ปล้น...กลางมหาวิทยาลัย 2


ปล้น...กลางมหาวิทยาลัย 2         


             สืบเนื่องบทความเมื่อคราวที่แล้ว เรื่อง ปล้น...กลางมหาวิทยาลัย เป็นเรื่องราวที่สำนักงบประมาณ จัดสรรงบประมาณให้มหาวิทยาลัย/สถาบันอุดมศึกษา ในการบรรจุอัตราใหม่ที่เป็นตำแหน่งสายวิชาการในอัตรา 1.7เท่า(แรกบรรจุ)ของอัตราข้าราชการ และจัดสรรงบประมาณให้มหาวิทยาลัย/สถาบันอุดมศึกษาในการบรรจุอัตราใหมที่เป็นตำแหน่งสายสนับสนุนในอัตรา 1.5 เท่า(แรกบรรจุ)ของอัตราข้าราชการ
          การที่สำนักงบประมาณจัดสรรเงินงบประมาณให้กับสายวิชาการ (1.7 เท่าของอัตราแรกบรรจุ) สูงกว่าสายสนับสนุน (1.5 เท่าของอัตราแรกบรรจุ) ด้วยเหตุผลที่ว่าสายวิชาการเป็น “บุคลากรสายหลัก” ส่วนสายสนับสนุนเป็นเพียง“บุคลากรสายรอง” ในการขับเคลื่อนภารกิจของมหาวิทยาลัย ซึ่งงบประมาณที่จัดสรรให้มากกว่าการบรรจุเป็น “ข้าราชการ” ของสายวิชาการและสายสนับสนุนจำนวน 1.7 เท่า และ 1.5 เท่าตามลำดับนี้ ได้รวมสวัสดิการต่างๆที่ข้าราชการได้รับ แต่พนักงานมหาวิทยาลัยไม่ได้รับเข้าไปด้วยแล้ว เช่น ค่ารักษาพยาบาล ค่าเล่าเรียนบุตร ค่าเช่าบ้าน ฯลฯ    เพื่อเป็นการจูงใจและรักษาบุคลากรมหาวิทยาลัยที่เป็นอัตราพนักงานมหาวิทยาลัย โดยเฉพาะสายวิชาการเป็นบุคลากรสายหลัก จึงมีบางมหาวิทยาลัยที่กำหนดอัตราแรกบรรจุพนักงานมหาวิทยาลัยให้สายวิชาการ สูงกว่า 1.7 เท่า (ทั้งๆที่สำนักงบประมาณให้เงินมาเพียง 1.7 เท่า) และอัตราแรกบรรจุของพนักงานมหาวิทยาลัยสายสนับสนุน ต่ำกว่า 1.5 เท่า(ทั้งๆที่สำนักงบประมาณให้เงินมา 1.5 เท่า) ซึ่งมีวิธีการบริหารจัดการอยู่ 3-4 วิธีหรือมากกว่านั้น

              บางมหาวิทยาลัยเลือกวิธีบรรจุอัตราในสายวิชาการและสายสนับสนุนในจำนนวนที่น้อยกว่าจำนวนที่สำนักงบประมาณจัดสรรมาให้ สมมุติว่าสำนักงบประมาณจัดสรรสายวิชาการมาให้ 15 อัตรา แต่มหาวิทยาลัยบรรจุเพียง 12 อัตราและ และจัดสรรสายสนับสนุนมาให้10 อัตรา แต่มหาวิทยาลัยบรรจุเพียง 7 อัตรา หลังจากนั้นนำเงินงบประมาณที่เหลือจากการบรรจุน้อยกว่าทั้งสายวิชาการและสายสนับสนุน แล้วนำไปไปบรรจุสายวิชาการ 12 อัตราโดยให้ สูงกว่า 1.7 เท่า อาจเป็น 1.8 -1.9 เท่า ในขณะที่ให้สายสนับสนุน ต่ำกว่า 1.5 เท่า (เพราะไม่ใช้สายงานหลัก) อาจเป็น 1.2 -1.4 เท่า

         บางมหาวิทยาลัยบรรจุอัตราในสายวิชาการและสายสนับสนุนในจำนนวนที่เท่ากับจำนวนที่สำนักงบประมาณจัดสรรมาให้โดยนำเงินงบประมาณของสายวิชาการมารวมกับเงินงบประมาณของสายสนับสนุนเป็นเงินก้อนเดียว(โดยหลักการสามารถทำได้อยู่แล้ว)จากนั้นบรรจุให้สายวิชาการ สูงกว่า 1.7 เท่า อาจเป็น 1.8 -1.9 เท่า ในขณะที่ให้สายสนับสนุน ต่ำกว่า 1.5 เท่า (เพราะไม่ใช้สายงานหลัก) อาจเป็น 1.2 -1.4 เท่า

 

มหาวิทยาลัยที่มีการปฏิบัติดังกล่าว
ผู้เขียนมีความเห็นว่าเป็นการ ปล้น...กลางมหาวิทยาลัย

 

          นอกจากนี้ยังมีการปล้น...กลางมหาวิทยาลัย(ครั้งที่2) อีกรูปแบบหนึ่งที่ผู้เขียนเชื่อว่าปัจจุบันมีการปฏิบัติแบบนี้ในทุกมหาวิทยาลัย หรือในมหาวิทยาลัยส่วนใหญ่ทั่วประเทศนั่นคือการจ่ายเงินประจำตำแหน่งให้แก่พนักงานมหาวิทยาลัย เท่าที่ผู้เขียนมีข้อมูลอยู่ในปัจจุบันมหาวิทยาลัยทุกแห่ง ได้มีการออกข้อบังคับมหาวิทยาลัยว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณากำหนดตำแหน่งและเงินประจำตำแหน่งเป็นการเฉพาะของพนักงานสายวิชาการเท่านั้น!! เงินประจำตำแหน่งพนักงานมหาวิทยาลัยสายวิชาการนี้ได้แก่ เงินประจำตำแหน่งของพนักงานมหาวิทยาลัยสายวิชาการที่มีตำแหน่งทางวิชาการเป็น ผู้ช่วยศาสตราจารย์  รองศาสตราจารย์และ ศาสตราจารย์ ซึ่งสำนักงบประมาณมิได้จัดสรรงบประมาณส่วนนี้มาให้ต่างหาก ซึ่งต่างกับข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัยทั้งสายวิชาการและสายสนับสนุน ที่สำนักงบประมาณจัดสรรงบประมาณที่เป็นเงินประจำตำแหน่ง สำหรับข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัยทั้งสายวิชาการ และสายสนับสนุนทุกคนให้มีสิทธิที่จะได้รับเงินประจำตำแหน่งตามกฎหมายว่าด้วยเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งตามพระราชบัญญัติเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่ง พ.ศ.2538 ที่มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2537 เป็นต้นมา ตามกฎหมายดังกล่าวข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัยที่มีสิทธิได้รับเงินประจำตำแหน่งแบ่งเป็นสองประเภทคือ

  1. ข้าราชการสายอาจารย์(วิชาการ) มีสิทธิได้รับเงินประจำตำแหน่งสองประเภทคือ

1.1 เงินประจำตำแหน่งประเภทวิชาการ
         - ผศ.6 และ ผศ.7 รับ 3,500 บาท/เดือน , ผศ.8 รับ 5,600 บาท/เดือน
         - รศ.7และ รศ.8 รับ 5,600 บาท/เดือน , รศ.9 รับ 9,900 บาท/เดือน
        - ศ.9 และ ศ.10 รับ13,000 บาท/เดือน , ศ.11 รับ 15,600 บาท/เดือน

               1.2 เงินประจำตำแหน่งประเภทผู้บริหารมหาวิทยาลัยของรัฐ(ที่มีวาระการดำรงตำ
                     แหน่ง)
                       - รองคณบดี รองประธานสาขาวิชา รองผู้อำนวยการศูนย์/สถาบัน/สำนัก
                    รองผู้อำนวยการวิทยาลัย รองหัวหน้าแผนอิสระ ผู้ช่วยอธิการบดี และหัวหน้า
                    ภาควิชา รับ 5,600 บาท/เดือน

                       - รองอธิการบดี ประธานสาขาวิชา ผู้อำนวยการศูนย์/สถาบัน/สำนัก
                    ผู้อำนวยการวิทยาลัย หัวหน้าแผนอิสระ  รับ 10,000 บาท/เดือน
                       - อธิการบดี รับ 15,000 บาท/เดือน


          2. ข้าราชการสายบริการวิชาการและบริหารธุรการ(สายสนับสนุน)มีสิทธิได้รับเงินประ
             จำตำแหน่งสองประเภทคือ


              2.1 เงินประจำตำแหน่งประเภทวิชาชีพเฉพาะ(วช.) ชำนาญการ(ช.) หรือเชี่ยวชาญ
                   เฉพาะ(ชช.)

                             ข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัยที่มีสิทธิได้รับเงินประจำตำแหน่งประ
                  เภทวิชาชีพเฉพาะ(วช.) เมื่อดำรงตำแหน่งระดับ 7 ขึ้นไป ได้แก่ วิชาชีพ
                  เฉพาะกายภาพบำบัด ,วิชาชีพเฉพาะทันตแพทย์ , วิชาชีพเฉพาะการพยาบาล ,
                  วิชาชีพเฉพาะการแพทย์ , วิชาชีพเฉพาะการสัตว์แพทย์ , วิชาชีพเฉพาะเทคนิค
                  การแพทย์ , วิชาชีพเฉพาะเภสัชกรรม , วิชาชีพเฉพาะวิศวกรรมเครื่องกล-ไฟฟ้า-
                  ฟ้าสื่อสาร-โยธา-เหมืองแร่-ชลประธาน-นิวเคลียร์-ปิโตรเลี่ยม-วิศวกรรมเกษตร ,
                  วิชาชีพเฉพาะสถาปัตยกรรม , วิชาชีพเฉพาะฟิสิกส์รังสี , วิชาชีพเฉพาะรังสี
                  การแพทย์ ,วิชาชีพเฉพาะการผลิตไอโซโทป , วิชาชีพเฉพาะกีฏวิทยารังสี ,
                  วิชาชีพเฉพาะนิวเคลียร์เคมี , วิชาชีพเฉพาะนิวเคลียร์ฟิสิกส์ และ วิชาชีพเฉพาะ
                  วิทยาการคอมพิวเตอร์

                             ระดับ 7 รับ 3,500 บาท/เดือน
                             ระดับ 8 รับ 5,600 บาท/เดือน                  
                             ระดับ 9 รับ 9,900 บาท/เดือน                   

                             ข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัยที่มีสิทธิได้รับเงินประจำตำแหน่งประ
                   เภทชำนาญการ(ช.) หรือเชี่ยวชาญเฉพาะ(ชช.) เมื่อดำรงตำแหน่งระดับ 9
                    ขึ้นไป
ที่ต้องปฏิบัติงานเป็นงานหลักของหน่วยงานหรือเป็นงานที่ต้องการความ
                   ชำนาญการหรือเชี่ยวชาญเฉพาะด้านได้แก่ด้านกิจการนักศึกษา , นโยบายและ
                   แผน, วิชาการศึกษา , โสตทัศนศึกษา , การเงินและบัญชี ,วิจัย , ประชาสัมพันธ์                  
                   ฯลฯ  โดยเมื่อดำรงตำแหน่งเป็นระดับ 9  ได้รับ 9,900 บาท/เดือน

 

              2.2 เงินประจำตำแหน่งประเภทบริหาร(ไม่มีวาระการดำรงตำแหน่ง)

ข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัยที่มีสิทธิได้รับเงินประจำตำแหน่งประเภทบริหาร เมื่อดำรงตำแหน่งระดับ 8 ขึ้นไป ได้แก่ ผู้อำนวยการกอง เลขานุการคณะ/ศูนย์/สถาบัน/สำนัก หัวหน้า(ผู้อำนวยการ)สำนักงานอธิการบดี

ระดับ 8 รับ   5,600 บาท/เดือน                
ระดับ 9 รับ 10,000 บาท/เดือน

          สิ่งที่ผู้เขียนค้างคาใจเป็นอย่างมากคือ กรณีพนักงานมหาวิทยาลัยสายวิชาการเมื่อได้รับ
การแต่งตั้งให้ไปดำรงตำแหน่งทางวิชาการ เป็น ผู้ช่วยศาสตราจารย์  รองศาสตราจารย์ หรือ ศาสตราจารย์ มหาวิทยาลัยต่างๆก็ไปออกระเบียบ หรือ ข้อบังคับ หรือ ประกาศ ให้พนักงานมหาวิทยาลัยสายวิชาการเหล่านั้นสามารถรับเงินประจำตำแหน่ง “วิชาการ” เมื่อดำรงตำแหน่งทางวิชาการเป็นผู้ช่วยศาสตราจารย์  รองศาสตราจารย์ หรือ ศาสตราจารย์ โดยใช้เม็ดเงินที่สำนักงบประมาณจัดสรรมาในภาพรวม 1.7 เท่าของการบรรจุข้าราชการ


         ผู้เขียนยังไม่เคยเห็นมีมหาวิทยาลัยใดที่ออกเป็นระเบียบ หรือ ข้อบังคับ หรือ ประกาศ ให้พนักงานมหาวิทยาลัยสายสนับสนุนให้สามารถรับเงินประจำตำแหน่งที่เป็น“วิชาชีพ(วช.)” ในการปฏิบัติงานที่เป็นวิชาชีพเช่น พยาบาล แพทย์ สัตว์แพทย์ เทคนิคการแพทย์ เภสัชกรรม วิศวกรรม ฯลฯ โดยใช้ในกรอบเม็ดเงินที่สำนักงบประมาณจัดสรรมาในภาพรวม 1.5 เท่าของการบรรจุข้าราชการ

            พนักงานมหาวิทยาลัยสายวิชาการ(บางแห่ง)นอกจากบรรจุให้ สูงกว่า 1.7 เท่า แล้วยังออกเป็นประกาศ หรือข้อบังคับ หรือระเบียบ ให้สามารถรับเงินประจำตำแหน่ง “วิชาการ” ได้อีกทางหนึ่งด้วย
         ในขณะที่สายสนับสนุนในทกมหาวิทยาลัย การบรรจุก็บรรจุให้ ต่ำกว่า 1.5 เท่า อยู่แล้วยังไม่พอ ยังจะไม่ให้ได้รับประจำตำแหน่งที่ควรจะได้ ในกรณีที่ปฏิบัติงานในตำแหน่งที่เป็นสาชา “วิชาชีพ(วช.)” อีกด้วย

                             ขอบอกว่าเป็นการปล้น...กลางมหาวิทยาลัย (ภาค 2) ครับ


          

 

*********************************************************

 

 

 

 

คำสำคัญ (Tags): #กันย์#จั๊บ
หมายเลขบันทึก: 506190เขียนเมื่อ 19 ตุลาคม 2012 13:34 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 ตุลาคม 2012 13:34 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท