ความรู้ที่ได้รับในการอบรมหลักสูตรวิธีวิทยาการวิจัยขั้นสูง


วิธีวิทยาการวิจัยขั้นสูง

 

สรุปประเด็นสำคัญในการเข้าอบรมหลักสูตรวิธีวิทยาการวิจัยขั้นสูงวันที่   24  เดือนตุลาคม  พ.ศ 2555  ณ  โรงแรมประจักษ์ตรา จังหวัดอุดรธานีมีรายละเอียดดังต่อไปนี้

                องค์ประกอบที่ทำให้ผลงานวิชาการผ่าน!

-ผู้ทำเป็นคนที่รักและศรัทธาในวิชาชีพของตน

-อ่านหนังสือมากๆ

-ทำจริงตามกระบวนการที่ถูกต้อง

-รวบรวมส่งขอผลงาน 

หัวใจหลักในการพัฒนาวิชาชีพ

-วิชาชีพ  คือ         วิชาการ+คุณธรรม  จริยธรรมและจรรยาบรรณของตนเอง

มุมมองของกรรมการตรวจผลงานทางวิชาการ

-ถูกต้อง                 -สมบูรณ์               

-ทันสมัย                -ความคิดสร้างสรรค์          

-ถูกหลักภาษา      -คำศัพท์                 -สอดคล้องกับวัฒนธรรมไทย

-จรรยาบรรณ

การพัฒนาผลงานวิชาการสู่ความเป็นเลิศ

-ใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเป็นแรงผลักดัน

-โดยให้วางแผน 3 แผนคือ               

แผน1 แผนการทำงานในหน้าที่ตามปกติ

แผน2 แผนการทำผลงานทางวิชาการที่ชัดเจน

แผน3 แผนชีวิตตั้งปณิธานต้องได้เชี่ยวชาญ

ความพอประมาณกับการทำวิจัย

-พอดีไม่มากเกินแต่ก็ไม่น้อยเกินไป(ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง/ขอบเขตการวิจัย

-ไม่เบียดเบียนผู้อื่น(-ผู้เชี่ยวชาญ/กลุ่มตัวอย่าง/ครอบครัว/นักเรียน/เพื่อนร่วมงาน/สถานศึกษา/ชุมชน

ความมีเหตุผลกับการทำวิจัย

-รู้จริง  อย่าแกล้งทำเป็นรู้ ถ้าไม่รู้ถามอากู๋ดูคุณย่า

-รู้ไว้ใช่ว่า ใส่บ่าแบกหาม

-มีความเข้มแข็งในการประมวลเอกสาร

การมีภูมิคุ้มกันที่ดีกับการทำวิจัย

-มีความยืดหยุ่น

-รู้เขารู้เรา  รบร้อยครั้งมิพ่าย

-ที่ปรึกษาดี  มีชัยไปกว่าครึ่ง

คุณธรรมกับการวิจัย

-ความเพียรกับการวิจัย (มีจิตวิญญาณของความทุ่มเท,อย่าทำ 3 ปี เว้น3 ปี ให้ทำทุกๆปีทำทุกวัน

-ความซื่อสัตย์ (การเก็บข้อมูล/วิเคราะห์ข้อมูล/เสนอแนะผลงาน,ทำเองไม่ได้จ้าง  จ้างในสิ่งที่ควรจ้าง)

ประโยชน์จากการวิจัย 4 ประการ

-สร้างองค์ความรู้

-สร้างดัชนีทางสังคม

-สร้างชุดเทคโนโลยีทางสังคม

-ชี้แนะการวางนโยบายแนวทางการพัฒนา

คุณลักษณะนักวิจัยที่พึงประสงค์

-เชี่ยวชาญ

-รอบรู้

-หลักการ

-คุณธรรม

จรรยาบรรณของนักวิจัย

สภาวิจัยแห่งชาติจึงกำหนด "จรรยาบรรณนักวิจัย"  ไว้เป็นแนวทางสำหรับนักวิจัยยึดถือปฏิบัติ เพื่อให้การดำเนินงานวิจัยตั้งอยู่บนพื้นฐาน ของจริยธรรมและหลักวิชาการที่เหมาะสม ตลอดจนประกันมาตรฐานของการศึกษาค้นคว้าให้เป็นไปอย่างสมศักดิ์ศรีและเกียรติภูมิของนักวิจัย

ไว้ 9 ประการดังนี้

-นักวิจัยต้องซื่อสัตย์และมีคุณธรรมในทางวิชาการและการจัดการ

-นักวิจัยต้องตระหนักถึงพันธกิจที่มีต่อข้อตกลงในการวิจัย ต่อหน่วยงานที่สนับสนุนการวิจัยและต่อหน่วยงานที่สังกัด

-นักวิจัยต้องมีพื้นฐานความรู้ในสาขาวิชาที่ทำวิจัย

-นักวิจัยต้องมีความรับผิดชอบต่อสิ่งที่ศึกษาวิจัยไม่ว่าจะเป็นสิ่งมีชีวิตหรือไม่มีชีวิต

-นักวิจัยต้องเคารพศักดิ์ศรี และสิทธิมนุษย์ที่เป็นตัวอย่างในการวิจัย

-นักวิจัยต้องมีอิสระทางความคิดโดยปราศจากอคติในทุกขั้นตอนของการทำวิจัย

-นักวิจัยต้องนำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ในทางที่ชอบ

-นักวิจัยต้องเคาระความคิดเห็นทางวิชาการของผู้อื่น

-นักวิจัยต้องมีความรับผิดชอบต่อสังคมทุกระดับ

(ที่มา : สำนักงานคณะกรรมการการวิจัยแห่งชาติ)

ข้อเสนอแนะการทำวิจัยเพื่อความเป็นเลิศ

-จงทำวิจัยด้วยใจรัก คลั่งใคล้ “Passion”

-จงทำวิจัยอย่างเต็มที่ ไม่ใช่ทำเพียงพอผ่าน

-ต้องคิดไตร่ตรองเพื่อปรับปรุงการวิจัยของตนเองอย่างสม่ำเสมอ

-ทำวิจัยอย่างปล่อยวางอย่างรู้เท่าทัน

-ต้องทำวิจัยอย่างมีจริยธรรม  อย่าใจร้อน  ด่วนได้

ศึกษากฎเกณฑ์การประเมินผลงานฯ

-ทำทุกอย่างให้ได้ตามข้อกำหนดที่เป็นสากล

-อย่าเขียนงานตามใจตนเองต้องตามใจคนตรวจ

-จะเปลี่ยนเกณฑ์เก่าเกณฑ์ใหม่เป็นเรื่องของการปฏิบัติ แต่ในเรื่องของวิชาการไม่ได้เปลี่ยน

-ส่งงานงานสองเรื่อง Content (เนื้อหา)ต้องไม่ซ้ำกันและMethodology (ระเบียบวิธี) ต้องต่างกัน

ความลึกซึ้งของงานวิจัยในแต่ละระดับ

What  (ระดับชำนาญการพิเศษ)

-การศึกษาการมีส่วนร่วมของชุมชนที่มีต่อการจัดการศึกษา

What+Why  (ระดับเชี่ยวชาญ)

-ปัจจัยที่ส่งผลต่อการมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการศึกษา

What + Why + How (ระดับเชี่ยวชาญพิเศษ)

-รูปแบบของการมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการศึกษา

ข้อชวนคิด

-นโยบาย                              

-ปฏิบัติการ                          

  -นามธรรม

รูปแบบการทำวิจัยขั้นเทพ

-Chapter1-Chapter2-Chapter3- Chapter4-Chapter5

องค์ประกอบของผลงานวิจัย โดย จตุผล เพชรวาด.2555

บทที่5    ดอกผล

บทที่4     ใบ

บทที่3    กิ่งก้าน

บทที่2    ลำต้น

บทที่1    ราก

การเขียนโครงร่างงานวิจัย   (สุมาลี  สังข์ศรี. 2553:189)

-กำหนดปัญหาการวิจัย 

(กำหนดปัญหา  กำหนดเรื่อง   

กำหนดวัตถุประสงค์คร่าวๆ)

-ทบทวนเอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

-กำหนดวัตถุประสงค์การวิจัย

-กำหนดสมมติฐานการวิจัย

-กำหนดตัวแปรในการวิจัย

-กำหนดวิธีการดำเนินการวิจัย (ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง   เครื่องมือในการวิจัย

วิธีเก็บรวบรวมข้อมูล    วิธีวิเคราะห์ข้อมูล)

องค์ประกอบการวิจัยที่มีความเป็นเลิศ       

  มี  3  องค์ประกอบ

-คุณภาพของหัวข้อการวิจัย (ความทันสมัย ,ไม่ซับซ้อนกับงานวิจัยในอดีต,เป็นสหสาขาวิชา )

-การประมวลเอกสารและวิธีวิจัยตามหลักวิทยาศาสตร์ที่ทำให้ได้มาตรฐานสูง                                                     (สามารถนำมาใช้ในการดำเนินการวิจัยในขั้นต่อไป,รูปแบบการวิจัยที่เป็นขั้นสูง,การประเมินคุณภาพโซ่ 7 ห่วง)

-ผลงานวิจัยมีประโยชน์ในวงกว้าง(พัฒนาบุคคลและสังคมในปัจจุบัน,พื้นฐานไปสู่                                                การประยุกต์ใช้ในอีกหลายปีต่อไป

การประเมินคุณภาพการวิจัย  (วงจรโซ่ 7 ห่วง)

-คุณภาพ ของปัญหาทางการวิจัย

-คุณภาพของการประมวลเอกสาร

-กลุ่มตัวอย่างเหมาะสม-คุณภาพของเครื่องมือวัดตัวแปร

-วิธีดำเนินการวิจัย

-การวิเคราะห์ข้อมูลเหมาะสม

-การตีความข้อมูลเหมาะสม

การกำหนดปัญหาการวิจัย

-สำคัญจริงหรือไม่ ควรทำวิจัยจริงหรือไม่

-ดูกฎหมายที่เกี่ยวข้องรัฐธรรมนูญ พ.ร.บ. แผนพัฒนาเศรษฐกิจแห่งชาติ นโยบายรัฐบาล

-สถานการณ์จริงๆมีหรือไม่ มีทฤษฎีหรือการวิจัย สนับสนุนหรือไม่

-ต้องมีการขยายความเต็มรูปแบบในบทที่ 2

การทบทวนวรรณกรรม  (Review of Literature)

                หมายถึงการศึกษา ตรวจสอบทฤษฏีและงานวิจัยต่างๆที่เกี่ยวข้องกับประเด็นปัญหา หัวข้อวิจัย ที่ต้องการศึกษา   บางครั้งสามารถใช้คำว่า การทบทวนเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง(Related Literature) มาใช้โดยมีความหมายเช่นเดียวกัน

ประโยชน์ของการทบทวนวรรณกรรม

                -ช่วยมิให้ทําวิจัยในเรื่องที่มีผู้ได้ทําการศึกษาวิจัยมาอย่างเพียงพอแล้ว

-ช่วยให้กําหนดปัญหาและสมมติฐานในการวิจัยได้ถูกต้องเหมาะสม

-ทราบถึงวิธีการศึกษาที่ทํามาในอดีตและช่วยให้ออกแบบงานวิจัยได้เหมาะสม

-ทําให้ทราบถึงปัญหาความยุ่งยากของการวิจัย

-ทําให้ทราบว่าแหล่งความรู้อยู่ที่ไหนบ้าง

-ช่วยเชื่อมโยงความสัมพันธ์ระหว่างข้อค้นพบในอดีตและเชื่อมโยง

ทฤษฎีแนวความคิดในอดีตกับข้อมูลปัจจุบัน ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการสะสมความรู้หลักการเลือกสํารวจเอกสารและงาน

การทบทวนวรรณกรรมที่ประสบความสำเร็จ

-ดูตัวอย่างที่ดีแล้วทำตามแบบ (ไม่ใช่ลอกเลียน)

-รู้จักคัดสรรสารสนเทศที่ศึกษานำมาเสนอ

  - ฝึกมากๆ  พร้อมแก้ไขข้อผิดพลาด

 - แก้ผิดโดยตนเอง และโดยผู้เชี่ยวชาญ

-มีความพร้อมและมุ่งมั่นสู่ความสำเร็จ

สิ่งที่ควรปรากฏหลังการทบทวนวรรณกรรม

- นิยามปฏิบัติการของตัวแปร

- กรอบแนวคิดของการวิจัย

- สมมุติฐานของการวิจัย

                ตัวอย่างข้อผิดพลาดที่พบ

                                -ทบทวนไม่ตรงหัวข้อการวิจัย

-ไม่มีการตั้งหัวข้อที่เป็นความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร

-ทบทวนแบบขนมชั้น

-ทบทวนแบบมีหัวข้อผี

-ทบทวนแบบเขียนตำรา

- แยกงานวิจัยออกจาก แนวคิด ทฤษฎี

- ไม่ได้สรุปเชื่อมโยงสู่งานวิจัยที่จะทำ  ฯลฯ

เคล็ดลับในการทบทวนวรรณกรรม

-ค้นหาเจ้าสำนักหรือศิษย์พี่ใหญ่ของตัวเองให้ได้

-ทบทวนบนต้นฉบับที่มีคุณภาพสูงและเชื่อถือได้

-หนองน้ำอยู่กับที่ วัวต้องเดินไปกินน้ำที่หนองน้ำเอง

-ทบทวนตามตัวแปรและกรอบแนวคิดที่กำหนด

-สรุป สังเคราะห์ ถักทอและร้อยเรียงไม่ใช่ C&p

-โปรดนิยามความหมายคำว่า “งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง”

-ห้ามกินขนมชั้นบนห้องพระ

ระเบียบวิธีวิจัย

-ถูกต้องแม่นยำ และเป็นสากล

-กระบวนการที่รัดกุมซับซ้อนแสดงความรู้ตน

-เครื่องมือต้องมีความเที่ยงตรงและมีความเชื่อมั่นสูง

-เครื่องมือบางตัวหยิบยืมได้ ไม่ต้องสร้างเองเสมอไป

-โปรดให้ความสำคัญกับการเก็บรวบรวมข้อมูล

-สถิติที่ใช้ต้องเข้าเงื่อนไขกับตัวแปร

กรอบแนวคิด  

กรอบแนวคิด คือ แนวคิดที่อยู่เบื้องหลังแบบจำลอง   ซึ่งครอบคลุมสาระสำคัญ ดังนี้

                         หนึ่ง    เป้าหมายของการสร้างแบบจำลองต้องการวัดอะไร (Target)

                      สอง    ตัวแปรที่ใช้แทนเป้าหมายคืออะไร (Dependent variable หรือEndogeneous variable)

                      สาม    ปัจจัยที่จะมีผลกระทบต่อเป้าหมายมีอะไรบ้าง (Factors)

                       สี่      ทำไมถึงคิดว่าปัจจัยเหล่านั้นจึงมีผลกระทบต่อเป้าหมาย (Argument)

                    ห้า    ตัวแปรที่ใช้แทนปัจจัยเหล่านั้นคืออะไร (Independent variable หรือExogenous variable)

การวิเคราะห์ข้อมูล

-วิเคราะห์ข้อมูลอย่างเดียว  ไม่ต้องอภิปราย

-วิเคราะห์ตามวัตถุประสงค์และสมมติฐาน

-แสดงผลด้วยตารางหลักหรือแผนภาพก็ได้

-ตารางรองหรือรายการดิบเอาไปไว้ภาคผนวก

-อย่าบรรยายฟุ่มเฟือย ไร้สาระ น้ำท่วมทุ่ง

การสรุปผล อภิปรายผลและข้อเสนอแนะ

-ถ้าไม่มีเวลาอ่านทั้งเล่ม อ่านบทที่ 5 ก็รู้เรื่อง

-อภิปรายผลให้เข้ากับเรื่องที่ทำ โดยวิเคราะห์ความเป็นเหตุและผลระหว่างตัวแปร โดยนำวรรณกรรม  จากบทที่ 2 มาสนับสนุน

-เสนอแนะจากสิ่งที่ค้นพบให้เด่นเห็นเป็นประจักษ์ สำคัญมากสำหรับงานระดับสูง

บรรณานุกรม รายการอ้างอิง

-ยึดระบบอ้างอิง 1 ระบบทั้งเล่ม

-พยายามหลีกเลี่ยงการอ้างอิงจากอินเตอร์เน็ต

-ต้องมีบรรณานุกรมครบทุกรายการ

-ทบทวนความถูกต้องอีกครั้งก่อนส่ง

ภาคผนวก

-แสดงส่วนประกอบอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องให้ครบถ้วน เพื่อใช้ในการสนับสนุนการวิจัยให้หนักแน่น

-อย่านำสิ่งที่ไม่จำเป็นมาใส่เพื่อให้มีปริมาณมาก

-จัดระเบียบตามหมวดหมู่ให้ดูง่ายและมีระบบ

-ฯลฯ

ส่วนหน้า

-โปรดศึกษาหลักการเขียนบทคัดย่อสักเล็กน้อย

-ควรเขียนบทความวิชาการใส่ไปด้วย

-จงให้ความสำคัญกับกิตติกรรมประกาศให้มาก

-ถ้าหาคำนิยมมาใส่ได้จะดีมาก

-first impression

ปัญหาส่วนใหญ่สำหรับนักวิจัยไทย

-อ่านหนังสือน้อย

-ฟังคนไม่ได้ ถามคนไม่เป็น

-ไม่ชอบหลักการ แต่ชอบหลักกู

-ชอบคิดนอกกรอบแต่ไม่รู้จักกรอ

รูปแบบงานวิจัยกับตำแหน่งทางวิชาการ

-บทความวิจัย

-รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์

-บทความวิจัย +รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์

ต้องได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ก่อนนำเสนอส่งผลงานวิชาการ

เกณฑ์การประเมินงานวิจัย

-ตามวงจรโซ่ 7 ห่วง( มีความเที่ยงตรงภายในสูง ,ผลวิจัยมีความน่าเชื่อถือ)

-มีความชัดเจน(เช่น ความแตกต่างมาก ,มีความสัมพันธ์สูง -R Square > 40%)

-เกิดความรู้ใหม่ (เช่น  สำคัญไม่ซ้ำซ้อน ,ได้แบบวัดใหม่มีคุณภาพสูง ,ค้นพบสาเหตุสำคัญ)

หลักเกณฑ์ในการพิจารณา

-เป็นการคิดค้นขึ้นใหม่ มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ หรือเพิ่มเติม

-ก่อให้เกิดทฤษฎีหรือแนวคิดใหม่ๆ หรือหักล้างทฤษฎีเดิม หรือแก้ไขเพิ่มเติมในสาระสำคัญ

-ค้นพบกระบวนการวิธีหรือกรรมวิธีของการผลิตที่เป็นประโยชน์หรือการผลิตนวัตกรรมใหม่ หรือปรับปรุงแก้ไขนวัตกรรมเดิม

เกณฑ์ในการประเมินงานวิจัยเพื่อตำแหน่งวิชาการ

ศ.(พิเศษ)

 –เป็นงานบุกเบิกที่มีคุณค่ายิ่ง เกิดความก้าวหน้าทางวิชาการระดับสูง

-เป็นที่ยอมรับในวงวิชาการหรือวิชาชีพที่เกี่ยวข้องระดับชาติ นานาชาติ

ศ.(เชี่ยวชาญพิเศษ)

 -แสดงความรู้ใหม่ที่ลึกซึ้งกว่างานเดิมที่เคยมีผู้ศึกษามาแล้ว

-มีประโยชน์ด้านวิชาการอย่างกว้างขวางและประยุกต์ให้ได้แพร่หลาย

รศ.(เชี่ยวชาญ)

 -ต้องตามระเบียบวิธีวิจัย การวิเคราะห์ผลและการนำเสนอ

-แสดงความก้าวหน้าทางวิชาการหรือนำไปประยุกต์ได้

-ได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ตามที่กฏหมายกำหนด

                กระบวนการผลิตตำราเพื่อส่งผลงานวิชาการ

                                -เขียนบทความวิชาการที่มีเนื้อหาเกี่ยวข้องกับตำราให้ได้มากกว่า 16 เรื่อง ภายใน 2 ปี

                                -ส่งบทความวิชาการตีพิมพ์ในวารสารให้ได้มากที่สุด

-รวมบทความวิชาการของตนเองเป็นเล่มตำราโดยอาจนำบทความของผู้อื่นเข้ามาสอดแทรกได้

-ถ้าเป็นงานแปลต้องแปลจากตัวงานต้นแบบที่มีความสำคัญและทรงคุณค่าในสาขาวิชาของตน

องค์ประกอบที่สำคัญของบทความวิชาการ

                                -มีประเด็นที่ศึกษาชัดเจน

                                                -มีการวิเคราะห์ประเด็นปัญหานั้นๆตามหลักวิชาการ

                                                                -มีการนำความรู้ ทฤษฏี หรือแนวคิดมาสังเคราะห์

                                                                                -มีการสรุป อภิปรายที่ชัดเจน

                                                                                                -มีทัศนะทางวิชาการของผู้เขียน

การประมวลเอกสารขั้นต้นด้วย  5W1H

                Who     - เกี่ยวกับใคร(ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง)  

What   - เกิดอะไรขึ้น (ข้อค้นพบ)

Why    - ทำไมถึงเกิดขึ้น(ที่มาและความสำคัญของปัญหา)

Where  - เกิดขึ้นที่ไหน (พื้นที่การวิจัย /ขอบเขต)

When    - เคยเกิดขึ้นเมื่อใดบ้าง( เคยมีใครศึกษาเอาไว้บ้าง

                                                                หรืองานวิจัยที่เกี่ยวข้อง)

How    -มีวิธีการค้นพบอย่างไร (ระเบียบวิธีวิจัย)

คำแนะนำจากวิทยากร

                                -เริ่มทำงานวิจัยตั้งแต่วันนี้

-เลิกทำงานที่ไม่เหมาะสมกับตำแหน่ง

-ทำงานวิจัยเชิงทดลองขนาดใหญ่

-หาเครือข่ายงานวิจัยของตัวเอง

หมายเลขบันทึก: 506905เขียนเมื่อ 27 ตุลาคม 2012 00:05 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 ธันวาคม 2012 18:33 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

เก็บรายละเอียดได้ครบถ้วน สมกับว่าที่ ดร.นะ  ขอให้โชคคดี

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท