แนวคิดและลำดับการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน งานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน


ผลแห่งการดำเนินงาน ก่อให้เกิดความสำเร็จหลายประการ ทั้งด้านการให้ทฤษฎี- ความรู้ แก่เยาวชนที่ผ่านกระบวนการศึกษาเรียนรู้ที่เกิดจากการลงมือปฏิบัติจริง ก่อให้เกิดความรู้-ความเข้าใจอย่างถ่องแท้ ด้านการรักษาสิ่งแวดล้อม เกิดความตระหนักถึงคุณประโยชน์ของพรรณไม้ ที่ช่วยดำรงระบบนิเวศวิทยาให้เกิดความสมดุลย์ จึงช่วยกันสืบสานการอนุรักษ์พืชพรรณ ด้านคุณธรรม-จริยธรรม ธรรมชาติศึกษา ช่วยให้เกิดข้อคิด เข้าใจธรรมะ จิตใจสงบ มีความอ่อนโยน จึงสามารถดำรงตนอยู่ร่วมกันในสังคมได้อย่างสงบสุข

โรงเรียนกำแพงเพชรพิทยาคม ขับเคลื่อนการดำเนินงานสวนพฤกษศาสร์โรงเรียน   มาอย่างต่อเนื่อง  ผลแห่งการดำเนินงาน  ก่อให้เกิดความสำเร็จหลายประการ  ทั้งด้านการให้ทฤษฎี- ความรู้ แก่เยาวชนที่ผ่านกระบวนการศึกษาเรียนรู้ที่เกิดจากการลงมือปฏิบัติจริง  ก่อให้เกิดความรู้-ความเข้าใจอย่างถ่องแท้  ด้านการรักษาสิ่งแวดล้อม  เกิดความตระหนักถึงคุณประโยชน์ของพรรณไม้ ที่ช่วยดำรงระบบนิเวศวิทยาให้เกิดความสมดุลย์        จึงช่วยกันสืบสานการอนุรักษ์พืชพรรณ   ด้านคุณธรรม-จริยธรรม  ธรรมชาติศึกษา  ช่วยให้เกิดข้อคิด  เข้าใจธรรมะ จิตใจสงบ  มีความอ่อนโยน  จึงสามารถดำรงตนอยู่ร่วมกันในสังคมได้อย่างสงบสุข



                                   คุณครูมารศรี  นิลรัตน์  บรรยายให้ความรู้เกี่ยวกับแนวคิดและการลำดับการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน 

           

การประชุมเตรียมความพร้อมก่อนเปิดภาคเรียนที่ ๒  เมื่อวันที่ ๒๒  ตุลาคม ๒๕๕๕   จึงได้กำหนดกิจกรรมของงานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน   ที่ส่งเสริมความรู้-ความเข้าใจ  เกี่ยวกับแนวคิดและการลำดับการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน  เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับเพื่อนครูโรงเรียนกำแพงเพชรพิทยาคม   โดยเฉพาะอย่างยิ่งต่อกลุ่มคุณครูที่เพิ่งมาร่วมทำงานที่โรงเรียนกำแพงเพชรพิทยาคม  ซึ่งบางท่านเพิ่งย้ายมาทำงานที่นี่ –   บางท่านได้รับการบรรจุทำงานเป็นครั้งแรก   กิจกรรมนี้จึงให้แนวคิดอันเป็นพื้นฐานสำคัญในการนำไปจัดกิจกรรมการเรียน-การสอน เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ของงานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน
 


            

                   ตัวอย่างเอกสาร "  แผนการจัดการเรียนรู้ - รานงานผลการศึกษา - สื่ออุปกรณ์  ประกอบการบรรยาย 
            
            



สาระ- แนวคิดและลำดับการเรียนรู้งานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน  โครงการอนุรักษ์พันธุกรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ  สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ  สยามบรมราชกุมารี

สวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน  คือ  ทุกสิ่งทุกอย่างที่มีอยู่ในโรงเรียนที่ใช้เพื่อการเรียนรู้  โดยมีพืชเป็นปัจจัยหลัก  ชีวภาพอื่น(คน  สัตว์  จุลินทรีย์)เป็นปัจจัยรอง  กายภาพ(ดิน  น้ำ  อากาศ  แสง ฯลฯ)  เป็นปัจจัยเสริม วัสดุอุปกรณ์เป็นปัจจัยประกอบ     

งานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน คือ งานสร้างจิตสำนึกในการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชทรัพยากรชีวภาพ  และกายภาพ โดยมีการสัมผัส การเรียนรู้ การสร้างและปลูกฝังคุณธรรม การเสริมสร้างปัญญาและภูมิปัญญา

วัตถุประสงค์ของการดำเนินงานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน
เพื่อสร้างจิตสำนึกในการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช และทรัพยากร

 

            

 

การดำเนินงานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน

การดำเนินงานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน เป็นจัดการการเรียนรู้ พืชพรรณและสรรพสิ่งโดยรอบตามแนวปรัชญาการสร้างนักอนุรักษ์ เรียนรู้ตามแนวทางงานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียนสามารถใช้ทุกสิ่งทุกอย่างที่มีอยู่ในโรงเรียนเพื่อการเรียนรู้ โดยมีพืช เป็นปัจจัยหลัก ชีวภาพต่างๆ เป็นปัจจัยรอง ทรัพยากรธรรมชาติที่เป็นกายภาพ เป็นปัจจัยเสริม และทรัพยากรอื่นๆ เป็นปัจจัยประกอบการดำเนินงานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน จะมีการเรียนรู้ตามองค์ประกอบสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียนและสาระการเรียนรู้


          

           นายอำนวย  อภิชาติตรากูล  ผู้อำนวยการ  และนางประไพศรี  อังสุโชติเมธี รองฯกลุ่มบริหารงานวิชาการ                                   


องค์ประกอบการดำเนินงานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน

                                                                                
1. 
การจัดทำป้ายชื่อพรรณไม้
2.  การรวบรวมพรรณไม้เข้าปลูกในโรงเรียน 
3.   การศึกษาข้อมูลด้านต่างๆ

4.   การรายงานผลการเรียนรู้ 
5. 
การนำไปใช้ประโยชน์ทางการศึกษา

สาระการเรียนรู้
                                                                 
- สาระธรรมชาติแห่งชีวิต
- สาระสรรพสิ่งล้วนพันเกี่ยว
- สาระประโยชน์แท้แก่มหาชน

 


           

                                 

องค์ประกอบสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน

องค์ประกอบที่ การจัดทำป้ายชื่อพรรณไม้           (หลักการ รู้ชื่อ รู้ลักษณ์ รู้จัก)

ลำดับการเรียนรู้

๑. กำหนดพื้นที่ศึกษา      
๒. สำรวจพรรณไม้ในพื้นที่ศึกษา            
๓. ทำและติดป้ายรหัสประจำต้น
๔. ตั้งชื่อหรือสอบถามชื่อ และศึกษาข้อมูลพื้นบ้าน (ก.๗-๐๐๓ หน้า ๑)
๕. ทำผังแสดงตำแหน่งพรรณไม้        
๖. ศึกษาและบันทึกลักษณะทางพฤกษศาสตร์ (ก.๗-๐๐๓ หน้า ๒-๗)
๗. บันทึกภาพหรือวาดภาพทางพฤกษศาสตร์
๘. ทำตัวอย่างพรรณไม้ (แห้ง/ ดอง/ เฉพาะส่วน)                                  
๙. เปรียบเทียบข้อมูลที่สรุป (ก.๗-๐๐๓ หน้า ๘) กับข้อมูลที่สืบค้นจากเอกสาร แล้วบันทึก    ใน ก.๗-๐๐๓ หน้า ๙ - ๑๐
๑๐. จัดระบบข้อมูลทะเบียนพรรณไม้ (ก.๗-๐๐๕)              
๑๑. ทำร่างป้ายชื่อพรรณไม้สมบูรณ์
๑๒. ตรวจสอบความถูกต้องทางวิชาการด้านพฤกษศาสตร์  ๑๓.ทำป้ายชื่อพรรณไม้สมบูรณ์

องค์ประกอบที่ การรวบรวมพรรณไม้เข้าปลูกในโรงเรียน (หลักการ  คลุกคลี เห็นคุณ สุนทรีย์)

ลำดับการเรียนรู้

๑. ศึกษาข้อมูลจากผังพรรณไม้เดิมและศึกษาธรรมชาติของพรรณไม้
๒. สำรวจ ศึกษา วิเคราะห์สภาพพื้นที่   
๓. พิจารณาคุณ และสุนทรียภาพของพรรณไม้
๔. กำหนดการใช้ประโยชน์ในพื้นที่         
๕. กำหนดชนิดพรรณไม้ที่จะปลูก
๖. ทำผังภูมิทัศน์
๗. จัดหาพรรณไม้ วัสดุปลูก            
๘. การปลูก และดูแลรักษา
๙. ศึกษาคุณ ประโยชน์ของพืชพรรณที่ปลูก ออกแบบบันทึกการเปลี่ยนแปลง

องค์ประกอบที่ การศึกษาข้อมูลด้านต่างๆ  (หลักการ รู้การวิเคราะห์ เห็นความต่าง รู้ความหลายหลาก)

ลำดับการเรียนรู้

๑. การศึกษาพรรณไม้ในสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน(ก.๗-๐๐๓) ครบตามทะเบียนพรรณไม้

    ๑.) การมีส่วนร่วมของผู้ศึกษา  
    ๒.) การศึกษาข้อมูลพื้นบ้าน   
    ๓.) การศึกษาข้อมูลพรรณไม้
    ๔.) การสรุปลักษณะและข้อมูลพรรณไม้                          
    ๕.) การสืบค้นข้อมูลพฤกษศาสตร์
    ๖.) การบันทึกข้อมูลเพิ่มเติม      
    ๗.) การตรวจสอบผลงานเป็นระยะ    
    ๘.) ความเป็นระเบียบ ความตั้งใจ

๒. การศึกษาพรรณไม้ที่สนใจ
    ๑.) การศึกษาลักษณะภายนอก ภายในของพืชแต่ละส่วนโดยละเอียด
    ๒.) การกำหนดเรื่องที่จะเรียนรู้ในแต่ละส่วนของพืช
    ๓.) การเรียนรู้แต่ละเรื่อง แต่ละส่วนขององค์ประกอบย่อย
    ๔.) การนำข้อมูลมาเปรียบเทียบความต่างในแต่ละเรื่อง ในชนิดเดียวกัน

องค์ประกอบที่ การรายงานผลการเรียนรู้  ( หลักการ รู้สาระ รู้สรุป รู้สื่อ )

ลำดับการเรียนรู้

๑. รวบรวมผลการเรียนรู้             
๒. คัดแยกสาระสำคัญ และจัดให้เป็นหมวดหมู่
   ๒.๑ วิเคราะห์ เรียบเรียงสาระ
   ๒.๒ จัดระเบียบข้อมูลสาระแต่ละด้าน
   ๒.๓ จัดลำดับสาระหรือกลุ่มสาระ

๓. สรุปและเรียบเรียง               

๔. เรียนรู้รูปแบบการเขียนรายงาน    
   ๔.๑ แบบวิชาการ        
   ๔.๒ แบบบูรณาการ

๕. กำหนดรูปแบบการเขียนรายงาน
๖. เรียนรู้วิธีการรายงานผล
     ๖.๑ เอกสาร เช่น หนังสือ แผ่นพับ     
     ๖.๒ บรรยาย เช่น การเล่านิทาน อภิปราย สัมมนา
      ๖.๓ ศิลปะ เช่น การแสดงศิลปะพื้นบ้าน ละคร ร้องเพลง ภาพวาดทางพฤกษศาสตร์
      ๖.๔ นิทรรศการ

๗. กำหนดวิธีการรายงานผล
          

           

                             นางประไพศรี  อังสุโชติเมธี   สรุปการดำเนินกิจกรรมงานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียนฯ


องค์ประกอบที่
การนำไปใช้ประโยชน์ทางการศึกษา

 (หลักการ นำองค์ความรู้ ที่เป็นวิทยาการ เผยแพร่เพื่อให้เกิดองค์ความรู้ใหม่)

ลำดับการเรียนรู้

๑. การนำสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียนบูรณาการสู่การเรียนการสอน
    ๑.๑ การจัดทำหลักสูตรและการเขียนแผนการสอนให้สอดคล้องกับหลักสูตรแกนกลาง    การศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑

    ๑.๒ การจัดเก็บผลการเรียนรู้

๒. การเผยแพร่องค์ความรู้
     ๒.๑ การบรรยาย
            ๒.๑.๑ การสนทนา 
            ๒.๒.๒ การเสวนา 
            ๒.๒.๓ สัมมนา/อภิปราย

     ๒.๒ การจัดแสดง
            ๒.๒.๑ จัดแสดงนิทรรศการ   
            ๒.๒.๒ นิทรรศการประกอบบรรยายสรุป
            ๒.๒.๓ จัดนิทรรศการเฉพาะเรื่อง/ประเภท

๓. การจัดสร้างแหล่งเรียนรู้
    ๓.๑ การจัดแสดงพิพิธภัณฑ์  
    ๓.๒ การจัดแสดงพิพิธภัณฑ์เฉพาะเรื่อง
    ๓.๓ การจัดแสดงพิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยา(หมายเหตุ : จัดสร้างแหล่งเรียนรู้ตามศักยภาพ)

๔. การใช้ การดูแลรักษา และพัฒนาแหล่งเรียน
           
          

          

                                             ตัวอย่างผังมโนทัศน์การบูรณาการงานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน

          

 

การเรียนรู้ธรรมชาติแห่งชีวิต   (หลักการ รู้การเปลี่ยนแปลง รู้ความแตกต่าง รู้ชีวิต)

สาระการเรียนรู้

การเรียนรู้วงจรชีวิตของชีวภาพนั้นๆ ได้ข้อมูลการเปลี่ยนแปลงและความแตกต่างด้านรูปลักษณ์  คุณสมบัติ และพฤติกรรม แล้วนำมาเปรียบเทียบตนเองกับชีวภาพรอบกายเพื่อประยุกต์ใช้ในการดำเนินชีวิต

                                                                       

ลำดับการเรียนรู้

๑. สัมผัสเรียนรู้วงจรชีวิตของชีวภาพ
    ๑.๑ ศึกษาด้านรูปลักษณ์ ได้ข้อมูลการเปลี่ยนแปลงและความแตกต่างด้านรูปลักษณ์
    ๑.๒ ศึกษาด้านคุณสมบัติ ได้ข้อมูลการเปลี่ยนแปลงและความแตกต่างด้านคุณสมบัติ
    ๑.๓ ศึกษาด้านพฤติกรรม ได้ข้อมูลการเปลี่ยนแปลงและความแตกต่างด้านพฤติกรรม

๒. เปรียบเทียบการเปลี่ยนแปลงและความแตกต่าง
    ๒.๑ รูปลักษณ์กับรูปกายตน   
    ๒.๒ คุณสมบัติกับสมรรถภาพของตน
    ๒.๓ พฤติกรรมกับจิตอารมณ์และพฤติกรรมของตน

๓. สรุปองค์ความรู้ที่ได้จากการศึกษาธรรมชาติแห่งชีวิต
๔. สรุปแนวทางเพื่อนำไปสู่การประยุกต์ใช้ในการดำเนินชีวิต

 


            

 

การเรียนรู้สรรพสิ่งล้วนพันเกี่ยว  ( หลักการ รู้สัมพันธ์ รู้ผูกพัน รู้ดุลยภาพ)

สาระการเรียนรู้

การวิเคราะห์องค์ความรู้ธรรมชาติของปัจจัยหลัก การเรียนรู้ธรรมชาติของปัจจัยที่เข้ามาเกี่ยวข้อง

การเรียนรู้ธรรมชาติของความพันเกี่ยวระหว่างปัจจัย การวิเคราะห์สัมพันธภาพระหว่างปัจจัย

เพื่อเข้าใจดุลยภาพและความพันเกี่ยวของสรรพสิ่ง

ลำดับการเรียนรู้

๑. รวบรวมองค์ความรู้ที่ได้จากการเรียนรู้ธรรมชาติแห่งชีวิต
๒. เรียนรู้ธรรมชาติของปัจจัยชีวภาพอื่นที่เข้ามาเกี่ยวข้องกับปัจจัยหลัก
     ๒.๑ เรียนรู้ด้านรูปลักษณ์ คุณสมบัติ พฤติกรรม                               
     ๒.๒ สรุปผลการเรียนรู้

๓. เรียนรู้ธรรมชาติของปัจจัยกายภาพ (ดิน น้ำ แสง อากาศ)
     ๓.๑ เรียนรู้ด้านรูปลักษณ์ คุณสมบัติ                                                 
     ๓.๒ สรุปผลการเรียนรู้

๔. เรียนรู้ธรรมชาติของปัจจัยอื่นๆ (ปัจจัยประกอบ เช่น วัสดุอุปกรณ์ อาคารสถานที่)

๕. เรียนรู้ธรรมชาติของความพันเกี่ยวระหว่างปัจจัย
      ๕.๑ เรียนรู้ วิเคราะห์ให้เห็นความสัมพันธ์และสัมพันธภาพ     
      ๕.๒ เรียนรู้ วิเคราะห์ให้เห็นความผูกพัน   

๖. สรุปผลการเรียนรู้ ดุลยภาพของความพันเกี่ยว

 


          

 

การเรียนรู้ประโยชน์แท้แก่มหาชน (  หลักการ รู้ศักยภาพ รู้จินตนาการ รู้ประโยชน์ )

สาระการเรียนรู้

เรียนรู้ การวิเคราะห์ศักยภาพของปัจจัยศึกษา จินตนาการเห็นคุณ สรรค์สร้างวิธีการ เพื่อประโยชน์แท้แก่มหาชน                                                                   

ลำดับการเรียนรู้

๑. เรียนรู้การวิเคราะห์ศักยภาพของปัจจัยศึกษา

    ๑.๑ พิจารณาศักยภาพด้านรูปลักษณ์                            

    ๑.๒ วิเคราะห์ศักยภาพด้านคุณสมบัติ

    ๑.๓ จินตนาการศักยภาพด้านพฤติกรรม

๒. เรียนรู้ จินตนาการเห็นคุณของศักยภาพ ของปัจจัยศึกษา

     ๒.๑ จินตนาการจากการวิเคราะห์ศักยภาพ

   ๒.๒ เรียนรู้สรุปคุณของศักยภาพ ที่ได้จากจินตนาการ

๓. สรรค์สร้างวิธีการ

     ๓.๑ พิจารณาคุณที่เกิดจากจินตนาการ               

     ๓.๒ สร้างแนวคิด แนวทาง วิธีการ


          
            

                ส่วนหนึ่งของคณะกรรมการหลัก " งานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน โรงเรียนกำแพงเพชรพิทยาคม "                       



***... โรงเรียนกำแพงเพชรพิทยาคม  มีความภูมิใจที่ได้ทำงานสนองพระราชดำริฯ โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช  อันเป็นประโยชน์ต่อการจัดการศึกษาให้กับเยาวชน  และก่อให้เกิดประโยชน์แท้แก่มหาชนชาวสยามสืบต่อไปอย่างยั่งยืน ... ***  

                                    
                                                            
***... ขอขอบคุณผู้เข้ามาเยี่ยมชมทุกท่านนะคะ ...***

หมายเลขบันทึก: 506596เขียนเมื่อ 23 ตุลาคม 2012 23:01 น. ()แก้ไขเมื่อ 5 พฤศจิกายน 2012 11:09 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)

มาชื่นชม กิจกรรม การเรียนรู้ ดีดี ครับ

*** ... ขอขอบคุณ  "  ท่าน JJ " Blank   มากนะคะ  ที่กรุณามาเยี่ยมชม และขอบคุณกำลังใจจาก " คุณ  Krupound "    Blank  และ "  Dr.Ple "    Blank   มาก ณ โอกาสนี้เช่นกันค่ะ ... *** 

 

                                                              

                                                                          

มาเชียร์งานของพี่ครับ โอโห ได้ข้อมูลงานมากเลยครับ เปิดเทอมวันไหนครับ

  ***... ขอบคุณ  " น้อง ดร.ขจิต "  Blank   นะจ๊ะ     โรงเรียนเปิดทำการตั้งแต่ 22 ต.ค.แล้วจ้า ....ไถนาได้ตั้งหลายแปลง....และกำลังเตรียมการเรื่องกิจกรรมที่จะจัดขึ้นในวัน 3 พ.ย. นี้  คิดถึง น้อง ดร.ขจิต  มากมายอยากชวนมาร่วมกิจกรรมกับเด็กๆ ...แต่เกรงใจ..อยากให้เก็บพลังงานเพื่องานเฉพาะกิจที่สำคัญๆดีกว่าจ้ะ...*** 


                                                                              

  • สวัสดีครับ
  • ตาม อ.หมอ JJ และ อ.ขจิตมาครับ
  • เยี่ยมมากครับ
  • ไม่ค่อยได้เข้ามาใน G2K นานแล้ว
  • ยินดีที่ได้ ลปรร.ครับ

***... ขอขอบคุณ " คุณสิงห์ ป่าสัก "   Ico48   มากนะคะ     ที่กรุณามาเยี่ยมเยียนและแลกเปลี่ยนเรียนรู้...รอจังหวะดีๆ  จะเข้าไปศึกษาหาความรู้จากบันทึกของคุณสิงห์  ป่าสัก  เช่นกันค่ะ ... ***


                                                                          

เข้ามาชื่นชมในความตั้งใจทำงานสนองพระราชดำริฯ โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชของคุณครูโรงเรียนกำแพงเพชรพิทยาคม อีกคนค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท