"คอตีบ" โรคเก่าเอามาเล่าใหม่


            วันนี้ของมาเล่าเรื่องแบบคนเต็มๆ ไม่ขาดไม่เกินหน่อยก็แล้วกัน   เนื่องจากการระบาดของโรคคอตีบในช่วงนี้ ถึงมีตัวเลขไม่มากมาย แต่ก็ไม่ใช่ว่าจะไม่น่ากลัว  แต่เห็นสื่อนี่เงียบเชียบ  ไม่ค่อยกระโตกกระตากเท่าไหร่  หรือมีโพสต์ใน net บ้างแต่คนสนใจเรื่องนี้คงน้อยนะ  ชลัญจึงหยิบประเด็นมาแบ่งปัน  เพราะโรคนี้เป็นโรคติดเชื้อเฉียบพลันของทางเดินหายใจ  ซึ่งทำให้เกิดการอักเสบในลำคอ  ในรายที่รุนแรง  จะทำให้เกิดการตีบตันของทางเดินหายใจ  จึงได้ชื่อว่าโรคคอตีบ ซึ่งอาจทำให้ถึงตายได้ และจากพิษ (exotoxin) ของเชื้อจะทำให้มีอันตรายต่อกล้ามเนื้อหัวใจ และเส้นประสาทส่วนปลาย  สาเหตุ  คอตีบเกิดจากเชื้อแบคทีเรีย Corynebacterium diphtheriae (C. diphtheriae) ซึ่งมี  รูปทรงแท่งและย้อมติดสีแกรมบวก มีสายพันธุ์ที่ทำให้เกิดพิษ (toxogenic) และไม่ทำให้เกิดพิษ (nontoxogenic) พิษที่ถูกขับออกมาจะชอบไปที่กล้ามเนื้อหัวใจและปลายประสาท ทำให้เกิดการอักเสบ ซึ่งถ้าเป็นรุนแรงจะทำให้ถึงตาย  (อ้างอิง : http://blog.eduzones.com/pingpong/3441)  และจากข้อมูล ของ กระทรวงสาธารณสุข  http://www.moph.go.th/moph2/index4.php  จะเห็นได้ว่ามีการเฝ้าระวังติดตามอย่างเข้มงวด  ซึ่งแสดงให้เห็นว่า  ยังมีการระบาดของโรคนี้อยู่   และสื่อทาง อินเตอร์เน็ตก็ยังมีการติดตามสถานการณ์เรื่องนี้  ขอยกตัวอย่าง บทความจาก web นี้ http://www.manager.co.th/Qol/ViewNews.aspx?NewsID=9550000130721

"โรคคอตีบเป็นโรคติดต่อโดยเชื้อโรคอยู่ในน้ำมูกน้ำลายผู้ป่วย การติดเชื้อมักเป็นที่ลำคอ หรือจมูก ประเทศไทยดำเนินการควบคุมได้ ไม่เป็นปัญหาติดต่อกันมาแล้วกว่า 10 ปี เนื่องจากมีความครอบคลุมของการฉีดวัคซีนป้องกันอยู่ในระดับสูง แต่ในบางพื้นที่อาจมีปัญหาในการเข้าถึงวัคซีน เช่น พื้นที่ทุรกันดาร ภูเขา พื้นที่มีปัญหาความไม่สงบ ประกอบกับปัญหาการเคลื่อนย้ายแรงงาน โดยเฉพาะในพื้นที่ตะเข็บชายแดน จึงทำให้มีความเสี่ยงโรคหวนกลับมาระบาดได้อีก จากการรับฟังสถานการณ์โรคคอตีบในพื้นที่จังหวัดเลย ขณะนี้สามารถควบคุมการระบาดได้แล้ว ไม่มีผู้ป่วยรายใหม่เพิ่ม"

"ข้อมูลจากสำนักระบาดวิทยา กระทรวงสาธารณสุข ปี 2555 ทั่วประเทศ มีรายงานผู้ป่วย 75 ราย เสียชีวิต 3 ราย ใน 5 จังหวัด ได้แก่ เลย เพชรบูรณ์ ปัตตานี หนองบัวลำภู และ ยะลา โดยพบผู้ป่วยที่ จ.เลย จำนวน 27 ราย ใน 4 อำเภอ คือ ด่านซ้าย วังสะพุง ภูหลวง และ ผาขาว มีผู้เสียชีวิต 2 ราย เป็นผู้ใหญ่ จากการสอบสวนผู้เสียชีวิต พบว่า เป็นผู้ที่มีภูมิต้านทานต่ำ มีโรคประจำตัวและดื่มสุราเป็นประจำ ทำให้ร่างกายไม่แข็งแรง"

   
 “มาตรการดูแลรักษาผู้ป่วยโรคคอตีบ สธ.ได้จัดส่งยารักษาผู้ป่วยโรคนี้โดยเฉพาะ (Diphtheria antitoxin) ในโรงพยาบาลศูนย์ทุกแห่งและโรงพยาบาลทั่วไป จำนวน 1,500 ขวด รองรับผู้ป่วยประมาณ 150 ราย และสำรองไว้ที่ส่วนกลางคือที่องค์การเภสัชกรรม ศูนย์พิษวิทยาของโรงพยาบาลรามาธิบดี และที่กรมควบคุมโรคอีก 2,000 ขวด นอกจากนี้ยังได้สำรองวัคซีนป้องกันโรคคอตีบสำหรับเด็กและผู้ใหญ่จำนวน 5,000,000 ล้านโด๊ส เพื่อใช้ในการควบคุมโรคหากมีการระบาดอีก โดยจะฉีดได้ 2,500,000 คน”

        จากการติดตามสื่อและการระบาดในพื้นที่ทำงาน  เห็นว่า  มีความสำคัญทีเดียวเนื่องจากเป็นโรคที่ป้องกันได้ด้วยวัคซีน  การติดต่อนั้นง่ายคล้ายหวัด  สามารถติดต่อติดต่อและระบาดได้อย่างรวดเร็ว  แต่ประเทศเรานั้น  มีโปรแกรมการฉีดวัคซีนป้องกันโรคนี้  มานานแล้ว  คือจะฉีดในเด็กอายุ  2 ด. 4 ด. 6 ด.  1.6 ปี  และ 4 ปี  ฉีดกระตุ้นอีกครั้งตอน  ป.1 และ  ป. 6  แต่นี่คือโปรแกรมวัคซีน  ผู้ที่เกิดหลัง ปี  2520  คือ อายุ น้อยกว่า 35 ปี และควรได้รับการฉีดกระตุ้นทุก 10 ปี   และหญิงตั้งครรภ์นั้นก็จะได้ รับวัคซีน dT (คอตีบ บาดทะยัก ) จำนวน 3 เข็ม  ตามเกณฑ์  แต่สำหรับผู้ที่ อายุ 35 ปี ขึ้นไป  อย่าหวังว่าจะมีภูมิคุ้มกัน  หากอยู่ในพื้นที่เสี่ยงจึงควรได้รับวัคซีน  เกณฑ์ เดียวกับหญิงตั้งครรภ์  คือ 

เข็มที่ 1 ที่  0  เดือน  ( เมื่อฉีด )

เข็มที่ 2 ที่ 1 เดือน ( นับจากเข็มที 1 )

เข็มที่ 3 ที่ 6 เดือน ( นับจากเข็มที่ 2 ) 

และควรฉีดกระตุ้นทุก 10 ปี  

(ข้อมูลนี้จากอายุรแพทย์ )

เอ้าใครอยู่ในพื้นที่เสี่ยงก็เตรียมตัวเตรียมใจ ก็แล้วกันนะ  แต่ตอนนี้ชลัญฉีด แล้ว  ล่ะ  ปวดน่าดูเหมือนกัน  ตอนฉีดร้องลั่น ปลอบใจตัวเอง น่าอายจริง  แหม! ใครๆก็กลัว .....เข็ม ....

ก็เอาข้อมูลมาแบ่งปันไว้  เพื่อ เตรียมรับสถานการณ์อีกโรคเพราะอีกหน่อยประชาคมอาเชียนมาแล้ว  ประเทศเพื่อนบ้านเขาไม่มีโปรแกรมวัคซีนเหมือนเรานี่  เดี๋ยว ได้มาอีก หลายโรคนะจ๊ะ  

คำสำคัญ (Tags): #คอตีบ#ชลัญธร
หมายเลขบันทึก: 511028เขียนเมื่อ 5 ธันวาคม 2012 14:51 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 ธันวาคม 2012 15:18 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (20)

ผมเคยฉีดวัคซีนไววัสตับอักเสบ type อะไร จำบ่ได้ สามรอบ (คนละปี และสถานที่) ตรวจทีไรไม่เห็นภูมิคุ้มกันขึ้นเลย ถ้าจะฉีดอีกรอบ สงสัยได้เป็นจริงๆ 5555

จำไม่ได้แล้วว่าฉีด.ตอตีบ. ไปหรือยัง....Oho!!

โอ๊ย! รุ่นนี้แล้วไม่ได้ฉีดหรอกท่าน ไม่ต้องนึกฉีดใหม่เลย ถ้านึกคงต้องระลึกชาตินานไปหน่อย ตัดสินใจช้าวัคซีนขาดตลาดนะจะบอกให้ เป็นป่วงนะนี่ อิ อิ อิ

อ้าวพิมพ์ผิด เป็นห่วง ไม่ใช่เป็น ป่วง มือไวไปหน่อย

555 ที่ขาดตลาดนั้น ของไวรัสตับอักเสบ หรือ คอตีบ หรือวัคซีนสำหรับ สว. 5555

ตับอักเสบน่ะชลัญว่า จิ๊บๆ งงๆว่า คนที่ แต่งงานแล้วนี่ จะฉีดไปทำม้าย ตับอักเสบบี นี่ ในเมื่อมันติดเหมือน AIDS เราไม่เสี่ยง ไม่รู้จะฉีดให้เจ็บตัวทำไม งง ? แต่คอตีบ วัคซีนสำหรับ สว.นี่สำมะคัญ เพราะ เป็นแล้ว รอดยากสสสส์ ติดต่อกันคล้ายหวัด น่ะ อันตรายกว่าเยอะ

ทำตัวลีบเชียวน้าาาา K พบ. 101  555

อ๊าย!!!!!!! ยังจะเอามาประจานอีก นี่ขนาดทำตัวลีบแล้วยังอวบซะ 55555

ผมหมายถึงสมัยก่อน ตอนจะไปเรียนต่อก็ถูกจับฉีด (ไม่ขึ้น) ตอนเรียนอยู่ ก็เลยถูกจับฉีดอีก เรียนจบกลับมาก็ฉีดอีก....ชีวิตเลยต้องพอสำหรับวัคซีนตับอักเสบไงครับ....:):)

เอาอีกล่ะตกลงจะคุยกันแค่สองคนใช่มั้ยครับ.....  555  (หลีกทางให้่ทานอื่น ment ละนะ)

โรคคอตีบเกิดจากเชื้อแบคทีเรีย คนที่เคยป่วยแล้ว ก็จะไม่มีภูมิต้านทาน การจะตรวจหาภูมิต้านทานต่อเชื้อหรือพิษของเชื้อโรคคอตีบ ราคาตัวอย่างประมาณ 1400 - 1800 บาท คิดค่าคุ้มทุนแล้ว ฉีดวัคซีนโรคคอตีบไปเลยดีกว่าคะ แบบชนิดฉีดคนเดียว 55 บาท ชนิดรวม ขวดหนึ่งฉีดได้ 10 คน แบ่งกันคนละ 0.5 ซีซี. ราคาไม่ถึง 21 บาท จะฉีดวัคซีนให้ให้ในรายที่มีประวัติการได้รับวัคซีนไม่ชัดเจน หรือไม่แน่ใจ

สื่อไม่ออกมากนะดีแล้ว คนทำงานระบาด ป้องกันควบคุมโรค จะได้ไม่ลำบากมากในการรับมือกับความกลัวของประชาชน ตอนนี้ก็ดำเนินการควบคุม ป้องกันโรคในพื้นที่ที่เสียงและพบการระบาดอยู่แล้วคะ น้องโจ้

พวกพี่ทำงานกันจนไม่ได้พัก  ไม่ได้กลับบ้านถ้าเราค้นหาผู้สัมผัสโรคไม่ครบตามที่สอบสวนโรคได้ และก็ต้องค้นหา   ผู้ป่วยเพิ่มเติม  ยิ่งช่วงนี้ฤดูทำนา  ต้องทำงานในช่วงกลางคืน  ฉีดวัคซีนให้กับกลุ่มผู้สัมใกล้ชิดผู้ป่วยโรคคอตีบ ซึ่งถ้าป่วย 1 คน พบในอำเภอใด ก็จะต้องดำเนินการควบคุม ค้นหาผู้ป่วยรายใหม่ทั้งอำเภอ และเร่งดำเนินการฉีดวัคซีนกันทั้งอำเภอ 

ขอเพิ่มเติมตรงนี้นิดนะคะ

ตับอักเสบน่ะชลัญว่า จิ๊บๆ งงๆว่า คนที่ แต่งงานแล้วนี่ จะฉีดไปทำม้าย ตับอักเสบบี นี่ ในเมื่อมันติดเหมือน AIDS เราไม่เสี่ยง ไม่รู้จะฉีดให้เจ็บตัวทำไม งง ?

 

โรคไวรัสตับอักเสบ บี เป็นโรคที่ติดต่อจากคนสู่คนผ่านช่องทางดังนี้
 
ติดต่อผ่านการรับเลือด (ปัจจุบันพบน้อยมาก  เนื่องจากเทคโนโลยีในปัจจุบันสามารถคัดกรองเลือดที่มีเชื้อปนเปื้อนได้เกือบทั้งหมด)
ติดต่อทางการสัก  การเจาะหู ด้วยเครื่องมือที่ไม่สะอาด
ติดต่อทางเพศสัมพันธ์
ติดต่อจากแม่สู่ลูก
ติดต่อจากการผ่าตัดเปลี่ยนอวัยวะ

และเพราะมีส่วนหนึ่งที่หลังจากรับเชื้อแล้วกลายเป็นโรคแบบเรื้อรัง ซึ่งแบ่งได้เป็น 2 กลุ่มคือ

 

หนึ่ง พาหะ (carrier) คือ ผู้ป่วยที่มีเชื้อไวรัสตับอักเสบ บี ในร่างกาย   ผู้ป่วยจะไม่มีอาการแต่ยังสามารถแพร่เชื้อสู่ผู้อื่นได้  ผลการตรวจเลือดพบค่าการทำงานของตับอยู่ในเกณฑ์ปกติ
 
สอง ตับอักเสบเรื้อรัง (Chronic hepatitis) คือ ผู้ป่วยที่มีเชื้อไวรัสตับอักเสบ บี ในร่างกาย และตรวจเลือดพบค่าการทำงานของตับผิดปกติ
 
ในกลุ่มที่สองนี้ มีส่วนหนึ่งที่สัมพันธ์กับมะเร็งตับจ้า

เพราะฉะนั้น จึงควรฉีดวัคซีนค่ะสำหรับคนที่ไม่มีภูมิต้านทาน (ไม่มี anti S antibody)

 

 

ขอบคุณค่ะคุณเจ้ภูสุภา ที่ให้ข้อมูลเพิ่มเติม แต่ชลัญก็ยังมองว่า คนที่แต่งงานแล้วน่ะ แล้วคู่ตัวเองปกติ ไม่มีความเสี่ยงดังที่กล่วมา ก็ีโอกาสน้อยในการติดเชื้อน่ะค่ะ คุณเจ้ แต่ถ้าติดต่อง่ายแบบ hep A นี่น่าฉีด ค่ะ แต่ hep A ไม่รุนแรง จริง hep C น่ากลัวกว่า ไม่ยักมี vaccine ค่ะ

ขอบคุณค่ะ จะสอบถามคุณหมอแล้วรีบไปฉีดค่ะ :)

I was going to wave a flower and leave. but on the way back I re-read this: "...สธ.ได้จัดส่งยารักษาผู้ป่วยโรคนี้โดยเฉพาะ (Diphtheria antitoxin) ในโรงพยาบาลศูนย์ทุกแห่งและโรงพยาบาลทั่วไป จำนวน 1,500 ขวด รองรับผู้ป่วยประมาณ 150 ราย และสำรองไว้ที่ส่วนกลางคือที่องค์การเภสัชกรรม ศูนย์พิษวิทยาของโรงพยาบาลรามาธิบดี และที่กรมควบคุมโรคอีก 2,000 ขวด นอกจากนี้ยังได้สำรองวัคซีนป้องกันโรคคอตีบสำหรับเด็กและผู้ใหญ่จำนวน 5,000,000 ล้านโด๊ส เพื่อใช้ในการควบคุมโรคหากมีการระบาดอีก โดยจะฉีดได้ 2,500,000 คน”

My medicine maths is not good. I gathered from จำนวน 1,500 ขวด รองรับผู้ป่วยประมาณ 150 ราย that 10 bottles are required for 1 patient. So 5 millions ล้านโด๊ส should be enough for 500,000 ล้านคน (patients) that is a few people more than 2.5 ล้านคน (patients).

I am even confused about "doses" and "bottles".
10 doese = 1 bottle?

Please help me. here.

ตอบท่าน SR ค่ะ

Diphtheria antitoxin ทำหน้าที่เป็นยารักษาใช้รักษาผู้ที่ป่วยเป็นโรคคอตีบ คนหนึ่งอาจใช้หลายขวด ขนาดและวิธีการใช้ นี่ชลัญไม่มีความรู้ แพทย์ เป็นผู้ให้การรักษา

สำรองวัคซีนป้องกันโรคคอตีบ  Diphtheria antitoxoid  เป็นวัคซีน  ใช้ฉีดป้องกัน การเกิดโรคคอตีบ  ซึ่งคนๆหนึ่ง ใช้   หลาย dose 

ในเด็กอายุ  2 ด. 4 ด. 6 ด.  1.6 ปี  และ 4 ปี  ฉีดกระตุ้นอีกครั้งตอน  ป.1 และ  ป. 6  แต่นี่คือโปรแกรมวัคซีน  ผู้ที่เกิดหลัง ปี  2520  คือ อายุ น้อยกว่า 35 ปี และควรได้รับการฉีดกระตุ้นทุก 10 ปี   และหญิงตั้งครรภ์นั้นก็จะได้ รับวัคซีน dT (คอตีบ บาดทะยัก ) จำนวน 3 เข็ม  ตามเกณฑ์

เข็มที่ 1 ที่  0  เดือน  ( เมื่อฉีด )

เข็มที่ 2 ที่ 1 เดือน ( นับจากเข็มที 1 )

เข็มที่ 3 ที่ 6 เดือน ( นับจากเข็มที่ 2 ) 

และควรฉีดกระตุ้นทุก 10 ปี  

น่าจะเป็นการคำนวณ เผื่อ dose + การสูญเสียด้วยน่ะท่าน SR 

Ummmh, it seemed I asked the wrong question.
Let me try again.
From "...ข้อมูลจากสำนักระบาดวิทยา กระทรวงสาธารณสุข ปี 2555 ทั่วประเทศ มีรายงานผู้ป่วย 75 ราย เสียชีวิต 3 ราย..." to "...สธ.ได้จัดส่งยารักษาผู้ป่วยโรคนี้โดยเฉพาะ (Diphtheria antitoxin) ในโรงพยาบาลศูนย์ทุกแห่งและโรงพยาบาลทั่วไป จำนวน 1,500 ขวด รองรับผู้ป่วยประมาณ 150 ราย และสำรองไว้ที่ส่วนกลางคือที่องค์การเภสัชกรรม ศูนย์พิษวิทยาของโรงพยาบาลรามาธิบดี และที่กรมควบคุมโรคอีก 2,000 ขวด นอกจากนี้ยังได้สำรองวัคซีนป้องกันโรคคอตีบสำหรับเด็กและผู้ใหญ่จำนวน 5,000,000 ล้านโด๊ส เพื่อใช้ในการควบคุมโรคหากมีการระบาดอีก โดยจะฉีดได้ 2,500,000 คน...”. Please re-read "5,000,000 ล้านโด๊ส" and "จะฉีดได้ 2,500,000 คน" and re-glance at "มีรายงานผู้ป่วย 75 ราย เสียชีวิต 3 ราย".

There is no doubt about สธ preparedness to fight Diphtheria by having 5,000,000 ล้านโด๊ส of Diphtheria antitoxin (at what cost? for how many people). The figures suggest over-supply of antitoxin, storage problems, possibly extremely high level of spoilage and high level of negligence or corruption in สธ.

This report says 3 deaths from 75 cases. So, why so much supply of antitoxin is prepared? Would it not be more sensible to spend money on surveillance and monitoring of outbreaks and highest quality of treatment and care of those infected?

Now can I ask new questions?
- if it takes 30 seconds to administer 1 dose to a patient (all queueing ready to be injected 24x7), how long would it take to administer 5,000,000 ล้านโด๊ส?

2,500,000 ล้านนาที = 41,666.67 ล้านชม.(man-hour) = 1736.1 ล้านวัน(man-day) = 4.75 ล้านปี(man-year) ...

Wouldn't enormous storage and spoilage problems be evident?

Please help me understand the medicine maths presented here. Please.

ผมก็ฉีดแล้วครับ...หนึ่งเข็ม...รอกระตุ้นอีกครับ...เจ็บและปวดมาก...แต่ต้ิองฉีดนะครับ...และต้องยึดหลักนี้ด้วยเช่นกันเหมือนไข้หวัดใหย่ ครับ..."กินของร้อน...ใช้ช้อนกลาง...ล้างมือบ่อยๆ " ครับ

ขอบคุณมากค่ะที่ช่วยกันเผยแพร่..ป้องกันไว้ดีกว่าแก้..

ขอบคุณทุกท่านครับ ;)...

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท