คำสมาสที่มีการสนธิ


คำสมาสที่มีการสนธิ


คำสมาสบางคำมีการกลมกลืนเสียงระหว่างคำที่นำมาสมาสกัน  เรียกว่า การสนธิ  ซึ่งมี 3 วิธี คือ สระสนธิ  พยัญชนะสนธิและนิคหิตสนธิ

 

สระสนธิ  เป็นการกลมกลืนเสียงสระพยางค์ท้ายของคำหน้ากับเสียงสระพยางค์หน้าของคำหลัง

ก. สระอะ สนธิกับ อะ อา อิ อุ เอ ไอ โอ เอา

สุข + อภิบาล = สุขาภิบาล

วิทย + อาลัย = วิทยาลัย

นร + อินทร = นรินทร์ นเรนทร์

นิล + อุบล = นิลุบล นิโลบล

อน + เอก = อเนก

มห + ไอศวรรย์ = มไหศวรรย์

ราช + โอวาท = ราโชวาท

มห + เอาฬาร = มเหาฬาร

ข.  สระอา สนธิกับ อะ อิ โอ เอา 

มหา + อัศจรรย์ = มหัศจรรย์

มหา + อิสี = มหิสี มเหสี

มหา + โอฬาร = มโหฬาร

มหา + เอาฬาร = มเหาฬาร

ค. สระอิ สนธิกับ สระอิและสระอื่นๆ

มุนิ + อินทร์ =มุนินทร์

อัคคิ + อาคาร = อัคคย + อาคาร = อัคย + อาคาร = อัคยาคาร

ปริ + อวสาน = ปริย + อวสาน = ปริย + โอสาน = ปริโยสาน

ง. สระอี สนธิกับ สระอิ อี และสระอื่นๆ

ไพรี + อินทร์ = ไพรินทร์

สามัคคี + อาจารย์ = สา่มัคคย + อาจารย์ = สามัคย + อาจารย์ = สามัคยาจารย์

จ. สระอุ สนธิกับ สระอุ และสระอื่นๆ

คุรุ + อุปกรณ์ = คุรุปกรณ์

ดนุ + อุปถัมภ์ = ดนูปถัมภ์

ธนุ + อาคม = ธนว + อาคม = ธนวาคม = ธันวาคม

 

พยัญชนะสนธิ  เป็นการกลมกลืนเสียงระหว่างคำที่ลงท้ายด้วยสระ กับคำที่ขึ้นต้นด้วยพยัญชนะ ในภาษาไทยมีใช้ไม่มาก เช่น

รหสฺ + ฐาน = รโหฐาน

มนสฺ + ภาว = มโนภาว  มโนภาพ

นิสฺ + ภัย = นิรภัย

ทุสฺ + ชน = ทุรชร  ทรชน 

 

นิคหิตสนธิ เป็นการกลมกลืนเสียงระหว่างคำที่ลงท้ายด้วยนิคหิตกับคำที่ขึ้นต้นด้วยเสียงสระ หรือพยัญชนะ

ก. นิคหิตสนธิกับสระ แปลงนิคหิตเป็น ม

สํ + อาคม = สม + อาคม = สมาคม

สํ + อาจาร = สม + อาจาร = สมาจาร

สํ + อาทาน = สม + อาทาน = สมาทาน

ข. นิคหิตสนธิกับพยัญชนะวรรค แปลงนิคหิตเป็นพยัญชนะท้ายวรรค

วรรค กะ   สํ + กร = สังกร

วรรค จะ   สํ + ชาติ = สัญชาติ

วรรค ฎะ   สํ + ฐาน = สัณฐาน

วรรค ตะ   สํ + ตาน = สันตาน สันดาน

วรรค ปะ  สํ + มติ = สมมติ สมมุติ

ค. นิคหิตสนธิกับเศษวรรค แปลงนิคหิตเป็น ง

สํ + วร = สังวร

สํ + โยค = สังโยค

 

ได้เวลาทดสอบความเข้าใจเรื่องคำสมาสที่มีการสนธิ

 

1.  คำสมาสในข้อใดมีการสนธิทุกคำ

ก.  ตฤณมัย  ทวิชาติ

ข.  วิทยาเขต  วัฒนธรรม

ค.  ทิพากร  วารดิถี

ง.  กรินทร์  ทูตานุทูต

เฉลย  คำตอบที่ถูก คือ ข้อ ง

ข้อ ก และ ข้อ ข ไม่มีการสนธิ

ข้อ ค  ทิพากร =ทิพ + อากร

ข้อ ง  กรินทร์ = กรี + อินทร์

         ทูตานุทูต = ทูต + อนุทูต

ข้อ 2 ข้อความนี้มีคำสมาสกี่คำ

เขาตั้งสััจจาธิษฐานต่อพระพุทธรูปในโบสถ์ว่า  ขออย่าให้ธัญญาหารเสียหายจากภัยธรรมชาติ  เขาจะดำรงชีิวิตอยู่ในธรรมตลอดไป

ก. 2 คำ

ข. 3 คำ

ค. 4 คำ

ง. 5 คำ

เฉลย คำตอบที่ถูก คือ ข้อ ค 

สัจจาธิษฐาน = สัจจา + อธิษฐาน (สมาสที่มีการสนธิ)

พระพุทธรูป = พระ + พุทธ + รูป (สมาสที่ไม่มีการสนธิ)

ธัญญาหาร = ธัญญ + อาหาร (สมาสที่มีการสนธิ)

ธรรมชาติ = ธรรม + ชาติ (สมาสที่ไม่มีการสนธิ)


หมายเลขบันทึก: 505334เขียนเมื่อ 12 ตุลาคม 2012 12:01 น. ()แก้ไขเมื่อ 7 ตุลาคม 2013 12:52 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

สามัคคี+อาจารย์

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท