ทรงพรรณ
ครู ทรงพรรณ โอ๋ เอี่ยมพานิช

ทรงพรรณ


ธรรมะกับการทำงาน

           นางทรงพรรณ   เอี่ยมพานิช

หลักสูตรและการสอน   รหัส 55D0103121

ธรรมะกับการทำงาน

ก่อนที่ฉันจะทำงานที่นี่  ฉันผ่านงานมาหลายที่ไม่ว่าจะเป็นงานโรงงาน  พนักงานบริษัท    งานขายของหน้าร้าน   งานห้าง   ร้านทอง   ขายของตลาดนัด   และที่โรงเรียนแห่งนี้   ฉันเริ่มต้นทำงานจากตำแหน่งพี่เลี้ยงเด็กด้วยวุฒิการศึกษาชั้นมัธยมปลายจากระบบการศึกษานอกโรงเรียน   เมื่อก่อนมีข้อแบ่งแยกความรู้ของพี่เลี้ยงเด็กและครูประจำชั้น  พี่เลี้ยงที่มีการศึกษาน้อยกับคุณครูประจำชั้นที่มีวุฒิการศึกษาสูง  ด้วยการสร้างข้อตกลงว่าไม่ให้พี่เลี้ยงเด็กพูดแทนตนเองว่าครูและให้เด็กเรียกพี่เลี้ยงด้วยคำสบประมาทอีกมากมาย   ตอนนั้นฉันมีความรู้สึกคับข้องในใจว่าฉันเองก็ไม่ได้อยากเป็นครู  แต่จำต้องอดทนเพื่อความอยู่รอดและถ้ามีโอกาสฉันจะหางานใหม่   ฉันคิดหาหนทางที่จะลดปมด้อยในใจ  ด้วยการศึกษาต่อระดับปริญญาตรีคณะครุสาสตร์เอกปฐมวัย  ทั้ง ๆที่ไม่เคยคิดว่าจะเรียนและตั้งคำถามกับตนเองเสมอว่าจะเรียนไปเพื่ออะไร(เดี๋ยวก็จะออกแล้ว)   งานอะไรที่เหมาะกับฉัน   ความสุขของฉันอยู่ที่ไหน   และอนาคตฉันจะเป็นอะไร    แม้ตอนนั้นฉันยังหาคำตอบให้ตนเองไม่ได้และมีคำถามอีกมากมายแต่ฉันก็เรียนและพยายามทำงานด้วยความตั้งใจมาตลอด

ระหว่างการทำงานนานวันเข้า  ฉันพบว่าการที่เราจะทำอะไรให้ถูกใจคนทุกคนเป็นเรื่องยาก  สู้การทำดีและเป็นคนดีเป็นเรื่องง่ายกว่า   จากการที่ดิฉันทำงานอยู่โรงเรียนวัด   กินข้าววัด   เวลาที่ผ่านไปในแต่ละวันอยู่ที่วัดทำให้ฉันได้พบหลักธรรมะที่ใช้ในการทำงานเพื่อใช้แก้ปัญหาและนำไปสู่ความเจริญก้าวหน้าทางอาชีพ หลักธรรมนั้นคืออิทธิบาท 4

  1. ฉันทะ คือ ความรักงาน-พอใจกับงานที่ทำอยู่

  2. วิริยะ คือ ขยันหมั่นเพียรกับงาน

  3. จิตตะ คือ ความเอาใจใส่รับผิดชอบงาน

  4. วิมังสา คือ การพินิจพิเคราะห์ หรือ ความเข้าใจ

นอกจากนี้การทำงานในแต่ละวันฉันยังมีหลักธรรมะที่ปฏิบัติมาโดยตลอดคือสังคหวัตถุ 4

หมายถึง หลักธรรมที่เป็นเครื่องยึดเหนี่ยวน้ำใจของผู้อื่น ผูกไมตรี เอื้อเฟื้อ เกื้อกูล หรือเป็นหลักการสงเคราะห์ซึ่งกันและกัน มีอยู่ 4 ประการ ได้แก่

1. ทาน   คือการให้การเสียสละหรือการเอื้อเฟื้อแบ่งปันเพื่อประโยชน์แก่บุคคลอื่น ไม่ตระหนี่ถี่เหนียว

 2. ปิยวาจา   คือการพูดจาด้วยถ้อยคำที่ไพเราะอ่อนหวาน พูดด้วยความจริงใจ ไม่พูดหยาบคายก้าวร้าว

พูดในสิ่งที่เป็นประโยชน์เหมาะสำหรับกาลเทศะ

3. อัตถจริยา   คือการสงเคราะห์ทุกชนิดหรือการประพฤติในสิ่งที่เป็นประโยชน์แก่ผู้อื่น

4. สมานัตตา   คือการเป็นผู้มีความสม่ำเสมอประพฤติเสมอต้นเสมอปลาย คุณธรรมข้อนี้จะช่วยให้เราเป็นคนมีจิตใจหนักแน่นไม่โลเล รวมทั้งยังเป็นการสร้างความนิยม และไว้วางใจให้แก่ผู้อื่นอีกด้วย

ปัจจุบันฉันลืมความคิดที่จะออกจากงาน แต่กลับมีความรู้สึกรักในสิ่งที่ทำและตั้งใจจะทำให้ดีที่สุด

ทุกวันฉันทำงานอย่างมีความสุขที่ได้ยินเสียงหัวเราะของเด็กๆและมีความภูมิใจที่เห็นเด็กมาโรงเรียนแล้วไม่ร้องไห้   รวมทั้งการมีเพื่อนร่วมงานที่แสนดี     และขอขอบคุณคำสบประมาทจากผู้หวังดีทั้งหลายที่เป็นแรงเสริมให้ฉันรู้จักพัฒนาตนเอง     สิ่งสำคัญที่สุดฉันสามารถตอบคำถามให้กับตนเองได้ว่างานอะไรที่เหมาะกับฉัน   การที่เรารักในสิ่งที่ทำและนำหลักธรรมมาปฏิบัติใช้ในชีวิตประจำวันทำให้ดิฉันมีความสุขมากขึ้น

คำสำคัญ (Tags): #ธรรมะ
หมายเลขบันทึก: 505330เขียนเมื่อ 12 ตุลาคม 2012 11:31 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 ตุลาคม 2012 16:24 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (8)

 

ผูกไมตรี เอื้อเฟื้อ เกื้อกูล....เป็นสิ่งดีงาม นะคะ

ที่ใดมีธรรมะ ที่นั่นมีสุข

คุณครูเป็นครูทั้งจิตใจและวิญญาณ...ดีใจกับนักเรียนด้วยที่มีครูดีมีธรรมะอยู่ในจิตใจ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท