ห้องเรียนในฝัน VS ห้องเรียนในความเป็นจริง


ห้องเรียนในฝัน

ในบันทึกครั้งนี้ ผู้เขียน ขออนุญาตแจ้งกับผู้อ่านว่า นี้คือ ความคิดเห็นโดยส่วนตัวล้วนๆๆ ครับ

ขออนุญาตเสนอความคิดของผมและข้อคิดเห็นในการพัฒนาการศึกษาไทยในสังคมไร้พรมแดน

 


 

     ในปัจจุบันที่ โลกแห่งเทคโนโลยีกำลังเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวัน ของคนสมัยใหม่มากยิ่งขึ้น Social network ประเภทต่างๆที่เข้ามา มีผลกระทบต่อการแข่งขัน ในทุกรูปแบบ ซึ่งผลที่ออกมาในทางสังคมศาสตร์ สอดคล้องกับหลักการทางวิทยาศาสตร์ที่ มีนักวิทยาศาสตร์เคยเสนอไว้ว่า การคัดสรรโดยธรรมชาติ จะส่งผลให้ผู้ที่แข็งแกร่งที่สุด และมีความสามารถในการปรับตัวมากที่สุด สามารถอยู่รอดได้....

     ในแง่ของการศึกษาจะสังเกตเห็นได้ชัดว่า มีการจัดการสอบแข่งขัน / การจัดอันดับคุณภาพการศึกษา ( โดยใช้ตัวชี้วัดที่ต่างกันออกไป) / การจัดโพลสำรวจ หรือแม้กระทั่งการวิจัย ทั้งหมดที่กล่าวมา ล้วนเกิดขึ้นอย่างแพร่หลาย ไม่ใช่เฉพาะสังคมของประเทศนั้นๆ แต่เกิดขึ้นทั้งโลก อย่างสากล ตัวอย่างเช่น การจัดอันดับสถาบันอุดมศึกษาโดยนิตยสารชื่อดัง (times) หรือ โดย QS world university ranking ไปจนกระทั่ง การจัดสอบ PISA ซึ่งจากการสังเกตโดยส่วนตัวพบว่า ไม่ว่าเราจะแข่งขันโดยตัวชี้วัดอะไรก็ตาม ผลที่ออกมามักไม่สอดคล้องกับงบประมาณที่ใช้ในด้านการศึกษาที่เพิ่มขึ้นทุกปี 

    ในบันทึกครั้งนี้ผมให้ความสำคัญกับการศึกษาในระดับ ปฐมวัย และ ประถมศึกษา เพราะเป็นจุดเริ่มต้น ของโลกของการศึกษา ...  จากอดีตจนปัจจุบันที่ครอบครัวให้ความสำคัญกับการศึกษาของบุตรหลาน เพราะเชื่อว่า การศึกษาสามารถพัฒนาคนได้ ในแง่นี้ผมเห็นด้วยเพียงครึ่งหนึ่ง เพราะในปัจจุบัน ไม่ว่าจะหลักสูตรการศึกษา/สถานศึกษา/บุคคลากร/สื่อการสอน/เนื้อหาวิชา/การบริการวิชาการ และอื่นๆ ไม่ปรับตัวไปพร้อมกับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นทุกเสี้ยววินาที 


ห้องเรียนในฝันควรเป็นอย่างไร

        การเรียนในห้องเรียนสี่เหลี่ยมขนาดเล็กที่มีจำนวนนักเรียนตั้งแต่ 10-20 คน ไปจนถึง 40-60 คนต่อหนึ่งห้องเรียน ผมมองว่าไม่ส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้ ที่ยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง และครูเป็นผู้อำนวยการ(เรียนรู้) ห้องเรียนที่ดีควรมีความยึดหยุ่น มีความเป็นอิสระ กล่าวคือ เด็กสามารถทำอะไรก็ได้ในห้องเรียนตามความเหมาะสมของบริบทในสถานการณ์ ..การที่จะให้นั่งจดๆๆจำๆๆ ไปวัน เชื่อว่า สักวันคงลืมและไม่ได้นำไปใช้.. Creative learning room สื่อการสอนที่เปิดกว้างให้ผู้เรียนสามารถศึกษาความรู้ภายนอกได้ เรียนรู้ได้จากทุกสิ่งที่เด็กสามารถค้นพบได้ด้วยตนเอง ซึ่งก็สอดคล้องกับนักจิตวิทยาและนักการศึกษาบางท่าน ที่เคยกล่าวว่า การที่เด็กที่ลงมือกระทำ ค้นพบความรู้ด้วยตนเอง นั้นคือการเรียนรู้.. โดยส่วนตัวผมมองว่าสิ่งที่รัฐบาลกำลังทำนั้นมาถูกทางแล้วคือการพัฒนาการเรียนโดยใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย แต่อยากขอให้ทำต่อเนื่องที่พัฒนาอย่าหยุดนิ่ง (หวังว่าจะเห็นผลเร็วๆๆนี้)  

 

จะมาเพิ่มเนื้อหาส่วนนี้ในวันพรุ่งนี้ครับ.....

หมายเลขบันทึก: 506911เขียนเมื่อ 27 ตุลาคม 2012 03:17 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 ธันวาคม 2012 18:30 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ห้องเรียน ไร้พรมแดน .....สุดแสนจะ ลั้งรอและเอาไม่อยู่นะคะ

ขอบคุณ ท่านมากนะคะที่ให้กำลังใจกับ หมอเปิ้ลนะคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท