“ห้องเรียนกลับทาง” (Flipped Classroom)


“ห้องเรียนกลับทาง” (Flipped Classroom)

          จากการศึกษาในเรื่องของ “ห้องเรียนกลับทาง” (Flipped Classroom) เป็นการเปลี่ยนการเรียนการสอน  จากที่ครูยืนอยู่ข้างหน้าของนักเรียน และพูดคุยกับพวกเขาในช่วงเวลา สามสิบถึงหกสิบนาที มาเป็นการบันทึกบทเรียนในรูปแบบวีดีโอ เพื่อให้นักเรียนสามารถเข้าเรียนได้ในระบบออนไลน์ที่บ้าน หรือดูล่วงหน้ามาก่อน และจะทำใบงานหรือกิจกรรมในห้องเรียน ซึ่งการสอนแบบนี้เป็นการเปลี่ยนแปลงในบทบาทของครูกับนักเรียนที่ทำการสอนมาเป็นเวลานานหลายปี ซึ่งผลประโยชน์ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดก็คือบทบาทของครูมีการเปลี่ยนแปลงจากพรีเซนเตอร์ หน้าห้อง มาเป็นผู้แนะนำใช้เวลาพูดคุยกับเด็ก และตอบคำถามการทำงานร่วมกับกลุ่มเล็กและแนวทางการเรียนรู้ของนักเรียนแต่ละบุคคล นักเรียนจะได้เรียนรู้ ได้รับการช่วยเหลือซึ่งกันและกันแทนที่จะอาศัยครูเป็นเพียงผู้เดียวเผยแพร่ความรู้

          ในกิจกรรมการเรียนการสอนที่โรงเรียน (เทศบาล 1 โพศรี  อุดรธานี) เราจะให้นักเรียน เข้าศึกษาเว็บไซต์ที่เกี่ยวข้องการเนื้อหารายวิชาหรือการศึกษาตามอัธยาศัยแล้วนำมาสรุปบรรยายหน้าชั้นเรียน ซึ่งข้อจำกัดก็พอสรุปได้ดังนี้

          ความพร้อมของผู้เรียน ผู้เรียนจะต้องมีความพร้อมทั้งทางจิตใจ และความรู้ คือ จะต้องยอมรับในเทคโนโลยีรูปแบบนี้ ยอมรับการเรียนด้วยตนเอง มีความกระตือรือร้น ตื่นตัว ใฝ่รู้ มีความรับผิดชอบ กล้าแสดงความคิดเห็นและศึกษาความรู้ใหม่ๆ

          ความพร้อมของผู้สอน ผู้สอนจะต้องเปลี่ยนบทบาทจากผู้แนะนำ มาเป็นผู้อำนวยความสะดวก ยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง กระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดความอยากรู้อยากเห็น อยากเรียนรู้ กระตุ้นการทำกิจกรรม เตรียมเนื้อหาและแหล่งค้นคว้าที่มีคุณภาพ รวมทั้งความพร้อมด้านการใช้คอมพิวเตอร์ การผลิตบทเรียนออนไลน์ และการเผยแพร่บทเรียนผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต

          เนื้อหา บทเรียน เนื้อหาบทเรียนจะต้องเหมาะสมกับผู้เรียนให้มากกลุ่มที่สุด มีหลากหลายให้ผู้เรียนแต่ละกลุ่มเลือกเรียนได้ด้วยตนเอง มีกิจกรรมวัตถุประสงค์ที่ชัดเจน เลือกใช้สื่อการสอนที่เหมาะสม และเหมาะสมกับความพร้อมของเทคโนโลยี การลำดับเนื้อหาไม่ซับซ้อน ไม่ก่อให้เกิดความสับสน ระบุแหล่งค้นคว้าอื่นๆ ที่เหมาะสม 



          แก่นแท้ของการเรียนการสอนคือการเรียนรู้ของผู้เรียน เป้าหมายที่สำคัญที่สุดคือผู้เรียนได้เรียนรู้ด้วยตนเอง ตามลีลาการเรียนรู้เฉพาะตัวที่เกิดจากความแตกต่างระหว่างบุคคล ครูยุคใหม่ต้องปรับเปลี่ยนบทบาทจากผู้บอกความรู้ไปสู่ผู้สร้างประสบการณ์และเงื่อนไขให้นักเรียนได้แสวงหาคำตอบ ซึ่งคำตอบของแต่ละคนอาจมีที่มาแตกต่างกันตามบริบทที่ใกล้กับนักเรียน

          โรงเรียนเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ที่ให้บริการที่ผูกพันกับเรื่องการสอนและการเรียนรู้เป็นหลักเป้าหมายสุดท้ายของโรงเรียนก็คือการเรียนรู้ของนักเรียน ครูที่จัดการเรียนการสอนที่ดี จึงเป็นครูที่ท้าทายให้นักเรียนเกิดความต้องการที่จะเรียนรู้ ครูจึงควรส่งเสริมให้นักเรียนได้มีโอกาสเรียนรู้จากแหล่งความรู้ที่อยู่รอบตัวทั้งจากครูคน  ครูเรื่อง และครูธรรมชาติสิ่งแวดล้อม  ครูเท่านั้นที่จะปรับเปลี่ยนให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้และคิดหาคำตอบ ได้ตัดสินใจ

“เรียนรู้ได้ตลอดเวลา   ถ้าต้องการที่จะเรียน

คนฉลาดจะรู้สึกว่า  เรียนเท่าไหร่ก็รู้ไม่หมด

คนเขลาจะรู้สึกว่า  รู้หมดแล้วไม่จำเป็นต้องเรียน”

หมายเลขบันทึก: 507993เขียนเมื่อ 7 พฤศจิกายน 2012 20:11 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 ธันวาคม 2012 14:31 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท