ผลสัมฤทธิ์


ผลสัมฤทธิ์

การหาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน

               ในการวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนนั้น จำเป็นต้องมีการสร้างแบบทดสอบขึ้นมาเพราะว่าไม่มีการสร้างแบบทดสอบ ผู้วิจัยก็ไม่สามารถทำการวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนได้ ดังนั้นทำให้ผู้วิจัยจำเป็นต้องศึกษาความหมายประเภท การสร้าง และการวิเคราะห์แบบทดสอบ

1. ความหมายของแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน

               แบบทดสอบนั้นความจริงมีการแบ่งแตกต่างกันมากมาย ขึ้นอยู่ว่าจะใช้เกณฑ์อะไรในการแบ่งประเภท ส่วนแบบทดสอบ วัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเป็นการแบ่งตามจุดมุ่งหมายในการใช้ประโยชน์เป็นเกณฑ์ โดยมีผู้กล่าวถึงความหมายของแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนไว้ ดังนี้

               ภัทรา นิคมานนท์ ได้ให้ความหมายไว้ว่า แบบทดสอบวัดสัมฤทธิ์ หมายถึง แบบทดสอบที่ใช้วัดความรู้ความสามารถ ทักษะเกี่ยวกับด้านวิชาการที่ได้เรียนรู้ในอดีตว่ารับรู้ไว้ได้มากน้อยเพียงใด โดยทั่วไปแล้วมักใช้วัดหลังทำกิจกรรมเสร็จเรียบร้อยแล้ว เพื่อประเมิน การเรียนการสอนว่าได้ผลเพียงใด

               บุญเรียง จจรศิลป์ ได้กล่าวว่าแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเป็นแบบทดสอบที่ใช้วัดความสามารถของผู้เรียนว่ามีความสามารถและทักษะ ในเนื้อหาวิชาที่เรียนไปแล้วมากน้อยเพียงใด จะเป็นได้ว่า ภัทรา นิคนานนท์ ได้ให้ความหมายของแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่คล้ายกันมากกับบุญเรียง ขจรศิลป์ ดังนั้นผู้วิจัยสามารถสรุปความหมายของแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนได้ว่าเป็นแบบทดสอบที่ใช้วัดความรู้ ความสามารถและทักษะของผู้เรียนในเนื้อหาวิชาที่ได้เรียนรู้ไปแล้วในอดีต ว่าสามารถรับรู้ได้มากน้อยเพียงใด

               2.  ประเภทของแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน

               บุญชม ศรีสะอาด ได้จำแนกประเทภของแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเยนไว้ 2 ประเภทคือ

1.1    แบบทดสอบแบบอิงเกณฑ์ (Criterion Referenced Test) หมายถึงแบบทดสอบที่

สร้างขึ้นตามจุดประสงค์พฤตกรรม มีคะแนนจุดตัดหรือคะแนนเกณฑ์สำหรับใช้ตัดสินว่า ผู้สอบมีความรู้ตามเกณฑ์ที่กำหนดหรือไม่ การวัดตามจุดประสงค์เป็นหัวใจสำคัญของข้อสอบในแบบทดสอบประเภทนี้

2.2    แบบทดสอบแบบอิงกลุ่ม (Norm Referenced Test) หมายถึงแบบทดสอบที่มุ่ง

สร้างเพื่อวัดให้ครอบคลุมหลักสูตรจึงสร้างตารางวิเคราะห์หลักสูตร ความสามารถในการจำแนกผู้สอบตามความเก่งอ่านได้ดี เป็นหัวใจสำคัญของข้อสอบในแบบทดสอบประเภทนี้ การรายงานผลการสอบอาศัยคะแนนมาตรฐาน ซึ่งเป็นคะแนนที่สามารถให้ความหมายแสดงถึงสถานภาพความสามารถของบุคคลนั้นเมื่อเปรียบเทียบกับบุคคลอื่นๆ ที่ใช้เป็นกลุ่มเปรียบเทียบ

               3.  การสร้างแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนแบบอิงเกณฑ์

               บุญชม  ศรีสะอาด ได้กล่าวถึงขึ้นตอนการสร้างแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนแบบอิงเกณฑ์สรุปได้ดังนี้

 3.1 วิเคราะห์จุดประสงค์เนื้อหาววิชา ในขั้นแรกจะต้องทำการวิเคราะห์ดูว่ามีหัวข้อ

เนื้อหาใดบ้างที่ต้องการให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้และที่จะต้องวัด แต่ละหัวข้อเหล่านั้นต้องการให้ผู้เรียนเกิดพฤติกรรมหรือสมรรถภาพอะไร กำหนดออกมาให้ชัดเจน

1.2           กำหนดพฤติกรรมย่อยที่จะออกข้อสอบขั้นแรก พิจารณาต่อไปว่าจะมีพฤติกรร

ย่อยอะไรบ้างอย่างละกี่ข้อ พฤติกรรมย่อยดังกล่าวคือจุดประสงค์เชิงพฤติกรรมนั่นเอง เมื่อกำหนดจำนวนข้อที่ต้องการจริงเสร็จแล้ว ต่อมาพิจารณาว่าจะต้องออกข้อสอบเกินไว้กี่ข้อควรออกเกินไว้ไม่ต่ำกว่า 25% ทั้งนี้เนื่องจากหลังจากที่นำไปทดลองใช้และวิเคราะห์หาคุณภาพของข้อสอบรายข้อแล้วจะตัดข้อที่มีคุณภาพไม่เข้าเกณฑ์ออก ข้อสอบที่เหลือได้ไม่น้อยกว่าจำนวยที่ต้องการจริง

3.3    กำหนดรูปแบบของข้อความและศึกษาวิธีเขียนข้อสอบขั้นตอนนี้จะเป็นการ

ตัดสินใจว่าจะใช้คำถามรูปแบบใด และศึกษาวิธีเขียนข้อสอบ เช่น ศึกษาหลักในการเขียนข้อคำถามแบบนั้นๆ ศึกษาเทคโนโลยีการเขียนข้อสอบ เพื่อที่จะได้นำมาใช้ในการเขียนข้อสอบของตน

3.4    ลงมือเขียนข้อสอบตามจุดประสงค์เชิงพฤติกรรม ตามตารางที่ได้กำหนดจำนวน

ข้อสอบของแต่จุดประสงค์เชิงพฤติกรรมไว้ และในรูปแบบเทคนิคการเขียนข้อสอบตามที่ได้ศึกษาในขั้นตอนที่กำหนดรูปแบบ

3.5    การตรวจทานข้อสอบ นำข้อสอบที่ได้เขียนไว้แล้วมาพิจารณาทบทวนอีกครั้ง

หนึ่ง โดยพิจารณาความถูกต้องตามหลักวิชาว่าแต่ละข้อวัดพฤติกรรมย่อยหรือจุดประสงค์เชิงพฤตกรรมที่ต้องการหรือไม่ ภาษาที่ใช้เขียนมีความชัดเจนเข้าใจง่ายหรือไม่ ตัวถูกตัวลวงเหมาะสมเข้าเกณฑ์หรือไม่ ทำการปรับปรุงให้เหมาะสมยิ่งขึ้น

      3.6 ให้ผู้เชี่ยวชาญพิจารณาความเที่ยงตรงตามเนื้อหา นำจุดประสงค์เชิงพฤติกรรมและข้อสอบที่วัดแต่ละจุดประสงค์เชิงพฤติกรรมไปให้ผู้เชี่ยวชาญด้านการวัดผล และด้านเนื้อหาจำนวนไม่ต่ำกว่า 2 คนพิจารณาว่าข้อสอบแต่ละข้อวัดตามจุดประสงค์ที่ระบุเอาไว้นั้นหรือไม่

      3.7 พิมพ์แบบทดสอบฉบับทดลอง นำข้อสอบทั้งหมดที่ผ่านการพิจารณาว่าเหมาะสม

เข้าเกณฑ์ในข้อ 6 แล้วมาพิมพ์แบบทดสอบ มีคำชี้แจงเกี่ยวกับแบบทดสอบวิธีตอบ จัดวางรูปแบบการพิมพ์

1.8    ทดลองใช้ วิเคราะห์คุณภาพและปรับปรุง นำแบบทดสอบไปทดลองสอบกลุ่มที่

คล้ายกับกลุ่มตัวอย่างจริง จำนวน 40 คนหรือมากกว่า โดยสอบในชั่วโมงแรกของวิชานั้นเรียกว่าการสอบก่อนเรียน และนำแบบทดสอบเดิมมาสอบกับกลุ่มตัวอย่างเดิมอีกครั้งหนึ่งหลังจากที่เรียนวิชานั้นจบแล้วเรียนว่าการสอบหลังเรียนนำเอาผลการสอบสองครั้งมาวิเคราะห์หาค่าอำนาจจำแนกของข้อสอบรายข้อโดยใช้วิธีวิเคราะห์ตามแบบอิงเกณฑ์คัดเลือกข้อสอบที่มีอำนาจจำแหนเข้าเกณฑ์ตามจำนวนที่ต้องการหาค่าความเชื่อมั่นแบบอิงเกณฑ์

1.9    พิมพ์แบบทดสอบฉบับจริง นำข้อสอบที่มีค่าอำนาจจำแนกเข้าเกณฑ์จากผลการ

วิเคราะห์ในขั้นตอนที่ 8 มาพิมพ์เป็นแบบทดสอบฉบับจริงต่อไป โดยเน้นรูปแบบการพิมพ์ที่ประณีต มีความถูกต้อง มีคำชี้แจงที่ละเอียดแจ่มชัด ผู้อ่านเข้าใจง่าย

 

การวัดความพึงพอใจ

               การวัดความพึงพอใจ การวัดความพึงพอใจของผู้เรียนต่อบทเรียนเป็นการวัดทัศนคติทั้งในด้านของตัวเครื่องมือที่สร้างและด้านกระบวนการเรียน ดังนั้นจึงจำเป็นต้องอาศัยแบบวัดทัศนคติเป็นเครื่องมือในการวัด

  1. รวีวรรณ ชินะตระกูล ได้กล่าวว่า การสร้างแบบวัดโดยวิธีของ Likert นิยมใช้วัด

เกี่ยวกับหัวข้อต่อไปนี้ คือเจตคติ ความคิดเห็น วัดความต้องการ วัดแรงจูงใจ วัดกิจนิสัยในการนิสัยในการสร้างแบบวัด ในการสร้างแบบวัด มีหลักเกณฑ์ในการสร้าง คือ ควรเขียนข้อความในเชิง เห็นด้วยไม่เห็นด้วย โดยครอบคลุมสิ่งที่จะวัด นำข้อความที่เขียนนั้นไปให้ผู้เชี่ยวชาญ หรือผู้รู้ทางภาษา พิจารณาว่าถูกต้องหรือไม่ แล้วนำมาแก้ไขให้ถูกต้องดังนี้

1.1    นำข้อความนั้นมาจัดพิมพ์เป็นแบบเจคติ หรือความคิดเห็นพร้อมคำชี้แจงในการ

ตอบ

1.2    ตัดสินใจว่าจะใช้มาตราวัด เท่าใด เช่นมาตราวัด 5 ระดับ มากที่สุด มาก ปานกลาง

น้อย น้อยที่สุด หรือใช้มาตราวัด 3 ระดับ คือมากที่สุด ปานกลาง น้อยที่สุด

1.3    หลังจากสร้างเสร็จแล้ว ควรมีการวิเคราะห์คุณภาพของเครื่องมือว่ามีความเชื่อมั่น

ได้หรือไม่

               ความพึงพอใจเป็นคุณลักษณะทางจิตของบุคคลที่ไม่อาจวัดได้โดยตรง การวัดความพึงพอใจจึงเป็นการวัดโดยอ้อม วิธีการวัดความพึงพอใจในงานที่ใช้กันอย่างกว้างขว้างในปัจจุบันนั้นมีหลากหลายวิธีด้วยกัน จากการศึกษาวิธีการวัดความพึงพอใจของนักวิชาการหลายท่านพบประเด็นของวิธีการวัดที่คล้ายกัน จึงพอสรุปประมวลได้ดังนี้ กล่าวว่า มาตรวัดความพึงพอใจสามารถกระทำได้หลายวิธีได้แก่

-            การใช้แบบสอบถาม โดยผู้สอบถามจะออกแบบสอบถามเพื่อต้องการทราบความ

คิดเห็นซึ่งสามารถทำได้ในลักษณะคำตอบให้เลือกหรือตอบคำถามอิสระ คำถามดังกล่าวอาจถามความพึงพอใจในด้านต่างๆ เช่น การบริหาร การควบคุมงานและเงื่อนไขต่างๆ เป็นต้น

-            การสัมภาษณ์ เป็นวิธีวัดความพึงพอใจทางตางทางหนึ่งซึ่งต้องอาศัยเทคนิคและ

วิธีการที่ดีจึงจะทำให้ได้ข้อมูลที่เป็นจริงได้

-            การสังเกต เป็นวิธีการวัดความพึงพอใจโดยสังเกตพฤติกรรมของบุคคลเป้าหมาย

ไม่ว่าจะแสดงออกจากการพูด กิริยาท่าทาง วิธีนี้จะต้องอาศัยการกระทำอย่างจริงจัง และการสังเกตอย่างมีระเบียบแบบแผน

  1.  การสร้างแบบวัดผลความพึงพอใจ

พวงรัตน์ ทวีรัตน์ ได้กล่าวถึงแบบวัดความพึงพอใจตามวิธีตามลิเคิร์ท ได้ดังนี้

2.1  ตั้งจุดมุ่งหมายของการศึกษาว่าต้องการวัดความพึงพอใจของใครที่มีต่อสิ่งใด

2.2 ให้ความหมายของการวัดความพึงพอใจต่อสิ่งที่จะศึกษานั้นให้แจ่มแจ้ง เพื่อให้

ทราบว่าสิ่งที่เป็นประเด็นหรือเรื่องที่จะสร้างแบบวัดนั้นประกอบด้วยคุณลักษณะใดบ้าง

2.3    สร้างข้อความให้ครอบคลุมคุณลักษณะที่สำคัญๆ ของสิ่งที่จะศึกษาให้ครบถ้วน

ทุกแง่ทุกมุมและต้องมีข้อความที่เป็นไปในทางบวกและลบมากพอต่อการที่เมื่อนำไปวิเคราะห์และเหลือจำนวนข้อความที่ต้องการ

2.4    ตรวจสอบข้อความที่สร้างขึ้น ซึ่งทำได้โดยผู้สร้างข้อความเองและนำไปใช้ให้ผู้มี

ความรู้ในเรื่องนั้นๆ ตรวจสอบ โดยพิจารณา ในเรื่องของความครบถ้วนของคุณลักษณะของสิ่งที่ศึกษาและความเหมาะสมของภาษาที่ใช้ ตลอดจนลักษณะการตอบข้อความที่สร้าง ว่าสอดคล้องกันหรือไม่เพียงไรพิจารณาว่าควรจะให้ตอบว่า เห็นด้วยอย่างยิ่ง เห็นด้วย เฉยๆ ไม่เห็นด้วย ไม่เห็นด้วยอย่างยิ่ง หรือชอบมากที่สุด ชอบมาก ปานกลาง ชอบน้อย ชอบน้อยที่สุด เป็นต้น

2.5    ทำการทดลองขั้นต้นก่อนนำไปใช้จริง โดยการนำข้อความที่ได้ตรวจสอบแล้วไป

ทดลองให้กับกลุ่มตัวอย่างจำนวนหนึ่งเพื่อตรวจสอบความชัดเจนของข้อความและภาษาที่ใช้อีกครั้งหนึ่ง และเพื่อตรวจสอบคุณภาพด้านอื่นๆ ได้แก่ ความเที่ยงตรง ค่าอำนาจจำแนก และค่าความเชื่อมั่นของแบบวัดความพึงพอใจทั้งชุดด้วย

2.6    กำหนดการให้คะแนนการตอบของแต่ละตัวเลือก โดยทั่วไปที่นิยมใช้ คือกำหนด

คะแนนเป็น 5 4 3 2 1 หรือ 4 3 2 1 0 สำหรับข้อความทางบวก และ 1 2 3 4 5  หรือ 0 1 2 3 4  สำหรับข้อความทางลบซึ่งเป็นวิธีที่สะดวกมากในการปฏิบัติ

หมายเลขบันทึก: 504767เขียนเมื่อ 7 ตุลาคม 2012 08:32 น. ()แก้ไขเมื่อ 7 ตุลาคม 2012 08:37 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

 

 มีการประเิมิน  ต้องมีผลสัมฤทธิ์ นะคะ ขอบคุณ

 

 บทความดีดี  มีคุณค่า นี้ค่ะ

 

เอาร่มมาฝาก

 

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท