คุยกับคนต่างชาติ : โฮมสคูล(Home school) เรื่องใหม่ที่ท้าทายวิธีคิดของนักการศึกษาไทย...


ผมไม่ใช่นักการศึกษา ผมคิดเองตามความรู้สึกและประสบการณ์ แต่หากแนวโน้มการจัดการเรียนการสอนแบบโฮมสคูล มากขึ้น ด้วยเหตุผลที่ว่า "ไม่เชื่อมั่นในระบบการเรียนการสอนในระบบโรงเรียน" เป็นเหตุผลที่น่าคิด และท้าทายการพัฒนาระบบการศึกษาเป็นอย่างยิ่ง

วันอาทิตย์ ที่ ๑๗ กันยายน ๒๕๔๙<p class="MsoNormal">         วันนี้ผมและนักศึกษาปริญญาโท ส่งเสริมสุขภาพ มช. เดินทางไปร่วมกับพี่น้องบ้านกระเหรี่ยงแม่ปิง เข้าโบสถ์วันอาทิตย์ซึ่งชุมชนจะเข้าโบสถ์นมัสการพระเจ้าในทุกวันอาทิตย์</p> <p class="MsoNormal">          บรรยากาศในวันนี้ดูสดชื่น สดใส ชาวบ้านต่างพร้อมใจกันแต่งตัวชุดกระเหรี่ยง หลากสีสัน สวยงาม และแปลกตากับผู้มาเยือนเป็นอย่างยิ่ง</p> <p class="MsoNormal">          ผมนั่งปลีกตัว หลบมุมตรงมุมม้านั่งหน้าโบสถ์ พูดคุยกับฝรั่งคนหนึ่งพร้อมครอบครัวที่น่ารักของเขาที่ย้ายครอบครัวมาอยุ๋ในเมืองปาย คุยกันในหลากหลายเรื่องราว...ที่น่าสนใจ</p> <p style="background-color: #99ffff" class="MsoNormal">          ผมพูดคุยกับ Mr.Tim  อยู่นาน </p><p style="background-color: #99ffff" class="MsoNormal">เมื่อผมถามเรื่อง ลูกๆของเขา ว่าเรียนที่ไหน (เพราะลุกเขาเป็นวัยที่ต้องเข้าเรียนหนังสือแล้ว) </p><p style="background-color: #99ffff" class="MsoNormal">Tim บอกผมว่า เรียนเองโดยแม่สอน</p><p style="background-color: #99ffff" class="MsoNormal"> สำเนียงภาษาอังกฤษที่พยายามพูดไทย ทำให้ผมนึกถึงคำว่า โฮมสคูล (Home school) </p><p style="background-color: #99ffff" class="MsoNormal">ผมถามเขาว่า โฮมสคูล ใช่มั้ย?? </p><p style="background-color: #99ffff" class="MsoNormal">Tim บอกว่า “ใช่ๆ โฮมสคูล”</p> <p class="MsoNormal">          ประเด็นที่ผมคุยกับ Tim เรื่อง โฮมสคูล (Home school) ทำให้ผมคิดได้ไปหลายๆประเด็น …กระบวนการวิธีการ ที่ผมพอทราบอยู่บ้าง และสำหรับผมเรื่องนี้เป็นเรื่องใหม่ และท้าทายนักการศึกษาอย่างยิ่ง หากในอนาคตจะมีการจัดการศึกษารูปแบบนี้ในเมืองไทยมากขึ้นเรื่อยๆ</p><blockquote><blockquote><blockquote><p class="MsoNormal"></p></blockquote></blockquote></blockquote> <p class="MsoNormal">                          ทิมจูเนียร์ กับนิทานที่แม่เขาให้อ่านให้ผมฟัง              </p><blockquote><blockquote> <p class="MsoNormal"> </p> <p class="MsoNormal">  สาวน้อยกระเหรี่ยง กับความสดใสแห่งวัย </p> </blockquote></blockquote><p class="MsoNormal">          </p><p class="MsoNormal">จากการประกาศใช้พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 นับเป็นการเปลี่ยนแปลงครั้ง สำคัญยิ่งในแวดวงการศึกษาไทย สิ่งหนึ่งที่น่าสนใจไม่น้อยคือ การเกิดการศึกษาอีกหนึ่งทาง เลือกสำหรับครอบครัวที่ไม่ประสงค์จะส่งลูกเข้าเรียนในระบบโรงเรียน แต่มีความประสงค์จะจัดการศึกษาให้กับบุตรเอง ซึ่ง พ.ร.บ. ฉบับนี้ได้เปิดโอกาสให้สามารถจัดการศึกษาเองได้ เรียกว่า การจัดการศึกษาโดยครอบครัวหรือโฮมสคูล (Home School)” ตามมาตรา 12 ที่ระบุไว้ว่า “…นอกเหนือจากรัฐ เอกชน และองค์กรปก ครองส่วนท้องถิ่น ให้บุคคล ครอบครัว องค์กรชุมชน องค์กรเอกชน องค์กรวิชาชีพ สถาบันศาสนา สถานประกอบ การ และสถาบันสังคมอื่น มีสิทธิในการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน ทั้งนี้ ให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎกระทรวง </p> <p class="MsoNormal">              ปัจจุบันกระทรวงศึกษาธิการได้ออกกฎกระทรวงว่าด้วยสิทธิในการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานโดยครอบครัว พ.ศ. 2547 โดยได้กำหนดให้ครอบครัวซึ่งประสงค์จะจัดการศึกษายื่นคำขออนุญาตจัดการศึกษาต่อสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาที่ครอบครัวมีภูมิลำเนา โดยต้องระบุชื่อ-ชื่อสกุล สำเนาทะเบียนบ้านของครอบครัวและผู้เรียน ที่ตั้ง และแผนผังสถานที่ซึ่งใช้จัดการศึกษา หลักฐานวุฒิการศึกษาของผู้จัดการศึกษาต้องไม่ต่ำกว่ามัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่าเว้น แต่ผู้จัดการศึกษาผ่านการประเมินว่าเป็นผู้มีความรู้ความสามารถหรือประสบการณ์ในการจัดการศึกษา ระดับและประเภทการจัดการศึกษา รวมทั้งแผนการจัดการศึกษาที่ครอบครัวและสำนักงานร่วมกันกำหนดตามความมุ่งหมาย หลักการ และแนวทางการจัดการศึกษาตามกฎหมายว่าด้วยการศึกษาแห่งชาติ

          ในการจัดการศึกษานั้นครอบครัวจะต้องดำเนินการวัดผลและประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียน ตามหลักเกณฑ์และวิธีการของหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน และจัดทำรายงานการวัดผลและประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียน รวมทั้งการจัดการเรียนการสอน และสภาพปัญหาที่เกี่ยวกับการจัดการศึกษาตามที่สำนักงานกำหนดอย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ง และให้สำนักงานจัดให้มีการวัดผลและประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียนอย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ง กรณีที่ผู้เรียนผ่านการวัดและประเมิน ผลก็จะออกหนังสือรับรองหรือหลักฐานการจบการศึกษาแก่ผู้เรียน แต่กรณีที่ผู้เรียนไม่ผ่านก็ให้ครอบครัวจัดให้มีการเรียนซ่อมเสริมและให้มีการวัดผลใหม่ภายในระยะเวลาที่กำหนด

การศึกษาโดยครอบครัวจึงเป็นรูปแบบการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานอีกรูปแบบหนึ่งที่ครอบครัวสามารถจัดได้ตามสิทธิคุ้มครองตามกฎหมาย โดยผู้ปกครองอาจเป็นผู้ดำเนินการในการจัดกระบวนการเรียนการสอนทั้งหมด ทั้งในเรื่องของหลักสูตร การจัดกิจกรรม การวัดและประเมินผล หรืออาจใช้ระบบการจัดการศึกษารูปแบบใดรูปแบบหนึ่ง คือ การศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัย หรืออาจจะใช้ทั้งสามระบบผสมผสานร่วมกันก็ได้

          ในต่างประเทศมีหลายประเทศที่มีการจัดการศึกษาโดยครอบครัวมาเป็นเวลานานจนเป็นที่ยอมรับในสังคมทั่วไป เช่น สหรัฐอเมริกา นับเป็นประเทศหนึ่งที่มีกระแสยอมรับและเป็นที่นิยมเป็นอย่างมาก เพราะจากการศึกษาโดยครอบครัวของเด็กได้แสดงให้เห็นว่าเด็กมีความสามารถเทียบเท่ากับเด็กที่เรียนในระบบโรงเรียนได้อย่างชัดเจน

          แต่สำหรับประเทศไทย เราต้องยอมรับว่าการจัดการศึกษาโดยครอบครัวยังเป็นเรื่องที่ค่อนข้างใหม่ แต่กำลังได้รับความสนใจมากขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งขณะนี้มีทั้งกลุ่มที่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วย
</p> <p class="MsoNormal"> </p> <p class="MsoNormal">          โดยผู้ที่เห็นด้วยกับระบบการจัดการศึกษาแบบนี้  มองว่า</p> <p class="MsoNormal"> </p> <ul>

  • การจัดการศึกษาของรัฐยังไม่ได้คุณภาพตามที่ต้องการ
  • หลีกเลี่ยงความกดดันความรุนแรงที่อาจจะเกิดขึ้นในโรงเรียน
  • พ่อแม่มีโอกาสเลือกและปรับกิจกรรมให้สอดคล้องตามความถนัด ความสนใจของเด็กได
  • สามารถพัฒนาเด็กได้เต็มศักยภาพอย่างต่อเนื่อง เพราะกิจกรรมบางอย่างเด็กไม่สามารถเรียนรู้ได้จากในโรงเรียน แต่ พ่อแม่สามารถเลือกสรรให้ได้
  • พ่อแม่จะมีเวลาอยู่กับลูกได้เต็มที่ เป็นการเพิ่มพูนความรักความอบอุ่นภายในครอบครัว เป็นต้
  • </ul><p class="MsoNormal"> </p> <p style="margin-left: 18pt" class="MsoNormal">     ส่วนผู้ที่ไม่เห็นด้วยอาจมองว่า</p> <p style="margin-left: 18pt" class="MsoNormal"> </p> <ul>

  • เป็นการปิดกั้นเด็กให้ขาดโอกาสในการเรียนรู้การอยู่ร่วมกันในสังคม ทำให้เด็กไม่รู้จักวิธีการปรับตัว ซึ่งอาจมีปัญหาในการดำเนินชีวิตต่อไปในอนาคตได้
  • บางคนก็มองว่าคุณสมบัติของพ่อแม่บางคนอาจไม่เหมาะสมที่จะเป็นครู
  • </ul><p class="MsoNormal">
              การจัดการศึกษาโดยครอบครัว นับเป็นนวัตกรรมใหม่ในสังคมไทยที่เกิดขึ้นโดยสิทธิตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ และเป็นทางเลือกใหม่ที่น่าสนใจยิ่ง แต่ถ้าจะให้สังคมยอมรับมากขึ้นคงจะต้องพิสูจน์ให้เห็นให้ได้ว่า เด็กที่ศึกษาในระบบนี้มีคุณภาพเท่าเทียมกับเด็กที่ได้ศึกษาในระบบโรงเรียน และที่สำคัญพ่อแม่ที่ประสงค์จะจัดการศึกษาโดยครอบครัวต้องมีคุณสมบัติเพียงพอที่จะสอน มีความรู้ ความเข้าใจในกระบวนการจัดการเรียนการสอนเป็นอย่างดีและต้องเอาใจใส่ดูแลเด็กอย่างจริงจังและต่อเนื่อง ไม่ใช่เพียงแต่ทำตามกระแสนิยมในสังคม เท่านั้น
    </p><h3> จากการที่คุยกับ Tim ทำให้ผมคิดไปเรื่อยเปื่อย ผมคิดถึงภาพบรรยากาศในโรงเรียนชนบทที่ผมเรียนครั้งยังเด็ก สนามเขียวที่ผมวิ่งเล่นเตะบอลกับเพื่อน ไล่จับแมงปอที่ไม่เคยจับได้สักที ภาพครูทำโทษผมเมื่อผมกับเพื่อแอบหนีไปเที่ยวทุ่งนาข้างโรงเรียน</h3><h3>ผมตื่นเต้นกับชุดนักเรียนใหม่ หนังสือใหม่ นอนไม่หลับวันใกล้เปิดเทอม…เพราะอยากเจอเพื่อนๆโดยเร็ว ..คิดถึงพวกมัน</h3><h3>หากพ่อกับแม่ผม ให้ผมเรียนแบบโฮมสคูล ผมคงจะทุกข์ …ถึง ทุกข์มาก เพราะผมเองก็ติดเพื่อนมาก ชอบกิจกรรมที่หลากหลายในโรงเรียน ชอบสังคมข้างนอกที่ให้เราได้เรียนรู้</h3><h3>ผมมองว่า …การเรียนรู้เกิดขึ้น เมื่อเราอยู่ในบรรยากาศของความหลากหลาย ถูกผิดใช่เป็นสิ่งสำคัญ เป็นการเรียนรู้ การอยู่รวมกันเป็นกลุ่ม สังคม การปะทะสังสรรค์ทางสังคม  เป็นเรื่องสำคัญในการหล่อหลอมคนเพื่อการอยู่ร่วมกันในวันนี้และอนาคต </h3><h3>ผมไม่รู้ว่า การจัดการเรียนรู้แบบโฮมสคูล จะตอบสนองสิ่งที่ผมได้รับในโรงเรียนเหมือนอย่างที่ผมได้รับหรือเปล่า???</h3><h3>ผมไม่ใช่นักการศึกษา ผมคิดเองตามความรู้สึกและประสบการณ์ แต่หากแนวโน้มการจัดการเรียนการสอนแบบโฮมสคูล มากขึ้น ด้วยเหตุผลที่ว่า “ไม่เชื่อมั่นในระบบการเรียนการสอนในระบบโรงเรียน  เป็นเหตุผลที่น่าคิด และท้าทายการพัฒนาระบบการศึกษาเป็นอย่างยิ่ง </h3>

    หมายเลขบันทึก: 50791เขียนเมื่อ 19 กันยายน 2006 10:34 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:33 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


    ความเห็น (13)
    บางที่ไม่ใช่เฉพาะการศึกษาของเด็กนะครับคุณจตุพร ลามไปถึงนักศึกษาในระดับ ป.โท ป.เอก(บางท่าน บางที) ตกลงเรียนเอาความรู้หรือเอาปริญญาเนี่ย 
    เรื่องเดียวกันเปล่าเนี่ย ขอโทษด้วยถ้าคนละเรื่องนะครับ

    ไม่เป็นไรหรอกครับคุณออต เรื่องที่คุณออต เผลอบอกเป็นเรื่องจริง...(ที่เรายังไม่ค่อยยอมรับ)

    ผมเองก็คิดเช่นเดียวกับคุณออตครับ 

     ขอนำข้อคิดเห็นที่ส่งผ่านอีเมลล์เพื่อเติมเต็มบันทึกครับ

    .............................................. 

    From:               @hotmail.com>
    To:  [email protected]
    Subject:  การศึกษาแบบโฮมสกูล
    Date:  Tue, 19 Sep 2006 01:04:37 -0400

    เรียน อาจารย์จตุพร
    ได้เข้าไปอ่านบันทึกที่ชัดเจนเรื่องแนวคิดของนักพัฒนาท้องถิ่น...กำลังสำคัญของไทย
    ที่มีต่อการศึกษาแบบโฮมสกูล    หากสามารถค้นคว้าได้ครอบคลุมแล้วจะนำขึ้นบันทึกแลกเปลี่ยนกับทุกท่านค่ะ

    โฮมสกูลและ Student Centered มีความน่าสนใจมาก  
    เคยศึกษาแนวคิดของต้นตำรับโฮมสกูล
    เห็นว่าแท้ที่จริงโฮมสกูลเป็นกระบวนการเตรียมความพร้อมในการปรับตัวให้กับเด็กและเยาวชน
    เพื่อเข้าสู่สังคมอย่างมีความสุขและยั่งยืน..เจ้าของแนวคิดนี้กล่าวว่า
    สอนเด็กๆให้เป็นคนกวาดถนนที่มีความสุขดีกว่าเป็นคนรวยที่ขาดชีวิตจิตใจ  
    เป็นอีก 1 ทางเลือกที่จะช่วยเติมเต็มระบบการศึกษาของไทยได้หากมีการพัฒนาอย่างรอบคอบ
    โฮมสกูลที่มีคุณภาพอาจช่วยลดภาระของระบบการศึกษาปกติในการดูแลเด็กปฐมวัยด้วยค่ะ

    ขอบพระคุณเป็นอย่างสูงค่ะสำหรับบันทึกที่มีคุณค่าต่อการศึกษาของไทย
    และข้อคิดเห็นที่มีคุณค่าต่อผู้อ่าน....

    ........................ 

    โฮมสคูลจะมีประโยชน์ถ้าใช้ควบคู่กับการศึกษาในระบบ  เพราะการเรียนรู้นั้นต้องเรียนรู้ทั้งวิชาการและวิชาเกิน  ซึ่งบางครั้ง  "วิชาเกิน"  นั้น ในระบบไม่สามารถสอนให้ได้ด้วยเงื่อนไขของเวลา ของครู ของหลักสูตร และของระบบ  และที่สำคัญสุดระบบการศึกษาไทยยังไม่เปิดกว้างให้กับพื้นที่ของ                  โฮมสคูลมากนัก  อีกทั้งผู้ปกครองจะต้องมีเวลาและความพร้อมพอสมควร  ลูกตาสีตาสาคงยากที่จัดให้มีโฮมสคูลได้ค่ะ

    ครับ พี่พันดา

    ผมก็มองว่า ชาวบ้านชนบท ต้องมีความพร้อมและมีเวลาในการจัดโฮมสคูลแบบนี้

    ซึ่งก็คงต้องควบคู่กันไป เสริมซึ่งกันและกัน ทั้งในระบบและนอกระบบ ครับ

    ขอบคุณครับ 

    วันนั้นได้คุยกับครอบครัวนี้เหมือนกันค่ะ..หลายเรื่องที่เดียว และก็ได้ถามคำถามเดียวกันกับที่พี่เอกถามด้วย...จึงได้ยินคำว่า Home School และเมื่อได้สังเกตพฤติกรรมและพูดคุยกับเด็กๆแล้ว.......พ่อแม่เขาสอนลูกๆดีมากส่วนหนึ่งอาจจะเป็นเพราะพ่อและแม่เป็นผู้เผยแพร่ศาสนา.........ในความคิดเห็นนะ เด็กจะได้รับความรู้และถูกปลูกฝังจริยธรรมไปด้วย ซึ่งหายากนะในปัจจุบัน ....

    น้องแพ

    ดีใจครับ ที่น้องๆเข้ามาทักทาย นี่แสดงว่า ใกล้จะคลอด Blog แล้วซิครับ...

    ดช.ทิมจูเนียร์ พนมมือไหว้ ผม และกล่าวว่า "สวัสดีครับ" ผมทึ่งมากเลยครับ!!!

    ไม่ทราบว่า น้องแพเห็น planet ส่งเสริมสุขภาพมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ข้างซ้ายจอมั้ยครับ...นั่นหละครับ !!! เป็น Planet ของพวกเราครับ

    ผมชื่อเด็กชายพิสิฐ

    ชื่ออิสลามชื่วี แต่ชื่อไทยชื่อพิสิฐ

    สวัสดีครับ

    ดช.พิสิฐ หรือ น้องวี  เป็นคนดีของสังคมนะครับ...

     

    การเรียนโฮมสกูลอาจทำให้เด็กได้ปลูกฝังด้านคุณธรรม แต่การเรียนที่โรงเรียนเด็กได้ทางด้านสังคม ได้พบปะเพื่อนๆที่หลากหลาย มีการแลกเปลี่ยนความคิดกัน ดิฉันคิดว่าในสังคมปัจจุบันเด็กน่าจะได้เรียนที่โรงเรียนเพราะโรงเรียนมีความพร้อมทางด้านอุปกรณ์และบุคลากรทางการศึกษาเด็กปฐมวัยที่มีคุณภาพก็แยอะ โดยเฉพาะทางภาครัฐก็พยายามสนับสนุนและส่งเสริมทางด้านนี้มากขึ้นแล้วค่ะ

    อยากทราบวิธีการเตรียมศึกษาโฮมสคูล ม.ปลายค่ะ ว่าต้องทำอย่างไร?

    เรียนจบแล้วไปต่อมหาลัยอะไรได้บ้างแล้วจะประเมินผลการเรียนอย่างไร?

    พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
    ClassStart
    ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
    ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
    ClassStart Books
    โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท