เสื้อกาวน์ยาว คือผ้ากันเปื้อน.....ไม่ใช่ชุดใส่อวดความเป็นหมอ


สัญลักษณ์ของความเป็นหมอ กลับถูกแสดงด้วยการเดินโชว์แหล่งสะสมเชื้อ

คำว่า กาวน์ ในภาษาอังกฤษนั้น gown = a long dress มันแปลว่า ชุดยาวๆ คลุมร่างกายเยอะๆ

ข้างเก้าอี้ทำฟัน เรามีศัพท์เพิ่มอีกคือ กาวน์สั้น หมายถึงเสื้อขาว (ซึ่งส่วนใหญ่แขนสั้น) ปักชื่อหมอ ปักลายสัญลักษณ์ขององค์กรที่กระเป๋าเสื้อ มันทำหน้าที่เป็นเครื่องแบบ (Uniform) บอกให้มนุษย์ทั่วไปได้ทราบว่า "ข้าฯ เป็นหมอนะ (เว้ย)" หมอที่รู้เรื่องการควบคุมการติดเชื้อ จะไม่ใส่กาวน์สั้นทำฟัน เพราะมันเป็นเครื่องแบบไม่ใช่ผ้ากันเปื้อน

ส่วนกาวน์ยาว หมายถึงเสื้อคลุมแขนยาว คลุมถึงข้อมือ ด้านบนปิดถึงคอ มีทั้งแบบสาบเสื้ออยู่ทางด้านหน้า และด้านหลังของผู้ใส่ สีที่นิยมมีตั้งแต่สีขาว  สีเขียวมะกอก และสีม่วงเข้ม

กาวน์ยาวทำหน้าที่เฉพาะในบริเวณทำงาน คือห้องทำฟัน หน้าที่ของมันคือการเป็นผ้ากันเปื้อน กาวน์ที่สะอาดกันการปนเปื้อนจากชุดเดิมที่เราใส่ สู่สิ่งแวดล้อมในห้องทำฟัน

อย่างไรก็ดี เมื่อใส่ทำฟันแล้ว ละอองน้ำ หยดเลือด และสารคัดหลั่งอื่นๆ อาจฟุ้งกระเด็นอยู่ในบริเวณที่ทำฟัน หน้าที่ของกาวน์ยาว จึงช่วยปกป้องการปนเปื้อนจากสิ่งเหล่านั้นมาสู่ผู้สวมใส่

น่าแปลกที่หลักการเหล่านี้ถูกตีความอย่างสับสน ปัจจุบันกาวน์ยาวถูกออกแบบให้ดูดีมีชาติตระกูล มีการใส่ปกเสื้อ กระทั่งการแปลงร่างกลายเป็นรูปแบบคล้ายสูทสีขาว พูดง่ายๆ คือกาวน์ยาว (สาระแน) ทำหน้าที่อีกอย่างคือการเป็นเครื่องแบบด้วย

เราจึงเห็น นักศึกษาสุขศาสตร์ทั้งหลาย ใส่กาวน์ยาวออกนอกบริเวณทำงานอย่างภาคภูมิใจ ใส่เดินไปซื้อของที่ตลาดนัด ใส่เดินเข้าห้องน้ำ ใส่นั่งทานข้าวในโรงอาหาร เพื่อเป็นการประกาศให้ชาวโลกได้ทราบว่า "กูเป็นหมอเว้ย"

พฤติกรรมดังกล่าวจึงเป็นพฤติกรรมที่ย้อนแย้งในตัวมันเอง เพราะสัญลักษณ์ของความเป็นหมอ (ซึ่งน่าจะหมายถึงผู้ป้องกัน และรักษาผู้อื่นจากสิ่งติดเชื้อทั้งหลาย) กลับถูกแสดงด้วยการเดินโชว์แหล่งสะสมเชื้อ ซึ่งก็คือเสื้อกาวน์ยาวนั้นเอง

ปิดท้ายด้วยการอ้างหลักการของ CDC เพิ่มความน่าเชื่อถือให้บทความของตัวเองครับ

จาก

http://www.cdc.gov/oralhealth/infectioncontrol/faq/protective_equipment.htm#4

(accessed 30 Sep 2012)


When should protective clothing be worn?

Various types of protective clothing (e.g., gowns, jackets) are worn to prevent contamination of street clothing and to protect the skin of personnel from exposure to blood and body fluids. When the gown is worn as personal protective equipment (i.e., when spatter and spray of blood, saliva, or other potentially infectious material is anticipated), the sleeves should be long enough to protect the forearms. Protective clothing should be changed daily or sooner if visibly soiled. Personnel should remove protective clothing before leaving the work area.

คำแปลแบบสรุปความ


กาลเทศะ ที่ควรใส่เสื้อกาวน์

เสื้อกาวน์ ใส่เพื้อป้องกันการปนเปื้อนไปสู่ชุดปกติที่เราสวมใส่ รวมถึงปกป้องผิวหนังของผู้สวมจากเลือดและสารคัดหลั่งต่างๆ เสื้อที่ดีเมื่อใส่แล้วแขนเสื้อควรยาวคลุมถึงข้อมือ
ควรเปลี่ยนเสื้อนี้ทุกวัน หรือเปลี่ยนทันทีเมื่อเห็นรอยเปื้อน ปัญญาชนควรถอดเสื้อกาวน์ก่อนออกจากบริเวณที่ทำงาน

หมายเลขบันทึก: 504120เขียนเมื่อ 30 กันยายน 2012 22:38 น. ()แก้ไขเมื่อ 30 กันยายน 2012 22:38 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท