ครูนักวิจัยที่มีอยู่ในสายเลือดของความเป็นครู


ไปสัมมนาวิจัยกับเพื่อนครูในโรงเรียนที่ อำเภอแกลง จังหวัดระยองมาค่ะ  เวลาเรามีน้อยเนื่องจากผู้ดำเนินรายการนำเวลาไปทำกิจกรรมอื่นเสียเกือบชั่วโมง  ในภาคบ่ายเลยได้วิพากษ์วิจัยเพียง 11 เรื่องเท่าันั้น

*****

วิจัยส่วนใหญ่ของคณะครู  พบว่าส่วนใหญ่เป็นเรื่อง การสร้างนวัตกรรม  หลังจากที่พบปัญหา  ผลสัมฤทธิ์ต่ำ  และ  การสร้างนวัตกรรมเนื่องจากนักเรียนมีความสามารถ หรือทักษะทางการเรียนรู้ต่ำ

*****

ท่าน ผอ.เป็นผู้วิพากษ์  ส่วนครูอ้อยเองเป็น ผู้ประสานการสัมมนา  คอบจดและดำเนินการเรียบเรียงให้ผู้เข้าร่วมสัมมนามีความสะดวกและคล่องตัวยิ่งขึ้น

*****

การนำวิจัย หรือเค้าโครงวิจัยมาวิพากษ์กัันนี้   ครูนักิจัยได้นำเรื่องเก่ามาพัฒนา และ คิดทำเรื่องใหม่  แตกต่างกันไป  มีวิจัยที่เกี่ยวกับการปรับพฤติกรรมนักเรียน เพียง 3 เรื่องเท่านั้น คือ พัฒนาการทำความเคารพตามแบบฉบับของโรงเรียน   เรื่องที่สองคือศึกษาพฤติกรรมการไม่ส่งการบ้านของนักเรียน  และชั้นปฐมวัน  เรื่องที่สามคือ  พฤติกรรมการฟังนิทานเรื่องซ้ำของนักเรียน

*****

ส่วนอีก 8 เรื่องนั้นเป็นเรื่องที่น่าสนใจ  แตกต่างกันไปตามระบบ  ระดับชั้นของนักเรียน  ตั้งแต่สายชั้น ปฐมวัย  ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 - 6  หลายๆท่านเตรียม PPT มาเป็นอย่างดี  มีการซักซ้อมการนำเสนอมาเป็นอย่างดีเยี่ยม   นี่ถือได้ว่า  เป็นครั้งแรกของการนำเสนอวิจัยให้ท่านผู้อำนวยการโรงเรียนได้วิพากษ์

*****

ถึงแม้ว่า  ตลอดระยะเวลาของการเดินทาง  ไม่ได้นำเรื่องวิจัยกลับมาพูดบนรถเลยสักนิดเดียวก็ตาม  เพราะการไปสัมมนาครั้งนี้  ได้มีเพียงชื่อเรื่องเท่านั้น  นอกจากนั้น  แทบจะทุกท่านมีความต้องการพักผ่อน  ไปเที่ยว  สนุกสนาน  เรื่องงานนั้น  กลับมาทำทีหลังก็ยังได้

*****

ในนามที่ครูอ้อยเป็นหัวหน้่างานวิจัย  จึงมีความคิดเห็นว่า....งานวิจัยในโรงเรียนนี้  จะปลูกฝังให้นักเรียนมีโครงงาน และคิดอะไรใ้ห้เป็นวิทยาศาสตร์คงจะต้องใช้เวลา ปลูก และรดน้ำ พรวนดินกันเป็นเวลานาน  ด้วยครูผู้สอนเอง...ยังไม่มีหัวใจเป็นครูนักวิจัยเลย

*****

ไม่ต้องการให้  เป็นสภาวะเสมือนไฟไหม้ฟาง   ใฝ่ฝันให้นักวิจัย หรือ งานวิจัยนั้นเข้าไปในสายเลือดของความเป็นครู   ดูงานวิจัยของท่านอื่นได้  สอนและสร้างนักวิจัยรุ่นเล็กได้

*****

ต้องเดินหน้าต่อไป  ให้ร้อยละของความเป็นครูนักวิจัย....สูงขึ้น  ให้ได้

*****

ภาพของการไปสัมมนาครั้งนี้

*****

 

หมายเลขบันทึก: 505889เขียนเมื่อ 17 ตุลาคม 2012 06:13 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 ธันวาคม 2012 16:47 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ขอเป็นกำลังใจในความวิริยะค่ะครูอ้อย

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท