สติ สมาธิเรื่องง่ายๆ ที่ต้องฝึกฝน


สวัสดีค่ะ ท่านผู้อ่านและสมาชิก Gotoknow ทุกท่าน ช่วงนี้นักศึกษาเพิ่งเปิดเทอมมาได้เกือบเดือน ยังไม่ได้ออกฝึกงาน การเรียนยังเรียนเพิ่มเติมอยู่ที่คณะ จึงอยากเขียนแลกเปลี่ยนประสบการณ์สิ่งที่อยู่รอบๆตัวนักศึกษาแทนจากประสบการณ์ที่ได้รับมาจากการฝึกงาน พอดีว่าก่อนหน้านี้เป็นวันหยุดสุดสัปดาห์ นักศึกษาพอมีเวลาว่างๆ อยู่เฉยๆ จึงนึกขึ้นได้ว่าเมื่อครั้งไปฝึกงานที่โรงพยาบาลแห่งหนึ่งย่านแหล่งรวมวัยรุ่น นักศึกษาได้พบกับผู้เข้ารับบริการท่านหนึ่ง มาเข้ารับบริการทางกิจกรรมบำบัด แล้วท่านให้ความเมตตาและเอ็นดูนักศึกษาเป็นอย่างมาก ท่านจึงให้หนังสือกับนักศึกษามาเล่มหนึ่ง ซึ่งท่านเป็นผู้แปลและเรียบเรียงเป็นภาษาไทยเอง พอวันหยุดที่ผ่านมานักศึกษาได้มีโอกาสเปิดอ่านแล้วรู้สึกว่าหนังสือเล่มนี้ น่าสนใจมากและคาดว่ามีประโยชน์มากด้วย นักศึกษาจึงอยากที่จะนำมาบอกต่อกับท่านผู้อ่านและสมาชิก Gotoknow ซึ่งในที่นี้นักศึกษาจะขออนุญาตยกมาเพียงบางส่วนของหนังสือ โดยเนื้อความต่อไปนี้ได้มาจากหนังสือ "สติ" ด้วยภาษาง่ายๆ Mindfulness in Plain English ผู้เขียน : ภันเต คุณารัตนา มหาเถระ ซึ่งแปลและเรียบเรียงโดย พ.ญ.ชวาลา เธียรธนู  

เนื้อความกล่าวว่า ...บทที่ 15  ปฏิบัติสมาธิในชีวิตประจำวัน

จิตภาวนา คือ การเจริญสติและความรู้ตัว ซึ่งต้องนำไปใช้กับทุกกิจกรรมในชีวิต แต่เป้าหมายหลักของการภาวนาก็คือ สร้างสมาธิและความมีสติรู้ จนถึงระดับที่แข็งแกร่งจนไม่สั่นไหว แม้อยู่ท่ามกลางความเครียดของชีวิตสังคมในปัจจุบัน

การเดินสมาธิ

  เราต้องการวิธีฝึกที่ใกล้เคียงกับชีวิตปกติ การเดินจงกรม คือ การภาวนาในขณะเคลื่อนไหวและใช้บ่อยๆ เพื่อสลับกับการปฏิบัติในท่านั่ง โดยเฉพาะเมื่อเราวุ่นวายกระสับกระส่าย ถ้าเดินสักชั่วโมงเราจะผ่านสภาวะวุ่นวายไปได้และทำให้จิตใจแจ่มใสพอสมควร 

หลังจากนั้นจึงนั่งสมาธิ

  สำหรับผู้ฝึกหัดใหม่จะเกิดความเจ็บปวดความทรมานมากกว่าจะได้สมาธิ บางครั้งต้องมีการเปลี่ยนแปลงทาและการเคลื่อนไหวบ้าง โดยทั่วไปจะนั่งสมาธิ 1 ชั่วโมง เดินจงกรม 1 ชั่วโมง และพักระหว่างนั้นเล็กน้อย

  การเดินจงกรม ต้องหาที่ว่างสัก 5-10 ก้าว เราจะเดินไปเดินมา ลืมตา เลือกที่เงียบๆ เริ่มจากยืนนิ่งๆ 1 นาที แขนวางให้สบายอาจวางไว้ข้างหน้า ข้างหลัง ข้างๆลำตัว ต่อไปหายใจเข้า ยกส้นเท้าข้างหนึ่ง หายใจออกยกเท้าขึ้น แตะที่ปลายเท้า หายใจเข้า ยกเท้าข้างนั้นทั้งเท้าย่างไปข้างหน้า หายใจออก วางเท้าลงแตะพื้น ทำเช่นเดียวกันกับเท้าอีกข้างก้าวเดินช้าๆ ไปข้างหน้าจนสุดทาง ยืนนิ่งๆ 1 นาที หันกลับช้าๆ ยืนนิ่งๆ อีก 1 นาที ก่อนจะย่างเท้าเช่นตอนแรก เวลาเดินให้ศีรษะตั้งตรง ผ่อนคลายลำคอ ตามองไปข้างหน้า แต่ไม่จับที่สิ่งใดเดินให้เป็นธรรมชาติ ย่างเท้าช้าๆ ตามสบาย อย่าสนใจสิ่งรอบตัว เฝ้าดูความตึงเครียดของร่างกายที่เกิดขึ้น เพื่อจับให้ได้ตั้งแต่เกิดและผ่อนคลายทันที อย่าพยายามเดินวางท่าให้สวยงาม เพราะไม่ใช่นักกายกรรมหรือนักเต้นรำ แต่เป็นการฝึกสติ วัตถุประสงค์ คือ ให้รู้ตัวทั่วพร้อมและมีความรู้สึกจับที่การเดิน เฝ้าดูความรู้สึกจากปลายเท้าขึ้นมาถึงขา จับความรู้สึกที่การก้าวย่างแต่ละก้าว จับการทำงานของกล้ามเนื้อ ขณะก้าวเดิน จับความรู้สึกฝ่าเท้าสัมผัสกับพื้นและยกขึ้น อย่าก้มมองเท้าขณะเดิน อย่าเดินกลับไป-มา นึกถึงแต่เท้าและขา อย่าใช้ความคิด ใช้ความรู้สึก อย่าสร้างภาพ ให้จับที่ความรู้สึกเท่านั้น ตอนเริ่มเดินอาจทรงตัวไม่ได้ เพราะกล้ามเนื้อเรียนวิธีเดินแบบใหม่ การเรียนรู้เป็นไปตามธรรมชาติ ถ้าเกิดการคับข้องใจ ให้พิจารณาและปล่อยวาง

มีสมาธิทุกอิริยาบถ

  พยายามตั้งสติ ทุกขณะที่ทำงานตลอดทั้งวัน เริ่มจากตื่นเช้าพอรู้ตัว เริ่มเจริญสติ และดำเนินตลอดไปจนถึงเวลานอนหลับ แม้ว่าจะไม่ง่ายอย่างที่คิด แต่ให้ค่อยฝึกฝนไป เริ่มจากมีสติพิจารณาท่าทางต่อไปมีสติขณะรับประทานอาหาร ซักผ้า ดื่มน้ำ แต่งตัว ฯลฯ ตอนกลางวันหาเวลาว่างสัก 15 นาที พิจารณาอารมณ์ของตัวเอง เช่น ความรู้สึกสบาย ไม่สบาย เฉยๆ หรืออุปสรรค หรือความคิด ให้ใช้เวลาขณะทำกิจกรรมตอนกลางวันเจริญสติให้ได้ พยายามให้การนั่งสมาธิ และการทำงานไม่ต่างกันมากนัก ตลอดเวลาให้มีสติ จิตเราไม่เคยอยู่นิ่งเลย นอกจากเวลามีสมาธิลึกๆ เราสามารถพิจารณาจิตเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา เปรียบเหมือนอุปสรรคประจำวัน มาให้เราทดลอง ไฟและตัววัดกรดสามารถไล่ความหลงผิด ความผิดจากจิตเรา...

จากบทความข้างต้นที่นักศึกษาได้หยิบยกมาบางส่วนจากหนังสือนี้ คาดว่าจะเป็นประโยชน์กับผู้ที่สนใจไม่มากก็น้อย ให้ท่านผู้อ่านสามารถนำกลับมาปรับประยุกต์ใช้กับตัวเองได้ เพื่อให้ตัวเองมีความสุขและมี สติ สมาธิในการทำงานดำเนินชีวิตได้อย่างราบเรียบต่อไป


หมายเลขบันทึก: 509990เขียนเมื่อ 25 พฤศจิกายน 2012 17:38 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 ธันวาคม 2012 20:36 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

สติ มา ปัญญาเกิด สติ เตลิด ไม่เกิดปัญญา นะจ๊ะ

5555+++ ใช่เลยคะ เห็นด้วยเช่นกันคะ ขอบคุณมากๆๆ สำหรับคำแนะนำนะคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท