เมื่อความคิดสับสน...ปัญหาการปรับตัวทางบุคลิกภาพ


ขอบคุณกรณีศึกษาที่แลกเปลี่ยนเรียนรู้ถึงกิจกรรมบำบัดเพื่อการจัดการความคิดที่สับสนในตัวเองและผู้อื่นอย่างน่าสนใจ

ดร.ป๊อป: วันนี้น้อง น. มาประเมินสุขภาพจิตสังคมด้วยกิจกรรมบำบัดกัน เริ่มจากลองให้เลือกวาดรูปคน ต้นไม้ และบ้าน ด้วยสีเทียนบนกระดาษสีขาวทีละแผ่นตามใจชอบ จากนั้นจัดลำดับรูปที่รู้สึกดีที่สุดจนถึงน้อยที่สุด

น.: วาดไม่ค่อยเก่งเลย แต่จะลองดู พอจะคิดได้ว่าจะวาดอย่างไร [จากนั้นเลือกวาดบ้านก่อน ตามด้วยต้นไม้ และคนเป็นรูปสุดท้าย] ระหว่างวาดแต่ละรูป ก็บรรยายว่า ชอบรูปบ้านที่สุด เป็นบ้านในฝันของตนเองและภรรยา มีลูกด้วยกัน แต่บ้านพ่อแม่ (แยกทางกัน) ก็อยู่คนละบ้าน ห่างจากบ้านไม่ไกลนัก ก็เป็นป่าไม้ที่ตนเองจะได้อยู่คนเดียวแบบผ่อนคลายและสงบ ส่วนรูปคนนั้นนึกไม่ออกว่าจะมีอยู่จริงหรือไม่ ไม่ค่อยชอบเท่าไร]

ดร.ป๊อป: เอาหละ น้องน่ามีความคิดที่ไม่ดีกับคน ลองนึกถึงคนสามแบบ จะเขียนความรู้สึกที่ประทับใจคนเหล่านี้อย่างไรก็ได้ไม่น้อยกว่า 5 ข้อ คนแรกคือผู้ชาย คนที่สองคือผู้หญิง และคนที่สามจะเป็นเด็กหรือผู้สูงอายุก็ได้

น.: เลือกไม่วาดรูป แต่เขียนความรู้สึกที่ดีต่อผู้ชายที่เป็นเพื่อนสนิทและบอกว่า "หาใครเป็นเพื่อนสนิทแบบนี้ไม่ได้แล้ว" และต่อผู้หญิงว่า "คิดว่าเป็นแฟนที่คณะเดียวกันที่รู้สึกว่าทำให้ น. เปลี่ยนความรู้สึกชอบผู้ชายมาเป็นความรู้สึกชอบผู้หญิง แต่ไม่เคยถามว่าเธอจะคบเป็นแฟนหรือไม่" และสุดท้ายต่อผู้สูงอายุที่เป็นอาจารย์สมัยเรียนคณะแห่งหนึ่ง (เปลี่ยนที่เรียนมาแล้วมากกว่า 3 คณะ)

ดร.ป๊อป: เอาหละลองพับกระดาษแบ่งครึ่ง แล้วลองเขียนจุดเด่นจุดด้อยมาอย่างละ 5 ข้อ

น.: เขียนจุดเด่นจุดด้อย เช่น จุดเด่น (มีประสบการณ์การเรียน ทำงานได้ดี ชอบแนะนำรุ่นน้องที่อยู่ชั้นปีเดียวกัน ฯลฯ) และจุดด้อย (อายุมาก เพื่อนไม่คบ ไม่ชอบรุ่นพี่ที่อายุน้อยกว่า ฯลฯ)

ดร.ป๊อป: น้อง น. ลองนั่งสมาธิหลังเสียงระฆังสักครู่ จากนั้นลืมตามาวิเคราะห์ว่าจุดเด่นของน้องนำไปลดจุดด้อยได้อย่างไร

น.: ไม่คิดถึงอายุที่มากกว่าคนอื่น พยายามเลิกคบคนที่เราไม่ชอบ เข้าหาเพื่อนบ้าง

ดร.ป๊อป: ถ้าน้องไม่คิดวันนี้ ก็เท่ากับว่า น้องยังคงต้องคิดในวันพรุ่งนี้ คิดด้วยตนเองได้ แต่ต้องยืนยันความคิดของตนเองโดยเข้าหาและถามเพื่อนด้วยความเป็นมิตร จากรูปที่วาดแปรผลว่า น้องมีบุคลิกภาพที่ปิด คือ สังเกตจากรูปบ้านในฝัน แต่ไม่มีกลอนประตู-ไม่มีทางเข้า สังเกตป่าที่อยู่แบบปิดตัวเอง และแยกตัวจากผู้คนทำให้ไม่เข้าใจคน นอกจากนี้ยังคิดหมกหมุ่นแต่อดีตของตนเองโดยไม่เปิดใจรับความคิดบวกกับผู้อื่นในปัจจุบัน มีครอบครัวแต่ไม่อบอุ่น ... ฟังแบบนี้แล้วคิดอย่างไรบ้าง [ขณะที่กรณีศึกษาเล่าความคิด ก็บันทึกชีพจรดูว่าเป็นปกติ (ไม่เกิน 90 ครั้งต่อนาที)]

น.: ถูกต้องเลยครับ ตนเองไม่กล้าเปิดตัวเอง รู้สึกไม่ค่อยดีที่คิดแต่เรื่องตนเอง เลยไม่มีเพื่อนสนิท คิดว่าเข้าหาอาจารย์ที่นี่ได้ยาก และไม่รู้ว่าตนเองอยากเป็นผู้ชายได้หรือไม่

ดร.ป๊อป: เอาหละ งั้นมาปรับความคิดกัน ลองดูข้อความที่เรานึกถึงคนดีๆ เหล่านี้ที่เป็นอดีต ลองนำมาค้นหาคนดีๆ ในคณะนี้ให้เป็นปัจจุบัน หรือถ้ายังหาคนดีไม่ได้ เช่น เพื่อนที่ดี อาจารย์ที่ดี ฯลฯ ก็ลองคิดหาหนทางอย่างน้อย 5 ข้อ

น.: รู้สึกว่า "จะคิดไปเอง ว่าอาจารย์ไม่อยากให้เข้าหา เลยไม่ส่งงาน ก็พยายามเลิกคิดน่าจะดี ส่วนเพื่อนที่คิดเป็นแฟน ก็อยากลองถามดูเลย และอยากปรับตัวให้เข้ากับอายุของรุ่นพี่และรุ่นน้องที่อายุน้อยกว่า คิดให้เป็นปัจจุบัน"

ดร.ป๊อป: จำไว้ว่า ถ้าพยายามเลิกคิด ก็ยังคงกลับมาย้ำคิดได้อีก ควรเข้าหาอาจารย์หรือเพื่อนด้วยความคิดเชิงบวก เปิดใจรับฟังความคิดของผู้อื่นแทนความคิดสับสนของตัวเอง ตอนนี้คิดเป็นปัจจุบันขณะด้วยความมุ่งมั่นในการเรียนที่มีเส้นทางที่ชัดเจนระหว่างวิชาชีพในคณะนี้หรือออกไปคณะอื่นๆ ใช้ความเป็นคนคิดดีค่อยเรียนรู้จากความเป็นเพื่อนก่อนที่จะรักกันเป็นแฟน ทำความเข้าใจให้ชัดเจนว่าน้องต้องการเป็นเพศอะไร และสุดท้ายหากิจกรรมเชื่อมโยงสัมพันธภาพกับเพื่อนทุกเพศทุกวัย ผ่านกิจกรรมที่มีเป้าหมายร่วมกับเพื่อนๆ เช่น ชวนเพื่อนเล่นกีฬา /ดูหนัง/ทานข้าว ชวนเพื่อนทำกิจกรรมที่เพื่อนชอบ บอกตัวเองในใจพร้อมหลับตาทำสมาธิว่าเราปรับตัวกับทุกคนได้ๆๆๆๆ เป็นต้น

กรณีศึกษานี้มีปัญหาของการปรับตัวทางบุคลิกภาพ (Personality adjustment) หากไม่ทำกิจกรรมบำบัด, จิตบำบัด, และการปรับพฤติกรรมด้วยการรู้คิดปัญญา ก็เข้าข่ายความผิดปกติทางบุคลิกภาพแยกตัวทางสังคม หรือ Antisocial Personality disorders ได้

หมายเลขบันทึก: 503837เขียนเมื่อ 28 กันยายน 2012 14:57 น. ()แก้ไขเมื่อ 4 ธันวาคม 2012 21:04 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (11)

เมื่อคิดสับสน ....ก็ ต้องมาตั้งต้นกันใหม่ ปรับแผน ปรับใจ ของชีวิต นะจะOKนะคะ

ขอบคุณค่ะ

อ่านแล้วรู้สึกว่านักกิจกรรมบำบัดนี่เป็นนักจิตวิทยาด้วยนะคะ ขอชื่นชมค่ะ

ขอบคุณมากครับสำหรับดอกไม้จากพี่ดร.ขจิต คุณปริม คุณศิลา และคุณภณัสรา

ใช่ครับพี่โอ๋ที่รัก นักกิจกรรมบำบัดเกิดขึ้นสมัยสงครามโลก โดยเฉพาะเน้นสุขภาพจิตสำหรับผู้ที่มีความบกพร่องต่างๆ ที่อยู่ว่าง จึงทำให้ใช้กิจกรรมที่มีเป้าหมาย เพื่อให้ผู้ป่วยจิตไม่ว่าง นักศึกษากิจกรรมบำบัดจึงต้องเรียนเนื้อหาสุขภาพจิตและการฟื้นฟูสุขภาวะจิตสังคมเยอะหน่อย แต่ทำงานแตกต่างกับนักจิตวิทยาครับผม ขอบคุณพี่โอ๋มากครับ

อ่านแล้วได้แนวทางในการประเมินผู้รับบริการเพิ่มขึ้นมากเลยค่ะ ได้เรียนรู้จากประสบการณ์จริงทำให้เห็นภาพมากยิ่งขึ้น จะขอนำเอาไปปรับใช้หากเจอผู้รับบริการทางจิตค่ะ

ขอบคุณอาจารย์นะคะ สำหรับกรณีศึกษา  

จากการอ่านบทความนะคะหนูได้เรื่องวิธีการพูดคุยกับผู้รับบริการค่ะ

การพูดคุยในแต่ละครั้งเราจะต้องมีวิธีการแก้ปัญหาไว้ให้เขา

แต่ที่สำคัญกว่านั้นคือการที่ให้ผู้รับบริการลองคิดวิธีแก้ปัญหาด้วยตนเองก่อน

และการในเอาข้อดี มา แก้ไขข้อเสียของตนเอง

ขอบคุณอาจารย์มากๆนะคะ หนูจะเอาไปประยุกต์กับผู้รับบริการในตอนฝึกงาน และในอนาคตค่ะ ^^

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท