จารุวรรณ
นางสาว จารุวรรณ ja รังสิยานนท์

การจัดการความรู้เครือข่ายวิทยาลัยพยาบาล ภาคเหนือ


วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี พุทธชินราช ๑. ชื่อโครงการ โครงการจัดการความรู้การประกันคุณภาพการศึกษา (โครงการวิทยาลัยเครือข่ายภาคเหนือ) ๒. ผู้รับผิดชอบโครงการ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี พุทธชินราช     นางสาวกาญจนา     สุขแก้ว      นางสาวจารุวรรณ          รังสิยานนท์  ๓. หลักการและเหตุผล ตามที่กระทรวงสาธารณสุขได้ประกาศนโยบายการประกันคุณภาพการศึกษาของวิทยาลัยสังกัดกระทรวงสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๔๑ โดยกำหนดให้วิทยาลัยในสังกัดจัดให้มีระบบและกลไกการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน เพื่อเป็นหลักประกันในการผลิตบุคลากรให้มีคุณภาพอันจะนำไปสู่การให้บริการทางสุขภาพที่มีคุณภาพแก่ประชาชน ประกอบกับพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๕๒ มาตรา ๔๘ กำหนดให้หน่วยงานต้นสังกัดและสถานศึกษาจัดให้มีระบบประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาและให้ถือว่าการประกันคุณภาพภายในเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการบริหารการศึกษาที่ต้องดำเนินการอย่างต่อเนื่อง เพื่อนำไปสู่การพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาเพื่อรองรับการประเมินคุณภาพภายนอก และมาตรา ๔๙ กำหนดให้มีสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา ทำหน้าที่พัฒนาเกณฑ์ วิธีการประเมินคุณภาพภายนอกและทำการประเมินผลการจัดการศึกษาเพื่อให้มีการตรวจสอบคุณภาพของสถานศึกษา โดยกำหนดไว้ว่าสถานศึกษาทุกแห่งจะต้องได้รับการประเมินคุณภาพภายนอกจากสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (สมศ.) ทุก ๕ ปีวิทยาลัยเครือข่ายภาคเหนือ ๗ แห่งประกอบด้วยวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี เชียงใหม่ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี พะเยา วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครลำปาง วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สวรรค์ประชารักษ์  นครสวรรค์  วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดพิษณุโลก และวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี พุทธชินราช มีการดำเนินงานตามระบบประกันคุณภาพภายในและภายนอกอย่างต่อเนื่องโดยมีการประเมินคุณภาพภายในโดยคณะกรรมการประเมินของวิทยาลัยเครือข่ายภาคเหนือ หรือสถาบันพระบรมราชชนกทุกปี  และรับการประเมินคุณภาพภายนอกรอบสามโดยคณะกรรมการประเมินของ สมศ. ในปีงบประมาณ ๒๕๕๕ (ปีการศึกษา ๒๕๕๔) ซึ่งจากผลการวิเคราะห์ผลการประเมินคุณภาพการศึกษาภายในปีการศึกษา ๒๕๕๓ โดยกลุ่มพัฒนาการศึกษา สถาบันพระบรมราชชนก พบว่าวิทยาลัยในสังกัดกระทรวงสาธารณสุขยังมีจุดอ่อน โดยเฉพาะในพันธกิจด้านการวิจัย และอีกหลายประเด็นที่ควรได้รับการพัฒนาเพื่อให้การจัดการศึกษามีคุณภาพและประสิทธิภาพยิ่งขึ้น โดยในปีงบประมาณ ๒๕๕๕ สถาบันพระบรมราชชนกได้มีการจัดประชุมสัมมนาวิชาการและถอดบทเรียน “เส้นทางสู่ความสำเร็จในการพัฒนาคุณค่างานประจำ” ณ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี เชียงใหม่เมื่อวันที่ ๙-๑๐ มกราคม ๒๕๕๕  จากผลการดำเนินงานดังกล่าวในการจัดทำแผนการปฏิบัติราชการประจำปีงบประมาณ ๒๕๕๖ วิทยาลัยเครือข่ายภาคเหนือได้กำหนดประเด็นยุทธศาสตร์ที่ ๓ การพัฒนาความร่วมมือในการพัฒนาวิทยาลัยเครือข่ายให้ได้คุณภาพ มีมาตรฐาน โดยมีกลยุทธ์ที่ ๔ ส่งเสริมความร่วมมือการพัฒนาระบบการประกันคุณภาพการศึกษาให้ได้มาตรฐาน จึงมอบหมายให้วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี พุทธชินราช เป็นผู้รับผิดชอบการดำเนินการ โดยจัดโครงการจัดการความรู้การประกันคุณภาพการศึกษา ๔. วัตถุประสงค์ของโครงการ ๔.๑ เพื่อพัฒนาแนวปฏิบัติที่ดีของการดำเนินงานประกันคุณภาพตามองค์ประกอบและตัวบ่งชี้คุณภาพ๔.๒ เพื่อให้อาจารย์และบุคลากรของวิทยาลัยเครือข่ายภาคเหนือมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้านการประกันคุณภาพการศึกษา๔.๓ เพื่อส่งเสริมความร่วมมือการพัฒนาระบบการประกันคุณภาพการศึกษาของวิทยาลัยเครือข่ายภาคเหนือให้ได้มาตรฐาน ๕. ตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการ วิทยาลัยเครือข่ายภาคเหนือมีแนวปฏิบัติที่ดีด้านการประกันคุณภาพทั้ง ๔ พันธกิจ  ๖. ระยะเวลาในการดำเนินงาน วันที่ ๓-๔ ธันวาคม ๒๕๕๕
๗. กลุ่มเป้าหมาย ๗.๑ อาจารย์จากวิทยาลัยเคริอข่ายภาคเหนือ ๗ แห่ง วิทยาลัยละ ๘ คน จำนวน ๕๖ คน ๗.๒ วิทยากรและคณะกรรมการดำเนินงาน จำนวน ๔ คน ๘. สถานที่ดำเนินการ ห้องประชุมพุทธรักษา อาคาร ๑  ชั้น ๖ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี พุทธชินราช
๙. วิธีดำเนินการ ๙.๑ กำหนดประเด็นองค์ความรู้ที่จำเป็นของวิทยาลัยเครือข่ายภาคเหนือ ๙.๒ ผู้รับผิดชอบในพันธกิจการผลิตบัณฑิต  การวิจัย การบริการวิชาการแก่สังคมและการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรมของวิทยาลัยเครือข่ายภาคเหนือศึกษาแนวปฏิบัติที่ดีจากผลการจัดการความรู้จากการประชุม “เส้นทางสู่ความสำเร็จในการพัฒนาคุณค่างานประจำ” ๙.๓ จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์/แนวปฏิบัติที่ดีจากการรับการประเมินคุณภาพการศึกษาภายในและภายนอกโดยคณะกรรมการประเมินคุณภาพของวิทยาลัยเครือข่ายภาคเหนือและสมศ. ๙.๔ รวบรวมองค์ความรู้ของวิทยาลัยเครือข่ายภาคเหนือใน ๔ พันธกิจ ๙.๕ ทุกวิทยาลัยในเครือข่ายภาคเหนือนำองค์ความรู้ไปปฏิบัติ ๑๐. งบประมาณ  จากเงินงบประมาณของวิทยาลัยเป็นค่าใช้จ่ายดังนี้ งบประมาณรายละเอียด จำนวนเงิน (บาท)หมวดเงินอุดหนุน๑.ค่าอาหารกลางวันและอาหารเย็น จำนวน ๖๐ คน x ๑๕๐ บาท x ๓ มื้อ๒.ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน ๖๐ คน x ๒๕บาท x ๔ มื้อ๓.ค่าตอบแทนวิทยากร (มหาวิทยาลัยนเรศวร) วันละ ๗ ชั่วโมง x ๖๐๐ บาท x ๒ วัน๔.ค่าวัสดุ อุปกรณ์ /ค่าถ่ายเอกสาร  ๒๗,๐๐๐๖,๐๐๐ ๘,๔๐๐๑,๐๐๐รวม       ๔๒,๔๐๐   รวมเป็นเงินทั้งสิ้น ๔๒,๔๐๐  บาท  (สี่หมื่นสองพันสี่ร้อยบาทถ้วน)            หมายเหตุ  : ค่าใช้จ่ายทุกรายการสามารถถัวเฉลี่ยจ่ายได้

๑๑. การประเมินผลโครงการตามตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการ ตัวชี้วัดความสำเร็จ (PI) วิธีการวิทยาลัยเครือข่ายภาคเหนือมีแนวปฏิบัติที่ดีด้านการประกันคุณภาพทั้ง ๔ พันธกิจ  รวบรวมแนวปฏิบัติที่ดีด้านการประกันคุณภาพทั้ง ๔ พันธกิจ จัดทำเป็นเล่มเอกสารเผยแพร่ภายในและภายนอกวิทยาลัยเครือข่ายภาคเหนือ

๑๒. ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับบุคลากรของวิทยาลัยเครือข่ายภาคเหนือมีการแลกเปลี่ยนความรู้ด้านการประกันคุณภาพทั้ง ๔ พันธกิจ มีการพัฒนาแนวปฏิบัติที่ดีของการดำเนินงานประกันคุณภาพตามองค์ประกอบและตัวบ่งชี้คุณภาพ  เกิดความร่วมมือในการพัฒนาระบบการประกันคุณภาพการศึกษาของวิทยาลัยเครือข่ายภาคเหนือให้ได้มาตรฐาน

หมายเลขบันทึก: 510901เขียนเมื่อ 4 ธันวาคม 2012 10:37 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 ธันวาคม 2012 16:16 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
  • ขอขอบคุณวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี พุทธชินราช ครับ
  • รอติดตามเรื่องเล่าความสำเร็จ

บอย สหเวช

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท