เปรียบเทียบความเปลี่ยนแปลง


การที่บุคคลใดบุคคลหนึ่งจะประเสริฐหรือเลวทรามก็อยู่กับความประพฤติเขา ไม่ได้ขึ้นอยู่กับการเกิด ฐานะ หรือยศฐาบรรดาศักดิ์แต่ประการใด

 

เปรียบเทียบความเปลี่ยนแปลง ตะวันตก – ตะวันออก

ไตรลักษณ์

อนิจฺจํ ความไม่เที่ยงแท้

ทุกฺขํ ความทนอยู่อย่างเดิมได้ยาก

อนตฺตา ความไม่มีแก่นสาระ

(การที่ทุกข์เกิดขึ้นเพราะอาศัย ปัจจัยต่อเนื่องกันมา)

วัฏฏะ การวนเวียน,การเวียนเกิดเวียนตาย,การเวียนว่ายตายเกิด,ความเวียนเกิดหรือวนเวียน ด้วยอำนาจกิเลสกรรมและวิบาก เช่นกิเลสเกิดขึ้นแล้วให้ทำกรรม เมื่อทำกรรมแล้วย่อมได้รับผลของกรรม แล้วกิเลสก็เกิดขึ้นอีกแล้วทำกรรมแล้วเสวยผลกรรมหมุนเวียนต่อไป หรือเรียกว่า ไตรวัฏฏ์

๑.กิเลสวัฏ อวิชชา ตัณหา อุปาทาน

๒.กรรมวัฏ สังขารภพ

๓.วิปากวัฏ วิญญาณ นามรูป สฬายตนะ ผัสสะ เวทนา ชาติ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส

สามัญญลักษณะ ลักษณะที่เสมอกันแก่สังขารทั้งปวง ได้แก่

๑.อนิจฺจตา ความเป็นของไม่เที่ยง

๒.ทุกฺขตา ความเป็นทุกข์หรือความเป็นของคงทนอยู่มิได้

๓.อนตฺตตา ความเป็นของไม่ใช่ตัวตน

สพฺเพ สงฺขารา อนิจฺจา สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง

สพฺเพ สงฺขารา ทุกฺขา สังขารทั้งปวงเป็นทุกข์

สพฺเพ ธมฺมา อนตฺตา ธรรมทั้งปวงมิใช่ตัวตน

ลักษณะเหล่านี้เป็นของแน่นอน เป็นกฎธรรมดาจึงเรียกว่าธรรมนิยาม

ทฤษฏีสัมพันธภาพของไอน์สไตน์ไม่สามารถที่จะหาจุดคงที่อันถาวรได้ เพราะว่าทุกสิ่งที่ดูเหมือนว่าจะอยู่นิ่งๆแต่ในความเป็นจริงแล้ว มันเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา โลกของเราที่ดูเหมือนจะอยู่นิ่ง แต่ก็หมุนอยู่ตลอดเวลา ดวงดาวอื่นๆก็เช่นเดียวกัน แม้กระทั้งระบบสุริยจักรวาลทั้งหมด ก็กำลังเคลื่อนที่ไปอย่างไม่หยุดยั้งทำให้ไอน์สไตน์สรุปว่า ไม่มีจุดนิ่งที่สามารถให้คุณค่าที่เที่ยงแท้ถาวรอย่างแท้จริงในจักรวาล เพราะทุกอย่างเคลื่อนที่อย่างไม่หยุดยั้ง

กำเนิดโลกและความเปลี่ยนแปลง “อัคคัญสูตร” ทรงอธิบายให้สามเณรวาเสฏฐะ และสามเณรภารทวาชชะเกี่ยวกับวรรณะ ทรงอธิบายให้เห็นถึงที่มาที่ไปในการแบ่งชั้นวรรณะต่างๆโดยทรงอธิบายให้เห็นตั้งแต่การเริ่มต้นของจักรวาลเรื่อยมาจนเกิดมีการสมมติแบ่งชั้นวรรณะต่างๆขึ้น แล้วทรงสรุปว่าการที่บุคคลใดบุคคลหนึ่งจะประเสริฐหรือเลวทรามก็อยู่กับความประพฤติเขา ไม่ได้ขึ้นอยู่กับการเกิด ฐานะ หรือยศฐาบรรดาศักดิ์แต่ประการใด

·       จุดเริ่มต้นไม่ได้เรียกว่าบิ๊กแบง

·       โลกและจักรวาล ได้เคยเกิดขึ้นและเสื่อมนับไม่ถ้วน

·       วัฏจักรของสรรพสิ่งคือเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป

·       ง้วนดิน คือ ตะกอนที่รวมตัวกันและลอยอยู่เหนือน้ำเป็นเสมือนฟองน้ำที่ลอยอยู่ได้ ตะกอนนี้มีสีเหลือง รสหวาน และมีกลิ่นหอม ในพระไตรปิฎกท่านเรียกว่าง้วนดิน ต่อมาสิ่งนี้ได้กลายเป็นแผ่นดินรองรับสิ่งต่างๆ

·       พรหมอาภัสสราพรหม มนุษย์ยุคแรก

·       เกิดโดยไม่ต้องอาศัยพ่อแม่ (โอปปาติกะ)

·       มีลักษณะยังเป็นพรหม ไม่มีเพศ ร่างกายมีแสงสว่าง มีรัศมีสว่างไสว เหาะไปมาได้ มีปีติเป็นอาหาร

·       มนุษย์เห็นดินมีสีสันสวยงามมีกลิ่นหอม

·       ลองชิมรสชาติก็รู้สึงแผ่ซ่านไปทั่วร่างกาย

·       เมื่อกินมาก ทำให้รัศมีร่างกายและแสงสว่างในตัวหายไป

·       เพราะง้วนดินเป็นอาหารหยาบ จึงทำให้เกิดกายหยาบ

·       แสงสว่างหายไป ความมืดเกิดขึ้น และมีดวงอาทิตย์ ขับไล่ความมืด

·       ดวงจันทร์ ดวงดาวต่างๆเกิดขึ้น มีกลางวันกลางคืน วัน เดือน ปี ฤดูการต่างๆตามมา

·       วิวัฒนาการที่ค่อยๆเปลี่ยนแปลง ค่อยๆเกิดขึ้นและวิวัฒนาการต่อมาจนกระทั่งปัจจุบัน

อจินไตย คือ เรื่องที่ไม่พึงคิด

พุทธวิสัย                    กรรมวิสัย(วิบากแห่งกรรม)

ฌานวิสัย                    โลกวิสัย (โลกจินดา)

ผู้ที่คิดก็จะพึงมีส่วนแห่งความเป็นบ้าได้รับความลำบากเปล่า

เมื่อกิเลสหนาขึ้นทำให้สิ่งต่างๆแปรเปลี่ยนไปด้วย

·       ง้วนดินที่เคยมีรสอร่อยกลายเป็นกะบิดิน

·       จากกะบิดินกลายเป็นเครือดินกลายเป็นข้าวสาลีในเวลาต่อมา

·       ข้าวสาลีเปลือกบางคล้ายแตงกวา กินได้ทั้งเปลือก

·       ขนาดใหญ่เท่ากับศอกของมนุษย์ เก็บแล้วงอกใหม่

·       อาหารที่บริโภคมีวิวัฒนาการที่หยาบมากขึ้นตามกิเลส

·       จากที่ดูดซึมได้ก็ไม่สามารถดูดซึมได้ดังเดิม

·       เกิดมีกากอาหารเป็นส่วนเกินของร่างกาย

·       มนุษย์วิวัฒนาการมีช่องทางขับถ่ายปรากฏขึ้นคือทวารหนักและทวารเบา

·       กรรมที่เคยผิดศีล ทำให้มีอวัยวะเพศต่างกัน

·       บางคนเพศหญิง บางคนเพศชาย ก่อนหน้านี้มนุษย์ไม่มีเพศ

·       เพ็งเล็งกัน เกิดปรารถนาในกาม สนใจในเพศตรงข้าง เสพเมถุนธรรมต่อกัน

·       ตอนแรกการเสพเมถุนธรรมเป็นสิ่งแปลกใหม่

·       มนุษย์ส่วนมากเห็นการเสพกามเป็นสิ่งน่าเกลียด

·       ห้ามปราม จับแยกจากกัน ติเตียน ขับไล่

·       เมื่อมีการเสพเมถุนธรรมเกิดขึ้น

·       ได้สร้างที่มุงที่บังเพื่อปกปิด ทำให้มีการสร้างบ้านเรือน

·       มีที่อยู่อาศัยเป็นหลักแหล่ง เกียจคร้านหาข้าวสาลี เก็บกักตุนไว้เป็นจำนวนมาก

·       ความโลภมากขึ้น ความประณีตของอาหารน้อยลง

·       ข้าวสาลีเริ่มเสื่อมคุณภาพ ลำต้นเล็กลง เก็บแล้วไม่งอกใหม่ ที่เกิดอยู่ทั่วไปก็ลดลงเรื่อยๆ

·       จากนั้นทุกสิ่งทุกอย่างทั้งร่างกายมนุษย์และสภาพแวดล้อมต่างๆก็ค่อยๆวิวัฒนาการเปลี่ยนแปลงไปเรื่อยๆทีละเล็กละน้อยจนกระทั่งกลายมาเป็นมนุษย์ที่มีชีวิตอยู่อย่างสลับซับซ้อนเช่นในปัจจุบันนี้

·       ที่มา : อัคคัญสูตร ฑีฆนิกาย ปาฎิกวรรค

 

คำสำคัญ (Tags): #ฆ.ระฆัง
หมายเลขบันทึก: 506867เขียนเมื่อ 26 ตุลาคม 2012 15:53 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 ธันวาคม 2012 18:44 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

สามัญญลักษณะ ...ลักษณะที่เสมอกัน แก่สังขารทั้งปวง ได้แก่

๑. อนิจฺจตา ความเป็นของ...ไม่เที่ยง

๒. ทุกฺขตา ความเป็นทุกข์ หรือ ความเป็นของ....คงทนอยู่มิได้

๓. อนตฺตตา ความเป็นของ...ไม่ใช่ตัวตน 

 

....จริงๆๆ  ธรรมะก็สอนดีนะคะ แต่เราๆๆ โดยเฉพาะ   หมอเปิ้ล ...ไม่คอยเข้าใจ ... อย่างแท้จริง..หรือ...ไม่เข้าใจแก่นของธรรมะ ....จึงยังมี ...." ทุกข์...สุข...ดีใจ...เสียใจ." ....ยังไม่สามารถ "กำจัด" .... ได้โดยแท้จริง...อย่างสิ้นเชิง นะคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท