ศาสนากับความรัก


ศาสนิกชนของศาสนาทุกศาสนา ถ้าเข้าถึงแก่นแท้แห่งศาสนาของตนและมีศาสนธรรมประจำใจ เขาจะมีเมตตาความรักสรรพสัตว์และไม่คิดเบียดเบียนซึ่งกันและกัน รวมความว่าเมตตา (ความรัก) และอหิงสา (การไม่เบียดเบียนกัน)เป็นคำสอนสำคัญทุกศาสนา

ศาสนากับความรัก

        ต้องยอมรับว่าข่าวที่โด่งดังไปทั่วโลก เมื่อเดือนกันยายนที่ผ่านมาคงหนีไม่พ้นข่าวเกี่ยวกับการเผยแพร่ภาพยนตร์เรื่อง “อินโนเซ้นส์ ออฟ มุสลิม” ลงในเว็บไซต์ยูทูบจึงกลายเป็นตัวจุดชนวนการประท้วงรุนแรงในอียิปต์และลิเบีย จนนำมาซึ่งการเสียชีวิตของเอกอัครราชทูตสหรัฐฯ ประจำลิเบีย พร้อมเจ้าหน้าที่กงสุลอีก 3 คน โดยผู้ก่อเหตุอ้างว่าเป็นการประท้วงภาพยนตร์เรื่อง "อินโนเซ้นส์ ออฟ มุสลิม" ที่มีการเผยแพร่ตัวอย่างภาพยนตร์ความยาว 14 นาทีผ่านเว็บไซต์ยูทูบ และมีเนื้อหาหมิ่นศาสนาอิสลามนั้น ล่า สุด ทางด้านเว็บไซต์ยูทูบที่เป็นช่องทางในการเผยแพร่คลิปตัวอย่างภาพยนตร์ดัง กล่าว ก็ได้บล็อคการเข้าถึงตัวอย่างภาพยนตร์ในลิเบียและอียิปต์แล้ว แต่ว่าเหตุการณ์ประท้วงก็ได้ลุกลามเข้าไปประเทศต่าง ๆ ที่นับถือศาสนาอิสลามมีการประณามผู้สร้างภาพยนตร์เผ่าธงชาติของสหรัฐอเมริกา ล่าสุดที่ประเทศบังกลาเทศมีผู้ประท้วงชาวมุสลิมจำนวนหลายหมื่นคนเข้าเผาทำลายวัดของชาวพุทธจนได้รับความเสียหาย โดยผู้ก่อเหตุอ้างว่าเป็นการประท้วงชาวพุทธคนหนึ่งเผยแพร่ภาพยนตร์หมิ่นประมาทศาสนาอิสลาม ชาวพุทธในประเทศบังกลาเทศมีจำนวนไม่ถึงหนึ่งเปอร์เซ็นของผู้นับถือพระพุทธศาสนาจึงถือว่าเป็นประชากรส่วนน้อยที่นับถือพระพุทธศาสนาในประเทศบังกลาเทศ

          อย่างไรก็ตามนั่นก็เป็นบทเรียนราคาแพงสำหรับผู้ที่นับถือศาสนาทุกศาสนาจะต้องตระหนักถึงแก่นหรือหลักคำสอนของศาสนาแต่ละศาสนาอย่างแท้จริงเพื่อน้อมนำหลักคำสอนดังกล่าวมาประยุกต์ใช้กับการดำเนินชีวิตอย่างแท้จริง มิใช่นับถือเพียงแค่เปลือกหรือกระพี้โดยวิธีแบบโมหะคือความหลงขาดวิจารณญาณในหลักการของศาสนา ดังนั้น[1] ศาสนาทุกศาสนามีหลักการสอนเรื่องของความรักและการไม่เบียดเบียนซึ่งกันและกัน มีปรากฏอยู่ในศาสนาสำคัญทุกศาสนา เช่น ศาสนาคริสต์สอนเรื่องความรัก เมื่อมีผู้ถามพระเยซูว่า ถ้าให้สรุปสาระของบัญญัติ 10 ประการให้เหลือข้อเดียวจะได้แก่อะไร พระเยซูทรงตอบว่าได้แก่ความรักคือรักพระเจ้าและรักเพื่อนมนุษย์ ในการเทศนาบนภูเขาพระเยซูสอนว่า เมื่อมีผู้ตบแก้มซ้ายของท่าน จงยื่นแก้มขวาให้เขา ส่วนศาสนาอิสลามเป็นศาสนาแห่งสันติหรือสันติภาพคือความสงบไม่สนับสนุนการใช้ความรุนแรงต่อเพื่อนมนุษย์ร่วมโลกด้วยกัน ศาสนาพราหมณ์สอนเรื่องอหิงสา คือการไม่เบียดเบียนซึ่งกันและกัน ซึ่งปรากฏคำสอนในคัมภีร์พระเวทว่า “ตตฺตฺวมฺ  อสิ ท่านก็คือพรหมันหรือพระเจ้า”  สรรพสิ่งในโลกนี้เป็นหนึ่งเดียวกัน นั่นคือพรหมัน เมื่อมนุษย์และสรรพสัตว์ล้วนมีธาตุเป็นพรหมันด้วยกันจึงควรรักสามัคคีและไม่ควรเบียดเบียนกัน ส่วนพระพุทธศาสนา พระพุทธเจ้าได้เน้นให้เห็นว่าเมตตาเป็นคำสอนที่สำคัญเพียงใด เมื่อพระองค์ตรัสว่า”ผู้เจริญเมตตาจิตแม้ชั่วเวลาลัดนิ้วมือเดียวจัดเป็นผู้อยู่ไม่ห่างจากฌานชื่อว่าทำตามคำสอนและปฏิบัติตามโอวาทของพระศาสดา”[2] และในส่วนที่เกี่ยวกับอหิงสา พระพุทธเจ้าตรัสว่า”อพฺยาปชฺฌํ  สุขํ  โลเก  ปาณภูเตสุ  สญฺญโม [3] ความไม่เกลียดชังและการไม่เบียดเบียนสัตว์ทั้งหลายเป็นสุขในโลก”

        กล่าวโดยสรุป ศาสนิกชนของศาสนาทุกศาสนา ถ้าเข้าถึงแก่นแท้แห่งศาสนาของตนและมีศาสนธรรมประจำใจ เขาจะมีเมตตาความรักสรรพสัตว์และไม่คิดเบียดเบียนซึ่งกันและกัน รวมความว่าเมตตา (ความรัก)  และอหิงสา (การไม่เบียดเบียนกัน)เป็นคำสอนสำคัญทุกศาสนา         



[1] ศาสนากับสิ่งแวดล้อม, พระราชวรมุนี, อธิการบดี มจร, ปาฐกถา ณ ตึกสันติไมตรี ทำเนียบรัฐบาล, 5 ธันวาคม 2535.

[2] เอกนิบาต อังคุตตรนิกาย ๒๐/๑๒

[3] อรรถกถามุจลินทสูตร

หมายเลขบันทึก: 504294เขียนเมื่อ 2 ตุลาคม 2012 14:17 น. ()แก้ไขเมื่อ 28 ตุลาคม 2012 12:07 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

คำพิพากษาความรักสุดคลาสสิค

จำกันได้มั๊ยกับนายเสริม สาครราษฎร์ที่เป็นนักศึกษาแพทย์ฆ่าแฟนตาย ในคดีที่นายเสริมถูกตัดสิน นายเสริมขอลดโทษโดยอ้างเหตุว่า ตนฆ่าแฟนเพราะความรักที่ตนมี จนไม่อาจหักห้ามใจให้แฟนไปมีคนใหม่ได้ จึงขอความปราณีจากศาลให้เห็นแก่ความรักของตน ศาลฎีกาได้ให้เหตุผลไว้อย่างงดงาม ถึงความรักที่นายเสริมอ้างว่ามีต่อแฟนของตน ดังฏีกาข้างล่างนี้

ฎีกาตัดสินเกี่ยวกับปัญหาข้อกฎหมาย คดีแดงที่ 6083/2546 พนักงานอัยการ สำนักงานอัยการสูงสุด โจทก์ นางสุดา ปรัชญาภัทร โจทก์ร่วม นายเสริม สาครราษฎร์ จำเลย

ที่โจทก์ร่วมฎีกาว่า จำเลยควรได้รับโทษประหารชีวิต ศาลล่างทั้งสองไม่ควรลดโทษให้จำเลยเพราะคดี ไม่มีเหตุบรรเทาโทษนั้น ล้วนเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงทั้งสิ้น จึงต้องห้ามมิให้โจทก์ร่วมฎีกาตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าว

ส่วนที่จำเลยฎีกาว่า จำเลยถูกผู้ตายข่มเหงจิตใจอย่างร้ายแรงด้วยเหตุอันไม่เป็นธรรม เพราะจำเลยกับผู้ตายมีความสัมพันธ์ฉันคนรัก แต่ผู้ตายต้องการเลิกความสัมพันธ์กับจำเลยไปมีรักกับผู้ชายคนใหม่ จำเลยจึงบันดาลโทสะฆ่าผู้ตายนั้น

เห็นว่า ความรักเป็นสิ่งที่เกิดจากใจไม่อาจบังคับกันได้ ความรักที่แท้จริงคือความปรารถนาดีต่อคนที่ตนรักความยินดีที่คนที่ตนรักมี ความสุข การให้อภัยเมื่อคนที่ตนรักทำผิดและการเสียสละความสุขของตนเพื่อความสุขของคน ที่ตนรัก จำเลยปรารถนาจะยึดครองผู้ตายเพื่อความสุขของจำเลยเอง เมื่อไม่สมหวังจำเลยก็ฆ่าผู้ตาย เป็นความคิดและการกระทำที่เห็นแก่ตัวเห็นแก่ได้ของจำเลยโดยฝ่าย เดียว มิได้คำนึงถึงจิตใจและความรู้สึกของผู้ตาย หาใช่ความรักไม่ ทั้งเป็นความเห็นผิดที่ เป็นอันตรายต่อสังคมอย่างยิ่ง

ดังนี้ แม้จะฟังข้อเท็จจริงตามที่จำเลยฎีกาก็ถือไม่ได้ว่าจำเลยถูกผู้ตายข่ม เหงอย่างร้ายแรงด้วยเหตุอันไม่เป็นธรรม กรณีไม่มีเหตุจะลงโทษจำเลยน้อยกว่าที่กฎหมายกำหนดไว้ ด้วยเหตุดังกล่าวนี้ ศาลจึงพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลยตลอดชีวิต

อาจารย์ช่วยนำเสนอบทความ ปรัชญาการเมืองตามแนวพระพุทธศาสนา หน่อยนะครับ อิอิ

ขอบคุณครับเป็นสิ่งที่ให้ความรู้อย่างจริงจังเลยครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท