คราม มรดกท้องถิ่น ที่ควรค่าแก่การพัฒนา สู่ความเป็น ว และ ท


วทน. ช่วยเพิ่มคุณภาพชีวิต

ในการดำเนินงานหมู่บ้านครามในปีงบประมาณพ.ศ. 2555 ได้พัฒนาและสร้างความเชี่ยวชาญทางด้านเทคโนโลยีเกี่ยวกับเรื่องคราม  สร้างความเข้มแข็งและพัฒนาศักยภาพหมู่บ้านคราม บ้านโนนนครและส่งเสริมให้มีการพัฒนาอย่างยั่งยืน โดยจัดให้มีการถ่ายทอดเทคโนโลยีให้กับกลุ่มเป้าหมาย  ดังนี้ 

ชมรมคนรักคราม นำทีมโดย ผศ.สุจิตราฯ

1. ถ่ายทอดเทคโนโลยีการปลูกคราม และการเก็บเกี่ยวคราม 
2. ถ่ายทอดเทคโนโลยีการหมักครามเพื่อผลิตเนื้อคราม 
3. ถ่ายทอดเทคโนโลยีการพัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์ผ้าย้อมคราม
4. ถ่ายทอดเทคโนโลยี การพัฒนาผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์ผ้าย้อมคราม 
ตั้งเป้าหมายผู้ร่วมโครงการ 120  คน ได้ผู้เข้าร่วมจริง 163 คน  พื้นที่ปลูกครามรวม 26 ไร่ จากเป้าหมายที่ตั้งไว้ 10 ไร่ ได้ผลิตภัณฑ์จากครามรวม 4 ผลิตภัณฑ์ มีหมู่บ้านเข้าร่วมโครงการ 3 หมู่บ้าน จาก 3 อำเภอดังนี้ 
 
ทีมวิทยากรเรื่องฝ้ายของ ผศ.สุจิตรา สราวิช ...คงไม่ต้องบอกนะว่าสุดยอดขนาดไหน
1. หมู่บ้านแม่ข่าย บ้านโนนนคร ตำบลขมิ้น อำเภอเมือง จังหวัดกาฬสินธุ์จำนวนผู้เข้าร่วมกิจกรรม 30 คน ร้อยละของผู้นำไปประกอบอาชีพได้ร้อยละ 100 ความพึงพอใจในภาพรวมร้อยละ 93.36  พื้นที่ในการปลูกครามรวม 5ไร่ ได้ผลิตภัณฑ์จากคราม  4 ผลิตภัณฑ์ คือ ผ้าพันคอ ผ้าคลุมไหล่ ผ้าปูโต๊ะ เสื้อย้อมครามปักมือ
2. บ้านกุดตาใกล้ ตำบลสายนาวัง จังหวัดกาฬสินธุ์ผู้เข้าร่วมกิจกรรม 78 คน ร้อยละของผู้นำไปประกอบอาชีพได้ร้อยละ 100 ความพึงพอใจในภาพรวมร้อยละ 85.16  พื้นที่ในการปลูกครามรวม 2 ไร่ ได้ผลิตภัณฑ์จากคราม  4 ผลิตภัณฑ์ คือ ผ้าพันคอ ผ้าคลุมไหล่ ผ้าปูโต๊ะ เสื้อย้อมครามปักมือ
3. บ้านดินจี่ ตำบลดินจี่ อำเภอคำม่วง ขังหวัดกาฬสินธุ์ ผู้เข้าร่วมกิจกรรม 55 คน ร้อยละของผู้นำไปประกอบอาชีพได้ร้อยละ 100 ความพึงพอใจในภาพรวมร้อยละ 90.2  พื้นที่ในการปลูกครามรวม 19 ไร่ ได้ผลิตภัณฑ์จากคราม  2  ผลิตภัณฑ์ คือ เสื้อย้อมคราม  เสื้อย้อมครามปักมือ
บางท่านอาจจยังไม่รู้จัก คราม
 
ผลลัพท์ทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นในกลุ่มที่รับการถ่ายทอดคือ สามารถผลิตเนื้อครามได้ประมาณ 500 กิโลกรัม   ราคาจำหน่ายกิโลกรัมละ 200 – 300 บาท (บางส่วนยังไม่ได้เก็บเกี่ยว)  แต่ผู้เข้าโครงการไม่ต้องการจำหน่ายเป็นเนื้อครามเพราะต้องการเอาไว้ย้อมและทำผลิตภัณฑ์ออกจำหน่ายตามรูปแบบที่ได้รับการถ่ายทอดไว้แล้ว  คาดว่าน่าจะทันช่วงก่อนปีใหม่ ซึ่งคาดว่าจะทำให้มีรายได้เพิ่มขึ้น คนละไม่น้อยกว่า 3,000 – 4,000 บาท ผ้าย้อมครามขายได้เมตรละ 300 -350 บาท เสื้อย้อมครามเย็บมือทั้งตัวราคาขายตัวละ 1,500 -1,800 บาท ขึ้นกับความยากง่ายของลายที่ปัก ผ้าพันคอผืนละ 150 – 400 บาท ไม่มีปัญหาเรื่องการตลาด 
 
ผลลัพท์ทางสังคม เกิดความร่วมมือระหว่างคนหลายวัยในชุมชน ในการนำความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมาพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่มาจากภูมิปัญญาพื้นบ้าน ซึ่งเกือบจะหายไปจากชุมชนแล้ว ทำให้ผู้อาวุโสในหมู่บ้านมีความสุขที่ได้ถ่ายทอดองค์ความเรื่องครามให้กับลูกหลานและมีรายได้ของตนเอง  ลูกหลานเห็นช่องทางการมีรายได้จากการขายผลิตภัณฑ์จากผ้าย้อมคราม ซึ่งทุกกระบวนการผลิตเองจากในชุมชน  ในส่วนของเทศบาลตำบลขมิ้นได้เห็นความเข้มแข็งของหมู่บ้านคราม ได้สนับสนุนงบประมาณให้กับกลุ่มฯ จำนวน 5,000 บาท และนำผลงานผ้าย้อมครามของกลุ่มเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ในงานต่าง ๆ
หมายเลขบันทึก: 505831เขียนเมื่อ 16 ตุลาคม 2012 13:17 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2015 12:19 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท