แนวคิดพื้นฐานเกี่ยวกับ เครือข่ายสังคมออนไลน์ ที่อยู่ใน " แนวคิดพื้นฐานทางกฎหมายในการจัดการเครือข่ายสังคมออนไลน์"



ภายใต้หัวข้อ "แนวคิดพื้นฐานทางกฎหมายในการจัดการเครือข่ายสังคมออนไลน์" นั้น จะเห็นได้ว่า มีแนวคิดสำคัญ กล่าวคือ (๑) ปรากฎการณ์ของความเป็น "เครือข่ายสังคมออนไลน์" ซึ่งต้องอธิบายว่าสิ่งนี้คืออะไร ? หรือ มีสถานะในทางกฎหมายเป็นอย่างใด ? (๒) ปรากฎการณ์ของการจัดการเครือข่ายสังคมออนไลน์ ซึ่งเป็นการอธิบายว่า มีการจัดการเครือข่ายสังคมออนไลน์อย่างใดบ้าง ? (๓) กฎหมายที่มีผลต่อการจัดการเครือข่ายสังคมออนไลน์ และ (๔) แนวคิดพื้นฐานทางกฎหมายที่ควรจะเป็นเพื่อใช้ในการจัดการเครือข่ายสังคมออนไลน์ เพื่อทำให้เกิดการสร้างความยุติธรรมให้กับสังคม ในการศึกษาถึงแนวคิดพื้นฐานทางกฎหมายในการจัดการเครือข่ายสังคมออนไลน์ จึงไม่อาจหลีกเลี่ยงที่จะศึกษาแนวคิดพื้นฐานทั้ง ๔ ประการนี้ได้

ในส่วนนี้เป็นเนื้อหารายละเอียดของแนวคิดพื้นฐานแรก คือ แนวคิดพื้นฐานเกี่ยวกับ เครือข่ายสังคมออนไลน์ ที่อยู่ใน " แนวคิดพื้นฐานทางกฎหมายในการจัดการเครือข่ายสังคมออนไลน์"

ในทางกฎหมายนั้น การพิจารณารับรองและกำหนดถึง "ความเป็น" ของข้อเท็จจริงหรือปรากฎการณ์ที่กฎหมายจะเข้าไปดำเนินการหรือเข้าไปมีผลจัดการในข้อเท็จจริงหรือปรากฎการณ์นั้นๆ เป็นประเด็นสำคัญพื้นฐานประเด็นแรก โดยในทางนิติศาสตร์นั้น การกำหนดถึงความเป็นดังกล่าว ก็คือ การกำหนดสถานะทางกฎหมาย ซึ่งโดยทั่วไปแล้วจะมีการกำหนดสถานะทางกฎหมายได้เป็น ๓ สถานะ กล่าวคือ บุคคล นิติสัมพันธ์ หรือ ทรัพย์ และผลจากการกำหนดสถานะทางกฎหมายดังกล่าว ย่อมก่อให้เกิดสิทธิ หน้าที่ ความรับผิด และ ความรับผิดชอบ ทั้งที่เป็นสิทธิ

ในการศึกษาเพื่อทำความเข้าใจเกี่ยวกับแนวคิดในการกำหนดสถานะทางกฎหมายของเครือข่ายสังคมออนไลน์ว่ามีสถานะอย่างใดอย่างหนึ่งนั้น จำเป็นที่จะต้องศึกษาในรายละเอียดสำคัญ ๖ เรื่อง กล่าวคือ (๑) การศึกษาถึงปรากฎการณ์หรือข้อเท็จจริงสำคัญอันเป็นข้อสงสัยที่นำมาสู่ความจำเป็นในการกำหนดสถานะทางกฎหมายของเว็บไซต์ที่เป็นเครือข่ายสังคมออนไลน์ (Social Network Site) (๒) ผลของการรับรองและกำหนดสถานะทางกฎหมายของข้อเท็จจริงหรือปรากฎการณ์ (๓) ผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการไม่มีสถานะทางกฎหมายของเครือข่ายสังคมออนไลน์ (๔) แนวคิดคลาสสิคที่ใช้ในการพิจารณาเพื่อนำไปสู่แนวทางในการกำหนดและรับรองสถานะของเครือข่ายสังคมออนไลน์ (๕) ความเป็นไปได้ของการพัฒนาแนวคิดในการกำหนดสถานะทางกฎหมายของเครือข่ายสังคมออนไลน์ และ (๖) ประเด็นข้อโต้แย้งที่เกิดขึ้นจากประเด็นในการกำหนดสถานะของเครือข่ายสังคมออนไลน์

.๑ ปรากฎการณ์หรือข้อเท็จจริงสำคัญอันเป็นข้อสงสัยที่นำมาสู่ความจำเป็นในการกำหนดสถานะทางกฎหมายของเว็บไซต์ที่เป็นเครือข่ายสังคมออนไลน์ (Social Network Site) พบว่า มีความเป็นไปได้ของข้อเท็จจริงหรือปรากฎการณ์ที่นำไปสู่ปัญหาในการกำหนดสถานะทางกฎหมายของเครือข่ายสังคมออนไลน์

๑.๑.๑ ข้อสงสัยว่า เครือข่ายสังคมออนไลน์มีสถานะความเป็นบุคคลหรือนิติบุคคลหรือไม่ ? มีข้อเท็จจริงอันเป็นสถานการณ์ที่เกี่ยวข้องกับความสงสัยในประเด็นนี้ที่น่าสนใจและจะใช้เป็นกรณีศึกษาใน ๒ กรณี กล่าวคือ

            กรณีศึกษาที่ ๑ การปรากฎตัวของ เครือข่ายสังคมออนไลน์ที่ใช้ชื่อหน่วยงานของรัฐหรือเอกชนหรือประชาชน

           กรณีศึกษาที่ ๒ กรณีของสถานการณ์ที่เครือข่ายสังคมออนไลน์ โดยเฉพาะ www.facebook.com ที่มีการอาศัยสมาชิกในเครือข่ายสังคมออนไลน์เพื่อคัดค้านต่อร่างกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา ที่ชื่อว่า Stop Online Piracy Act หรือ SOPA ที่เสนอโดยวุฒิสภาของประเทศสหรัฐอเมริกา

๑.๑.๒ ข้อสงสัยว่า เครือข่ายสังคมออนไลน์มีสถานะเป็นนิติสัมพันธ์หรือไม่ ? หรือเป็นเพียงความสัมพันธ์ที่ไม่ก่อให้เกิดผลในทางกฎหมาย ? โดยมีข้อเท็จจริงอันเป็นสถานการณ์ที่เกี่ยวข้องกับความสงสัยในประเด็นนี้ที่น่าสนใจและจะใช้เป็นกรณีศึกษาใน ๒ กรณี กล่าวคือ

            กรณีศึกษาที่ ๓ กรณีการทำงานเอกสารผ่านระบบฐานข้อมูลของเครือข่ายสังคมออนไลน์ Google ที่เรียกว่า Google Documents หรือ google docs เป็นการให้บริการรับฝากข้อมูล และ บริการจัดการเอกสารในระบบเครือข่ายสังคมออนไลน์ที่ดำเนินการโดย www.google.com ที่พัฒนาระบบการจัดการเอกสารให้กับผู้ที่เป็นสมาชิกของเครือข่ายหรือมีไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ของ gmail โดยสมาชิกในเครือข่ายสังคมออนไลน์สามารถสร้าง แก้ไข หรือเปิดอ่านเอกสารได้เลย โดยตัวเอกสารนั้นจะถูกเก็บไว้ในเซิร์ฟเวอร์ของ Google และที่สําคัญสมาชิกสามารถแลกเปลี่ยน ส่ง หรือ รับเอกสารให้กับสมาชิกคนอื่นในเครือข่ายสังคมออนไลน์เดียวกันนี้เพื่อแก้ไขข้อมูลไปพร้อมๆ กัน โดยจะเห็นว่าอีกฝ่ายหนึ่งกําลังพิมพ์อะไร

          กรณีศึกษาที่ ๔กรณีของ Cloud Computing1 2 เป็นความสัมพันธ์ระหว่างสมาชิกในเครือข่ายโดยให้บริการรับฝากและประมวลผลข้อมูล ? โดยที่ระบบนี้ เป็นการประมวลผลที่อิงกับความต้องการของผู้ใช้ โดยผู้ใช้สามารถระบุความต้องการไปยังซอฟต์แวร์ของระบบ Cloud Computing จากนั้นซอฟต์แวร์จะร้องขอให้ ระบบ จัดสรรทรัพยากรและบริการให้ตรงกับความต้องการของผู้ใช้ซึ่งจะมีการประมวลผลข้อมูลจากสถานที่เก็บทรัพยากรสำหรับระบบ (Cloud Storage) โดยระบบสามารถเพิ่มหรือลดจำนวนทรัพยากรให้พอเหมาะกับความต้องการของผู้ใช้ โดยที่ผู้ใช้ไม่ต้องทราบการทำงานเบื้องหลังว่าเป็นอย่างไร โดยจะมีผู้ให้บริการระบบ Cloud Provider

๑.๑.๓ ข้อสงสัยว่า เครือข่ายสังคมออนไลน์มีสถานะเป็นทรัพย์หรือทรัพย์สินหรือไม่ ? โดยมีข้อเท็จจริงอันเป็นสถานการณ์ที่เกี่ยวข้องกับความสงสัยในประเด็นนี้ที่น่าสนใจและจะใช้เป็นกรณีศึกษาใน ๒ กรณี กล่าวคือ

               กรณีศึกษาที่ ๕กรณีเครือข่ายสังคมออนไลน์ wikipidea.org

              กรณีศึกษาที่ ๖ กรณีเครือข่ายสังคมออนไลน์ ในกลุ่ม bittorrent ในกลุ่มเครือข่ายสังคมออนไลน์ในกลุ่มนี้เป็นเครือข่ายทางสังคมที่มีการแลกเปลี่ยนข้อมูลประเภทภาพยนตร์ เพลง อันเป็นการละเมิดต่อกฎหมายว่าด้วยลิขสิทธิ์ ประเด็นสำคัญของการพิจารณาก็คือ

.๒ ผลของการรับรองและกำหนดสถานะทางกฎหมายของข้อเท็จจริงหรือปรากฎการณ์ ย่อมส่งผลโดยตรงต่อความมีผลในทางกฎหมาย ซึ่งมีอยู่ด้วยกัน ๒ ส่วนกล่าวคือ

(๑) ในส่วนของเนื้อหาสาระ ซึ่งหมายถึง ความมีผลในด้านเนื้อหา กล่าวคือ การได้รับการปฎิบัติตามพื้นฐานแห่งสิทธิ หรือ ตามพื้นฐานองค์ประกอบทางกฎหมายที่กำหนด รวมทั้ง การกำหนดผลทางกฎหมายทีเกิดขึ้นจากสถานะนั้น ในส่วนนี้มีความเป็นไปได้ที่กฎหมายจะรับรองสถานะของเครือข่ายสังคมออนไลน์ได้ใน ๓ สถานะ กล่าวคือ 

                หากในสายตาของกฎหมายรับรองและกำหนดสถานะของเครือข่ายสังคมออนไลน์ โดยพิจารณาว่า เครือข่ายสังคมออนไลน์เป็นการปรากฎการณ์หรือข้อเท็จจริงที่เป็นการรวมตัวกันของบุคคลที่เป็นสมาชิกโดยมีวัตถุประสงค์ของการรวมกลุ่มอย่างใดอย่างหนึ่งที่มีความชัดเจน รวมทั้งมีกฎเกณฑ์หรือกติการะหว่างสมาชิกในเครือข่ายสังคมของตนเองอย่างชัดเจน ในกรณีเช่นนี้ กฎหมายก็อาจจะรับรองและกำหนดให้เครือข่ายสังคมออนไลน์มีสถานะเป็น "นิติบุคคล" ส่งผลให้เครือข่ายสังคมออนไลน์อยู่ในฐานะของ "ผู้ทรงสิทธิ" ที่อาจเป็นประธานแห่งสิทธิ หรือ อาจจะอยู่ใต้บังคับแห่งสิทธิ3 แต่บุคคลนั้นไม่อาจตกเป็นวัตถุแห่งสิทธิ และเมื่อเป็น นิติบุคคล ผลในทางกฎหมายที่ตามทั่วโดยไปก็คือ ย่อมมีสิทธิ หน้าที่ ความรับผิดและความรับผิดชอบตามกฎหมาย

             หรือ หากกฎหมายพิจารณา รับรอง และกำหนดให้เครือข่ายสังคมออนไลน์ มีสถานะเป็น "นิติสัมพันธ์" โดยพิจารณาจากลักษณะและรูปแบบของความสัมพันธ์ของเครือข่ายสังคมออนไลน์ ยกตัวอย่างเช่น เครือข่ายสังคมออนไลน์ The Pirate Bay4 ประกาศย้ายระบบเซิร์ฟเวอร์ทั้งหมดขึ้นไปบนกลุ่มเมฆ โดยใช้วิธีกระจายโหลดไปยังผู้ให้บริการกลุ่มเมฆหลายๆ รายทั่วโลก5 เครือข่ายสังคมออนไลน์นี้ เป็นเครือข่ายทางสังคมที่สมาชิกเข้ามารวมตัวกันเพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกัน โดยข้อมูลเกือบทั้งหมดที่มีการแลกเปลี่ยนระหว่างสมาชิกในเครือข่ายนั้นมีลักษณะเป็นข้อมูลที่ละเมิดลิขสิทธิ์ หรือเป็นข้อมูลประเภทสื่อลามกอนาจาร จะเห็นได้ว่า เครือข่ายสังคมออนไลน์ประเภทนี้เป็นเครือข่ายทางสังคมที่ให้บริการด้านระบบโดยมีสมาชิกของเครือข่ายสังคมเข้ามาเป็นสมาชิกและแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกันนี้ จะเห็นได้ว่า เครือข่ายทางสังคมออนไลน์กลุ่มนี้จึงอาจเป็นเพียงความสัมพันธ์ระหว่างสมาชิกของเครือข่าย และ อาจจะก่อนิติสัมพันธ์ระหว่างเครือข่ายสังคมออนไลน์แห่งอื่น เช่น google plus และ youtube.com หรือ iClound โดยการนำข้อมูลที่ได้จากการแลกเปลี่ยนเก็บไว้ในฐานข้อมูลในเครือข่ายสังคมออนไลน์แห่งใดแห่งหนึ่ง

          ความเป็นไปได้ในประการสุดท้ายก็คือ กฎหมายอาจจะให้การรับรองเครือข่ายสังคมออนไลน์ในสถานะที่เป็น ทรัพย์สิน ซึ่งหากพิจารณาจาก กรณีข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการนำ www.Facebook.com เข้าตลาดหลักทรัพย์ แสดงให้เห็นว่า เครือข่ายสังคมออนไลน์ที่ชื่อว่า facebook ถูกใช้เป็นทรัพย์สินของบริษัทผู้ประกอบการ www.facebook.com เพื่อนำเข้าสู่ตลาดหลักทรัพย์ กรณีดังกล่าวนี้ ก็มีความเป็นไปได้ว่า เครือข่ายสังคมออนไลน์ facebook อาจถูกกำหนดสถานะเป็น "ทรัพย์สิน"​ ของบริษัท

(๒) ในส่วนของการเลือกใช้กฎหมายบังคับกับกรณี หากกรณีดังกล่าวนี้เป็นนิติสัมพันธ์ของเอกชนที่มีจุดเกาะเกี่ยวกับหลายรัฐลักษณะระหว่างประเทศซึ่งเป็นไปได้ว่าเป็นนิติสัมพันธ์ที่ตามกฎหมายเอกชน ตามหลักกฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีบุคคล6แล้ว กฎหมายที่มีผลใช้บังคับแก่กรณีก็คือ กฎหมายขัดกันของรัฐที่มีการกล่าวอ้างนิติสัมพันธ์ ซึ่งโดยหลักกฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีบุคคลนั้น กฎหมายที่มีผลใช้บังคับแก่บุคคลก็คือกฎหมายของเจ้าของสัญชาติของบุคคล หรือ กฎหมายที่มีผลใช้บังคับกับนิติสัมพันธ์ก็คือ กฎหมายแห่งถิ่นที่เกิดหรือถิ่นที่มีผลของนิติสัมพันธ์ หรือ กฎหมายที่ีมีผลใช้บังคับกับทรัพย์ก็คือ กฎหมายแห่งถิ่นที่ทรัพย์นั้นตัั้งอยู่ ดังนั้น การกำหนดสถานะทางกฎหมายของเครือข่ายสังคมออนไลน์จึงมีผลต่อการเลือกใช้กฎหมายเพื่อใช้บังคับแก่กรณี หากกรณีดังกล่าวเป็นนติติสัมพันธ์ของเอกชนที่มีลักษณะระหว่างประเทศ

.๓     ผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการไม่มีสถานะทางกฎหมายของเครือข่ายสังคมออนไลน์

         หากมีการปฎิเสธที่จะมีพิจารณาและกำหนดสถานะทางกฎหมายของเว็บไซต์ที่เป็นเครือข่ายสังคมออนไลน์ว่ามีสถานะเป็นอย่างใดเลย กล่าวคือ

         หากไม่ถือว่ามีสถานะทางกฎหมายเป็น "บุคคล" ทำให้เครือข่ายสังคมออนไลน์ไม่ถูกถือว่าเป็นผู้ทรงสิทธิ ที่จะได้รับการคุ้มครองหรือบังคับการให้เป็นไปตามสิทธิท่ี่พึงมี และเมื่อไม่อยู่ในสถานของบุคคลที่เป็นผู้ทรงสิทธิที่พึบมีหน้าที่ตามกฎหมายอันเกิดขึ้นจากการมีสิทธิ ย่อมส่งผลให้เครือช่ายสังคมออนไลน์ไม่มีหน้าตามกฎหมาย ทั้งในส่วนของหน้าที่ตามกฎหมายเอกชน และ กฎหมายมหาชน เช่น การเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมหรือภาษีเงินได้นิติบุคคล ย่ิงไปกว่านั้น ในทางข้อเท็จจริงย่อมมีความเป็นไปได้ที่เครือข่ายสังคมออนไลน์แห่งหนึ่งอาจจะตกอยู่ในสถานการณ์ของการถูกละเมิดหรือถูกกระทำจากการใช้อำนาจอธิปไตยของรัฐ เครือข่ายสังคมออนไลน์นัั้นย่อมไม่ได้รับการคุ้มครองทางการทูตจากรัฐเจ้าของสัญชาติของเครือข่ายสังคมออนไลน์ หรือ หากเครือข่ายสังคมออนไลน์ไปกระทำการหรือก่อให้เกิดความเสียหายกับผู้อื่นหรือกับเครือข่ายสังคมออนไลน์อื่น ก็จะมีปัญหาในการดำเนินคดีกับผู้กระทำความผิด

       หากไม่ถือว่ามีสถานะเป็นนิติสัมพันธ์

      หากไม่ถือว่ามีสถานะเป็นทรัพย์หรือทรัพย์สิน ย่อมทำให้เครือข่ายสังคมออนไลน์ไม่ใช่วัตถุแห่งสิทธิ หรือ วัตถุแห่งนิติสัมพันธ์

จะเห็นได้ว่า จากสถานการณ์อันเป็นผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการไม่รับรองและกำหนดสถานะทางกฎหมายของเครือข่ายสังคมออนไลน์ ย่อมจะส่งผลกระทบต่อการได้รับการคุ้มครองและบังคับการให้เป็นไปตามสิทธิ หน้าที่จากรัฐ รวมทั้ง รัฐเองก็อาจจะไม่ได้รับประโยชน์จากเครือข่ายสังคมออนไลน์หรืออาจจะถึงขั้นเสียประโยชน์ในด้านต่างๆ ทั้งโดยเฉพาะด้านเศรษฐกิจและการบังคับใช้กฎหมาย

หมายความว่า ในทางความเป็นจริงเกี่ยวกับความจำเป็นและผลกระทบที่จะเกิดขึ้นตามมาจากการที่ไ่มีารรับรองและกำหนด สถานะทางกฎหมายของเครือข่ายสังคมออนไลน์ ย่อมทำให้ มีความจำเป็นที่จะต้องมีการกำหนดสถานะทางกฎหมายให้กับเครือข่ายสังคมออนไลน์ คำถามต่อไปก็คือ หากจำเป็นต้องมีการกำหนดสถานะทางกฎหมายของเครือข่ายสังคมออนไลน์ ? จะกำหนดอย่างไร ? กำหนดว่ามีสถานะอย่างใด ? ด้วยเหตุผลอะไร ?

ดังนั้น เนื้อหาในส่วนต่อไปจะเป็นการนำเสนอถึง ความเป็นไปได้ของแนวทางในการกำหนดสถานะทางกฎหมายของเครือข่ายสังคมออนไลน์ โดยจะเริ่มอธิบายถึง แนวคิดดั้งเดิมที่ใช้ในการพิจารณา รับรองและกำหนดสถานะทางกฎหมายให้กับปรากฎการณ์หรือข้อเท็จจริง

.๔    แนวคิดทั่วไปในทางกฎหมายที่ใช้ในการพิจารณาเพื่อนำไปสู่แนวทางในการกำหนดและรับรองสถานะของเครือข่ายสังคมออนไลน์

๑.๔.๑ การพิจารณาในสถานการณ์ทั่วไป เป็นแนวคิดเกี่ยวกับการพิจารณา "ความเป็น" ของเครือข่ายสังคมออนไลน์เพื่อนำไปสู่การรับรองและกำหนดสถานะของเครือข่ายสังคมออนไลน์ โดยพิจารณาจากลักษณะตามธรรมชาติของเครือข่ายสังคมออนไลน์

ในทางหลักนิติศาสตร์นั้น การพิจารณาเพื่อนำไปสู่การรับรองและกำหนดความเป็นของปรากฎการณ์หรือข้อเท็จจริงอย่างใดอย่างหนึ่งนั้นย่อมต้องพิจารณาจากลักษณะตามธรรมชาติที่ปรากฎอยู่ โดยข้อเท็จจริงที่เป็นลักษณะตามธรรมชาติดังกล่าวต้องได้รับการยอมรับเป็นการทั่วไปจากสังคมถึงความมีอยู่จริงหรือไม่อาจะโต้แย็งเป็นอย่างอื่นได้ถึงลักษณะตามธรรมชาติดังกล่าว

ในกรณีที่กฎหมายกำหนดและรับรองสถานะว่าเป็น บุคคลธรรมดา นั้น กฎหมายเพียงแค่รับรองถึงความมีอยู่จริงของเท็จจริงตามธรรมชาติของความเป็นมนุษย์ และ ข้อเท็จจริงของความเป็นมนุษย์ต้องได้รับการยอมรับเป็นการทั่วไปจากสังม ซึ่งอาจจะมีการจำแนกลักษณะหรือองค์ประกอให้ชัดเจนมากขึ้นก็ซึ่งก็อาจจะพิจารณาจากวิชาความรู้ในด้านการแพทย์ในการกำหนดลักษณะหรือองค์ประกอบ อย่างไรก็ตาม ก็ไม่อาจจะกำหนดลักษณะหรือองค์ประกอบที่ขัดแย้งกับสังคมโดยทั่วไปได้

เช่นเดียวกับ การกำหนดกฎหมายกำหนดและรับรองสถานะเป็น นิติสัมพันธ์ หรือ ทรัพย์ ในทางหลักทั่วไปแล้ว กฎหมายไม่อาจจะกำหนดและรับรองสถานะที่ขัดแย้งหรือแตกต่างไปจากลักษณะตามธรรมชาติที่ปรากฎอยู่และความเข้าใจของสังคม รวมทั้ง การยอมรับจากสังคมได้

โดยหากพิจารณาจากลักษณะตามธรรมชาติของเครือข่ายสังคมออนไลน์ โดยอาศัยจากการศึกษาถึงแนวทางการให้คำจำกัดความจากสังคมศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และ เทคโนโลยี และ นิเทศศาสตร์ สื่อสารมวลชน

๑.๔.๒ การพิจารณาเพื่อรับรองและกำหนดในสถานการณ์ที่เป็นข้อเท็จจริงหรือปรากฎการณ์พิเศษ เป็นแนวคิดในการรับรองและกำหนดสถานะของเครือข่ายสังคมออนไลน์โดยอาศัยองค์ประกอบในทางนิติศาสตร์

เมื่อสังคมมีการเติบโตและมีความซับซ้อนมากขึ้น จะพบว่ามีสถานการณ์หรือข้อเท็จจริงที่ไม่สามารถอธิบายโดยอธิบายจากข้อเท็จจริงตามธรรมชาติลำพังอย่างเดียว ซึ่งจำเป็นต้องอาศัยเหตุผลในทางนิติศาสตร์หรือเหตุผลในทางเทคนิคที่เฉพาะเจาะจงเข้ามาช่วยในการอธิบายถึงข้อเท็จจริงหรือปรากฎการณ์พิเศษเหล่านั้นๆเพื่อทำให้สามารถนำไปสู่ผลในทางกฎหมายและเป็นไปเพื่ออำนวยความยุติธรรมให้กับสังคม ดังนั้น ภายใต้หลักกฎหมายทั่วไปในการรับรองและกำหนดสถานะของข้อเท็จจริงหรือสถานการณ์ซึ่งต้องสอดคล้องกับข้อเท็จจริงตามธรรมชาติและการยอมรับทั่วไปในสังคม ก็อาจจะมีการรับรองและกำหนดสถานะทางกฎหมายให้กับข้อเท็จจริงหรือปรากฎการณ์พิเศษดังกล่าวได้

เมื่อย้อนกลับไปพิจารณาถึงหลักกฎหมายทั่วไป ประวัติศาสตร์กฎหมายและกฎหมายที่มีผลใช้บังคับอยู่ทั้งที่เป็นกฎหมายภายในและกฎหมายระหว่างประเทศ พบว่า

(๑) การกำหนดสถานะทางกฎหมายให้กับข้อเท็จจริงหรือปรากฎการณ์ในกรณีพิเศษต่างๆนั้น เป็นการ "พัฒนา" สถานะขึ้นโดยพิจารณาจากองค์ประกอบพื้นฐานที่ปรากฎอยู่ในข้อเท็จจริงหรือปรากฎการณ์พิเศษ โดยพิจารณาด้านองค์ประกอบอันเป็นข้อเท็จจริงหรือปรากฎการณ์ในส่วนที่เป็นสาระสำคัญหลักที่ประกอบอยู่ในสถานการณ์พิเศษนั้นว่ามีลักษณะใด มีความสัมพันธ์หรือสอดคล้องกับลักษณะตามธรรมชาติของสถานะทางกฎหมายในสถานการณ์ทั่วไปอย่างใด ซึ่งการพิจารณาองค์ประกอบดังกล่าว อาจจะพิจารณาจากเจตนาหรือเป้าหมายของการเกิดขึ้นของปรากฎการณ์หรือข้อเท็จจริงนั้นๆ หรือ อาจจะพิจารณาจากความมีผลหรือผลที่เกิดขึ้นจากปรากฎการณ์หรือข้อเท็จจริงที่กำลังพิจารณาอยู่นั้นก็ได้

(๒) ในการพิจารณาเพื่อรับรองว่ามีสถานะแนวทางในการพิจารณา รับรองและกำหนดสถานะอย่างใดอย่างหนึ่งให้กับข้อเท็จจริงหรือปรากฎการณ์ในสถานการณ์พิเศษนั้นมีความสัมพันธ์กับกฎหมายที่ใช้หรือมีผลต่อการกำหนดสถานะจะเกิดขึ้นโดยการกำหนดของกฎหมายเอกชน และ กฎหมายมหาชน

ดังนั้น ในส่วนของการพิจารณาในส่วนนี้ จึงพิจารณาร่วมกับประเด็นของกฎหมายที่มีผลใช้กับการจำแนกองค์ประกอบด้วย กล่าวคือ

ลักษณะที่ ๑ การรับรองและกำหนดสถานะให้กับข้อเท็จจริงหรือปรากฎการณ์พิเศษโดยมุ่งประสงค์ที่จะเข้าไปคุ้มครองความสัมพันธ์ระหว่างเอกชนด้วยกันเอง ซึ่งหมายถึง นิติสัมพันธ์ในทางแพ่งระหว่างเอกชนกับเอกชน ซึ่งรัฐจะใช้กฎหมายเอกชนภายในของตนเองในการกำหนดและรับรองสถานะให้กับข้อเท็จจริงหรือปรากฎการณ์ในกรณีพิเศษกรณีนี้

ยกตัวอย่างเช่น ในประเด็นของการกำหนดสถานะความเป็นนิติบุคคลตามกฎหมายเอกชน การกำหนดเรื่องความสามารถของนิติบุคคล

การพัฒนาระบบทรัพย์สินทางปัญญา

ลักษณะที่ ๒ การกำหนดและรับรองสถานะให้กับข้อเท็จจริงหรือปรากฎการณ์พิเศษโดยมุ่งประสงค์คุ้มครองความปลอดภัยมั่นคงภายในของประเทศ หรือ ประโยชน์สาธารณะ เป็นความสัมพันธ์ระว่างรัฐกับเอกชน หรือ รัฐกับรัฐ กรณีดังกล่าวนี้เป็นนิติสัมพันธ์ของเอกชนตามกฎหมายมหาชน ซึ่งกฎหมายที่มีผลต่อการพิจารณา รับรองและกำหนดสถานะให้กับข้อเท็จจริงหรือปรากฎการณ์ก็คือ กฎหมายมหาชนของรัฐคู่กรณีตามหลักกฎหมายระหว่างประเทศ

ยกตัวอย่างเช่น การกำหนดสถานะบุคคลบนพื้นที่สูงของกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย

การกำหนดองค์ประกอบความเป็นต่างด้าวของนิติบุคคลที่จะมาประกอบธุรกิจในประเทศไทย โดยผลของกฎหมายว่าด้วยการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว

ในที่สุดแล้ว จะเห็นได้ว่า ไม่ว่าจะอย่างไรก็ตาม การใช้อำนาจอธิปไตยของรัฐเพื่อพิจารณา รับรองและกำหนดสถานะทางกฎหมายให้กับข้อเท็จจริงหรือปรากฎการณ์ในกรณีพิเศษนั้น หากพิจารณาจากหลักกฎหมายระหว่างประเทศเกี่ยวกับบ่อเกิดของกฎหมายระหว่างประเทศ รวมทั้ง หลักกฎหมายระหว่างประเทศเกี่ยวกับการใช้อำนาจอธิปไตยของรัฐต่อประชากรและเหนือดินแดนอันเป็นอาณาเขตของรัฐ และ การบังคับตามคำพิพากษาของศาลในต่างประเทศตามหลักกฎหมายระหว่างประเทศที่หากจะได้รับการรับรองและบังคับตามคำพิพากษาของศาลในต่างประเทศ การพิจารณาเพื่อกำหนดและรับรองสถานะเป็นอย่างใดอย่างหนึ่งนั้นของกฎหมายภายในของรัฐ จึงไม่อาจจะขัดแย้งหรือไม่สอดคล้องกับจารีตประเพณีระหว่างประเทศ หลักกฎหมายทั่วไปของกฎหมายระหว่างประเทศได้

คำถามสำคัญต่อมาก็คือ แล้ว "เครือข่ายสังคมออนไลน์" ควรมีสถานะทางกฎหมายหรือไม่ ? หากจำเป็นต้องมี ในสายตาของกฎหมายระหว่างประเทศ จะพิจารณาว่า เว็บไซต์ที่เป็นเครือข่ายสังคมออนไลน์มีสถานะทางกฎหมายเป็นอย่างไร ? และ ประเทศไทยในฐานะที่มีอำนาจปธิปไตยจะเป็นที่จะต้องเห็นสอดคล้องกับในทางระหว่างประเทศหรือไม่ ? หากเห็นว่าจำเป็นจะต้องกำหนดสถานะทางกฎหมายของเว็บไซต์ที่เป็นเครือข่ายสังคมออนไลน์ ประเทศไทยจะพิจารณา รับรองและกำหนดสถานะของเครือข่ายสังคมออนไลน์เป็นอะไร ? และจะใช้กฎหมายอะไรในการกำหนดสถานะทางกฎหมาย ?

.๕   ความเป็นไปได้ของการพัฒนาแนวคิดในการกำหนดสถานะทางกฎหมายของเครือข่ายสังคมออนไลน์ มีเนื้อหาในรายละเอียดของ ๒ เรื่องคือ (๑) การจำแนกข้อเท็จจริงอันเป็นองค์ประกอบตามธรรมชาติของเครือข่ายสังคมออนไลน์ และ (๒) การจำแนกองค์ประกอบโดยอาศัยแนวคิดทางกฎหมาย

..๑  การจำแนกข้อเท็จจริงอันเป็นองค์ประกอบของเครือข่ายสังคมออนไลน์ที่มีอยู่

เพื่อทำให้เห็นถึง "ความเป็นไปได้" ในการพัฒนาแนวคิดในการกำหนดสถานะทางกฎหมายของเครือข่ายสังคมออนไลน์ ซึ่งความเป็นไปได้ของการพัฒนาแนวคิดนี้จำเป็นที่จะต้อง (๑)​ สอดคล้องกับข้อเท็จจริงอันเป็นองค์ประกอบที่มีอยู่ตามธรรมชาติของเครือข่ายสังคมออนไลน์ อีกทั้ง (๒) ได้รับการยอมรับเป็นการทัั่วไปจากสังคมถึงลักษณะตามธรรมชาติอันเป็นองค์ประกอบที่ใช้ในการพิจารณาเพื่อรับรองและกำหนดสถานะนั้น และ (๓) โอกาสที่จะ

(๑) ข้อเท็จจริงอันเป็นองค์ประกอบพื้นฐานที่จำเป็นเพื่อใช้เป็นฐานความคิดในการพิจารณา รับรองและกำหนดสถานะทางกฎหมายของเครือข่ายสังคมออนไลน์ เป็นการพิจารณาจาก (๑) ข้อเท็จจริงตามธรรมชาติ และ (๒) ข้อเท็จจริงตามหลักเกณฑ์ทางนิติศาสตร์

(๑) ลักษณะความเป็นตามธรรมชาติ การปรากฎตัวของเครือข่ายสังคมออนไลน์ สามารถพิจารณาได้จาก ข้อเท็จริงของการปรากฎตัวของเครือข่ายสังคมออนไลน์ ซึ่งหากพิจารณาจากข้อเท็จจริงตามธรรมชาติของเครือข่ายสังคมออนไลน์จะพบข้อเท็จจริงอันเป็นองค์ประกอบของเครือข่ายสังคมออนไลน์

เครือข่ายสังคมออนไลน์ หมายถึง ปรากฎการณ์ของการรวมตัวกันของบุคคลในรูปของเครือข่ายทางสังคมที่อาจเกิดขึ้นจากความสนใจที่ตรงกัน หรือ เป้าหมายเฉพาะอย่างใดอย่างหนึ่ง โดยใช้เทคโนโลยีในรุปแบบต่างๆที่มีการเชื่อต่อกับระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ทั้งนี้ สมาชิกในเครือข่ายสังคมออนไลน์จะมีกิจกรรมทางสังคมอย่างต่อเนื่องโดยถือว่าเป็น ชีวิตเสมือนที่ ๒ ของตนเอง (Second life) โดยสมาชิกในเครือข่ายสังคมออนไลน์จะมีการนำเสนอและแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารที่อยู่ในรูปของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ระหว่างสมาชิกในเครือข่ายสัวคมออนไลน์ โดยข้อมูลเหล่านั้นอาจจะไม่มีมูลค่าในทางเศรษฐกิจ หรือ มีมูลค่าในทางเศรษฐกิจก็ได้

..การพิจารณาองค์ประกอบของเครือข่ายสังคมออนไลน์โดยวิเคราะห์จากหลักเกณฑ์ทางนิติศาสตร์

ในแง่ของข้อเท็จจริง จะพบว่า เครือข่ายสังคมออนไลน์ เป็นปรากฎการณ์หรือข้อเท็จจริงที่มีการรวมตัวของสมาชิกในเครือข่ายอินเทอร์เน็ตในเว็บไซต์ที่ให้บริการแบบเครือข่ายสังคมออนไลน์เป็นลักษณะของเครือข่ายทางสังคมในระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ซึ่งสมาชิกเครือข่ายสังคมออนไลน์จะเชื่อมต่อเข้าสู่สังคมออนไลน์ที่ตนเองเป็นสมาชิกได้จากอุปกรณ์ที่หลากหลายผ่านทางแอพพลิเคชั่น โดยสมาชิกในเครือข่ายสังคมออนไลน์จะมีกิจกรรมทางสังคมในรูปแบบต่างๆในฐานะที่เป็นชีวิตที่สองของตน ซึ่งสมาชิกในเครือข่ายสังคมออนไลน์จะได้รับสิทธิในใช้พื้นที่ในการเก็บข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ ทั้งนี้สมาชิกในเครือข่ายสังคมออนไลน์จะมีการก่อนิติสัมพันธ์ในลักษณะต่างๆระหว่างสมาชิกกับสังคมออนไลน์หรือระหว่างสมาชิกในเครือข่ายเดียวกันหรือระหว่างเครือข่ายสังคมอออนไลน์อีกสังคมหนึ่ง ทั้งนี้ เครือข่ายสังคมออนไลน์แห่งหนึ่งอาจมีการกำหนดกฎเกณฑ์หรือมาตรการในการกำกับดูแลสมาชิกในเครือข่ายภายในสังคมออนไลน์ของตนเอง รวมไปถึง การกำหนดมาตรการในการบังคับการให้เป็นไปตามกฎเกณฑ์หรือมาตรการดังกล่าวด้วย

หากพิจารณาในแง่ขององค์ประกอบโดยใช้หลักเกณฑ์ทางนิติศาสตร์ จะพบว่า เครือข่ายสังคมออนไลน์ มีองค์ประกอบสำคัญดังนี้

() องค์ประกอบด้านสมาชิกของเครือข่าย โดยเครือข่ายสังคมออนไลน​์เป็นการรวมตัวกันของสมาชิก7ของเครือข่ายสังคมออนไลน์ กลายเป็น กลุ่มบุคคลที่เป็นเครือข่ายทางสังคมที่เป็นกลุ่มเครือข่ายทางสังคมเสมือนจริงในระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต

() องค์ประกอบด้านนิติสัมพันธ์ ทั้งนี้ โดยสมาชิกแต่ละรายจะเข้ามาดำเนินชีวิตหรือมีการดำเนินกิจกรรมทางสังคมที่มีลักษณะเป็น "นิติสัมพันธ์" โดยมีการก่อนิติสัมพันธ์ระหว่างสมาชิกกับเครือข่ายสังคมออนไลน์ ระหว่างสมาชิกกับสมาชิกในเครือข่ายสังคมออนไลน์ หรือ ระหว่างสมาชิกต่างเครือข่ายสังคมกัน หรือ ระหว่าง เครือข่ายสังคมออนไลน์แห่งหนึ่งกับเครือข่ายสังคมออนไลน์อีกแห่งหนึ่ง

() องค์ประกอบด้านวัตถุแห่งนิติสัมพันธ์ องค์ประกอบนี้เป็นองค์ประกอบเฉพาะในเครือข่ายสังคมออนไลน์ที่เป็นเครือข่ายสังคมของการก่อนิติสัมพันธ์ที่มีผลต่อการเคลื่อนไหวในทรัพย์สินอิเล็กทรอนิกส์ในระหว่างสมาชิกในเครือข่ายสังคมออนไลน์

() องค์ประกอบด้านการกำหนดกฎเกณฑ์และการบังคับการตามกฎเกณฑ์ นอกจากองค์ประกอบด้านสมาชิกและองค์ประกอบด้านนิติสัมพันธ์แล้ว เครือข่ายสังคมออนไลน์แต่ละแห่งจะมีการกำหนดกฎเกณฑ์ในการดูแล บริหารจัดการ ทั้ง การจัดการระบบสมาชิกในเครือข่าย การจัดการความสัมพันธ์ระหว่างสมาชิกในเครือข่าย รวมทั้ง การจัดการความสัมพันธ์ระหว่างเครือข่ายสังคมของตนกับอีกแห่งหนึ่ง

.๖  ประเด็นข้อโต้แย้งที่เกิดขึ้นจากประเด็นในการกำหนดสถานะของเครือข่ายสังคมออนไลน์

ย่างไรก็ตาม ก็มีความเป็นไปได้เช่นกันว่า ในทางข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการยอมรับถึงความมีอยู่ของเครือข่ายสังคมออนไลน์ ก็อาจจะถูกปฏิเสธถึงความมีอยู่ของเครือข่ายสังคมมออนไลน์ และ อาจส่งผลต่อการปฎิเสธที่จะรับรองและกำหนดสถานะของเว็บไซต์ที่มีลักษณะเป็นเครือข่ายสังคมออนไลน์

การถูกฏิเสธดังกล่าวอาจเกิดขึ้นได้ใน ๒ รูปแบบ กล่าวคือ (๑) การปฏิเสธ หรือ การไม่ยอมรับจากสังคมหรือองค์กร และ (๒) การถูกปฏิเสธหรือไม่ยอมรับจากฎหมายบ้านเมือง (Posituve Law) ที่เป็นกฎหมายลายลักษณ์อักษร โดยการปฎิเสธหรือการไม่ยอมรับอาจเกิดขึ้นได้ใน ๒ ลักษณะ กล่าวคือ (๑) การปฏิเสธถึงการมีอยู่หรือการปรากฎตัวของเครือข่ายสังคมออนไลน์ ซึ่งเป็นการปฎิเสธหรือไม่ยอมรับอย่างชัดแจ้ง หมายถึง การที่มีการปฏิเสธหรือไม่ยอมรับในความมีอยู่ของเครือข่ายสังคมออนไลน์ รวมทั้ง การปฎิเสธหรือไม่ยอมรับในการกระทำที่เกิดขึ้นจากเครือข่ายสังคมออนไลน์ หรือ (๒) การไม่ยอมรับหรือการปฏิเสธถึงผลของการกระทำหรือความมีผลที่เกิดขึ้นจากเครือข่ายสังคมออนไลน์ เป็นการปฏิเสธหรือการไม่ยอมรับโดยปริยาย ซึ่งเป็นการปฏิเสธหรือการไม่ยอมรับให้มีการใช้งานหรือการเข้าถึงเครือข่ายสังคมออนไลน์ รวมทั้ง การปฎิเสธหรือไม่ยอมรับในผลที่เกิดขึ้นจากเครือข่ายสังคมออนไลน์


1ความแตกต่างระหว่าง Cloud Computing กับ Hosting ประเภทต่างๆ เช่น Application Hosting หรือพื้นที่ให้บริการโปรแกรมประยุกต์, Web Hosting หรือพื้นที่ให้บริการเว็บไซต์, File Hosting หรือพื้นที่ให้บริการจัดเก็บไฟล์ข้อมูลนั้น อยู่ตรงที่ Cloud Storage มี อิสร

หมายเลขบันทึก: 507778เขียนเมื่อ 6 พฤศจิกายน 2012 09:32 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 ธันวาคม 2012 15:22 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท