ประจุไฟฟ้าและสนามไฟฟ้า


ประจุไฟฟ้า ( Electric Charge )

  ประจุไฟฟ้า คือ ตัวการที่ทำให้เกิดอำนาจไฟฟ้า ( แรงดูด )

  การทำให้วัตถุมีประจุไฟฟ้า  ไม่ใช่การสร้างประจุขึ้นใหม่  แต่เป็นเพียงการย้ายประจุจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่งเท่านั้น  โดยที่ผลรวมของประจุทั้งหมดของระบบที่พิจารณายังคงเท่าเดิม ซึ่งข้อสรุปนี้คือ กฎการอนุรักษ์ประจุไฟฟ้า นั่นเอง

สาเหตุที่ทำให้วัตถุเกิดประจุไฟฟ้าอิสระย่อมทำได้  3  วิธี

1.  การขัดสีกันของวัตถุที่เหมาะสม  2  ชนิด  และประจุไฟฟ้าที่เกิดขึ้นบนผิววัตถุคู่หนึ่ง ๆ จะเป็นประจุไฟฟ้าต่างชนิดกันเสมอ  ได้มีการทำบัญชีของวัตถุที่ทำให้เกิดไฟฟ้าสถิตโดยการขัดสี


2.  การเหนี่ยวนำ  ทำได้โดย  นำวัตถุที่มีประจุไฟฟ้าอิสระอยู่แล้วมาทำการเหนี่ยวนำ  ซึ่งทำให้ตัวนำเกิดประจุอิสระด้วยการเหนี่ยวนำ


3.  การสัมผัส  โดยการนำวัตถุตัวนำอื่นที่มีประจุไฟฟ้าอิสระอยู่แล้วมาสัมผัสกับตัวนำที่เราต้องการ  จะทำให้เกิดประจุอิสระ  การกระทำเช่นนี้เกิดการถ่ายเทประจุเท่ากัน  ตามทฤษฎีอิเล็กตรอน  การถ่ายเทประจุไฟฟ้าเกิดขึ้นเนื่องจากการเคลื่อนที่ของอิเล็กตรอน  การเกิดประจุไฟฟ้าอิสระด้วยการสัมผัส


ชนิดของแรงระหว่างประจุไฟฟ้า

1.  แรงระหว่างประจุไฟฟ้ามี  2  ชนิด  คือ  แรงดูดกับแรงผลัก

2.  ประจุไฟฟ้าชนิดเดียวกันจะผลักกัน  ประจุไฟฟ้าต่างชนิดกันจะดูดกัน

3.  วัตถุที่มีประจุไฟฟ้าจะดูดวัตถุที่เป็นกลางเสมอ

4.  แรงกระทำบนวัตถุ  เป็นแรงต่างร่วม  คือ  แรงที่กระทำซึ่งกันและกัน  และมีค่าเท่ากันโดยไม่คำนึงถึงประจุทั้งสองเท่ากันหรือไม่ก็ตาม

ตัวนำและฉนวน  ( Conductor and Insulator )

ตัวนำไฟฟ้า  คือ  วัตถุที่ยอมให้ประจุไฟฟ้าเคลื่อนที่ไปได้โดยสะดวก  เช่น  โลหะต่างๆ สารละลายของกรด เบส และเกลือ เป็นต้น

ฉนวนไฟฟ้า  คือ  วัตถุที่ไม่ยอมให้ประจุไฟฟ้าเคลื่อนที่ไปโดยสะดวก หรือไม่ยอมให้ประจุไฟฟ้าเคลื่อนที่ผ่านไป  เช่น  กระเบื้องเคลือบ  ยางอิโบไนต์ เป็นต้น


หมายเลขบันทึก: 507860เขียนเมื่อ 6 พฤศจิกายน 2012 22:12 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 ธันวาคม 2012 15:02 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

เป็นการสอนแบบเดิมครับ...ฮา

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท