เปลี่ยนโรคแห่งความทุกข์ แล้วสร้างสุขกับสิ่งที่เป็น ไปกับหัวใจ-คุณยาย-นักศึกษา


สวัสดีคะ ไม่ได้เขียนนานเลยวันนี้เลยจะมาอัพเดตการทำ KM กันอีกสักรอบ รอบนี้เนี่ยสนุกมากๆเลยคะ เพราะมีเป็นกรณีที่ดูเหมือนจะใกล้ๆตัวเราที่อาจารย์เอามายกตัวอย่างให้เราได้ลองวิชากัน


   เคสแรกเป็นผู้รับบริการเป็นโรคหัวใจ มี ICF code บ่งบอกว่าหัวใจโตเกินไปจึงทำกิจกรรมการดำเนินชีวิตได้ไม่สะดวกและมีสิ่งแวดล้อมที่ไม่เหมาะสม ในกรณีนี้นะคะ ก็ควร ปรับสิ่งแวดล้อมก่อนตามความสามารถที่มีอยู่ ทำความเข้าใจญาติๆ และ พยายามฝึกกิจวัตรประจำวันง่ายๆที่เขาทำได้ให้ไปก่อน  อาจจะให้คนไข้ได้ออกกำลังกายบ้าง หรือปรับหากิจกรรมที่เขาชอบแต่ต้องไม่เป็นอันตรายกับโรค(บนพื้นฐานจากสาเหตุของโรค)และต้องหมั่นสังเกตพฤติกรรมและความเปลี่ยนแปลงของเขาด้วยอิงได้จากโมเดล PEOP Pคือดูที่ตัวของเขาว่าปัญหาหรืออาการอะไรและอยากเป็นหรืออยากทำอะไร Eก็ที่สิ่งแวดล้อมที่เราเข้าไปปรับทั้งภายนอกไม่ขัดขวางการทำสิ่งต่างๆและภายในตัวเขาให้เชื่อมั่นและมีกำลังใจ Oคือกิจกรรมที่เราจะเพิ่มเข้าไปหรือลดลงโดยดูผู้รับบริการเป็นหลัก และ Pคือความสามารถที่เขาจะมีเพิ่มขึ้นหรืออย่างน้อยทำได้ใกล้เคียงตอนก่อนป่วยมากที่สุดนั่นเอง


   เคสต่อมา มากันที่คุณยายเป็นมะเร็ง หมอบอกว่าจะตายในสามเดือน และต้องนอนโรงพยาบาลด้วย กรณีนี้เราจะมุ่งเน้นที่ความสุขและกิจกรรมพิเศษที่จะไปช่วยเพิ่มความสุขให้กับคุณยาย อาจมีการปรึกษากับวิชาชีพอื่นเพื่อการวางแผนสร้างความสุขอย่างเป็นองค์รวมให้ครบรอบด้านที่สุดทั้งสิ่งแวดล้อมภายนอกเราต้องคุยกับครอบครัวให้เขาเข้าใจ ช่วยกันสร้างกำลังใจและไม่ให้คุณยายกังวล ปรับห้องผู้ป่วยให้ไม่น่าเบื่อ หรือ มีสีสันน่าอยู่มากขึ้น และภายในให้คุณยายได้ทำกิจกรรมที่ชอบ-เข้าสังคม อาจจะเล่าเคสที่รักษาสำเร็จยังอยู่ดีมีสุขให้ฟังเพื่อสร้างแรงบันดาลใจก็ได้

 

   และเคสสุดท้ายเป็นนักศึกษาชั้นปีที่หนึ่ง อยากเป็นหมอแต่เป็นไม่ได้ มีอาการโรคซึมเศร้าเรื้อรัง ควบคุมอารมณ์ไม่ได้ทำให้เข้าสังคมไม่ได้ อันนี้เราทำได้หลายอย่างเลยอาจจะศึกษาคุณสมบัติของคุณหมอและปรับนิสัยเขาเพื่อสร้างแรงจูงใจ หาเจตจำนงความต้องการที่จะช่วยเปลี่ยนชีวิตเขาได้ หาสาเหตุที่ทำให้เขาควบคุมอารมณ์ไม่ได้ คุยกันตรงๆแบบเปิดใจแล้วลองหากิจกรรมที่สร้างสมาธิให้เขามีสติอยู่ตลอดเวลาจะได้ควบคุมตนเองได้มากขึ้น  ซึ่งเคสนี้ถ้ามองตามโมเดล ICF แล้วจะเห็นว่าน้องคนนี้น่าจะมีปัญหาจาก Body structure & function ที่ความผิดปกติจำพวกสารเคมีระบบประสาทและสมองเปลี่ยนแปลงทำให้น้องอารมณ์แปรปรวนได้ง่ายเลยถูก Activity limited จากสังคมทำให้น้องทำกิจกรรมต่างที่เขาอยากทำไม่ได้หรือได้ไม่เต็มที่ซึ่งเราอาจแก้ไขโดยการเปลี่ยนกลุ่มสังคมหรือให้กิจกรรมใหม่ๆ เช่น ไปเข้าชมรมกีฬา หรือ หากิจกรรมที่น้องสนใจให้ทำ เพื่อเพิ่มโอกาสในการทำกิจกรรมของเขา อาจจะเพิ่ม leisureหรือกิจกรรมยามว่างให้มากขึ้นน้องจะได้ผ่อนคลายไม่เครียด   การที่เราส่งเสริมกิจกรรมน้องมากๆนี่ก็เพื่อที่จะเปลี่ยนความสามารถในการทำกิจกรรม(Occupational Performance)ที่น้องมีอยู่ให้เป็นความสามารถสูงสุด(Capacity)ให้ได้  และถ้าน้องเป็นหมอไม่ได้จริงๆเราก็จำที่จะต้องเปลี่ยนความคิดหรือแนะแนวทางๆใหม่ๆแก่น้องเพื่อให้เขามีคุณภาพชีวิตที่ดีและความสุขคะ {จุดมุ่งหมายสำคัญของวิชาชีพเลยนะคะเนี่ย ^   ^}


 

#รูปเพื่อความสวยงาม ไม่ใช่รูปจริงนะคะ

หมายเลขบันทึก: 511907เขียนเมื่อ 13 ธันวาคม 2012 20:31 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มกราคม 2013 13:56 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ขอบคุณบันทึกพลังบวกค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท