ปล้น...กลางมหาวิทยาลัย 1


ปล้น...กลางมหาวิทยาลัย 1

 

          ท่านผู้อ่านอย่าพึ่งตกใจกับชื่อเรื่องข้างต้น ว่ามีการปล้นกันจริงๆกลางมหาวิทยาลัย แล้วมันเป็นเรื่องที่เกิดกับมหาวิทยาลัยใด จริงๆแล้วมันเป็นการเปรียบเปรยของผู้เขียนเท่านั้นเอง ท่านผู้อ่านส่วนใหญ่หรือเกือบทุกท่านคงทราบดีแล้วว่า รัฐบาลโดยสำนักงบประมาณได้มีการจัดสรรงบประมาณเป็นเงินอุดหนุนทั่วไป เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายภาคบุคลากร(เงินเดือน)สำหรับการบรรจุอัตราพนักงานมหาวิทยาลัยของสถาบันอุดมศึกษาต่างๆของรัฐ ทดแทนการบรรจุอัตราข้าราชการ ที่คณะรัฐมนตรีมีมติไม่ให้เพิ่มอัตราใหม่ที่เป็นอัตราข้าราชการ ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2541 เป็นต้นมา

          โดยสำนักงบประมาณ จะจัดสรรงบประมาณให้มหาวิทยาลัย/สถาบันอุดมศึกษา ในการบรรจุอัตราใหม่ที่เป็นตำแหน่งสายวิชาการในอัตรา 1.7เท่า(แรกบรรจุ)ของอัตราข้าราชการ และ

จัดสรรงบประมาณให้มหาวิทยาลัย/สถาบันอุดมศึกษา ในการบรรจุอัตราใหม่ที่เป็นตำแหน่งสายสนับสนุนในอัตรา 1.5เท่า(แรกบรรจุ)ของอัตราข้าราชการ  สมมุติว่า มหาวิทยาลัยของรัฐแห่งหนึ่งในปีงบประมาณ 2554 ได้รับการจัดสรรให้บรรจุอัตราใหม่จำนวน 100 อัตรา เป็นสายวิชาการคุณวุฒิปริญญาเอก 40 อัตรา ปริญญาโท 40 อัตรา  และเป็นสายสนับสนุนคุณวุฒิปริญญาโท 10 อัตรา ปริญญาตรี 10 อัตรา  สำนักงบประมาณจะจัดสรรงบประมาณเป็นเงินอุดหนุนให้กับมหาวิทยาลัยแห่งนี้ ในการบรรจุอัตราดังกล่าว ในหมวดเงินอุดหนุนเป็นจำนวนเงินทั้งสิ้น 21,788,160 บาท โดยมีรายละเอียด ดังนี้
 

            ตารางที่ 1 แสดงรายละเอียดการคำนวณงบประมาณที่ได้รับการจัดสรรจากสำนักงบ
                              ประมาณ

 

 

คุณวุฒิ

อัตราพนักงาน

ที่ได้รับจัดสรร

อัตราแรกบรรจุ ข้าราชการ

งบประมาณ

ที่ได้รับจัดสรร(ทั้งปี)

วิชาการ

สนับสนุน

วิชาการ

สนับสนุน

ปริญญาตรี

-

10

7,940

-

1,429,200

ปริญญาโท

40

10

9,700

7,915,200

1,746,000

ปริญญาเอก

40

-

13,110

10,697,760

-

รวม

80

20

 

18,612,960

3,175,200

รวมทั้งสิ้น

21,788,160

 

          มหาวิทยาลัยก็นำเงินงบประมาณที่ได้มา 21,788,160 บาท ไปบริหารและจัดการอัตรา
กำลังและงบประมาณของอัตราใหม่ที่ได้รับมาจากสำนักงบประมาณ การที่สำนักงบประมาณจัด
สรรเงินงบประมาณให้กับสายวิชาการ(1.7เท่าของอัตราแรกบรรจุ)สูงกว่าสายสนับสนุน(1.5 เท่า
ของอัตราแรกบรรจุ) ด้วยเหตุผลที่ว่าสายวิชาการเป็น
“บุคลากรสายหลัก” ส่วนสายสนับสนุนเป็นเพียง“บุคลากรสายรอง” ในการขับเคลื่อนภารกิจของมหาวิทยาลัย ซึ่งงบประมาณที่จัดสรรให้มากกว่าการบรรจุเป็น “ข้าราชการ” ของสายวิชาการและสายสนับสนุนจำนวน 1.7 เท่า และ 1.5 เท่าตามลำดับนี้ รวมสวัสดิการต่างๆที่ข้าราชการได้รับ แต่พนักงานมหาวิทยาลัยไม่ได้รับเข้าไปด้วยแล้ว เช่น ค่ารักษาพยาบาล ค่าเล่าเรียนบุตร ค่าเช่าบ้าน ฯลฯ

 

          ด้วยเหตุที่พนักงานมหาวิทยาลัยไม่มีสวัสดิการต่างๆที่ข้าราชการได้รับ  มหาวิทยาลัยต่างๆ จึงหาวิธีการบริหารงบประมาณก้อนนี้ให้เป็นอย่างมีประสิทธิภาพ ในการบำรุงรักษาบุคลากรใหม่ที่เป็นอัตราพนักงานมหาวิทยาลัยให้อยู่กับมหาวิทยาลัยไปนานๆ ดังนั้น....มหาวิทยาลัยต่างๆ เมื่อได้รับงบประมาณส่วนนี้มาแล้วก็มาออกเป็นระเบียบ หรือเป็นประกาศ หรือ เป็นมติที่ประชุมกรรมการบริหาร ฯลฯ ในการบริหารและจัดการอัตรากำลังและงบประมาณตามที่มหาวิทยาลัยได้รับมา  โดยการกำหนดอัตราแรกบรรจุพนักงานมหาวิทยาลัยทั้งสายวิชา
การและสายสนับสนุนไม่ให้สูงกว่ากรอบวงเงินที่สำนักงบประมาณจัดสรรให้มาในจำนวน1.7 เท่า
และ 1.5 เท่าตามลำดับ ตัวอย่างเช่น ของมหาวิทยาลัยขอนแก่น และ มหาวิทยาลัยสงลานครินทร์ ดังตารางที่ 2

 

            ตารางที่ 2 แสดงอัตราแรกบรรจุพนักงานมหาวิทยาลัยขอนแก่น และ มหาวิทยาลัย
                             สงขลานครินทร์ จำแนกตามคุณวุฒิและประเภท

 

 

คุณวุฒิ

อัตราแรกบรรจุ พนักงาน(บาท)

อัตราแรกบรรจุ ข้าราชการ

จำนวนเท่า

วิชาการ

สนับสนุน

วิชาการ

สนับสนุน

มหาวิทยาลัยขอนแก่น

 

ปริญญาตรี

11,910

11,120

7,940

1.50

1.40

ปริญญาโท

14,550

13,580

9,700

1.50

1.40

ปริญญาเอก

19,660

18,360

13,110

1.50

1.40

มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

 

ปริญญาตรี

11,910

10,320

7,940

1.50

1.30

ปริญญาโท

14,550

12,610

9,700

1.50

1.30

ปริญญาเอก

19,670

17,040

13,110

1.50

1.30

          จากตารางข้างต้น.........จะเห็นได้ว่าทั้งมหาวิทยาลัยขอนแก่น และมหาวิทยาลัยสงขลา
นครินทร์ อัตราแรกบรรจุ(ไม่รวมค่าประสบการณ์)ของพนักงานมหาวิทยาลัยสายวิชาการ เป็น 1.5 เท่า ทั้งสองมหาวิทยาลัย ส่วนสายสนับสนุนเป็น 1.4 เท่า และ 1.3 เท่า ตามลำดับโดยมหาวิทยาลัยเก็บเม็ดเงินส่วนต่างของวิชาการและสายสนับสนุนไว้ ทั้งนี้เพื่อมหาวิทยาลัยจะได้นำไปบริหารจัดการเป็นกองทุนต่างๆให้กับพนักงานมหาวิทยาลัยในเรื่องของสวัสดิการต่างๆ ที่ข้าราชการได้รับ แต่พนักงานมหาวิทยาลัยไม่ได้รับ เช่น ค่ารักษาพยาบาล ค่าเล่าเรียนบุตร ค่าเช่าบ้าน ฯลฯ รวมไปถึงเก็บไว้จ่ายเป็นเงินค่าโบนัสที่ข้าราชการได้ แต่พนักงานมหาวิทยาลัยไม่ได้ ตลอดจนเมื่อข้าราชการมีการปรับเพิ่มบัญชีเงินเดือนเพิ่มขึ้น เช่น ในวันที่ 1 เมษายน 2554 ข้าราชการได้รับการปรับเพิ่มเงินเดือนอีกร้อยละ 5 แต่สำนักงบประมาณก็มิได้จัดสรรงบประมาณทั้งสองส่วนนี้(เงินโบนัสและการปรับเพิ่ม 5%)ให้กับพนักงานมหาวิทยาลัยแต่ประการใด  มหาวิทยาลัยต่างๆส่วนใหญ่ จึงกำหนอัตราแรกบรรจุพนักงานมหาวิทยาลัยทั้งสายวิชาการและสายสนับสนุนไม่สูงไปกว่า 1.7 เท่าและ 1.5 เท่า ตามลำดับ  ซึ่งหลักเกณฑ์ตรงนี้แต่ละมหาวิทยาลัยกำหนดไม่เหมือนกัน แต่โดยภาพรวมแล้วใกล้เคียงกันเช่นกรณีของมหาวิทยาลัยขอนแก่นและมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ข้างต้น

          เพื่อเป็นการจูงใจและรักษาบุคลากรมหาวิทยาลัยที่เป็นอัตราพนักงานมหาวิทยาลัย โดย
เฉพาะสายวิชาการเป็นบุคลากรสายหลัก จึงมีบางมหาวิทยาลัยที่กำหนอัตราแรกบรรจุพนักงานมหาวิทยาลัยให้สายวิชาการสูงกว่า 1.7 เท่า ซึ่งมีวิธีการบริหารจัดการอยู่ 3-4 วิธีหรือมากกว่านั้น คือ...

 

วิธีที่หนึ่ง

          มหาวิทยาลัยใช้เงินนอกงบประมาณเข้าสมทบให้กับสายวิชาการโดยให้ สูงกว่า 1.7 เท่าอาจเป็น 1.8 -1.9 เท่า ในขณะที่ให้สายสนับสนุนให้ ต่ำกว่า 1.5 เท่า (เพราะไม่ใช้สายงานหลัก) เงินที่เหลือของสายสนับสนุนอยู่ระหว่าง 0.1 – 0.3 เท่า ตั้งเป็นกองทุนสวัสดิการ และอื่นๆ ให้กับสายสนับสนุน

 

วิธีที่สอง

          มหาวิทยาลัยบรรจุอัตราในสายวิชาการในจำนนวนที่น้อยกว่าจำนวนที่สำนักงบประมาณจัดสรรมาให้ สมมุติว่าสำนักงบประมาณจัดสรรสายวิชาการมาให้ 10 อัตรา แต่มหาวิทยาลัยบรรจุเพียง 8 อัตรา เงินงบประมาณที่ไม่บรรจุ 2 อัตรานี้นำไปเพิ่มการบรรจุสายวิชาการ 8 อัตราให้ สูงกว่า 1.7 เท่า อาจเป็น 1.8 -1.9 เท่า ในขณะที่ให้สายสนับสนุน ต่ำกว่า 1.5 เท่า (เพราะไม่ใช้สายงานหลัก)อาจเป็น 1.2 -1.4 เท่า เงินที่เหลือของสายสนับสนุนอยู่ระหว่าง 0.1 - 0.3 เท่า ตั้งเป็นกองทุนสวัสดิการ และอื่นๆ ให้กับสายสนับสนุน

 

วิธีที่สาม

          มหาวิทยาลัยบรรจุอัตราในสายวิชาการและสายสนับสนุนในจำนนวนที่น้อยกว่าจำนวนที่สำนักงบประมาณจัดสรรมาให้ สมมุติว่าสำนักงบประมาณจัดสรรสายวิชาการมาให้ 15 อัตรา แต่มหาวิทยาลัยบรรจุเพียง 12 อัตราและ และจัดสรรสายสนับสนุนมาให้10 อัตรา แต่มหาวิทยาลัยบรรจุเพียง 7 อัตรา เงินงบประมาณที่เหลือจากการบรรจุน้อยกว่าทั้งสายวิชาการและสายสนับสนุน นำไปไปบรรจุสายวิชาการ 12 อัตราโดยให้ สูงกว่า 1.7 เท่า อาจเป็น 1.8 -1.9 เท่า ในขณะที่ให้สายสนับสนุน ต่ำกว่า 1.5 เท่า (เพราะไม่ใช้สายงานหลัก) อาจเป็น 1.2 -1.4 เท่า เงินที่เหลือของสายสนับสนุน 0.1 - 0.3 เท่า ตั้งเป็นกองทุนสวัสดิการ และอื่นๆ ให้กับสายสนับสนุน

 

วิธีที่สี่

          มหาวิทยาลัยบรรจุอัตราในสายวิชาการและสายสนับสนุนในจำนนวนที่เท่ากับ จำนวนที่สำนักงบประมาณจัดสรรมาให้  โดยนำเงินงบประมาณของสายวิชาการมารวมกับเงินงบประมาณของสายสนับสนุนเป็นเงินก้อนเดียว(โดยหลักการสามารถทำได้อยู่แล้ว) จากนั้นบรรจุให้สายวิชาการ สูงกว่า 1.7 เท่า อาจเป็น 1.8 -1.9 เท่า ในขณะที่ให้สายสนับสนุน ต่ำกว่า 1.5 เท่า (เพราะไม่ใช้สายงานหลัก) อาจเป็น 1.2 -1.4 เท่า

 

          เนื่องจากวิธีการบริหารจัดการงบประมาณตามข้างต้นนี้ของมหาวิทยาลัยต่างๆไม่ได้มีการเผยแพร่ไปสู่สาธารณะ จึงไม่ทราบว่ามหาวิทยาลัยใดเลือกแบบที่ หนึ่ง-สอง-สาม หรือ สี่ แต่ถ้ามีมหาวิทยาลัยใดเลือกวิธีการบริหารจัดการวิธีที่สาม หรือ วิธีที่สี่ ผู้เขียนเห็นว่าเป็นการปล้นกันจะๆ กลางมหาวิทยาลัยครับ

         

          ในความเห็นของผู้เขียน ในเมื่อสำนักงบประมาณจัดสรรเงินงบประมาณก้อนนี้เป็นแบบ “เงินอุดหนุนทั่วไป” ทำให้มหาวิทยาลัยมีความคล่องตัวในการบริหารจัดการงบประมาณก้อนนี้ เช่น สามารถบรรจุอัตราจำนวนน้อยกว่าจำนวนที่ได้รับจัดสรรมา แล้วจะนำเงินส่วนที่ไม่ได้บรรจุไปเพิ่มอัตราแรกบรรจุให้สูงกว่าที่สำนักงบประมาณให้มา(1.7 เท่า หรือ 1.5 เท่า) นอกจากนี้ยังสามารถนำเงินส่วนที่เหลือนี้ไปตั้งเป็นกองทุนสวัสดิการอื่นๆ ได้อีก

          ผู้เขียนเห็นว่าในการที่จะรักษาทรัพยากรบุคคลที่ได้มาให้อยู่กับมหาวิทยาลัยนานๆ นอก
จากจะเพิ่มที่สวัสดิการแล้ว อัตราค่าจ้างแรกบรรจุ(เงินเดือน)ด้วยวุฒิการศึกษาเท่ากันในแต่ละตำแหน่งแม้จะเป็นสายวิชาการด้วยกันไม่ควรที่จะให้เท่ากัน ซึ่งในระบบเอกชนเขาทำกันมานานแล้ว เช่น ตำแหน่งแรกบรรจุวุฒิปริญญาเอกของอาจารย์คณะวิศวกรรมศาสตร์ ไม่ควรเท่ากับตำแหน่งแรกบรรจุวุฒิปริญญาเอกของอาจารย์คณะศึกษาศาสตร์ เช่นสมมุติว่าคณะวิศวกรรม
ศาสตร์ให้เป็น 1.8 เท่า หรือ 1.9 เท่า(สูงกว่าที่ได้รับจัดสรรมา 1.7 เท่า) แล้วให้ไปลดคณะอื่นๆ

(ไม่จำเป็นต้องเป็นคณะศึกษาศาสตร์)ให้เป็น 1.5 เท่า หรือ 1.6 (น้อยกว่าที่ได้รับจัดสรรมา 1.7 เท่า) เป็นต้น การเกลี่ยโดยวิธีนี้ต้องใช้วงเงินงบประมาณของสายวิชาการที่ได้รับมาเท่านั้น ไม่ใช่เป็นการเพิ่มที่สายวิชาการ แล้วไปลดเฉพาะที่สายสนับสนุน

 

          ในทำนองเดียวกัน ในสายสนับสนุนก็เช่นเดียวกัน ผู้เขียนไม่เห็นด้วยกับการที่จะบรรจุตำแหน่งวิศวกรไฟฟ้าด้วยวุฒิปริญญาตรี โดยมีอัตราค่าจ้างแรกบรรจุ(เงินเดือน)เท่ากับตำแหน่งเจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไปที่มีวุฒิปริญญาตรี มหาวิทยาลัยอาจหาวิธีจูงใจในการบรรจุตำแหน่งสายสนับสนุนที่เป็นที่ต้องการเอกชน หรือตลาดแรงงานสูงๆ เช่น เป็นสาขาที่เรียนยาก สำเร็จการศึกษายาก มีคนจบน้อย เพื่อให้ได้บุคคลดังกล่าวเข้าสู่มหาวิทยาลัย อัตราแรกบรรจุ(เงินเดือน)ของพนักงานมหาวิทยาลัยในตำแหน่งดังกล่าวควรใกล้เคียงกับเอกชน โดยอาจให้สูงกว่า 1.5 เท่าที่สำนักงบประมาณให้มา แล้วไปลดอัตราแรกบรรจุ(เงินเดือน)ในตำแหน่งสายงานที่มีผู้เรียนมากๆ มีผู้สำเร็จการศึกษาเยอะ ประกาศรับ 1 อัตรา แต่มีผู้มาสมัครเป็นร้อยเป็นพันให้เลือกเพียงหนึ่งอัตรา อาจจะกำหนดให้เหลือเป็น 1.1 เท่า หรือ 1.2 เท่า แต่ต้องไม่น้อยไปกว่าอัตราแรกบรรจุของตำแหน่งข้าราชการ ที่ ก.พ. กำหนดเป็น ปริญญาตรี 7,940 บาท ปริญญาโท 9,700 บาท หรือ ปริญญาเอก 13,110 บาท เป็นต้น

 

 

 

 

*********************************************************

 

 

 

 

คำสำคัญ (Tags): #กันย์#จั๊บ
หมายเลขบันทึก: 506189เขียนเมื่อ 19 ตุลาคม 2012 13:27 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 ตุลาคม 2012 13:29 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท