ผศ.ดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
ผศ.ดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์ อาจารย์ โทนี่ ปัญญโรจน์

การบริหารเวลา : ทำทันทีหรือททท.


ความคิดที่ดีๆของคนเรามากมาย ไม่สามารถออกมาเป็นรูปธรรมหรือออกมาเป็นผลงานได้ก็เนื่องมาจากการไม่ยอมที่จะลงมือทำทันที หลายคนนึกอยากที่จะเขียนหนังสือ อยากที่จะเขียนบทความ อยากที่จะเรียนต่อ แต่ก็ไม่สามารถที่จะทำได้ ก็เนื่องมาจากการผัดวันประกันพรุ่ง

การบริหารเวลา : ทำทันทีหรือททท.

โดย...ดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์

www.drsuthichai.com

                ความคิดที่ดีๆของคนเรามากมาย ไม่สามารถออกมาเป็นรูปธรรมหรือออกมาเป็นผลงานได้ก็เนื่องมาจากการไม่ยอมที่จะลงมือทำทันที หลายคนนึกอยากที่จะเขียนหนังสือ อยากที่จะเขียนบทความ อยากที่จะเรียนต่อ แต่ก็ไม่สามารถที่จะทำได้ ก็เนื่องมาจากการผัดวันประกันพรุ่ง

                การผัดวันประกันพรุ่ง การไม่ยอมที่จะลงมือทำทันทีนี้ทำให้เราเสียโอกาสที่สำคัญๆของชีวิตไป แต่สำหรับผู้ที่ประสบความสำเร็จส่วนใหญ่แล้ว เมื่อเขามีความคิดที่ดีๆ เขาจะเริ่มลงมือทำทันที ไม่ปล่อยให้โอกาสหรือความคิดที่ดีๆนั้นผ่านพ้นไป

                นักธุรกิจใหญ่ๆที่ประสบความสำเร็จ หลายๆท่านเมื่อเห็นโอกาสแล้ว เขาจะไม่รีรอที่จะเพิ่มกำลังการผลิต เขาไม่รีรอที่จะหาเครื่องทุ่นแรงมาช่วยเช่นเทคโนโลยีต่างๆ เขาจะสั่งซื้อและใช้เงินลงทุนทันที ตรงกันข้ามหลายๆคน  อยากที่จะเปิดร้านทำธุรกิจสักแห่ง ไม่ว่าร้านอาหาร ร้านขายเสื้อผ้า เขาจะคิดแล้วคิดอีก ในที่สุดก็ไม่สามารถเปิดร้านได้ เพราะมัวแต่เสียเวลากับการคิดแต่ไม่ยอมที่จะลงมือทำ

                ดังนั้น หากท่านต้องการประสบความสำเร็จไม่ว่าด้านใดด้านหนึ่ง ขอให้ท่านจงลงมือทำทันที ไม่ต้องรีรอ หากว่าท่านมั่นใจจงเริ่มลงมือทำ เพราะการลงมือทำจะทำให้ท่านเห็นผลงาน และเมื่อท่านเห็นผลงานท่านก็จะเกิดความภาคภูมิใจ อีกทั้งเกิดประสบการณ์ใหม่ๆ ตรงกันข้ามการชักช้า รีๆรอๆ มักจะทำให้ความกระตือรือร้นของท่านจืดจาง เมื่อเวลาผ่านไปท่านก็จะมีความรู้สึกไม่อยากที่จะทำมัน หลายๆท่านกลัวที่จะล้มเหลว อย่าได้กลัวมันเลยเจ้าความล้มเหลวนี่ เพราะความล้มเหลวจะสอนให้เราเก่งขึ้น ฉลาดขึ้น แข็งแกร่งขึ้นยิ่งกว่าเดิม

                การผัดวันประกันพรุ่งจึงเป็นอุปสรรคต่อการบริหารเวลา การผัดวันประกันพรุ่งไม่ได้เกิดจากสิ่งอื่นใดเลย แต่เกิดจากตัวของเราเองนี่แหละ เพราะตัวของเราเอง ชอบมีข้ออ้างและเหตุผลต่างๆ เช่น ยังมีเวลาอีกหลายวัน , เดี๋ยวค่อยทำ , พรุ่งนี้ค่อยทำ เป็นต้น

                หลายๆท่านเห็นงานที่มีมากแล้วไม่อยากลงมือทำ เช่น การเขียนหนังสือสักเล่มซึ่งมีจำนวน 200 หน้า ทำให้เกิดความรู้สึกที่ไม่อยากทำเพราะการจะเขียนหนังสือให้ครบ 200 หน้า ต้องใช้เวลานานหลายเดือน แต่เราสามารถทำได้โดยอาศัยเทคนิคดังนี้ คือ การซอยงานใหญ่ๆให้น่าทำขึ้น

                หากหนังสือของเรามี 200 หน้า เราสามารถแบ่งออกเป็นบทๆหรือตอนๆ ได้ไหม เมื่อเราแบ่งออกเป็น 20 บท หรือ20 ตอน เราก็จะได้บทหรือตอนละ 10 หน้า แล้วเราจึงเริ่มลงมือเขียนทีละตอน ทีละตอน จนได้หนังสือออกมาเป็นเล่ม

                การซอยงานใหญ่ๆ ให้น่าทำขึ้นหรือการแบ่งออกเป็นส่วนๆ ตอนๆ นี้ จะทำให้เราเกิดกำลังใจทำงาน กล่าวคือ เมื่อเราเขียนไปได้ 1 ตอนแล้ว เราก็อยากที่จะเขียนตอนต่อไป แทนที่จะปล่อยเวลาให้ช้าหรือคงค้างงานเอาไว้  

จงเพาะนิสัยทำทันทีหรือททท. แล้วท่านจะเป็นคนที่ประสบความสำเร็จ ดังคำพูดของ เดล คาร์เนกี ที่ว่า “เมื่อตัดสินใจแล้วปฏิบัติทันที จงลงมือทำเดี๋ยวนี้

หมายเลขบันทึก: 506953เขียนเมื่อ 27 ตุลาคม 2012 17:36 น. ()แก้ไขเมื่อ 27 ตุลาคม 2012 22:39 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

3ท.   เยี่ยมจริงๆๆค่ะ ท่าน

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท