู้ใดเป็นที่รักของชนมาก ผู้นั้นย่อมได้รับความสะดวกในกิจการทั้งปวง นำตนไปสู่ความเจริญด้วยอิสริยยศและบริวารสมบัติ[11]

พระธรรมโกศาจารย์ กล่าวว่า

นิวาโต แปลตรงศัพท์ว่า ไม่มีลม คือไม่แสดงอาการอบ่างพองลมหรือลูกโป่ง อันไม่มีสาระภายใน โดยใจความนั้นหมายความว่า ไม่หยิ่ง ไม่จองหอง เจียมตัวหรือถ่อมตน ท่านแสดงลักษณะบุคคลผู้เป็นเช่นนั้นว่า เป็นผู้ไม่มีมานะ ไม่กระด้าง เป็นคนไม่มีพิษ ประดุจงูที่ถอนเขี้ยว มีวาจาอันละเอียดอ่อน ไพเราะเสนาะโสต แม้จะเป็นผู้มีอิสริยวัยหรือคุณสมบัติมาก ก็ไม่กระด้างเพื่อจะทำคารวะอ่อนน้อมต่อผู้อื่นโดยฐานะอันสมควร[12]

ความถ่อมตัว หมายถึง ไม่พองลม เอาลมออกแล้ว คือ เอามานะทิฐิออก มีความสงบเสงี่ยมเจียมตน ไม่อวดตน ไม่ทะนงตน ไม่มีความมานะถือตัว ไม่อวดดื้อถือดี ไม่ยโสโอหัง ไม่ดูถูกเหยียดหยามใคร ไม่กระด้าง ไม่เย่อหยิ่งจองหอง ความถ่อมตนเป็นการปรามตนเอง คอยพิจารณาข้อบกพร่องของตน จับผิดตนเองสามารถประเมินค่าตนเองได้ถูกต้องตามความเป็นจริง

ความสุภาพอ่อนน้อมถ่อมตน เป็นมารยาททางสังคม ความถ่อมตน เป็นจริยที่มีความสำคัญมากในการครองตน การบริหารงานบุคคล การบริหารงานบุคคล การบริหารงานทั่วไป การติดต่อประสานงานและการสร้างมนุษย์สัมพันธ์ที่ดีนั้น ความสุภาพอ่อนน้อมถ่อมตนเป็นสิ่งที่สำคัญมาก การฝึกฝนตนเองให้มีความถ่อมตน ช่วยพัฒนาบุคลิกภาพให้สุภาพ นุ่มนวล เป็นที่รักของบุคคลทั่วไปและผู้ที่เราได้พบปะสนทนาด้วย

..ความสันโดษ

เรื่องสันโดษเป็นเรื่องหนึ่งที่ยังมีผู้เข้าใจผิดกันอยู่มาก บางทีก็เข้าใจว่า เพราะธรรมว่า “สันโดษ” นี้เองจึงทำให้คนเกียจคร้าน ทำให้คนยากจน ทำให้ชาติบ้านเมืองไม่เจริญเติบโตไม่พัฒนาเท่าที่ควร เนื่องจากสอนให้คนสันโดษมักน้อย คือ พยายามจะเอาคำว่ามักน้อยไปขยายคำว่า “สันโดษ” หรือเข้าใจว่า มักน้อยกับสันโดษ เป็นคำมีความหมายเดียวกัน ความจริงแล้วสันโดษกับมักน้อยไม่ใช่อันเดียวกันเป็นคนละเรื่องกัน แต่ทั้งสองคำก็เป็นข้อปฏิบัติในพระพุทธศาสนาเหมือนกัน ใช้คนละวาระและคนละความมุ่งหมาย จึงควรทำความเข้าคำว่า “สันโดษ” ก่อน

) ความหมายของความสันโดษ การเป็นผู้มีความมักน้อยโดยคำนึงถึงความสามารถ กำลังสติปัญญา และความเหมาะสมที่จะพึงมีแก่ตนเองนี้ ท่านผู้รู้ทั้งหลายกล่าวไว้ดังต่อไปนี้  ความสันโดษด้วยปัจจัยตามมีตามได้ ชื่อว่า สนฺตุฎฐิ บุคคลชื่อว่า เป็นผู้สันโดษ เพราะยินดีด้วยปัจจัยตามมีตามได้[13]

สมเด็จพระสังฆราช (จวนอุฏฐายี) กล่าวว่า สันโดษ แปลว่า ความยินดี จำแนกออกเป็น ๓ ประการ คือ

. ความยินดีของของตน หมายถึง ความยินดีในสิ่งที่ตนหามาได้โดยชอบธรรมด้วยน้ำพักน้ำแรงของตน ตนสร้างขึ้นได้เอง ด้วยปัญญาความคิดของตน

. ความยินดีกับของที่ตนมีอยู่ ได้แก่ ทรัพย์สินที่ตนเองเก็บสะสมไว้และใช้จ่ายเพื่อการลงทุนประกอบอาชีพ เช่น ทำไร่ ทำสวน ค้าขาย

. มีความยินดีใจในสิ่งที่ชอบธรรม หมายความว่าของที่ตนได้มาและสิ่งที่มีอยู่นั้นเป็นสิ่งที่ไม่ผิดกฎหมาย ไม่ผิดศีลธรรม[14]

พระเทพปริยัติโมลี กล่าวว่า  “สันโดษ หมายถึง ความยินดีพอใจในวัตถุ ปัจจัยที่หามาหรือในผลงานที่ทำสำเร็จขึ้นด้วยเรี่ยวแรงความพยายามของตน ในทางที่ชอบธรรมแล้วสร้างความพอดีไว้ในใจ ในการเสวยผลจากวัตถุปัจจัยหรือผลงานนั้น”[15]

สันโดษ หมายถึง ความเป็นผู้มีความยินดีโดยอาการสม่ำเสมอ ยินดี ชอบใจ พอใจ อิ่มใจ จุใจ กับของของตนโดยมีความยินดี ตามมี ตามได้และตามสมควรพอใจ ชอบใจ อิ่มใจ จุใจ สุขใจ กับสิ่งที่เป็นของๆ ตนก็ได้ มีความพอใจกับสิ่งที่ตนทำมาหาได้โดยชอบธรรม จะมีจำนวนมากหรือน้อยก็ได้ นี้คือความหมายของคำว่าสันโดษ เป็นการพัฒนาความรู้จักพอ มีความขยันหมั่นเพียรในการประกอบสัมมาชีพ มีความยินดีพอใจ ในสิ่งที่ตนหามาได้ ไม่คิดโลภอยากได้ทรัพย์ของผู้อื่น ด้วยการยักยอก เบียดบังหรือทุจริต

) ลักษณะของความสันโดษปัจจัย ๔ ใดอันอุปัชฌาย์แสดงในมณฑลที่อุปสมบทว่า

ปิณฺฑิยาโลปโภชนํ นิสฺสาย เป็นต้น อันตนเองรับแล้ว ปัจจัยนั้น ชื่อว่า สกํ (ของตน) ภิกษุไม่แสดงวิการทั้งในเวลารับ ทั้งในเวลาบริโภค ยังอัตภาพให้เป็นไปด้วยปัจจัย ๔ นั้น ที่ดีหรือไม่ดี ซึ่งทายกถวายแล้ว โดยเคารพหรือไม่เคารพก็ตามพระผู้มีพระภาคตรัสว่าผู้สันโดษด้วยปัจจัยของตน

ปัจจัย ๔ ใด ย่อมเป็นของอันตนได้แล้ว คือมีอยู่แก่ตน ปัจจัย ๔ นั้น ซึ่งมีอยู่เท่านั้น ไม่ปรารถนาปัจจัยอื่นไปจากปัจจัยนั้น ละความเป็นคนมักมากเสีย พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ผู้สันโดษด้วยปัจจัยที่มีอยู่

การละความยินดียินร้าย ในอิฏฐารมณ์และอนิฏฐารมณ์ ชื่อว่า สมํ (สม่ำเสมอ) ภิกษุยินดีอยู่ในอารมณ์ทั้งปวง โดยความสม่ำเสมอนั้น พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ผู้สันโดษโดยสม่ำเสมอ[16]

สรุปความสันโดษมีลักษณะดังต่อไปนี้

๑.สเกน สันโดษ ได้แก่ การยินดีกับทรัพย์สมบัติที่ตนเองมีอยู่

๒.สันเตน สันโดษ ได้แก่ การยินดีกับทรัพย์สมบัติที่ตนเองแสวงหามาได้

๓.สเมน สันโดษ ได้แก่ การยินดีกับทรัพย์สมบัติที่ตนเองครอบครองอยู่หรือรู้จักประมาณ

)  เกณฑ์ตัดสินความสันโดษ ความสันโดษมีเกณฑ์พิจารณาหรือตัดสินดังนี้

. ยถาลาภสันโดษ ได้แก่ การพอใจกับทรัพย์สมบัติที่ตนเองหามาได้

. ยถาพลสันโดษ ได้แก่ การพอใจกับทรัพย์สมบัติที่ตนเองหามาได้ด้วยกำลัง

. ยถาสารุปสันโดษ ได้แก่ การพอใจตามสมควรกับทรัพย์สมบัติที่ตนเองได้มาและหามาได้ด้วยกำลังของตน[17]

..  ความกตัญญู

มงคลข้อกตัญญูนี้ได้กล่าวไว้ในมงคลข้อการบำรุงเลี้ยงดูมารดาบิดา ในหัวข้อคุณธรรมของบุตรธิดาซึ่งได้อธิบายคู่กับกตเวที คือ การรู้อุปการคุณที่ท่านทำแล้ว ตอบแทนคุณให้ท่านด้วยการประกาศคุณและสนองคุณท่าน อันเป็นคุณธรรมเฉพาะของบุตรธิดาที่จะต้องประพฤติปฏิบัติ เป็นคุณธรรมพื้นฐานของคน คือ เป็นพื้นฐานของคนดี จัดเป็นคุณธรรมขั้นสามัญ เป็นการรู้อุปการคุณที่คนอื่นทำให้แก่ตน จะรับรองใครว่ามีคุณ ก็ต่อเมื่อเขาทำอะไรให้แก่ตนเท่านั้น เช่น รับว่ามารดาบิดามีคุณ ก็เพราะเลี้ยงตัวเรามา รับว่าครูอาจารย์มีคุณ เพราะท่านได้สอนวิชาความรู้ให้แก่เรามา เป็นต้น สรุปว่าความกตัญญูขั้นสามัญหมายถึงการรูอุปการคุณที่เขาทำให้แก่เรา

)  ความหมายของความกตัญญู การเป็นผู้รู้อุปการะที่ผู้อื่นได้กระทำแก่ตนเองหรือความเป็นผู้มีกตัญญูกตเวทีนี้ ท่านผู้รู้ทั้งหลายกล่าวไว้ดังต่อไปนี้

สมเด็จพระสังฆราช (จวนอุฏฐายี) กล่าวว่า

ความเป็นกตัญญู หมายถึง ความไม่ลบหลู่บุญคุณท่าน จะเป็นใครก็ตามถ้ามีบุญคุณกับตนแล้วต้องไม่ลบหลู่ ต้องยกย่องและพยายามตอบสนองคุณตามความสามารถ ความเป็นผู้กตัญญูเป็นภูมิธรรม เป็นประเพณีของคนดี เช่น บุตรมีความกตัญญูรู้คุณของบิดามารดา ตลอดถึงบุรพชนต้นตระกูล ที่ได้ก่อสร้างทรัพย์สมบัติ และคุณความดีช่วยกันรักษาสมบัติของชาติ เช่น แดนดินถิ่นประเทศ ส่วนกตเวทีนั้น หมายถึง ผู้ตอบแทนสนองอุปการะคุณ เช่น ศิษย์มีความสำนึก รู้คุณของครูอาจารย์ จึงเคารพเชื่อฟังคำสั่งสอน เคารพในการศึกษา ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความสมบูรณ์ ไม่บกพร่อง เป็นต้น[18]

พุทธทาสภิกขุ กล่าวว่า

ความรู้และยอมรับรู้ในบุญคุณของผู้อื่น ที่มีอยู่เหนือตนเรียกว่า กตัญญุตา การพยายามทำตอบแทนบุญคุณนั้น ๆ เรียกว่า กตเวทิตา คนที่รู้บุญคุณ เรียกว่า คนกตัญญู คนที่ทำตอบแทน เรียกว่า คนกตเวที กตัญญูกตเวทิตา หมายถึง ความรู้บุญคุณท่านแล้วทำตอบให้ปรากฏ นี้เป็นธรรมประคองโลกให้เป็นอยู่ได้ และอยู่ได้ด้วยความสงบสุข ขนบธรรมเนียมประเพณีที่ดีงามทั้งหลายของคนไทย ล้วนแต่มีความกตัญญูกตเวที่ตั้งสำคัญ และทั้งเป็นไปเพื่อรักษาส่งเสริมคุณธรรมข้อนี้ ให้คงมีอยู่ในโลกอย่างแน่นแฟ้นพร้อมกันไปในตัว[19]

ความกตัญญู คือความเป็นผู้มีใจกระจ่าง มีสติ ปัญญาบริบูรณ์ รู้อุปการะคุณผู้อื่นกระทำแล้วแก่ตน ผู้ใดที่ทำคุณแก่ตนแล้ว ไม่ว่าจะมากก็ตามน้อยก็ตาม เช่น เลี้ยงดู สั่งสอนความกตัญญูข้อนี้ ท่านจัดไว้ในลำดับสูง เป็นเรื่องของการฝึกอบรมจิตใจให้สูงขึ้น ประณีตขึ้นตามลำดับ จัดเป็นกตัญญูขั้นสูง เป็นกตัญญูในวงกว้าง คือ สูงหรือกว้างกว่ากตัญญูกตเวที เรียกว่ากตัญญูขั้นสัตบุรุษซึ่งหมายถึงการรู้เห็นความดีอันมีอยู่ในตัวคนอื่น ใครมีคุณความดีก็รู้ว่าเขาดี ไม่ว่าเขาจะทำอะไรให้เราหรือไม่ก็ตาม คนที่ไม่เป็นสัตบุรุษนั้นยากที่จะรับรู้ว่าคนอื่นดี ถ้าตัวเองไม่ได้รับประโยชน์จากเขา แม้เขาจะมีคุณความดีมากมายและเป็นผู้ที่ทำประโยชน์แก่สังคมและประเทศชาติก็ตาม หากตัวคนเดียวไม่ได้รับผลประโยชน์หรือเสียประโยชน์ไปบ้าง ก็ไม่ยอมรับรู้ความดีของเขาถึงกับโพนทนาว่าร้ายเขาให้เสียหาย เป็นต้น ความกตัญญูกตเวทีนี้ คือความรู้และการยอมรับรู้ในบุญคุณของบุคคล สัตว์ สิ่งของและธรรมชาติ ที่มีต่อตัวเราทั้งทางตรงและทางอ้อม และพยายามกระทำตอบด้วยการทดแทนพระคุณ ช่วยเหลืออุปการะ ยกย่อง บำรุง รักษาให้คงอยู่ เพื่อความสงบสุขของสังคม และเพื่อความสมดุลทางธรรมชาติ

) สิ่งที่ควรกตัญญู สิ่งที่ควรแสดงความกตัญญูกตเวทีแบ่งออกเป็น ๕ ประเภท ได้แก่

๑. กตัญญูต่อบุคคล  ได้แก่ พระพุทธเจ้า บิดามารดา ครูอาจารย์ และบุคคลอื่นๆ เช่น เพื่อนๆ ที่มีพระคุณต่อเรา

๒. กตัญญูต่อสัตว์ คือ สัตว์ทุกประเภทที่มีคุณต่อเรา

๓. กตัญญูต่อสิ่งของ คือ สิ่งของทุกประเภทที่มีคุณประโยชน์ต่อเรา

๔. กตัญญูต่อสถาบัน คือ สถาบันชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์

๕. กตัญญูต่อตนเอง คือ รู้จักและมองเห็นคุณค่าของตัวเอง

๖. กตัญญูต่อธรรม คือ รู้จักและเข้าใจถึงความเป็นจริงของสัจธรรม



[1]มงฺคลตฺถทีปนี. ๔ / ๒๓๗.

[2]พระอุบาลีคุณูปมาจารย์, เรื่องเดียวกัน, หน้า ๑๐๔.

[3]องฺ. จตุกก. ๒๑ / ๑๔๗ / ๑๖๕.

[4]สํ. มหา. ๑๙ / ๒๑๒ / ๑๕๘.

[5]ที. มหา. ๑๐ / ๒๑๘ / ๑๖๘.

[6]สมเด็จพระสังฆราช (จวนอุฏฐายี), เรื่องเดียวกัน, หน้า๑๙๐-๑๙๑.

[7]พระเทพปริยัติโมลี, หลักการพัฒนาตน, (กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์เลี่ยงเซี่ยง, ม.ป.ป.), หน้า๒๙.

[8]สมเด็จพระสังฆราช(จวน อุฏฐายี),เรื่องเดียวกัน, หน้า๑๙๖.

[9]องฺ. ฉกฺก. ๒๒ / ๓๐๓ / ๓๖๘.

[10] มงฺคลตฺถทีปนี. ๔ / ๓๒.

[11]สมเด็จพระสังฆราช(จวน อุฏฐายี),เรื่องเดียวกัน, หน้า๒๐๖.

[12]พระธรรมโกศาจารย์, มงคลชีวิต, (กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ธรรมสภา, ๒๕๔๔),หน้า ๑๐๓.

[13]มงฺคลตฺถทีปนี. ๔ / ๔๓.

[14]สมเด็จพระสังฆราช(จวน อุฏฐายี),เรื่องเดียวกัน, หน้า๒๐๗-๒๑๗.

[15]พระเทพปริยัติโมลี, เรื่องเดียวกัน, หน้า๔๒.

[16]มงฺคลตฺถทีปนี. ๔ / ๔๓–๔๔.

[17]ที. อ. ๑ / ๒๕๓.

[18]สมเด็จพระสังฆราช(จวน อุฏฐายี),เรื่องเดียวกัน, หน้า๒๑๙-๒๒๔.

[19]พระธรรมโกษาจารย์(พุทธทาสภิกขุ),กตัญญูกตเวทีเป็นร่มโพธิ์ร่มไทรของโลก, (กรุงเทพฯ : ธรรมสภา, ๒๕๓๔),หน้า๓-๔.

 

.หลักจริยศาสตร์ด้านการปฏิบัติตนขั้นสูง

ในมงคลสูตรส่วนนี้ พระพุทธองค์ต้องการเน้นให้เห็นถึงกระบวนการปฏิบัติอันเป็นมรรควิธีหรือหนทางแห่งการเข้าถึงเสรีภาพอย่างแท้จริงทั้งกายและใจ โดยประกอบด้วยหลัก ๔ ประการ คือ

๑.ความมีตบะเป็นเครื่องเผาผลาญกิเลส

๒.การประพฤติพรหมจรรย์

๓.การเห็นแจ้งในอริยสัจ

๔.การรู้แจ้งซึ่งพระนิพพาน 

..  ความเพียร

การบำเพ็ญตบะนี้ได้มีมาก่อนพระพุทธศาสนาแล้ว เป็นเรื่องของศาสนาพราหมณ์ ต่อมาพระพุทธเจ้าได้ทรงสอนให้พุทธบริษัทบำเพ็ญตบะเหมือนกัน แต่มีความหมายและวิธีการบำเพ็ญที่แตกต่างกัน พระพุทธศาสนาซึ่งเผยแผ่อยู่ในกลุ่มของชาวฮินดูต้องการจะอธิบายธรรมะให้ชาวฮินดูสนใจและเข้าใจในคำสอนได้ง่าย จึงยืมถ้อยคำสำนวนของศาสนาพราหมณ์หรือลัทธิฮินดูมาใช้ แต่มาตีความแตกต่างกันไป ตัวอย่าง คำว่า “ยัญญะ” ฮินดู หมายถึง การฆ่าสัตว์บูชาเทพเจ้าที่เรียกว่า บูชายัญ ส่วนชาวพุทธเราหมายถึง การบริจาคทาน “พรหม” ฮินดู หมายถึง พระพรหมผู้สร้างโลก พุทธ หมายถึง บิดามารดา เป็นต้น คำว่า ตบะ ก็เช่นเดียวกัน การบำเพ็ญตบะของชาวฮินดู คือ การทรมานตนให้ลำบาก เพื่อตัดความรู้สึกทางกายเสีย วิญญาณจะได้บริสุทธิ์ถึงความเป็นพรหมเมื่อสิ้นชีพแล้ว เช่น การนั่งทรมานตน ท่ามกลางแดดที่ร้อนจัด ก่อไฟไว้รอบตัว ๕ กอง ห่างจากตัวประมาณ ๑ วา แล้วนั่งทำสมาธิ พยายามตัดความรู้สึกทางจิตออกจากกาย ทำอยู่อย่างนี้หลายๆ วันจนไม่รู้สึกร้อน วิธีการบำเพ็ญตบะอย่างนี้ จำทำให้วิญญาณบริสุทธิ์ตามคติของฮินดู นอกจากนี้ยังมีวิธีการทรมานตนอีกมาก เช่น การลงแช่น้ำเย็นในฤดูหนาว การเพ่งดูดวงอาทิตย์ขณะกำลังร้อนจัด เป็นต้น ตามพุทธประวัติจะเห็นว่าพระพุทธเจ้าเคยทรงบำเพ็ญตบะแบบฮินดูมาก่อน คือ ในระยะเวลา ๖ ปี ที่แสวงหาทางตรัสรู้ได้ทรงบำเพ็ญทุกรกิริยา คือ การทรมานพระวรกายอย่างยิ่งยวด แต่มิใช่หนทางจึงทรงละเสีย ครั้นพบเห็นทางที่ถูกต้องได้ตรัสรู้สัจธรรมแล้ว จึงทรงประกาศทางสายกลางเรียกว่า มัชฌิมาปฏิปทา หรือ มรรค ๘ นั่นเอง

) ความหมายของความเพียร การบำเพ็ญเพียรอันเป็นเครื่องเผาผลาญกิเลสต่างๆ มี โลภะ โทสะ และโมหะ เป็นต้น ท่านผู้รู้ทั้งหลายกล่าวไว้ดังต่อไปนี้

ธรรมเป็นเครื่องเผาผลาญบาป ชื่ว่า ตบ, ธรรมที่ชื่อว่า ตบะ เพราะอรรถว่าเผาผลาญซึ่งธรรมทั้งหลายอันลาม,  ขันติ ชื่อว่า ตบะศีล ชื่อว่า ตบะกิจมีการเรียนพระพุทธพจน์เป็นอาทิ ก็ชื่อว่า ตบะ[1]

พระอุบาลีคุณูปมาจารย์ กล่าวว่า

คำที่ว่า ตปธรรมนั้น ประสงค์ธรรมที่เผากิเลสให้เร่าร้อน มีหลายประเภท ขันติ ความอดทน ก็ชื่อว่าตปธรรม สมถวิปัสสนา ก็ชื่อว่าตปธรรม รวมความว่า ความเพียรประเภทใดอันกุลบุตรประกอบให้มีขึ้นในตัว เป็นเหตุยังกิเลสให้เร่าร้อน กิเลสตั้งอยู่ไม่ได้ ธรรมประเภทนั้น ชื่อว่าตบะ[2]

ตบะ ได้แก่ ธรรมที่มีเดช มีอานุภาพสามารถเผาผลาญบาปอกุศลให้หมดไป ความจริงแล้ว ธรรมคือเครื่องเผาผลาญบาปนั้น ว่าด้วยโดยสภาวะก็ได้แก่กุศลธรรมทั้งมวล  การทำความเพียรเผาผลาญกิเลส ซึ่งเป็นต้นเหตุของความชั่วให้หลุดพ้นออกจากจิต ทำให้จิตสะอาด ผ่องใส หมดความทุกข์ด้วยฝึกฝนตนให้มีความอดทน ความขยันหมั่นเพียรและการสำรวมอินทรีย์ เป็นต้นตบะ มาจากศัพท์ ตปะ แปลว่า ทำให้เร่าร้อน การทำอะไรก็ได้ให้ร้อนใช้คำว่า ตบะ ได้ทั้งนั้น ในมงคลสูตรท่านกล่าวว่า ธรรมเป็นเครื่องเผาผลาญบาป ชื่อว่า ตบะ ในที่นี้ ตบะ หมายถึง การทำให้ความชั่วร้อนตัว เพราะบาปหรือความชั่วก็เป็นของร้อน เผาใจคนให้เดือดร้อนตลอดมา เราจึงควรเผาความชั่ว ความหมายของคำว่า ตบะ ในพระพุทธศาสนา

) หลักแห่งการบำเพ็ญความเพียร  หลักปฏิบัติเพื่อเผาผลาญขับไล่กิเลสให้หลุดพ้นออกไปจากใจนั้นมี ๒ ประเภท คือ

๑. แบบค่อยเป็นค่อยไป (สัลเลขะ) เป็นการฝืนกิเลส โดยการปฏิบัติแบบค่อยเป็นค่อยไป ค่อยๆ ขัดเกลากันไป

๒. แบบหักโหมรุนแรง (ธุตังคะ) เป็นการเผาผลาญกิเลสที่หักโหมรุนแรงเด็ดขาดเป็นการปฏิวัติอุปนิสัยได้รวดเร็วฉับพลัน ผู้ปฏิบัติต้องมีความอดทน ความพากเพียร มีกำลังใจ มีความเกล้าหาญที่สูงมาก ซึ่งส่วนใหญ่เป็นแนวปฏิบัติสำหรับภิกษุ สำหรับฆราวาสก็เลือกปฏิบัติไปตามความเหมาะสม การบำเพ็ญตบะแบบหักโหมเรียกว่า “ธุดงค์วัตร”

..  พรหมจรรย์

ทางก้าวหน้าของชีวิตตามแนวทางของพระพุทธศาสนา เป็นหลักปฏิบัติในทางเหตุผลตามลำดับขั้น ในมงคลข้อนี้ เป็นการเปลี่ยนแปลงความเป็นอยู่ทางร่างกายและจิตใจครั้งใหญ่ ในทางร่างกายเป็นการเปลี่ยนแปลงจากเพศฆราวาสเป็นเพศพรหมจรรย์ ชีวิตพรหมจรรย์เป็นจุดสุดท้ายระหว่าง ๒ ภูมิ คือ โลกิยภูมิ กับ โลกุตรภูมิ เหมือนสนามบินเป็นสถานีต่อแดนระหว่างภาคพื้นดินกับภาคพื้นอากาศ การประพฤติพรหมจรรย์ เป็นการเตรียมเดินทางจากภูมิหนึ่งไปสู่อีกภูมิหนึ่ง คือ จากโลกิยะไปสู่โลกุตระ ดังนั้น จึงเตรียมตัวเตรียมใจเพื่อเดินทางไปสู่จุดหมายต่อไป เพราะว่าการประพฤติพรหมมจรรย์เป็นจริยธรรมเป็นวิธีการฝึกอบรมกาย วาจา ใจ ให้หมดจดปราศจากกิเลส ได้แก่การฝึกอบรมกายวาจาใจให้ห่างไกลจากราคะ โทสะและโมหะ  อันเป็นต้นเหตุแห่งการทำให้เกิดความทุกข์ความเดือนร้อน เป็นการปฏิบัติเพื่อมุ่งทำที่สุดแห่งความทุกข์ เพื่อตัดวัฏฏะการเกิด แก่ เจ็บ ตาย เพื่อเลื่อนฐานะของตัวเองให้บรรลุจุดหมายอันสูงสุดของชีวิต การประพฤติพรหมจรรย์นี้สามารถปฏิบัติได้ทั้งบรรพชิต และฆารวาส ผู้อยู่ครองเรือน เป็นการปฏิบัติเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิต ส่งผลให้ตัวเองมีความสุข มีความเจริญก้าวหน้า และทำให้สังคมมีความสงบสุข

) ความหมายของพรหมจรรย์ การประพฤติพรหมจรรย์หรือการประพฤติเพื่อความบริสุทธิ์หมดจดแห่งชีวิตของตนนี้ ท่านผู้รู้ทั้งหลายกล่าวไว้ดังต่อไปนี้

ชื่อว่าพรหมจรรย์มี ๑๐ อย่าง ด้วยสามารถแห่งทาน เวยยาวัจจะ เบญจศีล อัปมัญญา เมถุนวิรัติ สทารสันโดษ วิริยะ องค์อุโบสถ อรยมรรคและศาสนา[3]

สมเด็จพระสังฆราช (จวนอุฏฐายี) กล่าวว่า

การประพฤติพรหมจรรย์ คือ การงดเว้นจากกามคุณทั้งปวง อันเป็นเครื่องยั่วให้เกิดความใคร่ ความขัดใจ ความลุ่มหลงและความมัวเมา คฤหัสถ์ผู้ครองเรือนประพฤติพรหมจรรย์ด้วยการรักษาศีล มีการงดเว้นเมถุนธรรม คือ งดเว้นบริโภคกามในวันอุโบสถ ทำจิตใจให้ห่างไกลกามคุณ ด้วยการเจริญกรรมฐาน ๒ อย่าง คือ กายคตาสติและมรณัสสติ สำหรับบรรพชิต สมณะผู้สงบ ปฏิบัติสมณธรรม ได้แก่ ปาฏิโมกขสังวรศีล อินทรียสังวร อาชีวศีล และปัจจัยสันนิสสิตศีล เป็นหลักปฏิบัติเพื่อความบริสุทธิ์หลุดพ้นไปจาก วัตถุกามและกิเลสทั้งปวง[4]

การประพฤติพรหมจรรย์ เป็นการประพฤติที่ประเสริฐสูงขึ้น กล่าวคือชีวิตของคฤหัสถ์จะประพฤติพรหมจรรย์ได้ด้วยการรักษาอุโบสถศีล ในวันอุโบสถ ทำจิตใจให้ห่างไกลจากกามคุณ ปฏิบัติกรรมฐาน อบรมจิตใจให้สงบ ไม่หมกมุ่นในกาม เป็นกุศลวิธีที่จะพัฒนาจิตใจของตนให้สูงขึ้น ประณีตยิ่งขึ้น เป็นวิธีปฏิบัติเพื่อบรรเทาและลดละโลภะ โทสะ โมหะ ให้ลดน้อยลงตามความสามารถที่พึงจะกระทำได้  การประพฤติพรหมจรรย์ จึงเป็นการประพฤติตนตามคุณธรรมในศาสนาให้เคร่งครัดยิ่งขึ้น เพื่อสกัดกั้นและป้องกันไม่ให้กิเลสกลับฟูฟุ้งขึ้นมาอีก กล่าวโดยสรุป การประพฤติพรหมจรรย์มี ๑๐ ประการ คือ

๑.ทาน คือ การประพฤติพรหมจรรย์ด้วยการบริจาคทานเพื่อกำจัดความตระหนี่ 

๒.เวยยาวัจจะ คือ การประพฤติพรหมจรรย์ด้วยการช่วยขวนขวายทำกิจการงานที่เป็นบุญกุศล

๓.รักษาศีล คือ การประพฤติพรหมจรรย์ด้วยการรักษาศีล ๕ ศีล ๘ ศีล ๑๐ กุศลกรรมบถ ๑๐ และศีล ๒๒๗

๔.อัปปมัญญา คือ การประพฤติพรหมจรรย์ด้วยการเป็นอยู่ด้วยพรหมวิหารธรรม คือ เป็นผู้ที่มีความเมตตา กรุณา มุทิตา และอุเบกขาต่อคนอื่นเป็นหลักในการดำเนินชีวิต

๕.เมถุนวิรัติ คือ การประพฤติพรหมจรรย์ด้วยการงดเว้นจากการมีเพศสัมพันธ์ทุกชนิด

๖. สทารสันโดษ คือ การประพฤติพรหมจรรย์ด้วยการสันโดษ ยินดีอยู่แต่ในภรรยาสามีของตัวเอง ไม่มีเพศสัมพันธ์กับภรรยาสามีของคนอื่น

๗. วิริยะ คือ การประพฤติพรหมจรรย์เพื่อเพียรพยายามละความชั่ว พยายามทำ แต่ความดี

๘. อุโบสถศีล คือ การประพฤติพรหมจรรย์ด้วยการรักษาศีลอุโบสถ ๘ ประการ โดยเคร่งครัด

๙. อริยมรรค คือ การประพฤติพรหมจรรย์ด้วยการดำเนินชีวิตแบบมีอริยมรรคทั้ง ๘ ประการเป็นหลักในการดำเนินชีวิต

๑๐. ศาสนา คือ การประพฤติพรหมจรรย์ด้วยการประกาศศาสนา ได้แก่คำสั่งสอน

)  วิธีประพฤติพรหมจรรย์ การประพฤติพรหมจรรย์มีวิธีการดังนี้

๑. พรหมจรรย์เบื้องต้น ผู้ครองเรือนควรครองตนด้วยการรักษาศีล ๕ มีความพอใจในคู่ครอง

๒. พรหมจรรย์ขั้นกลาง ผู้ครองเรือนควรรักษาศีล ๕ เป็นประจำ และรักษาศีล ๘ เป็นครั้งคราว ควรรักษาศีล ๘ ทุกวันพระ เดือนละ ๔ ครั้ง

๓. พรหมจรรย์ขั้นสูง สำหรับผู้ครองเรือน ถือศีล ๘ ตลอดชีวิตและครองชีวิตที่ประเสริฐ ปฏิบัติตามหลักอริยมรรคมีองค์แปด สำหรับภิกษุก็ประพฤติสมณธรรม

พรหมจรรย์ทุกขั้นจะตั้งมั่นอยู่ได้ต้องอาศัยการฝึกสมาธิเป็นหลักพื้นฐานและพัฒนาคุณภาพชีวิตให้สูงขึ้นโดยการยึดหลักศีล สมาธิ ปัญญา

..  การเห็นอริยสัจ

หลักอริยสัจเป็นหลักคำสอนที่สูงสุดทางด้านจิตใจ และพระพุทธองค์ทรงค้นพบที่เรียกว่าตรัสรู้โดยพระปัญญาของพระองค์เอง กล่าวอีกนัยหนึ่ง คือ อริยสัจเป็นศาสตร์ที่มีประวัติเกิดขึ้นในโลกผิดแผกกว่าศาสตร์ทุกชนิด โดยแฝงสิ่งที่น่าสนใจอย่างยิ่งไว้ถึง ๓ ประการด้วยกัน คือ ผู้ค้นพบ วิธีการค้นพบและสาระสำคัญของศาสตร์

ประการแรก ผู้ค้นพบศาสตร์ จะเห็นได้ว่า อริยสัจเกิดจากการค้นคว้าของบุคคลผู้เสียสละอย่างใหญ่หลวงอริยสัจไม่ได้เกิดจากปฏิวัติรัฐประหาร ไม่ได้เกิดจากการรบราฆ่าฟัน และไม่ได้เกิดเพราะถูกกดดันบีบคั้นทางสังคม หรือการประกอบอาชีพใด ๆ แล้วหนีไปพบโดยบังเอิญ แต่เกิดจากการเสียสละของคน ๆ เดียวเพื่อคนทั้งโลก ผู้นั้นคือพระพุทธเจ้า การเกิดขึ้นของหลายสิ่งหลายอย่างในโลกนี้มักเกิดจากการเสียสละของคนทั้งเมืองเพื่อคน ๆ เดียว หรือเพื่อสิ่ง ๆ เดียว แต่การเกิดขึ้นของอริยสัจมิใช่อย่างนั้น เป็นการเกิดขึ้นเพื่อประโยชน์เกื้อกุลแก่คนทั่วไป

ประการที่สอง วิธีการค้นพบศาสตร์ ศาสตร์ต่าง ๆ ในโลกล้วนมีการค้นพบโดยท่านที่มีสติปัญญาทั้งนั้นแต่ว่าท่านได้ค้นพบในขณะจิตอย่างคนธรรมดาสามัญได้พบได้เห็นก็เกิดการคิดไปเขียนไป ศาสตร์บางสาขาอาจเกิดในวงข้าว วงเหล้า หรือในสนามรบ บางบท บางตอน บางเรื่อง อาจเกิดขึ้นขณะนอนหลับและฝัน หรือในขณะสติเลื่อนลอยเคลิบเคลิ้ม เกิดขึ้นด้วยความโลภ เกิดด้วยฤทธิ์โกรธ เกิดด้วยอำนาจของความหลงก็มี และเกิดในขณะจิตต่าง ๆ อีกมากมาย แต่อริยสัจเกิดในขณะจิตเป็นสมาธิ ซึ่งเป็นจิตอิสระปราศจากการรบกวนจากกิเลส มีความโลภ โกรธ หลง เป็นต้น มีแต่ปัญญาอันสว่างไสว เพราะฉะนั้น หลักอริยสัจจึงเป็นศาสตร์ที่เที่ยงตรงไม่โน้มเอียงด้วยอิทธิพลใด ๆ

  ประการที่สาม สาระสำคัญของศาสตร์ อริยสัจผิดแผกจากศาสตร์สาขาต่าง ๆทั่วไปไม่ใช่เศรษฐศาสตร์ คณิตศาสตร์ อักษรศาสตร์ หรือศาสตร์อย่างใดที่มีผู้ค้นพบทั้งสิ้น แต่อริยสัจเป็นศาสตร์อิสระชนิดหนึ่งต่างหาก ว่าด้วยการทำตนให้บริสุทธิ์ หลุดพ้นจากทุกข์และความมืดมนทางจิตใจทั้งปวง เป็นหลักวิชาที่ทำให้คนบรรลุเป็นพุทธะ ถ้าจะจัดเป็นศาสตร์ เรียกได้ว่า พุทธศาสตร์ คือ ศาสตร์ที่ทำให้คนบรรลุถึงพุทธภาวะ

)  ความหมายของการเห็นอริยสัจ  การเห็นแจ้งในความจริงอย่างสูงสุดหรือการเห็นความจริงอันประเสริฐ ๔ ประการ ซึ่งมีเห็นความทุกข์กายทุกข์ใจ เป็นต้น  ท่านผู้รู้ทั้งหลายกล่าวไว้ดังต่อไปนี้

พระอุบาลีคุณูปมาจารย์ กล่าวว่า  อริยสัจ แปลว่า ของจริงอันประเสริฐ ของจริงไม่มีข้าศึก ได้แก่จตุราริยสัจทั้ง ๔ คือ ทุกข์ ๑ เหตุแห่งทุกข์๑ ความดับทุกข์๑ ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์๑ คุณธรรมทั้ง ๔ ประการนี้ ชื่อว่าของจริงอริยสัจ[5]

อริยสัจ หมายถึง ทุกข์ สมุทัย เหตุให้เกิดทุกข์ นิโรธ ความดับทุกข์ และมรรค เป็นข้อปฏิบัติเพื่อให้บรรลุถึงความดับทุกข์ การเห็นอริยสัจแบ่งออกเป็น ๒ ขั้นตอน คือ เห็นแบบปริยัติ และเห็นแบบปฏิบัติ การเห็นอริยสัจแบบปริยัตินั้น หมายถึง การเห็นอริยสัจด้วยสุตมยปัญญา คือ ปัญญาเกิดจากการศึกษาเล่าเรียน การฟัง และจินตมยปัญญา คือ ปัญญาเกิดจากการคิดตามหลักวิชาการ ตามเหตุผล การเห็นชั้นนี้เป็นการเห็นตามทฤษฏี ส่วนการเห็นอริยสัจแบบปฏิบัตินั้น เป็นการเห็นด้วยภาวนามยปัญญา คือ ปัญญาที่เกิดจากการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานอันได้แก่ การเห็นด้วยญาณทั้ง ๓ คือ สัจจญาณ กิจจญาณ และกตญาณ

อริยสัจ ๔ คือ ความจริงที่มีอยู่คู่กับโลก แต่ไม่มีใครเข้าใจหรือรู้แจ้งมาก่อน จนกระทั่งพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสรู้ คือ ทั้งรู้และเห็นแล้วทรงชี้ให้เราเห็นได้แก่

๑.ทุกข์ คือ ความไม่สบายกายไม่สบายใจต่างๆ ทุกข์เปรียบได้กับคนป่วยเป็นโรค

๒.สมุทัย คือ สาเหตุที่ทำให้เกิดความทุกข์ เปรียบได้กับเชื้อโรค

๓.นิโรค คือ ความดับทุกข์ สภาพที่ความทุกข์ดับไปเปรียบได้กับสภาพที่หายจากโรค

๔.มรรค คือ วิธีปฏิบัติเพื่อไปสู่ความดับทุกข์เปรียบได้กับยาที่รักษาโรคให้หายป่วย

การเห็นอริยสัจ หมายถึง การเห็นด้วยการศึกษาเล่าเรียนและการฝึกอบรมภาคปฏิบัติโดยการเจริญสมาธิและการเจริญปัญญา เพื่อให้เห็นสภาวธรรมตามความเป็นจริงว่า ตัณหาเป็นต้นเหตุของความทุกข์ จะดับทุกข์ต้องดับที่ตัณหา มรรคเป็นต้นเหตุให้เกิดการปฏิบัติเพื่อดับทุกข์ จะดับทุกข์ควรปฏิบัติธรรมตามหลักอริยมรรคมีองค์แปด สภาพที่ดับทุกข์ได้สิ้นเชิงเรียกว่า นิโรธ

) องค์ประกอบของอริยสัจ อริยสัจคือความจริงอย่างประเสริฐหรือธรรมชาติจริงแท้มิได้แปรเปลี่ยนเป็นอย่างอื่น เป็นหลักธรรมที่ทำปุถุชนให้เป็นอริยชนได้ มี  ๔  ประการ[6]คือ

  .  ทุกข์  ความไม่สบายกายไม่สบายใจ

  .  สมุทัย  เหตุเกิดแห่งทุกข์ คือ ตัณหา

  .  นิโรธ  ความดับทุกข์

  .  มรรค  ทางปฏิบัติให้ถึงซึ่งความดับทุกข์

พระพุทธองค์ทรงมีวิธีแสดงอริยสัจไว้ดังนี้ ๑. ทรงแสดงเรื่องทุกข์ เพราะทุกข์เป็นสิ่งที่หยาบ สรรพสัตว์รู้ได้ง่าย ๒. ทรงแสดงต้นเหตุแห่งทุกข์หรือสมุทัย เพราะเป็นลักษณะคำสอนที่แสดงให้ทราบถึงต้นเค้าของทุกข์ ๓. ทรงแสดงความดับทุกข์หรือนิโรธ ๔. ทรงแสดงทางให้ถึงความดับ การแสดงทั้ง ๔ วิธีนี้เป็นการแสดงที่แสดงจากผลไปหาเหตุ อีกนัยหนึ่ง ทรงแสดงเรื่องทุกข์ไว้ก่อนก็เพื่อให้สัตว์ผู้มีความกำหนัดด้วยอำนาจความชื่นชมความสุขในภพ เพื่อให้เกิดความสังเวชใจและสะดวกในการน้อมเข้าไปหาทุกข์ได้

อริยสัจ ๔ นี้มีความเป็นเอกภาพอยู่ในตัวแล้วคือมีความสมบูรณ์พร้อม ไม่ขาดไม่เกิน จะตัดออกไม่ได้ เพราะเป็นธรรมที่ต้องใส่ใจการปฏิบัติถึง ๔ ประการ คือ ธรรมที่ควรกำหนดรู้ (ทุกข์) ธรรมที่ควรละ (สมุทัย) ธรรมที่ควรทำให้แจ้ง (นิโรธ) และธรรมที่ควรทำให้เจริญ (มรรค) ดังนั้น ถ้ามองโดยภาพรวมแล้ว อริยสัจทั้ง ๔ ประการนี้ก็คือการสอนให้มองเห็นความเป็นไปของสรรพสิ่งว่าอยู่ในอำนาจของเหตุและผล

ภาวะที่เป็นจริงหรือภาวะที่ก่อให้เกิดการบีบคั้นสำหรับชีวิตมนุษย์และสัตว์ทั้งหลาย ชื่อว่าทุกข์ และทุกข์ก็เป็นสิ่งที่จริงอย่างยิ่ง ดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า “ขึ้นชื่อว่าทุกข์แล้วจะไม่เบียดเบียนเป็นไม่มี สิ่งอื่นนอกจากทุกข์ก็ไม่มีอะไรเบียดเบียน เพราะเป็นสภาพที่ต้องเบียดเบียนอย่างแน่นอน ท่านจึงกล่าวว่า ทุกข์นี้เป็นสัจจะประการหนึ่ง ทุกข์นั้นเว้นจากตัณหาเสียแล้วก็ไม่มีจากที่อื่น และมันจะมีจากที่อื่นไม่ได้นอกจากตัณหา ตัณหาอันซ่านไปในอารมณ์ต่าง  ๆ จึงชื่อว่าเป็นสัจจะอีกอย่างหนึ่ง เพราะถือว่าเป็นเหตุแห่งทุกข์ ความสงบอย่างหนึ่ง นอกจากนิพพานมิได้มี และนิพพานจะเป็นธรรมชาติที่ไม่สงบก็หามิได้ เพราะกำหนดว่าเป็นสภาพที่สงบนิโรธจึงเป็นสัจจะอีกอย่างหนึ่ง เครื่องนำออกจากทุกข์อย่างอื่นนอกจากมรรคมิได้มีและมรรคเล่าจะไม่นำออกก็หามิได้ เพราะเหตุนั้นเองมรรคจึงเป็นสัจจะอันประเสริฐอีกประการหนึ่ง

  ทุกข์อันเกิดจากการเกิด

  ท่านกล่าวไว้ว่า ทุกข์ต่างๆ เกิดติดตามมากับทุกๆ ชีวิต หรือจะกล่าวว่า ทุกข์เป็นสภาวะที่สร้างคนให้เกิดมาก็ว่าได้ คือ เมื่อเกิดมาแล้ว ความทุกข์จะปรากฏดังนี้

  ๑.ทุกข์เพราะทนได้ยาก (ทุกฺขทุกฺขํ)

  ๒.ทุกข์เพราะความเปลี่ยนแปลง (วิปริณามทุกฺขํ)

  ๓.ทุกข์ประจำสังขาร (สงฺขารทุกฺขํ)

  ๔.ทุกข์ที่ยังปกปิดอำพราง (ปฏิจฺฉนฺนทุกฺขํ)

  ๕.ทุกข์ที่เปิดเผย (อปฺปฏิจฺฉนฺนทุกฺขํ)

ทุกขเวทนาทางกายและทางใจ ชื่อว่า ทุกข์เพราะทนได้ยาก, สุขเวทนา ชื่อว่า ทุกข์เพราะเปลี่ยนแปลง, อุเบกขาเวทนา ชื่อว่าสังขารทุกข์เพราะเบียดเบียนบีบคั้น, อาพาธทางกายและทางใจ มีการปวดหู ฟัน และความเร่าร้อนเพราะราคะโทสะเป็นต้น ชื่อว่าทุกข์ที่ปกปิดหรืออำพราง, ทุกข์ที่เปิดเผย คือ อาพาธ ซึ่งมีสมุฏฐานต้นเหตุมาจากกรรมกรณ์ ๓๒

สรุปว่า ความเกิดเป็นทุกข์แน่นอน เพราะการเกิดเป็นการเริ่มต้นความทุกข์ของสรรพสิ่ง เช่น การเกิดเป็นมนุษย์ก็เป็นทุกข์ตั้งแต่อยู่ในครรภ์แล้ว คือ เมื่อเด็กหรือสัตว์ที่อยู่ในครรภ์ก็ย่อมได้รับความทุกข์ทรมานนานาประการ เหมือนหนอนซึ่งเกิดในน้ำครำแห่งปลาเน่า และขนมถั่วบูด เมื่อเวลามารดาเคลื่อนไหว หรือดื่มน้ำร้อน น้ำเย็น กลืนข้าว เด็กก็มีความทุกข์ทรมาน หรือทุกข์เพราะครรภ์พิบัติ ในขณะคลอดเด็กได้รับความเจ็บปวด ประดุจถูกบีบด้วยภูเขากระทบกัน เมื่อออกจากครรภ์มารดาแล้วเมื่อถูกจับตัวอาบน้ำ เด็กซึ่งยังมีสรีระละเอียดอ่อน จะรู้สึกเจ็บเหมือนแผลใหม่ถูกเช็ดด้วยของแข็ง เมื่อออกจากครรภ์แล้ว สัตว์ทั้งหลายย่อมกระเสือกกระสนพยายามเพื่อมีชีพอยู่ และเดือดร้อนเพราะกิเลสมีความโกรธ เป็นต้น และทุกข์เพราะความพยายามของผู้อื่น เช่น ถูกประหาร  ถูกเบียดเบียนเพราะบุคคลผู้มีเวรต่อกัน

ทุกข์อันเกิดจากการแก่

อวัยวะทั้งหลายมีตาเป็นต้นของสรรพสัตว์ย่อมเสื่อมสลายและเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา เมื่อเป็นเช่น ความทุกข์หรือความไม่สบายกายก็เกิดขึ้น

  ทุกข์อันเกิดจากความตาย

  ความตายเป็นความทุกข์ เพราะมองเห็นนิมิตอันชั่วร้ายแห่งบุคคลผู้ทำกรรมชั่วไว้มาก เพราะต้องพลัดพรากจากสิ่งอันตนรักใคร่ติดใจ

ทุกข์อันเกิดจากความโศก คือ ความแห้งใจ หรือใจแห้ง (โสกะ)

ความโศกเศร้าเสียใจเป็นบ่อเกิดแห่งความทุกข์ เพราะความเสียใจมักทำให้จิตใจหดหู่ ไม่สบาย

  ทุกข์อันเกิดจากความคร่ำครวญรำพัน (ปริเทวะ)

  การร่ำไรรำพันหรือคร่ำครวญเป็นลักษณะอย่างหนึ่งของความทุกข์ เพราะอาการเหล่านี้มักจะสร้างความรำคาญใจอยู่เรื่อย ทำจิตใจไม่ให้เป็นปกติสุข

  ทุกข์อันเกิดจากความทุกข์ทางกาย (ทุกขะ)

  ความทุกข์ทางกาย เช่น การเจ็บไข้ได้ป่วย ถูกเตะถูกตี เป็นต้น เหล่านี้ล้วนเป็นความทุกข์ทั้งสิ้น

  ทุกข์อันเกิดจากความทุกข์ทางใจ (โทมนัสสะ)

  ความระทมใจหรือความเศร้าในใจเป็นอาการแห่งความไม่เป็นปกติสุขในจิต เป็นสาเหตุแห่งความทุกข์อีกประการหนึ่ง

  ทุกข์อันเกิดจากความคับแค้นใจ (อุปายาส)

  ความคับแค้นใจอันเกิดจากการที่ไม่สามารถกระทำอะไรได้ตามใจ เช่น ประสบกับอารมณ์ที่ไม่ชอบใจก็ไม่สามารถระงับความโกรธได้ เป็นต้น

  ทุกข์อันเกิดจากการต้องประสบด้วยสิ่งอันไม่เป็นที่รัก (อัปปิยสัมปโยค)

  การประสบกับอนิฏฐารมณ์หรืออารมณ์ที่ไม่เป็นที่ชอบใจเป็นทุกข์อย่างยิ่ง เช่น การได้ร่วมงานกับคนที่เป็นศัตรูกัน ไม่ชอบพอกัน เป็นต้น

  ทุกข์อันเกิดจากการพลัดพรากจากสิ่งอันเป็นที่รัก (ปิยวิปโยค)

  การพลัดพรากหรือการสูญเสียบุคคลผู้เป็นที่รักอย่างยิ่ง เช่น พ่อ แม่ ลูกหลาน เหลน เพื่อน ปู่ ย่า ตา ยาย เป็นต้น ก็เป็นทุกข์เหมือนกัน

  ทุกข์อันเกิดจากการไม่ได้สัตว์และสังขารดังที่ใจปรารถนา (อิจฉาวิฆาตะ)

  การได้พบกับสัตว์หรือการได้สังขารที่ไม่เป็นดังใจนับว่าเป็นความทุกข์ด้วย

สมุทัยสมุทัยคือต้นเหตุที่ทำให้ทุกข์เกิด สำหรับขั้นมูลฐาน ได้แก่ ตัณหาหรือความดิ้นรนด้วยอาการๆ  มี ๓ ประการ[7]คือ

  .กามตัณหา    ดิ้นรนในเรื่องกาม

  .ภวตัณหา   ดิ้นรนอยากมีอยากได้

  .วิภวตัณหา  ดิ้นรนอยากไม่มีอยากไม่เป็น

สรุปว่าสมุทัยท่านเน้นถึงตัณหา ๓ ซึ่งเป็นต้นเหตุแห่งความทุกข์นานาประการ

นิโรธ

นิโรธหมายถึงพระนิพพานซึ่งเป็นสภาวะที่ย่ำยีความเมาในภพ ถอนอาลัย ตัดวัฏฏะ กำหนัด ตัณหา  และดับทุกข์ทุกประการ

นิโรธคือการดับทุกข์หรือการดับสมุทัย (เหตุให้เกิดทุกข์) และการสำรอกราคะ ตัณหา เป็นต้น โดยสรุป นิโรธก็คือนิพพานดังที่ท่านกล่าวว่า “นิพพานมีอยู่จริง, แต่จะเห็นได้ก็ด้วยการปฏิบัติให้เหมาะสม หรือสมควรแก่นิพพานนั้น ถ้ายังไม่ปฏิบัติให้สมควรก็ไม่อาจเห็นนิพพานได้ พระนิพพานเป็นอสังขตธรรม เพราะไม่มีปัจจัยปรุง ไม่มีสิ่งให้เกิด อริยมรรคมีองค์ ๘ นั้น มิใช่เป็นธรรมที่ให้เกิดนิพพาน เป็นแต่เพียงว่า พระนิพพานจะต้องบรรลุด้วยมรรคมีองค์ ๘  เท่านั้น พระนิพพานมิใช่สิ่งที่ทำให้เกิดขึ้นได้ เป็นแต่เพียงบุคคลต้องบรรลุถึงเท่านั้น เพราะ  พระนิพพานไม่มีแดนเกิด ไม่มีเหตุให้เกิดจึงไม่แก่ไม่ตาย



[1] มงฺคลตฺถทีปนี. ๕ / ๒-๓.

[2] พระอุบาลีคุณูปมาจารย์ (จันทร์ สิริจนฺโท), เรื่องเดียวกัน, หน้า ๑๑๑.

[3]มงฺคลตฺถทีปนี. ๕ / ๓๗.

[4]สมเด็จพระสังฆราช (จวน อุฏฐายี), เรื่องเดียวกัน, หน้า๒๘๐-๒๘๕.

[5]พระอุบาลีคุณูปมาจารย์, เรื่องเดียวกัน, หน้า ๑๑๕.

[6]อภิ. วิภงฺค. ๓๕ / ๑๔๕ / ๑๒๗.

[7]องฺ. ฉกฺก. ๒๒ / ๓๗๗ / ๔๙๔.

 

มรรค

มรรคคือทางดำเนินให้ถึงความดับทุกข์ ประกอบด้วยคุณลักษณะ  ๘ ประการ[1]คือ

  ๑.  สัมมาทิฎฐิ  เห็นชอบ

  ๒.  สัมมาสังกัปปะ    ดำริชอบ

  ๓.  สัมมาวาจา  พูดชอบ

  ๔.  สัมมากัมมันตะ    กระทำการงานชอบ

  ๕.  สัมมาอาชีวะ    เลี้ยงชีพชอบ

  ๖.  สัมมาวายามะ    พยายามชอบ

  ๗.  สัมมาสติ    ระลึกชอบ

  ๘.  สัมมาสมาธิ ตั้งใจชอบ

  สำหรับรายละเอียดเกี่ยวกับมรรคมีองค์ ๘ มีดังต่อไปนี้

  ๑. สัมมาทิฏฐิ ได้แก่ จักษุคือปัญญา หมายถึง การมีความเห็นถูกต้อง ไม่ถูกครอบงำด้วยวิปลาส และมีพระนิพพานเป็นอารมณ์

๒.สัมมาสังกัปปะ ได้แก่ ความดำริชอบ มีความดำริในการละอกุศลและประกอบกุศล หรือความดำริในการออกจากกาม เป็นต้น

๓.สัมมาวาจา ได้แก่ การงดเว้นจากมิจฉาวาจาหรือวจีทุจริตชนิดต่างๆ เช่น คำหยาบคำเท็จเป็นต้น

๔.สัมมากัมมันตะ ได้แก่ การเว้นจากกายทุจริต ๓ มีปาณาติบาต เป็นต้น

๕.สัมมาอาชีวะ ได้แก่ การงดเว้นจากมิจฉาชีพต่างๆ  เช่น งดเว้นจากการค้าขายยาพิษ เป็นต้น

๖.สัมมาวายามะ ได้แก่ ความพยายามชอบเพื่องดเว้นจากกายทุจริต และวจีทุจริต

๗.สัมมาสติ ได้แก่ ความระลึกชอบ เช่นระลึกในสติปัฏฐาน ๔ คือ กาย เวทนา จิต และธรรม

๘.สัมมาสมาธิ ได้แก่ ความตั้งใจชอบ การที่จิตมีอารมณ์แน่วแน่ กำจัดมิจฉาสมาธิ ประกอบด้วยสัมมาสติ

..  การกระทำนิพพานให้แจ้ง

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงมีญาณทัสสนะตามเป็นจริงในอริยสัจ ๔ จึงทรงปฏิญาณพระองค์ได้ว่า ทรงบรรลุอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณแล้ว หมายถึงการทำให้แจ้งซึ่งทุกขนิโรธ เป็นการทำให้ประจักษ์แจ้ง บรรลุถึงภาวะดับทุกข์ พูดง่าย ๆ ว่า เข้าถึงภาวพที่แก้ไขปัญหาได้เสร็จสิ้นแล้ว บรรลุถึงจุดหมายที่ต้องการสูงสุด และเข้าถึงภาวะที่เป็นอิสระปลอดโปร่งอย่างแท้จริงและโดยสมบูรณ์บริบูรณ์ คือ ภาวะแห่งพระนิพพาน

) ความหมายของการกระทำนิพพานให้แจ้ง การทำนิพพานให้แจ้งหรือการดับทุกข์อันเป็นต้นเหตุแห่งการเกิดนั้น ท่านผู้รู้ทั้งหลายกล่าวไว้ดังต่อไปนี้

สมเด็จพระสังฆราช (จวนอุฏฐายี) กล่าวว่า นิพพานแปลได้ ๓ อย่าง คือ

. ปราศจากตัณหา

. ไม่มีเครื่องเสียบแทง และ

. แปลว่า ดับ คือ ดับกิเลสและทุกข์สิ้นเชิง[2]

พุทธทาสภิกขุ กล่าวว่า นิพพาน แปลว่า ดับเย็น หมายถึง ความดับเย็นของสิ่งที่ร้อน เช่น ถ่านไฟดับเย็นลง อาหารที่ปรุงใหม่เย็นลง แต่ในทางพุทธศาสนานั้นมีนัยที่ต้องพิจารณาอย่างละเอียด ๓ อย่าง คือ

นิพพาน หมายถึง การสิ้นกิเลสหรือการดับกิเลส

นิพพาน ผลที่เกิดขึ้น เป็นความสงบปราศจากความทุกข์โดยสิ้นเชิง เป็นภาวะที่ปราศจากความทุกข์ อันเกิดจากการสิ้นกิเลสนั่นเอง

.นิพพาน หมายถึง นิพพานธาตุ ซึ่งเป็นธรรมธาตุอย่างหนึ่ง ซึ่งเป็นที่ดับของกิเลสและสภาพที่มีอยู่นิรันดร เมื่อใครพึงปฏิบัติถึงที่สุด กิเลสของผู้นั้นก็ดับไป[3]

พิจารณาตามศัพท์คำว่านิพพานมาจากคำว่า นิ+วาน นิ เป็นคำอุปสรรค (แปลว่า ออกไป หมดไป ไม่มี เลิก) วาน (แปลว่า พัด ไป หรือ เป็นไป หรือ เครื่องร้อยรัด) ใช้เป็นกิริยาของไฟ หรือการดับไฟ หรือของที่ร้อนเพราะไฟ แปลว่า ดับไฟ หรือดับร้อน หมายถึง หายร้อน เย็นลง หรือเย็นสนิท (ไม่ใช่ดับสูญ) แสดงสภาวะทางจิตใจ หมายถึง เย็นใจ สดชื่น ชุ่มชื่นใจ ดับความร้อนใจ หายร้อนรน ไม่มีความกระวนกระวาย หรือแปลว่า เป็นเครื่องดับกิเลส ทำให้กิเลสหมดไป ส่วนมากนิยมแปลว่า ไม่มีตัณหาเครื่องร้อยรัด หรือออกไปแล้วจากตัณหาที่เป็นเครื่องร้อยติดไว้กับภพ นิพพานจึงเป็นสภาวะที่สิ้นกิเลสและทุกข์ทั้งปวง ดับภพ ดับชาติ ตัดขาดจากสังสารวัฏ คือ ไม่มีการเวียนว่ายตายเกิดอีกต่อไปนิพพานเป็นผลที่เกิดจากการปฏิบัติธรรมตามอริยมรรคมีองค์แปด และเป็นผลมาจากการเห็นอริยสัจ ผู้ประพฤติธรรมมีปัญญามองเห็นสภาวธรรมตามความเป็นจริง ย่อมถอนอุปาทานความยึดมั่นถือมั่น ละตัณหามานะทิฏฐิเสียได้ จิตย่อมหลุดพ้นจากกิเลสและกองทุกข์ ถึงความบริสุทธิ์โดยสิ้นเชิง มีความสงบ ความดับเย็น ผลที่เกิดขึ้นนี้เรียกว่า “นิพพาน”

) ประเภทของนิพพาน ในคัมภีร์อิติวุตตกะ แบ่งนิพพานออกเป็น ๒ ประเภท[4]คือ

. สอุปาทิเสสนิพพาน ดับกิเลสยังมีเบญจขันธ์เหลืออยู่

. อนุปาทิเสสนิพพาน ดับกิเลสและเบญจขันธ์

) วิธีทำนิพพานให้แจ้ง ในคัมภีร์วิสุทธิมรรคได้แสดงถึงวิธีการทำพระนิพพานให้แจ้งด้วยการปฏิบัติตามแนวแห่งวิปัสสนาญาณ ๙ ประการ[5]คือ

.อุทยพยานุปัสสนาญาณญาณกำหนดรู้เกิดและความดับของนามและรูป 

.ภังคานุปัสสนาญาณ  ญาณกำหนดรู้ความดับของนามและรูป 

ภยตุปัฏฐานญาณ  ญาณกำหนดรู้ว่านามและรูปเป็นของน่ากลัว

อาทีนวานุปัสสนาญาณ  ญาณกำหนดรู้โทษของนามและรูป 

.นิพพิทานุปัสสนาญาณ  ญาณกำหนดรู้ความเบื่อหน่ายในนามและรูป 

มุญจิตุกัมยตาญาณญาณกำหนดรู้ด้วยปรารถนาที่จะพ้นไปจากนามและรูป 

ปฏิสังขานุปัสสนาญาณ  ญาณกำหนดรู้ด้วยการพิจารณาทบทวน

.สังวขารุเบกขาญาณ  ญาณกำหนดรู้ด้วยความวางเฉยในสังขาร 

.อนุโลมญาณ  ญาณกำหนดรู้ด้วยการคล้อยตามสัจจานุโลมิกญาณ 

.หลักจริยศาสตร์ด้านผลสูงสุดทางจริยศาสตร์

ในมงคลสูตรส่วนนี้ พระพุทธองค์ได้เน้นให้เห็นถึงเป้าหมายสูงสุดของชีวิตมนุษย์ เป็นเป้าที่คนทุกคนควรเข้าถึงให้ได้ เพราะว่าเป้าหมายที่จะกล่าวต่อไปนี้ นับได้ว่าเป็นเป้าหมายที่เต็มไปด้วยเสรีภาพจากเครื่องเศร้าหมองใจทุกประการ โดยประกอบด้วย

๑. ความมีจิตไม่หวั่นไหวเพราะโลกธรรม

๒. จิตไม่เศร้าโศก 

๓. จิตปราศจากธุลี

๔. จิตเกษมจากโยคะ 

 

..๑ จิตของผู้ใดอันโลกธรรมทั้งหลายถูกต้องแล้วย่อมไม่หวั่นไหว

ก่อนจะพิจารณาลักษณะจิตที่ไม่หวั่นไหวไปตามอารมณ์ที่มากระทบว่าเป็นอย่างไร ควรพิจารณาจิตที่หวั่นไหวเสียก่อน โดยปกติจิตของคนสามัญย่อมไม่คงที่ มีลักษณะและอาการเคลื่อนไหวอยู่ตลอดเวลา เมื่อดีใจก็แช่มชื่น เสียใจก็เหี่ยวแห้งหดหู่ ร้องไห้รำพัน อาการของจิตที่โน้มเอียงไปข้างดีใจบ้าง เสียใจบ้างอย่างนี้ เรียกว่า จิตหวั่นไหว คือ ไม่คงที่ ในมงคลข้อนี้ ท่านมุ่งเอาจิตที่ไม่หวั่นไหวในโลกธรรม หมายความว่า จิตอันโลกธรรมให้หวั่นไหวไม่ได้ ไม่มีความยินดียินร้ายในอารมณ์ทั้งที่ชอบใจและไม่ชอบใจ เรียกว่า มีจิตคงที่ ซึ่งมีลักษณะตรงกันข้ามกับจิตที่หวั่นไหว ดังที่พระพุทธองค์ตรัสไว้ในโลกธรรมสูตร ว่า

ดูกรภิกษุทั้งหลาย โลกธรรม ๘ ประการนี้ ย่อมหมุนไปตามโลกและโลกย่อมหมุนไปตามโลกธรรม ๘ ประการ ๘ ประการเป็นไฉน คือ ลาภ ๑ความเสื่อมลาภ ๑ ยศ ๑ ความเสื่อมยศ ๑ นินทา ๑ สรรเสริญ ๑  สุข ๑ ทุกข์ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย โลกธรรม ๘ ประการนี้แล ย่อมหมุนไปตามโลกและโลกย่อมหมุนไปตามโลกธรรม ๘ ประการนี้ ฯ ธรรมในหมู่มนุษย์เหล่านี้ คือ ลาภ ๑ ความเสื่อมลาภ ๑ ยศ ๑ ความเสื่อมยศ ๑ นินทา ๑ สรรเสริญ ๑ สุข ๑ ทุกข์ ๑ เป็นสภาพไม่เที่ยง ไม่แน่นอน มีความแปรปรวน เป็นธรรมดา แต่ท่านผู้เป็นนักปราชญ์ มีสติ ทราบธรรม เหล่านั้นแล้ว พิจารณาเห็นว่ามีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ธรรมอันน่าปรารถนา ย่อมย่ำยีจิตของท่านไม่ได้ ท่านย่อม ไม่ยินร้ายต่ออนิฏฐารมณ์ ท่านขจัดความยินดีและความยินร้ายเสียได้จนไม่เหลืออยู่ อนึ่ง ท่านทราบทางนิพพานอัน ปราศจากธุลี ไม่มีความเศร้าโศก เป็นผู้ถึงฝั่งแห่งภพ ย่อมทราบได้อย่างถูกต้อง[6]

) ความหมายของจิตไม่หวั่นไหวด้วยโลกธรรม ความที่จิตไม่หวั่นไหวเพราะโลกธรรม ๘ประการ ซึ่งมีความสุขหรือทุกข์ และมีสรรเสริญหรือนินทา เป็นต้น ท่านผู้รู้ทั้งหลายกล่าวไว้ดังต่อไปนี้

สมเด็จพระสังฆราชอุฏฐายี มหาเถร จวน กล่าวว่า

โลกธรรมแปลว่าธรรมที่ครอบงำสัตว์โลกและสัตว์โลกก็หมุนเวียนไปตามโลกธรรมเหล่านั้น พระพุทธเจ้า พระอริยเจ้าทั้งหลายย่อมถูกโลกธรรมครอบงำ แต่ท่านรู้เท่าทันโลกธรรม ว่าไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรเปลี่ยนเป็นธรรมดา ท่านจึงไม่ยินดียินร้าย จิตจึงสงบเป็นปรกติ และมีจิตไม่หวั่นไหวในโลกธรรม[7]

จิตไม่หวั่นไหวในโลกธรรม หมายถึง สภาพจิตของผู้ทำพระนิพพานให้แจ้ง มีใจตั้งมั่นเกิดความมั่นคงหนักแน่น เป็นอุเบกขาวางเฉยได้เมื่อพบกับความเสื่อมลาภ เสื่อมยศ ถูกนินทา ตกทุกข์ จิตก็ไม่หวั่นไหว เมื่อพบกับความได้ลาภ ได้ยศ ได้สรรเสริญ เป็นสุข จิตก็ไม่หวั่นไหว เพราะรู้เท่าทันว่าเรื่องที่เกิดขึ้นนั้นว่าเป็นธรรมดาคือไม่เที่ยง ไม่ยั่งยืนถาวรอะไร มีลาภได้ก็เสื่อมลาภได้ ยศตำแหน่งไม่ใช่ของเราตลอดไป สรรเสริญ นินทา สุข ทุกข์ ทุกคนต้องพบทั้งนั้น และในที่สุดก็ต้องเสื่อมสิ้นไปเป็นธรรมดาของกฏธรรมชาติ

บุคคลผู้ที่มีสภาพจิตมั่นคงมีสติสัมปชัญญะสมบูรณ์ ไม่หวาดกลัวหรือวิตกกังวล ไม่มีความปรารถนาอยากได้ หรือหลงไหลในโลกธรรม ซึ่งเป็นธรรมครอบงำสัตว์โลก อันได้แก่ ได้ลาภ เสื่อมลาภ ได้ยศ เสื่อมยศ ได้สรรเสริญ นินทา ได้สุข ได้ทุกข์ แต่จิตไม่หวั่นไหว เพราะรู้เท่าทันสภาวธรรมตามความเป็นจริงว่า สิ่งเหล่านั้นมีความไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา จึงไม่ยินดียินร้าย ไม่หลงติดในโลกธรรม และจิตที่ไม่ยินดียินร้ายไม่หวั่นไหวไปตามอารมณ์ที่ถูกโลกธรรมนั้น ๆ มากระทบ จึงหมายถึงจิตของพระอรหันต์ในมงคลข้อนี้ พระพุทธองค์ตรัสว่าเป็นมงคลสูงสุด เพราะนำมาซึ่งความเป็นผู้ประเสริฐในโลก

)  ลักษณะของจิตที่ไม่หวั่นไหว เมื่อโลกธรรมเกิดขึ้นกับบุคคลใด ท่านสอนให้พิจารณาตามความจริงว่า โลกธรรมทั้งฝ่ายดีและฝ่ายร้ายนั้น เมื่อเกิดมีขึ้นแล้วมันไม่เที่ยง ไม่คงทนถาวร มีความเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา แม้ใครจะอ้อนวอนให้มันเที่ยง ให้มันคงอยู่ถาวร ให้มันไม่แปรปรวนเปลี่ยนแปลง มันก็จะเป็นอยู่อย่างนั้น ใคร ๆ จะยึดครองเอาแต่สิ่งที่ตนพึงพอใจไว้เป็นของตนตลอดไปไม่ได้เลย เพราะผลดีกับร้ายเป็นของคู่กัน มันเป็นของประจำโลก เมื่อผลดีมี ผลร้ายก็ต้องมีตามมา เหมือนความซ้ำเลือดมี หนองก็เกิดมีตาม ฉะนั้น การพิจารณาเห็นความจริงหรือสัจธรรมของความเสื่อม ๆ ต่างที่เกิดมีขึ้นในชีวิต เช่น เสื่อมยศ เสื่อมลาภ เป็นต้น ก็จะเป็นผลดีต่อการทำใจให้คุ้นเคยและเมื่อประสบพบเจอเข้าจริง จิตใจก็จะไม่หวั่นไหว มีความมั่นคง แต่ในความหมายที่แท้จริงในมงคลข้อนี้ จิตที่ไม่หวั่นไหวเพราะโลกธรรม ๘ นั้น ท่านหมายเอาเฉพาะจิตของพระอรหันต์เท่านั้น 

)  สาเหตุที่ทำให้จิตหวั่นไหว สาเหตุที่ทำให้จิตหวั่นไหวหรือคลอนแคลนได้แก่โลกธรรม ๘ ประการ[8]ดังนี้

๑. มีลาภ

๒. เสื่อมลาภ

๓. มียศ

๔. เสื่อมยศ

๕. สรรเสริญ

๖. นินทา

๗. สุข

๘. ทุกข์

..๒ ไม่เศร้าโศก

มงคลข้อนี้ว่าจิตไม่มีความเศร้าโศก เป็นการแสดงผลของจิตที่อยู่ในชั้นโลกุตรภูมิ หรือเป็นบทสรรเสริญคุณของจิตที่บรรลุนิพพานแล้ว เป็นจิตที่ไม่โศก คือ จะไม่มีความโศกเศร้าเสียใจใดๆ เกิดขึ้นได้ การที่จะเห็นความโศกเศร้าของจิตได้อย่างแจ่มชัด จะต้องย้อนกลับมาดูลักษณะของจิตที่โศกเศร้าก่อน ซึ่งเป็นเรื่องที่ปุถุชนทั่วไปรู้เห็นและเข้าใจได้โดยง่าย

)  ความหมายของไม่เศร้าโศก ความที่จิตประสบกับความสุขอย่างแท้จริงหรือจิตไม่เศร้าโศกเพราะกิเลสต่างๆ ที่จรมา ส่วนจิตที่เศร้าโศก คือ สภาพจิตที่แห้งผากเหมือนดินแห้ง ใบไม้แห้ง หมดความชุ่มชื้น เนื่องจากไม่สมหวังในความรัก ทำให้มีอาการเหี่ยวแห้งหม่นไหม้ โหยหาขึ้นในใจ ใจซึมเซาไม่อยากทำการงานไม่อยากรับรู้อารมณ์อื่นใด

ดังที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ในมหาสติปัฏฐานสูตร ว่า โสกะเป็นไฉน ความแห้งใจ กิริยาที่แห้งใจ ภาวะแห่งบุคคลผู้แห้งใจ  ความแห้งผาก ณ ภายใน ความแห้งผาก ณ ภายใน ของบุคคลผู้ประกอบด้วยความ  พิบัติอย่างใดอย่างหนึ่ง ผู้ถูกธรรมคือทุกข์อย่างใดอย่างหนึ่งกระทบแล้ว อันนี้  เรียกว่าโสกะ[9]

สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ กล่าวว่า “ความเศร้าโศกเกิดแต่สิ่งที่ชอบ สิ่งที่รัก สิ่งที่ยินดี สิ่งที่ใคร่และสิ่งที่อยากได้ แม้ภัยก็เกิดแต่สิ่งที่ชอบ สิ่งที่รัก สิ่งที่ยินดี สิ่งที่ใคร่และสิ่งที่อยากได้ เมื่อจิตหลุดพ้นจากสิ่งที่ชอบ หน่ายรัก สิ้นยินดี หยุดใคร่และหมดความอยากเสียแล้ว ความเศร้าโศกก็เป็นอันไม่มี[10]  จิตไม่เศร้าโศก ได้แก่จิตที่ไม่แสดงอาการเดือดร้อน หวั่นไหว ทุกข์ทรมาน เพราะการเก็บสิ่งที่ไม่ดีมาคิดด้วยอำนาจความโลภบ้าง ด้วยอำนาจความโกรธบ้าง ด้วยอำนาจความหลงบ้าง ในมงคลที่ข้อนี้ จิตไม่เศร้าโศกหมายถึงจิตที่สร่างโศกหรือจิตที่พ้นจากความเศร้าโศก เป็นจิตของอริยชนผู้บรรลุนิพพานแล้ว หลุดพ้นแล้วจากสิ่งที่รัก สิ่งที่ยินดี หยุดความใคร่ และหมดความอยากแล้วโดยสิ้นเชิง เพราะฉะนั้น จึงไม่แห้ง ไม่มีโศก

..๓ ปราศจากธุลี

จิตปราศจากธุลี หรือ หมดธุลี หมายถึง จิตของอริยชนที่ใสสะอาด ผุดผ่อง เหมือนกระจกที่ปราศจากฝุ่นละอองมาจับให้ขุ่นมัวเปรอะเปื้อนเป็นการแสดงให้เห็นลักษณะจิตในขั้นโลกุตรภูมิอีกด้านหนึ่ง เพราะจิตในขั้นนี้จะมีได้เฉพาะผู้ที่บรรลุนิพพาน หรือผู้ที่เรียกว่า พระอรหันต์เท่านั้น เป็นจิตที่กิเลสเครื่องเศร้าหมองแม้น้อยนิดเพียงเศษธุลี ก็ไม่สามารถมาแตะต้องจับหรืออาศัยได้ จึงเป็นจิตที่ผ่องใส บริสุทธิ์สะอาดตลอดกาล

)  ความหมายของปราศจากธุลี การที่จิตบริสุทธิ์หมดจดหรือปราศจากกิเลสที่ประดุจดังธุลีนั้น ท่านผู้รู้ทั้งหลายกล่าวไว้ดังต่อไปนี้

ราคะ โทสะ และโมหะ ชื่อว่า ธุลี จริงอยู่ ราคะ โทสะ และโมหะเหล่านั้น ย่อมกระทำจิตนั้นๆ ให้เศร้าหมอง เหมือนอย่างธุลีตามปกติ ตกไปในที่ใดๆ ย่อมทำที่นั้นๆ ให้เศร้าหมอง  เพราะฉะนั้น ราคะโทสะและโมหะเหล่านั้น ท่านจึงเรียกว่า ธุลี เพราะเป็นดุจธุลีธรรมดา เหตุความเป็นสภาพเสมอด้วยธุลี เพราะกระทำให้เศร้าหมอง[11]

สมเด็จพระสังฆราชอุฏฐายี มหาเถร จวน กล่าวว่า

จิตเป็นสิ่งสำคัญที่สุดในตัวเรา เราจะได้สุขไปสู่สวรรค์หรือบรรลุนิพพานก็เพราะจิตดี จิตดีปราศจากกิเลส มีความผ่องใส ไม่เศร้าหมองขุ่นมัว ปราศจากธุลี คือ ราคะ โทสะ โมหะ สิ้นความยินดีในกาม ในภพ ละความเห็นผิด จิตมีปัญญา รู้เห็นตามความเป็นจริง ไม่หวั่นไหวเมื่อถูกต้องโลกธรรม เป็นจิตที่บริสุทธิ์ มีความสงบเย็น[12]

ปิ่น มุทุกันต์ กล่าวว่า

วรชํ แปลว่า หมดธุลี เป็นคำพรรณนาคุณของจิตในโลกุตรภูมิ ในด้านความสะอาด ความผุดผ่องของจิต คำว่า ธุลี ตามภาษาโลก หมายถึง ฝุ่นที่ละเอียดเกือบจะมองด้วยตาเปล่าไม่เห็น แต่เมื่อปลิวไปเกาะของที่สะอาด เช่น กระจกเงาจึงเห็น ทำให้ของใสกลายเป็นฝ้ามัวเสียความผุดผ่อง ในทางศาสนา ท่านสอนว่าสิ่งที่ทำให้จิตมัวหมอง คือ กิเลสทำให้จิตใจมืดมัว กิเลสมี ๓ ตระกูล คือ ตระกูลรัก (โลภะ) ตระกูลชัง (โทสะ) และตระกูลหลง (โมหะ) ใจหมดธุลี เป็นใจของพระอริยเจ้าเป็นใจที่บริสุทธิ์ผุดผ่องอย่างยิ่ง[13]

จิตปราศจากธุลีหรือจิตปราศจากกิเลสเพียงดังธุลี หมายถึง จิตที่บริสุทธิ์ สะอาด ปราศจากราคะ โทสะ โมหะ กล่าวคือเมื่อได้สัมผัสกับอารมณ์ คือ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ และธรรมารมณ์ต่าง ๆ ทั้งที่เป็นอิฏฐารมณ์ อารมณ์ที่น่าพึงพอใจ และอนิฏฐารมณ์ อารมณ์ที่ไม่น่าพึงพอใจก็เกิดความรัก ความโกรธ และความหลงไปตามอารมณ์นั้น ๆ จิตที่มีสภาวะเช่นนี้เรียกว่า จิตปราศจากธุลี เป็นจิตซึ่งหมดกิเลสแล้วทั้งกิเลสอย่างหยาบ กิเลสอย่างกลาง และกิเลสอย่างละเอียดอย่างหมดจดสิ้นเชิง ไม่มีฟื้นกลับเข้าปรุงแต่งจิตได้อีก ทำให้จิตใจสะอาด ผ่องใส ได้แก่จิตของพระอรหันต์

..  จิตเกษมจากโยคะ

จิตเกษมเป็นจิตชั้นยอด คือจิตที่เป็นมงคลสูงสุด ท่านใช้คำว่า เขมะ หมายถึง ความปลอดภัย พ้นจากภยันตรายทั้งปวง เป็นการสรุปภาวะของจิตในขั้นโลกุตรภูมิ หรือจิตที่เข้าสู่แดนเกษม เป็นอันสิ้นสุดของการดำเนินตามปฏิปทาแห่งมงคลในพระพุทธศาสนา  การมีจิตเกษม ได้แก่จิตที่เป็นอิสระภาพพ้นจากความดี ความชั่วทั้งหลาย กล่าวคือตนเองไม่ตกอยู่ใต้อำนาจของความดี เพราะได้รับความดีอันสูงสุดของชีวิตแล้ว และความชั่วความเดือดร้อนกายใจตนเองก็ได้หลุดพ้นแล้ว โลกธรรมทั้งหลายทั้งปวง คือ การยกย่อง สรรเสริญ การติฉินนินทา ไม่สามารถครอบงำจิตใจได้แล้ว จึงเป็นจิตที่อยู่เหนือโลกธรรมทั้งปวง เป็นเหตุให้มีความเป็นเอกภาพในตัวเอง เนื่องจากได้ศึกษาและปฏิบัติเจนจบแล้ว ได้บรรลุปัญญาอันสูงสุด มีความรู้จริงเห็นจริง รู้แจ้งแทงตลอดในทุกสิ่งแล้ว ได้บรรลุจุดหมายอันสูงสุดของชีวิต คือได้บรรลุพระนิพพานแล้ว ร่างกายและจิตใจได้ดำรงอยู่ในภาวะที่ดีของธรรมชาติอย่างสมบูรณ์ เป็นสาระแก่นแท้ของชีวิตเป็นจุดหมายอันสูงสุดของชีวิต

)  ความหมายของจิตเกษมจากโยคะ ความที่จิตเกษมจากโยคะคือจากกิเลสที่เป็นเครื่องประกอบหรือผูกไว้ในภพต่าง ๆ  ความหมายของจิตเกษม คือจิตที่ปราศจากโยคะ ๔ ดังที่พระพุทธองค์ตรัสว่า  สัตว์ทั้งหลายผู้ประกอบด้วยกามโยคะ ภวโยคะ ทิฏฐิโยคะ และอวิชชาโยคะ ย่อมเป็นผู้มีปรกติถึงชาติและมรณะ ไปสู่  สงสาร ส่วนสัตว์เหล่าใด กำหนดรู้กามทั้งหลายและภวโยคะโดยประการทั้งปวง ถอนขึ้นซึ่งทิฏฐิโยคะ และสำรอก  อวิชชาเสียได้ สัตว์เหล่านั้นแล เป็นผู้ พรากจากโยคะทั้งปวง เป็นมุนีผู้ล่วงพ้นโยคะเสียได้[14]

ปิ่น มุทุกันต์ กล่าวว่า คำว่า เกษม แปลว่า ปลอดภัยพ้นจากภัยทั้งปวงโดยสิ้นเชิง จิตเกษม หมายถึง ผู้ดำเนินตามปฏิปทาแห่งมรรคในพุทธศาสนาบรรลุถึงจุดสุดยอดแล้ว คือ จิตเกษม[15]

คำว่า เกษม จึงหมายถึง ความปลอดภัย พ้นภัย สิ้นกิเลส มีความสุข ได้แก่สภาพจิตที่หมดกิเลสแล้ว จิตเป็นอิสระไม่มีพิษภัยใด ๆ มาบีบคั้นได้อีก จึงมีความสุขอย่างแท้จริง พ้นจากการเวียนว่ายตายเกิด คือผู้ที่มีใจสงบนิ่งอยู่ในพระนิพพานตลอดเวลา ได้แก่จิตพระอรหันต์ผู้สิ้นแล้วซึ่งกิเลสอาสวะและรอดพ้นจากวงล้อมของโยคะทั้งหลาย

การพัฒนาคุณภาพชีวิตเพื่อให้เกิดจิตเกษมจากโยคะ คือการพัฒนาจิตให้เกษมหลุดพ้นจากกิเลสภัย บรรลุนิพพาน มีความเป็นอยู่ด้วยความว่างจากการยึดมั่นถือมั่นในตัวตนเป็นสิ่งประเสริฐ ทำให้ชีวิตประสบความสำเร็จสูงสุด เป็นบรมธรรม สิ้นสุดการเวียนว่ายตายเกิดและจบสิ้นภาระกิจของเกิดมาเป็นมนุษย์

จากการที่ได้ศึกษาหลักการทางพุทธจริยศาสตร์ที่ปรากฏในมงคลสูตรตามที่ได้กล่าวทั้งหมดสามารถสรุปโดยแบ่งเป็น ๓ ระดับใหญ่ ดังนี้

 

.๙.๕จริยศาสตร์ระดับพื้นฐาน

จริยศาสตร์ขั้นพื้นฐานประกอบด้วยหลักการปฏิบัติในด้านต่างๆ ดังนี้

) หลักปฏิบัติด้านสิ่งแวดล้อม คือปัจจัยภายนอกที่มีผลต่อการพัฒนาชีวิต ได้แก่

๑.การไม่คบคนพาล

๒.การคบบัณฑิต

๓.การบูชาบุคคลที่ควรบูชา

๔.อยู่ในถิ่นที่เหมาะสม

๒) หลักปฏิบัติด้านตนเอง คือหลักจริยศาสตร์ที่ถือเป็นหลักการจริยศาสตร์ขั้นพื้นฐานเพื่อการพัฒนาตนเอง ประกอบด้วย

๑.การสร้างสมความดีไว้ก่อน

๒.การตั้งตนไว้ชอบหรือดำรงตนถูกต้อง

๓.การรอบรู้วิทยาการ ใฝ่ศึกษาหาความรู้อยู่เสมอ

๔.ความชำนาญในศิลปะ

๕.การมีระเบียบวินัย

๖.การพูดจาดีเป็นวาจาสุภาษิต

) หลักปฏิบัติด้านการพัฒนาครอบครัวเป็นหลักจริยศาสตร์ขั้นพื้นฐานที่ ประกอบด้วย

๑.การเลี้ยงดูบิดามารดา

๒.การเลี้ยงดูบุตรธิดา

๓.การเลี้ยงดูภรรยา

๔.การทำงานไม่ให้คั่งค้าง

) หลักปฏิบัติด้านสังคม คือเป็นจริยศาสตร์ระดับพื้นฐาน ประกอบด้วย

๑.การบำเพ็ญทาน

๒.การประพฤติเป็นธรรม

๓.การสงเคราะห์ญาติ

๔.การกระทำที่ไม่มีโทษ

.๙.๖ หลักจริยศาสตร์ระดับกลาง

หลักจริยศาสตร์ระดับนี้ประกอบด้วยหลักปฏิบัติด้านการศึกษาธรรมและด้านคุณธรรม ประกอบด้วย

จริยศาสตร์ด้านการสร้างเสริมศีลธรรม ได้แก่

๑.การงดเว้นจากบาปความ

๒.สำรวมจากการดื่มน้ำเมาหรือการงดเว้นจากสิ่งเสพติดให้โทษ

จริยศาสตร์ที่เกี่ยวกับการศึกษาธรรม ได้แก่

๑.การฟังธรรมตามกาลเวลา ได้แก่ การตั้งใจฟังหรือเชื่อฟังคำสอนของพระพระพุทธองค์

๒.ความอดทน ได้แก่ การไม่โกรธไม่โต้ตอบในขณะที่ถูกกิเลสครอบงำ

๓.ความเป็นผู้ว่าง่ายสอนง่าย ได้แก่ การเป็นผู้ตั้งใจฟังคำสั่งสอน ไม่ดื้อรั้นและดันทุรัน

๔.การคบหาสมณะ ได้แก่ การคบค้าสมาคมกับนักปราชญ์ท่านผู้รู้หรือสมณะซึ่ง แปลว่าผู้สงบกาย วาจา และใจ

๕.การสนทนาธรรมตามกาล ได้แก่ การพูดคุยธรรมะ พูดคุยอย่างสร้างสรรค์ งดเว้นจากการพูดคำเท็จ คำหยาบ คำส่อเสียด และคำเพ้อเจ้อ

จริยศาสตร์ด้านคุณธรรม เป็นจริยศาสตร์ระดับกลาง คือ

๑.ความไม่ประมาทในธรรม ได้แก่ การดำเนินชีวิตโดยไม่ปราศจากธรรมต่างๆ เช่น สติ เป็นต้น ก็จะสามารถพัฒนาตนเองได้เต็มที่

๒.ความเป็นผู้มีสัมมาคารวะ ได้แก่ การเป็นผู้มีความอ่อนน้อม ไม่แข็งกระด้าง

๓.การถ่อมตัว ได้แก่ การเป็นผู้ไม่ดูหมิ่นคนอื่นและไม่ชอบโอ้อวด

๔.ความสันโดษ ได้แก่ การเป็นผู้มักน้อย ไม่โลภมาก

๕.ความกตัญญู ได้แก่ การเป็นผู้รู้จักตอบแทนบุญคุณของบุคคลและสิ่งต่างๆ ที่มีคุณต่อตัวเรา

.๙.๗ หลักจริยศาสตร์ระดับสูง

หลักจริยศาสตร์ระดับสูงประกอบด้วยหลักปฏิบัติด้านการประพฤติธรรมและผลของการประพฤติธรรม ประกอบด้วย

หลักจริยศาสตร์ด้านการประพฤติธรรมได้แก่

๑.ความมีตบะ ได้แก่ มีความเพียรไม่ย่อหย่อน กระทำอย่างต่อเนื่อง จนสามารถเผาผลาญหรือทำลายกิเลสาสวะให้หมดสิ้นไป

๒.การประพฤติพรหมจรรย์  ได้แก่ การดำเนินชีวิตไปสู่ความบริสุทธิ์ หมดจด ไร้กิเลส เป็นชีวิตที่มีเสรีภาพจากกิเลสอย่างแท้จริง

๓.การเห็นแจ้งในอริยสัจ ได้แก่ การเห็นแจ้งในความทุกข์ เหตุให้ทุกข์เกิด ความดับทุกข์ และเห็นข้อ

หลักจริยศาสตร์ด้านผลของการประพฤติธรรม

โดยการดำเนินการตามมรรควิธีดังกล่าวย่อมก่อให้บังเกิดผล คือ

๑.จิตไม่หวั่นไหวในโลกธรรม ได้แก่ สภาพที่จิตใจมีความมั่นคง ไม่เอนเอียงไปเพราะแรงแห่งโลกธรรม

๒.จิตไม่เศร้าโศก ได้แก่ จิตใจที่ปลอดโปร่ง ห่างไกลจากเครื่องเศร้าหมอง 

๓.จิตปราศจากธุลี ได้แก่ จิตใจที่พ้นจากกิเลสเรียบร้อยแล้ว มีแต่ความบริสุทธิ์ หมดจด ผ่องแผ้ว 

๔.จิตเกษมจากโยคะ ได้แก่ จิตใจที่ปลอดจากเครื่องผูกหรือโยคะ เป็นจิตที่เข้าถึงเสรีภาพอย่างสูงสุด ไม่มีกิเลสมาพัวพันอีกต่อไป.

คำสอนในมงคลสูตรได้แสดงหลักจริยศาสตร์ไว้ครบทั้ง ๓ ระดับคือ ระดับพื้นฐาน ระดับกลาง และระดับสูง ซึ่งสามารถแสดงให้เห็นเป็นขั้นตอนได้ดังนี้

๑) คำสอนในมลคลสูตรชุดแรก ซึ่งระกอบด้วยมงคลข้อที่

(๑) การไม่คบคนพาล

จัดว่าเป็นหลักจริยศาสตร์ด้านสิ่งแวดล้อม

 

(๒) การคบบัณฑิต 

(๓) บูชาบุคคลที่ควรบูชา

(๔) การอยู่อาสัยในถิ่นที่เหมาะสม

๒) คำสอนในมงคลสูตรชุดที่สอง ซึ่งประกอบด้วยมงคลข้อที่

(๕) การทำบุญไว้ก่อน

จัดเป็นหลักจริยศาสตร์ด้านการพัฒนาตนเอง

 

(๖) การตั้งตนไว้ชอบ

(๗) ความเป็นพหูสูต 

(๘) การมีศิลปะ

(๙) การมีวินัย

(๑๐) มีวาจาเป็นสุภาษิต

๓) คำสอนสอนในมงคลสูตรชุดที่ ๓ ซึ่งประกอบด้วยมงคลข้อที่

(๑๑) เลี้ยงดูบิดามารดา

จัดเป็นหลักจริยศาสตร์ด้านครอบครัว

 

(๑๒) การเลี้ยงดูบุตรธิดา  

(๑๓) การเลี้ยงดูภรรยา  

(๑๔) การทำงานไม่เหลาะแหละคั่งค้าง

๔) คำสอนในมงคลสูตรชุดที่ ๔ ซึ่งประกอบด้วยมงคลข้อที่

(๑๕) การบำเพ็ญทาน

(๑๖) การประพฤติธรรม

จัดเป็นหลักจริยศาสตร์ด้านสังคม

 

(๑๗) การสงเคราะห์ญาติ

(๑๘) การทำงานไม่มีโทษ

(๑๙) การงดเว้นจากบาป

๕) คำสอนในมงคลสูตรชุดที่ ๕ คือ

จัดเป็นหลักจริยศาสตร์ด้านศีลธรรม

 

(๒๐) เว้นจากการดื่มน้ำเมา

(๒๑) การไม่ประมาทในธรรม

๖) คำสอนในมงคลสูตรชุดที่ ๖ คือ

(๒๒) ความเคารพ

จัดเป็นหลักจริยศาสตร์ด้านคุณธรรม

 

(๒๓) เจียมตัว

(๒๔) สันโดษ

(๒๕) กตัญญู

(๒๖) ฟังธรรมตามกาล

๗) คำสอนในมงคลสูตรชุดที่ ๗ คือ

จัดเป็นหลักจริยศาสตร์ด้านการศึกษา

 

(๒๗) ความอดทน

(๒๘) การเป็นผู้ว่าง่าย

(๒๙) คบหาสมณะ

(๓๐) สนทนาธรรมตามกาล

๘) คำสอนในมงคลสูตรชุด ๘ คือ

จัดเป็นหลักจริยศาสตร์ขั้นสูงคือธรรมปฏิบัติ

 

(๓๑) การบำเพ็ญตบะ

(๓๒ การประพฤติพรหมจรรย์

(๓๓) ความเห็นแจ้งอริยสัจ ๔

(๓๔) การทำให้แจ้งนิพพาน

๙) คำสอนในมงคลสูตรชุด ๙ ได้แก่

(๓๕) จิตไม่หวั่นไหว

จัดเป็นหลักจริยศาสตร์ขั้นที่เป็นผลสูงสุดของธรรมปฏิบัติ

 

(๓๖) จิตไม่เศร้าโศก

(๓๗) จิตปราศจากธุระ

(๓๘) จิตเกษม

แผนภูมิแสดงแนวคิดทางจริยศาสตร์ในมงคลสูตร

ความสันโดษ

ความกตัญญู

ความมีตบะเป็นเครื่องเผาผลาญกิเลส

การประพฤติพรหมจรรย์

จริยศาสตร์ระดับสูงระดับโลกุตตระ

 

การเห็นแจ้งในอริยสัจ

การรู้แจ้งซึ่งรพระนิพพาน

ความมีจิตไม่หวั่นไหวเพราะโลกธรรม

จิตไม่เศร้าหมอง

จิตปราศจากธุลี

จิตเกษมจากโยคะ

ดังนั้นจึงพอจะสรุปภาพรวมในลักษณะการบูรณาการตามหลักการทางพุทธจริยศาสตร์ระดับพื้นฐาน ระดับกลาง และระดับสูง ในการพัฒนาพฤติกรรม รวมไปถึง ความเชื่อ ค่านิยม รูปแบบการดำเนินชีวิตของบุคคลตามแผนภูมิดังนี้

  ประวัติผู้รวบรวมและเขียน

ชื่อสกุล    นาย

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท