ห้องเรียนในฝัน..ที่ไม่ใช่ฝันเฟื่อง


ห้องเรียนในฝัน  ที่ไม่ได้ฝันเฟื่อง  ที่ครูอ้อยติดค้างว่าจะเขียน  นำมาเผยแพร่ความคิด  ความฝันให้ผู้อ่านได้รับรู้  มีลักษณะทางกายภาพ  และสิ่งแวดล้อม  ที่เอื้อต่อการเรียนรู้   ที่ไม่ได้หมายถึงห้องเรียนสี่เหลี่ยมผืนผ้า กว้าง 9 เมตร ยาว 11 เมตรเท่านั้น  สุดแล้วแต่ความต้องการของนักเรียนและครูผู้จัดการได้ตกลงพร้อมใจกันว่า....เราจะไปเรียนรู้อะไรกัน   ตั้งวัตถุประสงค์แต่ละคราวว่า   ภายในเวลาเท่านี้  เราจะต้องได้เรียนรู้อะไร  เมื่อเรียนจบแล้วนักเรียนเกิดการเรียนรู้อะไร  มีความสามารถอะไร  เผยแพร่ให้เพื่อนนักเรียนได้รู้ถึงการเรียนรู้และพัฒนา

*****

การเรียนรู้ตามสาระการเรียนรู้ของสาขาวิชา  ย่อมแตกต่างกันไป  สำหรับวิขาภาษาอังกฤษที่ครูอ้อยรับผิดชอบ  เป็นวิชาที่เป็นทักษะ คือ เครื่องมือ  นักเรียนต้องมีความสามารถเป็นพิเศษ  ประกอบกับ จะต้องมีคุณลักษณะนิสัยในการเรียนรู้  ควบคู่กันไปด้วย จึงจะเกิดผลสัมฤทธิ์ได้ดี

*****

ฝันของครูอ้อย  ยังเหมือน ตบมือข้างเดียว  นานๆทีจะมีเสียงแปะออกมา 1ทีด้วยไปปะทะกับมือนักเรียนบางคน  ที่รับและนำความรู้ไปใช้ได้  ตอบสนองความต้องการของหลักสูตรที่ให้นักเรียนพึงมี  นานๆทีจะมีเสียงอีกแปะๆ  ที่ไปปะทะกับมือของผู้ปกครองที่เห็นด้วยกับการจัดการความรู้ของครูอ้อย  ทุกวันนี้ยังปรบมือข้างเดียว รอคอยเสียงแปะอยู่เสมอ

*****

องค์ประกอบ หรือสิ่งแวดล้อม ของห้องเรียนในฝัน  ที่ต้องมีความอบอุ่นจากการแสดงออกของครูผู้สอน  อบอุ่นเสมือนเป็นบ้านหลังที่สองของนักเรียน  มีความสุขทุกครั้งที่เขาเข้ามาเรียน  สนุกสนานมีรอยยิ้มเสมอที่เรียนรู้ไปด้วยกัน  บางครั้งที่ครูอ้อยได้รับรู้จากนักเรียนที่เล่าสู่กันฟังมากกว่าที่จะให้นักเรียน...นั่งฟังครูอ้อยพูดคนเดียว

*****

เครื่องมือที่ใช้ในห้องเรียนในฝันสาขาวิชาภาษาอังกฤษ  น่าจะจะต้องมีแหล่งเรียนรู้เสมือนจริง  ให้นักเรียนได้สัมผัสด้วยการ ดู  การฟัง  การอ่าน  การเขียนจากความเชื่อมั่น และถูกต้อง  ครูอ้อยจะเป็นผู้ควบคุมเวลา  ที่จะปล่อยให้นักเรียนได้เรียนรู้จากแหล่งประสบการณ์  นำกลับมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้วยการซักถาม หรือการสัมภาษณ์ หรือการนำเสนอตามความคิดเห็นที่หลากหลายของนักเรียน

*****

ห้องเรียนในฝัน ของนักเรียนในสังกัด สพฐ.ยังต้องมีมุมประสบการณ์  ตามความสนใจ  มีมุมหนังสืออ่านสนุก  หนังสือค้นคว้า   หนังสืออ้างอิง  ที่ยังรอนักเรียนไปอ่านและนำกลับมาเขียนรายงานประกอบกับความรู้ที่ไปแสวงหามา   นักเรียนต้องรู้จักออกแบบการเรียนรู้ด้วยตนเอง  ซึ่งเรียกว่า สร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง  ตามกรอบ  หรือ  ออกจากกรอบที่ได้เรียนรู้ไปจากครูมาแล้ว

*****

ห้องเรียนในฝัน   ที่จะต้องผลิตนักเรียนที่มีคุณภาพ ทั้งมีความรู้  มีทักษะ และมีเจคติที่ดี  เป็นคนดีที่เป็นตัวอย่างทั้งด้านความคิด  การพูดและการปฏิบัติ  มีคุณสมบัติที่ดีที่สังคมต้องการที่มีแนวความคิดว่า...เพื่อส่วนรวมก่อนที่จะมาถึงตัวเอง  นั่นคือนักเรียนต้องมีจิตสาธารณะ  รักชื่อเสียงของวงศ์ตระกูล หมู่คณะและประเทศชาติ

*****

ห้องเรียนในฝันนี้  ผลิตนักเรียนออกไปหลายรุ่นแล้ว  และพวกเขาจะกลับมาแบบคืนสู่เหย้าด้วยความรัก ความอบอุ่น และซึ้งในคุณค่าแห่งการเรียนรู้ที่เขาได้รับ  และนำไปใช้ได้  ด้วยการฝึกปฏิบัติที่เป็นรูปธรรมที่เป็นจริงตามสภาพจริง...ย่อมเป็นความรู้ที่คงทนและยั่งยืน  นำไปสู่ความเจริญทั้งด้านความรู้  ความคิด  มีทักษะนำไปใช้จนเป็นเกียรติประวัติที่นำชื่อเสียงมาสู่สถาบัน.......มันคือ...ห้องเรียนในฝัน

หมายเลขบันทึก: 506994เขียนเมื่อ 28 ตุลาคม 2012 09:44 น. ()แก้ไขเมื่อ 5 พฤษภาคม 2014 15:25 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

สวัสดีครับ

มาเชียร์โรงเรียนในฝันด้วยจิตคารวะ

เห็นด้วยอย่างยิ่งค่ะ เพราะภาษาต้องมีการฝึกฝนบ่อยๆ ค่ะ

ขอบคุณทุกๆๆท่านที่เป็นกำลังใจค่ะ  Blank tuknarakBlank Jamlong NFE Kalasin, และ 5 คนอื่น.

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท