ก.พ.อ. กับสองมาตรฐาน


ก.พ.อ. กับสองมาตรฐาน      

 

          ตามประกาศ ก.พ.อ. เรื่อง มาตรฐานการกำหนดระดับตำแหน่งและการแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาให้ดำรงตำแหน่งสูงขึ้น พ.ศ. 2553 ซึ่งประกาศและมีผลบังคับใช้เมื่อเดือนธันวาคม 2553 ที่ผ่านมา

          โดยประกาศฉบับนี้ได้ยกเลิกประกาศ ก.พ.อ. เรื่อง มาตรฐานการกำหนดระดับตำแหน่งและการแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาให้ดำรงตำแหน่งสูงขึ้น ที่ประกาศ ณ วันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2550 และ ฉบับที่ 2 ณ วันที่ 20 สิงหาคม 2551 โดยประกาศฉบับใหม่นี้ของ ก.พ.อ. เพื่อให้สภาสถาบันอุดมศึกษาใช้เป็นแนวทางในการออกข้อบังคับว่าด้วยการกำหนดระดับตำแหน่งและการแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาให้ดำรงตำแหน่งสูงขึ้น

          ในความเห็นของผู้เขียนๆ เห็นว่า ก.พ.อ. กำลังจะยกระดับผลงานทางวิชาการที่ใช้ขอกำหนดตำแหน่งให้สูงขึ้นเป็น  ผู้ชำนาญการ  ผู้เชี่ยวชาญ   ของข้าราชการสายสนับสนุนในสถาบันอุดมศึกษา ให้เข้มข้นกว่าการเสนอผลงานทางวิชาการที่ใช้ขอกำหนดตำแหน่งให้สูงขึ้นเป็น ผู้ช่วยศาสตราจารย์  รองศาสตราจารย์ และ ศาสตราจารย์ ของข้าราชการสายวิชาการที่เป็น “บุคลากรสายหลัก” ของสถาบันอุดมศึกษา  ทั้งๆที่บุคลากรสายสนับสนุนเป็นเพียง “บุคลากรสายรอง” ที่ทำหน้าที่เพียงแค่ปฏิบัติการให้การสนับสนุนแก่บุคลากรสายวิชาการที่เป็นสายหลักของสถาบันอุดมศึกษาในการปฏิบัติงานให้บรรลุภารกิจหลักของสถาบันอุดมศึกษาในการสอน วิจัย บริการวิชาการ และทะนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม

อะไรที่ทำให้ผู้เขียนเข้าใจเช่นนั้น?

          ในประกาศ ก.พ.อ. เรื่อง มาตรฐานการกำหนดระดับตำแหน่งและการแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาให้ดำรงตำแหน่งสูงขึ้น พ.ศ. 2553

 

          ข้อ 5 หลักเกณฑ์การประเมินเพื่อแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งสูงขึ้น

                  ข้อ (2) ตำแหน่งประเภททั่วไป ระดับชำนาญงาน และระดับชำนาญงานพิเศษ

  1. ผลงานที่แสดงความเป็นผู้ชำนาญงาน และผู้ชำนาญงานพิเศษ ได้แก่

(ค1) ระดับชำนาญงานต้องมีคู่มือปฏิบัติงานหลักอย่างน้อยหนึ่งเล่ม

(ค2) ระดับชำนาญงานพิเศษต้องมีคู่มือปฏิบัติงานหลักอย่างน้อยหนึ่ง

เล่มและผลงานเชิงวิเคราะห์ซึ่งแสดงให้เห็นถึงการพัฒนางานในหน้าที่อย่างน้อยหนึ่งเรื่อง

                  ข้อ (3) ตำแหน่งประเภทวิชาชีพเฉพาะหรือเชี่ยวชาญเฉพาะ

                      (ก 1) ระดับชำนาญการ  

                      (ก 1.3) ผลงานที่แสดงความเป็นผู้ชำนาญการ ได้แก่

                                 (1.3.1) คู่มือการปฏิบัติงานหลัก อย่างน้อย 1 เล่ม และ 

                                 (1.3.2) ผลงานเชิงวิเคราะห์ หรือสังเคราะห์ หรือ งานวิจัย ซึ่งแสดงให้เห็นถึงการพัฒนางานในหน้าที่ อย่างน้อยหนึ่งเรื่อง

 

                      (ก 2) ระดับชำนาญการพิเศษ   

                      (ก 2.3) ผลงานที่แสดงความเป็นผู้ชำนาญการพิเศษ ได้แก่

                                 (2.3.1) ผลงานเชิงวิเคราะห์ หรือสังเคราะห์ ซึ่งแสดงให้เห็นถึงการพัฒนางานของหน่วยงาน อย่างน้อยหนึ่งเรื่อง และ 

                                 (2.3.2)งานวิจัย หรือผลงานในลักษณะอื่นที่เป็นประโยชน์ต่อหน่วย
งาน อย่างน้อยหนึ่งเรื่อง/รายการ

 

                      (ก 3) ระดับเชี่ยวชาญ    

                      (ก 3.3) ผลงานที่แสดงความเป็นผู้เชี่ยวชาญ ได้แก่

                                 (3.3.1) ผลงานเชิงวิเคราะห์ หรือสังเคราะห์ หรือผลงานในลักษณะอื่น ซึ่งแสดงให้เห็นถึงการพัฒนางานของสถาบันอุดมศึกษา อย่างน้อยหนึ่งเรื่อง/รายการ และ 

                                 (3.3.2) งานวิจัย ซึ่งได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ในระดับชาติหรือระดับนานาชาติ อย่างน้อยหนึ่งเรื่อง/รายการ

 

                      (ก 4) ระดับเชี่ยวชาญพิเศษ     

                      (ก 4.3) ผลงานที่แสดงความเป็นผู้เชี่ยวชาญพิเศษ ได้แก่

                                 (4.3.1) ผลงานเชิงวิเคราะห์ หรือสังเคราะห์ หรือผลงานในลักษณะอื่น ซึ่งแสดงให้เห็นถึงการพัฒนางานของสถาบันอุดมศึกษา อย่างน้อยหนึ่งเรื่อง/รายการ และ 

                                 (4.3.2) งานวิจัย ซึ่งได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ในระดับชาติหรือระดับนานาชาติ อย่างน้อยหนึ่งเรื่อง/รายการ

                           ผู้เขียนมีข้อสังเกตว่า....

 [1] ก.พ.อ.ได้กำหนด(บังคับ)ให้ผู้ที่จะขอกำหนดตำแหน่งเป็น ผู้ชำนาญงาน ผู้ชำนาญงานพิเศษต้องส่งผลงานที่เป็นคู่มือปฏิบัติงาน ทั้งสองระดับ ในประเด็นนี้ผู้เขียนเห็นด้วยเป็นอย่างยิ่งกับการบังคับให้ส่งผลงานที่เป็นคู่มือปฏิบัติงาน เนื่องจากในกลุ่มนี้เป็นผู้ที่บรรจุด้วยวุฒิต่ำกว่าปริญญา(ปวช. ปวท. และ ปวส.)จึงยังไม่มีขีดความสามารถในการทำงานวิจัย ส่วนในระดับผู้ชำนาญงานพิเศษได้บวกเพิ่มผลงานเชิงวิเคราะห์อีกอย่างน้อยหนึ่งเรื่องผู้เขียนเห็นด้วย

 [2] ก.พ.อ.ได้กำหนด(กึ่งบังคับ)ให้ผู้ที่จะขอกำหนดตำแหน่งเป็น ผู้ชำนาญการ ผู้ชำนาญการพิเศษ ผู้เชี่ยวชาญ และ ผู้เชี่ยวชาญพิเศษ ต้องส่งผลงานที่เป็นงานวิจัย ในทุกระดับที่ยื่นขอกำหนดตำแหน่ง ที่เบากว่าเพื่อนคือระดับผู้ชำนาญการยังมีโอกาสให้เลือกเป็นผล
งานเชิงวิเคราะห์ หรือสังเคราะห์ ถ้าไม่ส่งเป็นงานวิจัย  

ถัดมาในตำแหน่งผู้ชำนาญการพิเศษที่ให้เลือกว่าจะส่งงานวิจัยหรือผลงานในลักษณะอื่นที่เป็นประโยชน์ต่อหน่วยงาน(หากจะไม่ส่งงานวิจัย) เมื่อตามไปดูที่เอกสารแนบท้ายประกาศ ก.พ.อ. ๆ ได้ให้คำนิยามผลงานในลักษณะอื่นหมายถึง สิ่งประดิษฐ์ หรืองานสร้างสรรค์ หรือผลงานด้านศิลปะ ตกแต่ง ซ่อมบำรุง ซึ่งมิใช่มีลักษณะเป็นเอกสาร หนังสือ คู่มือ หรืองานวิจัย จากคำนิยามนี้จะมีสายสนับสนุนซักกี่คนในสถาบันอุดมศึกษาที่จะมีโอกาสให้สร้างผลงานในลักษณะอื่นตามคำนิยามของ ก.พ.อ. นี้

          ในเรื่องที่ประกาศ ก.พ.อ. บังคับ หรือ กึ่งบังคับให้สายสนับสนุนต้องส่งผลงานเป็นงานวิจัยเพื่อขอกำหนดตำแหน่งให้สูงขึ้น นับว่าเป็นสิ่งที่ไม่เป็นธรรมกับสายสนับสนุนเป็นอย่างมากด้วยเหตุผล 2 ประการคือ

          ประการแรก สายสนับสนุนในสถาบันอุดมศึกษาของรัฐตามระบบบริหารงานบุคคลใหม่(ระบบแท่ง) แบ่งออกเป็นสองประเภทๆแรกเรียกว่าประเภททั่วไปซึ่งจะเป็นผู้ที่บรรจุด้วยวุฒิ ต่ำกว่าปริญญา(ปวช. ปวท. และ ปวส.)  ประเภทที่สองเรียกว่าประเภทวิชาชีพเฉพาะ เชี่ยวชาญเฉพาะซึ่งเป็นผู้บรรจุด้วยวุฒิปริญญาตรีขึ้นไป  แต่จะมีส่วนน้อยบรรจุด้วยวุฒิปริญญาโท และมีส่วนหนึ่งทำงานไปแล้วระยะหนึ่งศึกษาต่อในระดับปริญญาเอก แต่ทั่วทั้งประเทศมีไม่เกิน 10 คนที่มีวุฒิปริญญาเอก จะมีน้อยนักที่สถาบันอุดมศึกษาจะเปิดสอบบรรจุสายสนับสนุนด้วยวุฒิปริญญาเอก ดังนั้นสายสนับสนุนที่บรรจุด้วยวุฒิ ปวช. ปวท. ปวส.  ปริญญาตรี จึงไม่มีความรู้หรือขีดความสามารถที่จะทำงานวิจัยได้ จะมีก็ส่วนน้อยที่บรรจุด้วยวุฒิปริญญาโทที่พอจะทำวิจัยได้ ผู้เขียนขอเน้นว่า “พอจะทำวิจัยได้คือทำได้พอกระท่อนกระแท่นเท่านั้น และสายสนับสนุนที่บรรจุด้วยวุฒิปริญญาโทอย่าไปคิดว่าจะสามารถทำวิจัยได้ทุกคน ในเมื่อไม่มีภาระงานวิจัยจึงไม่ได้ทำวิจัยเป็นหลัก หรืออาจกล่าวได้ว่าสายสนับสนุนที่มีวุฒิปริญญาโท “ทั้งชีวิตเคยทำวิจัยเพียงครั้งเดียว” เมื่อครั้งทำวิทยานิพนธ์เท่านั้นเอง ดังนั้นการที่ประกาศ ก.พ.อ. ฉบับนี้ ที่กำหนด(กึ่งบังคับ)ให้สายสนับสนุน(ปริญญาตรีขึ้นไป) ผู้ที่จะขอกำหนดตำแหน่งให้สูง

ขึ้นเป็นผู้ชำนาญการ ผู้เชี่ยวชาญ ผู้เชี่ยวชาญพิเศษ ที่ต้องมีงานวิจัยเป็นหนึ่งในผลงานที่ใช้ยื่นประกอบการขอกำหนดตำแหน่ง จึงเสมือนการไปกำหนด(กึ่งบังคับ)ให้เขามี หรือให้เขาทำ ในสิ่งที่เขาไม่มี หรือเกินความรู้ความสามารถของเขา ซึ่งไม่ต่างอะไรกับการที่หน่วยงานราชการแห่งหนึ่งทำการสอบแข่งขันเพื่อบรรจุ “พนักงานธุรการ” ด้วยวุฒิ ปวส. แต่ไปกำหนดคุณสมบัติผู้สมัครว่าต้องมีความรู้ความสามารถในการ ร่าง-โต้ตอบหนังสือ หรือ เขียนโครงการ หรือ ประเมินโครงการได้ ซึ่งเป็นสิ่งที่เกินความรู้ความสามารถในระดับ ปวส. การกำหนดเช่นนี้เป็นความรู้ความสามารถของผู้ที่สำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาตรีขึ้นไปจึงจะทำได้

          ผู้เขียนจึงไม่เห็นด้วยเป็นอย่างยิ่งกับ ก.พ.อ. ในการกำหนด(กึ่งบังคับ)ให้มีงานวิจัยเป็นผลงานเป็นผลงานหนึ่งที่ต้องใช้ยื่นขอกำหนดตำแหน่งเป็น ผู้ชำนาญการ ผู้เชี่ยวชาญ ผู้เชี่ยวชาญพิเศษ ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบกับประกาศ ก.พ.อ. ในเรื่องเดียวกันนี้ที่ ก.พ.อ.ประกาศใช้ ณ วันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2550 และ 20 สิงหาคม 2551 ที่ยกเลิกไป(ในปี 2553)ก็มิได้มีข้อความหนึ่งหรือข้อความใดที่กำหนด(กึ่งบังคับ)ให้ว่าต้องมีงานวิจัย มีเพียงแต่ว่าผู้ที่จะขอกำหนดตำแหน่งเป็นผู้เชี่ยวชาญต้องเป็นตำแหน่งสายงานที่บรรจุด้วยวุฒิปริญญาตรีเท่านั้น ซึ่งปริญญาตรีก็ยังไม่มีความรู้ความสามารถในการทำวิจัยได้ ประกาศของ ก.พ.อ. ในปี 2550 และ 2551 จึงมิได้กำหนด(บังคับ)ให้มีงานวิจัย เป็นผลงานเป็นผลงานหนึ่งที่ต้องใช้ยื่นขอกำหนดตำแหน่งเป็น ผู้ชำนาญการ ผู้เชี่ยวชาญ ผู้เชี่ยวชาญพิเศษ ซึ่งเป็นสิ่งที่ผู้เขียนเห็นว่าถูกต้องและเป็นธรรมดีอยู่แล้ว เหตุไฉนในปี 2553 ก.พ.อ. จึงคิดว่าสายสนับสนุนผู้มีวุฒิเพียงแค่ปริญญาตรี จึงมีความรู้ความสามารถในการทำวิจัยได้

          กลับมาดูที่ประกาศ ก.พ.อ. เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณาแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์  รองศาสตราจารย์ และศาสตราจารย์(ฉบับที่ 2) พ.ศ.2550 ที่ยังมีผลบังคับใช้อยู่ในปัจจุบัน มิได้มีการยกเลิก

          ข้อ 5.1  การแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์

                  5.1.3 ผลงานทางวิชาการ ประกอบด้วยผลงาน ต่อไปนี้

                      (1) 1.1 ผลงานวิจัยซึ่งมีคุณภาพดีและได้รับการเผยแพร่ตามเกณฑ์ที่ ก.พ.อ.กำหนด ทั้งนี้ไม่นับงานวิจัยที่ทำเป็นส่วนของการศึกษาเพื่อรับปริญญาหรือประกาศนียบัตรใดๆหรือ    

                           1.2 ผลงานทางวิชาการในลักษณะอื่น ซึ่งมีคุณภาพดี  และ 

                      (2)  ผลงานแต่งหรือเรียบเรียง ตำรา หนังสือ หรือบทความทางวิชาการ ซึ่งมีคุณภาพดี และได้รับการเผยแพร่ตามเกณฑ์ที่ ก.พ.อ. กำหนด

 

          ข้อ 5.2  การแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งรองศาสตราจารย์

                  5.2.3 ผลงานทางวิชาการ ประกอบด้วยผลงาน ต่อไปนี้

                      (1) 1.1 ผลงานวิจัยซึ่งมีคุณภาพดีและได้รับการเผยแพร่ตามเกณฑ์ที่ ก.พ.อ.กำหนด ทั้งนี้ไม่นับงานวิจัยที่ทำเป็นส่วนของการศึกษาเพื่อรับปริญญาหรือประกาศนียบัตรใดๆหรือ    

                           1.2  ผลงานทางวิชาการในลักษณะอื่น ซึ่งมีคุณภาพดี  และ 

                      (2)  ผลงานแต่งหรือเรียบเรียง ตำรา หนังสือ หรือบทความทางวิชาการ ซึ่งมีคุณภาพดี และได้รับการเผยแพร่ตามเกณฑ์ที่ ก.พ.อ. กำหนด

 

          ข้อ 5.3  การแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งศาสตราจารย์

                  5.3.3 ผลงานทางวิชาการ ประกอบด้วยผลงาน ต่อไปนี้

                      (1) 1.1 ผลงานวิจัยซึ่งมีคุณภาพดีมากและได้รับการเผยแพร่ตามเกณฑ์ที่ ก.พ.อ.กำหนด    ทั้งนี้ไม่นับงานวิจัยที่ทำเป็นส่วนของการศึกษาเพื่อรับปริญญาหรือประกาศนีย

บัตรใดๆ หรือ

                               1.2 ผลงานทางวิชาการในลักษณะอื่น ซึ่งมีคุณภาพดี  และ 

                      (2)  ผลงานแต่งตำรา หนังสือ หรือบทความทางวิชาการ ซึ่งมีคุณภาพดี และได้รับการเผยแพร่ตามเกณฑ์ที่ ก.พ.อ. กำหนด

          เมื่อพิจารณาตามประกาศของ ก.พ.อ. ในข้อ 5.1 , 5.2 และ 5.3 ผลงานทางวิชาการที่ใช้ยื่นขอกำหนดตำแหน่งเป็นผู้ช่วยศาสตราจารย์  รองศาสตราจารย์  และศาสตราจารย์ตามลำดับ แม้ ก.พ.อ.  กำหนดว่ามีงานวิจัยในการขอกำหนดตำแหน่งแต่มิได้เป็นไปในลักษณะ “บังคับ” ว่าต้องมีหรือส่งงานวิจัย เพราะในตัวประกาศยังเปิดทางเลือกให้ส่งผลงานทางวิชาการในลักษณะอื่นแทนงานวิจัยได้(โดยใช้ข้อความว่าหรือ) ผู้เขียนมีความเห็นว่าสายวิชาการเสียอีกยิ่งมีความจำเป็นต้องกำหนดบังคับให้ต้องมีผลงานวิจัยในการส่ง ด้วยเหตุผลสองประการคือ
1) สายวิชาการทุกคนเริ่มต้นบรรจุด้วยวุฒิปริญญาโท ยิ่งมหาวิทยาลัยใดที่เข้าโครงการในมหาวิทยาลัยแห่งการวิจัย ถึงกับกำหนดว่าสายวิชาการวุฒิขั้นต่ำในการบรรจุต้องเป็นปริญญาเอกเท่านั้น  ซึ่งไม่ว่าจะเป็นปริญญาโท หรือปริญญาเอก สายวิชาการทุกคนล้วนทำวิจัยได้ 
2) สายวิชาการมิได้มีภารกิจในการสอนแต่เพียงอย่างเดียว ยังมีภารกิจในการวิจัย บริการวิชาการ และทะนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม ดังนั้นถ้า ก.พ.อ. จะกำหนดให้สายวิชาการต้องส่งผลงานวิจัยในการขอกำหนดตำแหน่งให้สูงขึ้นจึงเป็นสิ่งที่ ก.พ.อ. พึ่งกำหนดได้ ในขณะที่สายสนับสนุนส่วนใหญ่วุฒิการศึกษาไม่เอื้อต่อการทำวิจัย เพราะส่วนใหญ่มีวุฒิเพียงปริญญาตรี และส่วนน้อยที่มีวุฒิปริญญาโท-เอกที่พอจะสามารถทำวิจัยได้ แม้จะทำวิจัยได้ผู้เขียนเห็นว่าก็แค่พอกระท่อนกระแท่นเท่านั้น คือไม่เชี่ยวชาญในการทำวิจัยเหมือนสายวิชาการ และที่สำคัญไม่ใช่ว่าเป็นงานวิจัยอะไรก็สามารถนำมายื่นได้ ต้องเป็นงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับตำแหน่งหน้าที่การงานจึงจะนำมายื่นได้ สายสนับสนุนเมื่อไปร่วมเป็นนักวิจัยร่วมกับสายวิชาการในการทำวิจัย เช่น เรื่อง วิจัยปัญหาน้ำเสีย วิจัยเรื่องดินเค็ม วิจัยเรื่องสิ่งแวดล้อมเป็นพิษ ฯลฯ งานวิจัยเหล่านี้สายสนับสนุนไม่สามารถนำมายื่นได้ เพราะไม่เกี่ยวข้องกับหน้าที่การงาน แต่สายวิชาการนำไปใช่ยื่นได้

          สรุปว่าในสายวิชาการ เมื่อพิจารณาที่หัวข้อ ข้อ 5.3  การแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งศาสตราจารย์ และ ข้อ 5.3.3 ผลงานทางวิชาการที่ยื่นไม่ต้องมีงานวิจัยก็สามารถเป็น “ศาสตราจารย์” ได้เพราะใช้คำว่า “หรือ” แต่สายสนับสนุนเพียงแค่ตำแหน่งผู้ชำนาญการพิเศษ หรือผู้เชี่ยวชาญต้องมีงานวิจัย เพราะใช้คำว่า “และ”  อย่างนี้มันถูกต้องและเป็นธรรม กับสายสนับสนุนแล้วหรือ

 

ประการที่สอง ที่ผู้เขียนเห็นว่าประกาศฉบับนี้ของ ก.พ.อ. ไม่เป็นธรรมกับสายสนับสนุนเป็นอย่างยิ่ง ในเรื่องของผลงานวิจัยของสายสนับสนุนที่นำมายื่นขอกำหนดตำแหน่งในระดับ  ผู้เชี่ยวชาญ และ ผู้เชี่ยวชาญพิเศษต้องเป็นผลงานวิจัยซึ่งได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ในระดับชาติหรือระดับนานาชาติ  ผู้เขียนอยากจะรู้เหมือนกันว่าทั่วทั้งประเทศจะมีสายสนับสนุนสักกี่คนที่มีผลงานวิจัยที่อยู่ในขั้นจะได้รับการพิจารณาให้ตีพิมพ์เผยแพร่ในระดับชาติ หรือระดับนานาชาติ 

             สายวิชาการเสียอีกที่มีทั้งคุณวุฒิ ความรู้ ความสามารถในการทำงานวิจัยสูงกว่าสายสนับสนุนเป็นไหนๆ ก็ยังหาผู้ที่มีผลงานวิจัยที่ได้รับตีพิมพ์เผยแพร่ในระดับชาติหรือระดับนานาชาติได้ยากเลย ในขณะที่ผลงานวิจัยของสายวิชาการ(ถ้าจะนำมายื่น ซึ่งไม่จำเป็นต้องยื่นเพราะ ก.พ.อ.ใช้คำว่าหรือ) ก.พ.อ. กำหนดแต่เพียงว่าให้ ได้รับการเผยแพร่ตามเกณฑ์ที่ ก.พ.อ.กำหนด และเมื่อผู้เขียนพลิกไปดูเอกสารแนบท้ายประกาศของ ก.พ.อ. เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณาแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่ง ผู้ช่วยศาสตราจารย์ รองศาสตราจารย์ และ ศาสตราจารย์(ฉบับที่2) พ.ศ.2550 ซึ่งยังมีผลบังคับใช้ในปัจจุบัน ก.พ.อ.ได้กำหนดว่าการเผยแพร่ผลงานวิจัยของสายวิชาการให้ เผยแพร่ในลักษณะหนึ่งลักษณะใด ดังนี้...

  1. เผยแพร่ในรูปแบบบทความวิจัยในวารสารทางวิชาการ ทั้งนี้วารสารทางวิชาการนั้นอาจเผยแพร่เป็นรูปเล่มสิ่งพิมพ์หรือเป็นสื่ออิเลคทรอนิกส์ที่มีกำหนดการเผยแพร่อย่างแน่นอนชัดเจน
  2. เผยแพร่ในหนังสือรวบรวมบทความวิจัยในรูปแบบอื่นที่มีบรรณาธิการประเมินและตรวจสอบคุณภาพ
  3. นำเสนอเป็นบทความวิจัยต่อที่ประชุมวิชาการ ซึ่งภายหลังจากการประชุมทางวิชาการได้มีการบรรณาธิการและนำไปรวมเล่มเผยแพร่ในหนังสือประมวลผลการประชุมทางวิชาการของการประชุมทางวิชาการระดับชาติหรือนานาชาติ
  4. การเผยแพร่รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์ที่มีรายละเอียดและความยาว ต้องแสดงหลักฐานว่าได้ผ่านประประเมินคุณภาพโดยผู้ทรงคุณวุฒิและแสดงหลักฐานว่าได้เผยแพร่ไปยังวงวิชาการและวิชาชีพในสาขาวิชานั้น และสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องในประเทศและต่างประเทศอย่างกว้างขวาง

  ถ้าผู้เขียนเป็นสายวิชาการ และกำลังยื่นขอกำหนดตำแหน่งเป็นศาสตราจารย์   และมีงานวิจัยเป็นผลงานหนึ่งที่ใช้ยื่นประกอบ ผู้เขียนแค่นำงานวิจัยนั้นไปเผยแพร่ในรูปแบบบทความวิจัยในวารสารของคณะที่ผู้เขียนสังกัด หรือคณะหนึ่งคณะใด ในสถาบันอุดมศึกษาหนึ่งสถาบัน
อุดมศึกษาใด
ก็เข้าข่ายเงื่อนไขการเผยแพร่ของสายวิชาการตาม ข้อ1. ของการเผยแพร่ผลงาน
วิจัยที่ ก.พ.อ.กำหนดแล้ว โดยมิต้องไปตีพิมพ์เผยแพร่ในระดับชาติหรือระดับนานาชาติ เหมือนงานวิจัยของสายสนับสนุน

          นอกจากนี้ ในการเสนอผลงานทางวิชาการเพื่อขอกำหนดตำแหน่งเป็นผู้ชำนาญการ ผู้เชี่ยวชาญ และผู้เชี่ยวชาญพิเศษของสายสนับสนุน จะมีการพิจารณาจริยธรรมและจรรยาบรรณทางวิชาชีพ และในการขอกำหนดตำแหน่งเป็น ผู้ช่วยศาสตราจารย์ รองศาสตราจารย์ และ ศาสตราจารย์ ของสายวิชาการ ก็จะมีการพิจารณาจริยธรรมและจรรยาบรรณทางวิชาการ เช่นกัน แต่จะเห็นได้ว่ามีการเล่นข้อความให้ต่างกันเล็กน้อยคือสายสนับสนุนใช้คำว่า “จริยธรรมและจรรยาบรรณทางวิชาชีพ” ส่วนของสายวิชาการการใช้คำว่า “จริยธรรมและจรรยาบรรณทางวิชาการ” โดย ก.พ.อ. กำหนดว่าต้องคำนึงถึงจริยธรรมและจรรยาบรรณ ดังนี้

 

สายวิชาการ

สายสนับสนุน

1.ต้องมีความซื่อสัตย์ทางวิชาการ ไม่นำผลงานของผู้อื่นมาเป็นผลงานของตนและไม่ลอกเลียนผลงานของผู้อื่น รวมทั้งไม่นำผลงานของตนเองในเรื่องเดียวกันไปเผยแพร่ในวารสารวิชาการมากกว่าหนึ่งฉบับในลักษณะที่จะทำให้เข้าผิด ว่าเป็นผลงานใหม่

2. ต้องให้เกียรติและอ้างถึงบุคคลหรือแหล่งที่มาของข้อมูลที่นำมาใช้ในผลงานทางวิชาการของตนเองและแสดงหลักฐานของการค้นคว้า

3. ต้องไม่คำนึงถึงผลประโยชน์ทางวิชาการจนละเลยหรือละเมิดสิทธิส่วนบุคคลของผู้อื่นและสิทธิมนุษยชน

4. ผลงานทางวิชาการต้องได้มาจากการศึกษาโดยใช้หลักวิชาการเป็นเกณฑ์ ไม่มีอคติมาเกี่ยวข้อง และเสนอผลงานตามความเป็นจริง ไม่จงใจเบี่ยง

เบนผลการวิจัยโดยหวังประโยชน์ส่วนตัว หรือต้องการสร้างความเสียหายแก่ผู้อื่น และเสนอผลงานตามความเป็นจริงไม่ขยายข้อค้นพบโดยปราศจากการตรวจสอบยืนยันในทางวิชาการ

5. ต้องไม่นำผลงานไปใช้ประโยชน์ในทางที่ชอบธรรมและชอบด้วยกฎหมาย

1.ต้องมีความซื่อสัตย์ทางวิชาชาชีพ ไม่นำผลงานของผู้อื่นมาเป็นผลงานของตนและไม่ลอกเลียนผลงานของผู้อื่น รวมทั้งไม่นำผลงานของตนเองในเรื่องเดียวกันไปเผยแพร่ในวารสารวิชาการมากกว่าหนึ่งฉบับในลักษณะที่จะทำให้เข้าผิด ว่าเป็นผลงานใหม่

2. ต้องให้เกียรติและอ้างถึงบุคคลหรือแหล่งที่มาของข้อมูลที่นำมาใช้ในผลงานทางวิชาชีพของตนเองและแสดงหลักฐานของการค้นคว้า

3. ต้องไม่คำนึงถึงผลประโยชน์ทางวิชาชีพจนละเลยหรือละเมิดสิทธิส่วนบุคคลของผู้อื่นและสิทธิมนุษยชน

4. ผลงานทางวิชาชีพต้องได้มาจากการศึกษาโดยใช้หลักวิชาชีพเป็นเกณฑ์ ไม่มีอคติมาเกี่ยวข้อง และเสนอผลงานตามความเป็นจริง ไม่จงใจเบี่ยง

เบนผลการวิเคราะห์ สังเคราะห์ หรือวิจัย โดยหวังประโยชน์ส่วนตัว หรือต้องการสร้างความเสียหายแก่ผู้อื่น และเสนอผลงานตามความเป็นจริงไม่ขยายข้อค้นพบโดยปราศจากการตรวจสอบยืนยันในทางวิชาชีพ

5. ต้องไม่นำผลงานไปใช้ประโยชน์ในทางที่ชอบธรรมและชอบด้วยกฎหมาย

 

          จากข้อมูลข้างต้น ผู้เขียนเห็นว่าข้อกำหนดของจริยธรรมและจรรยาบรรณของสายสนับสนุน ก.พ.อ.ไป “คัดลอก” มากจากสายวิชาการชนิด “คำต่อคำ” จะต่างกันตรงที่ข้อความที่ขีดเส้นใต้เท่านั้นเอง

          ไหนๆก็ไหนแล้ว ในเมื่อ ก.พ.อ.ไป “คัดลอก” จริยธรรมและจรรยาบรรณของสายวิชาการมาเป็นของสายสนับสนุนทั้งดุ้นแล้ว ทำไม ? ไม่ไปคัดลอกข้อความการตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานวิจัยของสายวิชาการทุกระดับที่กำหนดแต่เพียงว่า ให้เป็นไปตามที่ ก.พ.อ. กำหนด ที่ให้มีการ เผยแพร่ในลักษณะหนึ่งลักษณะใด  จากจำนวน 4 ข้อที่ ก.พ.อ.ให้เผยแพร่ ในขณะที่สนับสนุนระดับผู้เชี่ยวชาญ ผู้เชี่ยวชาญพิเศษ ก.พ.อ. กลับไปกำหนดตายตัวไม่ให้เลือก(4ข้อ)เหมือนสายวิชาการโดย ก.พ.อ. กำหนดว่าให้ “ตีพิมพ์เผยแพร่ในระดับชาติหรือนานาชาติ” สถานเดียวเท่านั้น !

          ผู้เขียนเห็นว่า การที่ ก.พ.อ. กำหนดแบบนี้ทำให้คิดไปได้ว่าการตีพิมพ์เผยแพร่งานวิจัยของสายวิชาการระดับศาสตราจารย์มีช่องทางตีพิมพ์เผยแพร่ได้  “ง่ายกว่า”  ระดับผู้เชี่ยวชาญของสายสนับสนุน เพราะระดับศาสตราจารย์ไม่ต้องตีพิมพ์เผยแพร่ในระดับชาติหรือนานาชาติก็ได้ ถ้าเลือกที่จะตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารทางวิชาการของคณะหรือหน่วยงานที่ตนสังกัดก็เข้าเงื่อนไขที่ ก.พ.อ. กำหนดให้เผยแพร่แล้ว 

          ทั้งๆที่ สายสนับสนุนปฏิบัติงานเพียงแค่เป็นผู้ช่วยให้การสนับสนุนการปฏิบัติงานของสายวิชาการเพื่อให้บรรลุภารกิจหลักของสถาบันอุดมศึกษา ที่ใครๆก็ทราบดีว่าสายสนับสนุนเป็นสายที่มีโอกาสและความก้าวหน้า “ต่ำกว่า” และ “ด้อยกว่า” สายวิชาการในสถาบันอุดมศึกษาอยู่แล้ว เว้นแต่ว่า ก.พ.อ. กำลังคิดจะเปลี่ยนให้สายสนับสนุนในสถาบันอุดมศึกษาขึ้นมาเป็น “บุคลากรสายงานหลัก” แล้วให้สายวิชาการไปเป็น“บุคลากรสายงานรอง” ในสถาบันอุดมศึกษา  หาไม่แล้วผู้เขียนกำลังคิดว่า

ก.พ.อ. กำลังปฏิบัติแบบสองมาตรฐานกับสายสนับสนุน

          ในความเห็นของผู้เขียนๆเห็นด้วยกับการที่ ก.พ.อ. บังคับให้สายวิชาการผู้ที่จะขอกำหนดตำแหน่งเป็นผู้ช่วยศาสตราจารย์  รองศาสตราจารย์ และ ศาสตราจารย์ ต้องมีผลงานแต่ง หรือ เรียบเรียง ตำรา หนังสือ(ก.พ.อ.ใช้และ)เป็นของตัวเองในการยื่นขอกำหนดตำแหน่ง แต่ไม่ได้บังคับให้ต้องมีผลงานวิจัย(ก.พ.อ.ใช้หรือ) ผู้เขียนเห็นว่าจะเป็นการเสียเกรียติอาจารย์เป็นอย่างมาก ถ้าผู้เขียนเป็นอาจารย์มหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียงอันโด่งดัง และมีตำแหน่งทางวิชาการเป็นผู้ช่วยศาสตราจารย์ หรือ รองศาสตราจารย์ หรือ ศาสตราจารย์ทั้งที สอนนักศึกษาในระดับปริญญาตรี ปริญญาโท มาก็มาก แต่ไม่เคยมีผลงานวิชาการที่เป็นหนังสือ หรือ ตำราในวิชาที่ตนเองสอนมาเป็นเวลาสิบๆปี ที่ผ่านมาใช้เอกสารหรือตำราที่เขียนโดยคนอื่นสอนนักศึกษามาโดยตลอด

    เอกสารหรือผลงานทางวิชาการที่จะบอกว่าสายวิชาการท่านนั้นสอนเก่ง มีความรู้ มีความสามารถ มีความชำนาญ มีความเชี่ยวชาญ ในวิชาที่ตนเองสอน สิ่งนั้นคือหนังสือหรือตำราที่อาจารย์ท่านนั้นเขียนเองและใช้สอนนักศึกษา  

               จากประกาศ ก.พ.อ. เรื่อง มาตรฐานภาระงานทางวิชาการของผู้ดำรงตำแหน่งอาจารย์  ผู้ช่วยศาสตราศาสตร์ รองศาสตราศาสตร์ และ ศาสตราศาสตร์ ที่ประกาศเมื่อวันที่ 29 ตุลาคม 2551 (ปัจจุบันยังบังคับใช้อยู่)

          ข้อ (2) มีภาระงานที่ปรากฏเป็นผลงานทางวิชาการ ดังต่อไปนี้

          (ก) งานวิจัยที่ได้รับการเผยแพร่ตามเกณฑ์ที่ ก.พ.อ.กำหนดปีละหนึ่งรายการ หรือ
          (ข) ตำรา หรือ หนังสือที่ได้รับการเผยแพร่ตามเกณฑ์ที่ ก.พ.อ.กำหนด ปีละหนึ่ง
                รายการ หรือ

          (ค) ผลงานทางวิชาการในลักษณะอื่นที่เทียบได้กับงานวิจัยตาม (ก) ปีละหนึ่งรายการ
                หรือ
          (ง) บทความทางวิชาการ ปีละสองรายการ

            จึงเป็นการสมควรในการที่ ก.พ.อ. จะกำหนด(บังคับ)เพิ่มให้มีงานวิจัยในการขอกำหนดตำแหน่งเป็นผู้ช่วยศาสตราจารย์  รองศาสตราจารย์ และ ศาสตราจารย์ ด้วยเหตุสองประการคือ

 (1) สายวิชาการทุกคนมีความพร้อม เพราะมีวุฒิการศึกษาขั้นต่ำในระดับปริญญาโทจึงมีความสา

คำสำคัญ (Tags): #กันย์#จั๊บ
หมายเลขบันทึก: 506188เขียนเมื่อ 19 ตุลาคม 2012 13:21 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 ธันวาคม 2012 16:48 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท