หน่วยฝึกและพัฒนาอาชีพโครงการทับทิมสยาม 02 ศฝช.สระแก้ว
หน่วยฝึกและพัฒนาอาชีพโครงการทับทิมสยาม 02 ศฝช.สระแก้ว สายสุดา ประเสริฐสวัสดิ์

การเพาะเห็ดฟางในกระสอบ


การเพาะเห็ดฟางในกระสอบ

 การเพาะเห็ดฟางในกระสอบ
      “การเพาะเห็ดฟางในกระสอบ”   เป็นวิธีการที่น่าส่งเสริมให้เป็นอาชีพหรือไว้สำหรับบริโภคในครัวเรือน เนื่องจากเป็นวิธีการที่ทำได้ง่าย ไม่ยุ่งยาก มีขั้นตอนการเพาะที่ปฏิบัติได้สะดวก ใช้พื้นที่เพาะและอุปกรณ์ไม่มาก วัสดุเพาะมีหลากหลาย มีปริมาณมาก สามารถหาได้ในท้องถิ่นทั่วไป มีปริมาณมากที่หาได้ตลอดปี มีราคาถูก จึงทำให้ต้นทุนต่ำ ไม่ทำลายธรรมชาติ หรือสิ่งแวดล้อม จึงช่วยให้การเพาะเห็ดฟางในกระสอบทำได้อย่างยั่งยืน

    วัสดุ -  อุปกรณ์  การเพาะเห็ดฟางในกระสอบ

      กระสอบสำหรับเพาะเห็ดฟาง 1  ใบ
      เชื้อเห็ดฟางที่ดี   1  ถุง
      อาหารเสริม  (ผักตบชวาสดหั่น) 1  กิโลกรัม
      อาหารคลุกเชื้อเห็ดฟาง (แป้งข้าวเหนียวหรือรำละเอียด)   3  กรัม / 1 ช้อนชา
      วัสดุเพาะ (ฟางข้าว)  4  กิโลกรัม
      เชือกมัดถุง  ขนาด 1 เมตร  1  เส้น
      อีเอ็ม    10 ซีซี
      น้ำสะอาด   10 ลิตร
      ขี้วัวแห้ง หรือดินร่วน  2  กิโลกรัม

    ขั้นตอนการเพาะเห็ดฟางในกระสอบ มี 2 ขั้นตอนใหญ่ๆ ดังนี้
ขั้นตอนการเตรียมวัสดุเพาะเห็ดฟาง
1.1 การเตรียมวัสดุเพาะ  เช่น  ฟางข้าว (แช่ฟางข้าวในน้ำ 2 - 3 ชม. นำออกมากองบนพื้นแล้วนำขี้วัวแห้งมาคลุกเคล้ากับฟาง จากนั้นนำอีเอ็มผสมกับน้ำรดฟางข้าว คลุมกองด้วยพลาสติกหรือกระสอบป่าน ทิ้งไว้ 1 คืน)
1.2 การเตรียมอาหารเสริม เช่น ผักตบชวาสดหั่น
1.3 การเตรียมเชื้อเห็ดฟาง ดำเนินการดังนี้
        เชื้อเห็ดฟาง  1  ถุง    ใส่กะละมัง ย่อยเชื้อให้ละเอียด     โรยแป้งสาลีลงบนเชื้อเห็ดฟาง อัตราเชื้อเห็ด    1  ถุง ต่อแป้งสาลี 1 ช้อนชา  แล้วคลุกเคล้าให้เข้ากัน

ขั้นตอนการเพาะเห็ดฟางในกระสอบ
      1.  แบ่งวัสดุสำคัญที่จะใช้เพาะเห็ดฟางในกระสอบ เป็น  3  กอง  ประกอบด้วย  วัสดุเพาะเห็ดฟาง (ฟางข้าว), อาหารเสริม (ผักตบชวาสดหั่น), เชื้อเห็ดฟาง
      2.  นำวัสดุเพาะเห็ดฟาง  (ฟางข้าว)  ที่เตรียมไว้เรียบร้อยใส่ไว้ด้านล่างในกระสอบแล้วกดให้หนาประมาณ  20   เซนติเมตร
      3.  ใส่อาหารเสริม(ผักตบชวาสดหั่น) วางเป็นชั้นเหนือวัสดุเพาะ
      4.  จากนั้นนำเชื้อเห็ดฟางที่เตรียมไว้แล้วใส่เป็นชั้นบนผักตบชวาหั่นสดซึ่งเป็นชั้นสุดท้าย  รดน้ำให้ชุ่มแล้วมัดปากกระสอบ
      5.  นำไปไว้ใน สถานที่เพาะ  (สถานที่เพาะ : ได้แก่  บริเวณที่มีร่มเงา, บริเวณใต้ต้นไม้ใหญ่, บริเวณชายคาบ้าน, ใต้ร่มไม้ผลหรือไม้สวน, พื้นที่ที่มีหลังคา เป็นต้น)
      6.  ประมาณ  8  -  10 วัน  ก็สามารถเก็บผลผลิตได้ (ขึ้นอยู่กับสภาพอากาศ และฤดู)
      7.  ผลผลิตเห็ดฟางที่ได้รับ  0.4  - 0.5 กิโลกรัม / กระสอบปุ๋ย เก็บเกี่ยวผลผลิตได้  1- 2 ครั้งต่อรุ่น / กระสอบ
    การปฏิบัติดูแลรักษา

      วันที่  1  - 5  ของการเพาะเห็ดฟาง เห็ดฟางต้องการอุณหภูมิ  37 – 40 องศาเซลเซียส (ไม่ต้องเปิดปากถุงกระสอบ)
      วันที่  5  -  8  ของการเพาะเห็ดฟาง  เห็ดฟางต้องการอุณหภูมิ  28 – 32 องศาเซลเซียส   อาจเปิดปากกระสอบประมาณ 2 ชั่วโมง ต่อ วัน อาจเป็นช่วงเช้า หรือช่วงบ่ายก็ได้ เพื่อให้เส้นใยเห็ดฟางได้รับออกซิเจนอย่างเพียงพอ แล้วปิดปากกระสอบไว้เช่นเดิม
       วันที่  8  -  10 ก็ สามารถเก็บผลผลิตได้  
   
    ข้อเสนอแนะ

        การเก็บดอกเห็ดฟาง ควรเก็บด้วยความระมัดระวังไม่ควรให้กระทบกระเทือนดอกเห็ดขนาดเล็ก ที่จะพัฒนาเป็นดอกใหญ่ต่อไป

หมายเลขบันทึก: 505164เขียนเมื่อ 10 ตุลาคม 2012 21:59 น. ()แก้ไขเมื่อ 10 ตุลาคม 2012 21:59 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท