ประชุมผู้บริหาร กศน.ทั่วประเทศ


วันพฤหัสบดีที่ ๓ พฤศจิกายน ๒๕๕๕  

           เลขาธิการ กศน. นายประเสริฐ  บุญเรือง   มอบนโยบาย กศน.ประจำปีงบประมาณ ๒๕๕๖  ณ โรงแรมทองธารินทร์ จังหวัดสุรินทร์

สรุปสาระสำคัญ  ดังนี้

๑. โครงการเพชรน้ำหนึ่งในปีงบประมาณนี้ยังมีเหมือนเดิมโดยจะให้ไปอังกฤษจังหวัดละ/กองละ ๑ คน รวม ๙๐ คน

๒. ฝาก ผอ.กศน.จังหวัด/อำเภอ ทุกแห่ง สอนภาษาอังกฤษให้กับกลุ่มอาชีพ แท็กซี่ มอเตอร์ไซต์รับจ้าง แม่ค้าแผงลอย และทุก ๆ อาชีพ ให้สามารถสื่อสารภาษาอังกฤษและภาษาจีนให้ง่าย

๓. ส่งเสริมรูปแบบการพัฒนาทุกรูปแบบ  ให้ผู้บริหาร ข้าราชการ ครู ศรช. ส่งรายชื่อทุกระดับและทุกคนให้ กจ. เพื่อให้มีการพัฒนา  ฝากให้ กจ.จัดอบรม ผอ.กศน.อำเภออีกสักรอบพัฒนาระบบบริหารเพื่อความชัดเจนและปฏิบัติตามระเบียบฯ ได้ถูกต้อง  ปลัดกระทรวงศึกษาธิการได้ฝากให้จัดอบรมให้ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับกฎ ระเบียบ หลักการ หลักเกณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานให้ถูกต้องด้วย

๔. นโยบายสร้างห้องสมุดประชาชนเฉลิมราชกุมารี  ฝากไปประสานกับจังหวัดซึ่งได้รับงบประมาณ ๑๐๐ ล้าน ซึ่งเป็นงบกลาง  ของบผ่าน ผวจ. หรือคุยกับท้องถิ่นก็ได้ สำนักงาน กศน.จะสมทบให้ ๒ ล้าน

๕. โอกาสเข้าเรียน ป.บัณฑิตในปีนี้ หากคุณสมบัติไม่เป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนดขอให้ กศน.อำเภอได้แต่งตั้งเป็นครูประจำกลุ่มรับเงินจาก กศน. เพื่อให้บุคลากร กศน.ได้เข้าเรียน ป.บัณฑิตและให้ ผอ.กศน.จังหวัด ช่วยประสานให้บุคลากรได้เข้าเรียน ป.บัณฑิต ด้วย

๖. เตรียมสอบเป็นข้าราชการ  เป็นบุคลากรที่รับเงินจาก กศน.มาครบ ๓ ปี จะมีสิทธิสอบเป็นข้าราชการ กศน.

๗. การต่อสัญญาพนักงานราชการให้ดูอายุด้วยต้องไม่เกิน ๖๐ ปี

๘. การสั่งจองไดอารี่ ขอให้ กศน.จังหวัด/อำเภอ สั่งให้บุคลากรทุกคน และปีนี้ กทม.รับผิดชอบสั่งทำ โดยขอให้ส่งถึง กศน.จังหวัด/อำเภอ ภายในวันที่ ๑ ธันวาคม ๒๕๕๕  กำชับให้ทุกสถานศึกษาต้องซื้อให้บุคลากรทุกคน

๙. โครงการจริยธรรมคุณธรรม-ปฏิบัติธรรม จะจัดให้ครบทุกภาค ขณะนี้ จัดไปแล้วคือภาคเหนือและภาคใต้  สำหรับวันที่ ๒๘ กุมภาพันธ์ถึงวันที่ ๒ มีนาคม จะเป็นภาคกลางและอีสานให้ไปปฏิบัติที่ภาคเหนือ และให้จัด กพช.ของนักศึกษา ๑,๒๐๐,๐๐๐ คน ให้ปฏิบัติธรรมเพื่อส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรม ๕๐ ชั่วโมง เป็นเวลา ๓ วัน ๒ คืน โดยจะได้ใบประกาศจากวัดด้วย ซึ่งสามารถใช้เงินค่าพัฒนาผู้เรียน ๒๙๐ คน/คน/ภาคเรียน 

๑๐. ขอให้หน่วยงาน/สถานศึกษาทุกแห่ง กันเงินไว้จัดกิจกรรม ๔ ด้าน ดังนี้

       (๑)  ด้านปฏิบัติธรรมจริยธรรมคุณธรรม

       (๒)  ด้านเข้าค่ายลูกเสือ

       (๓)  ด้านการจัดโครงการ/กิจกรรมเฉลิมพระเกียรติฯ

       (๔)  นโยบายเฉพาะกิจของ กศน.

๑๑. ให้สถานศึกษาทุกแห่งจัดทำบัตรนักศึกษาให้เป็นบัตรรวม – ATM กรุงไทย (ค่าใช้จ่าย ๕๐ บาทให้ใช้เงินพัฒนาผู้เรียนหรือเงินรายหัวจ่ายให้นักศึกษาทุกคน)

๑๒. งบประมาณซื้อหนังสือเรียนขอให้ดำเนินการให้เสร็จภายในวันที่ ๒๖ พฤศจิกายน ๒๕๕๕  ขณะนี้เงินได้โอนให้ทางระบบ GFMIS แล้ว กำชับอย่าให้ผิดระเบียบการจัดซื้อจัดจ้าง

๑๓. ขณะนี้งบก่อสร้าง กศน.ตำบล ได้รับปีนี้ ๕๐ แห่ง แห่งละ ๑,๒๐๐,๐๐๐ บาท  ให้ดำเนินการได้เลย สำหรับที่ดินตามกติกาหากยังไม่ได้รับเอกสารสิทธิ์ ก็ขอให้มีลายเซ็นยินยอมให้สร้างจากชาวบ้านและผู้เกี่ยวข้องรอบ ๆ สถานที่ที่จะก่อสร้างตั้งแต่ ๕๐ คนขึ้นไป

๑๔. คัดเลือกผู้ปฏิบัติงานดีเด่นไปต่างประเทศจังหวัดละ ๑ คน เป็นรุ่น ๆ ไป ให้คัดเลือกให้เข้ม และกติกาไม่ซ้ำคนเดิม (เปลี่ยนคนไป)

๑๕. ฝาก ผอ.กศน.จังหวัด ไปคิดเรื่องนโยบายกศน.เป็นหลัก 

๑๖. เบิกเงินให้ครู  ม.๖ จบภายใน ๘ เดือน จากนักศึกษารายละ ๑,๕๐๐ คูณจำนวนคนที่เรียน โดยให้ดำเนินการในภาคเรียนนี้ ให้ช่วยประชาสัมพันธ์และขึ้นป้ายให้ด้วย  ให้เอาแบบเรียนขึ้นเว็ป สำหรับงบประมาณค่าหัวจะเร่งให้

๑๗. ให้ดำเนินการจัดสอบภายในจังหวัดเดียวกันพร้อมกัน โดยสัดส่วน ทฤษฎี ๗๐ (ต้องได้ ๕๐ % ขึ้นไป) : ปฏิบัติ ๓๐  รวมแล้ว ๖๐ % ทั้ง ๙ รายวิชา ต้องเป็นวิชาที่กำหนดไว้ใน พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ    ต้องเป็นวิชาชีวิตที่ทุกคนต้องเรียนและใช้ Internet เป็น ถ้าเป็นภาษาอังกฤษ ต้องสามารถพูดสื่อสารได้

๑๘. ขณะนี้ประกาศจัดตั้งสถานศึกษาเทียบระดับ ๔๗๐ แห่งทั่วประเทศ ขอให้พาผู้สมัครเทียบระดับ ( ม.๖ ภายใน ๘ เดือน)  จังหวัดละ ๒๐ คน และ ผอ.กศน.จังหวัดทุกคนไปพร้อมกันที่เมืองทองธานี แต่งชุด กศน.

๑๙. เร่งดำเนินการจัดฝึกอบรมอาชีพหลักสูตร OTOP Mini MBA สู่ชุมชน  เรื่องศูนย์ฝึกอาชีพชุมชน ขณะนี้โอนเงินให้แล้วทั้งปีให้เป็นตามนี้

       -  ให้อำเภอไปจัดให้ตำบลละ ๒๐,๐๐๐ บาท โดยสอนอาชีพแล้วมีงานทำอย่างมีคุณภาพ

       -  จัดสรรให้ กศน.อำเภอ/สส. ๑ คน  แห่งละ ๕๐๐,๐๐๐ บาท

       -  จัดสรรให้ กศน.จังหวัดที่มี ๘ อำเภอลงมาให้ได้ ๑ ล้านบาท  ถ้ามี ๘ อำเภอถึง ๑๘ อำเภอ ได้ ๑.๕ ล้านบาท และจังหวัดที่มี ๑๙ อำเภอขึ้นไป ได้ ๒ ล้านบาท สำหรับ กทม.ได้ ๓ ล้านบาท

       -  ให้เน้นคุณภาพเป็นหลัก ไม่ต้องดูงาน  สอนแล้วมีงานทำ ๕๐ %  เน้นให้มีงานทำที่ชัดเจน

       -  ให้ดำเนินการให้ ชัดเจน ถูกต้องตามนโยบาย

       -  ค่าวิทยากรให้จ่ายได้ไม่เกินชั่วโมงละ ๖๐๐ บาท สำหรับบุคคลภายนอกให้จ่ายได้ไม่เกินชั่วโมงละ ๑,๒๐๐ บาท การศึกษาดูงานในส่วนของ สส. ให้ ๒๕ % ของงบประมาณที่ให้ไปแต่ต้องไม่เกิน ๑๕๐,๐๐๐ บาท/อำเภอ  สำหรับค่าวัสดุรายหัวแต่ละวิชาไม่เกิน ๒,๐๐๐ บาท

        -  ระเบียบการดูงาน ๑๒๐ บาท/หัว  ที่พัก ๑๐๕ บาท/คน/คืน ค่าเช่ารถให้เหมาจ่ายตามจริง (จะเป็นรถแอร์หรือพัดลมก็ตาม)

       -  สำหรับงบประมาณอุดหนุนเมื่อสอนเสร็จแล้วสนับสนุนในการประกอบอาชีพ ขณะนี้ยังไม่อนุมัติ 

       -  เรื่องศูนย์ฝึกอาชีพนี้ขอให้ ผอ.กศน.จังหวัด/อำเภอ ไปคุยกับ สส. หากใครไม่สามารถคุยกับ สส. หมายถึงต่อต้าน พ.ร.บ.การศึกษาตลอดชีวิต

๒๐. เปิดโลก กศน. สู่ กศน.อินเตอร์ เพื่อประชาคมอาเซียน

       -  Einglish Program  ต้องให้ได้นักศึกษาอย่างน้อย ๑๕ คนขึ้นไป เก็บเงินคนละ ๖,๐๐๐ บาท  สำหรับในปีงบประมาณ ๒๕๕๖ นี้ ปีนี้จะได้ ๒,๓๐๐ บาท  จึงได้เพิ่มเป็นสองเท่าหากภาคเรียนหน้านักศึกษาลดจะปรับลดลงเพราะภาคเรียนนี้ให้ใช้ฐานของนักศึกษาภาคเรียนที่แล้ว เงินที่ได้เกินทุกอำเภอให้สถานศึกษาทาสีสำนักงานเป็นมิติใหม่ให้น่าดู-น่าอยู่-และน่าทำงาน พร้อมรับการประเมินภายนอก

     -  เมื่อค่ารายหัวเพิ่ม ให้เพิ่มครู ศรช.ได้ตามจำนวนนักศึกษาได้ ครู ๑ คน/นักศึกษา ๗๐ คน โดยให้จ่ายค่าตอบแทนครู ศรช.และครูสอนคนพิการ เดือนละ ๑๑,๖๘๐ บาทไปก่อน สำหรับ ๑๑,๙๗๐ บาท (ที่ ก.พ.อนุมัติ ตามวุฒิขั้นต่ำของข้าราชการพลเรือน) ให้รอหนังสือเวียนโดยกองคลังจะแจ้งเวียนมาอีกครั้ง  โดยให้จ่ายค่าตอบแทนทุกเดือน

     -  ครูประจำกลุ่มที่ออกคำสั่ง ให้มีนักศึกษาจากเดิม ๓๕ คน ให้เพิ่มเป็น ๕๐ คน จ่ายเดือนละ ๔,๐๐๐ บาท

     -  ครูสอนคนพิการ จ่ายเท่าครู ศรช. ทุกเดือนเป็นเวลา ๑๒ เดือนเหมือนกัน

     -  บรรณารักษ์อัตราจ้าง ซึ่งเพิ่มจากเดิมเป็น ๙,๑๔๐ บาท หากจะขอให้ได้มากกว่านี้หรือได้เท่าครู ศรช. ต้องรอก่อนเพราะอยู่ระหว่างไปคุยกับ รมต.

     -  ค่าใช้สอย เป็นค่ารถคนละ ๑,๐๐๐ บาทของครูสอนคนพิการ ให้เหมือนเดิม

     -  ค่าวัสดุ ๓,๐๐๐ บาท/ปี  ก็เหมือนเดิม

     -  ค่าประกันสังคม ๕ % ของค่าตอบแทนก็จัดให้เหมือน

๒๑.  เสริมสร้างบ้านหนังสืออัจฉริยะและพัฒนานิสัยรักการอ่านของประชาชน

        -  งบค่า คูปอง ๔๕๐ ล้าน โอนมาแล้ว ขอให้เป็นโครงการ “บ้านหนังสืออัจฉริยะ” ให้มีการจัดซื้อหนังสือให้ห้องสมุดฯ รวมทั้งอบรมให้ความรู้มาใช้บริการห้องสมุดฯ เพื่อทราบระเบียบ วินัย การเข้าใช้ห้องสมุดฯ การช่วยเหลือและรักษาห้องสมุดด้วย  กศน.ได้รับงบประมาณ ๕๐ % ของหมู่บ้าน (ทุกจังหวัด) รวม ๔ หมี่นหมู่บ้าน  จัดสรรให้ดังนี้

            -  นสพ. ๒ ฉบับ/รายสัปดาห์ ๔ ฉบับ / รายปักษ์ ๒ ฉบับ และอื่น ๆ ที่เป็นประโยชน์ เช่น  คู่สร้างคู่สม  ขวัญเรือน  เป็นต้น  โดยส่วนกลางได้ให้หนังสือพิมพ์ทั้ง ๖ มาคุยกัน ประกอบด้วย  ไทยรัฐ  มาติชน  เดลินิวส์  สยามรัฐ  ข่าวสด และคม-ชัด-ลึก  ได้ตกลงกันเองเพื่อซื้อโต๊ะ เก้าอี้ ชั้นวางหนังสือ และทำป้ายหนังสือสำหรับปีแรก (โดยบรรทัดแรก- บ้านหนังสืออัจฉริยะ  บรรทัดที่สอง-ชื่อสถานที่ และบรรทัดที่สาม- สำนักงาน กศน.จังหวัด.....) 

           -  ให้ประชาชนเลือกสถานที่ตั้งเป็นมติของชุมชน ที่มีคนมาใช้ประโยชน์และมีอาสาที่มีจิตอาสาขช่วยกันดูแลเพื่อประโยชน์ของชุมชน 

          -  บ้านหนังสือ ใน พ.ร.บ. เป็นห้องสมุดประชาชนประจำหมู่บ้าน สำหรับ ๕ จังหวัดชายแดนจะได้รับงบประมาณ ๑๐๐ % (นายกขอ)

๒๒.  เร่งรัดการส่งเสริมการเรียนรู้ของประชาชนเพื่อการจัดทำแผนป้องกันภัยพิบัติ

       -  ให้ทำประชาสัมพันธ์  จัดทำป้าย /สื่อ เพื่อเผยแพร่ ภัยน้ำท่วมจากภัยพิบัติ

       -  อะไรที่เป็นวิถีชีวิตของชาวบ้าน ให้จัดการศึกษาให้พวกเขาอยู่ในสถานที่ของพวกเขาอย่างปลอดภัยและพร้อมรับกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนไป

       -  ฝากให้ ผอ.กศน.จังหวัด ไปประชุม/เข้าพบและร่วมกิจกรรมในพื้นที่จังหวัดให้ ผวจ. ได้รู้จักด้วย

๒๓.  เร่งพัฒนาระบบกลไกการกำกับ ติตดตาม และนิเทศเพื่อการพัฒนางานการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอย่างมีประสิทธิภาพ

        -  ให้พิจารณาจัด ผอ.กศน.อำเภอมาพัฒนาใหม่

        -  จัดให้บุคลากรทุกประเภทมาพัฒนาใหม่ 

        -  ในเดือนมกราคม-กุมภาพันธ์ จะเปิดสอบ รอง ผอ.สนง.กศน.จังหวัด ๑๗ คน

๒๔.  วันที่ ๒๑ พฤศจิกายน ๒๕๕๕  ให้นำนักศึกษาเทียบ ม.๖ จบภายใน ๘ เดือน ไปพร้อมกันที่ฮอล ๓ อิมแพ็คเมืองทองธานี โดยขอให้ ผอ.กศน.จังหวัดทั้ง ๗๗ แห่ง/ผอ.สถานศึกษาขึ้นตรง ทุกแห่ง/ผอ.กศน.อำเภอและเขต ๙๒๗ แห่ง ครูของสถานศึกษาที่เทียบระดุบ ๔๗๐ แห่ง และผู้สมัครเทียบระดับอีกจังหวัดละ ๒๐ คน (ที่สมัครไว้แล้ว) งบประมาณจัดนิทรรศการ ๑๐ จังหวัด จังหวัดละ ๕๐,๐๐๐ บาท  หากทำดีจะให้ ๒ ขั้น 

         -  ประกันคุณภาพภายนอก รอบ ๓ ในปีนี้มี ๑๔๙ แห่ง เป็นเชิงพื้นที่ ๑๐ จังหวัด และครบรอบ ๕ ปี (คือประเมิน สมศ.เมื่อปี ๒๕๕๑) จะประเมินให้ทันก่อนสิ้นเดือนกุมภาพันธ์ ๒๕๕๖ สำนักงาน กศน.จะจัดประชุมชี้แจงในปลายเดือนพฤศจิกายนนี้ ฝากให้ ผอ.กศน.จังหวัดลงไปดูทุกสถานศึกษาที่มีรายชื่อประเมินครั้งนี้ด้วย

        -  ฝากท่านวัทนี สรุปการดำเนินการขอ พ.ร.บ.การศึกษาตลอดชีวิตตั้งแต่ต้นจนถึงปัจจุบัน  และบัดนี้ได้ให้ รมต.คนไหนช่วยขับเคลื่อน พ.ร.บ.การศึกษาตลอดชีวิต

        -  ศว.และศฝ. ขอปรับรูปแบบใหม่ ให้แต่ละภาคตระเวนจัด (ฝากไปคิดเอง) และขณะนี้ได้จัดโครงการให้ไปเข้าวัดปฏิบัติธรรม ๓๐๐ กว่าคน แล้ว  กำหนดภาคละ ๓ จังหวัด จงหวัดละ ๓ วัน (รวม ๙ วัน)ให้ ๔๐๐,๐๐๐ บาท ทุกสถานศึกษานำเสนอสิ่งดี ๆ (เป็นการตระเวน ๙ วัน)

           -  ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ  มีหนองคาย/บึงกาฬ(ไปทำต่อเอง)/บุรีรัมย์/สกลนคร

           -  ภาคเหนือ มีเชียงรายและน่าน

           -  ภาคกลาง มีนครปฐม/ลพบุรี/ราชบุรี

           -  ภาคใต้ มีตรัง/สงขลา/นครศรีธรรมราช

           -  ภาคตะวันออก มีระยอง ชลบุรี ปราจีนบุรี

คำสำคัญ (Tags): #มอบนโยบาย ๒๕๕๖
หมายเลขบันทึก: 508164เขียนเมื่อ 9 พฤศจิกายน 2012 14:13 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 ธันวาคม 2012 13:54 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท