Good day Toronto 13


ฉันรู้สึกประหลาดใจที่เธอบอกว่าเพิ่งคลุกคลีกับการดูแลแบบประคับประคอง เพราะดูเหมือนว่าเธอจะเข้าใจในเนื้องานของเธอมาก

ขอบคุณที่อยู่ตรงนั้น ๒

 

Marg จัดให้ฉันไปดูงานที่ Toronto General Hospital และพบกับ Sharon ซึ่งเป็น CNS ด้านการดูแลแบบประคับประคอง โดยใช้เวลาที่นั้น ๔ วัน Loriเขียนnote ไว้ในตารางดูงานว่าช่วงที่อยู่กับ Sharon ว่า please wear comfortable shoes – เพราะแต่ละวันจะต้องเดินมาก และไปหลายที่ ตอนแรกไม่ค่อยเข้าใจ แต่ว่าไงก็ว่าตามกัน

Sharon เป็น CNS ด้านการดูแลแบบประคับประคองมาประมาณ ๑ ปี ก่อนหน้านี้เธอเป็นพยาบาลที่หอผู้ป่วยไอซียู อยู่ ๑๗ ปี เธอจบปริญญาโทด้าน bioethics และสนใจในการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายที่ไม่ต้องการเทคโนโลยีในช่วงสุดท้ายของชีวิต เธอบอกว่าช่วงทำงานพยาบาลในไอซียู ที่นั้นเต็มไปด้วยเทคโนโลยี และเธอรู้สึกอยากสัมผัสกับผู้ป่วยมากกว่า การติดตามสังเกตการทำงานของ Sharon ฉันรู้สึกประหลาดใจที่เธอบอกว่าเพิ่งคลุกคลีกับการดูแลแบบประคับประคอง เพราะดูเหมือนว่าเธอจะเข้าใจในเนื้องานของเธอมาก  Sharon บอกว่าเธอไม่ได้รับการอบรมที่ไหน แต่เป็นการทำงานอย่างหนักในช่วง ๑ ปีที่ผ่านมา เรียนรู้จากผู้ป่วย และการทำงานกับผู้ป่วย ๔ วันต่อสัปดาห์ ร่วมกับการใช้เวลา ๑ วันซึ่งเป็น Academic day เป็นวันทำงานวิชาการ ช่วยให้เธอได้เรียนรู้สิ่งต่างๆ มากขึ้น

ฉันรู้สึกประทับใจในการ approach คนไข้ของ Sharon เธอบอกว่า เธอเรียนรู้จากการสังเกตและเธอก็มีแบบอย่างที่ดีให้ได้เรียนรู้  เธอทำงานร่วมกับทีมการดูแลแบบประคับประคองประกอบด้วยแพทย์  ทุกเช้า เธอ และแพทย์ประจำบ้าน รวมทั้งแพทย์ผู้เชี่ยวชาญการดูแลแบบประคับประคองจะประชุมปรึกษากันเกี่ยวกับผู้ป่วยที่รับให้คำปรึกษาและเป้าหมายการดูแล แต่ละคนในทีมจะมีคนไข้ที่รับผิดชอบประมาณ ๕ – ๘ คน และมีเอกสาร 1 แผ่นที่จะสรุปข้อมูลทั่วไปของผู้ป่วยสั้นๆ คือเตียงและหอผู้ป่วยที่ผู้ป่วยอยู่ ชื่อ วันที่รับไว้ในโรงพยาบาล อายุและเพศ การวินิจฉัย คนที่รับผิดชอบ และ Code status (DNR, Full code or not document) นอกจากนี้จะมีประวัติความเจ็บป่วยที่สำคัญสั้นๆ ประเด็นที่ต้องการการดูแล และ การวางแผนการจำหน่าย

เช่น

Ms X  May 14, 59F, Recurrent rt Pnuemothorax, Sharon, NO CPR

Past medical history: Lung Ca, has declined chemo and rad tx in favor of quality of life. Long Hx including depression, fibromyalgia, PTSD, osteoarthritis COPD, pneumoniax2

Issues: Pain, was on acting morphine and BT HM, change to HM CR 18 bid and HM 6 BT

Discharge plan: home with TLPC and back up PCU

Sharon เริ่มวันโดยการทบทวนข้อมูลของผู้ป่วยที่รับผิดชอบ ติดตามเรื่องการได้รับการจัดการอาการปวดและอาการอื่นๆ การใช้ยาของผู้ป่วยใน 24ชั่วโมงที่ผ่านมา เช่น มีคนไข้รายหนึ่งขอยาแก้ปวด breakthrough pain ทุก 1 ชั่วโมง Sharon เตรียมอภิปรายกับทีมแพทย์เรื่องการบริหารยาในตอนเช้า ซึ่งจะอยู่ที่หน่วย Palliative Consultant Team

หลังจากการประชุมปรึกษากับแพทย์ เธอก็จะออกเยี่ยมผู้ป่วยทุกรายที่รับผิดชอบซึ่งกระจายอยู่ทุกหอผู้ป่วย เมื่อถึงหอผู้ป่วยเธอจะเข้าไปทบทวน chart อย่างละเอียด พูดคุยกับพยาบาลหรือแพทย์ที่รับผิดชอบดูแลผู้ป่วย หรือนักสังคมสงเคราะห์เกี่ยวกับการดูแลผู้ป่วย รวมทั้งสื่อสารถึงเป้าหมายการดูแลของผู้ป่วยตามมุมมองของทีมการดูแลแบบประคับประคอง จากนั้นก็เข้าไปเยี่ยมผู้ป่วย เริ่มจากการประเมินอาการ สอบถามประสบการณ์อาการและความกังวล โดยจะรับฟังอย่างตั้งใจ ตอบสนองต่อความทุกข์หรือข้อกังวลของผู้ป่วยอย่างเห็นอกเห็นใจ และให้ข้อเสนอแนะ ทางเลือก สอบถามเรื่องการตัดสินใจ และความต้องการ รวมทั้งพูดถึงแผนการดูแลที่ทางทีมวางไว้และสอบถามความเห็นของผู้ป่วย และสุดท้ายถามผู้ป่วยว่ามีอะไรเพิ่มเติมที่อยากให้ช่วยเหลืออีกหรือไม่ จากนั้นก็จะกลับมาที่ nursing station  ประสานงานตามปัญหาหรือความต้องการของผู้ป่วยเช่น ประสานกับนักสังคมสงเคราะห์เพื่อให้ช่วยส่งต่อไปยังโรงพยาบาลอื่น หรือ nurse practitioner/nurse ในเรื่องการจัดการกับอาการ ปรึกษาแพทย์ประจำทีมการดูแลแบบประคับประคองเกี่ยวกับการปรับเพิ่มยา รวมทั้งให้คำปรึกษาแก่พยาบาลประจำหอผู้ป่วยเกี่ยวกับการดูแลผู้ป่วย และทำหน้าที่ advocate โดยการรายงานความต้องการของผู้ป่วยให้ทีมการดูแลทราบ หลังจากสิ้นสุดการเยี่ยม เธออาจจะเขียนคำสั่งการรักษา (หลังจากปรึกษาและได้รับการเห็นชอบจากแพทย์ที่ปรึกษาแล้ว) และจะบันทึกการเยี่ยมการให้การดูแลในแบบฟอร์ม Multidisciplinary sheet เพื่อให้ทุกคนในทีมเข้าใจถึงเป้าหมายการดูแล

เมื่อมีผู้ป่วยใหม่ Sharon จะทบทวนประวัติความเจ็บป่วยทั้งหมดของผู้ป่วยก่อนไปที่หอผู้ป่วย จากนั้นเมื่อถึงหอผู้ป่วยก็จะทบทวนข้อมูลจาก chart และสอบถามพยาบาลอีกครั้ง แล้วเข้าไปหาผู้ป่วย แนะนำตัวและบอกว่ามาจาก palliative care consultant team  จากนั้นถามถึงการรับรู้เกี่ยวกับ Palliative care ซึ่งคนไข้บางคนอาจจะคิดว่าตัวเองใกล้ตาย สำหรับคนไข้ที่ไปเยี่ยมรายหนึ่ง คนไข้มีปัญหาเรื่องอาการหายใจเหนื่อยหอบจากโรคปอด และมีภาวะหัวใจวาย มีแผนว่าจะทำการปลูกถ่ายปอดใหม่ lung transplantation ดังนั้นเธอจะบอกว่าการมาเยี่ยมครั้งนี้จะเป็นการมาช่วยเหลือเพื่อจัดการอาการหายใจลำบากก่อนการผ่าตัด และจะติดตามหลังเปลี่ยนปอดแล้วอีกครั้งหรือสองครั้งแล้วจะ  off services จากนั้นก็จะประเมินผู้ป่วย ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นการสอบถามมากกว่าการตรวจร่างกาย เน้นการประเมิน ESAS สอบถามข้อมูลทางสังคม ปัญหาทางจิตใจและวิธีการจัดการอาการ  จากนั้นจะบอกถึงแผนการดูแล และวิธีการในการจัดการอาการ ซึ่งเป็น optional แล้วแต่ว่าผู้ป่วยจะตัดสินใจอย่างไร

สิ่งที่เรียนรู้และเห็นคือ Sharon เหมือนกับ Claire คือมีความมั่นใจในบทบาทของตัวเองและทำมันอย่างมั่นใจ แสดงบทบาทอย่างเต็มที่และชัดเจน และมีความเป็นพยาบาลอยู่ในตัว คือการรับฟังและแสดงความเห็นอกเห็นใจอย่างเหมาะสม Thank for being there, nurse.

 

หมายเลขบันทึก: 506313เขียนเมื่อ 20 ตุลาคม 2012 20:38 น. ()แก้ไขเมื่อ 27 ตุลาคม 2012 08:42 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ส่งกำลังใจมาให้ค่ะ ขอบคุณบันทึกคุณภาพค่ะ

ไม่อนุญาตให้แสดงความเห็น
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท