ตัวอย่าง SAR55 และแผนพัฒนาฯ, การเลื่อนขั้นพนักงานราชการ, สัญญาพนักงานราชการไม่ติดอากรไม่ต้องค้ำประกัน, จ้างเหมาฯเรียน ป.บัณฑิต, SAR ตช.3.1 ระบบข้อมูล ตช.3.2 ระบบฐานข้อมูล, การบริหารความเสี่ยง, คำสั่งย้าย


ระบบฐานข้อมูล คือ ระบบจัดเก็บข้อมูลด้วยคอมพิวเตอร์, ผู้ที่ไม่ใช่ครู จะเรียน ป.บัณฑิตตามโครงการของ กศน. ต้องทำหน้าที่สอน กศ.ขั้นพื้นฐาน

สัปดาห์นี้ผมขอโพสท์บันทึกใหม่ใกล้ ๆ กัน 2 บันทึกเลย เพราะเป็นสัปดาห์ที่มีเรื่องเร่งด่วนเกี่ยวกับการทำ SAR, การต่อสัญญา การเพิ่มค่าตอบแทนพนักงานราชการ...  สัปดาห์หน้าผมคงพักการโพสท์บันทึกใหม่


บันทึกนี้ มีเรื่องที่คิดว่าน่าสนใจ ขอเลือกมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ 9 เรื่อง ดังนี้

 

         1. วันที่ 2 ต.ค.55 คุณ ดุษฎี ครูอาสาฯ กศน.อำเภอวชิรบารมี ถามผมในเฟซบุ๊คกลุ่มครูนอกระบบ ว่า  ในการทำสัญญาจ้างพนักงานราชการ ไม่ต้องใช้ใครค้ำ ไม่ต้องใช้อากรแสตมป์ เนื่องจากใช้วินัยเป็นตัวกำหนด และต่อ 4 ปีได้เลย นั้นจริงหรือไม่

             ผมตอบว่า   จริงครับ
             - ถาม กจ.กศน. เมื่อวันที่ 1 ต.ค.55 ได้รับคำตอบว่า ผู้ที่บรรจุก่อน 1 ต.ค.55 เมื่อถึง 1 ต.ค.55 ก็ต่อสัญญา 4 ปีได้เลยถ้าผ่านการประเมินตามเกณฑ์ ( ส่วนผู้ที่บรรจุหลัง 30 ก.ย.55 ต้องทำสัญญา 1 ปีก่อน )
             - สัญญาจ้างผู้รับจ้างตามระเบียบพัสดุ ต้องใช้เงินค้ำประกันสัญญา และติดอากรแสตมป์
             - สัญญาจ้างลูกจ้างชั่วคราวของส่วนราชการ ใช้คนค้ำประกันสัญญาได้ และไม่ต้องติดอากรแสตมป์
             - สัญญาพนักงานราชการ ไม่ต้องมีการค้ำประกันสัญญา ไม่ต้องติดอากรแสตมป์

             การปิดอากรแสตมป์ ให้ปฏิบัติตามประมวลรัษฎากรหมวดอากรแสตมป์ โดยในการสั่งซื้อของไม่ต้องปิดอากรแสตมป์ แต่ในการสั่งจ้าง สั่งทำ ต้องปิดอากรแสตมป์ ( การจ้างลูกจ้างชั่วคราวของส่วนราชการไม่เกี่ยวเลย ยิ่งพนักงานราชการยิ่งไม่เกี่ยว ) ผมเคยเขียนเรื่องนี้ใน
             - ข้อ 6 ที่ http://www.gotoknow.org/blogs/posts/480329
             - ข้อ 7 ที่ http://www.gotoknow.org/blogs/posts/492122
             ( เรื่องหนังสือเรียนต้องดูว่าเป็นการซื้อหนังสือเรียนหรือจ้างพิมพ์หนังสือเรียน  บางอำเภอทำสัญญาซื้อหนังสือของสำนักพิมพ์เอกชนก็ไม่ต้องติดอากรฯ  บางอำเภอทำสัญญาจ้างพิมพ์ตามต้นฉบับที่กำหนดก็ต้องติดอากรแสตมป์ ) )

             ส่วนการค้ำประกันสัญญา เป็นไปตามที่กำหนดในระเบียบเรื่องนั้น ๆ ซึ่งการทำสัญญาพนักงานราชการ ตามระเบียบหลักเกณฑ์ คพร. ปี 52 ไม่ต้องมีการค้ำประกัน ผมเคยเขียนเรื่องนี้ในข้อ 3 ที่ http://www.gotoknow.org/blogs/posts/418779?
             ( พนักงานราชการบรรจุใหม่ใช้ใบรับรองแพทย์  ต่อสัญญาไม่ต้องใช้ใบรับรองแพทย์ )

 

         2. วันที่ 3 ต.ค.55 คุณณรงค์ชัย ครู กศน.ตำบล กศน.อ.ท่าวุ้ง ถามผ่านหน้าเฟซบุ๊คผมว่า   ตัวบ่งชี้ที่ 3.2 ระบบฐานข้อมูลเพื่อการบริหารจัดการ ( SAR )   คำว่าระบบฐานข้อมูลที่ต้องทำหมายถึงข้อมูลของนักศึกษาหรือว่าเป็นข้อมูลของประชากรทั้งหมดของอำเภอ

             จากการที่ผมได้ไปร่วมทำความเข้าใจในการทำ SAR ของ กศน.อำเภอ 2-3 แห่ง พบว่าบุคลากรยังไม่เข้าใจความแตกต่างของ "ระบบข้อมูลสารสนเทศเพื่อการบริหาร" ตามตัวบ่งชี้ที่ 3.1 เกณฑ์ 3   กับ "ระบบฐานข้อมูลเพื่อการบริหารจัดการ" ตามตัวบ่งชี้ที่ 3.2
             ผมขออธิบายความแตกต่าง และยกตัวอย่าง เพื่อให้เข้าใจ ดังนี้

             1)  ระบบข้อมูลสารสนเทศเพื่อการบริหาร ตช 3.1

                  - ข้อมูล คือ ข้อเท็จจริงต่าง ๆ ที่เก็บรวบรวมมา โดยยังไม่ผ่านการประมวลจัดกระทำ   ซึ่งอาจเป็นตัวหนังสือ
                  - สารสนเทศ คือ ข้อมูลที่ผ่านการประมวลจัดกระทำ ให้เป็นรูปแบบที่มีความหมายสามารถนำไปใช้ในเรื่องต่าง ๆ ได้ตามวัตถุประสงค์  เช่น แค่นำข้อมูลมาลงตารางเป็นแถวเป็นคอลัมน์ ตารางนี้ก็ถือเป็นสารสนเทศแล้ว  หรืออาจประมวลจัดกระทำเป็นรูปกราฟ หรือรูปแบบอื่น ๆ ได้หลากหลาย
                  ระบบข้อมูลสารสนเทศเพื่อการบริหาร คือข้อมูลสารสนเทศทุกอย่าง ที่ควรมีไว้อ้างอิงในการดำเนินงาน  แม้แต่ "คู่มือ/แนวทางปฏิบัติงาน" ต่าง ๆ ก็ถือเป็นสารสนเทศด้วย
                  บางคน ( กศน.อ.ตรอน) แบ่งสารสนเทศออกเป็น 6 กลุ่ม คือ
                  1.1  สารสนเทศพื้นฐานของสถานศึกษา
                  1.2  สารสนเทศเกี่ยวกับผู้เรียน
                  1.3  สารสนเทศการบริหารวิชาการ
                  1.4  สารสนเทศเพื่อการบริหารจัดการ
                  1.5  สารสนเทศเพื่อการรายงาน
                  1.6  สารสนเทศคู่มือและแนวทางการปฏิบัติงาน
                  ดูรายละเอียดของแต่ละกลุ่ม ( เอามาจากเว็บบล็อคของท่าน ศน.ขิง ) ได้ที่ https://dl.dropbox.com/u/109014048/information.doc


             2)  ระบบฐานข้อมูลเพื่อการบริหารจัดการ ตช 3.2

                  คือ ระบบจัดเก็บข้อมูลด้วยคอมพิวเตอร์ ( ใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์มาช่วยในการบริหารจัดการให้เกิดประสิทธิภาพ ) เช่น โปรแกรมระบบบุคลากร, โปรแกรมทะเบียนพัสดุ, โปรแกรมบริหารงบประมาณ, โปรแกรมบริหารงานห้องสมุด PLS, ฐานข้อมูลตำบล, โปรแกรมรับส่งหนังสือราชการ, โปรแกรมทะเบียนนักศึกษา ITw, โปรแกรมทะเบียนนักศึกษา ปวช., โปรแกรมประเมินเทียบระดับการศึกษา, ระบบเชื่อมโยงเครือข่ายห้องสมุด, โปรแกรมฐานข้อมูลผู้จบหลักสูตร, โปรแกรมระบบสารบรรณ ฯลฯ

 

 

 

         3. วันเดียวกัน ( 3 ต.ค. ) เนื่องจากเรื่องเลื่อนขั้นพนักงานราชการ ถ้าดูจากตัวอย่างแบบฟอร์ม ที่ กจ.กศน.ส่งให้จังหวัด อาจมีความสับสนอยู่บ้าง เช่น บางคนตำแหน่งเดียวกันอำเภอเดียวกัน คะแนนประเมินได้ระดับดีกว่าแต่ได้เปอร์เซ็นต์เลื่อนค่าตอบแทนน้อยกว่าคนที่คะแนนผลการประเมินต่ำกว่า ซึ่งไม่ถูกต้อง    ผมจึงคุยกับ อ.ชัยพร กจ.กศน. ผู้ทำตัวอย่างแบบฟอร์มนี้  สรุปได้ดังนี้
             1)  ให้แยกวงเงิน 4 % ใช้คำนวณในแต่ละอำเภอ
             2)  ในแต่ละอำเภอจะแยกเป็น 2 กลุ่ม คือกลุ่มครู กศน.ตำบล กับกลุ่มตำแหน่งอื่นๆ โดยให้แต่ละกลุ่มใช้วงเงิน 4 % หรือจะไม่แยกก็ได้ คือทุกคนรวมใช้วงเงิน 4 %  ( แต่เวลาจังหวัดออกคำสั่ง ให้พิมพ์แยกรายชือ 2 กลุ่มนี้ )
             3)  ในอำเภอเดียวกัน กลุ่มเดียวกัน คนที่ได้ผลการประเมินระดับเดียวกัน เช่นระดับดีเหมือนกัน ต้องได้เปอร์เซ็นต์เลื่อนค่าตอบแทนเท่ากัน เช่น อ.บางขวา แยกเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มครู กศน.ตำบล ให้คะแนนระดับดีได้เลื่อน 3.11 %  และให้คะแนนระดับดีมากได้เลื่อน 4.99 %  ครู กศน.ตำบลในอำเภอบางขวาที่ได้คะแนนเฉลี่ยอยู่ในระดับดี ก็ต้องได้เลื่อนค่าตอบแทน 3.11 % ทุกคน
                  แต่ถ้าเป็นต่างกลุ่มต่างอำเภอ ถึงแม้จะได้คะแนนประเมินเท่ากัน ก็ให้เลื่อนใน % ที่ต่างกันได้
             4)  การกำหนด % เลื่อนค่าตอบแทนนี้ ในแต่ละอำเภอกำหนดเท่าไรก็ได้ ทศนิยม 2 ตำแหน่ง จะเป็นเท่าไรก็ได้ แต่ไม่เกิน 6.00 %  และยอดรวมเงินเพิ่มค่าตอบแทนต้องอยู่ในวงเงิน 4 % ( ถ้ามีบางคนได้เพิ่มเกิน 4 % ก็ต้องต้องมีบางคนได้เพิ่มต่ำกว่า 4 % )
             5)  ในตัวอย่าง "แบบอีเมล์" จะมีวงเงิน 3.9 % และ 0.05 % ตรงนี้ไม่ถูกต้อง ไม่ต้องสนใจ

 

         4. วันที่ 3-4 ต.ค.55  ท่าน ผอ.วิทยา กศน.อ.ทับปุด  กรุณานำ แผนพัฒนาคุณภาพการศึกษา พ.ศ.2555-2558  และ รายงานการประเมินตนเอง ประจำปี 2555  ของ กศน.อ.ทับปุด  มาเผยแพร่ในเฟซบุ๊คกลุ่มครูนอกระบบ  ใครสนใจดาวน์โหลดได้ ดังนี้

             4.1  แผนพัฒนาคุณภาพการศึกษา พ.ศ.2555-2558
                   - ปก-คำนำ-สารบรรณ  https://dl.dropbox.com/u/109014048/coverqua.doc 
                   - เนื้อหา  https://dl.dropbox.com/u/109014048/quality55_58.doc 

             4.1  รายงานการประเมินตนเอง ประจำปี 2555
                   - ปก-คำนำ-สารบรรณ  https://dl.dropbox.com/u/109014048/coverSAR55TP.doc 
                   - เนื้อหา  https://dl.dropbox.com/u/109014048/SAR55TP.doc

 

         5. วันที่ 4 ต.ค.55 คุณแป๋ม นาวาทอง ถามในหน้าเฟซบุ๊คผม ว่า  งานอาชีพที่ไม่ถึง 40 ชม.ต้องใส่ใน sar หรือไม่  หรือว่าใส่แต่ไม่ต้องคิดค่าตามเกณฑ์ของตัวบ่งชี้ 1.7

             ผมตอบว่า   งาน/โครงการ/กิจกรรม ไม่ว่าจะถึงหรือไม่ถึง 40 ชั่วโมง ให้ใส่ไว้ในบทที่ 2 ทั้งหมด  ให้รู้ว่าผลการปฏิบัติงานเรามีเท่าไร  แต่ถ้างาน/โครงการ/กิจกรรมไหนไม่ถึง 40 ชั่วโมง ก็ไม่ต้องคิดค่าตามเกณฑ์ของตัวบ่งชี้ต่าง ๆ  ( ตอนใส่ในบทที่ 2 พยายามเพิ่มช่องบอกจำนวนชั่วโมงเข้าไปด้วย กรรมการจะได้ไม่งงว่าทำไมไม่ตรงกับที่คิดค่าตามเกณฑ์ของตัวบ่งชี้ต่าง ๆ  คือให้รู้ว่าส่วนที่หายไปคือโครงการ/กิจกรรมที่หลักสูตรน้อยกว่า 40 ชม. )

 

         6. วันเดียวกัน ( 4 ต.ค. )  คุณ maria umme ถามผมทางอีเมล์ผ่าน gotoknow.org ว่า  ครูและบุคลากรทางการศึกษา อย่างบรรณารักษ์ ไม่มีสิทธ์เรียน ป. บัณฑิตใช่ไหม  (ครั้งที่สำรวจรายชื่อ...เฉพาะครูกศน.ที่สอนฯ)

             ผมตอบว่า   ไม่ได้ดูรายการสายใย กศน.บ้างหรือ มีคำตอบอยู่ในนั้น  ลองดูสรุปรายการสายใย กศน.วันที่ 17 ก.ย.55  ที่  http://www.gotoknow.org/blogs/posts/501557

             ( ตรวจสอบรายชื่อผู้มีสิทธิเรียนตามโครงการนี้ จาก "ผู้ตรวจสอบข้อมูล" ในแต่ละจังหวัดก็ได้   ดูรายชื่อผู้ตรวจสอบข้อมูลของแต่ละจังหวัดได้ที่  https://dl.dropbox.com/u/109014048/Pbandit.xls )  

 

         7. คำสั่งย้ายตามคำร้องขอย้ายของบรรณารักษ์และข้าราชการครูที่ยื่นเมือง ส.ค.55 ออกแล้ว กจ.ส่งคำสั่งไปให้เฉพาะจังหวัดที่มีผู้ย้ายออกย้ายเข้า ทางไปรษณีย์ ตั้งแต่วันที่ 1 ต.ค.55   มีผู้ได้ย้ายรวมทั้งบรรณารักษ์และข้าราชการครู ไม่ถึง 20 คน  ( กำลังจะออกคำสั่งย้ายตามคำร้องของบุคลากร จ.สุราษฎร์ธานี อีก )

        

         8. คืนวันเดียวกัน ( 4 ต.ค. ) คุณชุติกาญจน์ กศน.อ.ปากพนัง  ถามผมผ่านเฟซบุ๊ค ว่า  SAR ตัวบ่งชี้ที่ 3.3 ผลการบริหารความเสี่ยง  มีตัวอย่างให้เป็นแนวไหม

             ผมตอบว่า   ผมไม่มีครับ  แต่ลองดูเรื่อง
             - การจัดทำแผนบริหารความเสี่ยง https://dl.dropbox.com/u/109014048/repost_sec.pdf 
             - คู่มือบริหารความเสี่ยง เล่ม 1 ปี 51 ของ กศน.อ.พานทอง  https://dl.dropbox.com/u/109014048/fac1.rar 

 

         9. วันเสาร์อาทิตย์ที่ 6-7 ต.ค.55 ผมไปเข้าอบรมการพัฒนาศักยภาพบุคลากรด้านการประเมินคุณภาพภายนอกรอบสาม ณ ห้องประชุมใหญ่สำนักงาน กศน.จังหวัดพระนครศรีอยุธยา   ผู้เข้าอบรมคือบุคลากร กศน.อำเภอทุกอำเภอในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา อำเภอละ 7 คน ( รวม ผอ. )   วิทยากรคือทีมจากบริษัทเคมบริดท์เอ็ดดูเคชั่นจำกัด ( ดร.อรรถพล จันทร์ชีวะ, อ.อ้อยทิพย์ ศรศึก, อ.อังสณา ศิรภูวดล )  และ ผอ.ประพันธ์ สุนทรนันท์ กับทีม กศน.จังหวัดชัยนาท ซึ่งรับการประเมินภายนอกรอบสามแล้ว    การอบรมเป็นการเรียนรู้การกรอกข้อมูลในแบบ กศน.1-17 ( ข้อมูลภาคสนามของ สมศ. )

 



หมายเลขบันทึก: 504565เขียนเมื่อ 5 ตุลาคม 2012 06:12 น. ()แก้ไขเมื่อ 1 พฤศจิกายน 2012 05:26 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (11)

เป็นบทความ  ที่ P'Ple ได้ความรู้ใหม่ นะคะ

ขอบคุณมากนะคะ

มาให้กำลังใจค่ะที่นำมาแบ่งปันท่านBlankเอกชัย  กศน ผักไห่

  • ขอบคุณสำหรับข้อมูลข่าวสารที่เป็นประโยชน์สำหรับครู กศน.ตำบลค่ะ

ขอบคุณมากๆ เลยค่ะ เป็นข้อมูลที่มีประโยชน์อย่างยิ่งค่ะ

มาเยี่ยมชมผลงานและให้กำลังใจครับ

ขอบคุณอาจารย์มากเลยค่ะ

สวัสดีค่ะขอบคุณที่ให้ข้อมูลดีๆค่ะ

ยินดีแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันนะครับ Blank Blank Blank Blank Blank Blank Blank Blank

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท