บทบาทนักกิจกรรมบำบัดใน NICU


ข้าพเจ้าได้มีโอกาสไปฝึกปฏิบัติงานที่โรงพยาบาลเลิดสิน และได้มีโอกาสได้เข้าไปปฏิบัติงานที่ห้อง NICU หลายท่านอาจสงสัยว่านักกิจกรรมบำบัดมีบทบาทอะไรบ้าง? ดังนั้นจึงขออาศัยพื้นที่เล็กๆนี้เล่าประสบการณืที่ผ่านมาให้ฟังกันค่ะ

NICU (Neonatal Intensive Care Unit) หรือ หอผู้ป่วยทารกแรกเกิดระยะวิกฤต นั้นไม่ได้มีความแตกต่างกับ ICU ปกเลยเลย เพราะเด็กที่จะอยู่ในห้องนี้นั้นต้องป่วยมากๆ ต้องการความดูแลอย่างใกล้ชิด

กรณีศึกษานี้ เป็นเด็กชายอายุ 2 ปี มีปัญหาทางร่ายกายคือ ปอดมีขนาดเล็กกว่าปกติ จึงต้องใส่ท่อเพื่อช่วยหายใจ และมีการให้อาหารทางสายอาหาร (NG tube)

บทบาทของนักกิจกรรมบำบัดที่ข้าพเจ้าได้ลงมือปฏิบัตินั้นคือ

  • กระตุ้นการดูด เคี้ยว กลืน ในเด็ก เพื่อให้กล้ามเนื้อปากยังสามารถทำงานได้ดีอยู่ และป้องกันไม่ให้เกิดภาวะน้ำลายไหล (Drooling)
  • การทำ Baby massage และ Passive ROM ของร่างกายทั้งแขนและขา เพื่ให้เกิดการเคลื่อนไหวของข้อต่อต่างๆ ป้องกันไม่ให้เกิดข้อติด อีกทั้งยังเป็นการกระตุ้นให้ระบบน้ำเหลืองไหลเวียนได้ดีอีกด้วย 
  • กระตุ้นพัฒนาการให้สมวัย ทางด้านสติปัญญา (Cognitive) ผ่านทางกิจกรรมการเล่น เช่น หยิบการ์ดผลไม้ เป็นต้น
  • กระตุ้นการทำงานของกล้ามเนื้อมัดเล็ก(กล้ามเนื้อมือ)ในการ เอื้อม กำ นำ ปล่อย วัตถุให้ตรงกับเป้าหมาย โดยผ่านทางกิจกรรม เช่น ร้อยลูกปัดขนาดใหญ่ เป็นต้น
การทำกิจกรรมทั้งหมดเหล่านี้ ข้าพเจ้าได้ปฏิบัติภายใต้การดูแลอย่างใกล้ชิดของอาจารย์พิเศษควบคุมการฝึกปฏิบัติงาน เนื่องจากต้องคอยดูตลอดเวลาว่าน้องสามารถทำกิจกรรมได้ต่อหรือไม่ เนื่องจากปัญหาเรื่องการหายใจ จึงส่งผลให้น้องไม่สามารถทำกิจกรรมได้นานมากนัก
สุดท้ายนี้ข้าพเจ้าหวังว่า บทความนี้ได้นำเสนออีกหนึ่งบทบาทของนักกิจกรรมบำบัดในโรงพยาบาลค่ะ
หมายเลขบันทึก: 510578เขียนเมื่อ 30 พฤศจิกายน 2012 23:07 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 ธันวาคม 2012 17:48 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท