เกิดแก่เจ็บตาย


เกิดแก่เจ็บตาย

เกิด

                ที่นี่รัฐบาลต้องการเพิ่มประชากร เพราะหลังจากเขมรแดง เขมรได้สูญเสียประชากรไปเป็นจำนวนมากจากการล้างเผ่าพันธุ์(Killing Field)ไปประมาณ 2.0 ล้านคน จึงไม่โครงการวางแผนครอบครัว (Family plan ​ เขาไม่รู้จักกันครับ) คนทั่วไป ชาวบ้านถ้าไม่ได้เรียนหนังสือจะแต่งงานตั้งแต่อายุน้อยๆประมาณ 16-18 มีลูกกันแล้วครับ อาจจะเป็นนโยบายของรัฐบาลที่จะเพิ่มของประชากร เพื่อเป็นฐานในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศชาติ

            ชาวกัมพูชานิยมฉลองวันเกิด ถือว่าเป็นประเพณีนิยม ไม่ว่าคนรวยหรือจนจะมีจัดงานวันเกิด(อาจจะติดมาจากฝร่งเศลหรือเปล่าเน๊าะ) แม่พ่อทุกคนต้องจัดงานวันเกิดให้ลูก(ไม่รู้ว่าเป็นค่านิยมที่ถูกหรือเปล่า) 

            ประเพณีงานแต่งงาน ชาวกัมพูชานิยมจัดงานวันแต่งงานที่ใหญ่โต จะต้องเป็นหน้าเป็นตาครอบ ฝ่ายชายถ้าไม่มีเงินถึง ห้าพันดอลล่าร์ ไม่สามารถจะไขอสาวแต่งงานได้ (เงินเดือนเฉลี่ย ป.ตรี อยู่ที่ 150-200ดอลล่าร์) ครอบครัวจำเป็นต้องกู้หนี้ยื่มสิ้นเพื่อจัดงานดังกล่าว(มีธนาคารท้องถิ่นหัวใส่ ปล่อยสินเชื่อเพื่อการแต่งงาน Wedding Loan ผ่อนชำระ 2 ปี) ธุรกิจจัดงานเลี้ยงทำรายได้พอสมควร( อ้อ...สมมุติว่าเราเคยช่วยงานเขา 20 ดอลล่าร์ พอถึงเรามีงานเขาจะต้องช่วยงานเรา 30 ดอลล่าร์ คือจะต้องมากกว่าที่เราเคยไปช่วยเขา) การแต่งตัว เจ้าบ่าวเจ้าสาว เพื่อนเจ้าบ่าว เจ้าสาว ดูภาพประกอบตามลิงก์ http://www.gotoknow.org/blogs/posts/165620?   เห็นมีอยู่แล้วเลยไม่ต้องอธิบาย แบบนั้นเลยครับ(ผมขอชื่นชมครับ. เขายังอนุรักษ์นิยมตามประเพณีท้องถิ่นตามดั้งเดิมอยู่ครับ)

แก่

                กัมพูชามีประชากรในวัยเจริญพันธุ์ และไวแรงงานจำนวนมาก แต่รัฐบาลไม่ได้สร้างงานให้กับดังกล่าว  ทำให้ชาวกัมพูชาวัยแรงงานเดินทางเข้าไปทำงานในเมืองใหญ่ๆ คือ กรุงพนมเปญ(เมืองหลวง) เมืองเสียมเรียบ(เมืองท่องเที่ยว) เมืองสีหนุ(เมืองท่องเที่ยวทางทะเล) และอีกจำนวนหนึ่งที่เข้าหางานในประเทศไทย ที่ถูกต้องตามกฏหมายประมาณ 100,000 คน และที่ลักลอบเข้าไปโดยผิดกฏหมายอีกจำนวนมากกว่า ตามชนบทจะมีผู้สูงอายุดูแลลูหลาน คล้ายชนบทบ้านเราครับ...พ่อแม่เด็กไปทำงานหาเงินเลี้ยงครอบครัว ส่งเงินให้พ่อแม่ลี้ยงดูเด็กๆ

เจ็บ

เวลาเจ็บไข้ได้ป่วย ประชาชนส่วนมากนิยมไปซื้อยาตามร้านขายยารับประทานเอง...อะไรๆ ก็ให้หมอยาจัดยาให้ ไม่มีโรงพยาบาล เหมือนบ้านเรา มีแต่สถานพยาบาลเล็กๆ  เหมือนสถานีอนามัยบ้านเรา ทุกวันเปลี่ยนเป็นโรงพยาบาลชุมชนฯ ลักษณะจะเป็นเหมือนบ้านพักอาศัยของคนทั่วไป แต่ภายในชุมชน นั้นๆ จะรู้ว่านี้คือ สถานพยาบาล จะไม่มีเครื่องมือและอุปกรณ์ทางแพทย์  เป็นเพียงแต่ดูแลอาการและช่วยเหลือเบื่องต้น

ที่เสียมเรียบจะมีคลินิกแพทย์รับคนไข้นอนพักรักษาได้ด้วย(แพง)  มีโรงพยาบาลเอกชน(Royal international Hospital ดำเนินการโดยคนไทย) โรงพยาบาล NGO’s 2 แห่ง คือ กันตาโบพา(Kantha Bopha) โดยองค์กรอิสระรับรักษาเฉพาะเด็กและสตรีที่มีครรภ์ และ มีโรงพยาบาลเขต  และมีโรงพยาบาลเฉพาะอีก 1 แห่ง โรงพยาบาลรักษาตา(eye)

ตาย

                ประเพณีคนตายในกัมพูชา จะคล้ายๆ กับคนไทย(ตั้งบำเพ็ญกุศลที่บ้าน แล้วแห่ศพไปเผ่าที่วัด) แต่มีสิ่งที่แตกต่างคือ

1.ญาติของผู้เสียชีวิต ผู้ชายจะโกนศรีษะทุกคนและใส่ชุดขาว ส่วนผู้หญิงก็ใสชุดขาว เพื่อเป็นการไว้อาลัยแก่ผู้ที่เสียชีวิต

2.ไม่มีการเลี้ยงสุรา และฆ่าสัตว์เพื่อจัดงาน(หมายถึง ล้มหมู,ล้มวัว เพื่่อเป็นอาหารในงาน เจ้าภาพจะจ้างคนอื่นทำอาหารให้เพื่อเลี้ยงแขก) ถือว่าทำบุญให้กับผู้เสียชีวิต และเป็นการเคารพต่อผู้เสียชีวิต และ อาหารไม่ต้องมีหลากหลาย(ถ้าเป็นกับข้าวจะมีอย่างมาก 2 อย่าง) แต่เป็นที่นิยมคืออาหารจำพวกข้าวต้มทรงเครื่อง(ทะเล)(เนื้อหมู่-ไก่-วัว) (เจ) คุณภาพของอาหารแล้วแต่ศักยภาพของเจ้าภาพ  

คำสำคัญ (Tags): #เกิดแก่เจ็บตาย
หมายเลขบันทึก: 506656เขียนเมื่อ 24 ตุลาคม 2012 13:06 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 ตุลาคม 2012 16:22 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ขอบคุณมากๆ ครับ ที่กรุณานำข้อมูลดีๆ แบบนี้มาแบ่งปัน

ทำให้ได้รู้อะไรใหม่ๆ เพิ่มขึ้นหลายเรื่องเลยครับ

เรียนคุณอักขณิช ยินดีครับ...คุณอักขณิช ก็เช่นกันครับ มีำข้อมูลดีๆ มาแบ่งปันกัน ขอบคุณเช่นกันครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท