การศึกษาผลของการประเมินตนเองของนิสิตทันตแพทย์ต่อประสบการณ์การทำงานชุมชน ในคลินิกทันตกรรมชุมชนโดยใช้แบบสะท้อนความคิด


การศึกษาผลของการประเมินตนเองของนิสิตทันตแพทย์ต่อประสบการณ์การทำงานชุมชน

ในคลินิกทันตกรรมชุมชนโดยใช้แบบสะท้อนความคิด

Dental Students’ Self-Evaluation on Their Community-Base Experince in Dental Public Health Clinic :  The Use of Self-Reflective Learning Log

ณัฐวุธ  แก้วสุทธา , เสรีนา สิรรัตน์ สกุลณะมรรคา, กิตติธัช  มงคลศิวะ

ภาควิชาทันตกรรมสำหรับเด็กและทันตกรรมป้องกัน คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิผลของเครื่องมือ ที่ใช้ประเมินนิสิตในคลินิกทันต  สาธารณสุขชุมชน โดยอาศัยทฤษฎีการประเมินด้วยตนเอง โดยการวิจัยในส่วนแรกเป็นการศึกษาผลของประสบการณ์การเรียนรู้โดยใช้แบบสะท้อนความคิดในการเรียนรู้คลินิกชุมชน และในส่วนที่สองเป็นการศึกษาผลของการประเมินการมีส่วนร่วมในการทำงานที่ประเมินด้วยตนเองและเพื่อนร่วมกลุ่มเป็นผู้ประเมินโดยใช้แบบประเมินการมีส่วนร่วม

วิธีการศึกษา  รวบรวมข้อมูลจากข้อมูลของนิสิตทันตแพทย์ชั้นปีที่ 5 คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทร วิโรฒ  จำนวน 60 คน  จากแบบสะท้อนความคิดในการเรียนรู้คลินิกชุมชน และแบบประเมินการมีส่วนร่วม โดยในส่วนของแบบสะท้อนความคิด จะรวบรวมประเด็นที่น่าสนใจและจัดหมวดหมู่ข้อมูลที่ได้ตามความสอดคล้องของข้อมูลจากการเขียนบรรยายของนิสิตแต่ละคน จากนั้นจะทำการวิเคราะห์เพื่อหาความเกี่ยวข้องของข้อมูลที่ได้กับวัตถุประสงค์ของการจัดการเรียนการสอน  สำหรับในส่วนของแบบประเมินการมีส่วนร่วมในการทำงาน จะวิเคราะห์ความแตกต่างของผลการประเมินการมีส่วนร่วมในการทำงานด้วยตนเองและผลการประเมินจากสมาชิกในกลุ่ม  จากนั้นทดสอบความแตกต่างของค่าที่วัดได้จาก 2 กลุ่มโดยใช้สถิติ paired t-test  และทดสอบความสอดคล้องของระดับการมีส่วนร่วมจากการประเมินโดยตนเองและสมาชิกในกลุ่มโดยใช้สถิติ Pearson Correlation โดยใช้โปรแกรมสถิติสำเร็จรูป ที่ระดับความเชื่อมั่น95%
ผลการศึกษา จากแบบสะท้อนความคิดพบว่า นิสิตได้เรียนรู้แตกต่างกันตามขั้นตอนของการปฏิบัติงานในชุมชน  โดยพบว่านิสิตได้เรียนรู้ในขั้นตอนของการเข้าชุมชนมากที่สุด รองลงมาเป็นขั้นตอนการวิเคราะห์ปัญหา และการวางแผนการปฏิบัติงานทันตสาธารณสุขในชุมชนตามลำดับ แต่ไม่พบการบรรยายของนิสิตในส่วนขั้นตอนของการประเมินผลโครงการ

สำหรับในส่วนแบบประเมินการมีส่วนร่วม พบว่าสามารถจัดระดับการมีส่วนร่วมสำหรับการประเมินด้วยตนเองได้ดังนี้ คือ มีส่วนร่วมมาก 8 คน (13.3%), มีส่วนร่วมปานกลาง 41 คน (68.3% ) และมีส่วนร่วมน้อย 11 คน(18.3%)  ขณะเดียวกันการประเมินจากสมาชิกในกลุ่ม สามารถจัดระดับการมีส่วนร่วมได้ดังนี้ คือ มีส่วนร่วมมาก 12 คน (20%), มีส่วนร่วมปานกลาง 34 คน (56.7%)  และมีส่วนร่วมน้อย14คน(23.2%) ซึ่งผลการทดสอบทางสถิติไม่พบความแตกต่างของระดับการมีส่วนร่วมระหว่างการประเมินทั้งสองรูปแบบ และมีความสอดคล้องกันในแต่ละระดับการมีส่วนร่วม
สรุป:แบบสะท้อนความคิดเป็นเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพในการแสดงประสบการณ์การเรียนรู้ในการเรียนรู้คลินิกชุมชน
และแบบประเมินการมีส่วนร่วมสามารถใช้ประโยชน์ในการประเมินการมีส่วนร่วมในการทำงาน โดยใช้หลักการประเมินด้วยตนเองได้


คำหลัก: การสะท้อนคิดด้วยตนเอง, คลินิกทันตสาธารณสุขชุมชน, การเรียนรู้ด้วยตนเอง 

อ่านรายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ รูปแบบ PDF Format ได้ที่

Nathawut_K_R402832.pdf

หรือ

http://ir.swu.ac.th/xmlui/bitstream/handle/123456789/599/Nathawut_K_R402832.pdf?sequence=1

หมายเลขบันทึก: 511917เขียนเมื่อ 13 ธันวาคม 2012 20:54 น. ()แก้ไขเมื่อ 16 ธันวาคม 2012 19:41 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท