R2R..ทำอย่างดี ทำให้มีคุณภาพ


r2r

อบรมและสัมมนาแผนการพัฒนางานด้านวิจัย  ฝ่ายการพยาบาล โรงพยาบาลศรีนครินทร์

เรื่อง  การยกระดับงานประจำให้เป็นงานวิจัย  R2R:ทำอย่างดี ทำให้มีคุณภาพ วันจันทร์ที่ 26 พฤศจิกายน 2555 ณ. ห้อง 89 พรรษาสมเด็จย่า


คณะกรรมการพัฒนางานวิจัย งานบริการพยาบาลได้ตระหนักในความสำคัญการพัฒนางานประจำสู่งานวิจัย และเห็นคุณค่าของคนหน้างานจึงได้จัดโครงการอบรมและสัมมนาเรื่อง  การยกระดับงานประจำให้เป็นวิจัย R2R: ทำอย่างดี ทำให้มีคุณภาพ” ขึ้นมาเพื่อให้บุคลากรพยาบาลสามารถพัฒนางานประจำสู่งานวิจัยได้โดยผ่านกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้(KM)ซึ่งเป็นกลยุทธ์สำคัญในการพัฒนาองค์กรสู่ความเป็นเลิศต่อไป โดยวัตถุประสงค์เพื่อสร้างและพัฒนาบุคลกรทางการพยาบาลให้มีความรู้ทักษะ และประสบการณ์ในการพัฒนางานประจำไปสู่งานวิจัยเพิ่มขึ้น  สร้างผลงาน/นวัตกรรมที่เกิดจากการพัฒนางานประจำไปสู่งานวิจัยเพื่อพัฒนาระบบการทำงานในหน่วยงานให้ดีขึ้น และสร้างเครือข่ายบุคลากรในการพัฒนางานประจำไปสู่งานวิจัยทั้งในระดับหน่วยงานและคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น  ในการจัดการประชุมวิชาการครั้งนี้ได้รับความสนใจจากพยาบาลจากโรงพยาบาลศรีนครินทร์ ประมาณ 150 คน และ โรงพยาบาลขอนแก่น 12 คน


 

เวลา  8.45-9.00 น.   หัวหน้าฝ่ายการพยาบาล รพ  ศรีนครินทร์ กล่าวรายงาน และ เปิดงานโดย ผู้อำนายการโรงพยาบาลศรีนครินทร์  รศ นพ ชาญชัย พานทองวิริยะกุล ท่านผู้อำนวยการได้ฝากข้อคิดกับเราว่า การทำงานประจำให้เป็นงานวิจัยเป็นสิ่งที่ดี  เมื่อทำวิจัยอย่างดีแล้วแล้วประโยชน์สูงสุดควรถึงผู้ใช้บริการ  ดังนั้นทำอย่างไรจะนำผลงานวิจัยนั้นมาใช้ในการทำงานได้ เพื่อให้งานเกิดคุณภาพต่อไป


9.00- 9.30 น. ท่านหัวหน้างานพยาบาล นางจินตนา บุญจันทร์ บรรยายในหัวข้อ R2R: ความคาดหวังและความเป็นไปได้ ของฝ่ายการพยาบาล โรงพยาบาลศรีนครินทร์ โดยกล่าวถึงประเด็นสำคัญในการจัดสัมมนาในวันนี้ เพื่อต้องการให้พวกเรายกระดับงานประจำที่ทำอยู่ โดยเฉพาะงานพัฒนาคุณภาพมากมายที่หน้างาน อยากให้นำมาทำวิจัย ทำอย่างดี ทำให้มีคุณภาพ เมื่อทำแล้ว..ก่อให้เกิดประโยชน์และมีผลกระทบต่อองค์กร  สามารถนำมาปรับใช้ในการทำงานประจำที่หน้างานให้ดีขึ้น เกิดประโยชน์ต่อตนเอง ทำให้การทำงานที่หน้างานง่ายขึ้น  แล้วนำมาใช้เป็นผลงานในการเลื่อนระดับได้อีกด้วยและสุดท้าย..สิ่งที่เราทำจะเกิดประโยชน์สูงสุดต่อผู้มาใช้บริการต่อไป


9.30-10.30 น.  R2R: จากศรัทธาสู่ปัญญา จากการเยียวยาคนสู่การเยียวยางาน  โดย  เจ้าของรางวัล R2Rสวรส 2 ปีซ้อน  นายอดิเรก เร่งมานะวงษ์ ตำแหน่งนักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการ รพ.สต.โอโล อ.ภูเขียว จ.ชัยภูมิ  ของขวัญที่ได้รับล่าสุด...รางวัลสุดคะนึง เดือนสิงหาคม 2555 จาก www.gotoknow.org และศิษย์เก่าดีเด่น ระดับบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยขอนแก่น ประจำปี2555 สาขาบูรณาการ



คุณอดิเรก..ได้กล่าวถึงมุมมองในการทำวิจัยว่า  งานวิจัยของผมที่ทำให้ผมมากรุงเทพฯ...เรื่อง "ด.ญ.แม่" (แม่ที่มีลูกก่อนจะได้คำนำหน้าว่า "นางสาว")ชื่อเรื่องเป็นอีกความคิดของผม....ที่ผมครุ่นคิด...และอาจารย์ที่ช่วยดูงานให้มุมมอง…ผมกำลังมองเด็ก...ในมุมที่ลบหรือเปล่า...ตอกย้ำเด็กหรือเปล่า?...และนี้เป็นอีกเรื่องหนึ่งที่เมื่อผมกลับบ้าน...สู่ภาคสนาม...ผมจะขอให้เด็กผู้ให้ข้อมูลตัดสินใจว่า…เด็กจะตั้งชื่อเรื่องใหม่ให้ผมอย่างไร ? อาจจะเป็น"แม่ยังสาว"  "แม่วัยใส" หรือ...ที่ผมไม่อาจรู้ได้...และอีกเรื่องหนึ่ง...ที่ตอนแรกผมวางพล๊อตเรื่องให้เด็ก...มีแต่ความ"ทุกข์" เมื่อเป็น "แม่" ทั้งที่ "วัยไม่สมควร"…และความ "อับอาย"จากคนในหมู่บ้าน... ที่ "ประณาม" และ"ตีตรา"…"เอาผัวแต่น้อย"..."ไม่รักนวลสงวนตัว"..."เป็นเด็กไม่ดี"เด็ก...เขายังอ่อนด้อย...ทั้งอายุ...วุฒิภาวะ....และประสบการณ์ที่ไม่ได้มากมาย…แต่เขายังเข้มแข็งในบทบาทอันยิ่งใหญ่ คือ "การเป็นแม่"... ผมอยากให้งานวิจัยของผมได้เห็นแง่มุมหนึ่ง...ที่งดงามของ"ด.ญ.แม่" บ้าง ?...ชีวิตที่ยังสดใสของเด็ก...กับอีกหนึ่งชีวิตที่น่ารักที่เกิดขึ้นมา...เพื่อเป็นกำลังใจให้เขาเติบโตและเดินทางต่อไปกับตนเอง ครอบครัว ชุมชน และโลก…อยากให้ทุกคนได้ยินเสียงหัวใจของตนเอง...และผู้อื่น…เหมือนกับผมที่พยายามเยียวยาตนเองด้วยเสียงหัวใจตนเองเช่นเดียวกัน....


จากการที่คุณอดิเรก  มาเล่าเรื่อง.. งานที่ทำเป็นประจำในหน้างาน คือ การทำงานในชุมชน ต้องพบประเด็นที่น่าท้าทายมากมาย ตัวอย่างที่เล่าตั้งแต่ เรื่อง คนงานปลูกอ้อยที่ดื่มสุรา ต้องทำหน้าที่ช่วยปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของชาวบ้าน  รวมทั้งกรณีศึกษาของเด็กหญิงแม่แต่ละคน ล้วนมีที่มาแตกต่างกันและมีปัญหาที่ซับซ้อน การเข้าไปค้นหาปัญหาของแต่ละคนต้องให้ความพยายามและวิธีการที่แตกต่างกัน  รวมทั้งต้องใช้ความพยายามและสละเวลา แต่ก็เป็นการทำหน้าที่ของคนทำงานที่มีคุณภาพ


จากการฟัง คุณอดิเรก...

ทำให้พวกเรามาย้อนคิดว่า.. พวกเราพยาบาลอยู่ในที่ทำงานของเรา  ผู้มาใช้บริการเดินมาหาเราทุกวัน ที่ทำงานเปรียบเสมือนห้องปฏิบัติการของเรา เราสามารถค้นหาประเด็นปัญหาได้ทุกวัน ถ้าเรารู้จักวิธีการเขียนกรณีศึกษา เราคงมีงานที่ดีมากมายเก็บมาเหลาเป็นคำถามวิจัยที่ดี และผลงานที่ได้จะต้องมีคุณภาพอย่างแน่นอน

 

ในโอกาสที่คุณอดิเรก มาสร้างแรงบันดาลใจในการทำ r2r ที่ รพ ศรีนครินทร์ ศ นพ สมบูรณ์ เทียนทอง มอบช่อดอกไม้แสดงความยินดี ในโอกาสได้รับรางวัลสุดคนึง จาก gotoknow

 

10.45-12.15 น. ศ. นพ. สมบูรณ์ เทียนทอง ได้มาบรรยาย เรื่อง การยกระดับงานประจำให้เป็นวิจัย
R2R: ทำอย่างดี ทำให้มีคุณภาพ


การเริ่มต้นการทำวิจัยจะต้องเริ่มที่ตัวบุคคลมีความกล้าคิด มีฝันที่ท้าทาย  แนวคิด R2R ต่างจากงานวิจัยทั่วไป คือ R2Rไม่ใช่ระเบียบวิธีวิจัย แต่เป็นชื่อเรียกประเภทงานวิจัยที่ใช้ในการพัฒนางานและพัฒนาคนเน้นผลลัพธ์ที่ผู้รับบริการ การยกระดับงานประจำให้เป็นวิจัยR2Rทำอย่างดี ทำให้มีคุณภาพสามารถทำได้จะต้องมีคำถามงานวิจัยที่ดี  มีระเบียบวิธีวิจัยที่ดี/เหมาะสม  และระบบสนับสนุนที่ดี (รวมที่ปรึกษาด้วย)


คำถามงานวิจัยที่ดีมาจากไหน
ก็มาจากหน้างานนั่นเอง เมื่อเราเห็นประเด็นอะไร เราเกิดความรู้สึกว่า เอ๊ะ ๆๆๆๆ  ปัญหานั้นเกิดขึ้นได้อย่างไร เกิดปัญหาตั้งแต่เมื่อไหร่  ปัญหานั้นเกิดกับใคร ทำอย่างไรจะแก้ปัญหานั้นได้ แล้วจะแก้อย่างไรดี  ที่มาของคำถามงานวิจัยสามารถหาได้จาก..ความเห็น ข้อร้องเรียน ผู้รับบริการ  ผู้เกี่ยวข้อง (ทั้งจากการ Survey, Focus group, report, etc.) สถิติ ความเสี่ยง (Data,information) ตัวชี้วัดคุณภาพที่ต้องรายงาน Workflow lean and waste CQI/Innovation Goal or Policy วิจัยสถาบัน และอื่นๆ กรณีไม่มีปัญหา:ใช้มิติของคุณภาพแทน Q: จะทำอย่างไรให้คุณภาพดียิ่งขึ้น?  ก็สามารถทำได้


ตัวอย่างที่มาของคำถามวิจัย

จากความเห็นผู้รับบริการจากการพูดคุยกับสตรีที่ไม่ยอมไปตรวจแป๊ปสเมียร์(Papsmear) เพื่อคัดกรองมะเร็งปากมดลูกได้เหตุผลว่า “อายที่ต้องถูกเปิดเผยร่างกายขณะทำการตรวจ”  จึงเป็นที่มาขอคำถามว่า “จะมีวิธีการหรืออุปกรณ์ใดที่จะช่วยไม่ให้สตรีถูกเปิดเผยร่างกายขณะตรวจแป๊ปสเมียร์มากเกินไป” ในที่สุดได้สิ่งประดิษฐ์ที่เรียกว่า “กางเกงวิเศษ”ช่วยให้สตรีมาตรวจแป๊ปสเมียร์มากขึ้น



จากช่องว่างระหว่างองค์ความรู้หรือมาตรฐานการรักษากับการประยุกต์ใช้งาน การป้องกันปอดติดเชื้อระหว่างการใช้เครื่องช่วยหายใจ(VentilatorAssociated Pneumonia; VAP) มีองค์ความรู้และมาตรฐานที่ชัดเจน (VAP bundle) แต่อุบัติการณ์ของ VAP ยังคงสูงกว่าค่าเฉลี่ยมาตรฐาน  จึงมีคำถามว่า “บุคลากรในหน่วยงานปฏิบัติตาม VAP  bundle ได้ดีแค่ไหนและมีประเด็นใดที่สามารถปรับปรุงให้ดีขึ้นได้บ้าง”  ซึ่งข้อมูลที่ได้จะนำไปทำโครงการรณรงค์ในการลดการติดเชื้อ VAP ต่อไป


การจัดลำดับความสำคัญของปัญหา

เป็นเรื่องสำคัญ  เพราะถ้าหาปัญหาได้มากมายที่หน้างาน เรามีวิธีที่เลือกว่าอะไรคือปัญหาสำคัญ จากการพูดคุย ปรึกษากันในทีม เริ่มจากปัญหาเร่งด่วน มาระดมสมอง  แล้วให้คะแนน พิจารณาจาก Relevance  Feasibility  Timeliness  Application


การจัดลำดับความสำคัญของปัญหา(Risk) จากการดูปัญหานั้นมีผลกระทบต่อการทำงานอย่างไร ให้คะแนนตามลำดับจาก 1-5 และโอกาสเกิดมากน้อยเพียงใด  คะแนน 1-5 ถ้านำคะแนนที่ได้จากผลกระทบและโอกาสเกิดมาคูณกันผลที่ได้ ระดับคะแนน  Low  = 1-2  Medium= 3-9  High = 10-16 Extreme= 17-25 เมื่อวิเคราะห์ปัญหานั้นได้คะแนน  20-25 จะต้องแก้ปัญหาเป็นอันดับแรก


นอกจากนี้ยังสามารถการค้นหาสาเหตุของปัญหาจากRCA, 5why, ผังก้างปลาจาก mind map อีกด้วย จากนั้นเรามาเหลาคำถาม จาก PICO P= problem  I = intervention  C = comparison  และ O = outcome ต้องมีอย่างน้อย 3 ตัว

 

ตัวอย่างการเหลาคำถามให้คมชัด

การดื่มน้ำปริมาณ 500 ซีซี จะต้องรอนานแค่ไหน  จึงจะทำการตรวจอัลตราซาวด์ทางนรีเวชฯ ได้ชัดเจน”  P = การตรวจอัลตราซาวด์ทางนรีเวชฯ  I = การดื่มน้ำปริมาณ 500  ซีซี O = เวลา


จะต้องรอนานแค่ไหนจึงจะทำการตรวจอัลตราซาวด์ทางนรีเวชฯ ได้ชัดเจน เปรียบเทียบระหว่างการดื่มน้ำปริมาณ
300 ซีซี กับ 500 ซีซี ”  PIO, C = ชัดเจน เปรียบเทียบระหว่างการดื่มน้ำปริมาณ 300 ซีซี กับ 500 ซีซี


การเขียนวัตถุประสงค์ของงานวิจัย เพื่อจะบอกว่าเราว่า...จะทำการศึกษาในประเด็นใดบ้าง
แบ่งเป็น 2 ประเด็น คือ  วัตถุประสงค์ทั่วไป เขียนกว้างๆ เช่น  ต้องการศึกษาอุบัติการณ์ของความปวดหลังผ่าตัด
และวัตถุประสงค์เฉพาะ เช่น ต้องการศึกษาอุบัติการณ์ของความปวดหลังผ่าตัดช่องท้อง และ ต้องการศึกษาอุบัติการณ์ของความปวดหลังผ่าตัดคลอด


การทบทวนวรรณกรรม

ควรทบทวนว่า มีใครทำการศึกษาเรื่อง(ที่เกี่ยวข้องกับปัญหา) นี้บ้าง ทบทวนให้ครอบคลุม conceptual framework มีประเด็นใดที่ยังไม่มีคำตอบ  หรือคำตอบไม่ชัดเจนบ้าง  การวิจัยที่เราจะทำสามารถตอบปัญหาในประเด็นใดได้บ้าง 

ทักษะที่ต้องใช้
รู้จักค้นหาข้อมูลจากฐานต่างๆ ทั้งในและต่างประเทศ รู้จักวิเคราะห์ความน่าเชื่อถือของข้อมูลที่หาได้ และจดประเด็นที่ค้นหาได้ให้เป็นระบบ อาจทำเป็นตารางก็ได้  เรา.. สามารถใช้ฐานข้อมูลในประเทศ เช่น TCIThailand.digitaljournal.org สวรส. R2R ฐานข้อมูลของโรงเรียนแพทย์ต่างๆ สำนักวิจัยแห่งชาติ วิทยานิพนธ์มหาวิทยาลัยต่างๆ วารสารหน่วยงาน (local journal)


การออกแบบงานวิจัย
ทำได้ทั้งแบบบรรยาย แบบทดลองและกึ่งทดลอง ลองเขียนโครงร่างวิจัยดู ซึ่งประกอบด้วย ขื่อเรื่อง  (ชื่อผู้วิจัย หน่วยงาน)บทนำ ขนาดและที่มาของปัญหา การทบทวนวรรณกรรม  วัตถุประสงค์ (ทั่วไป และเฉพาะ)วิธีการศึกษา
(ครอบคลุมทุกขั้นตอน)อ้างอิง  ผนวก (แบบสอบถาม เครื่องมือ)


13.00-15.00  แบ่งกลุ่มสัมมนาหาประเด็นในการทำวิจัยของฝ่ายการพยาบาลและนำเสนอผลงานกลุ่ม

ผู้ทรงคุณวุฒิจากคณะพยาบาลศาสตร์  มหาวิทยาลัยขอนแก่นที่มาร่วมสัมมนา  เพื่อร่วมหาประเด็นในการทำวิจัยร่วมกันแบ่งตามสาขาที่เกี่ยวข้อง

1)  สาขาสูติ-นรีเวช  ผศ.ดร.นิลุบล  รุจิรประเสริฐ

2)  สาขาเด็ก  ผศ.ดร. ชลิดา  ธณัฐธีรกุล

3) สาขาผู้สูงอายุ  รศ.ดร. เพ็ญจันทร์ เลิศรัตน์ 

4)  สาขาการพยาบาลผู้ใหญ่  4.1  กลุ่ม ดร. กล้าเผชิญ โชคบำรุง 4.2  ดร. สุพร วงค์ประทุม 
5)  สาขาจิตเวช รศ. ดร.สมพร รุ่งเรืองกลกิจ

6)  สาขาชุมชน  ดร.จงกลณี  จันทรศิริ , นายอดิเรก เร่งมานะวงษ์

7) Nursing administration คุณจินตนา บุญจันทร์

 

จากการทำกลุ่ม

สามารถหาประเด็นปัญหาหน้างานได้มากมาย  ต้องยินดีกับแต่ละกลุ่มสามารถวิเคราะห์ปัญหาหน้างานอย่างเป็นระบบ จนได้ research question แหลมคมมาก

 

และเราให้นำประเด็นปัญหามาเขียนโครงร่างวิจัยอย่างน้อย 1 เรื่อง ต่ออีก 2 สัปดาห์ ถ้าเสร็จแล้วเราจะพิจารณารางวัลสำหรับคำถามวิจัยที่ดีดี ที่ส่งมา อาจได้รางวัลจากเรานะคะ

 

แก้ว 1/12/55


หมายเลขบันทึก: 510595เขียนเมื่อ 1 ธันวาคม 2012 05:38 น. ()แก้ไขเมื่อ 5 พฤษภาคม 2013 07:00 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (13)

การจัดลำดับความสำคัญของปัญหา

 

หัวข้อ

คะแนน (0-5)

 

 

Relevance

5

Duplication

-

Feasibility

4

Cost-effectiveness

-

Timeliness

5

Ethics

-

Acceptability

-

 

พยาบาล ทำ R2R ช่วยพัฒนา ได้มากๆครับ

สาขาการพยาบาลผู้ใหญ่  ดร.สุพร วงค์ประทุม

สาขาการพยาบาลผู้ใหญ่  ดร. กล้าเผชิญ โชคบำรุง

สาขาผู้สูงอายุ รศ.ดร. เพ็ญจันทร์ เลิศรัตน์

สาขาจิตเวช รศ. ดร.สมพร รุ่งเรืองกลกิจ

สาขาสูติ-นรีเวช ผศ.ดร.นิลุบล รุจิรประเสริฐ

สาขาชุมชน ดร.จงกลณี จันทรศิริ, นายอดิเรก เร่งมานะวงษ์

Nursing administration คุณจินตนา บุญจันทร์ หัวหน้าพยาบาล

ขอบคุณ ดร จงกลณี จันศิริและ คุณอดิเรก  หัวหน้าศูนย์การเรีนรู้ จาก รพ ขอนแก่น ที่มาร่วมเป็นวิทยากรกลุ่มค่ะ

เรียน พี่แก้ว และทีม R2R ร.พ.ศรีนครินทร์ ขอนแก่น ทุกท่านครับ...

นับเป็นเกียรติอย่างสูงที่ผมได้รับเกียรติมาเล่าเรื่องราวชีวิตของผมให้ฟังครับ

เห็น R2R ที่นี้...รู้สึกทึ่งและทุกท่านมีความตั้งใจและทำความดีให้ผู้รับบริการ

ขอบพระคุณท่านอาจารย์หมอสมบูรณ์ ...พี่แก้ว..พี่เกด...พี่ไก่...พี่นิ่ม และทุกท่าน ที่เป็นหัวเรือใหญ่...

ขอบพระคุณบทความที่พี่แก้วถอดบทเรียนได้อย่างดีมากๆ

ขอบพระคุณมากครับ

ฝากคิดถึงอาจารย์สมบูรณ์ด้วยค่ะพี่แก้ว

จากวิสัญญีพยาบาลรุ่น ๒๐

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท