แผนบริหารการสอน (Course Syllabus) วิชา จิตวิทยาและการแนะแนวสำหรับครู



แผนบริหารการสอน (Course Syllabus)

รหัสวิชา 1051203 วิชา  จิตวิทยาและการแนะแนวสำหรับครู  3(2-2-4)
(Psychology and Guidance For teachers)
อาจารย์ผู้สอน  อาจารย์ศิริภิญญา  ตระกูลรัมย์
 


1. คำอธิบายรายวิชา
 ความรู้เบื้องต้น เกี่ยวกับจิตวิทยา กระบวนการทางจิตวิทยาในการสืบค้น ธรรมชาติและพัฒนาการของผู้เรียน การรับรู้ การเรียนรู้ ทฤษฎีการเรียนรู้ และการประยุกต์ใช้ ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเรียนรู้ การสอบการถ่ายโยงความรู้ ทักษะ เจตคติ และค่านิยม  และจัดสภาพแวดล้อมที่สนับสนุน ให้เกิดการเรียนที่มีประสิทธิภาพ การแนะแนว ปรัชญา หลักการ และบริการหลักในการแนะแนว ระบบการช่วยเหลือนักเรียนในโรงเรียน

2. จุดประสงค์รายวิชา
 2.1 เพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้เข้าใจ เกี่ยวกับจิตวิทยา ความหมายและความสำคัญของจิตวิทยาต่อการศึกษา
 2.2 เพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้เข้าใจเกี่ยวกับพัฒนาการเด็ก และอิทธิพลที่ส่งผลต่อพัฒนาการเด็ก
 2.3 เพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้เข้าใจในกระบวนการสืบค้นทางจิตวิทยา ธรรมชาติของการเรียนรู้
 2.4 เพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้เข้าใจในทฤษฏีการเรียนรู้ การประยุกต์ใช้ทฤษฎีในการจัดการเรียนการสอน
 2.5 เพื่อให้ผู้เรียนสามารถ เชื่อมโยงการสอน การถ่ายโยงความรู้ ทักษะ เจตคติ และค่านิยม พร้อมจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้
 2.6 เพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้ความเข้าใจ และมีทักษะในการให้บริการงานแนะแนว การให้คำปรึกษา รวมไปถึงระบบดูแลช่วยเหลือเด็ก

3. แผนการจัดการเรียนการสอน

เนื้อหา 
1. ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับจิตวิทยาการเรียนการสอน
- ความหมายและประวัติเกี่ยวกับจิตวิทยา
- ความหมายของจิตวิทยาการเรียนการสอน
- ขอบข่ายของการศึกษาจิตวิทยาการเรียนการสอน
- ประโยชน์ของจิตวิทยาการเรียนการสอน
- ความรู้พื้นฐานที่จำเป็นต้องการปฏิบัติหน้าที่ครู  

2. พัฒนาการและลักษณะของเด็กวัยรุ่นต่าง ๆ 
- ความหมายและหลักสำคัญของพัฒนาการ
- อิทธิพลของพันธุกรรมและสิ่งแวดล้อมต่อพัฒนาการของมนุษย์
- ลักษณะของเด็กวัยต่าง ๆ 

3. ทฤษฎีพัฒนาการ
- ทฤษฎีพัฒนาการบุคลิกภาพ
- ทฤษฏีจิตวิเคราะห์
- พัฒนาการบุคลิกภาพของฟรอยด์
- ทฤษฎีพัฒนาการของอิริคสัน
- ทฤษฎีพัฒนาการทางเชาว์ปัญญาและจริยธรรม
- ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาของเปียเจท์
- ทฤษฎีพัฒนาการทางจริยธรรมของโคลเบอร์ก 

4. การรับรู้
- ความหมายของการรับรู้
- ระบบประสาทและอวัยวะสัมผัสการรับรู้
- องค์ประกอบที่มีอิทธิพลต่อการรับรู้
- การเรียนรู้และการรับรู้
- อิทธิพลต่าง ๆ ที่มีต่อการรับรู้ 

5. การเรียนรู้
- ความหมายของการเรียนรู้
- กระบวนการเรียนรู้
- องค์ประกอบพื้นฐานของการเรียนรู้
- องค์ประกอบที่ส่งเสริมการเรียนรู้
- การถ่ายโยงการเรียนรู้ 

6. ทฤษฎีการเรียนรู้
- ทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบคลาสสิก
- ทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบผู้เรียนต้องลงมือกระทำ
- ทฤษฎีความต่อเนื่อง
- ทฤษฎีความรู้ความเข้าใจ  

7. สอบกลางภาค 60 ข้อ 30 คะแนน 


8. การจำการลืม
- ความหมายของการจำ
- พฤติกรรมของการจำ
- ประเภทของการจำ
- ระบบของการจำ
- องค์ประกอบของการจำ
- เทคนิคและวิธีการจำที่ดี
- ความหมายของการลืม
- บทบาทของผู้สอนในการนำความรู้เรื่องการจำการลืมไปใช้ 


9 เชาว์ปัญญาและการคิด
- ความหมายของเชาว์ปัญญา
- สาเหตุของเชาว์ปัญญา
- ผลแห่งเชาว์ปัญญา
- แบบทดสอบเชาว์ปัญญา
- ประโยชน์ของเชาว์ปัญญา
- การคิด
- การคิดสร้างสรรค์
- องค์ประกอบที่มีอิทธิพลต่อความคิดสร้างสรรค์ของเด็ก
- การวัดความคิดสร้างสรรค์ 

10. ประเภทของการเรียนรู้และการสอน
- ชนิดของการเรียนรู้ในโรงเรียน
- การสอนให้เกิดการเรียนรู้
- วิธีการเรียนรู้ความคิดรวบยอด
- การเรียนรู้หลักการ
- การเรียนรู้การแก้ปัญหา
- การเรียนรู้คุณธรรม ค่านิยม เจตคติ และความซาบซึ้ง
- การเรียนรู้ทักษะ  

11. การปรับพฤติกรรม
- ความหมาย
- ขั้นตอนในการนำเทคนิคการปรับพฤติกรรมไปใช้
- การเลือกแรงเสริมในการแก้ไขพฤติกรรม
- การเลือกเทคนิคต่าง ๆ ในการปรับพฤติกรรม
- การปรับพฤติกรรมจริงในชั้นสุขภาพจิต
- ความสำคัญของสุขภาพจิต
- ความหมายของสุขภาพจิต
- ความหมายของสุขวิทยาจิต
- ความแตกต่างของสุขภาพกายและสุขภาพจิต
- หลักเกณฑ์ในการพิจารณาความเป็นครูที่มีสุขภาพจิตดี
- ประวัติความเคลื่อนไหวทางด้านสุขภาพจิต
- องค์ประกอบที่มีอิทธิพลต่อสุขภาพจิต
- ความหมายของความผิดปกติทางจิต
- ชนิดของความผิดปกติทางจิต 
 

12. การปรับตัวและสุขภาพจิต 

 

13. การแนะแนว


14. การให้คำปรึกษา

15. ระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน และการศึกษารายกรณี

16. นำเสนอการศึกษารายกรณี

สอบปลายภาค 60 ข้อ 30 คะแนน

 

4. การวัดและประเมินผล
  4.1 การวัดผล  วัดผลจาก
4.1.1 การเข้ามีส่วนร่วมในการเรียนการสอน โดยมีเวลาเรียนไม่ต่ำกว่า 80 % ของเวลารวมทั้งหมด 16 สัปดาห์
4.1.2 คะแนนรวมทั้งหมด 100% แบ่งเป็น
4.1.2.1 เวลาเรียน 10%
 ในการลาทุกครั้งจะต้องมีใบลาพร้อมลายเซ็นผู้ปกครองหรือแพทย์รับรอง
ถ้ากรณีขาดไปโดยไม่แจ้งให้ผู้สอนทราบจะไม่สามารถส่งงานและสอบย้อนหลังได้
4.1.2.2 คะแนนเก็บ 60%
สอบทุกคาบ
เนื้อหาในการออกข้อสอบ 
- บทที่ 1- 10 ในหนังสือจิตวิทยาการเรียนการสอน 100 ข้อ 50 คะแนน  
- เอกสารประกอบเพิ่มเติมเรื่องการแนะแนว และการให้คำปรึกษา 20 ข้อ 10 คะแนน
รวม 60 คะแนน
4.1.2.3 ทำรายงานรายบุคคลเรื่องการศึกษารายกรณี (1 ชิ้น) 15%
 ให้นักศึกษาศึกษาเด็กที่มีอายุระหว่าง 7 ปี – 18 ปี จำนวน 1 คน แล้วทำเป็นรูปเล่มรายงานตามแบบฟอร์มในเอกสารประเพิ่มเติมเรื่องการศึกษารายกรณี
 ส่งวันที่……มกราคม พ.ศ. 2556 ส่งในคาบเรียน
 เกณฑ์ในการให้คะแนน ควรมีรายละเอียดตามหัวข้อต่อไปนี้
1. เย็บเล่ม
2. ปก
3. คำนำ
4. สารบัญ
5. ชื่อสกุล
6. สาเหตุ
7. วันเริ่มต้น สิ้นสุด
8. ลักษณะของปัญหา
9. ลักษณะทั่วไป
10. ประวัติส่วนตัว
11. ประวัติครอบครัว
12. ประวัติด้านการศึกษา
13. ความใฝ่ฝันในอนาคต
14. การสัมภาษณ์ การสังเกต อื่น ๆ
15. สรุปและข้อเสนอแนะ
16. ลงชื่อ
รายละเอียดที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อดังกล่าวศึกษาเพิ่มเติมได้ที่เอกสารประกอบการเรียนการสอนเรื่องการศึกษารายกรณี

 

4.1.2.4 งานกลุ่ม 15%
 อภิปรายกลุ่ม (สิ่งที่ได้เรียนรู้และการนำแนวคิดไปประยุกต์ใช้) และนำเสนอ
 รวม 100%

  4.2 การประเมินผลประเมินจาก
 4.2.1 การมีส่วนร่วมในกิจกรรมกระบวนการเรียนการสอนประกอบด้วยการอภิปรายซักถาม การนำเสนอความคิด การวิเคราะห์ สังเคราะห์ ประเมินค่าตามหลักวิชาการ รวมทั้งความคิดริเริ่มสร้างสรรค์และอุดมการณ์ในการดำเนินชีวิต เพื่อความสงบสุขของสังคม และสันติภาพของโลก โดยสังเกตจากการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมและบุคลิกภาพของนักศึกษาที่พัฒนาขึ้นเป็นสำคัญ
 4.2.2 คะแนนรวมทั้งหมด
 80 - 100% มีค่าระดับคะแนน A ดีเยี่ยม (Excellent)
 75 - 79% มีค่าระดับคะแนน  B+ ดีมาก (Very Good)
 70 - 74% มีค่าระดับคะแนน  B ดี (Good) 
 60 - 69% มีค่าระดับคะแนน  C+ ค่อนข้างดี (Fairly Good)
50 - 59% มีค่าระดับคะแนน  C พอใช้ (Fair)
40 - 49% มีค่าระดับคะแนน  D อ่อน (Poor)
ต่ำกว่า 40% มีค่าระดับคะแนน F ตก (Very Poor)
I = งานไม่สมบูรณ์
5. ตำรา หนังสือหรือเอกสารการสอนหลัก
ตำราหลัก
สุมาลัย วงศ์เกษม และคณาจารย์ภาควิชาจิตวิทยาและการแนะแนว คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัย
  ราชภัฏมหาสารคาม.  2548.  จิตวิทยาการเรียนการสอน.  กาฬสินธุ์: ประสานการพิมพ์.

 

 

6. สื่อเพื่อการศึกษาเพิ่มเติมหรือเอกสารอ้างอิง

กุญชรี  ค้าขาย.  2542.  จิตวิทยาแนะแนวเด็กวัยรุ่น.  กรุงเทพมหานคร:  คณะครุศาสตร์ สถาบันราชภัฏสวนสุนันทา.

จำเนียร  ช่วงโชติ.  2547.  เทคนิคการแนะแนว.  พิมพ์ครั้งที่ 8.  กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

นพนาศ  อุ้งพระ  (ธีรเวคิน).  2546.  ทฤษฎีบุคลิกภาพและการปรับตัว.  พิมพ์ครั้งที่  3.  กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

พรรณี  ช. เจนจิต.  2545.  จิตวิทยาการเรียนการสอน.  พิมพ์ครั้งที่ 5.  กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์บริษัท คอมแพคท์ พริ้น จำกัด.

วัชรี  ทรัพย์มี.  2531.  การแนะแนวในโรงเรียน.  พิมพ์ครั้งที่ 3.  กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ลักขณา สริวัฒน์.  2543.  การแนะแนวเบื้องต้น.  กรุงเทพมหานคร: โอเดียนสโตร์.

ศรีเรือน  แก้วกังวาน.  2549.  จิตวิทยาพัฒนาการชีวิตทุกช่วงวัย เล่ม 1-2.  พิมพ์ครั้งที่ 9.กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

สุรางค์  โค้วตระกูล.  2550.  จิตวิทยาการศึกษา.  พิมพ์ครั้งที่ 7.  กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สมโภชน์  เอี่ยมสุภาษิต.  2550.  พิมพ์ครั้งที่ 6.  ทฤษฎีและเทคนิคการปรับพฤติกรรม.  กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

หมายเลขบันทึก: 507880เขียนเมื่อ 7 พฤศจิกายน 2012 05:24 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 ธันวาคม 2012 14:58 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท