ครูท้าทายเพราะเชื่อว่า "เธอทำได้"


การสอนให้เกิดประสิทธิภาพในการเรียนรู้จะต้องจัดบรรยากาศในห้องเรียนให้มีการรยั่วยุ การให้กำลังใจ และการให้การช่วยเหลือต่อนักเรียน


"เด็กๆ กลุ่มนี้ชอบถาม"

          ขณะกำลังทำกิจกรรมในคาบเคมีนักเรียนชายคนหนึ่งถามครูนกว่า  "ครูครับ เมื่อไรจะพูดหน้าเสาธงละครับ"  เด็กๆทราบจากรองผู้อำนวยการกลุ่มบริหารกิจการนักเรียนที่แจ้งนักเรียนในช่วงกิจกรรมหน้าเสาธงเกี่ยวกับครูที่จะทำหน้าที่อบรมในช่วงกิจกรรมหน้าเสาธงในภาคเรียนนี้จะมีครูนก  และครูอีก ๒ ท่านมาทำหน้าที่แทนพี่ๆครูที่ได้เกษียณอายุราชการและรับผิดชอบหน้าที่นี้  ครูนกเลยตั้งคำถามย้อนกลับว่า "หากครูขึ้นไปพูด แล้วลูกๆ จะทำอะไร" เจ้าบอมบี้คนที่สอบถามตอบชัดเจนเสียงดัง "ผมจะไปมอบดอกไม้"  ครูนกก็เลยเล่าบริบทต่างๆของการพูดของครูในช่วงกิจกรรมหน้าเสาธง  พร้อมๆกับสอบถามนักเรียนว่า  อยากให้ครูพูดเรื่องอะไร แนวไหน  ประเด็นใดบอกครูได้เลย ยินดีจะจัดให้


"กลุ่มสาวๆ อารมณ์ดี(เป็นพิเศษ)"

            
         สิ้นคำบอกเล่าและคำถามของครูนกเจ้ายิ้มสวยเลยแจ้งความประสงค์ว่า "อยากให้ครูร้องเพลงหน้าเสาธง"  ครูนกรีบบอกว่า "ยินดี แต่เจ้ายิ้มสวยต้องเรียนเคมีภาคเรียนนี้ให้ได้เกรด ๔.๐๐"  นักเรียนก็รีบต่อรองทันทีว่า "ขอ ๓.๕ ได้หรือเปล่า" ครูนกบอกว่า "เรื่องนี้อย่าต่อเลยนะขอ ๔.๐๐ เพื่อผลดีจะบังเกิดกับเจ้ายิ้มสวย"  เจ้ายิ้มสวยปรึกษากับเพื่อนร่วมกลุ่มเป็นการใหญ่  ครูนกบอกว่า "ให้เวลาใคร่ครวญนะค่ะ แต่อย่านานนะเพราะครูต้องซ้อมเพลงก่อนจะร้องจริงๆ"  เจ้ายิ้มสวยฟังแล้วไม่ยอมตอบยิ้มไปเนิ่นนาน

             จากเรื่องที่เล่ามาครูนกมักจะใช้วิธีการเสริมแรงให้นักเรียนตั้งเป้าหมาย  หรือเพิ่มความมุ่งมั่นในการเรียนด้วยวิธีการยั่วยุ  กระตุ้น  และเสริมแรง  อย่างเจ้ายิ้มสวยธรรมชาติของเขาจะชอบการเรียนรู้อย่างสบายๆ  ไม่เร่งรีบ  หากตั้งเป้าหมายให้ชัดเจนการเรียนรู้น่าจะมีประสิทธิภาพมากกว่าที่เป็นอยู่  ใครที่มีลักษณะกำหนดเป้าหมายในการเรียนรู้ไม่ชัด  หน้าที่ของครูคือกระตุ้นและเสริมแรง   ส่วนใครที่มีกิจกรรมมากมายในขณะเรียนเคมี  (ชาร์จแบตเตอรี่มือถือ  ทำการบ้านวิชาอื่น  เล่นเกมมือถือ  ลอกการบ้านเพื่อน)  ครูนกต้องกระตุ้นด้วยคำถามปลายเปิดและการเรียกชื่อบ่อยครั้ง  จึงจะดึงดูดความสนใจของนักเรียนให้มีสมาธิและจดต่อกับกิจกรรมที่กำลังทำได้ถือว่า  การกระตุ้น  การยั่วยุและการเสริมแรงเป็นวิตามินบำรุงกำลังการเรียนรู้ของนักเรียนได้เป็นอย่างดี

 

หมายเลขบันทึก: 509313เขียนเมื่อ 19 พฤศจิกายน 2012 23:27 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 ตุลาคม 2013 20:01 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท