“หนึ่งโรงเรียน หนึ่งนวัตกรรม” ประจำปี 2555 “เครือข่ายจิตอาสาชาวเลือดหมู-ดำ” โรงเรียนสันติราษฎร์วิทยาลัย ให้ได้รับรางวัล “ผลงานนวัตกรรมระดับเขตพื้นที่การศึกษา”


โครงการ เครือข่ายจิตอาสาชาวเลือดหมู-ดำเพื่อส่งเสริม สนับสนุนกระบวนการจัดการเรียนรู้กิจกรรมเพื่อสังคมและสาธารณประโยชน์ในกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน ซึ่งเป็นการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่ให้โอกาสผู้เรียนได้เรียนรู้ผ่านการลงมือปฏิบัติ แก้ปัญหาและศึกษาค้นคว้าจนสามารถสร้างองค์ควารู้ที่มีความหมายแก่ตนเองตามสิ่งที่ผู้เรียนชอบและสนใจ เกิดการค้นพบความรู้ด้วยตนเอง ซึ่งเป็นการจัดการเรียนรู้ที่คำนึงถึงความแตกต่างระหว่งบุคคล เคารพในสิทธิและหน้าที่ของผู้เรียน มีการวางแผนและออกแบบกิจกรรม จัดประสบการณ์อย่างมีความหมายและเป็นระบบมุ่งประโยชน์สูงสุดให้เกิด ผู้เรียนสามารถเรียนรู้และพัฒนาการเรียนรู้ได้จากประสบการณ์จริง คิดเป็น ทำเป็น แก้ปัญหาเป็นอย่างเต็มตามศักยภาพ นอกจากนั้นยังส่งผลให้ผู้เรียนเห็นคุณค่าในตนเอง มีจิตอาสา เกิดสำนึกจิตสาธารณะ และใช้องค์ความรู้สร้างสรรค์ประโยชน์เพื่อสังคมทั้งในสถานศึกษาและชุมชนรอบสถานศึกษา รวมทั้งน้อมนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไปประยุกต์ใช้ในวิถีชีวิต

โรงเรียนสันติราษฎร์วิทยาลัยได้รับการคัดสรรผลงาน “หนึ่งโรงเรียน หนึ่งนวัตกรรม” ประจำปี 2555   ชื่อผลงาน “เครือข่ายจิตอาสาชาวเลือดหมู-ดำ” โรงเรียนสันติราษฎร์วิทยาลัย ให้ได้รับรางวัล

“ผลงานนวัตกรรมระดับเขตพื้นที่การศึกษา” คุรุสภาเขตพื้นที่การศึกษา กรุงเทพมหานคร เขต1

 

เสนอผลงาน หนึ่งโรงเรียน  หนึ่งนวัตกรรม

โครงการ เครือข่ายจิตอาสาชาวเลือดหมู-ดำ    โรงเรียนสันติราษฎร์วิทยาลัย

ประเภทผลงานนวัตกรรม   ด้านการจัดกระบวนการเรียนรู้

ระดับเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา  เขต 1   ประจำปี 2555

……………………………………………………

                โรงเรียนสันติราษฎร์วิทยาลัยได้ออกแบบนวัตกรรม  โครงการ เครือข่ายจิตอาสาชาวเลือดหมู-ดำเพื่อส่งเสริม สนับสนุนกระบวนการจัดการเรียนรู้กิจกรรมเพื่อสังคมและสาธารณประโยชน์ในกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน   ซึ่งเป็นการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่ให้โอกาสผู้เรียนได้เรียนรู้ผ่านการลงมือปฏิบัติ แก้ปัญหาและศึกษาค้นคว้าจนสามารถสร้างองค์ควารู้ที่มีความหมายแก่ตนเองตามสิ่งที่ผู้เรียนชอบและสนใจ เกิดการค้นพบความรู้ด้วยตนเอง ซึ่งเป็นการจัดการเรียนรู้ที่คำนึงถึงความแตกต่างระหว่งบุคคล  เคารพในสิทธิและหน้าที่ของผู้เรียน มีการวางแผนและออกแบบกิจกรรม จัดประสบการณ์อย่างมีความหมายและเป็นระบบมุ่งประโยชน์สูงสุดให้เกิด    ผู้เรียนสามารถเรียนรู้และพัฒนาการเรียนรู้ได้จากประสบการณ์จริง คิดเป็น ทำเป็น  แก้ปัญหาเป็นอย่างเต็มตามศักยภาพ   นอกจากนั้นยังส่งผลให้ผู้เรียนเห็นคุณค่าในตนเอง  มีจิตอาสา  เกิดสำนึกจิตสาธารณะ  และใช้องค์ความรู้สร้างสรรค์ประโยชน์เพื่อสังคมทั้งในสถานศึกษาและชุมชนรอบสถานศึกษา  รวมทั้งน้อมนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไปประยุกต์ใช้ในวิถีชีวิต 

การพัฒนาวิธีดำเนินงานและผลการดำเนินงานมีดังนี้

“เครือข่ายจิตอาสาชาวเลือดหมู-ดำ”   เป็นการออกแบบนวัตกรรมให้เป็นองค์กรศูนย์รวมแกนนำเยาวชนจิตอาสาในโรงเรียนสันติราษฎร์วิทยาลัย  ที่มีการบริหารจัดการและดำเนินกิจกรรมเป็นเครือข่ายบูรณาการงานจิตอาสาเพื่อสังคมและสาธารณประโยชน์ที่ต่อเนื่อง ยั่งยืน  ซึ่งการทำกิจกรรมเพื่อสังคมของผู้เรียนส่วนใหญ่จะขาดความต่อเนื่องเชื่อมโยงกัน     เครือข่ายจิตอาสาชาวเลือดหมู-ดำ เป็นองค์กรที่ส่งเสริมให้เด็กและเยาวชนบำเพ็ญตนให้เป็นประโยชน์ต่อครอบครัวชุมชน  สังคม  และประเทศชาติในลักษณะอาสาสมัครเพื่อช่วยขัดเกลาจิตใจของเด็กและเยาวชน  ให้มีความเมตตากรุณา  มีความเสียสละ และมีจิตสาธารณะเพื่อช่วยสร้างสรรค์สังคมให้อยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข  

                ในการดำเนินงานส่งผลให้“เครือข่ายจิตอาสาชาวเลือดหมู-ดำ” ได้รับรางวัลเยาวชนดีเด่น  ประเภทกลุ่มเยาวชนทั่วไป   กรุงเทพมหานคร  ประจำปี 2552  และ 2553   ผลงาน ด้านการพัฒนาสังคมหรือสภาเยาวชน    และรางวัลจากหน่วยงานอื่นๆ     ต่อมาได้พัฒนานวัตกรรมขยายเครือข่ายเยาวชนจิตอาสาและพัฒนาการจัดกิจกรรมเพื่อสังคมอย่างต่อเนื่องมาโดยตลอด  สมาชิกของเครือข่ายจิตอาสาชาวเลือดหมู-ดำ  ที่มีจำนวนเพิ่มมากขึ้น  ได้พัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมจิตอาสาที่หลากหลายมากขึ้น   และได้พัฒนาศักยภาพจนสามารรถเผยแพร่เทคนิคการจัดกิจกรรมจิตอาสาเพื่อเป็นแบบอย่างที่ดีแก่เด็กและเยาวชน    ร่วมเป็นวิทยากรให้ความรู้การทำงานเพื่อสังคมแก่คณะครู  นักเรียน  ผู้ปกครอง  เยาวชนทั้งในสถานศึกษาและนอกสถานศึกษาและประชาชนทั่วไป    ดำเนินการจัดการอบรมให้ความรู้และปลูกจิตสำนึกจิตสาธารณะให้แก่เยาวชน    สร้างเยาวชนจิตอาสาให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการทำงานเพื่อสังคมและสาธารณประโยชน์เพิ่มมากขึ้น     ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อองค์กรต่างๆ เช่น กระทรวงศึกษาธิการ ,กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ , กระทรวงสาธารณสุข , มูลนิธิเราจะเป็นคนดี , มูลนิธิกระจกเงา , มูลนิธิสยามกัมมาจล  ธนาคารไทยพาณิชย์และสื่อสารมวลชนต่างๆ

ได้พัฒนาเป็นองค์กรศูนย์รวมกลุ่มแกนนำเยาวชนจิตอาสาในโรงเรียนสันติราษฎร์วิทยาลัย  ที่มีการบริหารจัดการและดำเนินกิจกรรมแบบบูรณาการงานของชมรมจิตอาสาที่อยู่ในเครือข่ายจิตอาสาชาวเลือดหมู-ดำ   เป็นองค์กรที่รวมพลังกันสร้างคนดีจิตอาสาที่เป็นแบบอย่างแก่คนในสังคม  ส่งเสริมให้เด็กและเยาวชนบำเพ็ญตนให้เป็นประโยชน์ต่อครอบครัวชุมชน  สังคม  และประเทศชาติในลักษณะงานอาสาสมัคร   ส่งเสริมให้เด็กและเยาวชนนำความรู้และทักษะด้านการพัฒนาตนเองและภาวะผู้นำ  ด้านการพัฒนาเด็ก เยาวชน สังคมและชุมชน  ด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่ได้รับความรู้จากการเรียนรู้ใน 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้ และจากองค์กรต่างๆ     มาออกแบบกิจกรรมสร้างสรรสังคมให้เหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมาย  ขัดเกลาจิตใจเด็กและเยาวชนให้มีความเมตตากรุณา  มีความเสียสละ และมีจิตสาธารณะ   น้อมนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในการดำเนินชีวิต  รับผิดชอบต่อสังคม  และสร้างสรรค์สังคมให้อยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข  สร้างแรงบันดาลใจให้กับสังคม/สมาชิกและผู้ที่เกี่ยวข้องที่จะช่วยกันเปลี่ยนสังคมให้ดีขึ้น และเป็นแบบอย่างอันดีงามให้เด็กและเยาวชนก้าวเดินตามต่อไป 

ได้มีการพัฒนาปรับปรุงและขยายวัตถุประสงค์เพิ่มขึ้น  ดังนี้

1.ส่งเสริมสนับสนุนให้ทุกชมรมที่มีอุดมการณ์ร่วมคิดร่วมทำประโยชน์ให้แก่สังคม สามารถร่วมกันออกแบบกิจกรรมสร้างสรรสังคมให้ตรงกับกลุ่มเป้าหมายในรูปแบบบูรณาการการทำงานจิตอาสาอย่างมีประสิทธิภาพ

2.เป็นศูนย์รวมแกนนำเยาวชนคนอาสาในโรงเรียนสันติราษฎร์วิทยาลัย  ที่มีการบริหารจัดการและดำเนินกิจกรรมเป็นเครือข่ายบูรณาการงานจิตอาสาของทุกชมรม/ชุมนุมและกลุ่มแกนนำกิจกรรมเพื่อสังคมและสาธารณประโยชน์ 

3.ส่งเสริมให้มีการนำรูปแบบกิจกรรมจิตอาสาอย่างน้อย 2  กิจกรรมมาดำเนินการออกแบบกิจกรรมจิตอาสาเพื่อลงพื้นที่ดำเนินการร่วมกัน  โดยพัฒนารูปแบบของกิจกรรมทั้งด้านการพัฒนาศักยภาพภาวะผู้นำ   การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม  การออกแบบกิจกรรมที่เป็นประโยชน์ต่อสังคมและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

4.เพื่อปลูกฝังและสร้างสำนึกจิตสาธารณะให้แก่สมาชิกทุกกลุ่มเป้าหมาย  ในการบำเพ็ญตนให้เป็นประโยชน์ต่อครอบครัว โรงเรียน  ชุมชน  สังคมและประเทศชาติ

5.เพื่อส่งเสริมให้เด็กและเยาวชนเป็นผู้มีคุณธรรมจริยธรรม  มีความประพฤติดี มีระเบียบวินัย    มีความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม   เสริมสร้างทัศนคติ ค่านิยมในความซื่อสัตย์สุจริต  และมีความเสียสละเพื่อประโยชน์ต่อชุมชน สังคมส่วนรวม 

6.เพื่อให้เด็กและเยาวชนมีทัศนคติที่ดี  ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์และเสริมสร้าง พฤติกรรมที่ดีงาม  ใฝ่เรียน ใฝ่รู้ และมีทัศนคติที่ดีต่อการศึกษา  ตระหนักถึงความสำคัญของการเป็นคนดี เช่น เป็นลูกที่ดี ศิษย์ที่ดี เพื่อนที่ดี  พลเมืองที่ดีของประเทศชาติ

7.เพื่อให้เด็กและเยาวชนเกิดภูมิคุ้มกัน  รู้เท่าทันปัญหาและใช้สติปัญญาในการแก้ปัญหา

8.เพื่อต่อยอดขยายเครือข่ายเยาวชนจิตอาสา  และสร้างแรงบันดาลใจในการทำความดีให้เกิดขึ้นในกลุ่มเด็ก เยาวชนและบุคคลทั่วไป

9.เกิดสันติวัฒนธรรม และลดความรุนแรงในสังคม

10.สร้างวิทยากรแกนนำเยาวชนคนอาสา

ในการดำเนินงานปีการศึกษา 2551   จนถึงปัจจุบัน ส่งผลให้   “เครือข่ายจิตอาสาชาวเลือดหมู-ดำ” 

มีสมาชิกแกนนำจิตอาสาจาก 30 คน เพิ่มเป็น  150 คน และมีชมรมที่ดำเนินกิจกรรมเป็นอาสาสมัครเพิ่มขึ้น จาก 4 องค์กร เป็น 10 องค์กร   คือ

  1. ชมรมคนอาสาชาวเลือดหมู-ดำ    โครงการโรงพยาบาลมีสุข
  2. กลุ่มแกนนำกิจกรรม  คืนชีพให้กระดาษ PAPER RANGER  (รณรงค์ลดภาวะโลกร้อน)
  3. ชมรม เปเปอร์มาเช่ (ทำเก้าอี้จากเศษกระดาษให้น้องพิการทางสมอง สถาบันราชานุกูล)
  4. ชมรม “คุยเปิดใจ รักปลอดภัย” (งานรณรงค์ด้านเอดส์และการมีเพศสัมพันธุ์ในวัยเรียน)
  5. ชมรม  SL . PLAY บูรณาการละครสะท้อนจิตอาสา
  6. กลุ่มแกนนำกิจกรรม “กระปุกบุญ”  ความดีทำง่าย  ทำได้ทุกวัน
  7. ชมรม “จิตใส ใจอาสา ฝ่าโลกมืด”  นักเรียนเรียนร่วมพิการทางสายตาร้องเพลงสร้างสุขในโรงพยาบาล
  8. กลุ่มจุดเปลี่ยน  “รณรงค์ต่อต้านยาเสพติด”
  9. กลุ่มวิทยากรแกนนำกิจกรรม รณรงค์ต่อต้านขบวนการค้ามนุษย์
  10. ชมรมอาสาคุ้มครองผู้บริโภค “เขตห้ามโง่”

รูปแบบกิจกรรม “เครือข่ายจิตอาสาชาวเลือดหมู-ดำ” โรงเรียนสันติราษฎร์วิทยาลัย

วิธีการจัดกิจกรรม กระบวนการ ขั้นตอนของการจัดกิจกรรม

“เครือข่ายจิตอาสาชาวเลือดหมู-ดำ”  เป็นศูนย์กลางในการบูรณาการกิจกรรมจิตอาสา  ประสานงานอาสาสมัครในการพัฒนาศักยภาพแกนนำจิตอาสาทุกชมรม/ชุมนุมและกลุ่มแกนนำกิจกรรมที่อยู่ในเครือข่าย   เพื่อประโยชน์ในการส่งเสริมสนับสนุนและประสานงานกับสมาชิกในเครือข่ายให้มาจัดกิจกรรมร่วมกันให้เกิดประโยชน์ต่อสังคม ชุมชน ด้านการพัฒนาศักยภาพแกนนำ ด้านการพัฒนาเด็ก เยาวชน ชุมชนและสังคม  ด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างต่อเนี่องและยั่งยืน ตามกระบวนการดังนี้

1. สำรวจความสนใจของตนเองและความต้องการความช่วยเหลือของชุมชน/สังคม (P)

2.เตรียมความพร้อมพัฒนาศักยภาพในการทำกิจกรรมจิตอาสาในเรื่องต่างๆ ดังนี้

- ความรู้ ความเข้าใจ ความตระหนัก และเห็นคุณค่า

- ทักษะการสื่อสาร

- พฤติกรรมที่เหมาะสม

 - การทำงานร่วมกับผู้อื่น

- การทำ AAR ถอดบทเรียน สะท้อนความคิด

3. ออกแบบกิจกรรมให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของชุมนุม/ชมรม/กลุ่มกิจกรรม

4. กำหนดแผนการปฏิบัติกิจกรรมร่วมกันกับองค์กรในเครือข่ายเพื่อบูรณาการงานอาสาสมัคร

5. ลงพื้นที่ปฏิบัติกิจกรรมตามแผนที่กำหนดและบันทึก  (D)

6. ทำAARและสรุปผลการดำเนินกิจกรรม  (C)

7. เผยแพร่  สร้างเครือข่ายและสร้างแรงบันดาลใจเป็นแบบอย่างที่ดี  (A)

8.ดำเนินกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง

การดำเนินงานตามนวัตกรรม“เครือข่ายจิตอาสาชาวเลือดหมู-ดำ” โรงเรียนสันติราษฎร์วิทยาลัย

  1. ชมรมอาสาคุ้มครองผู้บริโภค “เขตห้ามโง่”

วิธีการดำเนินงาน

-พัฒนาศักยภาพแกนนำจากการเรียนรู้ในกลุ่มสาระการงานอาชีพและเทคโนโลยี(ธุรกิจ)  และรับการ

อบรมจากสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค  ตามลำดับดังนี้

1.พัฒนาศักยภาพแกนนำชุมนุม/ชมรมในการทำงานคุ้มครองผู้บริโภคภายในโรงเรียน

2.รณรงค์ด้านคุ้มครองผู้บริโภคของนักเรียนในโรงเรียน

-แกนนำปฏิบัติงานเป็นวิทยากรให้ความรู้แก่เด็กและเยาวชน ด้วยการจัดกิจกรรม “เขตห้ามโง่”รณรงค์นำความรู้เรื่องการคุ้มครองผู้บริโภคสู่เพื่อนๆ  ครอบครัวและชุมชน

-รวมพลังลดภาวะโลกร้อนและการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ  ด้วยการร่วมกับกลุ่มแกนนำกิจกรรม        คืนชีพให้กระดาษ PAPER RANGER ในการทำสมุดบันทึกจากกระดาษใช้แล้วหน้าเดียวสอดแทรกความรู้ในเรื่องการคุ้มครองผู้บริโภค  การร้องเรียน การเลือกซื้อสินค้าที่ปลอดภัย  มอบให้เด็กและเยาวชนในชุมชนต่างๆ

-สร้างและขยายเครือข่ายเยาวชนจิตอาสารณรงค์การคุ้มครองผู้บริโภค ในสถานศึกษาและขยายผล

-จัดเกม “เขตห้ามโง่”  รณรงค์ให้ความรู้ในสิทธิหน้าที่ของผู้บริโภคให้แก่เด็ก/เยาวชนและประชาชนทั่ว

- เผยแพร่และประชาสัมพันธ์กิจกรรมผ่านทางการจัดบอร์ดและผ่านทางสื่อสารมวลชนและ เว็บไซต์ต่างๆ

-สรุปกิจกรรมและถอดบทเรียนทุกครั้งที่มีการปฏิบัติกิจกรรม                                                   

  1. กลุ่มแกนนำกิจกรรม  คืนชีพให้กระดาษ PAPER RANGER  (รณรงค์ลดภาวะโลกร้อน)

วิธีการดำเนินงาน

-พัฒนาศักยภาพแกนนำเยาวชนจิตอาสาให้เติมเต็มทักษะชีวิต โดยการเรียนรู้และเตรียมความพร้อมด้วยการฝึกทักษะ การทำสมุดบันทึกลดโลกร้อน

-นำรูปแบบกิจกรรมจิตอาสาอย่างน้อย 2  กิจกรรมมาดำเนินการออกแบบกิจกรรมจิตอาสาเพื่อลงพื้นที่ดำเนินการร่วมกัน  โดยพัฒนารูปแบบของกิจกรรมให้เกิดประโยชน์ต่อสังคมและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

-ลงมือปฏิบัติด้วยการทำงานจิตอาสาในการรณรงค์การใช้ทรัพยากรอย่างประหยัดและเห็นคุณค่าด้วยการร่วมมือกับ กลุ่ม PAPER  RANGER เครือข่ายบ้านจิตอาสา  ดำเนินการคืนชีพให้กระดาษ  รณรงค์การทำสมุดบันทึกจากกระดาษใช้แล้วหน้าเดียวเพื่อความประหยัดและลดโลกร้อน

 -บูรณาการกิจกรรม PAPER  RANGER ลดโลกร้อนกับชมรม “คุยเปิดใจ รักปลอดภัย” ในการเผยแพร่ณรงค์การป้องกันด้านเอดส์และป้องกันปัญหาการตั้งครรภ์ไม่พร้อม ด้วยการสอดแทรกเนื้อหาความรู้ในสมุดบันทึก แล้วนำไปมอบให้เด็กและเยาชนในชุมชนต่างๆ

-บูรณาการกิจกรรม PAPER  RANGER ลดโลกร้อนกับชมรม “จุดเปลี่ยน” ในการเผยแพร่ณรงค์การป้องกันต่อต้านการใช้สารเสพติด ด้วยการสอดแทรกเนื้อหาความรู้เรื่องสารเสพติดในสมุดบันทึก แล้วนำไปมอบให้เด็กและเยาชนในชุมชนต่างๆ

-บูรณาการกิจกรรม PAPER  RANGER ลดโลกร้อนกับชมรม “อาสาคุ้มครองผู้บริโภค” ในการเผยแพร่ณรงค์สิทธิผู้บริโภค การเลือกบริโภคสินค้าที่มีประโยชน์และยุติธรรม  อันตรายจากสินค้าผิดกฎหมายและอื่นๆ  ด้วยการสอดแทรกเนื้อหาความรู้ในสมุดบันทึก แล้วนำไปมอบให้เด็กและเยาชน ประชาชนทั่วไปในชุมชนต่างๆ

  1. ชมรม “คุยเปิดใจ รักปลอดภัย” (งานรณรงค์ด้านเอดส์และการมีเพศสัมพันธุ์ในวัยเรียน)

วิธีการดำเนินงาน

-พัฒนาศักยภาพแกนนำเพื่อเตรียมความพร้อม  และเติมเต็มทักษะชีวิต โดยการเรียนรู้กับองค์กร Youth net (องค์กรเอดส์ประเทศไทย)

-นำรูปแบบกิจกรรมจิตอาสาอย่างน้อย 2  กิจกรรมมาดำเนินการออกแบบกิจกรรมจิตอาสาเพื่อลงพื้นที่ดำเนินการร่วมกัน  โดยพัฒนารูปแบบของกิจกรรมให้เกิดประโยชน์ต่อสังคมและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

-จัดกิจกรรมร่วมกับ กลุ่ม PAPER  RANGER ลดโลกร้อน ในการเผยแพร่ณรงค์การป้องกันด้านเอดส์และป้องกันปัญหาการตั้งครรภ์ไม่พร้อม ด้วยการสอดแทรกเนื้อหาความรู้ในสมุดบันทึก แล้วนำไปมอบให้เด็กและเยาชนในชุมชนต่าง

-กิจกรรมเพื่อนช่วยเพื่อนฝ่าวิกฤติสู่อนาคต เวทีเสวนา เรื่อง “ปัญหาเด็กและเยาวชนมีเพศสัมพันธ์ในวัยเรียน” ให้กับนักเรียนในโรงเรียนและผู้ปกครองในวันประชุมผู้ปกครอง

-กิจกรรมเสียงตามสายเผยแพร่ความรู้เรื่องโรคเอดส์ และเพศศึกษา

-อมรมเติมความเข้มแข็งให้นักเรียนแกนนำชมรมคุยเปิดใจรักปลอดภัย

-กิจกรรมขยายเครือข่ายจากเพื่อนสู่เพื่อนเรื่องเพศศึกษาและการดูแลสุขอนามัยทางเพศ ความเสี่ยงโรคเอดส์ โดยการอบรมให้ความรู้เรื่องเพศและเอดส์, การใช้ถุงยางอนามัย “คุยเปิดใจรักปลอดภัย” ให้กับเพื่อนๆ  น้อง

ในโรงเรียน

- สร้างแรงบันดาลใจและขยายเครือข่ายเยาวชนจิตอาสา

- เผยแพร่และประชาสัมพันธ์กิจกรรมผ่านทางการจัดบอร์ดและผ่านทางสื่อสารมวลชนและ เว็บไซต์ต่างๆ

-สรุปกิจกรรมและถอดบทเรียนทุกครั้งที่มีการปฏิบัติกิจกรรม                                             

  1. กลุ่มแกนนำกิจกรรม “กระปุกบุญ”  ความดีทำง่าย  ทำได้ทุกวัน

วิธีการดำเนินงาน

จัดกิจกรรมที่ส่งเสริมสนับสนุนให้เด็กและเยาวชนปฏิบัติกิจกรรมด้านคุณธรรม จริยธรรมอย่างเป็นรูปธรรม การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม การดำเนินชีวิตตามแนวพระราชดำริ จนเกิดจิตสำนึกในการทำความดีและการบำเพ็ญประโยชน์อย่างสม่ำเสมอ ทั้งต่อตนเอง ครอบครัว สังคม สถาบันการศึกษา พระพุทธศาสนา พระมหากษัตริย์ ประเทศชาติและมีจิตอาสา  เป็นกระบวนการปลูกจิตสำนึกให้เด็กและเยาวชนทำความดีและสะสมความดีด้วยกิจกรรม “กระปุกบุญ” คือ    

1.เมื่อทำความดี ทั้งด้านคุณธรรม จริยธรรม  ความประพฤติอันดีงาม การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม การดำเนินชีวิตตามแนวพระราชดำริ การทำบุญทำกุศล

หรือได้ช่วยเหลือเอื้อเฟื้อต่อผู้ใด ให้เขียนใส่กระดาษ  (ใบบุญ)แล้วเก็บใส่ไว้ในกระปุกออมบุญ

2.สะสมความดีได้ระยะหนึ่งจึง “ทุบกระปุกบุญ”(เปิดกระปุก) โดยนำใบบุญที่สะสมไว้

ออกจาก กระปุก  และนำรายการ/เรื่องที่ทำมาบันทึกลงในสมุดบัญชีออมบุญ  แล้วเริ่ม     สะสมใบบุญใหม่ซึ่งอาจทำร่วมกันในครอบครัว  พ่อแม่ผู้ปกครองยกย่องชมเชย ชื่นชมและให้กำลังใจ

3.เชิญชวนผู้ปกครองเข้าร่วมกิจกรรม  โดยร่วมเป็นครอบครัวออมบุญ ดำเนินการที่บ้านเพื่อเป็นแบบอย่างที่ดีแก่บุตรหลาน

  1. ชมรม “จิตใส ใจอาสา ฝ่าโลกมืด” นักเรียนเรียนร่วมผู้พิการทางสยตาร้องเพลง สร้างสุขในโรงพยาบาล

วิธีการดำเนินงาน

-พัฒนาศักยภาพด้านการแสดงดนตรีและการร้องเพลงประสานเสียง  โดยศึกษาจากสื่อฯต่างๆ

-นักเรียนผู้พิการทางสายตาจะต้องอ่านเนื้อเพลงที่พิมพ์เป็นอักษรเบรลล์ให้เข้าใจ  ขณะเดียวกันครูฝึกซ้อมจะอัดเสียงเพลงลงใน  “ไดรส์”  เพื่อให้นักเรียนได้ฝึกร้องเพลงพร้อมกับเนื้อเพลงที่เป็นอักษรเบรลล์  เมื่อทุกคนจำเนื้อเพลงได้แล้ว  จึงจะมาเริ่มฝึกการร้องกับเปียโนไฟฟ้า  ในการฝึกซ้อมจะใช้              เวลาที่ว่างจากการเรียนทุกวัน

-ลงพื้นที่ในโรงพยาบาล/สวนสาธารณะ  ร้องเพลงประสานเสียงสร้างสุขให้สังคม

-รวมพลังลดภาวะโลกร้อนและการอนุรักษ์ทรัพยากรณ์ธรรมชาติ  ด้วยการร่วมกับกลุ่มแกนนำกิจกรรม  คืนชีพให้กระดาษ PAPER RANGER   ในการทำสมุดหน้าสาม ด้วยการนำกระดาษใช้แล้วทั้งสองหน้ามาทำสมุดบันทึกอักษรเบรลล์ใช้เอง และมอบให้แก่ผู้อื่น

 -สร้างและขยายเครือข่ายเยาวชนจิตอาสา ในสถานศึกษา และขยายผลให้แพร่หลายในสังคม

  1. กลุ่มจุดเปลี่ยน  “รณรงค์ต่อต้านยาเสพติด”

วิธีการดำเนินงาน

ขั้นตอนที่1 สำรวจข้อมูลและวิเคราะห์หาสาเหตุของปัญหาด้านสารเสพติดทั้งภายในโรงเรียนและชุมชน

ขั้นตอนที่2 วางแผน ออกแบบ การจัดกิจกรรมจุดเปลี่ยน(จิตอาสาต้านภัยสารเสพติด)จัดทำแนวปฏิบัติและดำเนินการจัดกิจกรรม

ขั้นตอนที่3 ปฏิบัติกิจกรรมตามแผนและเผยแพร่ความรู้ด้านพิษภัยจากการใช้สารเสพติดด้วยเกมส์“จุดเปลี่ยน”โดยแกนนำโครงการ “จุดเปลี่ยน…จิตอาสาต้านภัยสารเสพติด”

ขั้นตอนที่ 4 แลกเปลี่ยนเรียนรู้และถอดบทเรียน AAR สะท้อนความรู้สึกหลังจากปฏิบัติกิจกรรม

-เผยแพร่กิจกรรมด้วยการสาธิตเทคนิคการทำกิจกรรมและเป็นวิทยากรให้ความรู้และเทคนิคการจัด 

 กิจกรรม “จุดเปลี่ยน”

  1. ชมรม เปเปอร์มาเช่ (ทำเก้าอี้จากเศษกระดาษให้น้องพิการทางสมอง สถาบันราชานุกูล)

วิธีการดำเนินงาน

-พัฒนาศักยภาพแกนนำเยาวชนจิตอาสาให้เติมเต็มทักษะชีวิต โดยการเรียนรู้และเตรียมความพร้อม   และฝึกทักษะการทำเก้าอี้เพื่อน้องพิการทางสมองด้วยเศษกระดาษจากสถาบันราชานุกูล

-ร่วมกับสถาบันราชานุกูลในการขอรับบริจาคกระดาษ/กล่องกระดาษและแป้งมันทำกาว

-จัดหากระดาษที่ใช้แล้วสองหน้า/เศษกระดาษจากโรงพิมพ์และสำนักงานต่างๆ มาใช้ในการทำเก้าอี้

เปเปอร์มาเช่ให้น้องพิการทางสมอง  เพื่อลดค่าใช้จ่ายในการซื้อเก้าอี้ของผู้ปกครองน้องพิการทางสมอง

-ดำเนินการทำเก้าอี้ที่มีลักษณะเฉพาะสำหรับน้องพิการทางสมองด้วยเศษกระดาษเหลือใช้เพื่อลดโลกร้อน  และใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า

-สรุปกิจกรรมและถอดบทเรียนทุกครั้งที่มีการปฏิบัติกิจกรรม

-เผยแพร่ทางสื่อทีวี  รายการ “ริบบิ้นสีฟ้า” สถานีโทรทัศน์ไทนพีบีเอส  ให้เกิดแรงบันดาลใจและเป็นแบบอย่างที่ดีแก่คนทั่วประเทศ

  1. ชมรมเยาวชนคนอาสาชาวเลือดหมู-ดำ “นักออกแบบความสุข”  โครงการโรงพยาบาลมีสุข

วิธีการดำเนินงาน

-พัฒนาศักยภาพแกนนำเยาวชนจิตอาสาให้เติมเต็มทักษะชีวิต โดยการเรียนรู้และเตรียมความพร้อมด้วยการฝึกทักษะการเล่านิทาน/การประดิษฐ์ลูกโป่งแฟนซี/งานในโรงพยาบาลและอื่นๆ

-นำรูปแบบกิจกรรมจิตอาสาอย่างน้อย 2  กิจกรรมมาดำเนินการออกแบบกิจกรรมจิตอาสาเพื่อลงพื้นที่ดำเนินการร่วมกัน  โดยพัฒนารูปแบบของกิจกรรมให้เกิดประโยชน์ต่อสังคมและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

-ลงมือปฏิบัติด้วยการทำงานจิตอาสาในโรงพยาบาล

-สร้างและขยายเครือข่ายเยาวชนจิตอาสา ในสถานศึกษา และขยายผลให้แพร่หลายในสังคม

- ประสานงานกับองค์กรทั้งภายในและนอกสถานศึกษา เพื่อขอรับการสนับสนุนในการจัดกิจกรรมของชมรมให้เกิดประสิทธิภาพ

- เผยแพร่และประชาสัมพันธ์กิจกรรมผ่านทางการจัดบอร์ดและผ่านทางสื่อสารมวลชนและเว็บไซต์ต่างๆ

-สรุปกิจกรรมและถอดบทเรียนทุกครั้งที่มีการปฏิบัติกิจกรรม  

9.    กลุ่มวิทยากรแกนนำกิจกรรม รณรงค์ต่อต้านขบวนการค้ามนุษย์

วิธีการดำเนินงาน

 -พัฒนาศักยภาพวิทยากรแกนนำจัดอบรมรณรงค์ต่อต้านขบวนการค้ามนุษย์

 -ลงมือปฏิบัติด้วยการเป็นกลุ่มวิทยากรให้ความรู้แก่เด็กและเยาวชน

-สร้างและขยายเครือข่ายเยาวชนจิตอาสารณรงค์ต่อต้านขบวนการค้ามนุษย์ ในสถานศึกษา และขยายผลให้แพร่หลายในสังคม

-รวมพลังลดภาวะโลกร้อนและการอนุรักษ์ทรัพยากรณ์ธรรมชาติ  ด้วยการร่วมกับกลุ่มแกนนำกิจกรรม  คืนชีพให้กระดาษ PAPER RANGER ในการทำสมุดบันทึกจากกระดาษใช้แล้วหน้าเดียวสอดแทรกความรู้ รณรงค์ต่อต้านขบวนการค้ามนุษย์  มอบให้เด็กและเยาวชนในชุมชนต่างๆ

-เผยแพร่การดำเนินงานต่อต้านขบวนการค้ามนุษย์ ณ โรงเรียนสตรีวิทยา 2  จัดโดยกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์                                                                                                                                     -สรุปกิจกรรมและถอดบทเรียนทุกครั้งที่มีการปฏิบัติกิจกรรม                   

10.    ชมรม  SL . PLAY บูรณาการละครสะท้อนจิตอาสา

วิธีการดำเนินงาน

-ใช้กระบวนการละครสร้างความตระหนัก  เรื่องจิตอาสาแก่เด็กและเยาวชน
-เด็กและเยาวชนเขียนบทละคร/ซ้อมละครและถ่ายทอดเรื่องราวของตนและสังคมออกมาเป็นละครสะท้อนจิตอาสา/ปัญหาสังคมและส่งเสริมคุณธรรม
-สร้างแนวทางในการวางโครงสร้างเครือข่ายเยาวชนละครเพื่อจิตอาสา

-นำรูปแบบกิจกรรมจิตอาสาอย่างน้อย 2  กิจกรรมมาดำเนินการออกแบบกิจกรรมจิตอาสาเพื่อลงพื้นที่ดำเนินการร่วมกัน  โดยพัฒนารูปแบบของกิจกรรมให้เกิดประโยชน์ต่อสังคมและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
- ใช้ละครเป็นสื่อกลางและบูรณาการกับเครือข่ายจิตอาสาทุกองค์กรในโรงเรียนเพื่อป้องกันปัญหาเด็กและเยาวชนติดเกมส์,มีเพศสัมพันธุ์ในวัยเรียน,สารเสพติดและการทะเลาะวิวาทใช้ความรุนแรง

-ดำเนินการจัดกิจกรรม “น้อยนาทีมีค่า” ที่หน้าแถวช่วงเช้าหลังเคารพธงชาติ ร่วมกับชมรม “คุยเปิดใจ รักปลอดภัย” ด้วยการแสดงละครสะท้อนปัญหาและให้ความรู้ เรื่องเอดส์ / เพศ  และป้องกันการตั้งครรภ์ไม่พร้อมของวัยรุ่น     ร่วมกับชมรม “จุดเปลี่ยน”ในการแสดงละครสะท้อนปัญหาการใช้สารเสพติด  และปัญหาพฤติกรรมไม่พึงประสงของเด็กและเยาวชน ภายในโรงเรียนสันติราษฎร์วิทยาลัย เป็นประจำ
- ส่งเสริมให้เด็กและเยาวชนพัฒนา หรือค้นหาตัวตนและคุณค่าตัวเองเจอได้จากการฝึกละคร อันจะนำมาซึ่งการตระหนักถึงคุณค่าของผู้อื่นและนำมาสู่การสร้างสรรค์สังคมอันเป็นสุข

- ขยายเครือข่ายเยาวชนจิตอาสาทั้งภายในและภายนอกสถานศึกษา ซึ่งเป็นหัวใจของการพัฒนาเด็กและเยาวชนให้มีภูมิคุ้มกันต่อปัญหาด้านต่างๆ เช่น ด้านเอดส์ เพศศึกษา ด้านการป้องกันสิ่งสพติด ด้านสุขกายสุขภาพจิตและการคุ้มครองผู้บริโภค ปัญหาการใช้ความรุนแรง และการทะเลาะวิวาท

-สรุปกิจกรรมและถอดบทเรียนทุกครั้งที่มีการปฏิบัติกิจกรรม

-เผยแพร่ รณรงค์และสร้างแรงบะนดาลใจให้สังคมผ่านทางสื่ออินเตอร์เนต  สื่อรายการทีวี เช่น รายการมกคันไฟ ช่องไทยพีบีเอส  รายการกล้าคิดกล้าทำ ช่อง 5  รายการช่วยคิดช่วยทำ ทางช่อง 3  และอื่นๆ   

ผลการนำนวัตกรรม กระบวนการเครือข่ายจิตอาสา ชาวเลือดหมู-ดำไปใช้พัฒนาผู้เรียน ส่งผลให้ผู้เรียนเกิดคุณลักษณะอันพึงประสงค์ 8 ประการและยังได้รับการยกย่องชมเชย/เกียรติบัตร/รางวัลเพิ่มขึ้นในปีการศึกษา  2552–ปัจจุบัน  ดังนี้

1 .กลุ่มชมรม “ จิตใส ใจอาสา ฝ่าโลกมืด” นักเรียนร่วมผู้พิการทางสายตา ร้องเพลงประสานเสียง “สร้างสุขในโรงพยาบาล”  ได้รับรางวัลกลุ่มเยาวชนดีเด่นกรุงเทพมหานคร (ประกายเพชร) ประจำปี  2554  ผลงาน ด้านการพัฒนาสังคมหรือสภาเยาวชน                                                                                                                                                                    

2 .กลุ่มชมรมเยาวชนคนอาสาชาวเลือดหมู-ดำ  ได้รับพระราชทานรางวัลกลุ่มเด็กและเยาวชนดีเด่นแห่งชาติ ประจำปี 2552   สาขาพัฒนาเยาวชน บำเพ็ญประโยชน์และส่งเสริมการมีส่วนร่วมของเยาวชน ของสำนักงานส่งเสริมสวัสดิภาพและพิทักษ์เด็ก เยาวชน ผู้ด้อยโอกาสและผู้สูงอายุ จากพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าศรีรัศมิ์พระวรชายา ในสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯสยามมกุฎราชกุมาร

3.กลุ่มชมรมเยาวชนคนอาสาชาวเลือดหมู-ดำ  ได้รับรางวัลกลุ่มเยาวชนดีเด่นกรุงเทพมหานคร (ประกายเพชร) ประจำปี   2553 ผลงาน ด้านการพัฒนาสังคมหรือสภาเยาวชน                                                                                                                                                                    

4.นักเรียนจิตอาสาได้รับรางวัลเยาวชนคนดีศรีแผ่นดิน  โครงการธนาคารความดี ประจำปี2552 และ 2553จากมูลนิธิเพื่อสังคมไทย                                                               

5.นายจารณะ  บุญประเสริฐ นักเรียนชั้น มัธยมศึกษาปีที่6 ได้รับรางวัลเยาวชนด<

หมายเลขบันทึก: 506176เขียนเมื่อ 19 ตุลาคม 2012 11:35 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 ตุลาคม 2012 12:16 น. ()สัญญาอนุญาต: ไม่สงวนสิทธิ์ใดๆจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

เป็นนวัตกรรมที่บูรณาการองค์รวมที่สามารถเชื่อมโยงได้ทุกสาระ เยี่ยมจริงๆค่ะ ที่ รร. ก็ทำ โครงการรักการอ่านแต่ยังไม่เป็นองค์รวมแบบนี้ค่ะ 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท