โสภณ เปียสนิท
นาย โสภณ เปียสนิท ตึ๋ง เปียสนิท

ห้องเรียนในฝัน


เช้าวันนั้นผมตื่นขึ้นมาเพราะเสียงนกเขา........

            

 

       ปลายเดือนกันยายนฝนตกเหมือนฟ้ารั่ว สถานศึกษาเล็กๆ ฝังตัวอยู่ใกล้เขาหินเหล็กไฟกลางเมืองหัวหินเงียบงันหลังจากนักศึกษาพากันขับรถจักรยานยนต์กลับบ้านพักแถวตลาดบ่อนไก่ ใจนึกเป็นห่วงว่าพวกเขาจะเป็นไข้ เพราะฝนยังโปรยปรายละอองอย่างอ้อยอิ่งไม่ขาดสาย ฝนฟ้าก็เป็นเช่นนี้ หลายจังหวัดฟ้ารั่วน้ำล้นท่วมทับทรัพย์สินชาวไร่ชาวนาชาวบ้านเสียหาย หลายจังหวัดแห้งแล้งกันดารขาดน้ำ เออหนอ ชีวิตคนบนโลกใบนี้ มีขาดมีเกินมีกลางๆ มีสิ่งต่างๆ ได้เรียนรู้ไม่จบสิ้น

 

            ระหว่างมองละอองฝนโปรยปราย มองเม็ดฝนจับบนปลายใบพญาสัตบรรณข้างอาคารเรียนคณะบริหารธุรกิจ รางน้ำด้านข้างอาคารมีปลาหางนกยูงตัวเล็กตัวน้อยว่ายวนไป แม่โทรมาถามว่า “โรงเรียนปิดหรือยังลูก” แม่เรียกสถานศึกษาของเรา (อุปาทาน) ว่าโรงเรียนมาแต่ไหนแต่ไร แม่คงคิดถึง อยากให้กลับบ้าน “ยังเลยครับ” ตอบกลับแล้วชวนแม่คุยเรื่องพระเรื่องเจ้าให้แม่สบายใจสักครู่ก่อนวางสาย

 

            ประตูใหญ่ทางเข้ามหาวิทยาลัย กำลังมีงานก่อสร้างโครงการที่พักอาศัยขนาดใหญ่ นัยหนึ่งมองเห็นความเจริญทางวัตถุอยู่ตรงหน้า นัยหนึ่งคิดถึงความวุ่นวายของเพื่อนมนุษย์จำนวนมาก คำว่า “ดินพอกหางหมู” ผุดพรายขึ้นมาเหมือนลอยมาพร้อมกับเม็ดฝน งานวิจัยในชั้นเรียนของปี 2555 ยังค้างคาไม่เสร็จสิ้น งานจัดทำประวัติการทำงานเพื่อประเมินผลงานรอบครึ่งปี งานตรวจข้อสอบหลังการสอบปลายภาค งานเตรียมแผนการสอนทางไกลผ่านดาวเทียม ในภาคการศึกษาที่ 2/2555 และงานเขียนบทความนี้ร่วมเข้าไปด้วย เรื่องงานวิ่งวนอยู่ในความคิดอย่างต่อเนื่องยาวนานถึงก่อนหลับตาลงเมื่อหัวถึงหมอน

 

            รู้สึกตัวอีกทีเห็นตัวเองเดินอยู่ในมหาวิทยาลัยที่ไหนสักแห่ง เห็นนักศึกษาแต่งตัวตามสมัยนิยม ชุดนักศึกษาสวยงามตามสมัย นักศึกษาหญิงผิวขาวผอมบาง บางคนนุ่งกระโปรงสั้นกุด บางคนยาวกรอมตาตุ่ม ใส่รองเท้าหุ้มส้นแตกต่างสไตล์ นักศึกษาชายแต่งชุดสวยงามทันสมัย แต่ชายเสื้ออยู่นอกกางเกงเกือบทุกคน เห็นตึกสูงหลายชั้น หลายหลังเรียงรายติดป้ายชื่ออาคารด้วยภาษาบาลีคล้องจองกันไป เอ....ที่ไหนหนอ รู้แต่ว่าต้องไปประชุมในห้อง 441 เดินหาห้องประชุมด้วยความยากลำบาก วกไปเวียนมาขึ้นลงๆ หลายรอบ จนไม่รู้ว่าเข้าไปอยู่ในห้องประชุมได้อย่างไร

 

            ภายในห้องประชุมขนาดเล็ก มีโต๊ะกลมค่อนข้างใหญ่ เก้าอี้พนักอิง 20 ตัว เรียงรายรอบโต๊ะ เก้าอี้ทุกตัวมีคนนั่งครบหมดแล้ว เจ้าหน้าที่คนหนึ่งพาผมไปนั่งเก้าอี้ตัวเดียวที่เหลืออยู่  พยายามมองหาคนรู้จัก แต่ก็ไม่พบใคร นึกไม่ออกว่าเขาจะประชุมเรื่องอะไร และผมมาประชุมกับเขาทำไม สงสัยอยู่ในใจว่า จะถามใครดี ใจหนึ่งคิดว่า ปล่อยเขาพูดกันไปก่อนเราก็นั่งฟัง แล้วคอยหาประเด็นเพื่อความมีส่วนร่วมกับเขาก็แล้วกัน

 

            แว่วได้ยินเสียงประธานสุภาพสตรีในที่ประชุมกล่าว่า “ต่อไปเป็นหัวข้อปรับปรุงรายวิชาของคณะบริหารการจัดการ ใครต้องการปรับปรุงรายวิชาใด หรือ เพิ่มรายวิชาใด หรือมีข้อคิดเห็นอย่างไรจะพูดคุยก็เรียนเชิญได้” ทุกคนเงียบงันเหมือนโดนมนต์สะกดอะไรบ้างอย่าง อาจารย์ชายท่านหนึ่งกล่าวทำลายความอึดอัดขึ้นว่า “ปัจจุบันนักศึกษาขาดสมาธิในการเรียน เขียนไม่ค่อยเก่ง เร่งไม่ขึ้น ขาดความสนใจการเรียน เราจะต้องพิจารณาหาทางช่วยเหลือไว้ในหลักสูตรหรือรายวิชาได้บ้างหรือไม่ อย่างไร” บรรยากาศในห้องมีรอยยิ้มประปรายขึ้นมาบ้าง

 

            ท่านประธานยิ้มเล็กน้อยถามว่า “แหมว่าซะคล้องจองเทียวนะ สรุปมาจากงานวิจัย หรือจากชั้นเรียนค่ะ” “วิจัยในชั้นเรียนครับผม” เขาตอบเรื่อยแบบสบายๆ ผู้เข้าประชุมคนหนึ่งถามว่า “มีข้อมูลเพิ่มเติมหน่อยหรือไม่ว่า นักศึกษาเล่านั้นมีปัญหาเกิดขึ้นมาได้อย่างไร” “ขาดสมาธิ เพราะขาดความสนใจ หรือสนใจหลายเรื่องมากเกินไป เขียนไม่เก่ง เพราะไม่ค่อยได้ฝึกเขียน เร่งไม่ขึ้น เพราะเครื่องรวนไม่เคยเร่ง ขาดความสนใจ เพราะมัวแต่สนใจเรื่องอื่นๆ มากเกินไปเท่านั้นเอง”

 

            อาจารย์ท่านหนึ่งกล่าวว่า “ปล่อยให้เป็นหน้าที่ของครูอาจารย์ไปแก้ปัญหาในชั้นเรียนเอาเองไม่ได้หรือครับ ไม่ต้องแก้ไขในรายวิชา หรือหลักสูตรหรอกครับ” อีกคนหนึ่งชูมือขึ้นกล่าวว่า “เอ...คณาจารย์เหล่านั้นจะรู้ปัญหาเหล่านี้หรือ” “เป็นครูอาจารย์ก็ต้องรู้อยู่แล้ว” หลายคนแสดงว่าเห็นด้วยกับแนวคิดนี้ แต่ท่านประธานมองว่า “ปล่อยปัญหาไว้อย่างนี้ ครูอาจไม่เข้าใจ ไม่รู้ปัญหา เลยไม่ต้องได้แก้ไขอย่างไร” “ใส่ไว้ในหลักสูตรก็ดีเหมือนกัน” “ใส่ไว้ในรายวิชาก็น่าจะเพียงพอนะครับ” “อย่างนั้นก็น่าจะดีนะครับ” หลายคนเห็นด้วยกับแนวคิดนี้

 

            นั่งฟังอาจารย์ท่านต่างๆ แสดงแนวคิดอย่างเพลิดเพลิน พอเข้าใจได้ว่าสนทนากันเรื่องอะไร จึงขอมีส่วนร่วมบ้าง “เหมือนว่าปัญหาเหล่านั้นจะมาจากความไม่พร้อมของจิตใจนะครับ” ท่านประธานหันกลับมามองหน้าผม ทำทีท่าเหมือนจะรู้จักทักทายมาว่า “อ้าวท่านอาจารย์มาประชุมด้วยหรือค่ะ” “ครับผม” ผมนึกเท่าไรก็นึกไม่ออกว่า ประธานเป็นอาจารย์ที่ไหน ชื่อว่าอะไร แปลกจริงที่ท่านกลับเหมือนว่าจะรู้จักผมดี “ท่านอาจารย์เห็นว่าควรจะแก้ไขอย่างไรหรือค่ะ” “ปัญหาเกิดขึ้นที่จิตใจ ก็ต้องแก้ที่จิตใจซิครับ” อาจารย์หลายท่านถามขึ้นพร้อมกันว่า “จิตใจของใคร” ที่ประชุมเงียบกริบ ประธานหันมาทางผม เหมือนว่าจะรอคำตอบ “จิตใจคนไหนมีปัญหาแก้ที่คนนั้นครับ” พยายามพูดให้สุภาพที่สุด เพื่อว่าพวกเขาจะได้ไม่โกรธ

 

            ท่านประธานหันมาถามว่า “อาจารย์หมายความว่า.....?” ผมพูดให้ช้าลงหน่อยเพื่อดึงความสนใจ “แก้ที่จิตใจของผู้สอน เพื่อให้รู้คุณค่าของการพัฒนาจิต แก้ที่จิตใจของเด็ก เพื่อให้เด็กพร้อมที่จะเรียนรู้” “เพื่อให้ครูพร้อมสอน เด็กพร้อมเรียนหรือ” ท่านประธานสรุปใจความให้กระชับพื้นที่จนหลายคนพึงพอใจว่า เป็นคำพูดที่กระชับดี อาจารย์คนหนึ่ง “จะทำอย่างไรให้พร้อมทั้งสองฝ่ายดั่งที่ว่า” ท่านประเห็นด้วย “เออ นั่นซิ ทำอย่างไร ใครมีความเห็นเรื่องนี้ว่ามาได้เลย” ท่านประธานเปิดเวทีตรงนี้ให้กว้างขึ้น

 

ท่านประธานกล่าวทบทวน “เตรียมครูด้วยการฝึกอบรม เตรียมเด็กด้วยการใส่ไว้ในรายวิชา ในหลักสูตร” คนหนึ่งพูดมาว่า “ก็ดีเหมือนกัน แต่ว่าหากครูไม่ยอมเข้าอบรมจะทำอย่างไร” “ไม่มีหรอกกระมัง ครูไม่ทำอย่างนั้นหรอก” เสียงแห่งคนมองโลกแง่ดีกล่าวมา “ก็อาจไม่มีครูทำดั่งที่ว่า แต่ทำให้ชัดเจนกว่านั้นน่าจะดีกว่า” เสียงจากคนรอบคอบ หรือไม่ก็มากประสบการณ์กล่าวมา “ปัญหาก็คือว่า จะกำหนดอย่างไร” อีกคนเป็นห่วง “ผมขอเสนอให้ใส่ไว้ในตัวบ่งชี้ หรือตัวชี้วัดของครูเสียเลย แต่ผมก็ยังหนักใจ” คนหนึ่งทักขึ้นทันที “เอ มันจะหนักไปหรือเปล่า” “ผมอยากให้มองว่าตัวชี้วัดเช่นนี้ดีหรือไม่ก่อนอย่างอื่น” หลายเสียงสนับสนุนขึ้นพร้อมกันว่า “ดีมากหากทำได้ตามนั้น แต่ว่า ......” ผู้พูดมีท่าทีลังเลเหมือนเกรงใจบางประการ “แต่ว่าอะไร พูดให้ชัดไปเลย ทำได้ไม่ได้ ดีไม่ดีอย่างไรค่อยว่ากัน” หลายเลียงสนับสนุน  

 

อาจารย์คนนั้นมีท่าทีลังเลเล็กก่อนกล่าวต่อไป “ผู้บริหารต้องให้ความสำคัญ เห็นความสำคัญก่อน” “ทำไมหรือ เอาแต่เฉพาะครูไม่ดีหรือ” หลายคนเกรงว่า จะไม่อาจทำให้ผู้บริหารเห็นความสำคัญได้ “หากผู้บริหารไม่เห็นความสำคัญ จะออกกฎเรื่องตัวชี้วัดมาหรือ” ทุกคนเริ่มมีสีหน้าลังเล “เอาน่า ลองนำเสนอขึ้นไปแล้วกัน ได้ไม่ได้ค่อยว่ากัน” “กำหนดตัวชี้วัดนี้อย่างไรดี” คราวนี้ทุกคนคิดกันหนักสังเกตได้จากสีหน้า “กำหนดให้ครูอาจารย์สวดมนต์ไหว้พระทำสมาธิภาวนาอย่างน้อยวันละ 10 นาที” หลายคนร้องขึ้นพร้อมกัน “โอ้โห.....” “น่าจะหนักไปหน่อย” อาจารย์ท่านเดิมยืนยัน “ไม่หนักหรอกครับ เป็นความดีด้วย ได้บุญด้วย เป็นตัวอย่างที่ดีแก่เยาวชนด้วย”

 

ทุกคนในที่ประชุมอยู่ในอาการเงียบงัน เหมือนต้องมนต์สะกดอะไรสักอย่าง ท่านประธานเห็นว่าไม่บรรยากาศตึงเครียดเกินไป จึงกล่าวขึ้นว่า “ถือว่ารับไว้ก่อน เพื่อนำเสนอต่อไป ใครมีประเด็นอื่นๆ ต่อไปยกขึ้นมาพูดคุยได้” อาจารย์ชราผมขาวโพลนคนหนึ่งเสนอว่า “อยากให้มีรายวิชา “การจัดการอารมณ์” บรรจุอยู่ในคณะของเราด้วยจะได้หรือไม่” ทุกคนในห้องประชุมเงียบสนิท หันมองหน้ากันไปมา เพราะยังไม่เคยได้ยินรายวิชาเช่นนี้มาก่อนเลย สักครู่หนึ่งประธานกล่าวว่า “เป็นชื่อที่ทันสมัยมาก และยังไม่เคยได้ยินที่ไหนมาก่อน” คราวนี้หลายคนยกมือขอพูดกันขวักไขว่ “เห็นด้วยครับ ฟังดูแล้วเท่ดี” “เห็นด้วยเพราะหลายคนหลายอารมณ์ ควรจัดระเบียบอารมณ์เสียบ้าง” “เห็นด้วยครับ เป็นประโยชน์แก่ผู้เรียนโดยตรง”

 

ประธานกล่าวว่า “เนื้อหาความจะเป็นอย่างไร เอากว้างๆ ก่อนแล้วกัน” “อยากให้มีสองส่วน คือทั้งทฤษฏี และ ปฏิบัติ” “ด้านทฤษฏีเน้นให้ความรู้โทษของการไม่รักษาอารมณ์ ข้อดีของการรักษาอารมณ์ และแนวทางการรักษาอารมณ์นั้นต้องทำอย่างไรบ้าง” “ส่วนด้านปฏิบัติเน้นการให้ลงมือปฏิบัติจริง ทดสอบ ตรวจสอบว่าได้มีการปฏิบัติจริง ผลจากการปฏิบัติเป็นอย่างไร” “คำถามคือปฏิบัติอย่างไร ดิฉันยังไม่รู้เลย” “ปฏิบัติตามหลักการทางพระศาสนาของเรา” “เช่นอย่างไรค่ะ” “เช่นมุ่งเน้นการอ่านหนังสือธรรมะเพื่อสร้างความรู้เบื้องต้นในทางธรรม การสวดมนต์มุ่งเน้นการรักษาใจให้อยู่กับการสวดมนต์ การเดินจงกรม เน้นการฝึกสติให้อยู่กับปัจจุบันขณะให้มากที่สุดไม่ว่าจะทำกิจกรรมอย่างไรในชีวิตประจำวัน และการนั่งสมาธิ มุ่งเน้นความตั้งใจมั่นอยู่กับสิ่งใดสิ่งหนึ่ง” “เช่นอะไรค่ะ” “เช่นการมองภาพพระให้จำได้ แล้วนึกถึงภาพพระนั้นไว้ในใจไม่ให้คาดเคลื่อนเลื่อนลอยไป การมองดวงเทียน แล้วนึกภาพด้วยเทียนนั้นไว้ในใจให้ดำรงอยู่ตามเวลาที่กำหนด” “เอ จะทำได้หรือ” “ทำไม่ได้ก็ขอให้พยายามทำก็ถือว่าได้ลงมือทำแล้ว”

 

            เช้าวันนั้นผมตื่นขึ้นมาเพราะเสียงร้องของนกเขา นกกระหรอดจุก และนกกะทิที่หน้าบ้าน เหลือบมองนาฬิกา 6.30 น. ไม่น่าเชื่อว่า ผมตื่นสายกว่าเดิมหนึ่งชั่วโมงครึ่งโดยไม่มีสาเหตุ แถมยังจำไม่ได้ว่า ไปเข้าร่วมประชุมกับใคร ใครเป็นคนเชิญประชุม และไปประชุมในสถานที่ไหน มหาวิทยาลัยอะไร พยายามนึกก็รู้สึกปวดศีรษะจนต้องเลิกคิด

หมายเลขบันทึก: 504559เขียนเมื่อ 4 ตุลาคม 2012 23:22 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 พฤศจิกายน 2012 08:37 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (46)

 

อยากให้มีรายวิชา.... “การจัดการอารมณ์” ..... น่าเปิดสอน นะคะ ท่าน ผศ.โสภณ ค่ะท่าน ว่าอย่างไรดีไหมเอ่ย?

 

 

 เรื่องต่อไปที่หมอเปิ้นจะเล่านะคะ

               

Blankเรียนหมอเปิ้ลครับ

ยังคงว่องไวเสมอ

มาเป็นเรายแรกอีกเช่นเคย

ไม่เขียนเกี่ยวกับเรื่องห้องเรียนในฝันบ้างหรือครับ

  • ตามมาเชียร์อาจารย์
  • ผมอยากเห็นอาจารย์ลงชุมชนบ่อยๆครับ
  • เด็กคงชอบมากๆๆ
  • อย่าลืมพาเจ้าตัวเล็กของอาจารย์ไปด้วยนะครับ

สวัสดีครับอ.โสภณ เข้ามาอ่านงานของอาจารย์เป็นท่านแรกเลย ได้เนื้อหาดี ผมอ่านละเอียดมาก ข้อความขาดหายบางคำครับ

Blankเรียน อ. ขจิตครับ

ครับผม อยากลงบ่อยๆ เหมือนกันครับ

มีเวลาเป็นมาบ่อยแน่เลย

ตอนนี้ตรวจข้อสอบกันตาแฉะเลยครับ

 

Blankเรียนคุณ "พี่หนาน" ครับ

  • ขอบคุณครับที่อ่านโดยละเอียด
  • เสียดายนิดไม่ได้บอกว่าจุดใด
  • อาจเป็นที่ผมเขียนเอง เวลาตรวจเลยมองผ่าน
  • หลงตาไปอีก แปลกจริงครับ
  • ขอบคุณอีกครั้ง สบายดีนะครับ

 

Blankขอบคุณ คุณตะวันดินครับ

สำหรับกำลังใจ 

Blankเรียนคุณจัตุเศรษฐธรรมครับ

ขอบคุณสำหรับกำลังใจ

  • สวัสดีค่ะBlank อ. โสภณ เปียสนิท
  • หวังว่าท่านอาจารย์คงจะสบายดีนะคะ
  • มาให้กำลังใจห้องเรียนในฝันค่ะ

เป็นกำลังใจให้ครับ ชอบครับ

  • อ่านห้องเรียนในฝันของอาจารย์จ้ะ
  • " ฝัน " จริง ๆ ด้วยนะเนี่ยะ

แวะมาเยียมชมห้องเรียนตัวอย่างค่ะ

Blankเรียนคุณทิพย์ครับ

สบายดีมากนะครับ

อาศัยการออกกำลังกาย กับการฝึกสวดมนต์ทำจิตนิ่งๆ 

 

ท่าน อจ  ยังไม่ตอบเรื่องนี้เลย  ตามมาทวง นะค่ะ



Blankเรียนคุณลูกสายลมครับ

  • ขอบคุณที่แวะมา
  • ขอบคุณที่ชอบนะครับ
  • เป็นกำลังใจอันดีเทียว

Blankเรียนคุณมะเดื่อครับ

  • โรงเรียนในฝัน
  • ก็ต้องหาเอาทางฝัน
  • แบบนี้แหละครับ
  • ไม่อย่างนั้นไม่เจอ 
  • อิอิ

เรียนคุณBlankครับ

  • ขอบคุณที่เข้ามาชม
  • อย่างไรช่วยกันเขียนหน่อยนะครับ
  • ห้องเรียนในฝันนะครับ

Blankเรียนคุณหมอเปิ้ลครับ

  • เรื่องหญ้าเจ้าชู้ ไม่ค่อยชำนาญนะครับ
  • คนเจ้าชู้พอจะรู้จักหลายคนนะครับ อิอิ

ครูครับเข้มข้นจังครับ...ทานพาราสองเม็ดยังครับ

Blankเรียน ท่าน ผอ. เพชรครับ

ขอบคุณสำหรับกำลังใจ

Blankขอบคุณ อักขณิชครับ

เป็นกำลังใจอย่างดี

คนนี้หลานหรือลูกครับ อิอิ

 

Blankขอบคุณสำหรับกำลังใจนะครับ

Blankขอบคุณสำหรับกำลังใจครับผม

  • เสียงลือเสียงเล่าอ้าง  อันใด พี่เอย
  • เสียงย่อมยอยศใคร  ทั่วหล้า
  • สองเขือพี่หลับไหล  ลืมตื่น ฤาพี่
  • สองพี่คิดเองอ้า       อย่าได้ถามเผือ

บันทึกโคลงชั้นครู

Blankขอบคุณ

คุณประสิทธิ์ สำหรับกำลังใจ

Blankเรียนคุณภูสุภาครับ

ขอบคุณสำหรับกำลังใจเสมอ

  • สวัสดีค่ะอาจารย์
  • มาติดตามเรื่องราวและสาระน่าดูด้วยคนนะค่ะ

เป็นมุมมองที่น่าสนใจใคร่เห็นฝันนั้นเป็นจริงค่ะ..

Blankเรียนครูลักษณ์ครับ

ขอบคุณมากที่แวะมาเยือนกัน

 

  • Blankเรียนพี่นงนาทครับ
  • เรียนพี่นงนาทครับ
  • เป็นชื่อที่ค่อนข้างจะหวือหวาไม่น้อยเลย
  • แต่ปัจจุบันมีรายวิชาที่ใกล้เคียงกันอยู่บ้างเหมือนกัน
  • เช่น Business ethics หรือ การพัฒนาคุณภาพชีวิต 
  • ที่มีเนื้อหาไปทางหลักธรรมนะครับ

เรียนคุณครูBlankครับ

ขอบคุณสำหรับกำลังใจ

Blankขอบคุณสำหรับกำลังใจนะครับ

มาอ่านห้องเรียนในฝันของผู้ใหญ่ค่ะ ไม่รู้ว่าเด็กๆ เขาฝันไว้อย่างไรกันบ้างนะคะ

ขอบคุณค่ะท่านอาจารย์

เรียนคุณBlankครับ

ขอบคุณสำหรับกำลังใจ

ฝันยาวจังนะคะครู ...

มาด้วยความระลึกถึง ...

 

 

Blankเรียนคุณปริมครับ

  • กล่าวถึงความฝันของผู้ใหญ่
  • นึกถึงห้องเรียนในฝันของ
  • ท่านอาจารย์ ดร. อาจอง ชุมสาย ณ อยุธยา
  • ที่ รร. สัตยาไส ลพบุรีครับ

 

Blankเรียนคุณอุ้มบุญครับ

เป็นฝันสองหน้ากระดาษเอ4 font 14 เท่าเดิมครับ

เหมือนที่เคยเขียนประจำๆ

เรียนคุณBlankครับ

ขอบคุณสำหรับกำลังใจ

เรียนคุณBlankครับ

ขอบคุณสำหรับกำลังใจ

เมื่อครั้งเรียนที่ มศว.ประสานมิตร เพื่อนรุ่นเดียวกัน ทำปริญญานิพนธ์ เรื่อง การสอนแบบอารมณ์ ขัน หัวข้อผ่าครับ...ถ้ามีวิชา "การจัดการอารมณ์" สัรางหลักศูตร ดี ๆ น่าสนใจ ...สวัสดีครับ

Blankเรียนคุณแว่นธรรมทองครับ

เห็นไหม เป็นวิชาที่น่าเรียนด้วยนา

ผมว่าอย่างนั้น ใครใจลงเรียนละซิ อาจเป็นปัญหา อิอิ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท