ข้อสงสัยจากบทความของอาจารย์วิจารณ์ พานิช


การปฎิรูปอุดมศึกษา

ผมได้อ่านบทความของอาจารย์วิจารณ์ พานิช (ตามรายละเอียดเบื้องล่าง) แล้วเกิดสงสัย จึงขอนำมาคิดดังๆเพื่อให้ท่านผู้รู้ช่วยตอบข้อสงสัยให้ผมด้วย

"ขอบพระคุณอาจารย์วิจารณ์ เป็นอย่างสูงครับ ที่ช่วยเขียนบทความที่เป็นประโยชน์ต่อการศึกษาของประเทศไทยเป็นอย่างมาก ผมติดตามผลงานของท่านอยู่ตลอดเวลา ไม่เคยผิดหวังกับบทความของท่าน ทุกบทความให้ความรู้กับผมเป็นอย่างมาก และเชื่อว่าเป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติอย่างใหญ่หลวง ไม่ทราบว่าท่านผู้บริหารประเทศที่ดูแลด้านการศึกษาได้ติดตามผลงานของท่านอาจารย์บ้างหรือไม่ ผมเชื่อว่าท่านเป็นผู้ใหญ่ที่มีชื่อเสียงและอยู่ระดับแนวหน้าของผู้มีความรู้และปัญญาท่านหนึ่งของประเทศไทยในปัจจุบัน ไม่ทราบว่ามีผู้บริหารประเทศที่เกี่ยวข้องกับด้านการศึกษานำความรู้จากท่านไปดำเนินการบ้างหรือไม่อย่างใด หรือผู้ใหญ่ในประเทศไทยต่างคนต่างอยู่ มีความคิดและความรู้มากมากแต่ไม่สามารถนำไปบูรณาการและร่วมกันทำให้เกิดผลต่อประเทศชาติได้"

 

การประชุม 7th Annual University Governance and Regulations Forum ที่ทีมไทยไปร่วมประชุมถึง ๑๔ คน นั้น   เรื่องราวที่พูดกันวนอยู่รอบๆ TEQSAซึ่งเป็นกลไกด้านคุณภาพของอุดมศึกษาของออสเตรเลีย    ผมจึงตีความ (ไม่ทราบว่าถูกหรือผิด) ว่าการปฏิรูปอุดมศึกษาของออสเตรเลียเน้นที่คุณภาพ   ตามรูปแบบมหาวิทยาลัยที่ทำหน้าที่ ๒ ด้านประกอบกันคือ ทั้งสอนและวิจัย   ฟังแล้วทุกคนเฮไปทางนั้นหมด

          มีคนเตือนสติอยู่คนเดียวคือ ศ. Stephen Parker อธิการบดีของ ม. แคนเบอร์รา ว่าควรคิดถึงค่าใช้จ่ายด้วย    ไม่ใช่คิดแต่เรื่องคุณภาพ    จึงน่าจะคิดเรื่องมหาวิทยาลัยที่เน้นสอนอย่างเดียว    ผลิตบัณฑิตที่เก่งตรงความต้องการได้ โดยไม่ต้องแบกรับค่าใช้จ่ายในการวิจัยแบบเดิมๆ    เพราะเดี๋ยวนี้สามารถดึงเอาความรู้มาใช้ได้โดยง่าย   สามารถแยกทักษะในการสร้างความรู้กับทักษะในการใช้ความรู้ออกจากกันได้  

          มหาวิทยาลัยที่เน้นสอนหรือผลิตบัณฑิตที่มีคุณภาพสูง โดยไม่เน้นวิจัย น่าจะเป็นทางเลือกสำหรับยุคใหม่   โดยประเทศต่างๆ น่าจะมีแนวทางจัดการระบบอุดมศึกษาให้มีมหาวิทยาลัยหลากหลายแบบ แข่งขันกัน    ในระบบที่ซับซ้อนและปรับตัว

          หน้าที่หนึ่งของมหาวิทยาลัยที่เราไม่ค่อยได้พูดถึงคือหน้าที่สร้างความมั่งคั่ง (wealth)     แม้มหาวิทยาลัยไม่ได้ทำหน้าที่นี้โดยตรง แต่ก็มีส่วนสำคัญ ผ่านการสร้างคนและสร้างความรู้   ทั้งคนและความรู้ที่ดีจะนำไปสู่นวัตกรรม ที่เป็นเส้นทางสู่ความมั่งคั่ง

          ศ. นพ. กระแส ชนะวงศ์ นายกสภา ๓ มหาวิทยาลัย   และอดีตรัฐมนตรี ๔ กระทรวง กล่าวตอนทำ AAR การไปร่วมประชุมว่า   มหาวิทยาลัยมีหน้าที่หลัก 3W คือ  wisdom, wealth และ welfare

          หน่วยงานกำกับดูแลอุดมศึกษาจึงควรทำงานวิจัยตรวจสอบขีดความสามารถของอุดมศึกษา และของมหาวิทยาลัยประเภทต่างๆ ในการสร้างความมั่งคั่งให้แก่ประเทศ    คือต้องหาวิธีมองมหาวิทยาลัยเป็น profit center ให้ได้   ไม่ใช่มองเป็นรายจ่ายเท่านั้น

          กล่าวใหม่ ต้องมีการกำกับดูแลระบบอุดมศึกษาของประเทศให้สร้างคุณประโยชน์แก่ประเทศอย่างคุ้มค่า    มีการสร้างข้อมูล และสารสนเทศเพื่อตรวจสอบความคุ้มค่านั้น   เปรียบเทียบระหว่างสถาบันต่างแบบต่างจุดเน้น   และให้อิสระสถาบันในการปรับตัวหาจุดเน้นของตนเอง    ซึ่งนี่คือวิธีกำกับดูแลระบบแนว เคออร์ดิค    ไม่ใช่แบบ command & control   การปฏิรูปอุดมศึกษาแนวที่ผมเสนอนี้น่าจะเรียกว่า แนว เคออร์ดิค   คือให้ระบบมันมีทั้ง chaos และปรับตัวเข้าสู่ order เอง ผ่านการจัดสภาพแวดล้อมและสารสนเทศเพื่อการปรับตัวอย่างมีเป้าหมายและมีปัญญา

          ตัวอย่างของข้อมูลและสารสนเทศเพื่อการปรับตัวอย่างมีปัญญาคือเอกสาร Mapping Australian higher educationโดยAndrew Norton, GRATTAN Institute นี่คือผลงานวิจัยระบบอุดมศึกษา ที่ประเทศไทยต้องการเป็นอย่างยิ่ง   Grattan Institute คือสถาบันวิจัยนโยบายสาธารณะของออสเตรเลีย ที่ถือว่าการวิจัยระบบการศึกษาเป็นหนึ่งในนโยบายสาธารณะที่สำคัญ

          ในการประชุม ๒ วันนี้ มีการพูดเรื่องการใช้สาระในกฎหมาย TEQSA Actเอามาจัดการความเสี่ยงของมหาวิทยาลัยแบบลงรายละเอียดมาก   จนผมคิดว่าน่ากลัวเกิดความเสี่ยงใหม่ ที่ TEQSA เป็นต้นเหตุ    คือลงรายละเอียดขั้นตอนในการจัดการความเสี่ยงมาก จนลืมไปว่าเป้าหมายจริงๆ คือคุณภาพของอุดมศึกษา    หรือมิฉนั้นค่าใช้จ่ายในการดำเนินการตามขั้นตอนที่กำหนดก็มากเกินกว่าผลดีที่ได้รับ

 

         ผมมีความเชื่อว่ามหาวิทยาลัยต้องเน้นการทำงานแบบมีนวัตกรรม   เน้นการรุกไปข้างหน้า    ไม่ใช่มัวแต่ปัดป้องความเสี่ยงตามที่หน่วยงานภายนอกกำหนดอย่างมีสูตรสำเร็จตายตัว   

 

          แต่วิทยากรที่มีความรู้เรื่อง TEQSA ก็บอกว่า TEQSA เป็น “light touch”   และจะดำเนินการแตกต่างกันระหว่างองค์กรอุดมศึกษาที่ความเสี่ยงสูง  กับองค์กรที่ความเสี่ยงต่ำ    คือไม่ใช่ one-size-fits-all

 

          ผมเขียนบันทึกนี้ด้วย learning mode   คือเขียนเพื่อตีความทำความเข้าใจกับตนเอง   จะถูกหรือผิดไม่สำคัญ   แต่ก็เอามา ลปรร. ใน บล็อก ด้วย    ผู้อ่านจึงพึงอ่านอย่างมีวิจารณญาณ

 

วิจารณ์ พานิช

๕ ก.ย. ๕๕

 

บันทึกที่เกี่ยวข้อง : 502409 หมายเลขบันทึกที่แล้ว 

· เลขที่บันทึก: 504874
· สร้าง: 08 ตุลาคม 2555 09:53 · แก้ไข: 08 ตุลาคม 2555 09:55
· ผู้อ่าน: 41 · ดอกไม้: 2 · ความเห็น: 1 · สร้าง: 1 วัน ที่แล้ว
· สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกัน
หมายเลขบันทึก: 505039เขียนเมื่อ 9 ตุลาคม 2012 14:36 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 ตุลาคม 2012 20:40 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

อาจารย์วิจารณ์ พานิช สุดยอดจริงๆครับ ท่านได้เขียนบทความต่อจากก่อนหน้านี้ ตอบคำถามที่ผมคาใจได้จริงๆครับ ขอนำมาเผยแพร่ต่อดังนี้

หลังเข้าร่วมประชุม The 7th annual University Governance and Regulations Forum ที่นครแคนเบอร์ร่า ออสเตรเลีย ระหว่างวันที่ ๔-๕ ก.ย.55 ที่นครแคนเบอร์รา ออสเตรเลีย ผมก็บอกตัวเองว่า หัวใจของเรื่องระบบประกันคุณภาพ ในบริบทไทย ส่วนที่สำคัญยิ่ง มี ๓ ประการ

๑. เป็น means ไม่ใช่ end หรือเป็นการเดินทาง ไม่ใช่จุดหมายปลายทาง

๒. ไม่มีจุดจบ คือต้องทำเรื่อยไป

๓. ตัวเอกคือผู้ทำงาน ไม่ใช่หน่วยกำกับ

ระบบประกันคุณภาพเป็นการเดินทาง

      ระบบประกันคุณภาพอุดมศึกษาเป็นการเดินทางที่ไม่มีจุดจบ   เป้าหมายคือการทำให้อุดมศึกษาเป็นหุ้นส่วนที่เข้มแข็ง ในการพัฒนาประเทศชาติ    ระบบประกันคุณภาพที่เข้มแข็งไม่ใช่เป้าหมาย    ความเข้มแข็งหรือคุณภาพของอุดมศึกษาต่างหากที่เป็นเป้าหมาย

      ในการประชุมนี้ จึงมีคนออกมาเตือน   ว่าให้ระวังกรณีที่ TEQSA เข้มแข็งมาก มีอำนาจมาก และใช้อำนาจบังคับมาก    ลงรายละเอียดให้มหาวิทยาลัยดำเนินการ จนต้องเสียเวลา คน และค่าใช้จ่ายปฏิบัติตามที่ TEQSA กำหนด    จนตัวคุณภาพและการสร้างสรรค์เองย่อหย่อน   เข้าทำนอง “ระบบประกันคุณภาพเข้มแข็งมาก  แต่ตัวคุณภาพจริงๆ อ่อนแอ”   ซึ่งเป็นสภาพที่ประเทศไทยเผชิญอยู่ 



      ระบบประกันคุณภาพเป็นเครื่องมือ (means)  ไม่ใช่เป้าหมาย (end)

ระบบประกันคุณภาพไม่มีจุดจบ

      การประกันคุณภาพของทุกสิ่ง ทุกเรื่อง ไม่หยุดนิ่ง    เป็นเป้าเคลื่อนไหว หรือมีชีวิต     จึงมีการปรับตัวเปลี่ยนแปลงเรื่อยไปตามปัจจัยแวดล้อมมากมาย   การประกันคุณภาพของอุดมศึกษาก็เช่นเดียวกัน

      แต่ที่สำคัญที่สุด ระบบประกันคุณภาพของสถาบันอุดมศึกษาของแต่ละแห่ง จะต้องปรับตัวตามวิสัยทัศน์และเป้าหมายเชิงยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัยที่มีการเปลี่ยนแปลง    เพื่อตอบสนองสังคม ในฐานะเป็นหุ้นส่วนของการพัฒนาที่ยั่งยืน

ตัวเอกในระบบประกันคุณภาพคือผู้ทำงาน

      เมื่อเป้าหมายแท้จริงของระบบประกันคุณภาพคือผลงานหลักขององค์กร   ตัวเอกของระบบประกันคุณภาพจึงต้องเป็นผู้ทำงานประจำในองค์กร    ผู้ทำงานประจำเหล่านี้จึงควรเป็นเจ้าของระบบประกันคุณภาพ    และใช้กลไกประกันคุณภาพมารับใช้ตน ให้สามารถผลิตผลงานที่มีคุณภาพอยู่ตลอดเวลา

      หน่วยงานใดสร้างการบวนทัศน์นี้ได้ ระบบประกันคุณภาพจะไม่เป็นตัวกดขี่หรือสร้างความทุกข์แก่คนทำงาน   แต่จะมีผลในทางตรงกันข้าม

นวัตกรรมของกระบวนการพัฒนาคุณภาพ

      การพัฒนาคุณภาพมีความหมายกว้าง    ไม่ใช่เพียงดูที่ตัวคุณภาพของผลิตภัณฑ์หรือบริการเท่านั้น   แต่ยังต้องดูที่ประสิทธิภาพ และดูที่ความพึงพอใจของผู้ทำงานเองด้วย   ระบบประกันคุณภาพ จึงสู้กระบวนการพัฒนาคุณภาพไม่ได้    กระบวนการพัฒนาคุณภาพให้ความหมายกว้างกว่า    และเน้นบทบาทของผู้ทำงานมากกว่า    รวมทั้งเปิดโอกาสให้การทำงานประจำเป็นการพัฒนาคุณภาพไปพร้อมๆ กัน    มีผลให้คนทำงานอยู่ในบรรยากาศเรียนรู้อยู่ตลอดเวลา    การทำงานประจำที่มีการพัฒนาคุณภาพฝังอยู่ภายในเป็นส่วนหนึ่ง   เมื่อมองอีกมุมหนึ่ง เป็นการเรียนรู้   



      ในกระบวนการทั้งหมดนี้ หากสร้างบรรยากาศของการทำงานและการเรียนรู้ ให้มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้   เน้นการทดลองและค้นพบนวัตกรรม    การทำงานประจำนั้นเองจะสามารถสร้างนวัตกรรมได้ในลักษณะ “นวัตกรรมยกกำลังสอง”   คือนวัตกรรมในการทำงาน และนวัตกรรมของระบบประกันคุณภาพ

วิจารณ์ พานิช

๘ ก.ย.​๕๕

คำสำคัญ (keywords): 551012, knit, ระบบประกันคุณภาพ, ออสเตรเลีย, อุดมศึกษา, แคนเบอร์รา · เลขที่บันทึก: 505354 · สร้าง: 12 ตุลาคม 2555 14:52 · แก้ไข: 12 ตุลาคม 2555 14:52 · ผู้อ่าน: 48 · ดอกไม้: 5 · ความเห็น: 1 · สร้าง: 1 วัน ที่แล้ว · สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกัน แจ้งใช้งานผิดนโยบาย ดอกไม้ เลิกชอบ สมาชิกที่ให้กำลังใจ: Blank ชาญโชติ , Blank Dr. Pop, และ 3 คนอื่น. Facebook Twitter Google ความเห็น Blank
ชาญโชติ (ความเคลื่อนไหวล่าสุด) 13 ตุลาคม 2555 20:34

2718289

สุดยอดเลยครับ อาจารย์ ทำอย่างไรจะให้คนส่วนมากเข้าใจ ครับ ขออนุญาติเผยแพร่ในเครือข่ายของผมด้วยครับ ลบ แจ้งใช้งานผิดนโยบาย ร่วมแสดงความเห็นในหน้านี้ ชื่อ: ชาญโชติ อีเมล: [email protected] ข้อความ:
เรียกเครื่องมือจัดการข้อความ เขียนแบบ Markdown ได้ แนบไฟล์:
ชื่อไฟล์ต้องใช้ตัวอักษร a-z, A-Z, 0-9 สัญลักษณ์ขีดกลาง (-) หรือขีดล่าง (_) และห้ามเว้นวรรค ส่งอีเมลแจ้งด้วยเมื่อรายการนี้มีความเห็นเพิ่มเติม New! นโยบายการแสดงความเห็น » พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยมหิดล พ.ศ.๒๕๕๐

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท