หวงแหนภาษาถิ่น วันละคำ “ขวนปี้ – กวนหมวน”


ขอวิงวอนให้หยุดการ “ขวนปี้ – กวนหมวน” ในทุก ๆ กรณี

     เวลาเราจะทำอะไรสักอย่าง หรือหลาย ๆ อย่าง เป็นติดปัญหาไปหมด โดยเฉพาะปัญหานั้นเป็นปัญหาที่ถูกใครตั้งใจทำให้เกิดขึ้นเพื่อขัดขวาง หรือเพื่อตัดกำลัง ให้ทดท้อ และมักจะเป็นเรื่องเล็ก ๆ ที่กวนใจเสียมากกว่า เราจะเรียกลักษณะอย่างนี้ว่าการถูก “ขวนปี้” หากเป็นเรื่องที่ใหญ่ขึ้นหรือมากขึ้น ๆ เราก็จะเรียกว่า “กวนหมวน” การถูก “ขวนปี้” จะเพียงรำคาญ หากถูกถึงระดับที่เรียกว่า “กวนหมวน” เมื่อไหร่ต้องใช้ความอดทนสูงกว่าการถูก “ขวนปี้” หากอดทนไม่ได้ ก็มักจะลงเอยด้วยการตอบโต้ ซึ่งควรระวังให้ระดับความรู้สึกที่ถูก “กวนหมวน” เหลือเพียงรู้สักเป็นการ “ขวนปี้” พอ

     ตัวอย่างของการ “ขวนปี้” เช่นการวางระเบิดปลอม หรือประทัดยักษ์ ที่พอทำให้ตกอกตกใจ แต่พอใช้ระเบิดจริง หากยังไม่มุ่งหวังต่อชีวิตและทรัพย์สิน ก็เป็นการ “ขวนปี้” อยู่ เมื่อไหร่คาดหมายชีวิต และทรัพย์สินให้เสียหายด้วยนั่นหมายถึงการ “กวนหมวน” แล้ว เมื่อมีการ “กวนหมวน” เกิดขึ้น ก็เริ่มมีมาตรการปกป้องตนเองกันมากขึ้น จนถึงที่สุด

     ทั้งการ “ขวนปี้” และ “กวนหมวน” เรามักจะพบเห็นได้บ่อย ๆ ในสังคม การกระทำทั้ง 2 ลักษณะจะเป็นการแอบกระทำ มักจะไม่เปิดเผยตัว ไม่กระทำซึ่ง ๆ หน้า การกระทำเช่นนี้จะยิ่งหนักขึ้น ๆ หากสังคมไปให้คุณค่า บันทึกนี้ขอไว้อาลัยกับผู้ที่สูญเสียและครอบครัวของคนที่ถูกกระทำ และขอวิงวอนให้หยุดการ “ขวนปี้ – กวนหมวน” ในทุก ๆ กรณีด้วยครับ

หมายเลขบันทึก: 50573เขียนเมื่อ 17 กันยายน 2006 22:17 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มีนาคม 2015 08:28 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (12)
  • บ้านผมเรียกว่า ผู้ก่อกวนครับ
  • ขอร้องอย่าทำเลยครับ
  • สงสารคนดีๆที่ไม่รู้เรื่องอะไรด้วยเถอะครับ
  • ขอวิงวอน

อาจารย์พี่ขจิต...ครับ

     ผู้ก่อกวนความไม่สงบ ใช่ไหมครับ น่าจะนัยยะเดียวกันนะครับ แต่บันทึกนี้ยังเน้นครับว่าสำหรับทุกกรณี เพราะมันเริ่มไม่ไหวแล้ว (ยิ้ม ๆ แบบ...)

"ขวนปี้" ไม่ค่อยจะได้ยินค่ะ แต่ "กวนหมวน" ได้ยินบ่อยมาก กวนหมวน คือ น้ำมันอยู่นิ่ง ๆ ของมันอยู่ดี ๆ แต่ดันเอามือไปกวนให้หมวนมันขึ้นมา  "หมวน" คือ ตะกอน ไม่ทราบความหมายเดียวกันกับคนสงขลาหรือเปล่า

เมื่อหมวนขึ้น ทีนี่ก็เดือดร้อนไปถึงคนกวนด้วย ก็เลยบอกว่าอยู่นิ่ง ๆ อย่าไป "กวนหมวน"

อาจารย์น้อง Vij

     "ขวนปี้" ไม่เคยได้ยินจริง ๆ เหรอครับ แล้ว "จุดมอด" เคยได้ยินไหม คล้าย ๆ กันนะ
     ขอบคุณนะครับ ที่ช่วยอธิบายคำว่า "กวนหมวน" ให้ชัดเจนขึ้นถึงที่มาที่ไปครับ

โอย!! ยิ่งงงเป็นไก่ตาแตกเข้าไปทุกที "จุดมอด" ก็ยังตาแตกอยู่คะ แสดงว่าคุณพี่ "ชายขอบ" ใต้จริง ๆ ค่ะ ใต้แท้ ๆ เลย...นิ  ไม่ "กวนหมวน" แล้วค่ะ เดี๋ยวกลับใต้ไม่ได้

อาจารย์น้อง Vij

     มาขำครับ ไม่เฉลยดีกว่า "จุดมอด" คืออะไร เอาไว้กลับมาบ้านแล้วไปสอบถามเพื่อนบ้านดูนะครับว่า "จุดมอด" คืออะไร

จุดมอดป้องก็ไม่รุ้เหมือนกัน แต่ถ้ามอด เฉยๆๆรุ้จักค่ะ

มอด หมายถึงพลอย (ขอติดรถไปด้วยประมาณนี้)คือไปด้วยกันยังไงก็ไปทางเดียวกันแล้ว

มอดหัวเหล็ก   คือพลอยตลอดปีตลอดชาติค่ะไม่เคยมีเป้นของตัวเองค่ะ

สวัสดีครับ คุณน้องภูตะวัน

     มอดนะใช่เลยครับ ตามที่น้องภูตะวันบอกมา หากจุดมอดจะหมายถึงดังนี้ครับ
     "เพื่อนนอนหลับสบาย ๆ อยู่ เราก็เอาธูป (หรือก้านไม้ขีด) จุดไฟให้ค่อย ๆ กินเข้าไปทีละนิด ที่ละนิด แล้วเอาไปเสียบที่ระหว่างนิ้วเพื่อน จากนั้นไปรอลุ้นว่าจะถึงเนื้อเพื่อนตอนไหน แล้วตื่นขึ้นมาเขาจะว่ายังไง" อย่างนี้เป็นต้น

ได้รับความรู้แบบว่ากระจ่างชัดมาก  เลยอยากทราบว่าชายชอบได้บันทึกภาษาถิ่นไว้แบบเป็นลายลักษณ์อักษรหรือเปล่า  คือเราอยากทำข้อมูลเก็บไว้  ประมาณว่า พจนานุกรมภาษาใต้ อะไรทำนองนี้ ถ้ามีจะสามารถค้นหาได้จากที่ไหนบ้าง

เรียน คุณบินหลาดง

     ได้ครับลองติดต่อมาดูนะครับ ที่อยู่หรือรายละเอียดปรากฎอยู่ในประวัติครับ (คลิ้ก)

ดีจังเลยค๊ะ แต่ละคำ ไม่เคยได้ยินเลยคะ ดีได้ความรู้เพิ่มด้วย

คำว่า สีโหม๊ะ แปลว่าอะไร

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท