สรุปประชุมเตรียมงานKM สสจ.ตากครั้งที่ 1


Knowledge Management: Healthy Thais, Healthy Thailand, Border health

สรุปรายงานการประชุมคณะกรรมการดำเนินงานโครงการการจัดการความรู้สู่คนไทยสุขภาพดี เมืองไทยสุขภาพดี

Knowledge Management: Healthy Thais, Healthy Thailand

ครั้งที่ 1 /2549วันที่  25 สิงหาคม 2549 ณ ห้องประชุมสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดตาก**********************************************************

ผู้มาประชุม

1.นพ.พิเชฐ           บัญญัติ                   รักษาการนายแพทย์ 9 ด้านเวชกรรมป้องกัน สสจ.ตาก

2.นายสรณี            กัณฑ์นิล                นวก.สธ.8 รักษาการในตำแหน่งนวก.สธ.9    สสจ.ตาก

3.นางพิมเพ็ญ       เจนอักษร              นวก.สธ.8  สสจ.ตาก

4..นายอดิศร          สมเจริญสิน          นวกสธ.8       สสจ.ตาก

 

5..นส.อรุณวรรษา ยมเกิด     นวกสธ.8     สสจตาก

6.นางสมร             เพชรอำพร            จ.วิเคราะห์ฯ 8  สสจ.ตาก

7.นางรุ่งทิวา         อติชาติ                   จ.วิเคราะห์ฯ 8  สสจ.ตาก

8.นางสมถวิล        โกรินทร์                นวกสธ.7  สสจ.ตาก

9.นางกลิ่นสุคนธ์ นิภาเกษม              นวกสธ.7 สสจ.ตาก

10.นางกันยา        อำพลพรรณ          นวก.สธ.7 สสจ.ตาก

11.นางสมพิศ       สรเศรษฐวานิช    นวกสธ.7สสจ.ตาก

12.นางจันทร์นิภา ตันภูมิประเทศ    นวกสธ.7 สสจ.ตาก

13.นางรักดาว       เมธากุลชาติ          พยาบาลวิชาชีพ 7  สสจ.ตาก

14.นางทัศนีย์       รอดสังข์                พยาบาลวิชาชีพ 7 สสจ.ตาก

15.นส.วันเพ็ญ     วันคำ                      พยาบาลเทคนิค 6 สสจ.ตาก

16.นางธนิตา        พินิชกชกร            พยาบาลวิชาชีพ 7 รพ.ตสม.

17.นายเสาแก้ว     เหลามา                  นวก.สธ.6  สสอ.เมือง

18.นางศุภวรรณ  คุณโชติ                  พยาบาลวิชาชีพ 7 รพ.แม่สอด

19.นางสดใส        ทองทิน                  นวก.สธ.5  สสอ.แม่สอด

20.นางเกศราภรณ์ ภักดีวงศ์              พยาบาลวิชาชีพ 7  รพ.บ้านตาก

21.นายเกษม         ศิริมา                      นวกสธ.7   สสอ.บ้านตาก

22.นส.นุชนาฎ    หล้ามะโน             พยาบาลวิชาชีพ 7 รพ.สามเงา

23.นายธวัชชัย     คำแก้ว                    นวกสธ.7   สสอ.สามเงา 

24.นายธวัช           จงนิมิตรสถาพร   จบห.สส 6  สสอ.แม่ระมาด 

25.นายศราวุธ       ตุ่นคำแดง              นักเทคนิคการแพทย์ รพ.พบพระ

26.นายสมพร       จ่านาค                    จบห.สส 6  สสอพบพระ

27.นส.สุวรรณี     โนแป้ว  พยาบาลวิชาชีพ 7รพ.อุ้มผาง

28.นายณัฐพงค์    สุภัทรานนท์         จบห.สส 6  สสอ.อุ้มผาง

29.นายสุนทร       สุตะวัน                  จบห.สส 6  สสก.วังเจ้า 

เริ่มประชุมเวลา                   09.00 น.

ระเบียบวาระที่ 1                  เรื่องประธานแจ้งที่ประชุมทราบ               

พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี ปี 2546 หมวด 11 มาตรา 3 กล่าวว่าว่า ในการปฏิบัติหน้าที่ของส่วนราชการต้องใช้วิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี โดยเฉพาะอย่างยิ่งให้คำนึงถึงความรับผิดชอบของผู้ปฏิบัติงาน การมีส่วนร่วมของประชาชน การเปิดเผยข้อมูล การติดตามตรวจสอบและการประเมินผลการปฏิบัติงานทั้งนี้ตามความเหมาะสมของแต่ละภารกิจ

การประเมินผล น้ำหนัก และประเด็นการประเมินผลการปฏิบัติราชการ

มิติที่ 1 มิติด้านประสิทธิผลตามยุทธศาสตร์

มิติที่ 2 มิติด้านคุณภาพการให้บริการ

มิติที่ 3 มิติด้านประสิทธิภาพของการปฏิบัติราชการ

มิติที่ 4 มิติด้านการพัฒนาองค์กร มีร้อยละ20 ประกอบด้วย                               

การจัดการความรู้ (Knowledge Management) ร้อยละ5                                 

การบริหารสารสนเทศ (Information Management) ร้อยละ5  

การบริหารการเปลี่ยนแปลง (Change Management) ร้อยละ10

การจัดการความรู้ (Knowledge Management) ของจังหวัดตากเป็นเรื่องการค้าชายแดนสิ่งที่จะตามมาจะเป็นเรื่องโรคติดต่อชายแดนหรือสุขภาพของแรงงานต่างด้าว รวมแล้วเป็นเรื่องของ Border Health พวกเราคงต้องไปมีส่วนเข้าไปดูแล

 การจัดการความรู้ในหน่วยงานสาธารณสุขที่เป็นที่ยอมรับมีดังนี้               

ระดับประเทศหรือระดับกรม คือ กรมอนามัย กรมสุขภาพจิต                

ระดับสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด คือ สสจ.อยุธยา  สสจ.นครสวรรค์ และสสจ.ลำปาง สสจ อุดตรดิดถ์ ที่กำลังดำเนินการพัฒนา               

ระดับโรงพยาบาลทั่วไปที่มีการดำเนินจัดKnowledge Management ที่ชัดเจน คือ สถาบันบำราศนราดูร โรงพยาบาลพิจิตร               

ระดับโรงพยาบาลชุมชน คือ โรงพยาบาลบ้านตาก โรงพยาบาลตาคลี 

หน่วยงานที่รับผิดชอบเรื่องการจัดการความรู้ (Knowledge Management) มี 2ส่วนคือ               

1.สถาบันส่งเสริมการจัดการความรู้เพื่อสังคม(สคส) มีศาสตราจารย์นายแพทย์พิจารณ์ พานิช เป็นผู้อำนวยการ               

2.สถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ

ประโยชน์ของการทำKM

1.       ทำให้เกิดการเรียนรู้ร่วมกัน ทำให้เกิด networking

2.       ทำให้เกิดความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน

3.       ทำให้เกิดวัฒนธรรมของการเรียนรู้ ซึ่งจะทำให้การกระทบกระทั่งระหว่างบุคคลในหน่วยลดลง มีการช่วยเหลือกันมากขึ้น

ระเบียบวาระที่ 2 เรื่องที่เสนอให้ที่ประชุมทราบ                

ร่างกำหนดการการจัดการความรู้สู่คนไทยสุขภาพดี เมืองไทยสุขภาพดีKnowledge Management: Healthy Thais, Healthy Thailandโรงแรมเวียงตาก ริเวอร์ไซด์วันที่ 20-22 กันยายน 2549 (เอกสารหมายเลข 1)                มิ

ติที่ประชุม รับทราบ

ระเบียบวาระที่ 3 เรื่องที่เสนอให้ที่ประชุมพิจารณา               

1.คณะกรรมการดำเนินการจัดความรู้สู่คนโดยสุขภาพดี เมืองไทยสุขภาพดีประกอบด้วย

คณะกรรมการอำนวยการ

1.นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัด                                                       ประธานกรรมการ 

2.รองผู้อำนวยการฝ่ายการแพทย์ โรงพยาบาลทั่วไป                    กรรมการ

3.นายแพทย์ 9 ด้านเวชกรรมป้องกัน                                               กรรมการ

4.ผู้อำนวยการโรงพยาบาลชุมชนทุกแห่ง                                      กรรมการ

5.หัวหน้ากลุ่มงานทุกกลุ่มในสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด      กรรมการ

6.นักวิชาการสาธารณสุข 9 ด้านส่งเสริมและพัฒนา                    กรรมการและเลขานุการ

7.หัวหน้ากลุ่มงานพัฒนาบุคลากรและคุณภาพบริการ                ผู้ช่วยเลขานุการ 

คณะกรรมการดำเนินการ ประกอบด้วย               

1.นายแพทย์ 9 ด้านเวชกรรมป้องกัน                                               ประธานกรรมการ               

2.นักวิชาการสาธารณสุข 9 ด้านส่งเสริมและพัฒนา                    รองประธาน               

3.เจ้าหน้าที่กลุ่มงานพัฒนาบุคลากร                                                                กรรมการ               

4.ประธาน Facilitator รพท. / รพช. แห่งละ 2 คน                         กรรมการ               

5.ผู้ช่วยสาธารณสุขอำเภอทุกอำเภอ                                                กรรมการ               

6.เจ้าหน้าที่ TUC – GFT                                                                    กรรมการ               

7.ผู้แทนทุกงานที่เกี่ยวข้องในสสจ.                                 กรรมการ               

8.หัวหน้ากลุ่มงานพัฒนาบุคลากรและคุณภาพบริการ                กรรมการและเลขานุการ               

9.หัวหน้างานพัฒนาบุคลากร                                                           ผู้ช่วยเลขานุการ               

10.หัวหน้างาน Healthy Thailand                                                    ผู้ช่วยเลขานุการ               

2.รูปแบบงาน: ตลาดนัดการเรียนรู้               

- เชิญสำนักงานควบคุมโรคติดต่อนำโดยแมลงมานำเสนอแสดงนิทรรศการ               

- จัดให้มี Computer 2 จุด เป็น CD               

3. การแจกรางวัลกิจกรรมดีเด่น เจ้าหน้าที่ดีเด่นของจังหวัดตาก               

- แต่งตั้งคณะกรรมการของจังหวัดพิจารณาคัดเลือกรางวัลดีเด่น               

- ให้ รพท. / รพช. / สสอ. ทุกแห่ง ส่งเรื่องที่หน่วยงานดำเนินการแล้วภาคภูมิใจและดีเด่น                   หน่วยงานละ 3 เรื่อง               

- สสอ. ส่งรายชื่อ สอ. ดีเด่น อำเภอละ 1 แห่ง               

- งานในหน่วยงาน สสจ.ที่มีการดำเนินการประกวดเสร็จสิ้นแล้ว ส่งผลการประกวด ให้งานพัฒนาบุคลากร เพื่อมอบรางวัลในงาน (21 ก.ย. 2549)               

4.การเชิญบุคลภายนอก                การเชิญบุคคลภายนอกให้เชิญได้โดยให้เบิกหน่วยงานต้นสังกัดของหน่วยงานที่เชิญ                ควรเชิญกรมอนามัยมาด้วยเพราะมีเรื่องเกี่ยวกับ Healthy Thailand                

5.การประชาสัมพันธ์  มีการแถลงข่าวในวันงานและแต่งตั้งคณะกรรมการประชาสัมพันธ์               

6.ตารางการประชุม  

20 22 ก.ย. 2549                - วิทยากร  20 คน  ประกอบด้วย                               

1.โรงพยาบาลบ้านตาก       10 คน                               

2.โรงพยาบาล ตสม.            5 คน                               

3. สสจ.                                  5 คน               

- วันที่ 20 21 ก.ย. 2549                    TUC               

- วันที่ 21 -22 ก.ย. 2549  Healthy Thailand

หมายเลขบันทึก: 51025เขียนเมื่อ 20 กันยายน 2006 22:13 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 13:20 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท