ขี้เลื่อย.....ไม่ใช่เรื่องขี้เลื่อย อีกต่อไป.....


                   ระยะนี้ผมห่างหายจากการเขียนบันทึกนี้ไปนานพอควร เพราะมีงานใหม่มาให้รับผิดชอบ ที่ต้องริเริ่มสร้างใหม่หลายเรื่อง ....แต่ก็ยังได้สดับรับฟังเรื่องนานาสารพันจากคนเพาะเห็ด...อยู่เป็นระยะๆ....การเยี่ยนฟาร์มเพาะเห็ดน้อยใหญ่ที่รู้จักมักคุ้น และ แลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่องการเพาะเห็ดกับนักเพาะเห็ดหน้าใหม่เก่ายังมีอยู่ไม่ขาด....เรื่องที่น่ากังวลของผู้เพาะเห็ดในวันนี้มีมากมายกว่าแต่ก่อนมาก....และหลากหลายเรื่องมากขึ้น สมควรที่คนในแวดวงเพาะเห็ดจะได้ช่วยหาวธีคิดแก้ช่วยกัน....ที่สำคัญ ได้แก่

                   วัตถุดิบ คือ ขี้เลื่อยไม้ยางพาราที่แพงขึ้นมาก ไม่สอดคล้องกับสถานการณ์น้ำมัน คือ ณ เชียงใหม่ ลำพูน เชียงราย ที่มีราคา 23000-25000 บาท/คันรถสิบล้อ(ประมาณ 11-12ตัน) เมื่อ ปี 2552 นี้เอง ปัจจุบัน ราคากว่า 28000--30000 บาท/คันรถสิบล้อ แล้ว หรือ เพิ่มขึ้นไป 5000 บาท ในระยะเวลา 3 ปี จนทำให้เกษตรกรผู้ประกบการถอยหนีห่างไปกันมากแล้ว  ในขณะที่ราคาเห็ดนางฟ้านางรม ไม่เพิ่มขึ้น ในราคาส่ง เพียง 30-40 มาเป็นเวลาเนิ่นนานแล้ว ราคาที่เพิ่มขึ้นบ้าง เกิดจากฤดูกาล และปริมาณเห็ดที่ออกสู่ตลาดเท่านั้น ไม่ได้เพิ่มขึ้นจากภาวะวัตถุดิบ หรือ ขี้เลื่อยราคาสูงขึ้นแต่อย่างใด.....น่าเป็นห่วงเป็นอย่างยิ่ง

                  กลไกที่ว่ากันว่าทำให้ราคาขี้เลื่อยยางพาราราคาแพงขึ้น ว่ากันว่าไม่ได้เกิดจากน้ำมันราคาสูงขึ้น แต่เกิดจากขี้เลื่อยไม่ยางพารามีความต้องการมากขึน ไม่แน่ใจว่าเกิดจากการเพิ่มขึ้นของนักเพาะเห็ดหน้าใหม่หรือไม่ อย่างไร ทำให้โรงเลื่อยที่เป็นแหล่งรวบรวม และจำหน่ายขี้เลื่อยมีรถไปเข้าคิวรอซือขี้เลื่อยจำนวนมาก บ้างต้องใช้เวลารอขี้เลื่อยขึ้นรถกว่าสัปดาห์ ผู้ค้าและผู้ขนส่งขี้เลื่อยต้องเสียเวลานานขนาดนี้จึงถือโอกาสขึ้นราคาสูง เพราะมีผู้ค้าขี้เลื่อยน้อยราย....

                   เกษตรกรผู้เพาะเห็ดในหลายจังหวัดภายเหนือเดียวนี้ต้องลดต้นทุนโดยการหาซื้อขี้เลื่อยไม้ฉำฉา(ก้ามปู)ซึ่งเหลือใช้จากการทำเฟอร์นิเจอร์แทน แม้ไม่ได้คุณภาพเท่าแต่ก็ประหยัดเงินไม่น้อย นอกจากนั้นขี้เลื่อยไมกฐินณรงค์ ก็มีให้เห็นในระยะนี้ แต่ในอนาคตเมื่อมีความต้องการมากขึ้น ราคาขี้เลื่อยอื่นๆก็จะยิ่งราคาสูงขึ้นและไม่เพียงพอต่อการทดแทนไม้ยางพารา ถึงเวลานั้นจะทำกันอย่างไร  เร่องพวกนีคนในวงการเห็ดเท่านันที่จะต้องช่วยคิดช่วยแก้ ชมรม สมาคมใดๆท่มีก็เน้นแต่เฉพาะเรื่อง วิจัย เรื่องอนุรักษ์แสวงหาพันธุ์ใหม่เท่านั้น ไม่คิดไม่แก้ปัญหาพื้นฐานเหล่านี้ให้เห็นเลย

                ท่านเห็นด้วยกับผมหรือไม่?....อย่างไร?......แลกเปลี่ยนกันนะครับ.....

                        

                       

                                              ขี้เลื่อยและเศษไม้ต่างทางเลือกที่ใช้ในการเพาะเห็ด

หมายเลขบันทึก: 512606เขียนเมื่อ 18 ธันวาคม 2012 22:11 น. ()แก้ไขเมื่อ 9 มกราคม 2013 20:30 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

  • ,มาสวัสดีปีใหม่่ครับ
  • การเพาะเห็ด คงต้องมีการพัฒนาเพื่อรองรับการขาดแคลนวัตถุดิบครับ

สวัสดีปีใหม่ค่ะ เพิ่งเริ่มเพาะเห็ดค่ะ เพิ่งเปิดดอกภูฐานกับฮังการีไปคะ รอรุ่นที่สองมานับสิบวันก็ำำไม่ออกสักที แอบท้อเหมือนกันค่ะ ดอกไม่ค่อยสวยเลย ยิ่งมาเห็นบทความนี้แล้วแอบท้อเลยคะ แต่จะพยายามสู้จนถึงที่สุด

สวัสดี คุณสามสัก  และคุณ triplem   

วงการเพาะเห็ดหากไม่มีการบริหารจัดการเรื่องวัตถุดิบก็ไปไม่รอดแน่นอนอย่างที่ว่า  และย่อมถูกเอารัดเอาเปรียบจากพ่อค้าวัตถุดิบยิ่งขึ้นไปอีก เพราะเขรู้ว่าเป็นที่ต้องการสูง....คนเพาะเห็ดจึงต้องหาวัตถุดิบในท้องถิ่นมาเสริมหนุน หรือ ทดแทนให้ได้ครับ

สำหรับนักเพาะเห็ดรายใหม่ อย่าพึงท้อ หรือ ถอดใจไปก่อนครับ เพราะผมอาจเน้นเรืองนำปัญหามาแลกเปลี่ยน เพราะทุกคนพูดถึงรายได้จากการเพาะเห็ดแต่หาคนน้อยที่จะพูดถึงปัญหาในการผลิตเห็ดจึงเป็นเรื่องจำเป็นที่ต้องนำมาเผยแพร่ให้ร่วมคิดช่วยแก้ด้วยกน

การผลิตเห็ดไม่ง่ายเกินไปนัก  แต่ ก็ไม่ยากเกิไปจนทำไ่ได้หรอกครับ....





สวัสดีปีใหม่จ้ะ  สุขกาย  สุขใจ  สุขสันต์ ตลอดปี  ตลอดไปนะจ๊ะ.....หายไปนานนะจ๊ะ

เรียน พี่เจษฎา ครับ

รบกวนขอความรู้หน่อยครับ พี่เจษฏาพอจะมี สูตรฟางหมักเพาะเห็ด นางฟ้า นางรม เห็ดโคนญี่ปุ่น แบบละเอียด ไหมครับ 

พอดีผม กำลังหาวัสดุแถวบ้านซึ่งมี ฟาง และก็ กากอ้อยจากโรงงานครับ ส่วนขี้เลี่อยไม้ยางพาราหายากมากครับ 

จึงอยากได้วัสดุแถวบ้านมาเพาะแต่ก็ยังไม่มีความรู้ความเข้าใจ ก็เลยอยากรบกวนสอบถาม ครับ 

ขอบคุณครับ [email protected]

คุณ BEER 

ฟางมัดเป็นฟ่อน   กดแช่น้ำในคลอง หรือ อ่าง พยายามกดให้จม  3-4 ชั่วโมง (หรือ ครึ่งวันก็ได้)  นำขึ้นมาแผ่ บนพื้นเรียบ หรือ รองด้วยพลาสติกหนา   หากฟาง 100 ฟ่อน อาจหว่านปุ๋ยยูเรีย 1-2 กก.ช่วยให้นุ่มไวขึ้น  คลุมพลาสติกเพื่อเพิ่มความร้อน และ เร่งการหมักบ่ม  3-4 วัน เมื่อฟางเริ่มนุ่ม นำมาสับขนาด 2-3 นิ้ว ก่อนคลุกเคล้าส่วนผสมเห็ด และบรรจุถุงต่อไป

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท