ผลงานวิทยานิพนธ์ สะท้อน คุณภาพอาจารย์ที่ปรึกษา และเกียรติภูมิ ชื่อเสียง ของสถาบัน


"... ผลงานวิทยานิพนธ์ คือ กระจกเงาสะท้อน บทบาทการเป็นอาจารย์ที่ปรึกษา นำมาซึ่ง เกียรติภูมิ และ ชื่อเสียงของสถาบัน...ที่ซ่อนตัวอยู่ในวิทยานิพนธ์ เล่มนั้น...ว่า มีคุณค่าพอ มีคุณประโยชน์พอ ...ฤๅ ว่าเป็นเพียง ...พระอันดับ สีเขียว สีน้ำเงิน เรียงราย อยู่บนชั้นหนังสือ ในห้องสมุด...."

วันอาทิตย์ที่ 28 ตุลาคม 2555 ...เป็นวันหยุดสัปดาห์สุดท้ายของเดือน  ที่ยังคงมานั่งทำงานเพื่อ ทำคะแนน ตัดเกรด และเตรียมเนื้อหารายวิชาที่จะสอน สำหรับการเปิดเทอมใหม่ ในสัปดาห์หน้า .... หลังจากสะสางงานลุล่วง ... ตัดสินใจ เข้ามา รำลึก .... ย้อนอดีต  กันอีกวาระหนึ่ง.... สำหรับ การเรียนวิชา Reseasrch I ที่ได้สาธยาย ไว้ ในครั้งที่แล้ว....

รายละเอียดเนื้อหาการเรียนการสอนวิชา วิจัยเบื้องต้นนี้  ท่าน รศ.ดร.ศิริเดช สุชีวะ ได้จัดสรรเวลา วางแผนการสอนเป็นไปอย่างลงตัว และ ต่อเนื่อง  โดยรวม เนื้อหา จะเน้นไปที่ เทคนิควิธีวิจัย  ... ที่อาจารย์ ท่าน นำลำดับหัวข้อในการดำเนินงานวิจัย มาเป็นโจทย์ที่ตั้ง ในหัวข้อ หรือเป็นประเด็นในการสอน แต่ละครั้ง แต่ละเรื่องราว  เริ่มจาก "การกำหนดปัญหาการวิจัย" (research question) หรือปัญหานำการวิจัย / คำถามการวิจัย / โจทย์การวิจัย...ซึ่งการจะตั้งปัญหาการวิจัยอย่างไรนั้น ผู้ทำวิจัยควรมีความชัดเจนว่า อยากรู้อะไร โดยประมวลความรู้จากแหล่งต่างๆ และใช้เวลาในการคิด วิเคราะห์เพื่อให้ประเด็นปัญหามีความกระชับชัด ลุ่มลึกตรงกับความสนใจ เงื่อนไขและทรัพยากรที่จะนำมาใช้ในการวิจัยได้  นอกจากนี้ ปัญหาการวิจัยยังเป็นตัวกำหนดระเบียบวิธีที่ใช้  การกำหนดปัญหาการวิจัยจึงมีความสำคัญเป็นอันดับแรก  ที่ท่านอาจารย์ ศิริเดช พยายามให้ความสำัคัญ ในลำดับต้น ๆ

.... ถ้ามาพิจารณาทบทวน สถานการณ์ ในปัจจุบัน ... เรามักจะพบ ข้อสังเกตุ อย่างหนึ่งว่า  "โจทย์วิจัย"    ที่ผุดขึ้นมา ผุดขึ้นมา ในแต่ละที่ แต่ละแห่ง นั้น... นำมาซึ่ง ประโยชน์ ในเชิงวิชาการ อย่างแท้จริงหรือไม่...???  นำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ ต่อสังคม มากน้อยเพียงใด.... ฤๅ เป็นเพียง  ทำไปตามกระบวนการเรียนการสอน เพื่อให้มีผลงานวิจัย ออกมา ให้เรียนจบตามหลักสูตร ... แล้วก็นำไปวางเป็นพระอันดับ สีเขียว สีน้ำเงิน เรียงราย อยู่ตามชั้นวางหนังสือ ในห้องสมุด ของสถาบันอุดมศึกษา ทั่วประเทศ   ถูก บ้าง ผิดบ้าง  ก็ว่ากันไป .... บางเล่ม อ่านแล้ว ประเมิน คุณภาพ ได้ ไม่ยากเย็นนัก........ และนั่นคือ กระจกเงาสะท้อน อาจารย์ที่ปรึกษา และ สถาบัน อย่างชัดแจ้งเลยก็ว่าได้.....

.... ( ส่วนตัวผู้เขียนเอง ... มีประสบการณ์ ในการได้รับรู้ เรียนรู้ บทบาทของ "การเป็นอาจารย์ที่ปรึกษา" วิธีให้คำปรึกษาการดำเนินงานวิจัยให้กับนักศึกษา ของสถาบันอุดมศึกษาแห่งหนึ่งในเมืองหลวง...... นับจากกระบวนการเรียนการสอนวิชา "วิจัย" วิธีการแนะนำให้ นักศึกษาค้นคว้าหาข้อมูล ตลอดจน กระบวนการให้นักศึกษา ได้ลงทำงานวิจัยของตนเอง จริงๆ ... ตลอดรวมทั้ง สิ่งที่สำคัญคือ " การสื่อสารเพื่อสร้างสัมพันธภาพที่ดี ระหว่าง อาจารย์ที่ปรึกษา และ นักศึกษาผู้เรียนรู้และทำวิจัย  .... ทั้งสิ้นทั้งปวง ที่กล่าวมานี้ ... นำมาซึ่งความสำเร็จ หรือ ความล้มเหลว อย่างยั่งยืน ได้ไม่น้อยที่เดียว ... เรื่องนี้ มีเรื่องเล่า เป็น "มหากาพย์"  เลยก็ว่าได้... ซึ่งมีทั้งเรื่องน่าภาคภูมิใจ และ ความน่าห่วงใย อยู่ไม่น้อย เช่นกันค่อยหาเวลา เล่าสู่กันฟัง อีกครั้งหนึ่ง  เพื่อมิให้นอกเรื่องไปกันใหญ่)....

...หัวข้อที่สำคัญ ลำดับต่อมา ที่อาจารย์ ในรายวิชา ให้ความสำคัญ คือ "การทบทวนวรรณกรรม" .... ในส่วนนี้ ... ท่านอาจารย์ศิริเดช ใช้วิธีการ ให้นิสิต ทุกคน ไป ตระเวน อ่าน สารพัด ศึกษาค้นคว้า อ่าน ... อ่าน ..  อ่าน .. อ่าน... แล้ว คิด วิเคราะ์ สังเคราะห์ มาเล่าสู่กันฟัง ..... นับได้ว่า  ด้วยเหตุนี้เอง ที่ทำให้นิสิต ทุกคน จะต้อง ไปศึกษาอ่านงานวิจัย ของค่ายสถาบันอื่นๆ ว่าเค้าำทำอะไรกัน....  นอกจากนี้ ยังได้ศึกษาไปถึง ระเบียบวิธีวิจัย ในลักษณะ ต่างๆ ไปด้วยในตัว..... 

วิธีการเรียนการสอนแบบนี้  ถือว่า  ได้ประโยชน์ มากทีเดียว สำหรับผู้เขียน....เพราะ นำมาซึ่งประโยชน์ อย่างยั่งยืน ในระยะยาว  เมื่อลงงานวิจัยของตนเอง จริงๆ  .....   เอาหละ.... เริ่มจะยืดยาว...ไป อีกแล้ว ก็ยังคงวนเวียน อยู่กับ วิชา Research I   อยู่เลย .... ยังมีอีกมากมาย เป็น มหากาพย์  อีกเช่นกัน.......ติดตาม ในโอกาส ต่อไปนะคะ..........สวัสดี

 

หมายเลขบันทึก: 507027เขียนเมื่อ 28 ตุลาคม 2012 16:20 น. ()แก้ไขเมื่อ 3 กันยายน 2013 14:24 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

ตั้งโจทย์ไว้ สะท้านวงการอุดมศึกษา ทีเดียวครับ ;)...

....ประสบการณ์ ในการได้เป็นที่ปรึกษา งานวิจัย ให้กับนักศึกษา มหาบัณฑิตสถาบันราชภัฏแห่งหนึ่งในเมืองหลวง...ก็น่าเศร้าใจยิ่งนัก ... ในการได้รับรู้ รับเห็น กระบวนการให้คำปรึกษา กระบวนการให้นักศึกษา ทำวิจัย หลับหู หลับตา ทำไป แบบ ทำเสร็จแล้ว...นักศึกษาผู้นั้น ยังไม่เข้าใจเลยว่า "วิจัย คืออะไร" ...??

 

อ่านแล้ว น่าเศร้านะ... 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท