ภาษาสันสกฤตอย่างง่าย บทที่ 12


-เครื่องหมายที่ควรทราบ

-สนธิ สฺ (เพิ่ม)

-การแจกรูป อุการานฺต เพศชาย

 

1. เครื่องหมายที่ควรทราบ

     1) ขีดตั้งหลังประโยค และในร้อยกรอง ขีดเดียว ( | ) เรียกว่า วิราม หรือ ทัณฑะ (ทณฺฑ) สองขีดเรียก ( || ) มหาวิราม หรือ ทวิทัณฑะ (ทฺวิทณฺฑ)

     2) ชิหวามูลียะ (जिह्वामूलीय ชิหฺวามูลีย) แปลว่า เสียงที่โคนลิ้น (มีลักษณะคล้ายกับวิสรคะ และอุปัธมานียะ) แต่ใช้เมื่ออยู่หน้า ก และ ข ปัจจุบันไม่มีใช้ พบในเอกสารโบราณ หรือจารึก เรียกอีกชื่อว่า อรฺธวิสรฺค (ครึ่งวิสรคะ) รูปร่างเหมือนวงเล็บแบบนี้ )(  แต่ตะแคง  ถอดเป็นอักษรกรีก ไค (χ)

 

 Large_upa

เครื่องหมายชิหวามูลียะ (ตัวแรก) และ อุปัธมานียะ (ใช้ไ้ด้ทั้งสามตัว)

 

     3. อุปัธมานียะ (उप-ध्मानीय อุปธฺมานีย) แปลว่า พัด หรือเป่า ใช้ในตำแหน่งวิสรคะเมื่ออยู่หน้า ป หรือ ผ พบในเอกสารโบราณ หรือจารึก (ปัจจุบันใช้วิสรคะทั้งหมด แต่พึงทราบว่าตรงนั้นคือ อุปัธมานียะ) เรียกอีกชื่อว่า อรฺธวิสรฺค (ครึ่งวิสรคะ) ตำราว่ารูปร่างเหมือนตระพองช้าง (หัว) แต่ในจารึกรูปเหมือนวงกลมผ่าซีกแนวนอน ถอดเป็นอักษรกรีัก ไภ (φ)

 

2. สนธิ ส  (เมื่อไม่ได้อยู่ในกรณีที่กล่าวมาแล้วในบทก่อนๆ)

     1) สฺ จะเปลี่ยนเป็น ศฺ เมื่ออยู่หน้าพยัญชนะ จฺ และ ฉฺ (พยัญชนะฐานเดียวกัน คือ เพดาน)

     * ศฺ และ จฺ, ฉฺ เป็นพยัญชนะเพดาน ชนิดเสียงไม่ก้องเหมือนกัน

     2) สฺ จะเปลี่ยนเป็น ษฺ เมื่ออยู่หน้าพยัญชนะ ฏ และ ฐ (พยัญชนะฐานเดียวกัน คือ ศีรษะ)

     * ษ และ ฏฺ, ฐ เป็นพยัญชนะศีรษะ ชนิดเสียงไม่ก้องเหมือนกัน

     3) สฺ ยังคงเป็น สฺ เมื่ออยู่หน้าพยัญชนะ ต และ ถ (พยัญชนะฐานเดียวกัน คือ ฟัน)

     * ต และ ถ เป็นพยัญชนะฟัน ชนิดเสียงไม่ก้องเหมือนกัน

     4) สสฺ และ เอษสฺ (คำสรรพนาม) เมื่ออยู่หน้าพยัญชนะใดๆ ก็ตาม จะเปลี่ยนเป็น ส และ เอษ แต่เมื่ออยู่หน้าสระ ก็ทำตามหลักสนธิปกติ

     * กรณีที่ สฺ นำหน้าพยัญชนะอื่นๆ น่าจะได้กล่าวถึงหมดแล้ว

     **ในตำราบางเล่ม การแจกรูปนาม/กริยาที่ลงท้ายด้วย สฺ จะใช้รูปวิสรรคะแทน ซึ่งกรณีอย่างนั้นจะไม่มีการอธิบายถึงการเปลี่ยนเสียง สฺ แต่จะเปลี่ยนเสียง วิสรรคะแทน เมื่อเรียนสนธิครบถ้วนแล้ว จะย้อนไปเทียบเคียงกรณีแบบนั้นดูก็จะได้เข้าใจแนวคิดนั้น (ตำราอินเดียสอนให้ใช้วิสรรคะ)

 

3. นามเพศชาย อุการานฺต  

การแจกรูป คล้ายกัย อิการานฺต ดู ภานุ (ดวงอาทิตย์) เป็นแบบ

 

 

เอกพจน์

ทวิพจน์

พหูพจน์

8

ภาโน

bhāno

ภานู

bhānū

ภานวสฺ

bhānavas

1

ภานุสฺ

bhānus

ภานู

bhānū

ภานวสฺ

bhānavas

2

ภานุมฺ

bhānum

ภานู

bhānū

ภานูนฺ

bhānūn

3

ภานุนา

bhānunā

ภานุภฺยามฺ

bhānubhyām

ภานุภิสฺ

bhānubhis

4

ภานเว

bhānave

ภานุภฺยามฺ

bhānubhyām

ภานุภฺยสฺ

bhānubhyas

5

ภาโนสฺ

bhānos

ภานุภฺยามฺ

bhānubhyām

ภานุภฺยสฺ

bhānubhyas

6

ภาโนสฺ

bhānos

ภานฺโวสฺ

bhānvos

ภานูนาม

bhānām

7

ภาเนา

bhānāu

ภานฺโวสฺ

bhānvos

ภานุษุ

bhānuṣu

*ใช้อักษรโรมัน เพื่อให้เห็นตำแหน่งเสียงสระและพยัญชนะที่ชัดเจน ว่าอะไรมาก่อนหลัง รวมทั้งลักษณะการสนธิเสียง

 

ศัพท์ นาม

อนฺน

anna

अन्न

นปุ.

อาหาร

 

ภานุ

bhānu

भानु

ปุ.

ดวงอาทิตย์

อศฺว

aśva

अश्व

ปุ.

ม้า

มณิ

maṇi

मणि

ปุ.

มณี

อุทธิ

udadhi

उदधि

ปุ.

ทะเล

รตฺน

ratna

रत्न

นปุ.

แก้ว

คุรุ

guru

गुरु

ปุ.

ครู

ราศิ

rāśi

राशि

ปุ.

กอง

ปตฺตฺร

pattra

पत्त्र

นปุ.

จดหมาย, ใบไม้

วายุ

vāyu

वायु

ปุ.

ลม

ปรศุ

paraśu

परशु

ปุ.

ขวาน

ศตฺรุ

śatru

शत्रु

ปุ.

ศัตรู

ปาท

pāda

पाद

 

ปุ.

เท้า, หนึ่งส่วนสี่, รัศมี

ศิขร

śikhara

शिखर

ปุ.

ยอด

พาหุ

bāhu

बाहु

ปุ.

แขน

ศิษฺย

śiṣya

शिष्य

ปุ.

ศิษย์

พินฺทุ

bindu

बिन्दु

ปุ.

หยด

สูกฺต

kūkta

सूक्त

นปุ.

บทสวด (ประกอบด้วยร้อยกรองหลายบท)

 *เพิ่มศัพท์ วิษฺณุ विष्णु víṣṇu ปุ. ชื่อคน, พระวิษณุ

แบบฝึก

1. แปลสันสกฤตเป็นไทย

कवयो धने लुभ्यन्ति ॥1॥ 

ऋषिः सूक्तानि पश्यति ॥2॥ 

गुरू शिष्ययोः क्रुध्य्तः ॥3॥

नृपा अरिभ्यः कुप्यन्ति ॥4॥ 

अग्निरुदधौ तिष्ठति ॥5॥

परशुना वृक्षान्कृन्तथ ॥6॥

जलस्य बिन्दवो गिरेः पतन्ति ॥7॥

विष्णुमृषिर्यजति नृपाय ॥8॥

नृपोSश्वमारोहति ॥9॥          

क्षेत्रेषु जलं शुष्यति ॥10॥

गुरवः शिष्याणां स्निह्यन्ति ॥11॥

नृपाणां शत्रवो |सिना नश्यन्ति ॥12॥

बालो गुरवे पत्त्रं लिखति ॥13॥   

जना मणीनां राशीनिच्छन्ति ॥14॥

आ गिरेर्वृक्षा रोहन्ति ॥15॥    

बाहुभ्यां जलं नरास्तरन्ति ॥16॥

बालौ गृहे ह्वयति नरः ॥17॥       

कवेः पुत्रौ ग्रामस्य मार्गे गजं पश्यतः ॥18॥

 

2. แปลอังกฤษ เป็นสันสกฤต

19. Now4 the sun’s1 rays2 climb5 the mountains3.

20. A drop2 of water1 falls4 down from the cloud3.

21. O1 men2, we see4 the city3.

22. Both kings1 love3 poets2 (gen. or loc.)

23. The wind1 blows4 (वह्) from the summits3 of the mountains2.

24. The king1 hurls4 spears3 at his enemies2 (dat. or loc.).

25. The scholar1 bows3 before his teacher2 (acc.).

26. Two men1 come3 with their sons2 (instr.).

27. The two kings1 desire4 the poet’s2 jewels3 (dat. or loc.).

28. O1 seer2, we sacrifice4 to Visnu3 (acc.).

29. The two cook3 food1 with fire2.

30. The seers1 praise4 Visnu2 with hymns3

31. In the city1 the king2 calls4 his enemies3.

 

หมายเลขบันทึก: 504222เขียนเมื่อ 1 ตุลาคม 2012 19:37 น. ()แก้ไขเมื่อ 10 ตุลาคม 2012 18:20 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (29)

อย่างง่าย...แต่ก็.. อยากสุดๆๆ  สำหรับP'Ple นะคะ

สวัดีครับพี่ Blank ...Dr. Ple Blank ภูสุภา

ขอบคุณครับที่มาเยี่ยม ภาษาสันสกฤตยุ่งและยากครับ อิๆๆ

ภาษา...บ่งบอกความเป็นชาติได้อย่างน่าภาคภูมิใจ..
ชื่นชมครับ..
ยากสุดๆ...

ภาษาสะท้อนวัฒนธรรม ตัวอักษรสวยงามมากค่ะ เป็นงานศิลปะเลยค่ะ

สวัสดีครับ คุณBlank แผ่นดิน

บ้านเราไม่ค่อยมีการเรียนการสอนภาษาสันสกฤตครับ

ตำราเลยไม่ค่อยมีให้อ่าน ช่วงนี้เริ่มมีเพื่อนๆ น้องๆ มาเขียนกัน

น่าจะเปิดโอกาสให้ผู้สนใจได้ศึกษากันมากขึ้นครับ

 

สวัสดีครับ คุณ Blank Sila Phu-Chaya

ตัวหนังสือโบราณ เขาใช้ปากกาแบบปากแบนๆ

เขียนแล้วมีหนักเบา สวยดีครับ

ความจริง หลายตัว ก็คล้ายอักษรไทย อย่าง

ก क (ก ไก่มีหัว อิๆๆ), ป प, ม म, มา मा

ขอชื่นชมท่านจริงๆ ค่ะ

ขอบคุณมากครับ คุณ Blank tuknarak

นี่ยังมาไม่ถึงครึ่งเลยครับ

ไม่ทราบว่าจะทำได้แค่ไหน อิๆๆ

อยากมาเรียนด้วยมากๆครับ ชอบมากภาษานี้ แต่ปัญหาของผมคือยังเขียนตัวอักษรไม่ได้มันขยึกขยือเหลือเกิน ที่เป็นภาษาไทยที่เป็นจุดๆยังเขียนผิดเลยครับ ลองย้อนกลับไปดูบทแรกๆแล้วก็อ่านไม่ค่อยจะเข้าใจ ลองทำแบบฝึกหัดตามดูโดยที่ยังไม่ดูเฉลยก็ผิดหมด ต่อไปคงต้องมาถามอาจารย์ขอคำแนะนำ ไม่รู้ว่าจะยากเกินความสามารถหรือเปล่า แล้วจะเข้ามาดูเรื่อยๆครับ

สวัสดีครับ คุณทศวรรษ

เรื่องตัวอักษรนั้น อยากให้ฝึกหัดเขียนก่อนครับ

แต่ถ้ายังไม่ได้ ไม่เป็นไร เรียนไป หัดเขียนไปก็ได้ ใช้ตัวไทย หรือตัวโรมันก่อนก็ได้

สำหรับบทที่ 1 นั้น อันที่จริงก็ไม่ถึงกับการเริ่มใหม่เลย

เพราะผู้เรียนควรมีพื้นฐานความรู้เกี่ยวกับภาษาสันสกฤตมาบ้าง

ฉะนั้น แนะนำให้อ่านบทความทั้งหมดในสมุด "ภาษาสันสกฤตง่ายนิดเีดียว"

โดยเฉพาะบทความแรก และบทความเกี่ยวกับพยัญชนะ สระ กริยา ต่างๆ

หลังจากนั้นก็เริ่มบทเรียน ถ้าติดขัดยังไง ก็ถามมาได้ตลอดครับ

ส่วนเรื่องตัวอักษร เดี๋ยวผมมีวิธีแก้ให้ครับ....

ลองมาส่งสักสี่ข้อก่อนนะค่ะ แปลไปแปลมาชักไม่ค่อยจะมั่นใจว่าจะถูกต้องหรือเปล่า

แปลสันสกฤตเป็นไทย

1.) เหล่ากวีทั้งหลายอยากได้ทรัพย์สินเงินทองทั้งสองนั้น

2.) ฤาษีตนหนึ่งเห็นบทสวดทั้งสองนั้น

3.) ครูทั้งสองโกรธลูกศิษย์ทั้งสอง

4.) พระราชาทรงกริ้วศัตรูทั้งหลาย

ऋषिः सूक्तानि पश्यति ॥2॥ ฤาษีตนหนึ่งเห็นบทสวดทั้งสองหลายนั้น

(มีตำนานกล่าวว่า ฤษีเป็นผู้เห็นบทสวดที่พระเจ้าประทานมา)

नृपा अरिभ्यः कुप्यन्ति ॥4॥ พระราชาทั้งหลายทรงกริ้วศัตรูทั้งหลาย

แบบฝึกหัดทั้งหมดในบทนี้รวมเรื่องสนธิ สฺ ในบทนี้ด้วยหรือเปล่าค่ะ

ชํคล ที่แปลว่าป่า มันดูคล้ายๆกับ jungle ในภาษาอังกฤษนะค่ะอาจารย์ ไม่รู้มาจากที่เดียวกันหรือเปล่า

รวมสนธิด้วยครับ

ชํคล คงจะเป็นศัพท์ฮินดี ที่ทับศัพท์จากอังกฤษอีกที

เพราะ ชํคล ในภาษาสันสกฤตแปลว่า ทะเลทราย

ดูหนังอินเดีย เห็นพูดฮินดีสลับอังกฤษเป็นว่าเล่น

ขออนุญาติส่งบางข้อดูก่อนคะ คือว่าบางข้อก็ทำไม่ได้แต่ก็อยากจะรู้ว่ามันมาจากไหน อิอิ

5.) ข้อนี้ทำไม่ได้ติดอยู่ตรง ''รุทเธา'' คะ

6.) ท่านทั้งหลายตัดต้นไม้เหล่านั้นด้วยขวานหนึ่งด้าม (กฤนฺตถ นฺ นี้มาจากไหนอะค่ะ )

7.) หยดน้ำทั้งหลายตกลงมาจากภูเขา

8.) ข้อนี้วิษณุเป็นนามเพศชายลงท้ายเสียงอุเหรอค่ะ อาจารย์เคยให้ศัพท์นี้ไว้เหรอคะ

9.) พระราชาพระองค์หนึ่งทรงขี่ (ขึ้น) ม้า

10.) น้ำเหือดแห้งไปในที่นานั้น

ขอบคุณคะแล้วจะมาต่อ อิอิ

พี่ขยันนำมาบันทึกนะครับ

ผมคิดว่านำเป็นตัวโรมันมาน่าจะดีนะครับ

ต่างเทียบตัวนะพี่ ลงทุกครั้งนะครับ

เพราะคนที่ลืมก็ไม่อยากเปิดดูทำให้งง และยาก

แต่ถ้าลงตลอดก็จะจำไปเองนะครับพี่

5.)  แยกสนธิเป็น >  อคฺนิรฺ อุทเธา

6.) กฺฤ ตัวนี้ แทรกอนุสวาร แล้วเปลี่ยน อนุสวารเป็น นฺ (ดูบทที่ 10)

8.) วิษณุ นามเพศชาย แจกเหมือน ภาณุ ครับ จำไม่ได้ให้ไว้หรือเปล่า..  อิๆๆ

ใช้ได้ครับ พยายามต่อไป, อนุญาต ไม่มีสระอิครับ เขียนให้ถูกด้วย...

สวัสดีครับ คุณนัน Blank ลูกสายลม

คิดอยู่เหมือนกันว่าจะใช้โรมันบ้าง เทวนาครีบ้าง ผู้ที่สนใจจะได้อ่านสะดวกขึ้น

ขอบคุณที่แนะนำนะครับ

บางข้อต้องมั่วเอาแปลไม่ถูกคะ อิอิ

11.) ครูทั้งหลายรักศิษย์ทั้งหลาย (ตรงนี้งง ศิษฺยาณํ)

12.) ศัตรูทั้งหลายทำลายพระราชาเหล่านั้นด้วยดาบ

15.) เด็กน้อยคนหนึ่งเขียนจดหมายหนึ่งฉบับแด่ครู (ข้อนี้ใช้คำว่า''ถึง''ครูได้ไหมค่ะ )

16.) ข้อนี้ติดตรง นิจฺฉนฺติ คะ

17.) ต้นไม้ทั้งหลายเติบโตบนภูเขา

18.) อันนี้แปลออกมาแล้วเรียงไม่ถูก มันไม่ค่อยได้ใจความอะคะ อิอิ

19.)เด็กสองคนในบ้านหลังหนึ่งเรียกคนหนึ่งคน

20.) บุตรชายทั้งสองของหมู่บ้านแห่งหนึ่งเห็นช้างตัวหนึ่งที่ถนน

11. ขอโทษครับ ศิษฺยาณำ ... วันหลังลองเดาบ้างก็ได้นะ อิๆๆ

12. นฺฤปาณำ ไม่ได้เป็นกรรม, และคำแสดงความเป็นเจ้าของมักจะอยู่หน้าสิ่งของ, ควรแปลว่า ศัตรูทั้งหลายของพระราชาทั้งหลาย...

13. สงสัยเลขหน้าข้อจะผิด, ได้ครับ 

14. แยกสนธิ ราศีนฺ อิจฺฉนฺติ... แปลมาใหม่นะ

15. ถูกครับ

16. बाहुभ्यां जलं नरास्तरन्ति  แยกสนธิ พาหุภฺยำ ชลํ นราสฺ ตรนฺติ.

คนทั้งหลายข้ามน้ำ ด้วยแขนทั้งสอง (ว่ายน้ำ)

(หาประธานก่อน การกที่ 1, หากริยา, แล้วก็กรรม)

17. นระ เป็น กรรตุการก จึงเป็นกรรมไม่ได้

กริยาเป็นเอกพจน์ (-ติ) ดังนั้น ประธานก็เป็นเอกพจน์ คือ นระ

แปล ชายคนหนึ่งเรียกเด็กทั้งสอง(ที่อยู่)ในบ้าน

18.  ตกคำว่า กเวะ, แปล บุตรชายทั้งสองของกวีคนหนึ่ง เห็นช้างเชือกหนึ่งบนถนนของหมู่บ้าน (ทางเข้าหมู่บ้าน)

 

คุณ Blank ลองเขียนเรื่อง "ห้องเรียนสันสกฤตในฝัน" ไหมครับ ตามคำชวนของ Gotoknow ;)

14.) ชนทั้งหลายอยากได้อัญมณีหลายกองนั้น

แปลอังกฤษเป็นสันสกฤต

19.) ข้อนี้ติดศัพท์คำว่า ray

20.) ชลสฺย พินฺทุรฺ เมฆาตฺปตติ

21.) นราสฺนครานฺปศฺยามะ

22.) นฤเปา กวิษู สฺนิหฺยตะ

23.) from the summit of the mountains แปลว่าจากส่วนยอดของภูเขาเหรอค่ะ ส่วนยอดไม่รู้จะใช้คำไหน อิอิ

24.) นฤโป ' ริษุ กุนฺตานฺ กฺษิปติ

25.) ศิษฺโย คุรํ นมติ

26.) นเรา ปุไตฺรรฺ คจฺฉตะ

27.) นฤเปา กเวรฺมณิภฺย อิฉตะ

28.) ฤเษ วิษฺณํ ยชามะ

29.) อนฺนานิ อคฺนินา ปจตะ

30.) ฤษฺโย วิษฺณํ สูกฺไตะ ศํสนฺติ

31.) นคเร นฤโป ' รีนฺ หฺวยติ

19. ray ใช้ ปาท

20.) ชลสฺย พินฺทุรฺเมฆาตฺปตติ. (เขียนติดกัน)

21.) เห นราสฺ นครานฺปศฺยามะ. (O ใช้ เห)

22.) นฺฤเปา กวีนำ มณิษุ สฺนิหฺยตะ (นฺฤป อย่าลืม จุดใต้ น)

23.) ยอด ใช้ ศิขร

26.) นเรา ปุไตฺรรฺคจฺฉตะ (เขียนติดกัน)

27.) นฺฤเปา กเวรฺมณิภฺย อิจฺฉตะ (นฺฤป อย่าลืม จุดใต้ น)

28.) เห ฤเษ วิษฺณํ ยชามะ

29.) อนฺนานิ อคฺนินา ปจตะ

30.) ฤษฺโย วิษฺณํ สูกฺไตะ ศํสนฺติ

31.) นคเร นฺฤโป ' รีนฺ หฺวยติ (นฺฤป อย่าลืม จุดใต้ น)

ขอบคุณคะ คิดอยู่แล้วว่า 0 = हे แต่ไม่ค่อยแน่ใจ ถือว่าส่วนใหญ่ถูกนะค่ะ อิอิ

มาส่งข้อที่ยังไม่ได้ทำนะค่ะ

19.) ภาโนะ ปาทารฺ คิรีนธุนา โรหนฺติ

23.) วายุรฺ คิรินํา ศิขเรภฺโย วหติ

19.) ภาโนะ ปาทารฺ คิรีนธุนา โรหนฺติ.

(ถ้าข้างหน้าลงท้ายด้วย อาสฺ, ไม่ว่าพยัญชนะเสียงก้องตามมา, หรือสระใดๆ ตามมา ก็ลบ สฺ ออก เหลือแค่ อา เช่น นฺฤปาสฺ อิจฺฉนฺติ = นฺฤปา อิจฉนฺติ. นฺฤปาสฺ ชยนฺติ = นฺฤปา ชยนฺติ.)

23.) วายุรฺคิรินํา ศิขเรภฺโย วหติ. ถูกแล้ว แต่อย่าลืมเขียนชิดกัน

 

ระหว่างนี้ลองแต่งประโยค หรือหาข้อความสั้นๆ มาอ่านดูนะครับ

ท่องการแจกรูปนามให้คล่อง (อะ อิ อุ มีใช้เยอะ)

หนูลองคิดประโยคเองดูยาวๆและใส่กริยาเข้าไปสองตัว

  • เทวาสฺติษฺฐนฺติ เมเฆษุ ยจฺฉนฺติ วารีณิ ชเนภฺโย คฺราเม

( เทวาสฺ ติษฺฐนฺติ ข้อนี้ สฺ ไม่เปลี่ยนเพราะติที่ตามมามิใช่เสียงก้อง เลยดึงมาติดกันเลย)

ถ้าเช่นนั้นทั้งการผันคำนามและกริยาตลอดจนการทำสนธิในประโยคนี้ถือว่สมบูรณ์ถูกต้องที่สุดแล้วหรือยังค่ะ คือว่าถ้าให้ใครที่เข้าใจสันสกฤตอ่านก็ต้องพอแปลได้รู้เรื่องและเข้าใจ หรือว่ายังเหลือในส่วนของการทำสนธิอีก

ขอบคุณคะ

ถูกแล้วครับ ทั้งนาม ทั้งกริยา

แต่ถ้าประธานคนหนึ่ง ทำกริยาหลายอย่าง ให้เติม จ เป็นตัวเชื่อมด้วยครับ

ขั้นนี้เราเรียนประโยคไม่ซับซ้อน เพราะฉะนั้นจึงเขียนประโยคแบบซับซ่้อนได้ไม่สวยนัก ไม่เป็นไร

รอเรียนบทใหม่ต่อ...

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท