สอบครูผู้ช่วยสังกัด สำนักงาน กศน.แยกอายุงานหรือไม่?


                                             ค้ดลอกมาจาก การทำงานของ เอกชัย กศน. อ. ผักไห่

สอบครูผู้ช่วยแยกอายุงาน?, น่าสนใจจาก ผอ.กจ., ไม่ใช่ครู เรียน ป.บัณฑิต, วุฒิสอบบุคลากร กศ., ไม่ทำบัตร นศ.ATM, ป.บัณฑิตบริหาร, นวก.ชำนาญการพิเศษ, Best Practice, พวงหรีด, ลารับปริญญา, ออกใบ รบ.ก่อนขอ, คศ.3, เก็บเงิน กพช., ตั้งครูชาวบ้าน, ย้าย อ.วิชาต่างกัน

ปดาห์นี้มีเรื่องที่คิดว่าน่าสนใจ ขอเลือกมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้  15  เรื่อง ดังนี้

       1. คืนวันที่ 15 พ.ย.55 คุณวิภาณี ครูผู้สอนคนพิการ กศน.อ.แปลงยาว ถามผมผ่านเฟซบุ๊ค ว่า  ขอคำนิยาม Best Practice และ Best Practice ของการสอนคนพิการ ควรออกมา แนวไหน

        ผมตอบว่า
        Best Practice คือ วิธีปฏิบัติ
ที่ก่อให้เกิดผลที่เป็นเลิศ หรือวิธีปฏิบัติที่ทำให้องค์กรประสบความสำเร็จ หรือสู่ความเป็นเลิศ
        Best Practices ของสถานศึกษาเป็นวิธีการทำงานใหม่ที่สถานศึกษาเรียนรู้จากการปฏิบัติจริงในการพัฒนาคุณภาพสถานศึกษา ซึ่งนำไปสู่การบรรลุผลลัพธ์ที่ตอบสนองความคาดหวังของชุมชนและเป้าหมายของสถานศึกษาอย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้สถานศึกษาประสบความสำเร็จก้าวสู่ความเป็นเลิศ
        วิธีปฏิบัติในการพัฒนาคุณภาพสถานศึกษาที่จะเรียกได้ว่าเป็น Best Practices นั้น มีแนวทางการพิจารณา 6 ข้อ ดังนี้
        1)  วิธีปฏิบัตินั้นดำเนินการบรรลุผลได้สอดคล้องกับความคาดหวังของชุมชน หรือผู้ปกครองที่มีต่อสถานศึกษาหรือเป็นวิธีปฏิบัติที่สร้างความพึงพอใจให้ กับทุกคนในสถานศึกษาได้
        2)  วิธีปฏิบัตินั้น ผ่านกระบวนการนำไปใช้อย่างเป็นวงจรจนเห็นผลอย่างชัดเจนว่า ทำให้เกิดคุณภาพสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องหรือกล่าวอีกอย่างหนึ่งคือ วิธีปฏิบัตินั้นมีกระบวนการ PDCA จนเห็นแนวโน้มของตัวชี้วัดความสำเร็จที่ดีขึ้น
        3)  สถานศึกษาสามารถบอกเล่าถึงวิธีปฏิบัตินั้นได้ว่า “ทำอะไร” (what) “ทำอย่างไร” (how) และ “ทำไมจึงทำ หรือ ทำไมจึงไม่ทำ” (why)
        4)  ผลลัพธ์จากวิธีปฏิบัตินั้น เป็นไปตามองค์ประกอบ ข้อกำหนดของการพัฒนาคุณภาพเชิงระบบ
        5)  วิธีปฏิบัตินั้น สามารถระบุได้ว่า เกิดจากปัจจัยสำคัญที่ชัดเจน และปัจจัยนั้นก่อให้เกิดการปฏิบัติที่ต่อเนื่องและยั่งยืน
        6)  วิธีปฏิบัตินั้นใช้กระบวนการจัดการความรู้ (KM) เช่นการเล่าเรื่อง (Storytelling) ในการถอดบทเรียนจากการดำเนินการ
        สรุปได้ว่า วิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศ ( Best Practice ) หมายถึงวิธีปฏิบัติในกระบวนการใดกระบวนการหนึ่งที่ทำให้สถานศึกษาประสบความสำเร็จภายใต้เงื่อนไขหรือสภาพแวดล้อมที่สถานศึกษาเผชิญอยู่

        สำหรับการสอนคนพิการ น่าจะดูว่าเราสอนคนพิการคนไหน ( case stady ) หรือกลุ่มไหน ที่รู้สึกว่าน่าพอใจมากได้ผลดีเป็นที่ชื่นชมของผู้เกี่ยวข้อง โดยที่เรามีวิธีการบางอย่าง (อาจจะเป็นสื่อ หรือวิธีการ/กระบวนการ หรืออะไรก็ได้ที่เราใช้ ) ที่น่าสนใจ  โดยต้องบอกได้ว่า วิธีปฏิบัติที่น่าสนใจของเรานั้นคืออะไร เกิดผลดีอย่างไร

        2. คืนวันเดียวกัน ( 15 พ.ย.55 ) คุณ “Thavat Sonm” ถามผมผ่านเฟซบุ๊ค ว่า  ภาคเรียนที่ 1/50 มี นศ. จบ 10 คน พิมพ์ใบ รบ.ใว้เรียบร้อย 10 คน เสนอ ผอ.ลงนามใด้ 8 คน อีก 2 คนไม่มีรูป ไม่ได้เสนอ เมื่อเปลี่ยน ผอ.ใหม่ 2 คนที่ยังไม่ได้ลงนาม ให้ ผอ.คนใหม่ลงนามได้หรือไม่ ( ผอ.คนเก่าลงนามในใบ รบ. ฉบับที่ต่อจาก 2 ใบนี้ไปแล้ว )

            ตอบว่า  ได้ 
            ไม่มีระเบียบหลักเกณฑ์กำหนดว่า การออกใบ รบ.ต้องออกเรียงลำดับเลขที่ตามวันที่ที่ผู้อำนวยการลงนาม ( รวมทั้งไม่มีระเบียบหลักเกณฑ์ให้ออกใบ รบ.เรียงลำดับเลขที่ตามวันอนุมัติการจบหลักสูตร )  ฉะนั้น ให้ผอ.คนใหม่ลงนามในใบ รบ.ที่ เลขที่ก่อนใบที่ ผอ.คนเก่าลงนามได้
            ส่วนการให้ ผอ.ลงนามก่อนที่ นศ.จะมาขอนั้น ทำได้ถ้าผู้บริหารอนุมัติผลการจบหลักสูตรแล้ว และหลักฐานครบถ้วน เช่นเมื่อตรวจสอบผู้ที่คาดว่าจะจบหลักสูตรก็ขอรูปถ่ายไว้แล้ว ก็ออกใบ รบ.ได้เลย
            การออกใบ รบ. ไม่มีระเบียบหลักการเกณฑ์กำหนดให้ออกเมื่อ นศ.มายื่นคำร้องขอแต่ให้ออกเมื่อผู้บริหารอนุมัติผลการจบหลักสูตร ซึ่งผู้บริหารอนุมัติผลการจบหลักสูตรได้ทันทีที่นักศึกษากลุ่มนั้นหรือเฉพาะ รายนั้นเรียนครบตามโครงสร้างและเงื่อนไขการจบหลักสูตร (ตามคำอธิบายการกรอกระเบียนแสดงผลการเรียน ข้อ 5.7 และ 5.9 )
            ถ้าดูคำอธิบายการกรอกระเบียนแสดงผลการเรียน ข้อ 5.8 จะเห็นว่าให้จองเลขที่ใบ รบ.ไว้ตั้งแต่ได้เลขประจำตัวนักศึกษาโดยยังไม่รู้ว่าจะเรียนจบหรือไม่และให้บันทึกผลการเรียนที่ได้ 1 ขึ้นไป ใน รบ.ฉบับต้นขั้ว ( คู่ฉบับ )ให้เป็นปัจจุบันทุกภาคเรียน

        3. คืนวันเดียวกัน ( 15 พ.ย.55 ) คุณจเด็จ ครู คศ.2 กศน.อ.ท่าเรือ โทร.มาถามผมว่า

            3.1  จะไปเรียน ป.บัณฑิตทางการบริหารฯ ใน 38 มหาวิทยาลัยที่คุรุสภารับรอง ได้ไหม
                    ผมตอบว่า  ไม่ได้  หลักสูตร ป.บัณฑิตทางการบริหารฯ ใน 38 มหาวิทยาลัยที่คุรุสภารับรองในโครงกานนี้ สำหรับผู้บริหารโรงเรียนสังกัด สช.เท่านั้น  ( ผู้เรียนต้องเป็นผู้บริหารอยู่แล้ว  ซึ่งผู้บริหารสังกัดอื่นจะมีปริญญาทางการบริหารหรือ ป.บัณฑิตทางการบริหารอยู่แล้ว )
            3.2  ถ้าไม่มีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพผู้บริหารสถานศึกษา จะอนุโลมให้สอบ ผอ.กศน.อ. ก่อนหรือไม่
                    ตอบว่า  ไม่อนุโลม ( การสอบครั้งหลัง ๆ และครั้งต่อไปนี้ ไม่อนุโลมแล้ว )
            3.3  จะทำ คศ.3 อย่างไร  เมื่อไร กศน.จะจัดอบรมผู้จะทำ คศ.3
                    ตอบว่า  กศน.จัดอบรมผู้จะทำ คศ.3 ( การพัฒนาก่อนแต่งตั้งให้มีและเลื่อนเป็นวิทยฐานะชำนาญการพิเศษ ) ครั้งล่าสุดไปเมื่อ 23-27 เม.ย.55  ตอนนี้ยังไม่มีกำหนดว่าจะจัดพัฒนาฯอีกเมื่อไร  แต่การเสนอขอรับการประเมินให้มีและเลื่อนเป็นวิทยฐานะชำนาญการพิเศษ สามารถยื่นคำขอและประเมินไปก่อนได้เลยเมื่อคุณสมบัติครบ ไม่ต้องเข้ารับการพัฒนาฯก่อน 
                    ( คุณสมบัติในการเสนอขอรับการประเมินให้มีและเลื่อนเป็นวิทยฐานะชำนาญการพิเศษ คือ
                        - ดำรงตำแหน่งครูที่มีวิทยฐานะครูชำนาญการ หรือดำรงตำแหน่งอื่นที่ ก.ค.ศ.เทียบเท่า อย่างใดอย่างหนึ่งหรือรวมกัน มาแล้วไม่น้อยกว่า 1 ปี นับถึงวันที่ยื่นคำขอ
                        - มีภาระงานสอนไม่ต่ำกว่าภาระงานขั้นต่ำตามที่ส่วนราชการต้นสังกัดกำหนดโดยความเห็นชอบของ ก.ค.ศ.  สำหรับครู กศน. จำนวนชั่วโมงภาระงานสอนขั้นต่ำตามที่กำหนดคือ ไม่ต่ำกว่า 18 ชั่วโมง/สัปดาห์ โดยในจำนวน 18 ชั่วโมงนี้ต้องเป็นจำนวนชั่วโมงสอนตามตารางสอนไม่ต่ำกว่า 10 ชั่วโมง/สัปดาห์ ที่เหลืออาจเป็นภาระงานที่เกี่ยวเนื่องกับการเรียนการสอน หรือภาระงานการพัฒนาคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา
                      - ได้ปฏิบัติงานตามหน้าที่ความรับผิดชอบด้านการเรียนการสอนและการพัฒนาผู้เรียนย้อนหลัง 2 ปีติดต่อกัน นับถึงวันที่ยื่นคำขอ )

                      จะเข้ารับการพัฒนาฯ ก่อนหรือหลังผ่านการประเมิน ก็ได้  เพียงแต่ถ้าผ่านการประเมินแล้ว แต่ยังไม่ผ่านการพัฒนา หรือเงินเดือนยังห่างขั้นต่ำของอันดับ คศ.3 เกิน 1 ขั้น ก็จะยังไม่ได้รับการแต่งตั้งให้เลื่อนเป็นวิทยฐานะครูชำนาญการพิเศษ  อนึ่ง ถ้าสำเร็จหลักสูตรการพัฒนาฯเกิน 3 ปีแล้วยังไม่ผ่านการประเมิน ก็ต้องเข้ารับการพัฒนาใหม่จึงจะได้รับการแต่งตั้งให้เลื่อนเป็นวิทยฐานะชำนาญการพิเศษ  ( คุณสมบัติของผู้มีสิทธิเข้ารับการพัฒนา ก็คือมีคุณสมบัติในการเสนอขอรับการประเมินให้มีและเลื่อนเป็นวิทยฐานะชำนาญการพิเศษ  ผู้ผ่านการพัฒนาฯต้องส่งแบบคำขอเลื่อนวิทยฐานะภายในระยะเวลา 3 ปีหลังผ่านการพัฒนา ถ้าไม่ส่งอาจถูกเรียกชดใช้ค่าใช้จ่ายที่ส่วนราชการออกให้ในการพัฒนา )

                      ส่วนเรื่องจะทำ คศ.3 อย่างไร ยื่นคำขออย่างไร มีรายละเอียดมาก  ควรเริ่มด้วยการอ่าน "คู่มือการประเมินข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาเพื่อให้มีวิทยฐานะและเลื่อนวิทยฐานะสายงานการสอน"  โดยที่  http://kruwandee.com/news-id461.html  มีให้ดาวน์โหลดทั้ง คู่มือ+หลักเกณฑ์+แบบฟอร์ม

    4. คืนวันเดียวกัน ( 15 พ.ย. )  มีผู้ถามในเฟซบุ๊คกลุ่มครูนอกระบบว่า การสมัครสอบเป็นข้าราชการตำแหน่งบุคลากรทางการศึกษาอื่นตามมาตรา 38 ค. ( 2 ) ( ที่มีข่าวว่า กศน.จะรับสมัครสอบประมาณเดือน ธ.ค.55 หรือ ม.ค.56 ) นั้น  รับวุฒิใดบ้าง

  คุณวุฒิที่ใช้สมัครสอบในแต่ละตำแหน่ง ครั้งที่แล้ว คือ
            1)  ตำแหน่งนักจัดการงานทั่วไปปฏิบัติการ  =  ได้รับปริญญาตรีหรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ในระดับเดียวกัน ในทุกสาขาวิชา
            2)  ตำแหน่งบรรณารักษ์ปฏิบัติการ  =  ได้รับปริญญาตรีหรือเทียบได้ไม่ต่ำกว่านี้ ทางบรรณารักษศาสตร์ สารนิเทศศาสตร์ หรือทางอื่นที่ ก.ค.ศ.กำหนดว่าใช้เป็นคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งนี้ได้
            3)  ตำแหน่งนักวิชาการศึกษาปฏิบัติการ  =  ได้รับปริญญาตรีขึ้นไป ทางการศึกษา ในสาขา ดังนี้  (ถ้าจบสาขาอื่น ถึงแม้จะจบป.บัณฑิตด้วย ก็สมัครไม่ได้ )
                  - การศึกษา
                  - ครุศาสตร์
                  - ศึกษาศาสตร์
                  - ครุศาสตร์อุตสาหกรรม
                  - วิทยาศาสตร์ (ศึกษาศาสตร์...) หรือ (ศึกษาศาสตร์การสอน...) หรือ (การสอน...)
                  - ศิลปศาสตร์ (ศึกษาศาสตร์...) หรือ (ศึกษาศาสตร์การสอน...)
                  - คหกรรมศาสตร์บัณฑิต (วิชาเอกคหกรรมศาสตร์ศึกษา)   เกษตรศาสตร์บัณฑิต (วิชาเอกเกษตรศึกษา)  บริหารธุรกิจบัณฑิต ( วิชาเอกธุรกิจศึกษา)

        5. คืนวันเดียวกัน ( 15 พ.ย. ) คุณพจมาศ ไชยบุตร ถามในเฟซบุ๊คกลุ่มครูนอกระบบ ว่า  ขอทราบข้อมูลการทำ กพช.ด้านคุณธรรม-จริยธรรม จำนวน 50 ชั่วโมง (ขอหนังสือสั่งการจากสำนักฯ) จะนำไปอ้างอิงทำโครงการเข้าค่ายคุณธรรม-จริยธรรม

            ผมตอบว่า  เรื่องนี้ สำนักงาน กศน.รับนโยบายโครงการศีลธรรมเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิต ของท่านรมว.คนเก่า ( ศ.ดร.สุชาติ )มาบรรจุในนโยบายการจัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย ปี 2556 โดยท่านเลขาธิการ กศน.แจ้งนโยบายนี้ใน "ที่ประชุมชี้แจงมาตรฐานกศน.และเกณฑ์การพิจารณาปี 2555 ที่ปรับใหม่ และแนวทางการประเมินคุณภาพภายนอกรอบสาม" เมื่อเดือนส.ค.55 ว่า .. ให้ทุกสถานศึกษาจัดกิจกรรมเข้าค่ายคุณธรรม ( ในวัด ) 3 วัน 2 คืน จำนวน 50 ชั่วโมง ของกิจกรรม กพช. 100 ชั่วโมง
            เรื่องนี้ กป.กศน. บอกผมว่า  กำลังทำหนังสือแจ้งกรอบการจัดกิจกรรม กพช. 100 ชั่วโมง ส่งมา โดยจะให้แบ่งเป็น
            1)  ส่งเสริมคุณธรรม 50 ชั่วโมง
                  - เข้าค่ายคุณธรรม 25 ชั่วโมง  ( จะทำหลักสูตรส่งมาให้ภายหลัง )
                  - กิจกรรมส่งเสริมคุณธรรมตามความต้องการของนักศึกษา 25 ชั่วโมง  เฉพาะกิจกรรมในส่วนนี้ถ้าจำเป็นต้องใช้เงินในการจัดกิจกรรม และเงินงบประมาณไม่พอ อาจเก็บเงินจากผู้เรียนได้ตามความสมัครใจของผู้เรียน  ถ้าผู้เรียนรายใดไม่พร้อมจะเข้าร่วมกับกิจกรรมที่ต้องจ่ายเงิน ให้ทำกิจกรรมส่งเสริมคุณธรรมด้วยตนเอง ตามวิธีการที่จะกำหนดมา
            2) กิจกรรมอื่น ๆ รวม 3 ด้าน 50 ชั่วโมง  ให้ทำครบทั้ง 3 ด้าน คือ
                  - ด้านพัฒนาสังคมและชุมชน
                  - ด้านส่งเสริมสถาบันพระมหากษัตริย์ เช่น กิจกรรมวันที่ 12 สิงหา, 5 ธันวา
                  - ด้านกีฬา ( กศน.เกม )

        6. คืนวันเดียวกัน ( 15 พ.ย. ) “กศน.ท่าม่วง กาญจนบุรี” เขียนในเฟซบุ๊คกลุ่มครูนอกระบบ ว่า  ขอระบียบหลักเกณฑ์และวิธีการปรับตำแหน่งนักวิชาการศึกษาชำนาญการเป็นชำนาญการพิเศษ

            เรื่องการทำชำนาญการพิเศษของนักวิชาการศึกษาชำนาญการนี้ ใช้ระเบียบของ ก.พ.โดยอนุโลม เหมือนกับบรรณารักษ์และบุคลากรทางการศึกษาตามมาตรา 38 ค. ( 2 ) อื่น ๆ  ( ถ้าเคยโอนมาจากบรรณารักษ์ สามารถนำช่วงเวลาที่ดำรงตำแหน่งบรรณารักษ์มารวมด้วยได้ แต่ให้ใช้ผลงานที่เป็นลักษณะงานของนักวิชาการศึกษา )  เริ่มด้วยการดูก่อนว่า "เงื่อนไขตำแหน่ง" ของ "ตำแหน่งเลขที่"ตน ในกรอบอัตรากำลัง ระบุเป็น "ชำนาญการหรือชำนาญการพิเศษ" หรือไม่ถ้าระบุอย่างนี้ตำแหน่งเลขที่นี้จึงจะทำชำนาญการพิเศษได้ ถ้าไม่กำหนดเงื่อนไขให้ถึงระดับชำนาญการพิเศษก็ทำชำนาญการพิเศษไม่ได้นะ ต้องย้ายไปลงเลขที่ตำแหน่งที่กำหนดเงื่อนไขตำแหน่งว่า “ชำนาญการหรือชำนาญการพิเศษ” ก่อน ( ใครที่ไม่รู้ว่าเลขที่ตำแหน่งของตนกำหนดเงื่อนไขให้ถึงระดับชำนาญการพิเศษหรือไม่ ให้ถาม จนท.งานบุคลากรใน สนง.กศน.จ.นั้น )
            จะทำชำนาญการได้เมื่อเป็นบุคลากรทางการศึกษาอื่นตามมาตรา 38 ค. ( 2 ) ครบ 6 ปี (สำหรับผู้ที่มีวุฒิปริญญาตรี ), หรือครบ 4 ปี (สำหรับผู้ที่มีวุฒิปริญญาโท ), หรือครบ 2 ปี (สำหรับผู้ที่มีวุฒิปริญญาเอก )  และจะทำชำนาญการพิเศษได้เมื่อครบ 8 ปีโดยเป็นชำนาญการมาแล้ว 4 ปี  ปัจจุบันไม่มีการกำหนดคุณสมบัติเรื่องเงินเดือนขั้นต่ำและไม่มีการกำหนดช่วงเวลายื่นแล้ว ถ้าคุณสมบัติครบก็ยื่นได้ตลอดเวลา  ส่วนกลางจะใช้เวลาตั้งกรรมการ ( เป็นความลับ ) อ่านผลงานหลายเดือน ถ้าผ่านโดยไม่ต้องแก้ไขก็จะได้รับการแต่งตั้งย้อนหลังตั้งแต่วันที่ กจ. ได้รับเรื่องของเราถ้าต้องแก้ไขแล้วผ่าน ก็จะแต่งตั้ง ตั้งแต่วันที่ กจ. ได้รับเรื่องใหม่หลังแก้ไข
            ส่วนผู้ที่ปฏิบัติงานในเขตจังหวัดชายแดนภาคใต้ ( นราธิวาส ปัตตานียะลา และเฉพาะ อ.นาทวี อ.จะนะ อ.เทพา อ.สะบ้าย้อย ใน จ.สงขลา )นับระยะเวลาเป็นทวีคูณ จึงลดเวลาลงครึ่งหนึ่ง เช่นทำชำนาญการได้เมื่อครบ 3 ปี (สำหรับผู้ที่มีวุฒิปริญญาตรี )
            ติดต่อสอบถามโดยตรงที่ สนง.กศน.จ. หรือ กจ.กศน. 02-2822159 ( คุณมณฑา )  หรือถามบรรณารักษ์ที่ทำชำนาญการพิเศษได้หลายคนแล้ว ( นักวิชาการศึกษาก็มียื่นขอชำนาญการพิเศษไปแล้ว )  หรือ ดูแบบฟอร์มการทำชำนาญการพิเศษจากของบรรณารักษ์ ได้ที่  http://www.gotoknow.org/file/nfeph999/library.pdf )
            สำหรับตัวระเบียบหลักเกณฑ์และวิธีการ ดูได้ที่ www.ocsc.go.th/ocsc/th/index.php?option=com_docman&task=doc_download&gid=264&Itemid=226

        7. วันที่ 16 พ.ย.55 คุณ “Aoii Pannawala” ถามผมผ่านเฟซบุ๊ค ว่า  ถ้าจะเบิกค่าจ้างทำพวงหรีดสามารถเบิกได้ไหม  ยึดระเบียบตัวไหน

            ผมตอบว่า  พวงหรีด ภาษาราชการเรียกว่า พวงมาลาสำหรับวางศพ  ( ค่าพวงหรีดเป็นค่าซื้อวัสดุ ไม่ใช่ค่าจ้างทำ  อะไรก็ตามที่ผู้ทำหาวัสดุอุปกรณ์ทุกอย่างเองหมด ถือเป็นการซื้อวัสดุ  แต่ถ้าวัสดุอุปกรณ์หลักเป็นของหน่วยงานผู้จ้าง จึงจะเป็นการจ้างทำ เช่นหนังสือเรียน ถ้าพิมพ์ตามต้นฉบับของเรา จะเป็นการจ้าง ถ้าลิขสิทธิ์ต้นฉบับเป็นของเขาจะเป็นการซื้อ  ชุดยาม ถ้าผ้าเป็นของเขาจะเป็นการซื้อชุดยาม แต่ถ้าเราซื้อผ้ามาขั้นหนึ่งก่อน แล้วนำผ้านั้นไปจ้างตัดเป็นชุดยามอีกขั้นหนึ่ง อย่างนี้ขั้นแรกเป็นการซื้อวัสดุ ขั้นหลังเป็นการจ้างทำ )
            ตามหนังสือกระทรวงการคลัง ด่วนที่สุด ที่ กค 0518.4/ว.89 ลงวันที่ 19 กันยายน 2545 ( ดูได้ที่  http://www.gotoknow.orghttp://cdn.gotoknow.org/assets/media/files/000/848/781/original_PL1.pdf?1353074170 ) ให้
            - เบิกจ่ายค่าพวงมาลาสำหรับวางศพ "ผู้มีเกียรติ"
            - ได้เท่าที่จ่ายจริง ตามความจำเป็น เหมาะสม ประหยัด เพื่อประโยชน์ของทางราชการเป็นสำคัญ
            - โดยให้ "หัวหน้าส่วนราชการเจ้าของงบประมาณ" ใช้ดุลยพินิจในการเบิกจ่าย

            ( - กลุ่มกฎหมายและระเบียบด้านค่าใช้จ่ายในการบริหาร กรมบัญชีกลาง บอกว่าคำว่าผู้มีเกยรติในที่นี้ หมายถึงผู้ที่เคยประกอบคุณงามความดีให้กับประเทศชาติหรือส่วนราชการนั้น ๆ
              - หัวหน้าส่วนราชการเจ้าของงบประมาณ ของเรา หมายถึง ปลัดกระทรวงศึกษาธิการแต่ ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ได้มอบอำนาจเรื่องนี้ให้ ผอ.สนง.กศน.จ.ตามคำสั่ง สนง.ปลัดกระทรวง ศธ. ที่ 270/2551 ลงวันที่ 5 มี.ค.51 ข้อ 34 ซึ่งมอบอำนาจ "การใช้ดุลยพินิจในการอนุมัติเบิกจ่ายค่าใช้จ่ายประเภทต่าง ๆตามที่กระทรวงการคลังกำหนด" )

            ฉะนั้นการเบิกจ่ายค่าพวงหรีดต้องขออนุมัติ ผอ.สนง.กศน.จ. โดยสามารถเบิกจ่ายได้ถ้าผอ.สนง.กศน.จ.มีดุลยพินิจว่า ศพนั้นเป็นศพผู้มีเกียรติและราคาพวงหรีดนั้นเหมาะสม เพื่อประโยชน์ของทางราชการเป็นสำคัญ

        8. วันเดียวกัน ( 16 พ.ย.55 ) “ห้องสมุดประชาชน อำเภอดอกคำใต้” ถามผมผ่านเฟซบุ๊ค ว่า  คนที่เป็นบรรณารักษ์อัตราจ้าง อยากจะเรียน ป.บัณฑิต เหมือนพวก ครูกศน. จะต้องทำอย่างไรบ้างมีวิธีใหนที่จะสามารถทำให้บรรณารักษ์และเจ้าหน้าที่ฝ่ายอื่นๆของกศน.ได้เรียน ป.บัญฑิต

            ผมตอบว่า  ให้อ่านสรุปรายการสายใย กศน.วันที่ 12 พ.ย.55 ในย่อหน้าที่ 3 นับจากล่างสุด ที่  http://www.gotoknow.org/blogs/posts/508767

        9. เย็นวันที่ 16 พ.ย.55 คุณ “น้ำหนึ่ง ใจเดียวกัน” ถามผมผ่านเฟซบุ๊ค ว่า  สอบครูผู้ช่วย กศน. จะแยกสอบครูที่มีอายุงาน 10 ปีขึ้นใหม

            ผมตอบว่า  ไม่แยกสอบ  แต่  การสอบครูผู้ช่วยกรณีพิเศษ จะมีคะแนนภาค ข ประวัติและผลงาน 100 คะแนน (ไม่น้อยนะ มีการสอบ 2 ภาคคือ ก. กับ ข. คะแนนเต็มทั้งหมด 2 ภาค 300 คะแนน )โดยให้ส่วนราชการกำหนดองค์ประกอบการประเมิน ตัวชี้วัดและคะแนนการประเมินที่เป็นปรนัย ซึ่ง กศน. ( สป. ) "อาจจะ"กำหนดให้อายุงานเป็นองค์ประกอบหนึ่งก็ได้

        10. วันที่ 19 พ.ย.55 อ.อภิชาต กศน.อ.ลาดบัวหลวง  โทร.มาเรื่องเก่าคือ โปรแกรม ITw ออกใบ รบ.ผิด โดยไม่แปลงวิชาบางวิชาในหลักสูตรนำร่อง ให้เป็นวิชาในหลักสูตรทั่วประเทศ ซึ่ง คุณสุขุมบอกว่าจะแก้ไขโปรแกรมให้ในรุ่นต่อไป ในช่วงนี้ให้แก้ปัญหาเฉพาะหน้าโดยไปออกใบ รบ.ในโปรแกรม ITw 51 ทั่วประเทศ  ด้วยการเข้าไปถอนการลงทะเบียนวิชาบางวิชาและเพิ่มการลงทะเบียนพร้อมทั้งบันทึกคะแนนบางวิชา
            อ.อภิชาติ บอกว่า ไม่ได้แก้ปัญหาเฉพาะหน้าตามที่บอก เพราะคิดว่ารอโปรแกรมรุ่นใหม่ก่อนดีกว่า แต่ตอนนี้จำเป็นต้องออกใบ รบ. 
            ผมจึงส่งลิ้งค์สำหรับดาวน์โหลดโปรแกรม ITw รุ่นใหม่ที่แก้ปัญหานี้แล้ว ไปให้ อ.อภิชาติทางอีเมล์  โปรแกรมรุ่นใหม่นี้ยังไม่เผยแพร่ คุณสุขุมปรับปรุงบางอย่าง เช่น ออกรายงานผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่สูงกว่าค่าขีดจำกัดล่าง ตามตัวบ่งชี้ที่ 1.5 ของการประกันคุณภาพภายใน เป็นคะแนนทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพให้เลย เราไม่ต้องเสียเวลายุ่งยากในการคำนวณ, ปรับเกณฑ์การตัดสินคะแนนปลายภาควิชาบังคับ เป็นต้องผ่าน 30 %, เพิ่มกลุ่มเป้าหมาย English Program, ปรับคะแนน NT ให้ใส่ทศนิยมได้ และอื่น ๆ  ขณะนี้อยู่ในระหว่างการทดลองใช้ของบางแห่ง  จะส่งให้ทุกแห่งใช้ประมาณปลายสัปดาห์นี้หรือสัปดาห์หน้า

        11. คืนวันเดียวกัน ( 19 พ.ย. ) คุณ Supawat Parnkow พนักงานราชการ กศน.ลพบุรี  เขียนในหน้าเฟซบุ๊คผม ว่า  ขอข้อมูลระเบียบหลักเกณฑ์การแต่งตั้งบุคคลทำหน้าที่ครูชาวบ้าน เพื่อสอนผู้ไม่รู้หนังสือ

            ผมตอบว่า  มีตัวอย่าง ( แบบฟอร์ม ) คำสั่งแต่งตั้งอยู่ในหน้า 14 ของคู่มือการใช้หลักสูตร ที่  https://dl.dropbox.com/u/109014048/literacy.pdf

        12. วันที่ 20 พ.ย.55 คุณ “Aom Nfe” ถามผมผ่านเฟซบุ๊ค ว่า  ถ้านักศึกษาไม่ประสงค์จะทำบัตรนักศึกษาแบบATM ได้ไหม

            เรื่องนี้  ผมถาม กป.กศน.อีกรอบหนึ่ง เขาก็ยืนยันว่า
            1)  เป็นนโยบาย ให้นักศึกษาใหม่ทำทุกคน ( นักศึกษาใหม่ของภาคเรียนต่อไปก็ให้ทำทุกคน นักศึกษาเก่าไม่ให้ทำ กศน.ลงนาม MOU กับ ธ.กรุงไทยแล้ว )
            2)  ในหนังสือนำส่งที่ใช้คำว่า "ประสงค์" นั้น ทำให้เกิดความสับสน คงจะมีหนังสือซักซ้อมความเข้าใจมาให้ชัดเจนอีกครั้ง
            3)  หนังสือซักซ้อมความเข้าใจ คงจะบอกมาด้วยว่า ถ้านักศึกษาใหม่อำเภอไหนไม่ทำทุกคน ผู้บริหารต้องแจ้งเหตุผลไปให้ส่วนกลางพิจารณา เช่น นักศึกษาพิการในลักษณะไปไหนไม่ได้ ( เหตผลคงไม่ใช่ หาตัวนักศึกษาไม่พบ )
            4)  ยกเว้นให้เฉพาะนักศึกษาลักษณะในเรือนจำ-ทัณฑสถาน เท่านั้น ลักษณะอื่น ๆ เช่นบนเขาบนดอย ไม่ยกเว้น
            5)  ค่าสมัคร 50 บาท ให้เบิกจ่ายจากเงินงบประมาณ
            6)  เงินฝากเปิดบัญชี กำลังต่อลองให้ไม่เกิน 200 บาท
            7)  เมื่อเปิดบัญชีทำบัตรได้เรียบร้อยแล้ว “ถ้า” นักศึกษาคนใดไม่ประสงค์จะใช้ประโยชน์จากบัตร ATM ให้นักศึกษาถอนเงินคืน เพื่อปีต่อไปจะได้ไม่ถูกหักค่าธรรมเนียมบัตร ATM ปีละ 180 บาท เหลือไว้เป็นเพียงบัตรนักศึกษา  ( ข้อนี้ อย่าเพิ่งพูดให้เข้าหู ธ.กรุงไทย )
            8)  ท่านเลขาธิการ กศน. ได้แจ้งนโยบายและประโยชน์เรื่องนี้ แก่ ผอ.ทุกอำเภอ/จังหวัด แล้ว ที่สุรินทร์

        13. วันเดียวกัน ( 20 พ.ย.55 ) คุณจันทนา ครูอาสาฯ กศน.อ.บางปะอิน  โทร.มาถามผมว่า  มีนักศึกษาลาออกจาก กศน.อ.อื่น มาสมัครเรียนต่อที่ กศน.อ.บางปะอิน  แต่วิชาเลือกที่เขาเรียนผ่านมาแล้ว บางวิชาไม่มีใน กศน.อ.บางปะอิน  จะทำอย่างไร

            ผมตอบว่า  เมื่อลาออกมาแล้ว ก็ใช้หลักการเทียบโอน  โดย
            1)  ดูว่าวิชาเลือกนั้น เนื้อหาสอดคล้องกับวิชาเลือกใดของ กศน.อ.บางปะอิน ถึง 60 % หรือไม่  ถ้ามีก็เทียบโอนเป็นวิชาเลือกของ กศน.อ.บางปะอิน
            2)  ถ้าไม่สอดคล้องกับวิชาเลือกของ กศน.อ.บางปะอิน  แต่ กศน.อ.บางปะอิน ประสงค์จะรับโอนวิชานั้นให้เป็นผลการเรียนของเขาด้วย เพื่อเขาจะได้ไม่ต้องเรียนวิชาใหม่ให้เสียเวลา กศน.อ.บางปะอินก็สามารถนำวิชาเลือกนั้นเข้าหลักสูตรสถานศึกษา ให้เป็นวิชาเลือกของ กศน.อ.บางปะอินด้วยได้
            3)  ถ้าเนื้อหาไม่สอดคล้อง และ กศน.อ.บางปะอินไม่ประสงค์จะนำวิชาเลือกนั้นเป็นวิชาเลือกของ กศน.อ.บางปะอิน  ก็ไม่ต้องรับโอนย้ายวิชานั้น  ให้เขาเรียนวิชาเลือกอื่นกับ กศน.อ.บางปะอินเพิ่มเติมแทนหน่วยกิตวิชาเลือกนั้น

        14. วันเดียวกัน ( 20 พ.ย.55 ) คุณ “ครู ก้อย กศน.ขอนแก่น โยหา” ถามในหน้าเฟซบุ๊คผม ว่า  เป็นครู กศน.ตำบล มีสิทธิไปรับปริญญาโดยเป็นการไปราชการซึ่งทางมหาวิทยาลัยมีเอกสารพร้อมรายชื่อเราให้ไปซ้อมรับไหม มีสิทธิ์ลาแบบไหนที่ไม่ต้องลากิจ

            ผมตอบว่า  ถึงแม้มหาวิทยาลัยมีเอกสารพร้อมรายชื่อเราให้ไปซ้อมและรับปริญญา แต่ก็ไม่ใช่ราชการ กศน.  ถ้า ผอ.ให้ลาก็ลาเถอะครับ ไม่ลากิจก็ลาพักผ่อน (ในปีแรกที่ได้รับการจ้างเป็นพนักงานราชการยังไม่ครบ 6 เดือนไม่มีสิทธิลาพักผ่อน )

  15. วันที่ 21 พ.ย.55 ผมเรียนถามเรื่องต่าง ๆ จากท่าน ผอ.กจ. ได้รับคำตอบที่น่าสนใจดังนี้

  15.1  การสอบ รอง ผอ.กศน.จ. ประกาศแล้ว รับสมัคร 11-20 ธ.ค.55  คิวต่อไปคือสอบ ผอ.กศน.อ./ข. ซึ่งจะประกาศเร็ว ๆ นี้ สอบใกล้ ๆ กับรอง ผอ.กศน.จ.  ส่วนการสอบครูผู้ช่วย บุคลากรทางการศึกษาอื่น ศึกษานิเทศก์ จะสอบประมาณ ก.พ.- มี.ค.56

  15.2  การแก้ไขระเบียบเครื่องแบบพนักงานราชการเสนอไปใหม่แล้ว ( ขอเปลี่ยนเข็มขัดสีดำเป็นสีกากี ขอติดตราเสมาทับอินทรธนูเพื่อให้เป็นเอกลักษณ์เฉพาะพนักงานราชการ  ยังไม่รู้ว่าท่านปลัดกระทรวงฯจะเซ็นหรือไม่

  15.3  จะออกระเบียบเครื่องแบบนักศึกษา กศน. และจดลิขสิทธิ์เครื่องหมายประกอบเครื่องแบบนักศึกษา กศน.

  15.4  ปีนี้จะจัดพัฒนาครูอาสาฯ ครู กศน.ตำบล ให้ครบ  ถ้ารุ่นท้ายนี้บางคนป่วยหนัก ไม่ได้เข้ารับการพัฒนาจะเป็นอะไรไหม  ท่าน ผอ.กจ.บอกว่าถ้าจำเป็นจริง ก็ไม่ได้วุฒิบัตร ไม่ได้เข็ม เท่านั้น


  15.5  เมื่อสัปดาห์ก่อนผมไปประชุม มีผู้เข้าประชุม 20 กว่าคน แบ่งเป็น 3 กลุ่มย่อย กลุ่มผมมีทั้งหมด 7 คน ผมอยู่กลุ่มเดียวกับ
  1)  อ.พัฒน์ฌามนท์ ( เดิมชื่อปัทมา ) หัวหน้าฝ่านตรวจจ่าย กผ.กศน. ที่ทำเรื่องจัดสรรงบครูสอนคนพิการ  ผมถาม อ.พัฒน์ฌามนท์ว่าเมื่อไรจะจัดสรรเสร็จ  อ.พัฒน์ณามนท์บอกว่า อย่าเร่ง แต่เสร็จแล้วละ ถ้าท่านเลขาฯลงนามเมื่อไรก็จะนำขึ้นเว็บ   (
ค่าตอบแทนก็อย่างที่รู้กันแล้ว คือ 11,680 บาท 12 เดือน ค่าพาหนะเท่าเดิม )

  2)  ในกลุ่มนี้ยังมี อ.วรวิทย์ หัวหน้ากลุ่มวินัยและนิติกร กจ.กศน.  อ.วรวิทย์บอกว่า ที่มีการจ้างพนักงานราชการอายุเกิน 60 ปีนั้น  คงจะทำหนังสือแจ้งมาให้จ้างถึงสิ้นปีงบประมาณ 2556 นี้เท่านั้น ไม่ใช่จ้างต่อไปถึงสิ้นสัญญา

หมายเลขบันทึก: 509517เขียนเมื่อ 21 พฤศจิกายน 2012 15:12 น. ()แก้ไขเมื่อ 16 ธันวาคม 2012 06:03 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท