คำสมาส ขาดไม่ได้ในข้อสอบ


คำสมาส ขาดไม่ได้ในข้อสอบ


ข้อสอบวิชาภาษาไทยมักจะมีเรื่องของคำสมาสอยู่เสมอ  และคำสมา่สมีใช้อยู่ในภาษาไทยเป็นอันมาก   ในบันทึกนี้ครูแป๊วจึงขอทบทวนเรื่องของคำสมาสเพื่อให้เข้าใจอย่างถูกต้อง

วิธึการสมาสเป็นวิธีการสร้างคำตามแบบของภาษาบาลีและสันสกฤต  มีลักษณะคล้ายกับการประสมคำตามวิธีการสร้างคำในภาษาไทย คือนำคำมูลตั้งแต่ 2 คำขึ้นไปมารวมรวมกันเป็นคำคำเดียว โดยการนำมาเรียงต่อกัน  ไม่ได้มีการดัดแปลงรูปตัวอักษรแต่ประการใด

ลักษณะของคำสมาส

1. คำมูลที่นำมารวมกันนั้นต้องเป็นคำที่มาจากภาษาบาลีและสันสกฤตเท่านั้น

 บาลี + บาลี            เช่น   กิตติ + คุณ = กิตติคุณ

                                      ยุทธ + ภูมิ = ยุทธภูมิ    

 บาลี + สันสกฤต      เช่น  วัฒน + ธรรม = วัฒนธรรม

                                      ยุติ + ธรรม = ยุคิธรรม

สันสกฤต + สันสกฤต เช่น  ธรรม + ศาสตร์ = ธรรมศาสตร์

                                      ศีล + ธรรม =  ศีลธรรม

2. ก่อนรวมเป็นคำสมาสหากคำหน้ามีวิสรรชนีย์หรือตัวการันต์ ให้ตัดวิสรรชนีย์หรือตัวการันต์ทิ้งเสีนก่อน เช่น

แพทย์ + ศาสตร์ = แพทยศาสตร์

พละ + ศึกษา = พลศึกษา

3. อ่านออกเสียงให้ต่อเนื่องกันระหว่างคำหน้าและคำหลัง เช่น

คณิต + ศาสตร์ = คณิตศาสตร์ [ คะ+นิด+ตะ+สาด]

ประวัติ + ศาสตร์ = ประวัติศาสตร์ [ประ-หวัด-ติ-สาด] 

คำสมาสบางคำยกเว้นการอ่านออกเสียงต่อเนื่องกัน อ่านตามความนิยมก็ได้ เช่น

ประวัติศาสตร์ [ ประ-หวัด-สาด]  

สุพรรณบุรี [สุ-พัน-บุ-รี]

4. คำที่นำมาสมาสกัน คำหลักอยู่ข้างหลัง คำขยายอยู่ข้างหน้า  เวลาแปลความหมายจึงแปลจากข้างหลังมาข้างหน้า เช่น

อุบัติเหตุ เหตุ เป็นคำหลัก อุบัติเป็นคำขยาย จึงแปลความหมายจากหลังมาหน้าได้ว่า เหตุที่เกิดขึ้นโดยไม่ได้คาดคิด

5.  คำว่า "พระ" ซึ่งเป็นคำที่แผลงมาจาก "วร" มีความหมายว่า ดี งาม ประเสริฐ หากนำหน้าคำบาลีหรือสันสกฤตก็จัดว่าเป็นคำสมาสด้วย เช่น

พระ + หัตถ์ = พระหัตถ์        พระ + องค์ = พระองค์

ลองทดสอบความเข้าใจเรื่องคำสมาสนะคะ  

1.  ข้อใดเป็นคำสมาสทุกคำ

ก.  ทศชาติ  พลความ  เยาวชน

ข.  สิทธิบัตร  เอกภาพ  ราชครู

ค.  นาฏศิลป์  พิมพ์ดีด  กรรมบท

ง.  ชีวประวัติ  รัฐสภา  ภาพเขียน

เฉลย  ข้อที่ถูกได้แก่  ข้อ ข  ทุกคำในข้อนี้เป็นคำสมาส

ก.  คำที่ไม่ใช่คำสมาส คือ พลความ  ความ ไม่ใช่คำบาลี สันสกฤต

ค.  คำที่ไม่ใช่คำสมาส คือ พิมพ์ดีด  ดีด เป็นคำไทย

ง.  คำที่ไม่ใช่คำสมาส คือ ภาพเขียน เขียน เป็นคำไทย

2.  คำในข้อใดมีโครงสร้างเหมือนคำสมาส  แต่ไม่ใช่คำสมาส

ก. พลเมือง

ข. กายกรรม

ค. ธุรกิจ

ง. สันติภาพ

เฉลย คำตอบที่ถูกคือ ข้อ ก

พลเมือง  มีโครงสร้างเหมือนคำสมาส คือ นำคำสองคำมารวมกัน  ทำให้เกิดความหมายใหม่  อ่านออกเสียงต่อเนื่องกันระหว่างคำหน้าและคำหลัง  แต่ไม่ใช่คำสมาสเพราะ ไม่ใช่คำบาลีสันสกฤตทั้งสองคำ  จึงเป็นการสร้างคำแบบคำประสม


หมายเลขบันทึก: 505307เขียนเมื่อ 12 ตุลาคม 2012 08:25 น. ()แก้ไขเมื่อ 7 ตุลาคม 2013 13:19 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท