วันนี้ ครู กศน. ตำบล คือ หัวหน้า กศน.เต็มตัว...หรือเปล่า...


           ผลพวงจากการสอบบรรจุครูศูนย์การเรียนชุมชน ของอำเภอเมืองนครศรีธรรมราชได้รับการบรรจุแต่งตั้งมา  11  คน  ซึ่งได้เฉลี่ยลงไปปฏิบัติงานในตำบลต่างๆ ส่งผลให้  กศน. ตำบลใกล้เป็นสถานศึกษาเข้าไปทุกทีแล้ว... เพราะเมื่อก่อน ครูกศน. ตำบล อยู่คนเดียว ก็บริหารงาน  แต่ตอนนี้มีเพื่อนร่วมงานไปอยู่ช่วยงานแล้วก็ต้องมีการบริหารบุคคลเพิ่มขึ้นมาด้วย...งานในพื้นที่น่าจะขับเคลื่อนได้ดีขึ้น  ในส่วนของ กศน. อำเภอเมืองนครศรีธรรมราช ความคิดของผมคือ  โครงสร้าง กศน. ตำบล ตอนนี้ คือโครงสร้างสถานศึกษา  โดยแบ่งได้ดังนี้

1. ครู กศน. ตำบล   (หัวหน้า กศน. ตำบล) เป็นผู้บริหาร (สถานศึกษา)  และครูประจำชั้น

2. ครู ศรช. (เป็นครูประจำชั้น) และ ประจำวิชา

3. ข้าราชการ และ ครูอาสาสมัครฯ ประจำกลุ่มโซน และพื้นที่ตำบล (เป็นครูประจำวิชา) 

4. ในบางตำบลมีครูสอนคนพิการ 

สรุปแล้วสถานศึกษา กศน. ตำบล มีครูอยู่  5 - 6  คน  ซึ่งเป็น บุคลากรที่ หัวหน้า กศน. ตำบล ต้องบริหารให้มีการขับเคลื่อนกิจกรรมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยในพื้นที่อย่างมีคุณภาพ  สิ่งแรกที่ครู กศน. ตำบลต้องคำนึงถึงคือ ความเป็นทีม ที่จะต้องทำงานร่วมกันในทุกเรื่อง....ทั้งเรื่องการศึกษานอกระบบขั้นพื้นฐาน   การศึกษานอกระบบต่อเนื่อง  การส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้ของชุมชน ฯลฯ  จะต้องมีการร่วมกันทำงานตั้งแต่การวางแผน การแบ่งภาระรับผิดชอบ  และร่วมกันปฏิบัติการขับเคลื่อน ร่วมกันชื่นชมผลงาน.... ไม่แน่ใจว่า ครู กศน. ตำบลเห็นตาเนื้อตรงนี้แล้วยัง... ถ้ามองไม่เห็นสิ่งเหล่านี้จะเกิดขึ้น....

1. กศน. ตำบล .(สถานศึกษา) มีคู่แข่ง  เป็นสถานศึกษาแห่งใหม่ในพื้นที่ คือ ศูนย์การเรียนชุมชน ซึ่งทำหน้าที่ เหมือน กศน. ตำบลทุกอย่าง...

2. ทำให้เกิดการเปรียบเทียบประสิทธิภาพ และประสิทธิผล การปฏิบัติงานของทั้งสอง กลุ่ม....คุณแน่ใจแค่ใหนว่าสิ่งที่คุณทำอยู่ตอนนี้มีคุณภาพได้ตามมาตรฐาน กศน. แล้ว...แต่คนที่มาใหม่ก็พกพาเอาประสบการณ์มาเพียบเหมือนกันและไม่แน่เขาอาจทำได้ดีกว่าที่คุณทำอยู่  

3. ทำให้เกิดการแก่งแย่ง ชิงดีชิงเด่น เห็นแก่ตัว  อาจมีมากขึ้นกว่าเดิมที่เป็นอยู่ นำไปสู่การข่มเหง เอารัดเอาเปรียบ ทำให้ขาดคุณธรรมในจิตใจ

4. งบประมาณ มีการแบ่งซอยเป็น 2 ส่วนไปทำกิจกรรม เพราะลงไปอยู่ตำบลเดียวกันทำงานเหมือนกันทุกอย่าง

5. เครือข่ายในพื้นที่ของคุณหมดความเชื่อมั่น ขาดความศรัทธา ในองค์กร แล้วจะเอาใครที่ใหนมาร่วมงานกับเราเมื่อเราเองก็แบ่งแยกกันเสียแล้ว....เหมือนกับเราตัดมือตัดเท้าตัวเอง...และทำกำแพงปิดกั้นตัวเองไว้...

            ถึงเวลาแล้วยังที่ครู กศน. ตำบล ซึ่ง เป็นหัวหน้าสถานศึกษา  (กศน. ตำบล) เริ่มเรียนรู้ถึงบทบาทของการเป็นหัวหน้า (ผู้บริหาร)  กศน. ตำบล  ทั้งเรื่องของ การบริหารโครงสร้าง ด้านบุคลากร  การบริหารงบประมาณ  การบริหารการดำเนินกิจกรรม  การบริหารเครือข่าย....ที่สำคัญคือการบริหารตัวเองให้ทำหน้าที่เป็นผู้บริหาร ในฐานะที่เป็นหัวหน้าสถานศึกษา  กศน. ในระดับพื้นที่ตำบล......

หมายเลขบันทึก: 511990เขียนเมื่อ 14 ธันวาคม 2012 14:09 น. ()แก้ไขเมื่อ 16 ธันวาคม 2012 19:27 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท