คอมพิวเตอร์ กับ การวิจัย


ประโยชน์ของคอมพิวเตอร์และซอฟท์แวร์นอกจากที่กล่าวถึงในหนังสือของ Leedy ซึ่งได้แก่การค้นหาข้อมูลผ่านระบบอินเตอร์เน็ต www, การใช้อีเมล์ในการติดต่อสื่อสาร, การอ่าน NEWS ต่างๆ รวมถึงนำคอมพิวเตอร์และโปรแกรมสถิติต่างๆ เช่น SPSS ,Epiinfo,LISREL ในการวิเคราะห์ข้อมูล

นอกจากประโยชน์ดังกล่าวที่เขียนไว้ในหนังสือแล้ว ในปัจจุบัน พบว่าคอมพิวเตอร์เข้ามามีบทบาทในฐานะเครื่องมือใหม่ๆของการวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์ ตัวอย่างเช่น

1. ช่วยในการเก็บรวบรวมข้อมูล โดยลักษณะการใช้แบบสอบถามออนไลน์ ซึ่งในปัจจุบันมีหลายเวบไซต์ให้บริการในการสร้างแบบสอบถามออนไลน์ได้ อย่างเช่น surveymonkey.com esurveyspro.com หรือ polldaddy.com เว็บไซต์พวกนี้ นักวิจัยสร้างแบบสอบถามได้ฟรี แต่ว่าจะไม่ยอมให้คุณ export ข้อมูลออกมาแบบฟรีๆ แต่ถ้านักวิจัยต้องการแบบฟรี อาจใช้บริการของ GoogleDoc ก็ได้

2. ใช้ในการสรุปรวบยอดความคิด สร้าง Concept ในการวิจัย เช่น โปรแกรมแผนที่ความคิด Mind Map, MindHelper เป็นต้น

3. ใช้ในการนำเสนอข้อมูลวิจัยที่น่าสนใจและน่าดึงดูด เช่น การใช้ Pages หรือ Keynote ในการนำเสนอรายงานการวิจัยในที่ประชุมวิชาการต่างๆ การใช้โปรแกรม Adobe Illustrator ในการสร้างโปสเตอร์นำเสนอการวิจัยที่สวยงามน่าดึงดูด

4. ใช้ในการแลกเปลี่ยนไฟล์และส่งข้อมูลทางวิชาการผ่านระบบ Cloud ซึ่งระบบ Cloud Application นี้ มีมาสักระยะหนึ่งแล้ว นักวิจัยอาจใช้ DropBox, iCloud ในการแลกเปลี่ยน Material ในการวิจัย ส่งผ่านข้อมูลระหว่างทีมวิจัย และประโยชน์อื่นๆ

5. ช่วยในการแปลเอกสารต่างประเทศ ซึ่งในสมัยก่อนนักวิจัยไทยบางคนอาจมีอุปสรรคในการอ่าน journal หรือ Text ภาษาต่างประเทศ แต่ในปัจจุบันด้วยเทคโนโลยีแปลภาษาที่มีมากมาย และมีความถูกต้องในการแปลมากยิ่งขึ้น เช่น Google translate ทำให้นักวิจัยสามารถอ่านหนังสือและบทความต่างประเทศดีๆได้เข้าใจแล้มีประสิทธิภาพมากขึ้น

6. ใช้ในการหาหนังสือ E-book ดีๆ ซึ่งในสมัยก่อนก่อรอ่าน TextBook ดีๆสักเล่มเป้นเรื่องที่ยากมาก และสิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายที่สูง ในปัจจุบัน ถ้านักวิจัยรู้จักการใช้ e-Book - Google การดาวโหลด หนังสือดีๆ มาอ่านก้ไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป นอกจากนี้ฐานข้อมูลทางวิชาการดีๆที่ฟรี เช่น Google Scholar ก็ยังเปิดโอกาสให้นักวิจัยสามารถเข้าไปใช้ประโยชน์จาก journal ที่ทาง google ซื้อไว้อย่างฟรีๆได้

7. ใช้ในการติดต่อสื่อสารและสร้างสังคมออนไลน์ นักวิจัยสามารถใช้โปรแกรมเพื่อสร้างสังคมการสื่อสารวิจัยออนไลน์ด้วย Application ต่างๆ มากมาย เช่น Facebook ,Twitter, Line ซึ่งโปรแกรมต่างๆเหล่านี้ ทำให้ผู้วิจัยสามารถสื่อสารกับ ผู้ช่วยวิจัย นักวิทยาศาสตร์ ผู้เชี่ยวชาญ และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับงานวิจัยได้รวดเร็ว และมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

ที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ เป็นเพียงบางส่วนของการนำคอมพิวเตอร์และซอฟท์แวร์มาใช้ในการวิจัย ยังมีประโยชน์อีกมากที่ไม่ได้กล่าวถึงในที่นี้ ซึ่งผู้วิจัยสามารถไปประยุกต์ใช้กับงานวิจัยของตนเองได้หากมีความสนใจ

หมายเลขบันทึก: 512454เขียนเมื่อ 17 ธันวาคม 2012 22:31 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 ธันวาคม 2012 22:31 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท