เขาคนนี้คือ..?


แพะเท่านั้น ที่เขานำมาใช้เป็นเครื่องบูชายัญ ไม่มีใครที่ไหนจะกล้าจับพญาราชสีห์มาบูชายัญ

บันทึกนี้มีเรื่องเล่าต่อจากตอนที่แล้วคือว่าเขาคนนั้นเริ่มโครงการปลดปล่อยชนชั้นวรรณะศูทรให้หลุดพ้นไปจากวงจรของศาสนาที่กำหนดชะตาชีวิตเป็นวรรณะศูทรจนชีวิตจะหาไม่  และที่นั้นเป็นสัญลักษณ์รอดพ้นจากความเป็นศูทรและเป็นที่ตั้งอนุสาวรีย์เขามาทุกวันนี้

เขาทำเพื่อชั้นชั้นต่ำคนยากคนจนคนวรรณะศูทรโดยไม่เห็นแก่ตัว

ต่อมาทางรัฐบาลได้ยกย่องเขาให้เป็นศาสตราจารย์สอนหลายวิชา

เขาทำงานด้วยความซื่อสัตย์จริงใจบวกกับความเสียสละ   เขาตระหนักรู้ว่าคนทุกคนต่างเป็นญาติธรรมทั้งนั้น

        จากคนไร้สิทธิ์กลับกลายมาเป็นหัวหน้าพรรคการเมือง  เขาเป็นรัฐมนตรี  เขาเป็นประธานสภาร่างรัฐธรรมนูญเพื่อให้สิทธิแก่คนทุกคนในประเทศอินเดียโดยให้สิทธิแก่ทุกคนเสมอภาคกัน

เขามาจากคนไม่ได้รับความยุติธรรมแต่เขามาเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมคนแรกของอินเดีย

        เขาเองเป็นผู้จุดประกายให้ผู้คนหันกลับมานับถือพระพุทธศาสนาอีกครั้งหลังจากเงียบหายไปนานราว 1,500 ปีถือว่าเขาคือต้นรากแห่งการรื้อฟื้นคืนชีพให้แด่พระพุทธศาสนาในอินเดียจนทำให้พุทธภูมิเดิมกลับมามีแสงสว่างแห่งพุทธธรรมกันอีกครั้ง

        เมื่อ พ. ศ. 2500  เขาเป็นผู้นำชนชั้นศูทรและผู้ต้องการเปลี่ยนศาสนาเดิมหันมานับถือพระพุทธศาสนาเรียกกลุ่มตนเองว่า  Neo  Buddhist  ( กลุ่มชาวพุทธใหม่ )  โดยมีศูนย์กลางอยู่เมืองนาคปูร์  ซึ่งเป็นเมืองของชนเผ่านาคมาตั้งหลักแหล่งอยู่  เราคงได้ยินว่าเวลาผู้จะบวชเป็นพระในพระพุทธศาสนานั้นต้องมาเป็นนาค  ก็คำว่านาคนี้ได้มาจากชนเผ่านี้ละ

       เขาว่าคำสอนของพระพุทธศาสนานั้นทำให้สังคมน่าอยู่  ด้วยพระพุทธเจ้านั้นทรงสอนพระธรรมเพื่อประโยชน์สุขแห่งมวลมนุษย์โลก  คือพระพุทธศาสนาไม่สอนยกตนข่มคนอื่น  พระพุทธศาสนาไม่สอนให้ดูถูกตนว่าเลวกว่าคนอื่น  พระพุทธศาสนาสอนแต่ว่าให้ทุกคนมีความพยายามชอบประกอบ

ไปด้วยธรรมแล้วย่อมพบความสำเร็จ  ด้วยศาสนาของพระพุทธเจ้ายกฐานะมนุษย์เท่าเทียมกัน  เปรียบเหมือนแม่น้ำสายต่างไหลมารวมลงในทะเลก็ละทิ้งชื่อเดิมของตน  กลายเป็นน้ำทะเลมีรสเดียวคือรสเค็มเหมือนกันหมด

        พระพุทธศาสนาสอนว่า  คนเราไม่ใช่ดีเพราะโคตร  ไม่ใช่ดีเพราะตระกูล  ไม่ใช่ดีเพราะมีทรัพย์  แต่จะดีหรือชั่วอยู่ที่การกระทำของบุคคลนั้น  และเขากระทำพิธีแสดงตนเป็นชาวพุทธคราวฉลองพุทธชะยันตี  25  พุทธศตวรรษ  โดยประกาศตนเป็นชาวพุทธราว  5 แสนคนช่วงนั้น เมื่อ 14  ตุลาคม  2449  ( พรุ่งนี้จะครบรอบวงกลมแห่งการประกาศตนของเขาแล้วอีกครั้งแล้ว ) ทำให้เกิดกระแสการหันมานับถือพระพุทธศาสนาอย่างต่อเนื่องโดยมี 2 กลุ่มคือ  กลุ่มนักปราชญ์และกลุ่มชนชั้นวรรณะศูทรนั้น  และเขากลายเป็นบิดาแห่งรัฐธรรมนูญของประเทศอินเดีย  ในกาลต่อมาเขาได้ลาลับโลกไปเมื่อวันที่  6  ธันวาคม  2499 

ในท้ายที่สุดเขาคนนี้ คือ ดร. อัมเบดการ์  นั้นแล.

........................................................

หมายเหตุ : เรื่องเล่านี้ได้เก็บมุมคิดมาจากหนังสือชื่อ ผู้นำทางการเมืองและพระพุทธศาสนาใหม่แห่งอินเดีย : Dr. Ambedkar  ดร.  อัมเบดการ์  โดย  ณรงค์  โพธิ์พฤกษานันท์  ขอขอบพระคุณเจ้าของผลงานนี้ที่ทำให้ได้เห็นอีกมุมมองหนึ่งเกี่ยวกับ  ภิมเรา  รามจี  อัมเบดการ์  ผู้มีคติสอนตนว่า...แพะเท่านั้น  ที่เขานำมาใช้เป็นเครื่องบูชายัญ  ไม่มีใครที่ไหนจะกล้าจับพญาราชสีห์มาบูชายัญ..น. 6

“”””””””””””””””””””””””””””””””””””””””””””

หมายเลขบันทึก: 505543เขียนเมื่อ 13 ตุลาคม 2012 23:47 น. ()แก้ไขเมื่อ 14 ตุลาคม 2012 23:45 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

อ.umi คะ ตอนนี้มีฟังก์ชั่นให้เราใส่บันทึกที่เกี่ยวข้องได้ด้วยนะคะ เป็นช่องต่อจากช่อง"เนื้อหา"ที่เราเขียนบันทึกและช่องแสดงไฟล์ต่าง อาจารย์เอาเลขที่บันทึกนี้ (505543) ไปใส่ไว้ในบันทึกแรกเพื่อให้คนอ่านคลิกไปอ่านได้ง่ายๆได้นะคะ ส่วนบันทึกนั้นก็เอาเลขที่ (505506) มาใส่ไว้ที่บันทึกนี้ได้ค่ะ  

สวัสดีครับ ท่าน ดร.โอ๋-อโณ

ดีมากครับ เป็นประโยชน์ต่อการบันทึก ขอพระคุณมากครับที่แนะนำ

ผมเองก็เรียนรู้ไป เรี่อย ๆ เพราะวิชาคอม ฯ นี้ ผมไม่ค่อยถนัด ยังไม่เข้าใจหลายเรื่องทีเดียวละครับผม

เดี๋ยวว่าง ๆ จะทำตามคำแนะนำนะครับผม

ด้วยความปรารถนาดี

จาก...ยูมิ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท