ความมั่นคงทางอาหาร


ความมั่นคงอาหาร

 


ขับเคลื่อนเพื่อ มั่นคง เรื่องอาหาร ยุทธศาสตร์  ถึงไหน

เพื่อเป็นเวทีนำเสนอแลกเปลี่ยนข้อมูลมิติความมั่นคงระดับชาติ และการปรับตัวของชุมชนท้องถิ่น และผู้เกี่ยวข้องทุกภาคส่วนตลอดจนสื่อสารความเข้าใจในทุกมิติ และทุกระดับเพื่อให้เกิดแนวคิดและทิศทางในการจัดทำแผนงานเชิงปฏิบัติการในการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ด้านความมั่นคงอาหารในทุกระดับ

"   นี่เป็นส่วนสำคัญส่วนหนึ่งของวัตถุประสงค์ในการจัดประชุมแสดงความคิดเห็น

          การขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ความมั่นคงอาหารจากชุมชนสู่ระดับชาติ “

โดยฝ่ายเกษตร สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) เมื่อต้นเดือนที่แล้ว มาถึงตอนนี้ เรื่องนี้ดูจะยิ่งน่าติดตามมากขึ้น เพราะ การประชุมในตอนนั้นมีประธานคณะกรรมการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ด้านความมั่นคงอาหารตลอดห่วงโซ่เป็นประธานเปิดการประชุม 


โดยประธานผู้นี้คือ ยุคล ลิ้มแหลมทอง ที่ตอนนี้เป็น รมว.เกษตรฯ ดูแลกระทรวงที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับการผลิตอาหารตั้งแต่ต้นทางซึ่งย่อมจะเกี่ยวกับเรื่อง “ความมั่นคงทางอาหาร” ทั้งนี้ ย้อนไปในช่วงการประชุมในครั้งนั้นจากชุดข้อมูลที่หน่วยงานที่จัด ได้เผยแพร่ต่อสื่อก็มีผู้สันทัดกรณีหลายคนแสดงความเห็นไว้อย่างน่าพิจารณา 


อย่าง ศ.นพ.ไกรสิทธิ์ ตันติศิรินทร์ ในฐานะประธานกรรมการนโยบายกองทุนสนับสนุนการวิจัย แสดงปาฐกถาพิเศษเรื่อง “การขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ความมั่นคงอาหารประเทศไทย” ไว้สรุปสาระสำคัญได้ว่า...

สิ่งที่เป็นเรื่องใหญ่ คือ การประสานงานด้านข้อมูลที่ทุกกระทรวงที่เกี่ยวข้องต้องบูรณาการร่วมกัน รวมทั้งการปรับปรุงแก้ไขกฎหมายที่ดินและน้ำ ตลอดจนโครงสร้างองค์กร ซึ่งทาง สกว.จะร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการจัดเวทีวิจัยและสนับสนุนงบประมาณเพื่อการทำวิจัย 

โดย มีสิ่งที่ยากที่สุด คือ การทำให้เกษตรกรยอมรับองค์ความรู้ใหม่ในการผลิตสินค้าเกษตรและอาหาร ตลอดจนการทบทวนเรื่องการนำเข้าสารเคมี เพื่อความปลอดภัยของผู้บริโภค 


ด้าน ลดาวัลย์ คำภา ในฐานะรองเลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติระบุไว้ในการเสวนาเรื่อง “พลวัตรด้านความมั่นคงอาหารของประเทศไทย” สรุปได้ว่า

ในไทยในปัจจุบันเกษตรกรมีอายุมากขึ้น ฐานทรัพยากรก็ประสบภัยพิบัติบ่อยขึ้น และรุนแรงมากขึ้นจึงต้องมีการจัดการอย่างเป็นระบบ และสร้างภูมิคุ้มกันโดยตรง

โดยสิ่งที่ต้องทำ คือ สร้างความรู้ และดูแลทรัพยากร หาแหล่งพลังงานทดแทนผลิตอาหารสอดคล้องกับความต้องการของตลาด ผู้บริโภคเข้าถึงได้เกษตรกรต้องพึ่งตัวเองได้จากอาหารในท้องถิ่นตัวเอง ลดใช้สารเคมีสร้างเกษตรกรรุ่นใหม่ สร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้าอาหารและเกษตรรวมทั้งเน้นเรื่องการบริหารจัดการของภาครัฐที่ต้องบูรณาการมากขึ้นทั้งความเหมาะสมของดิน น้ำ การแปรรูป การคมนาคมขนส่งซึ่งสภาพัฒน์ก็ผลักดันการ บูรณาการทั้งระดับประเทศและจังหวัด


สำหรับ อภิชาต จงสกุล ในฐานะเลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรก็ระบุไว้ในงานเดียวกันนี้ว่า ภาคเกษตรยังคงเป็นภาคที่สำคัญสำหรับเศรษฐกิจของประเทศไทย แต่ในปัจจุบันมีข้อจำกัด ทั้งเรื่องการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศการลดลงของความหลากหลายทางชีวภาพ การเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดินภาคการเกษตร และพื้นที่ชลประทานการบุกรุกพื้นที่ทำกิน และการเข้าครอบครองที่ดินของชาวต่างชาติแรงงานภาคเกษตรลดลงจากการที่คนรุ่นใหม่ไม่สนใจทำเกษตรรวมถึงการสูญเสียความสามารถในการแข่งขันของประเทศ โดยเฉพาะข้าวปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ เป็นตัวชี้วัดด้านความมั่นคงอาหารที่ไทยจำเป็นจะต้องคำนึงถึง 


ขณะที่ สมพร อิศวิลานนท์ นักวิชาการอาวุโส สถาบันคลังสมองของชาติ

 แสดงความเห็นประเด็น “ภาวะคุกคามของความมั่นคงอาหาร” เอาไว้ซึ่งโดยสังเขปประกอบด้วย

1. ประสิทธิภาพการผลิตทางการเกษตรของไทย กำลังก้าวสู่ภาวะลดต่ำลงการลงทุนวิจัยภาคเกษตรมีน้อยเกินไป  การลงทุนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานการเกษตรทำได้จำกัด และมักขาดความต่อเนื่องส่งผลให้ภาคเกษตรไม่เข้มแข็ง

2. ขาดการส่งเสริมและพัฒนากลไกตลาดให้มีประสิทธิภาพ ซึ่งส่งผลต่อการผลิตและการกระจายอาหาร ส่งผลต่อผู้ผลิต และผู้บริโภค

3. นโยบายยกระดับรายได้เกษตรกร โดย รับจำนำในระดับราคาสูงก็อาจเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อความมั่นคงอาหารของชุมชนชนบทในอนาคต  หากทำให้เกษตรกรละเลยการลดต้นทุนการผลิต

ซึ่ง จุดเฝ้ามองที่สำคัญ คือการใช้นโยบายเกษตรไทยเพื่อความมั่นคงอาหารในด้านการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตหากละเลย หรือให้ความสำคัญต่ำในมิติด้านความเข้มแข็งเพื่อเสริมสร้างประสิทธิภาพ ทั้งด้านการผลิต และการตลาด ภาคเกษตรจะอ่อนแอ และมีความเสี่ยงที่จะเกิดความไม่มั่นคงทางอาหาร

ทั้งนี้ สำหรับประธานเปิดประชุมแสดงความคิดเห็น ที่ตอนนี้เป็นรมว.เกษตรฯไปแล้วในตอนนั้นได้ระบุไว้บางช่วงบางตอนว่า

" การประชุมครั้งนี้ คาดว่าจะมีตัวชี้วัดที่สำคัญในการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ด้านความมั่นคงอาหาร "


ขอบคุณ บทความ ความมั่นคง เรื่องอาหาร ยุทธศาสตร์ถึงไหน จากหนังสือพิมพ์เดลินิวส์



ได้แต่หวังว่า ผู้ผลิตอาหาร ออกมาให้ปลอดภัยต่อผู้บริโภค ทุกๆผู้ผลิค  ไม่ใช่ว่า เป็นผู้ผลิตออกขาย ไม่บริโภคสิ่งตัวเองผลิต เพราะทราบดีว่าไม่ปลอดภัย มีสิ่งไม่ดีอยู่ เช่น การใช้สารเคมี ปุ๋ยปริมาณมากตกค้าง การปลูกพืชผักสมุนนไพร ให้ใบ ผล สวยงาม รสชาติดี   ฯ เพื่อขายได้ แต่ภายในมีสาร อันตรายต่อร่างกายปนเปื้อน อยู่  อาหารสำเร็จรูป ที่มีน้ำมัน เนยปนอยู่มีสารพิษก่อมะเร็ง ฯลฯ  เพียงแต่ขอให้ขายได้ ผู้ซื้อเป็นอะไรไม่สนใจว่าจะเกิดโรคภัยกับตัวเขาหรือไม่ ผู้ป่วยล้นโรงพยาบาล ก็เป็นหน้าที่ของแพทย์ไป ทำอย่างไรให้ผู้ป่วยที่เกิดจาก ความเสี่ยงกินอาหารไม่ปลอดภัยลดน้อยลงแทนที่จะเพิ่มขึ้นทุกๆปีได้  ความมั่นคงทางอาหาร ทำกันอย่างจริงจัง ต่อเนื่องรักคนไทยด้วยกันจริงๆ ก็น่าจะดีไม่น้อยต่อสุขภาพที่ดีของคนไทยในอนาคต ที่จะเกิดโรค น้อยลงได้  


ด้วยความปรารถนาดี   กานดา แสนมณี


หมายเลขบันทึก: 508132เขียนเมื่อ 9 พฤศจิกายน 2012 07:44 น. ()แก้ไขเมื่อ 7 มีนาคม 2013 07:36 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

ขอบคุณที่ช่วยกันเผยแพร่สาระดีๆเพื่อชีวีเปึนสุขค่ะ..

-สวัสดีครับ...

-ขอเป็นส่วนหนึ่งในการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ด้านความมั่นคงทางอาหาร.....

-ขอแจ้่งเรื่องเวลาในวันเสาร์นี้ด้วยครับ..

-เริ่มเปิดโรงทานประมาณ 11.00 น. ณ วัดศรีสุพรรณ ครับ..

-แล้วเจอกันที่วัดนะครับ..

 

 

 

  • มาให้ความร่วมมือ ...ผลิตอาหารที่ปลอดภัย สู่ผู้บริโภค ..ค่ะ
  • ในฐานะชาวนาปลูกข้าวเลี้ยงผู้คนในประเทศนี้ค่ะ
  • เรา..เป็นผู้ผลิตอาหารที่ดี เพื่อแทนคุณแผ่นดิน ..ค่ะ

กลับมาชื่นชม พี่ดาเขียนอย่างตั้งใจมีสาระ ขอบคุณคะ

สวัสดีค่ะ

 

คุณพี่ใหญ่ ค่ะอ่านแล้วก็อยากให้ทุกคนทราบด้วย ขอบคุณมากนะคะ

 

น้องเพชรน้ำหนึ่ง ได้อิ่มอร่อยมีความสุข  อยากไปเก็บผักในภาพด้วยค่ะ

 

น้องแหม่ม ค่ะสวนบัวชมพู ที่มอบสิ่งดีๆให้กับทุกคนเสมอ เยี่ยมมากค่ะ

 

น้องหมอป.  ขอบคุณมากค่ะ  (ไม่ใช่วันจันทร์นะคะ)

 

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท